การถวายข้าวพระพุทธ

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 22 มีนาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ในงานบุญแต่ละอย่างจะมีการถวายข้าวพระพุทธก่อน การถวายข้าวพระพุทธบางท่านไปตำหนิว่าเหมือนการเซ่นไหว้ของศาสนาพราหมณ์ แต่ความจริงเป็นการกระทำตามอย่างพระอานนท์

    พระอานนท์ท่านอยู่อุปัฏฐากรับใชัพระพุทธเจ้ามาหลายปี แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ด้วยความเคยชินท่านก็ไปปัดกวาดเช็ดถูกุฏิ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตั้งภัตตาหารเอาไว้ เป็นการกระทำที่แสดงออกซึ่งความเคารพและกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ พอมารุ่นหลังๆ ครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้จริง ท่านก็สอนให้ยึดในพุทธานุสติ อย่างเช่น การถวายข้าวถวายน้ำก็เป็นการถวายเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าโดยตรง ครูบาอาจารย์ก็แนะนำให้ทำ

    ทีนี้มีปัญหาตรงที่ว่า ถ้าเป็นที่วัด บรรดาทายกมักเลือกอาหารที่ดีที่สุด จัดเป็นสำรับไปถวายพระพุทธเจ้า พอถึงเวลาประเคนภัตตาหารสงฆ์ พระท่านฉัน พระพุทธเจ้าท่านนั่งมองเฉยๆ ท่านไม่ได้ฉันด้วย พอเสร็จพิธีก็ลา 'เสสัง มังคะลา ยาจามิ' ทายกคว้าไปซัดเสียเอง


    นั่นเป็นของสงฆ์เต็มๆ และไม่ใช่ใครอื่นอาตมาเองก็ร่วมมือกับเขามานาน พอดีวันนั้นหลวงพ่อท่านเทศน์เรื่องนี้ ท่านก็ถามว่า ใครกินนรกลงท้องไปแล้วบ้าง อาตมายกมือสุดแขน ท่านก็หัวเราะ บอกให้ไปชำระหนี้สงฆ์ ตั้งใจว่าเรากินไปเป็นราคาปัจจุบันเท่าไหร่ ก็ทยอยทำบุญไป จะได้ไม่ต้องติดหนี้ หรือไม่ใครเป็นเจ้าภาพชำระหนี้สงฆ์ก็ร่วมบุญกับเขา ถ้าเป็นพระปิดทองก็ร่วมกับเขาไป

    พระที่จะชำระหนี้สงฆ์ต้องหน้าตักสี่ศอกขึ้นไป แล้วถ้าไม่ปิดทองได้แต่เจ้าภาพใหญ่คนเดียว ถ้าปิดทองจะมีเจ้าภาพกี่คนถ้าร่วมชำระถือว่าได้หมด

    ต้องบอกว่าเป็น พุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าประมาณไม่ได้ ทรัพยสินสิ่งของเท่าไหร่ๆ ก็ไม่สามารถเอามาประเมินมาเป็นราคา เพื่อจะไปวัดพุทธานุภาพได้ ไปวัดคุณของพุทธเจ้าได้

    ดังนั้น การสร้างพระ...ถ้าปิดทอง...เขาถือว่าต่อให้คุณร่วมมาบาทเดียว อานิสงส์ก็ได้ เพียงแต่ว่าอย่าไปทำอีก ถ้าทำอีกก็ติดหนี้ต่อไปอีก

    เป็นที่น่าเสียดายที่พระเณรไม่มีความรู้ ไม่สามารถแนะนำสิ่งที่ถูกต้องให้แก่ญาติโยมได้ กลายเป็นว่าลงอบายภูมิไปทีละรุ่นๆ จนกว่าจะมีใครมาบอกความจริงให้หูตาสว่างไปเสียที



    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เทศน์ ณ บ้านอนุสาวรีย์
    วันที่ ๓ พ.ค. ๕๒



    ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=440


    .
     
  2. พงศ์830

    พงศ์830 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,172
    ค่าพลัง:
    +1,196
    นี้มีปัญหาตรงที่ว่า ถ้าเป็นที่วัด บรรดาทายกมักเลือกอาหารที่ดีที่สุด จัดเป็นสำรับไปถวายพระพุทธเจ้า พอถึงเวลาประเคนภัตตาหารสงฆ์ พระท่านฉัน พระพุทธเจ้าท่านนั่งมองเฉยๆ ท่านไม่ได้ฉันด้วย พอเสร็จพิธีก็ลา 'เสสัง มังคะลา ยาจามิ' ทายกคว้าไปซัดเสียเอง


    นั่นเป็นของสงฆ์เต็มๆ และไม่ใช่ใครอื่นอาตมาเองก็ร่วมมือกับเขามานาน พอดีวันนั้นหลวงพ่อท่านเทศน์เรื่องนี้ ท่านก็ถามว่า ใครกินนรกลงท้องไปแล้วบ้าง


    แล้วควรทำอย่างไรกับอาหารที่ถวายครับ
     
  3. Honey-Su

    Honey-Su Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +42
    แล้วถ้าทำบุญที่บ้าน เจ้าภาพเป็นคนถวายข้าวพระพุทธ ต้องเป็นของสงฆ์ด้วยหรือเปล่า และต้องทำอย่างไรค่ะ
     
  4. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171

    เมื่อเป็นของสงฆ์ ก็ควรให้พระสงฆ์ทั้งหมดบอกอนุญาตก่อนจึงจะนำไปรับประทานได้ครับ



    .
     
  5. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171

    ถ้าทำบุญที่บ้าน ข้าวที่ถวายพระพุทธนั้นไม่ถือเป็นของสงฆ์ เจ้าภาพลาอาหารนั้นแล้วนำไปรับประทานได้ครับ



    .
     
  6. พงศ์830

    พงศ์830 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,172
    ค่าพลัง:
    +1,196

    ขอบคุณรับพี่...อนุโมทนาสาธุครับ
     
  7. วาริเมะ

    วาริเมะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ถ้าถวายข้าวพระพุทธที่บ้านไม่จัดว่าเป็นของสงฆ์ แสดงว่าขึ้นอยู่กับสถานที่อย่างนัั้้นหรือครับ ?
    รบกวนขอความรู้หน่อยนะครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...