รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ vantana ครับ

    ถ้าสนใจอยากจะฝึกทั้งสองภาคเลย ทั้งภาคเช้าและบ่าย ในการฝึกมีข้อจำกัดอะไรหรือเปล่าคะ

    เพราะเพิ่งฝึกขั้นเบสิค ๆ หรือถ้าจะฝึก ภาคบ่าย เลยได้ไหมคะ
    <!-- google_ad_section_end -->

    ไม่มีข้อจำกัดครับ มาฝึกทั้งสองภาคเลยยิ่งดีครับ

    ภาคเช้าไม่ควรพลาด เพราะจะเป็นการปูพื้นฐานสมาธิเบื้องต้น
    ส่วนภาคบ่ายจะเป็นการนำเอาสมาธิไปใช้ ทั้งมโนมยิทธิ และการพิจารณาวิปัสสนาญาณ
    ถ้าไม่ได้ฝึกภาคเช้า พอมาภาคบ่าย ก็จะไม่คล่องตัวเท่าที่ควรครับ

    ช่วงเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม จะมีจัดฝึกอีกเรื่อยๆ ถ้าใครพลาดโอกาสนี้ยังมีคราวหน้าอีกครับ
     
  2. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    ขอโทษทีนะครับ ไม่ได้แวะเข้ามาเสียนานขอรบกวนเรื่องบางเรื่อง

    ช่วงหลังๆนี้ผมอยู่กับสมาธิมาตลอด พอโกรธก็ดับทันที พอรู้สึกไม่ดีก็ดับลงได้ทันที
    แต่มันรู้สึกเหมือนมีเรื่องกังวลใจตลอดไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกันครับ ในทุกเวลาผมรู้สึกถึงสมาธิได้ แต่เวลาที่เหนื่อยล้าจริงๆ (ช่วงที่ผมไม่สบาย) มันเหมือนควบคุบอารมณ์ไม่ได้ แม้จะรู้สึกก็ตามว่าต้องหยุดโกรธ หยุดคิดมาก แล้วบางทีก็น้ำตาไหลเองครับ
    ขอพี่ชัดช่วยแนะนำผมด้วยครับว่าควรทำเช่นไร

    ช่วงหลังๆมานี้หลังจากที่พึ่งหายจากอาการไม่สบาย พอนั่งสมาธิได้ช่วงใหญ่ ก็เห็นภาพ 2ภาพวางอยู่ด้านซ้ายขวา ภาพหนึ่งเป็นป่าไม้ อีกภาพหนึ่งเป็นทะเล ไม่รู้ว่าเป็นนิมิตหรือเป็นจินตนการของผมเอง หากเป็นนิมิตมีความหมายไหมครับ
     
  3. nataphat

    nataphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +246
    วิชาใดในโลกที่สามารถต้านทานศัสตราวุธได้ทุกชนิดแม้แต่นิวเคลียร์ อิอิ ไม่มีไรครับถามเล่นๆ

    ขอโทษทีมาลบกวน
     
  4. พรรณลักษณ์

    พรรณลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +1,440
    เคยนั่งแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบาซักพักมีความรู้สึกมีเงาดำๆรอบๆตัวเป็นเพราะอะไร
     
  5. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    ผมว่า มโนมยิทธิ น่าจะเป็นวิชาที่ดีนะคับลองฝึกดูครับ เราเจอ พยันตลายใดๆเราก็หนีไปนิพพาน
    คงไม่ต้องต้านทาน ล่ะมั้งคับ เพราะร่างกายอยู่กับเราแค่ไม่กี่ปี และก็ไม่ใช่ของเรา เดี๋ยวๆก็กลายเป็นซากฟอสซิล เอ้ หรือจะกลายเป็นปุ๋ยดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กุมภาพันธ์ 2010
  6. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    การต้านทานศาสตรวุธและอาวุธนิวเคลียร์

    ผมเห็นแตกต่างจากคุณmakoto12 เล็กน้อย คือ คิดว่าฝึกอภิญญาน่าจะใช้ได้ แต่ตามโจทย์เขาต้องการเอากายเนื้อไปต้านทานอาวุธต่างๆ โดยตรง ถ้าอย่างนี้ การมีฤทธิ์ทางใจ อาจยังไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่

    ทางที่ดีต้องฝึกอภิญญา6 จะดีกว่าครับ เจริญอานาปนสติให้ถึงฌาณ 4 แล้ว ไล่กสิณ 10 ให้ครบทุกกอง และฝึกให้มีความคล่องแคล่วดีแล้ว ไปฝึกอภิญญา6ต่อไป เมื่อใช้อภิญญาได้คล่องแล้ว น่าจะใช้งานได้แล้วครับ

    อันการฝึกฤทธิ์โดยมีกสิณเป็นพื้นฐานก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมธาตุทั้งสี่ให้ได้ก่อน เมื่อควบคุมธาตุทั้งสี่ได้ดังใจนึกแล้ว เรื่องอาวุธต่างๆน่าจะไม่ต้องห่วงแล้วครับ เพราะอาวุธทั้งหลาย แม้แต่อาวุธนิวเคลียร์ที่มีสารกัมมันตรังสีเป็นอาวุธในการทำลายล้าง ก็ล้วนถือกำเนิดจากธาตุสี่เป็นพื้นฐานหลัก เมื่อเราควบคุมธาตุสี่ได้ ก็สบายแล้วครับ

    คิดไปเรื่อยเปื่อยตามประสาคนที่สนใจเรื่องฤทธิ์ เรื่องอภิญญานะครับ แค่ขอแลกเปลี่ยนความเห็นกันเท่านั้น หลักการจริงๆ คงต้องรอเจ้าของกระทู้มาให้ความเห็นอีกครั้งครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2010
  7. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    เอากันเข้าไปครับ
     
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Locomotive ครับ

    จะกำจัดความง่วงก่อนเริ่มทำและขณะทำกรรมฐานได้ยังไงครับ ขอบคุณครับ

    ความง่วง หากเกิดจากกายเหนื่อยล้า ก็ควรจะพักผ่อนให้หายเหนื่อย หรือนอนทำสมาธิไปเลยครับ
    หากเราฝืนร่างกายมากไป จิตก็จะกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ ต้องพักผ่อนครับ
    ความง่วง หากเกิดจากจิตที่ หดหู่ ซึม เบื่อหน่าย เศร้าหมอง มืด ไม่สว่างไสว

    วิธีแก้ก็คือ ใช้กสิณแสงสว่าง
    โดยให้เรา นึกถึงภาพพระพุทธรูป หรือภาพดวงแก้ว
    ให้เห็นเป็นเนื้อเพชรใส มีประกายระยิบระยับ
    <!-- google_ad_section_end -->ให้จิตใจของเรา เกิดความ เอิบอิ่ม ชุ่มเย็น แช่มชื่น เบิกบาน สว่างไสว อยู่กับภาพของพระพุทธเจ้าที่เป็นเพชร
    จากนั้นให้นึกภาพแผ่รัศมีเพชร ความรู้สึกของความสว่าง ให้ส่องสว่างกระจายออกจากภาพพระ หรือดวงเพชร
    กระจายส่องสว่างระยิบระยับไปทั้งจักรวาล ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    ให้รัศมีเพชร แผ่ขยายปกคลุมกระจาย ส่องสว่างไปทั้งจักรวาล
    จิตของเรา แผ่ออก เปิดออก ขยายออก ส่องสว่างเป็นเพชร เป็นดั่งพระอาทิตย์ท่ามกลางจักรวาลที่มืดมิด

    ยิ่งเรามอบแสงสว่างให้กับจักรวาลให้กับผู้อื่นมากเท่าไหร่
    ดวงจิตของเราเองก็จะยิ่งเป็นเพชร ยิ่งใสสว่าง ชุ่มเย็น งดงาม ยิ่งๆขึ้นไปเท่านั้น
    เมื่อจิตมีความสว่างเป็นเพชร ความง่วง หดหู่ เบื่อหน่ายทั้งหลายก็จะสลายหายไปจนหมดสิ้น

    ทำดวงจิตของเราให้เป็นเพชร ให้เป็นดั่งพระอาทิตย์ให้ได้
    แสงสว่างจากจิตของเราก็จะจุดประกายความดีงามให้กับผู้อื่นเอง
    โดยเราไม่ต้องเอ่ยปากแม้แต่ประการใด
    กลับกันถ้าใจเรา เรายังทำให้เป็นเพชรไม่ได้ ก็ไม่อาจจะทำให้ใจของผู้อื่นเป้นเพชรได้เช่นกัน

    ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นสิ่งดี แต่หากเราให้ในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ ก็อาจจะกลายเป็นโทษได้เช่นกัน
    การให้จึงต้องเลือกให้เฉพาะผู้ที่รับสิ่งที่เราจะให้ได้
    เหมือนดังอาหารที่มีค่ามากในยามหิว แต่กลับเป็นสิ่งไร้ค่าในยามที่เราอิ่ม
    เช่นเดียวกันกับเรื่องของการให้ธรรมทาน วิทยาทาน และทานทุกๆอย่าง

    ขอให้มีจิตใจที่มีความชุ่มเย็น สว่างไสว งดงามดั่งเพชรมณีโชติ ด้วยพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดไปทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ chotiya ครับ

    เคยฝึกมโนมยิทธิมาตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังอยู่ ทำไมเราเห็นไม่เหมือนเขาวิมานพระอินทร์เขาเห็นเป็นศาลาทรงไทยธรรมดา เราเห็นเป็นจตุรมุขประดับด้วยรัตนมณีโชติช่วงใหญ่โตมหึมา แท่นศิลาอาสน์เขาเห็นกันเป็นก้อนหินธรรมดา เราเห็นเป็นแก้วอำพันปิดทองร่องชาดประดับอัญมณีแวววาว พระเกตุแก้วจุฬามณีเขาเห็นเป็นเจดีย์แก้วทรงโอคว่ำ เราเห็นเป็นพระบรมธาตุย่อมุมไม้สิบสองเป็นเพชรแสงสว่าเมลืองมลางไปไม่มีประมาณ พระเกศาธาตุเห็นเป็นแก้ว เราเห็นเป็นผมดำขลับฉัพพันธรังสีโชติช่วง ท้าวเวสสุวัณเขาเห็นเป็นยักษ์ เรากลับเห็นเป็นบุรุษกลางคนทรงชุดขาวพนมมืพาดพลองไว้บนแขน ทรงม้า นางฟ้าเขาเห็นนุ่งผ้าไม่ใส่เสื้อ เราเห็นแต่งกายหลายแบบแสนจะเรียบร้อยสวยงามฯลฯ ทำไมเห็นไม่เหมือนกะเขา เลยเข้ากลุ่มกะเขาไม่ได้ไปแย้งเขาหมด เลยทิ้ง มาเล่นสติมันสนุกไปอีกอย่าง ช่วยตอบที

    การรู้เห็นนี้แต่ละคนเห็นได้ละเอียดไม่เท่ากัน แล้วแต่ความสะอาดของจิต ณขณะนั้น
    หากเราเห็นละเอียดกว่าเขา เป็นเรื่องดี ที่ควรจะรักษาเอาไว้
    การได้มโนมยิทธิเป็นเรื่องไม่ยากจนเกินไปนัก
    แต่การรักษาสิ่งที่ได้แล้ว เอาไว้ให้ได้ตลอดไปนั้น คือสิ่งที่ยาก แต่จะต้องทำให้ได้

    การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง อยู่ที่การรักษาสิ่งที่เราได้แล้ว ให้อยู่กับเราได้ตลอด และทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป
    ธรรมะของพระพุทธเจ้า คือเพชร เมื่อได้เพชรแล้ว
    หากเราเห็นค่าของเพชร เราก็จะอยากรักษามันเอาไว้
    แต่หากเราลังเลสงสัย หรือไม่เห็นคุณค่าของเพชร เราก็จะโยนเพชรนั้นทิ้งไป

    นักปฏิบัติทุกคนมักจะศึกษาธรรมะมาเยอะ
    แค่เราทำให้ได้ทุกอย่างที่เราศึกษามา ก็เพียงพอจะไปพระนิพพานได้แล้ว

    เมื่อเรามีโอกาสทราบแนวทางในการปฏิบัติจนเจนจบหมดแล้ว จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เราจะต้องปฏิบัติให้สุดสิ่งที่เราได้ศึกษามาจริงๆ
    จับแค่เรื่องเดียวให้สุดก็พอแล้ว
    วันนี้เราปฏิบัติจนสุดในสิ่งที่เลือกมาแล้วหรือยัง
    หากยังก็ควรจะตั้งใจ ทำไปเรื่อยๆ ทำไปอย่างสบายๆ ทุกวัน ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ
    ทำมันไปจนกว่าจะสุด
    สุดที่จุดเดียว คือให้ตั้งใจว่า ตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน
    สุดที่อารมณ์นี้ ต้องทำให้ได้ ทำให้ถึงจริงๆ ทำให้ไม่อยากเกิด อยากไปพระนิพพานเท่านั้น

    ถ้ายังทำให้ตัวเองอยากไปพระนิพพานอย่างแท้จริงไม่ได้ แปลว่าธรรมะยังเข้าไม่ลึกถึงก้นบึ้งของจิตใจ
    นึกถึงพระทุกครั้ง กราบพระทุกครั้ง ให้ตั้งใจว่า กำลังกราบพระพุทธเจ้าอยู่บนพระนิพพาน ตายเมื่อไหร่จะมาที่นี่เท่านั้น ที่อื่นใดเราไม่ปรารถนา

    ทำให้สุดจริง มันก็ถึงจริง ได้ในชาติปัจจุบันจริง

    ธรรมะใดที่ได้เคยเข้าถึงแล้ว ขอให้ทำให้กลับมา และรักษาธรรมนั้นเอาไว้ให้ได้ตลอดไป ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ที่ผมจัดสอนวันอาทิตย์ที่ 14ก.พ.นี้

    คนที่จะมาร่วมอาจจะต้องใช้กำลังใจสูงนิดนึง เพราะเป็นทั้งวันตรุษจีน และวันวาเลนไทน์

    เนื่องจากเป็นวันแห่งความรัก ดังนั้นก็จะเน้นสอนให้เข้าถึงซึ่งความรักสากล ความรักตามหลักพระศาสนา ซึ่งก็คือความเมตตา พรหมวิหาร4
    คนที่มาฝึก จะได้ลองสัมผัสรสชาติ ของความเมตตา ว่ามีรสชาติอย่างไร สุขชุ่มเย็นขนาดไหน
    และจะเข้าใจมากขึ้นถึงความหมายที่แท้จริงของความรัก และวันวาเลนไทน์

    ท่านใดที่ได้มีโอกาสมาฝึกด้วย ผมถือว่าเป็นผู้มีกำลังใจสูง
    ผมตัดสินใจจะสอนไล่ตั้งแต่ ลมสบาย เมตตา กสิณ อรูป มโนมยิทธิ และอารมณ์พระนิพพาน ภายในวันเดียว

    และช่วงกลางเดือนมีนาคม จนถึง พฤษภาคม ผมจะมีสอนที่สวนลุมทุกๆอาทิตย์ ติดต่อกัน2เดือน
    ซึ่งหากท่านใดพลาดโอกาสนี้ ยังมีโอกาสให้ฝึกอีกหลายครั้งครับ

    ทั้งนี้ผมขออนุโมทนากับทุกๆท่าน ที่จะมาฝึกในวันอาทิตย์นี้

    การสอนทั้งหมดนั้นทำเพื่อ ตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อค้ำจุนพระศาสนาให้ครบ5000ปี ยังผู้คนให้ได้เข้าถึงซึ่งความดี ซึ่งธรรมของพระองค์ได้เป็นจำนวนมาก

    ขอให้บุญกุศลคุณงามความดีทุกอย่าง ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ของทุกๆดวงจิตทั่วทั้งสังสารวัฏ หนุนนำให้พุทธศาสนิกชน ตลอดจนถึงทุกๆดวงจิต ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ได้โดยเร็วไว ได้โดยฉับพลันทันใด ได้ในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
     
  11. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ในขณะนั่งสมาธิบางครั้ง อยู่ดีๆ ก็มีอาการสูดอัดลมหายใจเข้าไป 1 ครั้ง ซึ่งมันเป็นไปเองโดยไม่ได้เจตนาที่จะทำ และก็ทิ้งช่วงไปอีกประมาณ ครึ่งชั่วโมง ก็จะสูดอัดลมหายใจอีก 1 ครั้ง อยากทราบเป็นอาการเกี่ยวกับอะไรครับ หรือเกี่ยวกับสภาพร่างกายของผมเอง ...ขอบคุณครับ...
     
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่กรุณาให้ข้อแนะนำครับ ทราบหลักการ ต้นสายปลายเหตุดีแล้ว เดี๋ยวผมขอไปลองปฏิบัติดูอีกที ว่าจะเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำหรือไม่

    จริงๆแล้วที่ฝึกมโนมยิทธินี่ใช้วิธีอ่านเอกสารเอา แล้วลงมือปฏิบัติเลย ไม่ได้ไปฝึกกับครูเพราะไม่ค่อยสะดวก เวลาปฏิบัติเกิดปัญหาครับ เพราะไม่รู้ว่าควรจะวางอารมณ์อย่างไร เพิ่งทราบจากท่านเจ้าของกระทู้ว่าใช้อารมณ์สมาธิลึกไปก็ฝึกมโนมยิทธิไม่ได้เหมือนกัน (อาจจะเป็นเพราะจุดนี้ด้วย เนื่องจากเคยทราบมาว่าการฝึกมโนมยิทธิด้วยตัวเอง ต้องทำแบบเต็มกำลัง อาศัยกำลังใจระดับฌาณ 4 ต่างจากการฝึกกับครู แบบครึ่งกำลัง ใช้เพียงอุปจารสมาธิ ดังนั้นเวลาฝึกเอง ผมจึงใส่แบบเต็มที่ ขั้น 4 ตัวหาย บางทีเลยเถิดไปอรูป ตัวหาย จิตหายซึ่งมีแต่ความนิ่ง จึงไม่ได้ผลเสียที ) คงต้องไปปรับแก้วิธีการกันต่อไป

    ตอนนี้ไม่มีข้อสงสัยอะไรอีกแล้วครับ ขอน้อมเอาคำแนะนำไปฝึกปฏิบัติครับ
    และคงต้องหาโอกาสไปบ้านสายลมสักครั้งอย่างที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้แนะนำ
    ไว้

    วันนี้ (8 ก.พ.2553) ย้อนกลับมาอ่านที่เจ้าของกระทู้แนะนำไว้อีกครั้งหนึ่ง ที่เคยเรียนปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการนิมิตที่ไม่พึงประสงค์เวลาเจริญวิปัสสนาในระหว่างอุปจารสมาธิ ซึ่งท่านเจ้าของกระทู้ได้แนะนำไปแล้วนั้น ผมได้ลองปฏิบัติดู ก็ได้ผลดีขึ้น แต่บางครั้งอารมณ์พึงพอใจในนิมิตก็ยังมีอยู่

    ยกตัวอย่าง นิมิตเรื่องเสียงดนตรี ไม่ทราบว่ามาจากที่ไหน แล้วใครเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น ที่ผ่านๆมา ก็จะตัดทิ้งไปตลอด ไม่ได้สนใจ แต่บางครั้งก็มีความรู้สึกว่าอยากจะฟังเสียงดนตรีที่ว่านี้เหมือนกัน จึงไม่ได้ตัดทิ้ง ปล่อยใจฟังตามไปเรื่อยๆ ท่านเล่นให้ฟังก็ฟัง ท่านจะหยุดก็หยุดไป แล้วแต่ท่าน ขณะฟังก็เอามาพิจารณาเป็นอารมณ์วิปัสสนาไปด้วยว่า เสียงดนตรีนี้เกิดจากการดีด สี ตี เป่า เมื่อหยุดการดีด สี ตี เป่า เสียงดนตรีก็หายไปด้วย มีเหตุ จึงทำให้เกิดผล เมื่อไม่มีเหตุ ก็ไม่มีผล เป็นอนิจจัง ได้เห็นธรรมะไปอีกหัวข้อหนึ่ง

    คำถามคือว่า ตามตำรับ ตำรา ท่านบอกให้ตัดทิ้งนิมิตอยู่เสมอ ผมก็ทำตามมาตลอด แต่บางคราว ผมไปทำนอกตำราเข้า คือไม่ตัดนิมิตทิ้งแล้ว ยังเอานิมิตมาเป็นอารมณ์วิปัสสนาอีก อย่างนี้จะเกิดผลเสียอย่างไรหรือไม่ครับ หรือว่าสามารถทำได้ ไม่ผิดกฏ กติกา มารยาท แต่อย่างใดครับ

    การจับนิมิตเป็นวิปัสสนา ก็เป็นหนึ่งในวิธีการในการตัดนิมิตทิ้ง
    และให้เติมเข้าไปอีกนิดนึงครับ
    เหตุคือเราเกิดมา ผลก็คือต้องมาเจอทุกข์
    ถ้าเราทำเหตุ คือ การไม่อยากเกิด ผลที่จะได้ก็คือความสุข
    ชีวิตของเราก็เหมือนกับเสียงดนตรีนี้
    เมื่อร่างกายเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมดับ ย่อมต้องตาย ย่อมต้องสลายหายไป ดังเสียงดนตรีนี้
    เราไม่ควรจะยึดถือทั้งในร่างกายนี้ และสิ่งที่เนื่องด้วยร่างกายนี้ทั้งหมด
    ถ้าเราตายขึ้นมาตอนนี้ เราจะไปไหน ตั้งใจเอาไว้จุดเดียวคือพระนิพพาน
    ชีวิตของเราเปราะบาง ดั่งเสียงดนตรีที่พร้อมจะหยุดไปทุกเมื่อนี้ เราจึงไม่ควรประมาทในความตาย เร่งทำความดี ให้ยิ่งๆขึ้นไป

    ตอนออกจากสมาธิ จากการเจริญกรรมฐาน คงจะพอมีอานิสงค์บ้าง เล็กๆน้อยๆ อยากจะอุทิศให้กับเจ้าของนิมิตด้วย ที่มีส่วนช่วยในการเจริญวิปัสสนา จึงคิดจะอุทิศให้ อยากถามว่า ตอนออกจากสมาธิแล้วอุทิศให้เลยได้หรือไม่ แล้วถ้าก่อนออกจากสมาธิ เข้าไปในฌาณอีกรอบก่อน ค่อยออกจากสมาธิ อานิสงค์ที่จะอุทิศให้กับเจ้าของนิมิต จะมีกระแสเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่าครับ ถ้ามีกระแสเพิ่มมากขึ้น จะได้เข้าไปในฌาณก่อน แต่ถ้ามีอานิสงค์พอๆกัน ก็จะได้ไม่ต้องเข้าไปในฌาณให้เปลืองเวลา ออกจากวิปัสสนาแล้ว จะได้อุทิศอานิสงค์ให้กับเจ้าของนิมิตเขาเลยครับ แล้วอีกอย่าง ยังห่วงว่าถ้ากระแสอานิสงค์ที่อุทิศออกไปหลังเจริญกรรมฐาน ถ้ามีกระแสแรงมากๆ นี่ บรรดาเปรต อสุรกาย เดรัจฉานในบริเวณใกล้เคียง เขาจะรับได้หรือไม่ครับ อยากจะให้พวกเขาด้วย จะมีวิธีการอย่างไรที่จะช่วยได้ครับ (ส่วนเจ้าของนิมิตและเทวดาประจำตัวนี่ผมไม่ห่วงเท่าไหร่ คิดว่าอย่างไรเสีย ท่านคงจะพอรับได้อยู่แล้ว)

    การแผ่เมตตานั้น จะได้อานิสงค์สูงสุด ทั้งผู้ให้และผู้รับ ก็ตอนที่ผู้ให้ มีความสุขสูงสุด อยู่ในฌาณ ในสมาธิที่สุขที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ยิ่งมีความสุข ความอิ่มใจ แช่มชื่น เบิกบาน ชุ่มเย็น มากเท่าไหร่ ยิ่งแผ่ ยิ่งให้ได้มากเท่านั้น
    ดังนั้นจริงๆแล้วควรจะแผ่ตอนที่เราอยู่ในฌาณสูงสุด ก่อนจะออกจากฌาณครับ
    เหมือนกับ เรามีข้าวเต็มหม้อ เราก็ให้ได้มาก ถ้าเรามีข้าวครึ่งหม้อ เราก็ให้ได้น้อย
    ฌาณก็คือข้าวที่เต็มหม้อ ใครได้กิน จะมีความอิ่ม เบิกบาน ชุ่มชื่นใจ
    การให้ในฌาณ ทำบุญในฌาณ แผ่เมตตาในฌาณ วิปัสสนาในฌาณ ย่อมได้อานิสงค์สูงกว่านอกฌาณอย่างเทียบไม่ติด

    ส่วนวิธีให้แผ่เมตตาให้ได้มากๆ ให้ได้ถึงทุกๆคนนั้น
    เราจะต้องดึงความสุข ความชุ่มชื่น แช่มชื่น ชุ่มเย็น เบิกบาน อิ่มใจ ให้ล้นเต็มดวงจิตของเรา
    จนเรามีควมสุขอย่างถึงที่สุด จิตยิ้ม เบิกบานดั่งดอกไม้ มีความเย็นสูงสุด
    จกานั้นจึงทำความรู้สึกว่า เราแผ่ความเย็น ความสุขนี้ ระเบิด สว่าง กระจายออกไปยังทุกทิศทาง ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    นึกภาพ เห็นภาพ ว่ารัศมีเพชร จากคลื่นความเย็นแห่งเมตตานี้ ส่องสว่างจากตัวเรา ขยายไปปกคลุมยัง บ้าน ตำบล จังหวัด ประเทศ โลก จักรวาล สังสารวัฏ สว่างวาบเป็นรัศมีเพชร ชุ่มเย็น ประกายระยิบระยับไปหมด
    ให้ทุกๆดวงจิตทั่วทั้งจักรวาลนี้ได้รับอานิสงค์แห่งเมตตาของเราเสมอกัน
    หากเราทำแบบนี้ ทุกๆดวงจิตจะได้อานิสงค์เสมอกันหมด
    แล้วเราจะรู้กับตัวเองว่า ความสุขของการให้ ให้บุญ ให้ความปรารถนาดี ให้ความชุ่มเย็น
    มันสุขกว่าการเข้าฌาณเฉยๆ มันเป็นอารมณ์ที่เราอยากจะแบ่งปันความสุขจากสมาธิที่เราได้สัมผัสให้กับทุกๆดวงจิต


    เห็นคุณตถาตา ถามว่าแต่ละท่านส่วนมากนั่งสมาธิตอนไหนกัน ผมอยากจะแลกเปลี่ยนความเห็นกันด้วยคนครับ


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตถาตา. [​IMG]
    อยากฝึกครับ ขอถามหน่อยนะครับ ทุกท่านส่วนมากนั่งสมาธิตอนไหนกันครับ ช่วงเช้า หรือช่วงเย็นหรือ กลางคืน และคิดว่าช่วงไหนเหมาะที่สุดครับ ส่วนตัวอยากนั่งช่วงกลางคืนสักเที่ยงคืนขึ้นไปเพราะเห็นว่ามันเงียบดี แต่ใจมันบอกว่าไม่กลัวหรือ ผมนั่งคนเดียวที่บ้านครับไม่เคยไปนั่งเป็นหมู่คณะ แต่ก็ไม่ไปถึงไหนเพราะไม่มีคนสอนอาศัยอ่านจากหนังสือแล้วฝึกเอา อยากฝึกนั่งกลางป่าช้าบ้างแต่คงไม่ไหวเพราะกลัวจิตเตลิด จริงอยู่ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ใจเป็นใหญ่แต่มันก็ต้องเริ่มจาก 0 ก่อน ไม่อยางลองของสักเท่าไร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ของผมไม่มีเวลาแน่นอนนะครับ ตอนไหนว่างจากอารมณ์อย่างอื่น ไม่มีกิจต้องเจรจาความกับใคร เวลากำลังเดินไปไหน วิ่งออกกำลังกาย ขึ้นรถ ลงเรือ ไปเหนือ ล่องใต้ เข้าห้องน้ำ อุจจาระ ปัสสาวะ มีเวลาน้อยมากไม่เกี่ยง ปฏิบัติทันทีครับ แต่ผมไม่ได้ภาวนาอะไรนะ ใช้การนึกถึงภาพพระพุทธรูปอย่างเดียวเลย เห็นภาพพระแล้วใจสงบไปเองครับ ส่วนจะสงบระดับไหน จะฌาณ 1 2 3 4 หรือไปอรูปก็แล้วแต่โอกาสจะอำนวย (อรูปที่พลิกแพลงต่อเนื่องจากกสิณไม่เคยทำครับ แต่ใช้วิธีจับภาพพระแล้วต่อเอาด้วยอานาปนสติ)

    ทำแล้วก็เพลิดเพลินดีครับ จับภาพพระ ย่อ ขยาย เอาไปไว้ใกล้ ไกล ไว้ทางขวา ซ้าย หน้า หลัง บน ล่าง แบ่งออกเป็น 2 องค์ 3 องค์ 4 องค์ แล้วเอามารวมเป็น 1 องค์ตามเดิม ทำไปทำมา แล้วจิตมันก็นิ่งไปเอง

    อาจจะเป็นเพราะว่าผมอ่อนในเรื่องกสิณเอามากๆ เพราะเริ่มฝึกมาจากอานาปนสติมาก่อน สามัญสำนึกเลยเตือนว่าให้หมั่นจับภาพพระพุทธรูปอย่างเดียว ก็เลยทำซ้ำๆซากๆ อยู่อย่างนี้ แต่ทุกวันนี้ก็ยังอ่อนในเรื่องกสิณอยู่เหมือนเดิม ยังไปไม่ถึงไหน

    สาธุครับ แบบนี้แหละครับ ที่เรียกว่าทรงสมาธิเอาไว้ตลอดเวลา
    เน้นให้ได้ตลอดเวลาเฉพาะที่เรานึกได้ก่อน แล้วค่อยๆทำเพิ่มให้ยิ่งๆขึ้นไปครับ

    อีกอย่าง ผมสนใจเรื่องฤทธิ์ด้วย ไม่ทราบว่าในที่นี้ ท่านใดพอจะแนะนำเทคนิควิธีของเตโชกสิณให้กับผมได้ไหมว่า ถ้าผมอยากจะอธิษฐานขอเตโชธาตุจากเตโชกสิณมาจุดไฟที่ไส้เทียนไข จะต้องทำอย่างไรดี เข้าฌาณ 4 ในเตโชกสิณ แล้วถอยมาที่อุปจารสมาธิ อธิษฐานขอเตโชธาตุไปจุดที่ไส้เทียนไข แล้วเข้าฌาณ 4 เตโชกสิณอีกรอบ แต่ยังจุดไฟไม่สำเร็จ หรือว่ากำลังใจของเรายังไม่เพียงพอ ก็ไม่ทราบได้ ท่านใดพอทราบเรื่องเตโชกสิณขอคำแนะนำด้วยครับ

    อันนี้ต้องไปขอเรียนกับพระอภิญญาแล้วครับ เพราะการสอนอภิญญายังไม่เจอท่านใด สอนเป็นสาธารณะ
    ตอนนี้แล้วแต่บุญญาวาสนาบารมี
    แต่หากอยากจะฝึกกสิณไฟ ถึงระดับ เอาไว้ใช้ญาณทัศนะ
    ก็ให้ทำเหมือนการนึกถึงภาพพระนั่นแหละครับ
    เพียงแต่เปลี่ยนเป็นนึกถึงภาพ ลูกไฟ เอาไว้แทนภาพพระเอาไว้เสมอๆนั่นแหละครับ
    เทคนิคในการทรงภาพพระนั้น อยู่ที่
    เนื้อเพชร ยิ้ม สว่าง เบิกบาน แช่มชื่น
    ตั้งใจว่าขณะนี้พระพุทธเจ้าทรงอยู่บนพระนิพพาน ภาพพระที่เราเห็นอยู่นี้ ก็คือภาพพระองค์บนพระนิพพาน
    ตายเมื่อไหร่เราจะไปที่นี่เท่านั้น

    ขอให้สามารถทรงภาพพุทธนิมิต ได้ชัดเจนแจ่มใส มีไตรสรณคมประจำจิต ตลอดไปทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่ต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2010
  13. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ pocky888 ครับ

    สวัสดีคะ รบกวนสอบถามเรื่องการทำสมาธิคะ เป็นคนสวดมนต์เช้าเย็นแผ่เมตตาทุกวันคะ แต่ ทำสมาธิก่อนหน้านี้ นานๆทีเรียกว่า ทิตนึงอาจจะทำวันนึงหรือสองวันหรืออาจไม่ได้ทำเลย มะก่อนเวลาทำสมาธิก้อจะพยายามแบบ ยุบหนอ พองหนอ สักพัก แต่ก้อไม่ได้ปรากฏอะไรนะคะ นอกจากความรู้สึกว่า รอบข้างเงียบปราศจากสิ่งใดๆ คือเหมือนหูตัดการได้ยิน ประมาณนี้คะ

    อันนี้เป็นสภาวะของฌาณละเอียดครับ

    แล้ว บางทีก้อจะมาทำ พุทโธๆ แต่ก้อเหมือนรู้สึกไม่ใช่ยังไงไม่ทราบคะ

    มาอ่านในเว็ปนี้เจอบางท่านบอกให้ภาวนา บทมงกูฏพระพุทธเจ้า สี่วันก่อนดิฉันเลยลองทำดู พอเริ่มทำไปสักพักทุกสิ่งจะเงียบสงัดรอบการเหมือนตัดจากสิ่งต่างๆตัวเบา ลมหายใจก้อหายไป คำภาวนาหายไป <มะก่อนถ้าเริ่มเงียบหรือลมหายใจหายก้อจะตกใจคะ แต่พอมาอ่านหลายๆท่านนในนี้ว่าให้ รู้ไปว่าหายไป อยาไปวิตกใดๆ ก้อเริ่มทำได้> ก้อตามรู้ไปเรื่อยๆ แล้วก้อเห็นเป็นแสงสีขาวกระจ่างทั่วเหมือนออกมาจากตัวหรือจากด้านหลังอันนี้ไม่ทราบคะ แต่เป็นแสงสีขาวจ้าสว่างมาก แล้วก้อเห็นเป็นพระไม่ทราบจริงๆคะ หลายรูปเลย แต่ที่เห็นแล้วรู้จักมีรูปเดียวคือท่านพุทธทาส แบบเห็นเป็นภาพสลับขึ้นมาเรื่อยๆคะ จนตัวเองหลุดออกมาจากสมาธิเพราะมัวแต่สงสัย เอ่อน่า รูปนี้ใครหนอ ๆๆ หลุดดคะ ออกจากสมาธิเลย

    เลยไม่เข้าใจว่าไปถึงไหนแล้ว .

    คำภาวนาหาย ลมหายใจดับ เป็นสภาวะของฌาณ4ครับ
    คาถามงกุฏพระพุทธเจ้านะครับ
    มีนิมิตกำกับพระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าก็คือ ขอบารมีพระพุทธเจ้า ทรงมาประดิษฐานครอบเป็นมงกุฏเหนือศรีษะของเรา
    ก็คือ พอเราว่าคาถาจบ1ครั้ง ให้เรานึกภาพว่ามีพระพุทธรูป เสด็จลงมาประทับเหนือศรีษะของเรา 1องค์
    ทำทีละองค์ๆจนครบทั้งแปดทิศ และมีองค์ใหญ่สุดอยู่ตรงกลางอีกหนึ่งองค์ รวมเป็นพระพุทธรูปเก้าองค์ สวด9จบ

    ส่วนนิมิตอื่นใดอย่าพึ่งสนใจครับ ถ้าจะจับ ให้จับเฉพาะภาพพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    นิมิตอื่นๆ ให้รู้ แต่อย่าไปสนใจ ดึงจิตกับไปที่คาถา ที่ภาพพระพุทธเจ้าต่อไป

    ถ้าดิฉันจะอธิษฐานก่อนเริ่มการทำสมาธิขอให้ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานได้โปรดคุ้มครองดูแล ให้ปฏิบัติได้ถูกทาง นี่ ควรจะตั้งจิตอธิษฐานแบบไหนดีคะ คือว่านึกหาคำพูดที่เหมาะสมไม่ได้อ่ะคะ รบกวนด้วยคะ

    ข้าพเจ้าขอถือเอาซึ่งไตรสรณคม อันมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า
    เป็นสรณ เป็นที่พึ่งสูงสุดของข้าพเจ้า ตลอดไปทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ อธิษฐานย้ำไปสามครั้ง แล้วต่อด้วย

    ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีและขอกราบฝากตัวเป็นศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ โดยมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นที่สุด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรมเจ้าทั้งหมด พระอริยสงฆเจ้าทุกท่านทุกพระองค์ เทพพรหมเทวดาสัมมาทิษฐิ พระโพธิสัตว์ทุกท่านทุกพระองค์
    ครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งในดงและนอกดง สืบๆกันมา มีหลวงปู่เทพโลกอุดรเป็นที่สุด
    ได้โปรดเมตตาสงเคราะห์เสด็จมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า ในการเจริญพระกรรมฐาน
    ให้ข้าพเจ้ามีจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาทิษฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ พบเจอแต่ครูบาอาจารย์ผู้ป็นสัมมาทิษฐิ ปฏิบัติเพื่อมุ่งลัดตัดตรงสู่พระนิพพาน
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ได้โดยง่ายดาย ได้โดยเร็วไว ได้โดยฉับพลันทันใด ในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
    หากข้าพเจ้าเผลอพลาดพลั้งคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นสัมมาทิษฐิเมื่อใด ขอให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เมตตาดลจิตดลใจข้าพเจ้า ให้ตั้งมั่นตรงต่อเส้นทางแห่งสัมมาทิษฐิ ต่อมรรคผลนิพพานตลอดไป ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2010
  14. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่ได้มาฝึกในวันนี้ด้วยครับ

    ได้กันไปเข้มเลย ครบทั้งลมสบาย เมตตา กสิณ อรูป มโนมยิทธิ จริงๆ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  15. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    วันนี้ไปฝึกกันเยอะมั้ยครับอาจารย์ ขออนุโมทนากับคนที่ไปฝึกด้วยครับ
     
  16. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ถูกสังโยชน์ 10 เรื่องของรูปราคะและอรูปราคะเล่นงานเข้าให้แล้ว

    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำนะครับ เรื่องของอภิญญาก็แล้วแต่บุญบารมีที่เคยมีมา ยอมรับจริงๆอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำล่ะครับว่าหาที่เรียนแบบสาธารณะยากจริงๆ แต่ก็ไม่เป็นไร คิดเอาว่าทรงฌาณไปเรื่อยๆรอให้ของเก่า (ถ้าหากจะพอมีอยู่บ้าง) มารวมตัวกันเองก็ได้

    ทีนี้เวลามาดูเรื่องของวิปัสสนา วันก่อนไปพิจารณาเรื่องสังโยชน์ 10 ไล่ไปเรื่อยๆ ข้อแรกไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีอะไร มาติดในข้อของรูปราคะและอรูปราคะ ไม่รู้จะพิจารณาอย่างไร คือความยึดติดในรูปฌาณและอรูปฌาณ

    พื้นฐานของผมแต่ก่อนมานั้น สมัยที่กรอบความคิดยังคับแคบ การทำสมาธิเพราะผมสนใจแต่เรื่องอภิญญาอย่างเดียว เรื่องมรรค ผล นิพาน โลกุตรธรรม ไม่เคยมีอยู่ในความคิด จึงเน้นแต่เรื่องของสมถะเป็นหลัก ไม่ได้สนใจด้านวิปัสสนา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มเห็นภัยในวัฏฏะมากขึ้น ก็เลยมาสนใจด้านวิปัสสนาด้วย เพราะเล็งเห็นแล้วว่าฌาณต่างๆ ทั้งรูปฌาณ อรูปฌาณที่ได้มาแล้วก็แค่นั้น ได้แล้วก็ได้ไป ยิ่งมาอ่านในบอร์ด เห็นคุณตถาตาก็เคยโพสต์เตือนในเรื่องของการติดฌาณ ผมมองแล้วก็อาจจะจริง ก็ต้องขอขอบคุณคุณตถาตาด้วยที่ได้กรุณาแนะนำให้ผมตระหนักถึงเรื่องนี้

    แต่ในระหว่างการทำสมาธิ ความรู้สึกก็บอกว่า เรื่องฌาณนี่มันก็ของดีนะ ถ้าถามความรู้สึกของผมว่ายึดติดในเรื่องนี้หรือเปล่า ก็คงไม่ถึงกับยึดติด เสพย์ติด ขาดไม่ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ว่ามีความพึงพอใจในสภาวะของรูปฌาณและอรูปฌาณต่างๆ ที่เกิดมีขึ้นเท่านั้นเอง

    ความรู้สึกทั้งหลายก็เลยขัดๆกันอยู่ เพราะมันเห็นว่าเรื่องฌาณนี่ก็เป็นของดี แต่ในเรื่องสังโยชน์ 10 ท่านให้ตัดเรื่องรูปราคะ อรูปราคะออกไปให้สิ้น เอาล่ะทีนี้จะทำอย่างไรดีครับ เลยไม่รู้ว่าจะเริ่มพิจารณาอย่างไรดีในเรื่องนี้

    พูดง่ายๆ คือยังไม่เห็นโทษของการหลงใหล ยึดติดในฌาณ แต่จริงๆ ก็คงจะมีโทษอยู่ ท่านจึงให้ตัดออกไปให้สิ้น(ที่พอจะทราบบ้างก็คือการยึดติดในความสงบของฌาณ อาจขัดขวางการบรรลุมรรค ผล นิพพานได้) เลยไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นพิจารณาอย่างไรครับ

    ตกลงเรื่องฌาณนี่ก็ยังเป็นของดี แต่ท่านให้ตัดออกคือว่าอย่าให้ไปหลงใหล ยึดติด ปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นได้ ถ้าได้แล้วก็แล้วไป วางใจให้เป็นอุเบกขา และนำเอากำลังของฌาณมาใช้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนากรรมฐานแค่นั้นก็พอ อย่างนี้ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ

    จึงเรียนมาเพื่อขอแนวทางในการพิจารณาเรื่องรูปราคะ อรูปราคะ ในสังโยชน์ 10 เพื่อประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2010
  17. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    <CENTER>ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของการละ

    กาม-รูป-อรูปราคะ</CENTER><CENTER><TABLE border=0 width="65%"><TBODY><TR><TD>

    ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้ มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว,เมื่อเสพ คบ คลุกคลีอยู่กับพวกชั่ว และถือเอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้ว จักกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;๑ เมื่อไม่กระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรม (ธรรมที่ควรศึกษาสูงขึ้นไป) ให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ; เมื่อไม่กระทำ เสขธรรมให้บริบูรณ์ แล้ว จักระทำ ศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;เมื่อไม่กระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ หรือรูปราคะ หรืออรูป-ราคะได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุ ท.! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี,เมื่อเสพ คบ คลุกคลีอยู่กับพวกมิตรดี และถือเอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้ว จักกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้; เมื่อกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ; เมื่อกระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักรกระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ; เมื่อกระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้วจักละกามราคะ หรือรูปราคะ หรืออรูปราคะได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ แล.


    วิธีละสังโยชน์

    ขั้นแรก
    พิจารณาให้จิตรู้ถึงความจริงของขันธ์ 5 (มนุษย์) ว่าขันธ์ 5 นี้ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นจิต กับส่วนที่เป็นกาย เราเกิดมาแล้วต้องรับภาระในส่วน 2 ส่วนนี้ ส่วนที่เป็นจิตเป็นส่วนที่สำคัญมาก สำคัญมากกว่ากาย เนื่องจากจิตเป็นศูนย์กลางคอยควบคุมกาย มีอำนาจเหนือส่วนอื่น เป็นตัวนำและเป็นตัวสั่ง ทุกสิ่งที่ถูกปลูกฝังลงในจิต ไม่ว่าบาป บุญ คุณ โทษ จริต นิสัย สิ่งเหล่านี้จะติดจิตไปตลอด ข้ามภพข้ามชาติ ส่วนที่เป็นรูปกายนั้นเกิดขึ้นจากการประกอบตัวของธาตุต่าง ๆ เราอาศัยกายนี้ได้เพียงชั่วคราว ชั่วระยะหนึ่ง 70 ปี 80 ปี จะถึงหรือไม่ถึงก็ตาม เมื่อมาอาศัยกายแล้วก็มีสภาพที่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ทั้ง 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความหมายก็คือว่า สภาพรูปกายมีการแปรเปลี่ยน ผุพัง ทรุดโทรม เสื่อมสภาพ ไม่สามารถควบคุมให้คงอยู่ได้ รวมทั้งวัตถุธาตุ สิ่งของทั้งหลายในโลกนี้ที่ประกอบขันธ์ 5 ให้ขันธ์ 5 ได้อยู่ ได้อาศัย ไม่ว่าจะเป็นข้าว ของ เงิน ทอง ที่อยู่อาศัย ปัจจัย 4 ทั้งหลายเหล่านี้ และเมื่อมีขันธ์ 5 ขึ้นมาแล้ว ก็เป็นทุกข์ ทุกข์ตลอด สาระพัดทุกข์ ทุกข์จากการหิวต้องกิน และกว่าจะได้มากินก็ต้องลำบากทำงานหาเงิน ทุ่มให้กับชีวิต และเนื่องจากการมีรูปร่างมีตัวตนเลยทำให้มีความทุกข์ที่เกิดจากสิ่งที่มากระทบ เช่น ความร้อน ความหนาว ความเมื่อย ความเหนื่อย อิจฉาริษยา ดุด่าว่ากล่าว กระทบกระทั่งกัน ทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งท่านเปรียบ ร่างกายเหมือนเป็นรังของโรค โรคภัยไข้เจ็บก่อเกิดขึ้นในนี้และและไม่รู้ว่าโรคภัยไข้เจ็บอะไร จะก่อเกิดขึ้นอีก ทุกข์จากวิบากกรรมในอดีต-ปัจจุบันที่ตามมาสนอง เช่น อุบัติเหตุ ความสูญเสียต่าง ๆ หรือโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรง เป็นต้น ทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจที่อยู่ด้วยความไม่รู้ ตกอยู่ภายใต้ ความโลภ โกรธ หลง และทุกข์สาระพัดทุกข์ที่กระหน่ำเข้ามากระทบกับขันธ์ 5 สุดท้ายทุกข์อย่างก็พังสลายไปหมด ตัวเราก็ต้องตาย ตัวผู้อื่นก็ต้องตาย เหลือแต่จิตที่มันเกิด ดับและจุติไปตามสภาพกระบวนธรรมของมัน ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาให้เห็นจริง ให้จิตมันยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรมเหล่านี้ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้เกิดขึ้นชนหูชนตาเราอยู่ทุกวี่ทุกวัน

    ขั้นที่ 2
    เมื่อจิตของเรายอมรับสัจจะธรรมเหล่านี้บ้างแล้ว ก็จะก่อให้เกิดการปฏิบัติศึกษาเรียนรู้ มากขึ้นตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความศรัทธาก็ค่อยเกิดขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ความลังเลสงสัยในพระพุทธองค์ค่อย ๆ หมดไป ความเอาใจใส่ในการรักษาศีล 5 ก็มีมากขึ้น จนกลายเป็นปกติ เป็นศีลที่ออกมาจากใจ

    ขั้นที่ 3
    จิตเมื่อมันรู้และยอมรับความจริงต่าง ๆ ในขันธ์ 5 หรือสิ่งประกอบขันธ์ 5 แล้ว ตามธรรมชาติมันย่อมค่อย ๆ เปลี่ยนมาใช้สิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริงเรื่อย ๆ ไป ยิ่งถ้าเราพยายามกระตุ้นให้มันปฏิบัติ เรียนรู้ พิจารณาบ่อย ๆ สิ่งที่จิตที่เคยอยู่ด้วยความไม่รู้ แล้วหลงเข้าไปยึดไปเกาะ ยึดมั่นถือมั่น มันค่อย ๆ ถอดถอนความหลงนั้นออก โดยเฉพาะความหลงและยึดมั่นถือมั่นในกาย ที่กลายเป็นตัวเป็นตน บุคคลเขาเรา ของเขาของเราทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่สบอารมณ์ เมื่อมีใครมาแตะต้อง ล่วงเกินสิ่งต่าง ๆ ที่เราหลงไปยึดเกาะ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันได้เกิดขึ้น กับสิ่งที่เราไปยึดเกาะ แต่ด้วยความไม่รู้เลยทำให้เกิดความไม่พอใจ หงุดหงิด ความโกรธ อาฆาตพยาบาทขึ้น สะสมในจิตมาหลายภพหลายชาติแล้ว ความโกรธจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับค่าของสิ่งที่เราได้หลงไปยึดเกาะ มีค่ามากน้อยแค่ไหน หรือเรามีความหลง มากน้อยแค่ไหน หรือมีวิบากกรรมที่เป็นเหตุปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความโกรธ อาฆาตพยาบาท สืบเนื่องมากับเหตุการณ์นี้หรือไม่และมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามเราต้องพิจารณา ให้ตระหนักว่า จิตเราจะเศร้าหมองทันทีเมื่อตัวเราหงุดหงิด โกรธ อาฆาตพยาบาท และจะก่อให้เกิดความทุกข์อีกด้วย ดังนั้นเราต้องรักษาจิตเอาใจใส่จิต เพราะจิตนั้นสำคัญมาก มากกว่ากาย จะอยู่ด้วยดีในภพนี้หรือภพหน้าใด ๆ ก็ตามก็ต้องอาศัยจิตดวงนี้ เราต้องระมัดระวังจิต อบรมบ่มนิสัย ปัดเป่าความเศร้าหมองของจิต มีสติคอยกำกับจิต รักษาจิตให้มากกว่ากาย ควรหมั่นเจริญพรหมวิหาร 4 แผ่เมตตา ซึ่งจะเป็นการอบรมจิต ให้อยู่กับความเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา ทำให้จิตที่แข็งกร้าว อ่อนลงไป ด้วยความเมตตา ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างยิ่งแก่จิตโดยตรง นอกจากนี้ควรฝึก ละความโกรธบ่อย ๆ โดยเฉพาะฝึกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง อาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่เกิดกับตัวเราหรือหรือกับผู้อื่นนี้ เป็นภาคสนาม ซึ่งตัวเราเองจะต้องมีทฤษฎี เครื่องมือ สมาธิและปัญญาพร้อมก่อน ในการฝึกจริง ในภาคสนาม เราต้องมีความอดทนต่อการฝึกหัดที่จะทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน
    ความคิดว่าเป็นความโง่ การยอมแพ้หรืออื่น ๆ ที่มนุษย์ทั้งหลายที่ยังมีจิตใจ ที่หลงใหลไปตามโลกและที่ได้เก็บรักษากิเลส ความโกรธ อาฆาตพยาบาทนี้ มาแล้วหลายภพหลายชาติ พยายามอดทนที่จะต้องทำใจเหมือนผ้าเช็ดเท้า ที่จะให้ผู้อื่นเหยียบย่ำซักขยี้ ซึ่งจะกลายเป็นความสะอาดที่จะเกิดขึ้นแก่ผ้าเช็ดเท้า ยิ่งขยี้ผ้ามากเท่าไร ก็จะทำให้ผ้าสะอาดมากเท่านั้น และการฝึกนี้จะไม่ขจัดแค่ความโกรธเท่านั้น แต่จะขจัดกิเลสตัวอื่นอีกด้วย

    ขั้นที่ 4
    พิจารณาให้เกิดการแบ่งโลก แบ่งธรรมออก โดยเฉพาะในเรื่องของกามราคะนั้น เป็นเรื่องปกติทางโลกที่จะต้องมีต้องเกิด เพื่อมีเผ่าพันธุ์สืบเชื้อสาย ในร่างกายเรามีต่อมฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่ของมัน เมื่อมันหมดมันก็จบ เราจะต้องอบรมจิตให้รู้ถึงโทษของกามราคะที่จิตมันหลงใหล ข้ามภพข้ามชาติ กายไม่ให้ (หมด) แต่จิตใจยังใฝ่หา ติดอกติดใจ เราต้องอบรมให้จิตมันเบื่อมันวาง ถ้าต้องใช้ก็สักแต่มีแต่ใช้ไปตามสภาพ พิจารณาให้มันเกิดปัญญาถึงความเป็นจริงในรูปกาย ที่มันประกอบขึ้นมาด้วยธาตุต่าง ๆ มีแต่ความสกปรก ขี้หู ขี้ตา ขี้ปาก ขี้ฟัน เมื่อลอกเนื้อ ลอกหนังออกก็มีเนื้อ เอ็น กระดูก น้ำเหลือง ตับ ไต ไส้ พุง อุจจาระ ปัสสาวะ อาหารใหม่ อาหารเก่า ล้วนแต่สกปรกไม่ต่างกับขันธ์ 5 ของวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ที่เขาชำแหละขายที่ตลาด ซากร่างกายเหล่านี้ ถ้าทิ้งไว้ ไม่นาน ธาตุต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ก็แยกออกจากกัน เน่าเหม็น น้ำเลือด น้ำเหลือง ไหลนอง เป็นซากศพ น่ารังเกียจ เผาไปฝังไป สิ่งสมมติ อุปาทานเหล่านี้ก็จบสิ้นไป

    ขั้นที่ 5
    พิจารณาย้อนลงไปถึงความเป็นจริงของขันธ์ 5 ถึงกฎไตรลักษณ์ แล้วใช้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ไปตามความจริง ไม่หลงเข้าไปยึดเกาะ แม้กระทั่ง ฌาน และอรูปฌานในการทำสมาธิ สิ่งเหล่านี้ยังไม่เที่ยง ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ปฏิบัติให้ได้ใช้ ให้ได้เป็นเท่านั้น ฝึกสมาธิให้ชำนาญ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์โดยมีนิพพานเป็นเป้าหมาย

    ขั้นที่ 6
    ทิฐิ คือความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนา ให้เกิดเป็นปัญญาได้ ทิฐินี้ถ้าได้ถูกพัฒนาไปจนเป็นความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง คือตรงตามสภาวะ ก็จะทำให้พ้นขั้นของทิฐิไป และความรู้นั้นก็จะไม่ถูกยึดเป็นของตน เพราะมันได้กลายเป็นของกลางเสียแล้ว แต่ถ้ารู้ผิด ติดอยู่กับความหลง ก็จะกลายเป็นมานะทิฐิ ซึ่งเป็นกิเลสตัวใหญ่อีกตัวหนึ่ง เช่น หลงในยศ ในเกียรติ หลงในความเก่ง ความสามารถของตนเองแล้วเอาไปใช้เหยียบย่ำทำลายผู้อื่น เป็นต้น ดังนั้นเราต้องหมั่นพิจารณาด้วยปัญญาหรือให้เกิดปัญญา โดยมีกำลังของสมาธิหนุนอยู่ พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของทุก ๆ สิ่ง ให้เห็นสภาวะจริงของมัน แล้วใช้ไปตามความจริง อยู่ไปตามความเป็นจริงของมัน ก็จะทำให้จิต หลุดออกจากความหลงไปเรื่อย ๆ จิตก็จะปล่อยวางจากสังโยชน์ จนในที่สุด ก็ถึงเป้าหมายที่วางไว้...... "

    ผมคัดลอกมาครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ มันต้องค่อย ๆเป็นค่อย ๆไปอย่าละความเพียรน๊ะครับ สาธุ
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2010
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    เนื่องจากอันนี้ค่อนข้างสำคัญ จึงขออนุญาติลัดคิวตอบให้ก่อนครับ

    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำนะครับ เรื่องของอภิญญาก็แล้วแต่บุญบารมีที่เคยมีมา ยอมรับจริงๆอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำล่ะครับว่าหาที่เรียนแบบสาธารณะยากจริงๆ แต่ก็ไม่เป็นไร คิดเอาว่าทรงฌาณไปเรื่อยๆรอให้ของเก่า (ถ้าหากจะพอมีอยู่บ้าง) มารวมตัวกันเองก็ได้

    ทีนี้เวลามาดูเรื่องของวิปัสสนา วันก่อนไปพิจารณาเรื่องสังโยชน์ 10 ไล่ไปเรื่อยๆ ข้อแรกไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีอะไร มาติดในข้อของรูปราคะและอรูปราคะ ไม่รู้จะพิจารณาอย่างไร คือความยึดติดในรูปฌาณและอรูปฌาณ

    พื้นฐานของผมแต่ก่อนมานั้น สมัยที่กรอบความคิดยังคับแคบ การทำสมาธิเพราะผมสนใจแต่เรื่องอภิญญาอย่างเดียว เรื่องมรรค ผล นิพาน โลกุตรธรรม ไม่เคยมีอยู่ในความคิด จึงเน้นแต่เรื่องของสมถะเป็นหลัก ไม่ได้สนใจด้านวิปัสสนา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มเห็นภัยในวัฏฏะมากขึ้น ก็เลยมาสนใจด้านวิปัสสนาด้วย เพราะเล็งเห็นแล้วว่าฌาณต่างๆ ทั้งรูปฌาณ อรูปฌาณที่ได้มาแล้วก็แค่นั้น ได้แล้วก็ได้ไป ยิ่งมาอ่านในบอร์ด เห็นคุณตถาตาก็เคยโพสต์เตือนในเรื่องของการติดฌาณ ผมมองแล้วก็อาจจะจริง ก็ต้องขอขอบคุณคุณตถาตาด้วยที่ได้กรุณาแนะนำให้ผมตระหนักถึงเรื่องนี้


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตถาตา. [​IMG]
    มันหลงแล้วครับ นิวรณ์5เกิด อุปกิเลส 10กำลังเล่นงาน ระวังติดฌาณนะครับ.....
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่ในระหว่างการทำสมาธิ ความรู้สึกก็บอกว่า เรื่องฌาณนี่มันก็ของดีนะ ถ้าถามความรู้สึกของผมว่ายึดติดในเรื่องนี้หรือเปล่า ก็คงไม่ถึงกับยึดติด เสพย์ติด ขาดไม่ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ว่ามีความพึงพอใจในสภาวะของรูปฌาณและอรูปฌาณต่างๆ ที่เกิดมีขึ้นเท่านั้นเอง

    ความรู้สึกทั้งหลายก็เลยขัดๆกันอยู่ เพราะมันเห็นว่าเรื่องฌาณนี่ก็เป็นของดี แต่ในเรื่องสังโยชน์ 10 ท่านให้ตัดเรื่องรูปราคะ อรูปราคะออกไปให้สิ้น เอาล่ะทีนี้จะทำอย่างไรดีครับ เลยไม่รู้ว่าจะเริ่มพิจารณาอย่างไรดีในเรื่องนี้

    พูดง่ายๆ คือยังไม่เห็นโทษของการหลงใหล ยึดติดในฌาณ แต่จริงๆ ก็คงจะมีโทษอยู่ ท่านจึงให้ตัดออกไปให้สิ้น(ที่พอจะทราบบ้างก็คือการยึดติดในความสงบของฌาณ อาจขัดขวางการบรรลุมรรค ผล นิพพานได้) เลยไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นพิจารณาอย่างไรครับ

    ตกลงเรื่องฌาณนี่ก็ยังเป็นของดี แต่ท่านให้ตัดออกคือว่าอย่าให้ไปหลงใหล ยึดติด ปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นได้ ถ้าได้แล้วก็แล้วไป วางใจให้เป็นอุเบกขา และนำเอากำลังของฌาณมาใช้เป็นพื้นฐานของวิปัสสนากรรมฐานแค่นั้นก็พอ อย่างนี้ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ

    จึงเรียนมาเพื่อขอแนวทางในการพิจารณาเรื่องรูปราคะ อรูปราคะ ในสังโยชน์ 10 เพื่อประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ

    สังโยชน์ขอที่6 กับ 7 เริ่มตัดให้ขาดอย่างจริงจังตอนเป็นพระอนาคามีครับ
    ตัดโดยจากแต่เดิมที่เราเข้าฌาณ เราเข้ารูปฌาณ และอรูปฌาณ
    พอจะตัดขึ้นอารมณ์พระอรหันต์ จะตัดข้อ6 7 เวลาเข้าฌาณ ให้หันไปทรงฌาณในอารมณ์พระนิพพานเพียงจุดเดียว
    เพราะอะไร ก็เพราะ
    1. ฌาณในอารมณ์พระนิพพานเย็นกว่า รูปฌาณ อรูปฌาณ อย่างเทียบไม่ติด
    2. จิตของพระอนาคามีทรงอยู่ในรูปฌาณตลอด ไม่มีตกจากรูปฌาณ
    ซึ่งหากท่านตายเมื่อไหร่ แย่ที่สุดท่านก็จะเป็นพรหม จะเกิดต่ำกว่าพรหมไม่ได้
    พอตัดข้อ 6 7 ก็คือจิตทรงอยู่ในอารมณ์พระนิพพานตลอด เข้าฌาณทุกครั้งจับอารมณ์พระนิพพานตลอด
    พระอรหันต์นั้นจิตของท่านทรงอยู่ในอารมณ์พระนิพพานตลอดเวลา
    หากท่านตายเมื่อไหร่ ท่านจึงไปพระนิพพานเท่านั้น

    ถ้ายังไม่ถึงพระอนาคามี<!-- google_ad_section_end --> ยังไม่ได้อารมณ์พระนิพพาน อย่าพึ่งไปตัดข้อ 6 กับ 7เพราะถ้าตัดทิ้งโดยเด็ดขาดจะไม่เหลืออะไรเลย
    ให้เราทำข้อ 6 กับ 7 ให้เบาบางลงเท่านั้น เบาบางลงคือ อย่าหลงว่ารูปฌาณ อรูปฌาณ คือ พระนิพพาน

    กับมีการตัดชั่วคราวเพื่อขอสัมผัสอารมณ์พระนิพพาน เป็นระยะเวลาหนึ่งๆ
    ท่านที่เคยได้สัมผัสอารมณ์พระนิพพานแล้ว ให้ตัดสังโยชน์ครบ10ข้อให้สะอาดจากจิต ชั่วคราว ก็จะสัมผัสอารมณ์พระนิพพานได้
    ตราบใดที่สังโยชน์ข้อ 6 7 ยังไม่กลับมา อารมณ์พระนิพพานจะยังคงเย็นอยู่
    พอสังโชน์ข้อ6 7 เริ่มกลับมา จิตก็จะตกจากอารมณ์พระนิพพาน ต้องมาตัดกันใหม่
    แล้วก็ทำซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งตัดสังโยชน์ข้อ6 7 ได้ขาดถาวร จิตจะทรงอยู่ในอารมณ์พระนิพพานตลอด ไม่ต้องบังคับ
    การตัดข้อ 6 7 ก็คือการเปลี่ยนมาเข้าฌาณในอารมณ์พระนิพพานนั่นเอง

    วิธีการตัดสังโยชน์ข้อ 6 7 แบบง่ายๆ สำหรับท่านที่ได้ และ ยังไม่ได้อารมณ์พระนิพพาน
    ก็คือ ให้ตั้งใจว่าถ้าเราตายขึ้นมาตอนนี้ เราจะขอไปพระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    ซึ่งคนในสมัยโบราณนั้น เวลาท่านทำบุญทุกครั้ง ท่านตั้งใจว่า ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเท่านั้น
    ผมได้ไปพบมาจากข้อความโบราณข้อความหนึ่ง ที่ท่านเขียนไว้หลังสร้างพระอุโบสถถวายวัดเสร็จ
    "เมื่อจดับสังฑรธรรม ขอได้ไปสู่ประนิภานไนกาลนั้น" เป็นภาษาโบราณ

    และอานิสงค์ของการตั้งใจว่าตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเท่านั้น ซึ่งหลวงพ่อฤาษีท่านเน้นย้ำตรงจุดนี้อย่างมากนั้น
    ก็เพราะว่า การตั้งใจว่าตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเท่านั้น พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใดขอไปที่นั่น
    เป็นการตัดสังโยชน์ 10 ข้อ ขมวดปมรวบในทีเดียว
    ซึ่งอารมณ์ที่ไม่อยากเกิด ตั้งใจไปพระนิพพานนี้
    คืออารมณ์เดียวกันกับอารมณ์ที่ทำให้คนในสมัยโบราณเกิดบรรลุธรรมฉับพลัน

    สังโยชน์ 10ข้อ รวมอยู่ที่อเดียวคือ อวิชชา
    อวิชชา คือ ความไม่รู้ ไม่รู้อะไร
    ไม่รู้ว่าเกิดมามันทุกข์ ไม่รู้ว่าเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม ก็ยังทุกข์
    พอไม่รู้ว่าเกิดมานั้นมันทุกข์ จิตจึงอยากเกิดต่อ
    บางคนอยากเกิดมาเพื่อกินอาหารอร่อย อยากเกิดมาเพื่ออยู่กับคนที่ตัวเองรัก เกิดมาเพื่อล้างแค้น เกิดมาเพื่อเจอความสนุกบนโลก
    รวมแล้วอวิชชา คือ การอยากเกิด เพราะไม่รู้ว่าเกิดมามันทุกข์

    การตั้งใจเว่า ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพาน ก็คือการไม่อยากเกิด เพราะรู้ว่าเกิดมามันทุกข์
    แต่ว่า คนที่รู้สภาวะพระนิพพานอย่างถูกต้อง และมั่นใจนั้นมีน้อย
    จึงต้องกำกับว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใด ขอไปที่นั่น เพื่อให้ถึงสภาวะพระนิพพานที่ถูกต้องและไมคลาดเคลื่อน พร้อมได้ไตรสรณคม
    เพื่อให้คนที่รู้ และไม่รู้ มั่นใจและไม่มั่นใจ ว่าพระนิพพานเป็นอย่างไร ไปถึงจุดเดียวกัน โดยยึดพระพุทธเจ้าเป็นหลักชัย

    ไม่อย่างนั้นหากเราคิดว่าพระนิพพานเป็นความว่าง ดันอธิษฐานว่าขอให้เข้าถึงความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย ตายแล้วจะกลายเป็นอรูปพรหมแทน

    ดังนั้นการพิจารณาวิปัสสนาญาณ ทุกครั้ง จึงต้องขมวดปมว่า ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเท่านั้น หรือตายแล้วจะไม่เกิดอีก
    เพราะถ้าไม่ขมวดปมแบบนี้ ก็จะเหมือนกับ ทำการบ้าน แล้วลืมเอาไปส่ง ทำงานแล้วไม่ไปรับเงินเดือน

    แล้วเราก็ตั้งใจเอาไว้ก่อนนอนทุกคืน อธิษฐานก่อนหลับ ว่า ตายเมื่อไหร่จะไปอู่ กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน
    ถ้ามันตายขึ้นมาจริงๆ ตอนที่เราหลับ อย่างแย่สุดก็เป้นเทวดา ขั้นกลางก็พรหม ถ้าใจแน่วแน่ ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น

    และสุดท้ายคือ การตั้งใจว่า ตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพานเท่านั้น
    จะทำให้สังโยชน์ทั้ง10ข้อ เบาบางลงทีละนิด
    เพราะ 1.เราจะบรรเทา รัก ความอาลัยในโลก ความอยากเกิดลงไปทีละนิด
    2.เราจะบรรเทาโลภ ความเห็นแก่ตัว จะมีเมตตามากขึ้น เพราะถือว่าตายแล้วเราไม่เกิดอีก มีอะไรเหลือก็แบ่งให้คนอื่นใช้
    3.เราจะบรรเทาโกรธ ในเมื่อตายเมื่อไหร่จะไปพระนิพพานเท่านั้น มันก็โกรธใครไม่ลง
    4.เราจะบรรเทาหลง เพราะคนธรรมดาไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปที่ไหน ส่วนเรามีหลักชัยแน่วแน่มั่นคง ไม่กลัว ไม่เผลอตาย
    5.ระลึกถึงพระนิพพาน เป็นอุปสมานิสติกรรมฐาน ตายเมื่อไหร่ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น ควบมรณานุสติกรรมฐาน และพุทธานุสติกรรมฐาน
    ควบทีเดียวสามกองในหนึ่งคำอธิษฐาน

    ขอให้ทุกๆดวงจิต มีความตั้งใจแน่วแม่นคงในความปรารถนาพระนิพพาน
    ตายจากชาติปัจจุบันเมื่อไหร่ ขอให้มีพระนิพพานเป็นที่ไป เป็นที่สุด เข้าถึงซึ่งไตรสรณคม ได้ทุกๆดวงจิต
    ด้วยพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  19. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณพี่ชัดมากๆ แล้วก็ขอบคุณคุณNickaz ที่นำมาโพสถามเพื่อเป็นแนวทางต่อๆไปครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  20. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    อนุโมทนาบุญด้วยคับ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านที่ฝึกกันที่สวนลุม ได้เกล็ดความรู้ สมาธิ เพิ่มขึ้นมามากเลยทีเดียวคับ มีวันไหนอีกบอกด้วยนะคับ อนุโมทนาด้วยคับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...