ดินแดนสุวรรณภูมิ ประวัติศาสตร์ชาติไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 6 มิถุนายน 2010.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    บทนำ

    ดินแดนสุวรรณภูมิหรือบริเวณแหลมอินโดจีนแห่งนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศคือทิศเหนือจดกับจีนและลาว ทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่าและมหาสมุทรอินเดีย ทิศใต้ติดกับมาเลเซีย และทิศตะวันออกติดกับลาวและเขมร หางนับรวมเอาประเทศทั้งหมดแล้วดินแดนส่วนนี้คือ แหลมทองหรือแหลมมหาสมุทรอินเดีย กับทะเลจีน นั้นเอง

    ในโลกยุคดึกดำบรรพ์หลายร้อยล้านปีนั้น สภาพของแผ่นดินในแถบนี้ก็คงเหมือนกับสภาพเดียวกับแผ่นดินอื่น ตั้งแต่มีการเกิดโลกในระบบสุริยะของดาราจักรและสิ่งที่มีชีวิตที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งในการรู้ได้แต่ข้อสันนิษฐานและทฤษฎีของผู้ที่ศึกษาให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกได้หมด

    โลกในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นเพียงกลุ่มก๊าซที่หลุดจากวงจรดวงอาทิตย์ เมื่อกลุ่มก๊าซภายนอกนั้นได้เย็นลงเป็นเปลือกโลกที่หุ้มห่อก๊าซที่ยังร้อนอยู่ภายใน เปลือกในครั้งแรกนั้นเป็นดินผืนเดียวกัน

    ต่อมาโลกได้สร้างก๊าซภายในตัวเองรั่วออกจากรอยแตกของผิวโลก และการระเบิดภูเขาไฟได้ปล่อยให้ก๊าซมีเทน (methane) คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และไอน้ำ ขึ้นมาบนโลก อุกกาบาตจากอวกาศได้พุ่งชนบนโลก เสียดสีอากาศไหม้เป็นทางลงมาชั้นบรรยากาศบนโลก ก้อนหินร้อนแดงได้กระทบหินละลายที่อยู่บนโลก พร้อมกับนำคาร์บอนในรูปสารอินทรีย์มาสู่โลกจำนวนหลายล้านตัน จนโลกสั้นสะเทือนและหินละลายนั้นได้แตกกระจายอย่างน่ากลัว เช่นเดียวกับดาวหาง ซึ่งเป็นหินที่ฝังตัวอยู่ในน้ำแข็งก้อนขนาดใหญ่หลายตันจากนอกโลกก็พุ่งชนโลกพร้อมกับน้ำมาให้โลก แต่โลกยังร้อนจนน้ำนั้นระเหยเป็นไอน้ำไปแม้จะรวมตัวเป็นฝนก็ระเหยเช่นกัน ต่อให้มีไอน้ำรั่วออกมาจากโลกก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นทะเลหรือมหาสมุทรได้

    โลกจึงระอุด้วยภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวพื้นโลกโดนถูกอุกกาบาตและดาวหางวิ่งชนสลับร้อนสลับเย็น ไม่มีออกซิเจน มีแต่เสียงหินเดือด เสียงระเบิดอยู่นับร้อยล้านปี จนดลกระบายความร้อนให้เย็นลงฝนตกลงมาถูกกับหินร้อนแล้วกลายเป็นไอน้ำจับตัวเป็นฝนตกหมุนเวียนอยู่เช่นนี้ จึงมีแอ่งน้ำใหญ่ในหลุมอุกกาบาตเกิดขึ้น น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำของโลกจึงทำให้เกิดแอ่งน้ำและลำธารหลายแห่ง เมื่อดวงจันทร์ได้ส่งแรงดึงดูดบนโลกจึงเป็นเหตุให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง จนโลกมาสู่ยุคอาเคียนหรือยุคโบราณ ได้ค้นพบกลุ่มหินวาร์ราวูนา ที่พบบนโลกนั้น เป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดจากที่มีการค้นพบมา ส่วนประกอบบนโลกนั้นเป็นหินโลหะขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หินยุคสร้างโลกจากการขุดหินจากก้นทะเลเชื่อว่าจะเป็นพื้นที่ที่ไม่มีอะไรมารบกวนมาตั้งแต่เป็นโลกแรก กับพบว่าหินก้นทะเลไม่ได้มีอายุเก่าแก่ที่สุด ดังนั้นหินยุคแรกที่สร้างโลกจึงถูกทำลาย ลม ฝน และการเคลื่อนที่ของพื้นผิวโลก จากการปั่นป่วนของทะเลและการเปลี่ยนแปลงอากาศที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล น่าเชื่อว่าธรรมชาติได้มีส่วนลำลายหินดั้งเดิมโลกไปหมดแล้ว ดังนั้นโลกที่ปรากฏเป็นส่วนที่เคยแตกแยกและถูกบดเป็นผงของก้อนโลหะเดิมของโลก มีการหลอมละลาย แล้วก่อตัวขึ้นใหม่ หลายครั้งหลายหน จึงทำให้ส่วนที่เป็นสสารเดิมของโลกหายากขึ้น

    หินที่เชื่อว่าเป็นหินที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกคือ แหล่งหินอิซัว (ภาษาเอสโกโมแปลว่า ไกลมาก)อยู่บนเกาะกรีนแลนด์ มีอายุประมาณ ๓,๘๐๐ ล้านปี ดังนั้นตั่งแต่การเกิดโลกจนถึงหินอิซัวเกิดขึ้นนั้น เป็นระยะประมาณ ๑,๐๐๐ พันล้านปี จึงน่าเชื่อว่าบนโลกจะไม่เหลือหลักฐานอะไรมากไปกว่านี้แล้ว
    สภาพของโลกในช่วง ๑,๐๐๐ พันล้านปีแรกนั้นคงไม่มีทะเลและแผ่นดิน ผิวโลกคงจะบางและเนื้อโลกส่วนใหญ่คงจะยังเป็นของเหลว อากาศไม่สามารถใช้หายใจได้ ท้องฟ้าก็มีลักษณะมืดมัว

    การเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกคงจะไม่แตกต่างจากดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์เช่นกันนักวิทยาศาสตร์
    กิลเบิรท์ ได้ตั้งทฤษฎีไว้ว่าได้มีการเกิดลูกหิน (อุกกาบาต) ตกลงบนดวงจันทร์ และกระทบผิวพื้นให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ถ้ากลุ่มลูกหินชนิดนี้ได้เคยตกลงบนพื้นโลก ก็พิสูจณ์ได้ว่าหลุมบ่อที่เกิดขึ้นบนโลกเป็นเหตุเดียวกันเรื่องนี้ได้มีการสำรวจเนินสูงและทำการวัดสนามแม่เหล็กเพื่อค้นหาก้อนโลหะใต้มหาสมุทรเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ครั้งนั้นไม่พบอะไร แม้ว่าต่อมา แดเนียล มอโรบาร์ริงเกอร์ จะเชื่อในทฤษฎีดังกล่าวและทำการขุดก้อนโลหะในหลุมอุกกาบาตต่อ ก็พบแต่ชั้นผงหินที่ถูกบดละเอียดและเกาะกันแน้น จนการสำรสจในครั้งหลังสุด ยูยีน ชูเมเกอร์ แห่งองค์การสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาหลุมยักษ์ที่อยู่บนโลกทุกด้าน และได้พบว่าชิ้นหินในกำแพงที่เป็นขอบเป็นขอบหลุมนั้นได้กระจัดกระจายออกไปในทะเลทรายไกลนับเป็นหลายกิโลเมตร

    ชูเมอร์ได้อิบายว่าหินเหล่านี้กระเด็นออกไปรอบข้างเหมือนดังดอกไม้ที่กำลังผลิกลีบบานออกมาและกลีบดอกอ้าออก เมื่อขุดลงไปพบว่า ภายใต้พื้นก้นหลุมใหญ่นั้น พบชิ้นหินแตกละเอียดดอกอ้าออก เมื่อขุดลงไปพบว่า ภายใต้พื้นก้นหลุมใหญ่นั้น พบชิ้นหินแตกละเอียดลงไปอีกถึง ๑๘๐ เมตร ในช่วง ๑๕ เมตร สุดท้านนั้นปรากฏมีหยดอุกาบาตรเล็ก ๆ ที่เคยหลอมละลาย ขณะที่พบนั้นอยู่ในสภาพแข็งตัว เป็นเหมือนแก้ว อันเป็นข้อยืนยันว่า การเกิดเช่นนั้นได้นั้นต้องมีการกระแทกจนหลอมละลายอย่างกะทันหันเท่านั้น

    ดาวโลกนั้นเชื่อว่ามีดาวอุกาบาทพุ่งเข้ามาชนโลกทุกวัน อุกาบาตนั้นส่วนใหญ่จะไหม้หมดในบรรยากาศก่อนพุ่งถึงพื้นดินหรือแตกและไหม้เป็นเม็ดฝุ่นลงบนพื้นโลก ฝุ่นอุกาบาตรนี้ตกลงมาสม่ำเสมอวันละประมาณ ๑๐๐ ตัน และ ลอยอยู่ในอากาศ

    เรื่องของอุกาบาตรนั้น ในพุทธศตวรรษที่ ๖ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญว่า โลกมีหินตกลงจากท้องฟ้า ไพลนี นักธรรมชาติวิทยาชาวโลมันได้เขียนถึงและเรียกว่า หินฟ้าคะนอง ด้วยปรากฏที่ว่าหินที่ตกลงมานั้นส่งเสียงดัง ข้อมูลนี้ต่อมาในศตวรรษที่ ๒๒ ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสทำการศึกษาแล้วสรุปว่า หินตกจากฟ้านั้นไม่มีจริงทั้งที่ ๆ ต่อมาโลกได้เกิดฝนดาวตก (อุกกาบาต) ในเมืองไลเกิล ห่างจากเมืองปารีสไปทางตะวันตก ๑๑๐ กิโลเมตร ก็พบว่ามีหินฟ้าคะนอง (อุกกาบาต) ที่ชาวเมืองนำมาแลกกันมากมาย แต่ไม่สนใจเหมือนหลายครั้งที่มีเหตุการณ์อุกกาบาตตกลงบนโลก

    ครั้งหลังสุด อารม์สตอง อัลดริน และคอลลินส์ ได้เดินไปดวงจันทร์ตามโครงการอพอลโล ที่ทำการส่งยานอวกาศลงบนดวงจันทร์ ครั้งนั้นอวกาศได้นำหินดวงจันทร์กลับมา ๒๐,๐๐๐ ก้อนรวม ๒๐ กิโลกรัม เมื่อวิเคราะห์ตัวอย่างหินแล้วทำให้ได้เรียนรู้ถึง ดวงจันทร์เมื่อ ๑,๐๐๐ ล้านปี ที่มการพุ่งชนของอุกกาบาต ครั้งใหญ่อย่างรุนแรง เป็นพายุหินอุกกบาตรที่กินเวลานานหลายล้านปี ดังนั้นผงสีโกโก้ที่นักบินอวกาศเหยียบย่ำบนดวงจันทร์นั้นจึงเป็นผงหินที่ถูกอุกกาบาตพุ่งชน ผงหินบนดวงจันทร์นี้มีความลึกถึง ๒๐ เมตร เป็นสมมุติฐานที่เชื่อว่าผิวหน้าของดวงจันทร์บางส่วนถูกอุกกาบาตชนเป็นประจำ และเป็นผงหินที่มีอายุมากกว่า หินอิชัวบนโลก ประมาณว่าอาจมีอายุถึง ๔,๖๐๐ ล้านปีเป็นหินที่มีมาตั้งแต่ครั้งแรกดวงจันทร์โดยไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ ส่วนหินเก่าแก่ก้อนใหญ่คือหินบะซอลห์ ซึ่งปรากฏในทะเลของดวงจันทร์นั้นมีอายุประมาณ ๓,๑๐๐ ล้านปีถึง ๓,๘๐๐ ล้านปี มีอายุเท่า ๆ กันกับหินอิซัวที่อยู่บนโลก
    สรุปแล้วดวงจันทร์กับโลกนั้นน่าจะเกิดพร้อมกันเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านปี ผิวหน้าของดวงจันทร์นั้นถูกอุกกบาตรพุ่งชนอย่างรุนแรงจนร้อนละลายแล้วก็ค่อยเย็นลง ต่อมา ๔,๐๐๐ ล้านปี อุกกาบาตได้พุ่งชนอีกแต่ไม่รุนแรงเหมือนครั้งแรก แต่เกิดหลุมขนาดใหญ่ขึ้น ทำลายหินเก่าแก่ของดวงจันทร์ทะละพื้นหลุมอุกกาบาตออกมาท่วมผิวหน้าของดวงจันทร์จนเป็นบริเวณกว้าง เป็นทะเลหินละลายที่เย็นตัวลง ดวงจันทร์จึงหยุดการเปลี่ยนแปลง แต่อุกกกาบาตรก็ยังพุ่งชนอยู่เช่นนี้ โลกก็น่าจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน

    ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงบนดวงจันทร์กับดาวโลกน่าจะอยู่ในเหตุการณ์และลักษณะเดียวกันคือ เกิดพายุฝนดาวตก (พายุหินอุกกาบาต) ทำให้พื้นผิวโลกเป็นหลุมเป็นบ่อ ในทวีปแอนตาร์กติกา ใกล้ภูเขายามาโต๊ะ อยู่ตรงส่วนใต้ทวีปอาฟริกา นักสำรวจญี่ปุ่นพบอุกกาบาตสีดำเก้าก้อนวางอยู่เป็นกลุ่มบนพื้นน้ำแข็ง แสดงว่าพื้นน้ำแข็งเป็นแหล่งรวบรวมอุกกาบาตได้เป็นอย่างดี และหลังจากการทำสำรวจหลายปี คณะสำรวจจึงทำการรวบรวมอุกกาบาตได้ถึง ๓,๐๐๐ ชิ้น

    พายุหินดาวตกปรือพายุหินอุกกาบาต นั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดระบบสุริยะ ซึ่งมีดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ รวมทั้งดาวโลก เชื่อกันว่าน่าจะมีดาวโลกอยู่ในระบบสุริยะอื่นอีกหลายโลก (จนเชื่อว่าน่าจะมีมนุษย์ในโลกอื่นอีกเช่นกัน) และรอบดวงอาทิตย์นั้นก็มีเศษดาวที่เหลืออยู่ลอยอยู่รอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีเศษดาวอีกส่วนหนึ่งเข้าไปรวมอยู่ในบริเวณดาวเคราะห์น้อย ซึ่งเป็นก้อนหินและก้อนโลหะมีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ลูกปิงปองไปจนมีขนาดใหญ่หลายสิบกิโลเมตรอยู่ในวงโคจรระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี และกลุ่มดาวหางซึ่งเป็นน้ำแข็งผสมเศษหินอยู่เป็นกลุ่มรอบดวงอาทิตย์ที่มีวงโคจรไกลที่สุดเลยวงจรของดาวพลูโลที่อยู่ไกลสุดออกไปอีก ดาวหางนี้อาจมีจำนวนถึงล้านล้านดวง

    ด้วยเหตุนี้วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่ตัดวงโคจรปกติของดาวเคราะห์จึงมักมีเหตุชนกันขึ้นอย่างหนีไม่พ้น และการชนกันแต่ละครั้งนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดาราจักรและระบบสุริยะซึ่งชูเมเกอร์เชื่อว่าการชนนั้นเป็นกระบวนการพื้นฐานที่สุดในทางธรณีวิทยา

    ผิวโลกจึงมีสภาพเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยมีลม น้ำ และภูมิอากาศ ทำหน้าที่กัดกร่อนพื้นผิวโลกอยู่เป็นเวลานาน โลกในระยะแรกนั้นหลอมเหลว เมื่อผิวโลกจับกันจนแข็งเป็นแผ่นครั้งใดก็ถูกชนจนแตกและกลับหลอมละลายขึ้นใหม่ โลกมีลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นโลกในครั้งแรกจึงมีแต่ก้อนหินที่ร้อนแรง ส่องแสงเรืองทั่วทั้งก้อน พื้นมีแต่ทะเลทราย ปราศจากพื้นดิน มหาสมุทรและพืชสีเขียว โลกมีสภาพนี้อยู่ตั้งแต่ ๔,๖๐๐ ล้านปี ถึง ๓,๖๐๐ ล้านปี

    ดังนั้นเรื่องโลกดึกดำบรรพ์ การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต จึงมีเวลายาวนานสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ บนผิวโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ละลายพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ให้สอ้นสูญพันธุ์ ชิ้นดินของโลกที่ทับถมกันมาหลายร้อยล้านปีนั้นได้บันทึกซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของหินแข็งและซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL) มากมาย

    ในระยะเวลาที่ยาวนานนั้นมิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เกิดขึ้น และสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นต้องใช้เวลานับเกือบสี่พันล้านปีสำหรับการวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตไปสู่การเกิดของมนุษย์อยู่บนโลก

    โลกเมื่อ ๖๐ ล้านปีนั้นมีความเชื่อว่า มนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจาก ไพรเมท (PRIMATE) และต่อมา ๑๒ – ๒๘ ล้านปี ได้วิวัฒนาการเป็น ไดรโอพิเธกัส (DSIO-PITHECUS) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีบรรพบุรุษร่วมกันระหว่างมนุษย์กับลิง แล้วประมาณ ๑๒ – ๑๔ ล้านปี จึงวิวัฒนาการเป็นรามาพิเธกัส (RAMAPITHECUS) ต่อมาประมาณ ๔-๕ ล้านปีจึงวิวัฒนาการต่อมาเป็นออสเตรโลพิเธกัส (AUSTRALOPITHECUS) และโฮโมฮาบิลิส (HOMO HABILES)

    ออสเตรโลพิเธกัสนี้คือฮาโทนิคที่เป็นบรรพบุรุษของโฮโม อิเลคตัส (HOMO ELECTUS) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์ การสำรวจพบเรื่องราวของมนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์ในแต่ละแห่งของโลกนั้น ได้ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น มนุษย์ชวา คือ ซากมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในพบในชวาเรียกพิทธีแคนโทรปัส (PITHECANTHROPUS) มนุษย์ปักกิ่ง คือ ซากมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่พบในจีนเรียกไซนานโทรปัส (SINANTHROPUS) และซากมนุษย์ที่พบในแอฟริกาเหนือเรียกว่า แอทแลนโทรปัส (ATLANTHROPUS) และ
    ทีแลนโทรพัส (TELANTHROPUS) ซึ่งเป็นมนุษย์คล้ยวานรที่เกิดในช่วง ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปีถึง ๕๐๐,๐๐๐ ปีถือว่าเป็บบรรพบุรุษของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

    จากการสำรวจเรื่องราวของมนุษย์ดึกดำบรรพ์นั้นได้พบว่าในสมัยไพลสโตซีนเมื่อ ๒ ล้านปีนั้น มีมนุษย์คล้ายวานรเกิดขึ้นมากมาย และพบว่าทวีปแอฟริกานั้นเป็นแหล่งของมนุษย์คล้ายวานรในยุคเก่านั้น ในเวลาต่อมานั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์กลุ่มนี้ได้เดินทางต่อไปยังทวีปยุโรป จีนและเอเชียจน ถึงเกาะชวา

    ต่อมาเมื่อประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ปี บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบันคือ โฮโม ซาเปียน (HOMO SAPIEN) ได้เกิดขึ้นและวิวัฒนาการจนเป็นมนุษย์ปัจจุบัน แต่มนุษย์ปัจจุบันนั้นคือ มนุษย์พันธุ์ ซาเปียน (SAPIEN) เป็นมนุษย์โดยตรงคือมนุษย์นีอัลเดอร์ธัลและมนุษย์โครมันยอง จึงไม่ใช่โฮโม อิเลคตัส ในกลุ่มมนุษย์คล้ายวานร

    มนุษย์ดึกดำบรรพ์นั้น ได้เรียนรู้ที่จะดำรงอยู่บนโลกจากธรรมชาติ พบว่ารู้จักใช้เครื่องมือหินและถาชนะดินเผา รู้จักเครื่องมือเหล็ก การเพาะปลูกและก่อไฟ ต่อมามนุษย์นี้ได้แยกย้ายอพยพเผ่าพันธุ์ไปเติบโตในพื้นที่จ่าง ๆ มีลักษณะที่ปรับตัวในบริบทของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างบ้านแปงเมือง ทำให้เกิดมนุษย์เชื้อชาติต่าง ๆ ขึ้นทั่วโลก

    สำหรับปรากฏการธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกครั้งแรก ทำให้มนุษย์ได้เชื่อถือเอาสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพากันนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าหรือเทพเจ้าสูงสุด ตั้งแต่นั้นมา

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h001c001.shtml
     
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สรุปสาระความรู้

    สรุปสาระความรู้

    โลกกำเนิดเมื่อประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว เมื่อศึกษาอายุของชั้นหิน และซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินแล้ว พบว่าประวัติของโลกแบ่งออกเป็น ๓ มหายุค คือ

    ๑.มหายุคอาร์เคียน เป็นช่วงเวลาที่โลกยังไม่มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้น
    ๒.มหายุคโพรเทอโรโซอิก เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลก เป็นพืชและสัตว์พวกเซลเดียว ม
    รูปแบบง่าย ๆ เริ่มต้นเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว
    ๓.มหายุคฟาเนอโรโซอิก เป็นช่วงเวลาที่โลก มีการวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่กว่า โยมีรูปแบบ
    ชีวิตที่ยุ่งยากและมีความน่าสนใจมากขึ้น เริ่มเมื่อประมาณ ๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว และมีการแบ่งประวัติของโลกตามกาลสูญสิ้นพันธุ์ครั้งใหญ่ของพืชและสัตว์ออกเป็น ๓ ยุค ได้แก่
    ยุคพาลิโอโซอิก (๕๗๐ – ๒๓๐ล้านปี) เป็นช่วงเวลาที่โลกมีกลุ่มพืชและสัตว์ส่วนใหญ่เริ่มปรากฏตัวขึ้นบนโลก ยกเว้นพวกพื้นที่มีดอก และสัตว์ประเภทนก
    ยุคมีโสโซอิก (๒๓๐ -๖๕ ล้านปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่โลกมีสิ่งมีชีวิตหลายกลุ่มเกิดขึ้น โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลานเกิดขึ้นมากมายเช่น
    ·ไดโนเสาร์ พวกสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่บนบก
    ·เพลสซิโอซอร์ และ อิกธิโอวอร์ เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ทางทะเล
    ·เทดโรซอร์ พวกสัตว์เลื้อยคลานประเภทที่บ้นได้ และสัตว์ประเภทนก ส่วนพืชนั้นเริ่มเกิดพืชมีดอก
    ยุคซีโนโซอิก (๖๕ ล้านปีถึงปัจจุบัน) เป็นช่วงเวลาที่โลกเกิดพืชมีดอกมากมายและเป็นช่วงเวลาที่สัตว์เลื้อยคลานนั้นเปลี่ยนแปลงมาเป็นสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนมและในช่วงเวลา ๕ ล้านปีสุดท้านนั้น ได้เกิดมนุษย์วานรขึ้นเป็นครั้งแรก

    ต่อมาประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น มนุษย์ที่วิวัฒนาการมาจากมนุษย์วานรก็ปรากฏขึ้นบนโลก
    สายพันธุ์มนุษย์ยุคแรก ปรากฏว่า มีวิวัฒนาการสายพันธุ์ดังนี้ รามาพิธคกัส (Ramapithecus) มีชีวิตเมื่อ ๒๐ – ๑๒ ล้านปี ในสมัยโมโอซีน (Miocene) ออสตราโลพิเธคกัส (Australopthecus) มีชีวิตเมื่อ ๑๒ – ๒ ล้านปี ใน สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) โฮโมอิเลคตัส (Homo eleetus) และโฮโมฮาบิลิส (Homo habilis) มีชีวิตประมาณ ๒ ล้านปีใน สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene)


    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h001c002.shtml
     
  3. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สุวรรณภูมิยุคโลกดึกดำบรรพ์

    สุวรรณภูมิยุคโลกดึกดำบรรพ์

    แผ่นดินของโลกเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้วพบว่าในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้นบริเวณแหลมอินโดจีนหรือแหลมทองที่เรียกว่าสุวรรณภูมิแห่งนี้ (ที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน) เคยเป็นแหล่งเกิดวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวของโลกยุคดึกดำบรรพ์ในแหล่งอื่น ๆ

    การสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่า แผ่นดินบริเวณแหลมทองและอ่าวไทยนั้นเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซเหลวอยู่ใต้พื้นทะเล เนื่องจากมีการขุดพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซในพื้นที่ดังกล่าว คือ พบแหล่งน้ำมันดิบที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งน้ำมันดิบที่แหล่งสิริกิติ์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งก๊าซธรรมชาติที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้ทะเลกลางอ่าวไทย เป็นต้น

    บริเวณสุวรรณภูมินั้น เป็นแผ่นดินผืนใหญ่ของโลกที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กล่าวคือ โลกเกิดการระเบิดของภูเขาไฟนับร้อยนับพันไปทั่วทุกแห่ง ภูเขาไฟพ่นลาวาไหลออกมาคลุมผิวโลก จนทำให้ผิวโลกเกิดการไหวตัวอย่างรุนแรงจนทำให้ผิวตัวแตกแยกออกจากกันเกิดร่องลึกและเกิดเขาหินดันพื้นดินให้โผล่ขึ้น จนพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เคยอาศัยอยู่บนผิวโลกนั้น ร่วงตกลงไปอยู่ใต้ดินแล้วลาวาหรือโคลนดินไหลทับถมอัดแน่นอยู่นานวัน

    เมื่อสรรพสิ่งต่าง ๆ ถูกทับถมอยู่เป็นเวลานานนับล้านปี แรงกดดันที่ต่อเนื่องเป็นเวลานานล้านล้านปีนั้น มีความแน่นสนิทนานจนทำให้ซากของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดการแปรสภาพเป็นก๊าซธรรมชาติและหลอมเหลวกลั่นกลายเป็นน้ำมันดิบแทรกอยู่ตามช่องว่างใต้ดินเป็นเวลานานพันล้านปีต่อมา

    ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวนั้น ต่อมามนุษย์ได้รู้วิธีขุดเจาะพื้นดินเพื่อนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าและเป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย

    ครั้นสำรวจทางธรณีวิทยาก็พบว่าบริเวณแหล่งสุวรรณภูมิแห่งนี้ในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้นได้เคยเป็นบริเวณที่มีภูเขาไฟเกิดขึ้นมาก่อน คือ บริเวณพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้สำรวจพบว่าภูเขาพระอังคาร ภูเขากระโดง และภูเขาพนมรุ้ง ที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้งนั้น เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน แต่ได้ดับลงมานานนับล้านปีแล้ว และบริเวณเขาฝาละมี เขาพนมฉัตร ที่อยู่ในจังหวัดลพบุรีนั้นได้สำรวจพบว่ามีหินอัคนีอันเกิดจากเถ้าถ่านของลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟอยู่ตามพื้นดินเชิงเขา ดังกล่าว

    สิ่งมีชีวิตในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้น จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับแหล่งดึกดำบรรพ์ในพื้นที่อื่น ๆ กล่าวคือ บริเวณพื้นผิวโลกแห่งนั้น ในระยะแรกเป็นแหล่งของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลเดียวในทะเล เช่น จำพวกหอย ปลา เป็นต้น ต่อมาสัตว์เซลเดียวนั้นได้วิวัฒนาการชีวิตมาตามลำดับและพัฒนาการจนมีสัตว์หลากหลายชนิด เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่รู้จักกันดีในชื่อ “ไดโนเสาร์” คือสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีรูปร่างใหญ่โตแผ่นดินส่วนที่มีสัตว์และพืชเหล่านี้จึงเป็นโลกของสัตว์ดึก
    ดำบรรพ์แต่ละชนิดที่ยึดครองพื้นที่โลกมานานนับล้านปี ก่อนมีวิวัฒนาการของมนุษย์ขึ้น

    ดังนั้นพื้นที่ในประเทศไทยหลายแห่งจึงพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ (FOSSIL) ฝังอยู่แน่นในก้อนถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งพบที่เขตอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อำเภอลี้จังหวัดลำพูน และบ้านหนองปูดำ อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ล้วนแล้วเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า

    แผ่นดินไทยบนแหลมอินโดจีนหรือสุววรณภูมิแห่งนี้เป็นแหล่งสำคัญของโลกยุคดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง กล่าวคือโลกยุคนั้นบริเวณดังกล่าวนี้เป็นป่าไม้ผืนใหญ่ที่มีต้นไม้ใบหญ้าเติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์

    ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้น ภูเขาฟได้ระเบิดอย่างรุนแรงไปทั่วทุกแห่งแล้วพ่นลาวาออกมา ทำให้ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และแน่นทึบเหล่านั้นถูกลาวาเผาไหม้ จนต้นไม้กลายเป็นเถ้าถ่าน และทับถมอยู่นานนับหมื่นล้านปี ในที่สุดถ่านไม้เหล่านั้นได้กลายเป็นซากหินแข็งในที่สุด

    บริเวณพื้นที่ในประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สำรวจพบว่ามีต้นไม้กลายเป็นซากหินฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเกิดจากต้นไม้และพืชได้ถูกฝังถมอยู่ใต้ดินมาเป็นเวลานานนับหมื่นปีถึงหลายร้อยล้านปีจนทำให้สารละลายของน้ำใต้ดินซึ่งมีแร่ธาตุนั้นได้ซึมเข้าไปตกตะกอนหรือตกผลึก ในที่สุดก็ซึมเข้าไปแทนที่เนื้อไม้ที่สลายตัวตามธรรมชาติจนกลายเป็นซากหินแข็งในรูปลักษณะของต้นไม้นั้น เมื่อสำรวจได้พบว่าซากหินแข็งนี้มีอยู่จำนวนมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

    แหล่งดึกดำบรรพ์ที่พบต้นไม้กลายเป็นซากหินแข็งนั้นมีอยู่หลายแหล่ง ได้แก่ บ้านกุดตะขอน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และบริเวณของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี และกาฬสินธุ์ เป็นต้น
    แผ่นดินของสุวรรณภูมิของประเทศไทยปัจจุบันนี้ ในโลกยุคแรกนั้นเป็นสภาพป่าไม้ที่เกิดขึ้นในโลกดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง ด้วยปรากฏพื้นที่นั้นมีแร่ธาตุต่าง ๆ ทับถมอยู่มานานหลายสิบล้านปี จนทำให้แหล่งกำเนิดแร่ธาตุสำคัญอยู่มากมาย แหล่งแร่ธาตุที่มีการสำรวจพบแล้ว ได้แก่

    ·แหล่งแร่ทองคำ พบที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบที่บ้านหนองสังข์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พบที่หาดคำริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย พบที่เมืองโต๊ะโม๊ะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส พบที่ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พบที่เขาพนมพา จังหวัดพิตร และพบที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
    ·แหล่งแร่ดีบุก วุลแฟรม โคลัมไบท์ และแหล่งแร่แทนทาลัม (tatalum) (สำหรับทำหัวจรวจและยานอวกาศที่ต้องทนความร้อนสูง) พบที่จังหวัดภูเก็ต ระนอง พังงา นครศรีธรรมราช (เขาศูนย์) พบบนดอยหมอกที่เชียงราย และดอยโง้มที่แพร่
    ·แหล่งทองแดง โบราณขนาดใหญ่พบที่เขาพุคา เขาพระบาทน้อย แขวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี
    และที่ภูโล้น ริมแม่น้ำโขง พบที่ตำบลม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีการขุดทองแดงมาถลุงตั้งแต่สมัยพุทธกาล
    · แหล่งแร่เหล็ก พบที่เขาทับควาย ลพบุรี พบที่บ่อเหล็กน้ำพี้กับบ่อพระแสง จังหวัดอุตรดิตถ์ พบที่ เขาต้นน้ำลำพัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย และพบที่จังหวัดบุรัมย์
    ·แหล่งแร่โปแตส สำหรับทำปุ๋ย พบที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
    ·แหล่งแร่สังกะสี พบที่บ้านผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    ·แหล่งแร่ตะกั่ว พบที่บ้านคลิตี้ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีพลอยและหินสีมีค่า พบที่กาญจนบุรี จันทบุรี และตราด


    จากการพบแหล่งแรธาตุที่สำคัญในประเทศไทยดังกล่าวนี้ เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่สมัย

    ประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ ยุคเหล็ก มาจนถึงสมัยทวาราวดี (พ.ศ. ๓๕๐ -๑๒๐๐) สมัยศรีวิชัย (พ.ศ.๑๒๐๐-๑๕๐๐)มาจนถึงสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการใช้โลหะมาก่อนแล้ว จนรู้จักที่สร่งเครื่องมือและสิ่งของด้วยโลหะ โดยเฉพาะแหล่งทองคำนั้นได้พบว่า มีบ่อทองอยู่หลายแห่ง ในบริเวณพื้นที่ของเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ สุโขทัย เป็นต้น ดังนั้นความมั่งคั่งจากการมีธาตุดังกล่าวทำให้สมัยกรุงศรีอยุธยามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว รวมไปถึงอัญมณี พลอยสีต่าง ๆ ด้วย

    ใน พ.ศ. ๒๐๖๑ แผ่นดินในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ทำสัญญาพระราชไมตรีกับโปรตุเกส ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่อาณาจักรสยามได้ติดต่อกับชาวต่างชาติ ดังนั้นโปรตุเกสจึงเป็นชาติแรกที่ซื้อขายแร่ดีบุกจากทางใต้ โดยเฉพาะเมืองนคารศรีธรรมราช และภูเก็ตหรือจังซีโหลน ถือว่าเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ใช้เป็นสินค้าออกอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนแล้ว

    ต่อมาพ่อค้าชาวต่างชาติในทวีปยุโรปจึงเดินทางมาค้าขายแร่ดีบุกในอาณาจักรสยามมากขึ้น คือมีฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น แร่ดีบุกเป็นสินค้าขาออกสำคัญ และมีการทำสัญญาค้าขายกับชาวต่างประเทศด้วย

    จากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับแร่ธาตุในแผ่นดินสยามไว้ว่า

    “ไม่มีประเทศใด จะมีชื่อเสียงในความสมบูรณ์ทางแร่ มากกว่าสยาม ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปและเครื่องโลหะหล่อจำนวนมหาศาลและการที่ชาวสยามสกัดทองคำได้จำนวนมาก ซึ่งมิใช่จะใช้ประดับพระพุทธรูปที่มีอยู่จำนวนมากมายเหลือคณานับเท่านั้น แม้ในอาคารสถานที่ เช่น ฝาผนังห้อง เพดาน และหลังคา โบสถ์ยังคาดด้วยทองคำอีกด้วย มีบ่อแน่ทองคำเก่าพบกันอยู่ทุกวัน และยังมีซากเตาถลุงอยู่จำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าถูกทอดทิ้งไปเพราะสงครามกับพม่ามานานแล้ว”

    การทำเหมืองแร่ดีบุกนั้นน่าจะเริ่มต้นจนเป็นสินค้านั้นน่าจะเกิดที่เมืองถลาง (จังซีโหลน)) จนทำให้มี
    การเรียกว่า ภูเก็ต ขึ้น โดยนำมาจากคำว่า บูกิต หมายถึงตะกั่วดำ แล้วทำให้เกิดเมืองท่าค้าขายแร่ดีบุก ในที่สุดก็เป็นตลาดใหญ่จนเป็นชื่อของพื้นที่ว่า ภูเก็ต แทนเมืองถลางในที่สุด

    พ.ศ. ๒๑๘๓ นอกจากมีแร่ดีบุกเป็นสินค้าออกแล้ว ยังพบบ่อแร่อื่น ๆ ขึ้นหลายแห่งและมี
    การสร้างเตาอยู่ทั่วไป มีแร่ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว เหล็ก พลวง และพลอย ทำให้อาณาจักรสยามเป็นแหล่งแร่ที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน จนสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ความรู้การทำเหมืองแร่ และการหล่อโลหะก็ทรุดโทรมลง จนถึงปี พ.ศ. ๒๒๙๐ แผนดินของสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ได้มีการพบแร่ทองคำขึ้นที่ ตำบลบางตะพาน เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรสยามสมกับคำที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ หรือแผ่นดินแหลมทอง

    ความอุดมสมบูรณ์แร่ธาตุของแผ่นดินสุวรรณภูมินั้น ในวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยา เรื่องขุน
    ช้างขุนแผน ยังมีข้อกล่าวถึงโลหะ หรือแร่ธาตุสำคัญไว้ด้ว ตอนขุนแผนได้นำโลหะมาใช้เป็นดาบฟ้าฟื้น มีความตอนหนึ่งว่า

    “จะจัดแจงตีดาบไว้ปราบศึก ตรองตรึกเหล็กไว้หนักหนา
    ได้เสร็จสมอารมณ์ตามตำรา วางไว้ในมหาสาตราคม
    เอาเหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ ยอดปราสาททวารามาประสม
    เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร
    หอกสัมฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก เหล็กปฏักสลักประตูตะปูเห็ด
    พร้อมเหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้
    เอาเหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่
    ทองคำสัมฤทธิ์นากอะแจ เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงคง
    เอามาสุมคุมควบเข้าเป็นแท่ง เผาให้แดงตีแผ่แผ่นแช่ยาผง
    ไว้สามวันซัดเหล็กนั้นเล็กลง แต่ยังคงพองามตามตำรา

    ความจากวรรณกรรมเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าสังคมไทยในอดีตนั้นมีความรู้เรื่อง วิชาเล่นแร่แปรธาตุมาช้านาน ในคำกลอนนี้ได้กล่าวถึงโลหะที่เกิดจากบ่อพระแสงและบ่อน้ำพี้ ซึ่งเป็นบ่อแร่เหล็กคุณภาพดีของจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนมาก อะแจ คือโลหะที่เรียกว่านาก เป็นโลหะผสมที่ใช้ทองคำผสมกับทองแดง ที่มีการนำมาจากแหล่งผลิตคือเมืองอะแจหรืออาเจห์ (ACEH) ตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดจีน

    ด้วยเหตุนี้ การที่แผ่นดินสุวรรณภูมิมีโลหะจากแหล่งแร่ธาตุต่างพื้นที่เข้ามาในอาณาจักรนั้นก็เนื่องจากสมัยบารณนั้นได้มีเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขายกับเมืองดังกล่าวมาก่อนนั่นเอง กล่าวคือ อาณาจักรศรีวิชัยกับกรุงศรีอยุธยานั้น ต่างใช้เส้นทางเรือสินค้าเส้นนี้เดินทางติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้านี้แล้ว

    ต่อมาเมืออาณาจักรสยามมีสงครามขึ้นกับพม่า การเหมืองแร่ก็หยุดชงักไปตั้งแต่ปลายอยุธยา ถึงต้นรัตนโกสินทธ์ สมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้า รัชกาลที่ ๓ นั้น เหตุการณ์สงครามสงบลง ทำให้มีการปรับปรุงการทำมาหากินทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องการถลุงแร่ ที่เมืองรนองนั้นมีการทำเหมืองแร่ดีบุกด้วยวิธีทำเหมืองแล่นและเหมืองหาบ ที่เมืองอุทัยธานีมีการถลุงแร่เหล็กที่บ้านท่าซุงสำหรับส่งเป็นสินค้าออก จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ การทำเหมืองแร่ดีบุกได้เจริญรุ่งเรือง แต่ขุดแร่ทองคำนั้นน้อยลง จนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ

    ในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ นั้นได้มีการนำแร่ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงิน ดีบุก และทองคำ ได้มีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น กล่าวคือก่อนหน้านั้นได้มีการสร้างโรงกษาปณ์ (เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓) เพื่อทำเงินตราโดยใช้โลหะต่าง ๆ นั้นมาสร้างเหรียญ และมีพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐ ทำให้มีการนำแร่ที่อยู่ใต้ดินมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมากมาย

    ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ได้มีบันทึกของมิสเตอร์เกรแฮม ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๕
    และรัชกาลที่ ๖ กล่าวถึง แหล่งทองคำในสยาม ไว้ใน หนังสือสยามแปลว่า “เมล็ดทองคำละเอียดในหาดทราย มีอยู่ในเกือบจะทุกลำธารน้ำในประเทศสยาม”

    ปัจจุบันในประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีแหล่งธาตุอุดมสมบูรณ์มีผลผลิตแร่สำคัญได้แก่ ดีบุก ลิกไนต์ สังกะสี หินปูน ยิปซั่ม ฟลูออไรต์ ตะกั่ว แบไรต์ หินดินดาน เฟลส์สปาร์ ดินขาว ทังสะเตน ทรายแก้ว และโคลัมไบด์ แทนทาไลด์ เป็นต้น ล้วนมีประสิทธิภาพในการอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีรัตนชาติหรืออัญมณี โดยเฉพาะ ทับทิม และแซปไฟร์ เป็นสินค้าออกในรูปอัญมณีสำเร็จรูป

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h001c003.shtml
     
  4. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสุวรรณภูมิ

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสุวรรณภูมิ


    ประเทศไทยหรือสุวรรณภูมิในอดีตนั้น เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบมีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่มนุษย์โลกดึกดำบรรพ์ การสำรวจเรื่องดึกดำบรรพ์และโบราณคดีวิทยานั้นได้ซากหินของลิงดึกดำบรรพ์ คือ ลิงขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายอุรังอุตัง ตั้งชื่อใหม่ว่า “สยามโมพิเธอีโอซีนิค” และ “ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส” เป็นลิงมีสายพันธุ์เดียวกับมนุษย์วานรที่พบในชวาและปักกิ่งลิงประเภทนี้มีอายุอยู่บนโลกเมื่อประมาณ ๑๓.๕ ล้านปี
    (ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส) และประมาณ ๓๕ – ๔๐ ล้านปี (สยามโมพิเธอีโอซีนิค) ๓๕-๔๐ ล้านปี เป็นหลักบานที่พบว่ามีอายุเก่แก่ที่สุด

    มนุษย์วานรที่เกิดขึ้นดินแดนสุวรรณภูมินั้นได้วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษลิงดังกล่าวมาจนถึงสายพันธุ์ของมนุษย์

    ดังนั้นในสมัยก่อนประวิติศาสตร์นั้น เรื่องราวทางโบราณคดีในดินแดนสุวรรณภูมิหรือประเทสไทยจึงถูกสำรวจพบอยู่มากมาย กล่าวคือ ได้มีการพบเครื่องมือหินและโครงกระดูกของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทย

    สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น เป็นสมัยที่กำหนดช่วงเวลาของมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร (ตัวหนังสือสื่อความหมาย) สรุปแล้วคือสมัยที่ไม่มีการบันทึกเป็นภาษเขียนที่มำให้คนในปัจจุบันอ่านความหมายได้

    ยุคนี้เป็นเรื่องราวของมนุษย์ยุคแรกที่เกิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว

    การวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษลิงมาจนถึงมนุษย์วานร (APE) นั้นมีระยะยาวนานมากจึงจัดในเรื่องราวมนุษย์ดึกดำบรรพ์ส่วนเรื่องราวมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้น ปรากฏขึ้นเมื่อราว ๒ ล้านปี โดยมีช่วงเวลามาจนมีการเริ่มต้นจดบันทึกลายลักอักษร ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นก็เกิดมีการบันทึกตัวอักษรขึ้นในเวลาไม่พร้อมกัน จึงทำให้มีเวลาของยุคสมัยแตกต่างกันไปตามอารยธรรมของโลก ดังนี้

    ·ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟสติกของ เมโสโปเตเมีย อยู่ในอิรัคนั้นเป็นแหล่งที่พบว่า
    มีลายลักอักษรเก่าแก่ที่สุดในโลก มนุษย์รู้จักจดบันทึกแล้ว ประมาณ ๕,๕๐๐ ปีมาแล้ว
    ·ดินแดนลุ่มแม่น้ำไนท์ในอียิปต์ มนุษย์รู้จักจดบันทึก เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปี
    ·ดินแดนกลุ่มแม่น้ำสินธุในเอเชียใต้นั้น มนุษย์รู้จักจดบันทึกเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ ปี
    ·ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน มนุษย์รู้จักบันทึกเมื่อประมาณ ๓,๘๐๐-๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว

    สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไทยนั้น ได้อาศัยหลักฐานการจารึกข้อความที่พบในเมืองโบราณสีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์และจารึกบนทับหลัง ซึ่งพบว่ามีปราสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้วนั้นพออนุโลมสรุปได้ว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของไทยนั้นสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ -๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c001.shtml
     
  5. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหิน

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในไทยในระยะแรกนั้นมีการกำหนดยุคสมัย โดยอาศัยเครื่องมือหินที่มีสำรวจพบแล้วเป็นยุคหิน ยุคโลหะ ดังนี้

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่า
    (Palacolithic Period หรือ Old Stone Age) ราว ๕๐๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ ปี

    แหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคนี้พบว่ามีอยู่หลานแห่งโดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์หินเก่านั้นได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณกลุ่มละ ๓๐ – ๓๐๐ คน มนุษย์กลุ่มนี้พากันดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บเผือกมันและผลไม้เป็นอาหารใช้รากไม้ใบไม้ รักษาการเจ็บปวด ไม่รู้จักทำไร่ไถ่นาปลูกพืช ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ ไม่มีภาษาเขียน มนุษย์บางกลุ่มไม่รู้จักการใช้ไฟ รู้จักที่จะนำกระดูกสัตว์และหินมากระเทาะด้านเดียวอย่างหยาบ ๆ มาเป็นเครื่องมือสับตัด โดยไม่รู้จักขัดถูให้ประณีต ดังจะเห็นได้จากขวานหินกำปั้น เป็นหินขวานประเภทกะเทาะ รู้จักทำเข็มเย็บหนังสัตว์และกระดูกสัตว์ บางครั้งมนุษย์ยุคหินเก่นี้ส่วนใหญ่ได้อาศัยถ้าและเพิงฝาเป็นที่พักหรือเร่ร่อนพเนจรไปหากินตามลำธาร ซอกเขาต่าง ๆ ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวร เมื่อที่ใดไม่มีแหล่งอาหารหมด ก็จะเคลื่อนย้ายไปแหล่งอาหารใหม่เรื่อยไป เมื่อตายก็จะนำศพไปฝัง

    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๓๐ คณะสำรวจได้พบหลักฐานทีแสดงว่าแผ่นดินสุวรรณภูมิมีมนุษย์ยุคหนตอนต้นคือโฮโมซาเปี้ยน (HOMO Sapien) ตั้งหลักแหล่งอยู่แล้ว มนุษย์ยุคนี้มีอายุระหว่าง ๓๗,๐๐๐-๒๗,๓๕๐ ปี ในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ ดักลาส แอนเดอร์สัน (Dr.Douglas Anderson) นักมนุษย์วิทยาโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับกรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดี พบเครื่องมือหินกะเทาะถ่านจากเตาไฟ เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์เผาไฟ และร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคไพลสโตซีน อยู่ในถ้ำหลังโรงเรียนอยู่ที่บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ หรือเพิงเผาหินปูน เป็นมนุษย์ยุคเดียวกับมนุษย์โครมันยองที่พบในฝรั่งเศส

    ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๔ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร นักโบราณคดีไทยได้สำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะและร่องรอยการอยู่อาศัย ของมนุษย์โบราณยุคไพลสสโตซีน ในถ้าหมอเขียว ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เช่นเดียวกันได้มรชีการนำสิ่งที่ค้นพบไปทดสอบ อายุด้วยรังสีนิวเคลียร์ที่สหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุกว่าสี่หมื่นปี

    เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีนั้นแผ่นดินบริเวณนี้ได้เกิดมีระดับน้ำทะเลซึ่งมีความสูงกว่าปัจจุบันราว ๔๕ เมตร หมายความว่าน้ำได้ท่วมแผ่นดินเป็นบริเวณกว้างมีเกาะแก่งในทะเล ต่อมาเมื่อประมาณ๒๕,๐๐๐-๒๒,๐๐๐ ปีนั้น โลกได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นโดยภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินไหวไปทั่วโลก จนทำให้น้ำทะเลลดลงกว่าระดับปัจจุบันถึง ๑๒๐ เมตร ทำให้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และสัตวืสามารถเดินทางทางบกไปมาระหว่างภูเขาและแผ่นดินต่าง ๆ ที่เคยเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ อยู่ในทะเลได้สะดวกสบาย หลักฐานที่ยืนยันในเรื่องนี้คือเกลือสินเธาว์บนบกและใต้ดินหลายแห่งที่พบในสมัยดึกดำบรรพ์นั้นเป็นแหล่งน้ำเค็มมาก่อน เช่น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บนภูเขาสูงที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

    ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณดังกล่าวนั้นได้เคยเป็นทะเลมาก่อน ต่อมาเมื่อประมาณ ๘,๕๐๐ -๕,๗๐๐ ปี ได้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดซ้ำอีก ทำให้น้ำทะเลกลัลขึ้นสูงถึงระดับปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เคยเป็นพื้นดินดั้งเดิมกลายเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ มีการใช้แพและเรือในการเดินทางระหว่างเกาะต่าง ๆ

    ข้อสันนิษบานนี้ให้คำตอบว่า มนุษย์และพืชหรือสัตว์ที่อยู่ต่างทวีปนั้น เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นทะเลและเกาะใหญ่น้อยต่าง ๆ ขึ้นได้ ทำให้มนุษย์และสัตว์ เช่น ช้างที่อยู่ในเกาะลังกา สุมาตรา และอินเดียนั้นจึงมีชาติพันธุ์และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันได้

    หลักฐานสำคัญที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะหยาบ และ ขวานหินกำปั้น ที่ใช้ในยุคหินอายุกว่า ๑๐,๐๐๐ ปี เป็นจำนวนมาก ซึ่งสำรวจพบที่จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณแควน้อย แควใหญ่ ใกล้สถานีรถไฟบ้าเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง ที่ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค

    นอกจากนี้ยังมีการสำรวจที่พบเครื่องมือหินเก่อีกหลายแห่ง เช่น พบขวานหินกระเทาะหยาบและขวานหินกำปั้นในจังหวัดกระบี่ พบที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบที่ถ้ำเบื้องแบบในจังหวัดลำปาง พบที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดแพร่ พบที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดเชียงใหม่ พบที่ผาช้าง ออบหลวง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบโรงศพทำไม้รูปร่างคล้ายเรือขุดจากต้นซุง ขวานหิน ลูกปัดและหม้อดินเผาและซากพืช พวกหมาก สมอภิเภก ดีปลี พลู พริกไทย และแตงกวา ที่ถ้ำผาชัน ถ้าผีแมน และถ้ำปุงฮุง

    สำหรับในจังหวัดเชียงรายนั้นพบขวานหินที่แหล่งโบราณคดีคอยคำ ริมฝั่งแม่น้ำคำ แม่น้ำโขง บ้านสบคำ บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย และอำเภอเมือง จังหวัดเลย พบที่อำเภอเชียงคลาน จังหวัดราชบุรี พบที่บ้านตะโกปิดทอง อำเภอสวนผึ้ง รวมทั้งมีการพบชิ้นส่วนขวานหินบนยอดเนินเขาที่ ๑๒ กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมือง และ ๑๕ กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมือง จังหวัดน่าน (เป็นแหล่งผลิตเครื่องหินโบราณ จังหวัดพะเยา พบบริเวณแม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และแม่น้ำเมย หลายแห่ง ส่วนใหญ่มักจะพบเครื่องมือหินในที่กลางแจ้งใกล้แม่น้ำหรือทางน้ำเก่า ยกเว้นที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีแห่งเดียวเท่านั้นที่พบเครื่องมือหินในถ้ำ

    สำหรับหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่าในประเทศไทยนั้นพบอีกหลายแห่ง เช่น พบในถ้ำจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในดอนถ้ำพระ อำเภอเชียงแสน พบในพื้นที่ดินฝั่งซ้ายของแม่น้ำกก ห่างจากจังหวัดเชียงรายไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร พบบนเนินผาใกล้ถ้ำฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบในถ้ำกระดำ เขาสนามแจ้ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พบในถ้ำพระ ถ้ำทะลุ เขาหินกรวดระหว่างสถานีรถไฟบ้านเก่า ถึงสถานีท่ากิเลน ใกล้แม่น้ำแควน้อย พบบริเวณใกล้ทางรถไฟสาย ธนบุรี – น้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี และพบที่ทุ่งผักหวานตำบลที่ท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเชลยศึกชาวฮอลันดาชื่อ ดร.แวน เฮเกอเร็น ซึ่งถูกญี่ปุ่นจับมาทำงานเป็นกรรมกรสร้างทางรถไฟสายมรณะ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบเครื่องหินของมนุษย์โบราณที่ริมแม่น้ำแควน้อย ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว ๓๕ ไมล์ จึงได้เขียนรายงานเผยแพร่ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีนักประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยหลายขณะ เช่น คณะของประทศเดนมาร์ค ของมหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เรื่องราวของมนุษย์ก่อนปรพวัติศาสตร์ที่พบบริเวณบ้านเก่าแห่งนี้ เรียกว่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน โดยนำคำว่า “แควน้อย” ที่ชาวต่างประเทศเรียกว่า “แฟนอย หรือ ฟิงนอย” มาตั้งชื่อวัฒนธรรมของมนุษย์หินเก่าที่พบในจังหวัดกาญจนบุรีนั่นเอง
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินกลาง

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินกลาง
    (Mesolithic Period) อายุ ๑๐,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ปี

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในสมัยหินกลางนั้น รู้จักทำเครื่องมือหิน ฝีมือประณีตกว่าสมัยหินเก่า เครื่องหินหินนั้นได้มีการกะเทาะคมหินทั้งสองด้านสำหรับใช้งานแตกต่างกันและยังรู้จักขัดตัวขวานหินให้เรียบ นอกจากนี้ยังมีการเอากระดูกสัตว์ ก้างปลา และเปลือกหอย มาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น หัวธนู ฉมวก หอก และยังรู้จักทำเครื่องประดับจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เช่น กำไล จี้ สร้อยคอ ตุ้มหู

    มนุษย์สมัยนี้ชอบอาศัยอยู่ในถ้ำที่สูง และเพิงผาใกล้ห้วยลำธารแม่น้ำ เดินทางเรร่อนไปตามที่ต่าง ๆ หากินด้วยการล่าสัตว์ เช่น หมู กวาง หมี ลิง หนู หอยกาบ ปู ปลา เต่า โดยยังไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ เก็บผลไม้ใบไม้มากินเป็นอาหาร รู้จักขุดต้นไม้ทำเป็นเรือและหาปลาเก่งกว่ามนุษย์สมัยหินเก่า เมื่อมนุษย์ตายลงญาติจะนำศพฝังใต้ที่อยู่ทีพัก ซึ่งมีวิธีฝังในลักษณะนอนหงาย งอเข่าขึ้นมาถึงคาง บางศพใส่เครื่องมือ (ขวานหิน) และเครื่องประดับ จี้หอยคออยู่ข้างศพด้วย

    มนุษย์พวกนี้รู้จีชักก่อไฟและหุงหาอาหาร พักกินอยู่ในถ้ำ มีการเพาะปลูก สะสมอาหารและเก็บพืชมากักตุนเป็นอาหาร เช่น ข้าว ท้อ สมอไทย สมอภิเพก หมาก ถั่วแขก ถั่วลันเตา น้ำเต้า แตงกวา และล่าสัตว์มาเก็บและปรุงเป็นอาหาร ซึ่งการขุดค้นเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่หลายแห่งนั้นได้สำรวจพบซากพืชและสัตว์ เช่น วัวป่า และแรด ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอายุราว ๙,๐๐๐ ปี ในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหลักฐานที่ทำให้สันนิษฐานว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหมื่นปีที่แล้วมารู้จักหาพืชและสัตว์เป็นอาหาร

    สำหรับแหล่งของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินกลางนั้น ได้มีการสำรวจพบเรื่องราวแล้วหลายแห่งในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้ำจันเด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้าองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้ำผี และถ้ำอื่น ๆ ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในถ้ำงวงช้าง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณอำเภอเขาย้อย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และที่ถ้ำพระงาม จังหวัดสระบุรี เป็นต้น

    ส่วนแหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียอาคเนย์นั้น ได้สำรวจพบในบริเวณที่เรียกว่า ฮัวบินเฮียนหรือโหบิเนียน หรือจังหวัดฮัวบินห์ในเวียตนามแล้วยังสำรวจพบในพื้นที่ภาคเหนือของเวียตนาม ลาว ฟิลิปปินส์ เกาะฟอร์โมซา และฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา อีก

    อ้างอิง

    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c003.shtml
     
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่
    (Neolithie Period หรือ New Stone Age) อายุราว ๗.๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่นิยมที่จะเรียกที่อยู่ตามริมแม่น้ำ หรือบริเวณเชิงเขาและที่ราบสูงที่น้ำท่วมไม่ถึง มากกว่าการเดินทางเร่ร่อนหรืออาศัยอยู่ตามถ้ำเหมือนสมัยหินเก่า มนุษย์สมัยนี้รู้จักการทำขวานหินขัดเรียบชนิดมีบ่า หรือขวานฟ้า ที่มีฝีมือประณีตแทนเครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบแบบสมัยหินเก่า รู้จักนำไม้หรือขวานสัตซืมาทำเป็นด้ามผูกติดกับขวานหิน รู้จักเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวเจ้า ทำไร่ และปลูกต้นม้ รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดสีดำขัดมัน เป็ยภาชนะรูปแบบต่าง ๆ เช่น หม้อ ไห จาน ภาชนะบางชิ้นทำเป็นภาชนะดินเผามีสามขา แต่ยังไม่รู้วิธีหลอมโลหะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ มนุษย์สมัยนี้รู้จักทำหินขัดและเปลือกหอยกาบ เปลือกหอยแครง มาทำเป็นอาวุธ เช่น หัวหอม หัวลูกศร มีด เคียวและรู้จักทำเครื่องประดับ เช่น กำไล แหวน ลูกปัด หวี ตุ้มหู และปิ่นปักผม

    สมัยนี้มนุษย์รู้จักการเรียนรู้ปรุงอาหาร ด้วยวิธีการจุดชุดไฟเพื่อใช้เผา ปิ้ง อบ อาหารให้สุกก่อนกิน มีการนำสัตว์มาเลี้ยง เช่น หมา หมู แพะ แกะ ไก่ และวัวควาย และการหาปลาโดยใช้เบ็ดเกี่ยวเหยื่อล่อแลละฉมวก รู้จักวิธีขุดต้นไม้เป็นเรือ รู้จักการทอผ้าและเข็มเย็บหนัง หรือผ้าจากกระดูกสัตว์ รู้จักสร้างที่อยู่เป็นแบบกระท่อมดิน มุงหลังคาด้วยใบไม้ และทำกำแพงล้อมรอบหมู่บ้าน ซึ่งมีการรวมกลุ่มคนอยู่รวมกันราวพันคน คนกลุ่มนี้อายุไม่ยืน เพราะจากการตรวจโครงกระดูกในหลุมฝังศพได้พบมีมนุษย์อายุประมาณ ๓๐-๔๐ ปีเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาฟันของโครงกระดูกของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามนุษย์สมัยนี้รู้จักการถอนฟัน และแต่งฟันแล้ว

    แหล่งโบราณคดีของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่นั้นพบว่ามีความเจริญมากอยู่ที่บริเวณตะวันออกกลางที่เรียกว่า เมโสโปเตเมีย นับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไทรกริส และยูเฟรติส ใกล้ประเทศอียิปต์และอิรัก

    สำหรับแหล่งอารยธรรมที่สำคัญในแถบตะวันออกนั้นคือ ประเทศจีน และดินแดน แหลมทองหรือสุวรรณภูมิ

    การสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์สมัยหินใหม่ในแผ่นดินไทยได้พบว่ามีอยู่หลายแห่ง แหล่งโบราณคดีนี้ส่วนใหญ่พบโครงกระดูกและเครื่องมือหินชนิดขวานหินขัด ที่เรียกกันว่าขวานฟ้า ซึ่งพบจำนวนมากจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่แหล่งสำรวจที่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่กองผสมเทียมกรมการสัตว์ทหารบก ที่โกดังองค์การเหมืองแร่ใกล้วัดใต้ ที่ใกล้โรงงานกระดาษ กาญจนบุรี ที่ถ้าเขาสามเหลี่ยม อำเภอเมือง บริเวณห้วยแมงรัก ห้วยหินและใกล้แม่น้ำแควน้อย เป็นต้น

    แหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณมนุษย์ก่อนปรพวัติศาสตร์นั้น มีการสำรวจและขุดค้น เพื่อการศึกษาแล้ว พบว่ามีมากมายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทสได้แก่

    ·จังหวัดราชบุรี พบที่บ้านหนองแซ่เสา ตำบลหินกอง อำเภอเมือง
    ·จังหวัดนครสวรรค์ พบที่ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง
    ·จังหวัดอุทัยธานี พบที่เชิงเขานาคริมแควตากแดด อำเภอเมือง บ้านเหลุมเข้า
    อำเภอหนองขาหย่าง และภาพขียนสีที่หน้าผาบนเขาปลาร้า อำเภอลานสัก
    ·จังหวัดลพบุรี พบที่บ้านโคกเจริญ ตำบลมะกอกหวาน อำเภอไชยบาดาล
    ·จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบที่ถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม
    ·จังหวัดกระบี่ พบกระดูสัตว์เผาไฟ สำหรับเป็นอาหารและขวานหินที่เขาขนาบน้ำ ถ้ำาสระ เพิงผา
    หน้าชิง ถ้ำเสือ และที่คลองท่อม
    ·จังหวัดอุบลราชธานี พบที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม แหล่งภาพเขียนสีบนเพิงผา
    ·จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบขวานหิน โครงกระดูก และหม้อดินเผา ในถ้ำที่บ้านวลัย อำเภอหนองพลับ อำเภอหัวหิน

    สรุปว่าแผ่นดินไหวในแระเทศเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมานั้น เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่งมาก่อนที่มีการรวมตัวเป็นชุมชน พื้นที่ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งเก่าครั้งสมัยดึกดำบรรพ์นั้น สามารถจัดเป็นกลุ่ศึกษา ดังนี้

    ·กลุ่มบ้านเชียงอยู่บริเวณราบลุ่มตอนบนของแอ่งสกลนครริมแม่น้ำสงคราม
    ·กลุ่มทุ่งสำริด อยู่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำมูลในแอ่งโคราช เช่น ที่ลุ่มแม่น้ำชีตอนบน
    ·กลุ่มโนนชัยและกลุ่มทุ่งกุลา อยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง เช่น แม่น้ำแสลงพัน ตำบลแกใหญ่ บ้านพระปีด ตำบลแร่ และบ้านสลักได ตำบลสลักได จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
    ·กลุ่มแม่น้ำบางประกง อยู่ที่บ้านท่าแค บ้านโคกพนมดี บ้านหนองนอร์ บ้านลุ่มเก่า และเนินอุโลก จังหวัดชลบุรี

    สำหรับแหล่งโบราณคดีที่บ้านพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้สำรวจพบเปลือก
    หอยแครงและหอยทะเลจำนวนมาก อัดซ้อนอยู่ในชั้นใต้ดิน เป็นหลักบานที่แสดงว่าสถานที่นั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน ยังพบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ขวานหินลูกปัด และกำไรข้อมือหิน ที่แสดงถึงอารยธรรมของคนสมัยหินที่เชื่อมต่อมาถึงสมัยโลหะ นับเป็นแหล่งมนุษย์ใช้ทาหากินอยู่ตามชายฝั่งทะเล เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีแล้ว

    พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยนั้นได้พบว่าเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อายุว่ามีเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี ปีทีผ่านมาเช่นเดียวกัน ได้พบว่ามีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่แล้ว คือมนุษย์ในสมัยนั้นได้อาศัยอยู่ในถ้ำผีหัวโต หรือถ้ำหัวกะโหลก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และถ้ำอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งในถ้ำเขาเขียนและเขาระย้า ที่ตำบลเกาะบันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา

    แหล่งโบราณคดีนี้ได้พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำดังกล่าว มีภาพเขียนเป็นรูปมือ คน ปลา กุ้ง นก วัว แพะ ตะกวด และภาพเขียนเป็นลายเรขาคณิต รูปสัตว์บางรูปเขียนแบบเอกซเรย์ใส ขีดเป็นเส้นเหมือนกระดูกหรือก้างปลา

    ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ลักษณะเช่นนี้ได้ มีการพบอีกหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ถ้ำผามือแดงเขาจอมนางบ้านท่าส้มป่อย ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ถ้ำผามือบ้านหินล่อง ตำบลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ถ้ำมือแดง และถ้ำผาแต้ม จังหวัดนครพนม ที่เขาจันทร์งาม ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่ผาฆ้อง ถ้ำลายแทง ภูผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ภูถ้ำมโหฬาร จังหวัดเลย ที่ถ้ำลายมือภูผาผึ้งใกล้บ้านห้วยม่วง จังหวัดเลย ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธ์ ถ้ำคนวัดพระพุทธบาทบัวบก ถ้ำลาย ถ้ำโนนเสาเอ้ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    นอกจากนี้ยังสำรวจพบภาพทรงเรขาคณิตจำหลักบนหินทรายผนังถ้ำ ที่ผากระดานเลข เขาผาแดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และถ้ำมิ่ม ตำบลโนนสัง จังหวัดอุดรธานี พบภาพมือแดง เต่า ปลาและสัตว์ต่าง ๆ อายุ กว่า ๓,๐๐๐ ปี ที่ผาแต้ม ภูผาขาม บ้านกุ่ทตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคกลางพบภาพเขียนสีถ้ำรูปเขาเขียว ตำบลลุ่มลุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และภาพเขียนสีที่หน้าผาบนเขาปลาร้า อำเภอลานสัก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

    สำหรับหลักฐานสำคัญของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ คือหม้อดินเผาสามขาโบราณ พบว่าในประเทศไทยได้รู้จักทำขึ้นแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า กายจนบุรี อยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐-๓,๓๐๐ ปี มีรูปแบบคล้ายคลึงกับภาชนะดินเผาที่พบในบริเวณลุงซานนอยด์ ในจีน และมีการพบชิ้นส่วนของหม้อสามขา ที่เขาขนาบน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่ถ้ำกาซี อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ้ำเขาปินะ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และเขารักเกียรติ อำเภอรัตตภูมิ จังหวัดสงขลาอีกด้วย เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งแสดงถึงอารยธรรมที่มีการเดินทางมาจากแหล่งเดียวกัน หรือความคิดสร้างงานนี้ตรงกัน

    อ้างอิง

    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c004.shtml
     
  8. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ
    (Metel Age) อายุ ๕,๐๐๐ -๓,๐๐๐ ปี

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะนั้น เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่ธาตุโลหะขึ้นมาจากดินและสกัดจากหินมาถลุงหลอมใช้ เช่น เหล็ก ทองแดง รู้จักที่นำโลหะหลายชนิดมาหลอมรวมกันด้วยความร้อนจนเกิดเป็นโลหะชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าเดิม คือ สำริด (หรือสัมฤทธิ์) ซึ่งเป็นโลหะผสมของทองแดง ๘๕% กับดีบุก ๑๕% และอาจมีตะกั่วปนแทรกเข้าไปในบางครั้ง

    คุณสมบัติของสำริดนั้นทำให้มนุษย์สามารถนำมาหลอมหรือทุบตีเป็นเครื่องมือสำริดได้ดีกว่า เหล็กที่ใช้อยู่เดิม เครื่องมือสำริดจึงมีรูปลักษณะแตกต่างกัน เช่น ขวานทำเป็นป้องสำหรับใส่ด้าม หอก กำไล เบ็ด ใบหอก ถ้วยหรือขัน และกลองมโหระทึก ที่มีการสร้างตัวกบซ้อนกันและทำลวดลายบนตัวกลอง ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใบใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับบุคคลสำคัญของชุมชนซึ่งจะพบว่ามีการทำลวดลายกำไร
    เครื่องประดับสำริด เช่น แหวน ลูกกระพรวน ตุ้มหู เป็นต้น

    ส่วนเครื่องมือที่ทำจากเหล็กนั้นนิยมใช้อยู่โดยการถลุงแร่เหล็กแล้วนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้โดยตรง เช่น ใบหอก ดาบ มีด ขวาน ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแกร่งกว่าสำริด เหมาะสำหรับใช้งานล่าสัตว์มากกว่า

    มนุษย์สมัยโลหะนิยมการฝังศพ โดยให้หันหัวไปทางทิศเหนือนอนหงายเหยียดตรงรู้จักขุดหลุมสร้างบ้านใต้ถุนสูง มีหลักแหล่งที่อยู่ค่อนข้างถาวรไม่เดินทางร่อนเร่เหมือนมนุษย์สมัยเครื่องมือหิน รู้จักเก็บเมล็ดพันธุ์ สำหรับเพาะปลูกข้าวและปลูกฝ้ายในที่ลุ่ม รู้จักการทอผ้า การหล่อสำริด การทำลูกปัดจากหินเป็นเครื่องประดับ ทำเครื่องปั้นมีลวดลายเขียนสีสำหรับใช้ในพิธีฝังศพ รู้จักเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและไว้เป็นอาหาร

    แหล่งที่เป็นถิ่นฐานของมนุษย์สมัยใช้เครื่องมือโลหะในแผ่นดินไทยนั้นพบว่ามีอยู่หลายแห่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีพบโครงกระดูกของมนุษย์ที่มีอาวุธ กลองสำริด เครื่องประดับที่ทำด้วยสำริด และพบโลงศพที่ขุดต้นไม้ให้เป็นรูปเรือ อยู่ในถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ และบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน (อายุราว ๔,๐๐๐ ปี)

    ·จังหวัดลพบุรีนั้นพบแหล่งถลุงเหล็กและทองแดงโบราณหลือขนาดใหญ่ ที่บ้านโคกเจริญ บ้าน
    ท่าแค บ้านเนินป่าหวาย โนนหมากลา นิลกำแหง เขาวงพระจันทร์ บ้านถลังเหล็ก บ้านตีลัง และที่อ่างเก็บน้ำพิบูลสงคราม ซึ่งอยู่ในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี
    ·จังหวัดอุดรธานีพบโครงกระดูก ภาชนะดินเผาลายเขียนสี เครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยได้พบที่ฝังศพใต้ถุนบ้านหรือบริเวณเดียวกับบ้านมีภาชนะลายเขียนสีและเตรื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก อยู่ในที่ฝังศพ พบกระดูกสัตว์ต่างๆ กว่า ๖๐ พันธุ์ เช่น ปลา กบ เต่า หอย วัว ควาย เสือและเก้ง เป็นต้น
    ·จังหวัดสกลนคร พบกำไร หัวลูกศร ขวานและกระดึงสำริดที่บ้านดอนธงชัย และบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน
    ·จังหวัดหนองคาย พบแหล่งแร่ทองแดงที่ภูโล้น ริมแม่น้ำโขง อำเภอสังคม
    ·จังหวัดมุกดาหารพบกลองมโหระทึกสำริด อายุราว ๒,๐๐๐ ปี ที่บ้านดอนตาล
    ·อำเภอดอนตาล จังหวัดขอนแก่นพบดครงกระดูกมนุษย์ จำนวน ๒๑๗ โครงและเครื่องประดับเครื่องใช้ทำจากสำริดผสทดีบุก เช่น กำไร ตุ้มหู ขวานมีบ้อง และเบ้าหลอมสำริด ทำจากหินทราย อายุราว
    ๔,๕๐๐ ปี ที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง (มีแหล่งทำสำริดโบราณ อายุราว ๕,๐๐๐ ปี)
    ·จังหวัดเชียงใหม่ พบที่ ถ้ำงวงช้าง อำเภอเชียงดาว
    ·จังหวัดราชบุรีพบที่บ้านโคกพลับ ตำบลโพธิ์หัก อำเภอบางแพ
    ·จังหวัดน่าน พบเครื่องมือรูปพร้าทำด้วยสำริด
    ·จังหวัดเลยพบขวานสำริด และจังหวัดอุบลราชธานีพบกลองมโหระทึกสำริดที่บ้านชีทวน เป็นต้น

    บริเวณประเทศใกล้เคียงกับดินแดนสุวรรณภูมินั้นได้มีการสำรวจพบเครื่องใช้สำริดที่ชุมชนดองซอน ในแคว้น ตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมของดองซอน พบที่บริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว และพบในแคว้นเปรัก ของประเทศมาเลเซีย ทำให้เชื่อว่า วัฒนธรรมการใช้เครื่องมือสำริดนั้น ได้มีการเดินทางติดต่อกันระหว่างดินแดนต่างๆดังกล่าวมาก่อน

    สำหรับแหล่งโบราณคดีที่เชื่อว่า น่าจะเป็นชุมทางการติดต่อของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เครื่องมือเหล็กต่อเนื่องมาในถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ นั้นก็คือ บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ที่กาญจนบุรี เมืองสิงห์ และเมืองลพบุรี

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c005.shtml
     
  9. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สรุปความรู้

    สรุปความรู้

    บริเวณแผ่นดินที่เป็นสุวรรณภูมิ หรือเรียกว่า แผ่นดินสยามนี้ ได้มีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ด้วยกันมาเป็นเวลานานแล้วตั้งแต่มีมนุษย์ขึ้นในโลก นับล้านปี ซึ่งมีการสำรวจพบร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่ตามหินผา และเครื่องมือหินที่ฝั่งอยู่ได้ดิน ในถ้ำ เมื่อเวลาประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นกลุ่มมนุษย์ดึกดำบรรพ์นี้ได้เร่ร่อนหาอาหารไปยังชีพไปตามห้วยคลอง หนองบึง อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำ ตามเพิงหินผา ไม่เป็นที่มั่นคง เที่ยวเร่ร่อนหาอาหารตามความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชา ขุดหัวเผือก หัวมัน หัวกลอย หาปลา จับสัตว์ กินเป็นอาหาร

    ในที่สุดด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ป่า โดยเฉพาะแหล่งที่มีน้ำอยู่ใกล้ ได้ทำให้มนุษย์หลายกลุ่มเริ่มรู้จักตั้งถิ่นอยู่ประจำ หยุดการเร่ร่อนออกหาอาหาร รู้จักที่จะนำพีชมาปลูก รู้จักปลูกข้าวไร่ และรู้จักใช้เพิงผาหรือถ้ำนั้นใช้เป็นที่พักถาวร และมีการรวมกลุ่มพวกและการดูแลกันเองขึ้น

    เมื่อมีการรวมกลุ่มตั้งบ้านอาศัย มนุษย์ร็จักที่จะนำภาชนะดินอย่างง่ายๆ เพื่อใช้ใส่อาหาร และมีการฟัฒนาดินธรรมดามาเป็นดินเผา ได้รู้จักการทำรวดรายจากการทาบเชือก และแปะเปียกไม้ทำลวดลาย การขีดเขียน หรือใช้ดินแปะ ก่อนต่างแห้งและก่อนเผา เพื่อทำให้ภาชนะมีความคงทนมากขึ้น

    นอกจากนี้ยังมีการกำหนดพิธีกรรมการเกิดตาย และหากินด้วยความเชื่อของตนเองขึ้น ดังนั้นการขุดค้นโบราณคดีในเรื่องมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้น จึงพบว่าการฝังศพมนุษย์นั้น ได้มีการแต่งศพด้วยดินสีแดง มีการนำเครื่องใช้ของผู้ตายและภาชนะดินเผาฝั่งรวมไปด้วย และสิ่งที่พบในหลุมศพนั้นมี แวดิน (ใช้ปั้นด้าย) ขวานหิน กำไรเปลือกจากเปลือกหอย ลูกปัดหินสี เครื่องมือโลหะ บางแห่งพบมีเมล็ดข้าวหรือเศษปอที่ถักด้วยเครื่องนุ่งห่มอยู่บนเครื่องมือเหล็ก เปลือกหอย หัวธนูจากกระดูกสัตว์ ลูกกระสุนดินเผาเป็นต้น

    สังคมมนุษย์สมัยโบราณ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยรู้จักเพาะปลูก รู้จักล่าสัตว์ และรู้จักหาแหล่งน้ำแหล่งอาหาร และมีพีธีกรรมตามความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c006.shtml
     
  10. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

    สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
    (PREHISTORY SOCIETY)
    เนื่องจากแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ถือว่าเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นก่อนแล้วในยุคโลกยุคแรกที่มีสัตว์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ ด้วยปรากฏว่ามีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ช้างดึกกำบรรพ์อาศัยอยู่มาก่อน ครั้นเมื่อบรรพบุรุษหรือมนุษย์วานรเกิดขึ้นและได้วิวัฒนาการจนถึงยุคแรกนั้น บริเวณดังกล่าวนี้จึงพบว่ามีร่องรอยมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (PREHISTORY) อาศัยอยู่เช่นเดียวกัน

    การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๔ นั้นได้พบว่ามีเรื่องราวมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เกิดขึ้นถึง ๔ สมัยเช่นกัน คือ สมัยหินเก่า (PALAEOLITHIC) สมัยหินกลาง (MESOLITHIC) สมัยหินใหม่ (NEOLITHIC) และสมัยโลหะ (METAL AGE) ซึ่งมีการแบ่งออกอีกเป็นสมัยสำริด (BRONZE AGE) และสมัยเหล็ก (IRON AGE)

    ครั้นเมื่อมีการกำหนดมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาศึกษาแล้วก็ปรากฏว่า มนุษย์ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ไนสมัยต่างๆ ที่เคยกำหนดเอาเครื่องมือหินและเครื่องมือโลหะเป็นหลักในการแบ่งยุคสมัยนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่

    กล่าวคือ จากการศึกษาความเกี่ยวข้องเรื่องอายุสมัย และเทคโนโลยี การดำรงชีวิตการตั้งถิ่นฐานสภาพแวดล้อมแล้ว ปรากฏว่ามนุษย์ได้ความสัมพันธ์ที่คาบเกี่ยวสมัยกันยังใช้เครื่องมือหินและเครื่องมือโลหะร่วมสมัยกัน จึงทำให้มีการแบ่งสมัยตามยุโรปโดยนำเอาเกณฑ์การสร้างสังคมมนุษย์ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแบ่งตามความเจริญทางวัฒนธรรมของสังคมที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น ๒ สังคมได้ดังนี้

    สังคมการล่าสัตว์(HUNTING AND FOOD-GATHERING SOCIETY)และ
    สังคมการกสิกรรม(VILLAGE FARMING SOCIETY)

    สังคมล่าสัตว์
    (HUNTING AND FOOD-GATHERING SOCIETY)
    สังคมล่าสัตว์ เป็นสังคมสมัยหินเก่าและหินกลางที่มีความเป็นอยู่คล้ายคลึงกันแตกต่างก็เพียงลักษณะเครื่องมือ ซึ่งพบว่าเครื่องมือสับตัดในสมัยหินเก่ากับเครื่องมือกะเทาะหน้าเดียวในสมัยหินกลางของวัฒนธรรมโหบีเนียน ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่มีความประณีตกว่า ทำให้ต้องรวมสังคมในสมัยหินเก่าและหินกลางไว้เป็นสังคมล่าสัตว์เหมือนกัน ลักษณะเครื่องมือในวัฒนธรรมโหบิเนียนนั้นมีการทำจากสะเก็ดหิน เข้าใจว่าใช้ติดกับไม้เช่นหัวธนูและใบหอก ที่ติดกับไม้ไผ่และเครื่องมือแกนหินกะเทาะหน้าเดียว

    กลุ่มของวัฒนธรรมของโหบิเนียนนี้ได้กระจายแพร่หลายในแถบเอเชียอาคเนย์และหมู่เกาะต่างๆ ตั้งแต่
    ๑๐,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาประมาณ ๕,๐๐๐-๗,๐๐๐ ปีก่อน

    คริสต์ศักราช กลุ่มชุมชนเหล่านนั้นได้ทำเครื่องมืออย่างใหม่ขึ้นและแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ซึ่งพบว่ามีแหล่งโบราณคดีอยู่ ๔ แห่ง ซึ่งมีอายุแต่งต่างกันเช่น ในมาเลเซียพบที่กัวเคอชัว (GUA KECHIL) อายุ
    ,๘๐๐ปี (ก่อนหลัง ๘๐๐ ปี) มาแล้ว ในไทย ที่ถ้ำผี (SPIRIT CAVE) อายุประมาณ ๗,๖๒๒ ปี (ก่อนหลัง ๓๐๐ ปี) มาแล้วและถ้ำปุงฮุง (BANYAN VALLEY CAVE) อายุ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว ในกัมพูชาพบที่แลงเสปียน (LEANG SPAENG) อายุ ๖,๒๔๐ ปี (ก่อนหลัง ๗๐ ปี) มาแล้ว จากการศึกษาของ ดร.เชสเตอร์ เอฟ กอร์แมน (CHESTER F GORMAN) นักโบราณคดีชาวอเมริกันได้พบว่า มีข้อสนับสนุนเรื่องมนุษย์ในสมัยนั้นเริ่มรูจักทำนาเป็นครั้งแรกในบริเวณที่ราบเอเชียอาคเนย์ (ที่โนนนกทา) และบ้านเชียง ซึ่งมีอายุ ๔,๕๐๐-๕,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในชั้นดินที่ ๑ นั้นพบพืชจำพวกน้ำเต้า บวบ พืชประเภทถั่ว พริกไทย และถั่วพันธุ์เมล็ดแบนกว้าง ซึ่งคนกลุ่มวัฒนธรรมโหบีเนียนมีความคุ้นเคยและอาจนำมาปลูกและพบว่ามีการสัตว์ ในบริเวณแถบที่อยู่อาศัย กวาง ลิง หมู วัวตามทุ่งหญ้า ค้างคาวในถ้ำ ปลาและหอยที่อาศัยอยู่ในลำน้ำใกล้กับแหล่งโบราณคดี

    แหล่งหินทำเครื่องมือหินนั้นพบอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และแหล่งนายกองศูน ตำบลในเขตอำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนมซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง เช่น ส่วนแหล่งที่อยู่อาศัยที่ต้องใช้-หรือเพิงผาบริเวณริมน้ำนั้น ถือว่าน่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนในสังคมล่าสัตว์นั้น ยังไม่พบในภาคนี้ แต่ในภาคจะพบวัฒนธรรมโหบีเนียนอยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นถ้ำต่างๆมากมาย เช่น ถ้ำผี อยู่เหนือแม่ฮ่องสอนไป ๖๐ กิโลเมตร อายุประมาณ ๑๑,๔๕๐ ปี (ก่อนหรือหลัง ๒๐๐ ปี) ซึ่งสำรวจพบว่า มีการทบถมของชั้นดิน ๕ ชั้น
    ระหว่างชั้นดินนั้นพบชั้นดินที่เป็นวัฒนธรรมโหบีเนียน ชั้นดินที่อยู่อาศัยล่าสุดที่อายุ ๖๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช
    และชั้นที่อยู่ในสมัยเพลสโตซีนตอนปลาย และถ้ำองบะมีอายุ ๙๒๓๐ ปี (ก่อนหรือหลัง ๑๖๐ ปี) ก่อนคลิสต์ศักราช

    ชุมชนวัฒนธรรมของโหบีเนียน (HOABINHIAN) นั้นมีการรู้จักใช้พืชและมีการล่าสัตว์มาใช้ในการดำรงชีพ จึงมีพื้นฐานของการล่าสัตว์ จับปลา และเก็บสะสมอาหาร โดยเฉพาะการรู้จักการอาศัยธรรมชาติรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น ฤดูแล้งรู้จักล่าสัตว์ ฤดูฝนมีการจับปลาและเก็บพืชพันธุ์นานาชนิดเป็นอาหาร ที่มนุษย์เลือกบริเวณ ๒ แห่งคือ เพิงหินที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน ซึ่งอยู่ใกล้ลำธารเล็กและป่าบนเขา เช่น ถ้ำเขาในเขตเพชรบูรณ์ และบริเวณที่อยู่ใกล้ชายน้ำชายฝั่งทะเล เช่น ริมแม่น้ำโขง เป็นแหล่งของชุมชนที่ดำรงชีวิตในสังคมล่าสัตว์

    ชุมชนนี้รู้จักการล่าสัตว์ การจับปลาและเก็บสะสมอาหาร บางกลุ่มอาจจะรู้วิธีปลูกพืชแล้ว เช่น เผือก มัน และพืชที่ปลูกง่ายไม่ต้องดูแล เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชที่ให้คาร์โบรไฮเดรทที่คนต้องการ เพราะจะอาศัยแต่โปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นย่อมไม่เพียงพอ สัตว์ที่ถูกล่ามี วัวป่า หมูป่า กวาง ส่วนสัตว์ที่ใช้วิธีดักจับได้แก่ กระต่าย พังพอน ชะมด อีเห็น และสัตว์น้ำที่จับมีหอย ปลาชนิดต่างๆ ซึ่งพบว่าภาพสัตามผนังถ้ำหลายแห่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์สังคมล่าสัตว์ในภาคอีสานนั้นเริ่มเมื่อ ๑๒,๐๐๐-๑๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว แล้วน่าจะสิ้นสุดเมื่อ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    สังคมการกสิกรรม
    VILLAGE FARMING SOCIETY) (

    สังคมกสิกรรม เป็นสิ่งที่มีความหลากหลาย และไม่อาจสรุปว่าเป็นสมัยหินใหม่และสมัยโลหะได้ ซึ่งพบว่ามือเครื่องมือขวานหินขัดและโลหะปะปนกันอยู่ ซึ่งพบทั้งมีเหล็กกับสำริดปนกัน กับพบว่าบางแห่งมีการแยกสำริดกับเหล็ก เช่นที่ บ้านเชียง บ้านนาดี เป็นต้นและพบว่าบางแห่งมีขวานหินขุดอยู่ด้วย

    ชุมชนของสังคมกสิกรรมพบในมากภาคอีสาน เป็นชุมชนที่เริ่มต้นเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มากกว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้รับอิทธิพลภายนอกชุมชนนี้นอกจากการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์แล้วยังรู้จักแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้า ซึ่งมีการแยกแรงงานออกมาทำอาชีพเฉพาะเช่น ช่างปั้นภาชนะดินเผา ช่องทอผ้า ช้างทำเครื่องมือจากโลหะ ชาวนาและพวกเลี้ยงสัตว์ ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับงานเหล่านี้

    การเพาะปลูกในชุมชนนั้นส่วนใหญ่ปลูกข้าว พบที่แหล่งโบราณคดีที่โนนนกทาและที่บ้านเชียง มีวิธีปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย (SWIDDEN RICE CULTIVATION) โดยแต่ละช่วงปีนั้นจะอาศัยน้ำจากน้ำฝนและพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่มีการพลวนหรือไถ่ดิน (หรืออาจจะมีการขุดไถก็ได้) เมื่อปลูกข้าวได้สักปีสองปีก็ต้องหาพื้นดินใหม่เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เหมือนเร่ร่อนทำนาไปตามที่ต่าง วนเวียนไปรอบๆ ที่อยู่อาศัยหลังจาก ๓,๖๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนสังคมกสิกรรมได้รู้จักการปลูกข้าวด้วยวิธีการกักเก็บน้ำ (INUNDATION SYSTEM) ซึ่งรู้จักการทำนาด้วยเหล็กเป็นทำเครื่องมือมาถากถางขยายพื้นที่ทำนา และรู้จักเลี้ยงมาใช้งานเครื่องทุนแรงโดยมีไถ่พรวนดินและอาจจะหว่านเมล็ดข้าวลงไป แทนวิธีการทำนาแบบเลื่อนลอย คอยย้ายที่ดินมาใช้วิธีกักเก็บน้ำใส่ไว้ในดินหรือหาแอ่งน้ำเป็นแปลงทำนาข้าว โดยเฉพาะรู้จักยกคันดินกั้นน้ำเป็นคันนา ทำให้ชมชนนั้นไม่ต้องเคลื่อนย้ายที่ดินเพาะปลูกบ่อยๆ แต่ต้องเลี้ยงควายใช้เป็นแรงงานไถนาและขนย้ายพืชพันธุ์ธัญญาหาร

    ข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของชุมชนในภาคอีสานหลายพันปี การเพาะปลูกข้าวนั้นน่าจะเริ่มมาจากประเทศจีนตอนเหนือนั้นนิยมปลูกข้าวฟ่างแล้วจึงแพร่ขยายลงมาทางภาคอีสาน ซึ่งหลักฐานจากร่องรอยจากแกลบข้าวหรือเมล็ดข้าวประทับอยู่เหนือบนภาชนะเศษดินเผาที่พบจากแหล่งโบราณคดีบนที่ราบ และแกลบที่ฝั่งในสนิมเหล็กซึ่งอยู่บนอาวุธที่ทำด้วยเหล็กสมัยก่อนประวัติศาสตร์

    การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนานั้น น่าจะสืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากรที่มีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องหาวิธีการทำนาเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มเพียงพอกับจำนวนกับประชากรที่เพิ่มขึ้น

    ส่วนการเลี้ยงสัตว์ สำรวจพบว่าพบโครงกระดูกวัว กรามของหมู ที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา พบกระดูกหมาที่แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง เป็นหลักฐานว่าชุมชนนี้มีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงหมู เลี้ยงหมา สำหรับหมานั้นเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ไม่ได้มีในพื้นที่เป็นสัตว์ที่นำมาจากที่อื่น (อินเดียหรือจีน) มาเลี้ยงเมื่อ ๒,๕๐๐-๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว สำหรับการล่าสัตว์นั้นพบว่า การล่าสัตว์ดักสัตว์และจับสัตว์น้ำ ได้ทำกันมากเมื่อ ๕,๖๐๐-๓,๖๐๐ ปีมาแล้วช่วงเวลาที่ถัดมาตั้งแต่ ๓,๖๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้วการล่าสัตว์และจับสัตว์ก็ยังมีแต่ลดลง
    เนื่องจากประชากรในระยะนั้นมีความเป็นอยู่ดีขึ้นและสามารถปลูกข้าวที่มีผลผลิตเพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องล่าสัตว์หรือดักจับสัตว์ จับปลากันมากมายนัก ประกอบกับระยะเวลาที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ทำให้สัตว์ป่าหาแหล่งอพยพหากินใหม่

    ในชุมชนกสิกรรมนั้นภาคอีสานรู้จักทำโลหะขึ้นก่อนแหล่งโบราณคดีอื่นในประเทศไทยคือเมื่อ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีรู้จักทำสำริด และเมื่อ ๒,๕๐๐-๓,๖๐๐ ปีมาแล้วรู้จักทำเหล็ก ต่อมาให้แหล่งโบราณคดีอื่นก็พบว่ามีการทำโลหะเช่นเดียวกัน สำหรับแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงนั้นพบว่าเริ่มทำสำริดจากการนำทองแดงผสมกับดีบุก เมื่อประมาณ ๓,๒๐๐ ปีมาแล้วก่อนการทำเหล็กจะเข้ามาแทนที่เมื่อประมาณ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้สำริดนั้นได้เปลี่ยนรูปแบบจากอาวุธเป็นเครื่องประดับหรืออย่างอื่นแทน ส่วนการทำอาวุธนั้นใช้เหล็กทำ

    ดังนั้นแถบเอเชียตะวันออกเฉยงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว จีน พม่า และกัมพูชา จึงเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีแร่ทองแดง ดีบุก และเหล็กจำนวนเพียงพอจึงทำให้มีการพัฒนาโลหะและภาคอีสานนั้นถือว่าเป็นแหล่งทำสำริดที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง

    สังคมกสิกรรมนั้นเป็นชุมชนที่มีชุมชนที่มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประเพณีการฝังศพ ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ด้วยหิน รู้จักการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนอื่นๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นบาน ในการขุดสำรวจที่แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง โนนนกทา และบ้านนาดี นั้นพบว่าดินชั้นล่างสุดพบเครื่องสำริด ซึ่งเป็นส่วยผสมระหว่างทองแดงกับดุบุก นอกจากนี้ยังพบว่าแหล่งดีบุกนั้นที่อยู่ที่ลาวและแหล่งทองแดงอยู่ที่จังหวัดเลย จึงทำให้เข้าใจต้องมีการแลกเปลี่ยนโลหะทั้งสองแหล่งมาใช้ทำสำริดตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นฐาน เช่นเดียวกันก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าอื่นๆ สังคมกสิกรรมในภาคอีสานเริ่มเมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว และสิ้นสุดเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    แหล่งโบราณคดีของสังคมกสิกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีและแหล่งโบราณคดีบ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดข่อนแก่น มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานในชุมชนนี้ ไม่มีหลักฐานที่มา (น่าจะมาจากแหล่งอื่น) แต่เข้ามาอาศัยพื้นที่ราบทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือสำริดเลยเวลาต่อมาจึงมรการติดต่อกับชุมชนอื่น แล้วขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางจนทำให้การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น จำนวนในแหล่งโบราณคดีของกสิกรรมที่สำคัญในช่วง ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของภาคอีสานเรียกว่า แอ่งสกลนคร นับว่าเป็นถิ่นฐานของสังคมกสิกรรมที่เก่าแก่ ด้วยพื้นดินแอ่งนี้มีลักษณะของดินที่สามารถอุ้มน้ำทำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวได้และมีจำนวนฝนที่ตกชุกเกินกว่า ๑,๒๕๐ มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งเหมาะสำหรับที่ราบขั้นต่ำใกล้แม่น้ำลำธาร และชนิดของดิน

    สินค้าที่ชุมชนแต่ละแห่งใช้แลกเปลี่ยนกันนั้นคือ แร่ทองแดง แร่ดีบุก และแร่เกลือ ที่ใช้รักษาเนื้อสัตว์และอาหาร มีแหล่งเกลือหลายแห่งในบริเวณรอบหนองหาน และกุมภวาปี ซึ่งมีอายุราว ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นยุคที่กสิกรรมได้ขยายตัวมากขึ้นกว่าสังคม กสิกรรมในระยะแรกเมื่อ ๖,๐๐๐ -๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว

    แหล่งโบราณคดีของสังคมกสิกรรมในช่วง ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี มาแล้วนั้นตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอีสาน เรียกว่า แอ่งโคราช ซึ่งเป็นถิ่นของสังคมกสิกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น รู้จักวิธีทพนาโดยใช้แรงงานสัตว์เลี้ยงมาช่วยทุ่นแรง คือ เลี้ยงควายไว้สำหรับไถ่นาทำไร่ รู้จักสร้างเครื่องมือเหล็กมาช่วยถากถางป่าขยายพื้นที่เพาะปลูก รู้จักระบบกักเก็บน้ำมาใช้ในการปลูกข้าว เนื่องจากดินในพื้นที่นี้ไม่ค่อยอุ้มน้ำ มีเกลือปนและมีเกลือวึมซาบของน้ำมาก จำนวนน้ำฝนที่ตกลงมานั้นน้อยกว่า ต่อมาชาวนาทำนาในบริเวณแอ่งสกลนครได้พากันอพยพมาทำนาที่แอ่งโคราชทำให้เรียนรู้การทำนาใหม่ที่ให้ผลผลิตมากกว่า โดยเฉพาะทำนาด้วยวิธีกักเก็บน้ำ (ยกคันนา) และใช้ควายช่วยในการทำงานและเป็นเครื่องทุ่นแรงโดยวิธีไถ่พรวนดิน ซึ่งเป็นการทำนาโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยการทำนาในที่ราบชั้นบันไดชั้นกลางและสูง

    การติดต่อและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนอื่น ๆ นั้นในแหล่งโบราณคดีได้พบว่ามีแร่ทองแดง แร่ดีบุก ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ลูกปัดหอยมือเสือและเกลือ เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงแนวโน้มว่า ชุมชนกสิกรรมที่พบนั้นมีการติดต่อกับชุมชนแหล่งอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ซึ่งเป็นสินค้าชนิดใดบ้างนั้นต้องศึกษาแหล่งผลิต เช่น ลูกปัดแก้วและลูกปัดหินสีนั้นพบหลายแห่งในภาคอีสาน น่าจะเชื่อว่าพื้นที่นี้น่าจะมีการติดต่อกับแหล่งอารยธรรมของอินเดีย หรือ มีการนำติดต่อมาจากชุมชนอื่น

    สรุปได้ว่าสังคมกสิกรรมของชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ได้มีตั้งถิ่นฐาน ครั้งแรกในบริเวณที่ราบขั้นบันไดหรือตะพักลำน้ำขั้นต่ำ ใกล้แม่น้ำลำธารที่มีลักษณะของดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมากทำให้ขุมชนขยายตัวออกไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณที่ราบขั้นบันไดหรือบนตะพักลำน้ำขั้นกลางขั้นสูง และที่ราบน้ำท่วมในบริเวณอื่น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่สูงกว่ามาช่วย ทำให้ชุมชนสมัยนั้นมีรูปแบบการดำรงชีวิต โดยรู้จักการเลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวเป็นอาหาร แล้วพัฒนาวิธีการล่าสัตว์ ดักสัตว์ และจับสัตว์น้ำมาเป็นอาหารด้วยเครื่องมือจับสัตว์และรู้จักติดต่อกับชุมชนอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน ซึ่งมีการขยายตัวการติดต่อไปยังบริเวณอื่น ๆ มากมาย

    สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ในสังคมล่าสัตว์และกสิกรรมนั้น ได้พบว่ามีการพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยี กล่าวคือสังคมกสิกรรมยุคแรกนั้นมีการใช้เครื่องมือหินคือขวานหินขัด ซึ่งอาจมีเครื่องมือสำริดปนอยู่บ้าง ซึ่งต่อมาได้มีเครื่องมือที่ทำด้วยด้วยสำริด และเมื่อมีการทำเครื่องมือด้วยเหล็ก โลหะผสมสำริดจึงถูกนำไปใช้เครื่องประดับและพิธีกรรมทางศาสนาแทน เช่น กำไร แหวน ตุ้มหูห่วงสำริด เครื่องราง เป็นต้น ในภาคอีสานพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนนกทา เป็นต้น

    พิธีกรรมของสังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สำรวจพบนั้นคือ การฝังศพ ซึ่งมีประเพณีมาตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นฐานแล้ว โดยการฝังศพนั้นค้นพบว่ามีการขุดหลุมก่อนแล้วจึงใส่ศพลงไป ในหลุมฝังศพนั้นส่วนมากมักมีการวางสิ่งของไว้เป็นเครื่องเซ่น และเป็นภาชนะดินเผาขนาดต่าง ๆ เหมือนสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวผู้ตายเช่นเดียวกับขวานหินขัด สร้อยลูกปัด กำไล สำริด แหวน อื่น ๆ เหมือนเป็นประเพณีฝังศพที่ต้องใส่สิ่งของเหล่านี้ให้ผู้ตายซึ่งมีจำนวนมากหรือน้อยตามฐานะของคนตาย ความเช่นในการฝังศพนั้น เชื่อว่าผู้ตายไปแล้วย่อมต้องการอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ ดังนั้นผู้เป็นญาติที่มีชีวิตอยู่ต้องทำพิธีกรรมนำสิ่งของไปใส่อุทิศให้ เพื่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้ตาย หากไม่ทำกิจจะทำให้เกิดความทุกข์ยากบันดาลให้น้ำท่วมฝนแล้งวันหน้าได้ บางแห่งไม่พบว่าสิ่งของอะไร ข้อที่น่าสังเกตก็คือ การวางศีรษะไปตามทิศทาง ซึ่งพบว่าการาวงศีรษะการหลายทิศทาง แต่ยังไม่พบว่ามีการฝังศพไปทางทิศใดทิศหนึ่งให้แน่นอน

    อ้างอิง
     
  11. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ศิลปะถ้ำ : ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นได้มีการเขียนภาพไว้บนผนังถ้ำ หรือ หน้าผาหิน ศิลปะถ้ำ หรือภาพเขียนสีบนหิน (ROCK PAINTING) ถือเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์ที่เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นการดำรงชีวิต หรือ ความเชื่อต่าง ๆ ของพวกตน

    ในประเทศไทยนั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ นายเอ เอฟ จี แคร์ (A.F.G.KERR) ได้ค้นพบภาพเขียนสีครั้งแรกที่ ถ้ำมือแดง บ้านส้มป่อย ตำบลสีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เป็นภาพที่นำขึ้นโดยวิธีใช้มือจุ่มสี แล้วประทับบนผนังถ้ำหรือเขียนเป็นภาพมือขึ้น ซึ่งมีทั้งมือสีแดงและสีเทารวม ๑๐ มือด้วยกัน และยังมีการเขียนภาพคนยืนอีก ๖ คน

    ต่อมาได้มีการสำรวจและค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำกันมากขึ้น ในเขตภาคอีสาน ได้แก่จังหวัดอุดรธานี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์

    ภาาพเขียนสีบนผนังถ้ำนี้ ยังปรากฏว่าใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้นั้นได้พบว่ามีการเขียนบนผนังถ้ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ ภาพเขียนสีบนเขาปลาร้า อ.ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ภาพเขียนสีบนเขาสามร้อยยอด อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

    เมื่อศึกษาวิธีการเขียนภาพบนฝาผนังถ้ำแล้ว พบว่าผนังหินที่ใช้เขียนส่วนใหญ่เป็นหินทรายส่วนที่พบเป็นพนังหินปูน ที่ภูผาฆ้อง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย การที่เลือกใช้ฝาผนังหินทรายนั้นเนื่องจากมีผิวข่อนข้างเรียบหากมีการแยกตัวออกจากกันก็มีรอยแตกที่เป็นเส้นตรง ส่วนวิธีเขียนบนผนังถ้ำที่ภาคอีสานนั้นพบมีลักษณะดังนี้
    เริ่มต้นจากการเขียนเป็นโคลงร่างของภาพก่อนแล้วจึงระบายสีทึบ เป็นภาพที่ไม่ต้องแสดงรายละเอียด พบบางภาพยังเป็นเส้นร่างระบายสีทึบไม่หมด เส้นร่างมักเป็นสีดำ ส่วนสีแดงหรือสีน้ำตาลมักใช้ระบายเป็นสีทึบมักเขียนเป็นภาพคน ซึ่งเขียนเป็นกลุ่มเหมือนจะบอกเหตุการณ์ของยุคสมัย และภาพสัตว์ที่พบอยู่ในสมัยนั้น
    ได้แก่ วัว หมา สัตว์เลี้ยง เพื่อจะบอกลักษณะของสัตว์หรือวิธีการล่าหรือจับสัตว์ หรือบอกบริเวณนั้นมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ เช่น กลุ่มภาพที่ผาแต้ม อำเภอโขงแต้ม บางแห่งเขียนเพื่อแสดงพิธีกรรมบางอย่างเช่น ภาพเขียนที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี มีภาพคนสวมหัวนก ในภาคอื่นนั้นพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นและมีเส้นขวางหรือประจุดอยู่กลางลำตัวเรียก ภาพเอกซเรย์ พบที่เขาปลาร้า อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นภาพคน วัว ควาย และหมา เป็นต้น

    การเขียนภาพสัตว์น่าจะเขียนเพื่อที่จะล่าสัตว์ชนิดนั้น โดยสมมุติภาพขึ้นก่อน และเขียนภาพใช้ประกอบพิธีกรรม เช่นภาพหมาที่เขาจันทร์งาม อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา หรือภาพหมา ควาย ที่เขาปลาร้าอยู่กับคนเป็นต้น

    เขียนเป็นเส้นภาพโดยไม่มีการร่าง ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิตพบมากที่สุดในภาคอีสานไม่ทราบความหมาย หรือ สัญลักษณ์ ที่จะบอกอะไร

    เขียนเป็นภาพมือไว้บนผนังหิน ซึ่งมีวิธีทำ ๓ วิธีกล่าวคือ ใช้ฝ่ามือวางทาบบนผนังหินแล้วเขียนเป็นเส้นรอบฝ่ามือนั้น หรือใช้ฝ่ามือชุบสีเสียก่อนแล้วนำไปทาบบนผนังหิน จึงทำให้บริเวณข้อต่อและอุ้งมือไม่มีสีติดบนผนังหิน ซึ่งพบวิธีนี้ที่ภูผาฆ้อง บ้านห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และใช้ฝ่ามือทาบลงบนผนังหินแล้วเอาปากอมสีพ่นไปรอบมือ ภาพมือนี้มีที่ผาฆ้องบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ผาแต้มและผาหม่อน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี น่าจะทำขึ้นเพื่อความแสดงการเป็นเจ้าของที่พักตามถ้ำชั่วคราว ไม่ได้ใช้แสดงการเยี่ยมเยือนอย่างภาพมือที่พบในยุโรป หรือใช้สัญลักษณ์แสดงเป็นแหล่งอาศัยถาวรจนเป็นชุมชน

    สำหรับสีที่ใช้เขียนนั้น ส่วนมากเป็นสีแดง นอกนันก็มีสีส้ม สีเลือดหมู สีน้ำตาล สีดำ และสีขาว สำหรับสีแงมีการศึกษาที่มาของสี พบว่าแร่เหล็ก (เฮมาไทด์) มีจำนวนมากในภาคอีสานหาได้ง่าย จึงสันนิษบานเป็นเบื้องต้นว่าได้นำแร่ชนิดนี้มาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำหรือยางไม้ทำเป็นสีใช้เขียนผนังถ้ำ ส่วนเครื่องมือในการเขียนในเบื้องต้นน่าจะใช้เปลือกไม้ทุบปลายให้เป็นเส้นทำเป็นพู่กันเขียนหรือใช้วัตถุที่ยืดหยุ่นซึมซับสีได้ เช่น หางหรือขนสัตว์ และแท่งไม้ และการใช้ของแข็งหรือสิ่งที่มีคมเขียน อย่างไรก็ตามการเขียนพนังหินนั้นจะมีน้ำหนักเท่ากันข้อเท็จจริงนั้นเรื่องแหล่งที่มาของสีและเครื่องมือที่ใช้เขียนภาพผนังนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก

    สำหรับการใช้สีแดงเขียนภาพผนังถ้ำนั้น ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ได้กล่าวไว้ในหนังสือคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยว่า “สีแดงมีความสำคัญในความเชื่อของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โครงกระดูกที่ได้จากการขุดค้นที่ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น เป็นโครงกระดูกของคนสมัยหินกลางพบว่าดินตอนเหนือศีรษะและร่างมีดินสีแดงคลุมอยู่แสดงว่า ครั้งนั้นได้มีพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพแล้ว โดยใช้สีแดง (ดินเทศ) ซึ่งหมายถึง สีเลือดและชีวิต โปรายลงบนร่างของผู้ตาย ประเพณีนี้ในสมัยหินกลางทำกันมาตลอดแหลมมาลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในทวีปยุโรปการฝังศพในคนก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินเก่าตอนปลายและสมันหินกลาง นอกจากจะมีดินสีแดงโปรยไว้หนือโครงกระดูกคนแล้ว บางครั้งยังใช้สีแดงทาไว้ที่กระดูกคนตายด้วย”

    ศาสตราจารย์สุด แสงวิเชียร ได้กล่าวถึงการใช้สีแดงในพีธีฝังศพไว้ในหนังสืออดีต ว่า

    “ชาวบ้านเชียง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากทำหม้อไหสำหรับเป็นเครื่องเซ่นได้อย่างดีแล้ว ก็คงคิดดัดแปลงวิธีทำ คือแทนที่จะใช้สีแดงโรยลงไปในศพกลับใช้สีทา ลงไปบนผิวหม้อทั้งใบ ทำให้หม้อมีสีแดงสวยงามมากและปรากฏว่านอกจากหม้อไหที่มีลายเขียนสีแดงแล้ว ชาวบ้านเชียงสมันนั้นได้อาศัยเอาก้อนสีแดงใส่ไว้ในหม้อวางกับศพด้วย”

    สีแดงจึงเป็นสีสำคัญที่ใช้ในสังคมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งพิธีศพและการใช้เขียนภาพผนังถ้ำ โดยเฉพาะเป็นสีที่มความสดและเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล และยุคสมัยศิลปะถ้ำที่พบในภาคอีสานนั้น นักโบราณคดี สันนิษฐานว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เขียนขึ้นในสังคมกสิกรรมหรือยุคโลหะอายุไม่เกิน ๓,๖๐๐-๓,,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงระยะที่มีความเจริญเติบโต และมีผลการเกษตรด้ววิธีการเพาะปลูกในระบบกักเก็บน้ำรู้จักใช้เหล็กสร้างเครื่องมือการเกษตรและใช้ควายไถ่นาพรวนดิน จึงทำให้ประชากรในสังคมกสิกรรมมีความเป็นอยู่ดีและการขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกไปทั่วภาคอีสาน ชุมชนกสิกรรมนี้รู้จักนำสีแดงมาเขียนบนภาชนะดินเผาแทนลายเชือกทาบที่มีมาแต่เดิม ดังจะเห็นได้จาก ภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c008.shtml
     
  12. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย

    แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย


    แหล่งโบราณคดียุคต้นประวัติศาสตร์ในแผ่นดินไทย พบว่าเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว มนุษย์ได้สร้างชุมชนเมืองขึ้น ซึ่งได้พบหลักฐานว่ามีคันดินคูน้ำรอบเมืองเกิดขึ้นในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง ได้แก่ บ้านโคกพลับ ในเขตตำบลโพธิ์หัก จังหวัดราชบุรี บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้น

    ชุมชนแหลมทองยุคต้นประวัติศาสตร์การติดต่อค้าขายกันทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้การติดต่อกันระหว่างโรมัน ตะวันออกกลาง อินเดีย และจ้น โดยใช้เรือใบ ทำให้ดินแดนไทยบางส่วนกลายเป็นเมืองท่า เช่น ชุมชนดอนตาเพชร ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนบ้านชีทวน จังหวัดอุบลราชธานี ชุมชนเขาสามแก้วที่ชุมพร ชุมชนควนลูกปัดที่กระบี่ ชุมชนยะรังที่ปัตตานี และชุมชนคูบัวที่ราชบุรี gxHo9ho

    เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปี มนุษย์ได้พากันตั้งชุมชนหมู่บ้านขึ้นในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของประทศไทยในปัจจุบัน ผู้คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการหล่อเครื่องประดับและเครื่องใช้ที่ทำด้วยเครื่องแก้วสำริด และเหล็ก เช่น ลูกปัด กำไล แขน ขวานและหอก เป็นต้น และชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลนั้นได้มีการเจริญเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว การติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น จ้น เวียตนาม กัมพูชา อินเดีย อินโดนีซีย พม่า เป็นต้น

    ในยุคพุทธกาล ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ได้ปรากฏหลักฐานว่มี ชุมชนในบริเวณหมู่บ้านเขตอำเภอพิมาย และบ้านธารประสาท จังหวัดนครราชสีมา จากการสำรวจและค้นพบหลุมฝังศพของมนุษย์และเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “พิมายดำ” เป็นภาชนะสำหรับใช้บรรจุเครื่องบูชาศพฝังอยู่ด้วย

    นอกจากนี้ยังพบแหล่งแร่ทองคำโบราณขนาดใหญ่ ได้แหล่งที่ภูโล้นและภูทองแดงในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ที่เขาวงพระจันทร์ เขาผาแดง ห้วยโป่ง เขาพุคาและเขาทับควาย ในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
    พบแหล่งตะกั่วและสังกะสีโบราณที่ภูลวก จังหวัดเลย พบแหล่งถลุงดีบุกที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี พบขวานสำริด กำไลและเครื่องประดับสำริด ที่หล่อด้วยวิธีไล่ขี้ผึ้ง ที่บ้านโนนนกทาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

    พบแหล่งแหวนสำริด
    ที่บ้านปากบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบทองแดงแท่งและแม่พิมพ์ดินเผาสำหรับหล่อขวาน แหวน กำไลทองแดง อายุราว ๑,๗๐๐ ปี ที่อ่างเก็บน้ำดินกำแหง ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี และที่บ้านดงพลอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

    พบหลักฐานการขุดถลุงแร่
    และเบ้าหลอมทองแดงโบราณที่เขาวงพระจันทร์ และบ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี ที่ภูโล้น จังหวัดหนองคาย บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีและที่โนนป่าหวาย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี (เป็นแหล่งโลหะโบราณขนาดใหญ่) มีการพบเตาถลุงแร่และหล่อโลหะสำริดโบราณด้วยวิธีการไล่ขี้ผึ้ง อายุประมาณ ๑,๙๐๐ ปี ที่บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ทั้งยังได้พบกลองมโหระทึกสำริด ที่แหล่งโบราณคดีเขาสวนแก้ว จังหวัดชุมพร และ ที่อุตรดิตถ์อีกด้วย

    พบแหล่งแร่เหล็กและแหล่งถลุงเหล็กโบราณ
    ที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบเครื่องมือเหล็ก เตาถลุงเหล็กและทองแดงโบราณ อายุราว ๒,๕๐๐ ปี ที่บ้านถลุงเหล็กบ้านโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี และบริเวณเมืองพรหทดิน (อยู่ที่ตำบลหลุมข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี) ซึ่งประกอบด้วยบ้านห้วยโป่ง (หล่อทองแดง) บ้านดีลัง (มีการถลังเหล็กต่อเนื่อง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงสมัยอยุธยา) และบ้านท่า ได้พบหอกสำริด ลูกปัดแก้ว ขวานเหล็กและพบภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี

    แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยุคเหล็กนั้นสำรวจพบหลายแห่ง เช่น จังหวัดกาญจนบุรี พบที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน พบเครื่องสำริดและเหล็กสมัยฟูนันมีอายุกว่า ๑,๗๐๐ ปี จำนวนมาก
    เช่น หอก เบ็ด มีดขอ สิ่ว แบะขวาน สันนิษฐานว่าน่าพักสินค้าโบราณ จังหวัดอุทัยธานีพบที่เชิงเขานาค อำเภอเมืองและบ้านหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดนครราชสีมา พบที่บ้านธารประสาท โนนอุโลก โนนเมืองเก่า อำเภอโนนสูง บ้านสำริด บ้านตะโนด อำเภอพิมาย บ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดชลบุรี พบที่บ้านบอนโนน จังหวัดบุรีรัมย์ พบที่บ้านโนนสูง อำเภอคูเมือง บ้านดงพลอง นั้นพบเตาถลุงเหล็กผนังดินเผา ๑๗ เตาและ บ้านทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดลพบุรีพบที่บ้านดีลัง ซึ่งพบตะกรันและเตาถลุงเหล็ก จังหวัดสุรินทร์ พบที่บริเวณโนนยางที่บ้านเขวาโค้ง จังหวัดมุกดาหาร พบที่อำเภอดอนตาล จังหวัดร้อยเอ็ด พบที่บ้านโนนคา จังหวัดมหาสารคาม พบที่บ้านเชียงเหียน จังหวัดสุรินทร์พบที่ บ้านโนนยาง บ้านยางบ่ออี บ้านยะวึก ที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดขอนแก่น พบที่บ้านโนนชัย บ้านโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ พบที่บ้านยางทองใต้ จังหวัดกำแพงเพชร พบที่บ้านบึงลา จังหวัดเพชรบูรณ์ พบที่บ้านหนองแดง อำเภอศรีเทพ และจังหวัดลำพูน พบที่ บ้านวังไฮ เป็นต้น

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c009.shtml
     
  13. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในประเทศไทย

    แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในประเทศไทยนั้น ได้แก่

    แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญมาแห่งหนึ่ง เพราะมีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่ใช้ระบบมาตรฐานสากลขึ้นเป็นครั้งแรก

    แหล่งโบราณคดีแห่งนี้อยู่ริมลำห้วยที่ ที่เป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย บ้านเก่า ซึ่งเป็นชุมชน
    ที่มีอายุประมาณ ๓,๘๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วเชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนที่มีการทำดกษตรกรรม โดยรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พบภาชนะดินเผาที่ทีรูปแบบและทรงต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งวิธีการตกต่งผิวด้านนอกแตกต่างจากภาชนะดินเผาจากที่แห่งอื่น ส่วนใหญ่เป็นภาชนะสีดำ สีเทาเข้ม และสีน้ำตาลเข้ม แหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบภาชนะที่สร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ ภาชนะดินเผาสามขา

    ชุมชนแห่งนี้มีประเพณีการฝังศพโดย การฝังลักษณะนอนหงายเหยียดตรง และมีการวางภาชนะดินเผาหลายใบพร้อมกับสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขวานหินขัด แวปั่นด้าย ดินเผา และเครื่องประดับ เช่น กำไล ลูกปัด ชุมชนนี้ยังไม่มีการใช้โลหะทำเครื่องมือหิน ซึ่งส่วนมากพบขวานหินขัดและเครื่องประดับ เช่น กำไล ลูกปัด ที่ทำมาจากหินและเปลือกหอยทะเล

    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบร่องรอยของชุมชน เกษตรกรรมที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายช่วงสมัยเป็นเวลายาวนานนับพันปี กล่าวคือ

    เมื่อราว ๓,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ได้เกิดชุมชนโบราณขึ้นที่บริเวณบ้านเชียง ใกล้วัดโพธิ์ศรใน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรราชธานี มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ถือว่า มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูง รู้จักวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะท้องที่ คือ การเขียนลายเชือกทาบ เป็นลวดลายเฉพาะ ไม่เหมือนแหล่งโบราณคดีที่ใดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนี้รู้จักการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องประดับ สร้างรูปแบบมีด หอก ขวาน หัวลูกศร ฯลฯ ได้เมื่อ ๔,๙๐๐ -๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กแล้วนำมาหลอมตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เมื่อ ๓,๒๐๐ – ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ (ควาย และทอผ้าไหมได้ ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นเศษผ้าไหมบนกระดูกมนุษย์โบราณในหลุมสำรวจ

    มนุษย์กลุ่มบ้านเชียงนี้มีหลักแหล่งอยู่ในดินแดนดังกล่าวมากกว่า ๖,๐๐๐ ปี (จากการตรวจสอบอายุภาชนะดินเผา โดยสถาบัน MASCA แห่งสหรัฐอเมริกา) มีความก้าวหน้าเช่นเดียวกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศจีน อินเดีย หรือในตะวันออกกลาง ที่นักโบราณคดีให้ความเชื่อมาว่าเป็นแหล่งอารยธรรมเจริญมาก่อน
    ในการขุดค้นโบราณคดีใน พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้พบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชนที่นิยมเรียกกันว่า ลายบ้านเชียง ซึ่งพบเป็นครั้งแรก และโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการนำเศษภาชนะลายดินเผาลายเขียนสีแดงตรวจสอบด้วยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเนล์ ที่มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จึงมีผลการตรวจหาอายุว่ามีอายุระหว่าง ๗,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว ญี่ปุ่นว่ามีอายุ ประมาณ ๖,๐๐๐ ปี ทำให้เกิดกระแสนิยมสะสมโบราณวัตถุบ้านเชียง จนต้องมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๕ ห้ามขุดและลักลอบ ขุดแหล่งโบราณคดีในเขต ๘ ตำบล คือ ตำบลบ้านเชียง ตำบลบ้านธาตุ ตำบลศรีสุทโธ ตำบลบ้านชัย ตำบลอ้อมกอ จังหวัดอุดรธานี และตำบลม่วงไข่ ตำบลแวง ตำบลพันนา จังหวัดสกลนคร ในภายหลังได้มีการสรุปผลว่า ภาชนะดินเผาบ้านเชียงนั้นมีอายุเพียง ๒,๓๐๐ -๑,๘๐๐ ปีเท่านั้น

    แหล่งโบราณคดีนอกจากพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แล้วยังพบว่า มีแหล่งโบราณคดีที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกันอีกหลายแห่งในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ตำบลบ้านดุง ตำบลศรีสุทโธ ตำบลบ้านชัย ตำบลบ้านอ้อมกอ เขตอำเภอบ้านดุง บ้านเมืองพรึก ตำบลแซแล เขตอำเภอกุมภวาปี บ้านตอง บ้านนาตี บ้านผักตบ ในตำบลผักตบ บ้านโนนนาสร้าง บ้านสะแบงในตำบลสะแบง และที่โนนขี้กลิ้งที่บ้านหนองสระปลาในตำบลบ้านยา เขตอำเภอหนองหานในตำบลเตาไห บ้านโพนในตำบลบ้านธาตุ เขตอำเภอเพ็ญ ที่ศาลเจ้าปู่บ่อใต้ ในตำบลสร้างคอม เขตอำเภอสร้างคอม ตำบลม่วงไข่ เขตอำเภอพังโคน โดยเฉพาะที่ตำบลสะแบงเขตอำเภอหนองหานนั้น มีแหล่งถลุงสำริดขนาดใหญ่ที่บ้านนาดี จังหวัดสกลนคร พบที่บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี ตำบลพันนา ตำบลแวงเขตอำเภอสว่างแดนดิน บ้านสร้างดู่ บ้านโนนโคกยาง ตำบลคำบ่อและ ที่เนินโรงเรียนบ้านม้า ตำบลทรายมูลเขต อำเภอวาริชภูมิ เป็นต้น

    ในช่วงระหว่าง ๔,๓๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น บ้านเชียงเป็นชุมชนเกษตรกรรมทีมีผู้คนอาศัยทำการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ โดยเลี้ยงวัวและหมู ซึ่งพบว่าประเพณีการฝังศพของมนุษย์ชุมชนแห่งนี้มีรูปร่างแบบต่างๆ ดังนี้ ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนงอเข่า ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนงอเข่า ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว และสำหรับศพเด็กนั้นใช้วิธีบรรจุศพใส่ในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่แล้วนำไปฝังดิน เป็นต้น สรุปแล้วชุมชนแห่งนี้มีการฝังศพในระยะแรกนั้น ได้นิยมนำภาชนะดินเผาวางลงในหลุมฝังศพและมีการใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายให้ผู้ตายด้วย ภาชนะดินเผาที่ใช้ฝังไปกับศพนั้นต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือ

    ระยะแรกใช้ภาชนะดินเผาที่เป็นสีดำ และสีเทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ย ส่วนปากสูงปลายกว้างหรือปากบานออก ตัวภาชนะส่วนบนเขียนด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง ตกแต่งด้วยลายกดประทับเพิ่มเติมเป็นจุดหรือเส้นสั้น ๆ บนพื้นที่ว่างของเส้นคดโค้ง มีเส้นขอบตรงกลางโดยรอบ ส่วนช่วงล่างนั้นตกแต่งด้วยลายเชือกทาบที่กดประทับบนผิวด้วยเส้นเชือก

    ระยะต่อมาการใช้ภาชนะดินเผาแบบใหม่ให้มีขนาดใหญ่รูปร่างทรงกลมยาว กันกลมมนขนาดใหญ่ขึ้น มีปากแคบมีทั้งแบบคอสั้นและคอยาว สำหรับใช้บรรจุศพเด็กลงในภาชนะแล้วนำไปฝังดิน ส่วงนภาชนะดินเผาที่ฝังกัยศพยังใช้ขนาดะรรมด่ที่มีการตกแต่งมากกว่าระยะแรก ๆ ระยะต่อมาได้มีการสร้างรูปแบบใหม่ที่เป็นทรงกระบอกเพื่อให้มีตัวภาชนะด้านข้างตรงถึงเกือบตรง แต่ยังมีลักษณะเป็นหม้อก้นกลม คอถาชนะนั้นสั้นปากบานออก เชิงสั้นตั้งตรง ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบาตลอดทั้งใบ และช่วงสุดท้านนั้นได้มีการสร้างภาชนะประเภทหม้อกลม โดยมีการตกแต่งส่วนบริเวณไหล่ของภาชนะด้วยลายเส้นขีดผสมกับการระบายสีแดง บนพื้นตัวภาชนะถัดลงมานั้นเป็นลายเชือกทาบ ภาชนะ แบบนี้พบมีหนาแน่นที่บ้านอ้อมแก้ว จึงเรียกว่า แบบบ้านอ้อมแก้ว

    สรุปชุมชนบ้านเชียงนี้ยังไม่มีการใช้โลหะ เครื่องมือมีคมใช้ขวานหินขัด ทำเครื่องประดับจากหินและเปลือกหอย ต่อมาราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วจึงได้เริ่มรู้จักใช้โลหะสำริดทำเครื่องประดับและอาวุธ ได้แก่ แหวน กำไล หัวขวาน ใบหอก เป็นต้น

    ในช่วงระหว่าง ๓,๐๐๐ – ๒,๓๐๐ ปีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงได้รู้จักการทำการเกษตร โดยใช้โลหะผสมเป็นเครื่องมือและเครื่องประดับ คือรู้จักทำสำริดที่ผสมระหว่างทองแดงและดีบุกเป็นหลัก จนถึงช่วงระยะเวลา ๒.๗๐๐ – ๒.๕๐๐ ปี ชุมชนบ้านเชียงจึงรู้จักใช้เหล็กเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้น สำหรับรูปแบบการฝังศพนั้นใช้ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดตรง บางศพนั้นมีการนำภาชนะดินเผาวางมากกว่า ๑ ใบ แต่ทุบให้แตกแล้วใช้เศษภาชนะนั้นโรยคลุมทับบนศพ รูปแบบภาชนะในระยะนี้ได้มีการทำภาชนะขนาดใหญ่ทรงกลมให้ส่วนไหล่นั้นหักเป็นมุมหรือโค้งมากจนเป็นมุม ก้นภาชนะนั้นทรงกลมและก้นแหลมจนวางกับพื้นไม่ได้ต้องวางบนที่รองภาชนะบางใบมีการตกแต่งลายขีดผสมกับลายเขียนสีบริเวณปากภาชนะ ภายหลังได้มีการตกแต่งปากภาชนะด้วยการทาสีแดง ส่วนตัวภาชนะนั้นมีผิวนอกสีขาว

    ในช่วงระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนบ้านเชียงแห่งนี้ได้มีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก สำหรับสำริดนั้นใช้ทำเครื่องประดับที่มีลักษณะประณีตและลวดลายมากขึ้น การฝังศพนั้นยังคงใช้วางนอนหงาย และวางภาชนะทับบนศพ ภาชนะช่วงนี้มีการเขียนลายสีแดงบนสีขาวนวลของภาชนะ และมีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง สุดท้ายภาชนะดินเผานี้มีการทาน้ำดินแล้วทำการขัดมันขึ้น

    ปัจจุบันบริเวณที่มีเป็นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

    แหล่งโบราณคดีอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

    พบเครื่องมือหินกะเทาะรุ่นเก่า ที่ทำจากหินกรวดในแม่น้ำ พบอยู่ในชั้นของหินกรวดที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นหินบะ๙อลท์ อายุประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ – ๖๐๐,๐๐๐ หรือถึง ๘๐๐,๐๐๐ ปี
    นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ นายสมศักดิ์ ประมาณกิจและคุณวัฒนา ศุภวัน ได้พบชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของมนุษย์โฮโมอิเลคตัส อายุประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปี ที่บริเวณอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางด้วย

    แหล่งโบราณคดีสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใน พ.ศ. ๒๕๑๔

    นักศึกษาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทำการขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะทำจากกรวดแม่น้ำที่สบคำริมแม่น้ำโขงใกล้อำเภอเชียงแสน เครื่องมือหินแบบนี้มีเทคนิคการทำและรูปแบบเครื่องมือมีลักษณะเหมือนเครื่องหินเก่าในเอเชียสรุปว่าบริเวณอำเภอเชียงแสนนั้น เป็นแหล่งมนุษย์สมัยหินเก่าอาศัยอยู่เมื่อประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีแล้ว

    แหล่งโบราณคดีที่ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่

    ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน นักโบราณคดีได้ขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะที่เพิงผาเขาหินปูนเป็นเครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหิน ที่มีอายุประมาณ ๓๗,๐๐๐-๒๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ปรากฏขึ้นแล้ว คือพบในถ้ำนีอาห์บนเกาะบอร์เนียว รัฐซาลาวัก ประเทศมาเลเซีย ดังนั้นจึงเป็นหลักบานที่แสดงว่าในป่าฝนเมืองร้อนทางใต้ของไทยนั้นเมื่อ ๔๐,๐๐๐ ปีได้มีมนุษย์ได้อาศัยอยู่แล้ว และรู้จักการทำเครื่องมือหินกะเทาะ โดยทำเครื่องมือหินกะเมาะจาดสะเก็ดหิน เพิ่มจากการทำเครื่องมือจากแกนหินของเก่า ต่อมาประมาณ ๙,๐๐๐ -๗,๕๐๐ ปี มาแล้วนั้นได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียน ต่อมาราว ๖,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี จึงเริ่มใช้เครื่องมือหินขัด และมีการใช้ภาชนะดินเผาขึ้น

    แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่

    เป็นเพิงผาหินปูนไม่ไกลแหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน ดร. สุรินทร์ ภูขจร ได้สำรวจพบร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เป็นระยะตามลักษณะเครื่องมือหินที่พบว่า เมื่อประมาณ ๒๕,๐๐๐ – ๒๖,๐๐๐ ปี มาแล้วมีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะทำมาจากหินกรวดชนิดกะเทาะหน้าเดียว ต่อมาช่วงหลังก่อน ๒๔,๐๐๐ ปี มีการใช้เครื่องหินกะเทาะที่ทำมาจากกรวดแม่น้ำชนิดเป็นแกนหินและสะเก็ดหินชิ้นใหญ่ และพบว่ามีการใช้สะเก้ดหินขนาดเล็กปริมาณมากกว่า ตาอมาราว ๑๑,๐๐๐ -๘,๐๐๐ ปี ได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะหลายชนิด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวดชนิดหน้าเดียว และชนิดสองหน้าที่ทำจากหินเซิร์ท (CHERT) และหินเจสเปอร์ (JASPER) และเครื่องหินจากสะเก็ดหิน ในราว ๗,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี มาแล้วได้มีเครื่องมือหินแบบใหม่คือขวานหินกะเทาะ (FLAKED) และขวานหินขัด

    แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    เป็นถ้ำที่พบหลักฐาน ว่ามีมนุษย็เข้ามาอาศัยในถ้ำนี่ เมื่อประมาณ ๑๑,๐๐๐ -๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากพบว่ามีเครื่องมือแบบฮัวบิเนียน ที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ นอกจากนี้ในระหว่าง ๖,๐๐๐ – ๙,๐๐๐ ปี ได้พบชิ้นส่วนของเมล็ดพืช จำพวกพริกไทย น้ำเต้า ถั่ว และผักบางชนิด ที่ทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ในยุคนั้นได้รู้จักใช้พืชบริโภค หรืออาจจะรู้จักนำมาเพาะปลูก

    แหล่งโบราณคดีโนนนกทา หมู่บ้านนาดี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

    เป็นเนินดินที่สำรวจพบหลุมฝังศพมนุมนุษย์ไม่ต่ำกว่า ๒๐๕ แห่ง และพบภาชนะดินเผามากมายทั้งสมบูรณ์และชิ้นส่วนและประมาณ ๘๐๐ ใบ จากการศึกษาลักษณะของภาชนะดินเผาและรูปแบบการฝังศพนั้นพบว่า แหล่งนี้มีการพัฒนาการ ๓ ช่วง กล่าวคือ ในช่วง ๕,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปีมาแล้วนั้นได้มีการใช้แกลบข้าวผสมในเนื้อดินทำภาชนะดินเผา ส่วนใหญ่ภาชนะทำเป็นก้นกลมตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ตกแต่งด้วยลายขีดเขียนที่ซับซ้อน และพบกระดูกกวาง กระดูกสัตว์ป่าหลายนิด อยู่ด้วย ซึ่งแสดงว่าแหล่งโนนนกทานั้นได้มีการเพาะปลูกข้าวแล้ว และทำการล่าสัตว์ป่า และอาจมีการเลี้ยงสัตว์จำพวกวัว สุนัข หมู ด้วย ส่วนเครื่องนั้นพบขวานหินขัด เศษสำริด หัวขวานโลหะ ต่อมาช่วง ๔,๕๐๐ – ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ได้ปรากฏว่ามีการใช้สำริดอย่างแพร่หลาย พบเบ้าหลอมโลหะและแม่พิมพ์หินทราย ซึ่งแสดงว่ามีการหล่อหินสำริดขึ้น การฝังศพนั้นมีการใช้เครื่องหมายแสดงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนและในช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี มาแล้ว แหล่งโบราณคดีโนนนกทาแห่งนี้ได้ถูกทอดทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จนกระทั่งช่วงปลายจึงมีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็กและนิยมเผาแทนการฝังแบบเดิม

    แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลธารประสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนคร ราชสีมา

    ตั้งอยู่ริมลำน้ำธารประสาท เป็นเนินดินรูปยาวรี มีความยาวแนวตามทิศตะวันออก-ตะวันตก ประมาณ ๗๕๐ เมตร กว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ๖๐ โครง ซึ่งมีการฝังศพโดยมีภาชนะดินเผาและเครื่องประดับฝังรวมไปด้วย ภาชนะดินเผาที่พบเป็นภาชนะดินเผาและเครื่องประดับฝังรวมไปด้วย ภาชนะดินเผาที่พบเป็นภาชนะดินเผาทรงปากแตร และพบเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไล ต่างหู กระพรวน เป็นต้น ซึ่งทำจากสำริด หิน และเปลือกหอย ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่นำมาจากต่างพื้นที่ โดยชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นซึ่งสรุปได้ว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มรมนุษย์อาศัยอยู่เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว และดำรงชีวิตต้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย หมู และสุนัข เป็นต้น และน่าจะมีการอาศัยอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ด้วยปรากฏว่ามีการสร้างศาสนาสถานขึ้นบริเวณนี้ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลวดลายปูนปั้นศิลปะ
    ทราวดี และมีพระพุทธรูปสมัยเดียวกันใน ศาสนาสถานที่เรียกว่า กู่ธารปราสาท ด้วย

    แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

    เป็นพื้นที่ดอนมีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นเชิงเขา ที่มีห้วยสวนมะเดื่อเป็นเส้นทางน้ำธรรมชาติ จากการขุด
    พบว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบโครงกระดูกมนุษย์ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ฝังอยู่ลึก จากผิวดินปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ในลักษณะวางนอนหงาย เหยียดตรงอย่างเป็นระเบียบ การฝังนั้นมีการทุบภาชนะดินเผาหลายใบมาปูรองบริเวณที่ฝังศพก่อนวางศพ แล้วจึงนำดินมากลบทับศพแต่ละศพนั้นมีการวางภาชนะดินเผา เครื่องมือหรืออาวุธที่ทำด้วยเหล็ก เครื่องประดับทำมาจากวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่นต่างหูทำด้วยแก้ว ต่างหูทำด้วยหินอ่อน แหวนสำริด เครื่องประดับหน้าอกที่เป็นแผ่นกลมแบนทำจากส่วนหน้าอกของเต่าทะเล โครงกระดูกหลายชนิดมีการวางปลายเท้าของหมูเป็นเครื่องเซ่นไว้ด้วย นับว่าเป็นสุสานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

    ชุมชนบ้านโปร่งมะนาวในช่วงระยะเวลาแรก เมื่อประมาณ ๓,๕๐๐—๓,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นมีมนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่โดยยังไม่เป็นชุมชนที่ใหญ่นัก มีการใช้ขวานหินขัด เครื่องประดับแผ่นกลมเจาะรู ลูกปัดและกำไรข้อมือจากหินอ่อน สีขาวบ้าง ทำจากเปลือกหอยทะเลบ้าง ต่อมาระหว่าง ๒,๕๐๐-๒,๓๐๐ ปี นั้นชุมชนแห่งนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนใหญ่โต จนถือว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนและประชากรที่ไปมาหาสู่กัน มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นและมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมของตนเอง ดังนั้นจะเห็นว่ามีการจัดพื้นที่บางส่วนไว้เป็นสถานที่เฉพาะสำหรับฝังศพ มีการจัดระบบของชุมชน ซึ่งพบว่ามีโครงการดูกฝังอยู่นับร้อย และพบว่าโบราณวัตถุบางชิ้นที่ฝังศพนั้นได้มาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนจากแหล่งอื่น จึงถือว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง

    สรุปแล้วเนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีนั้น ได้พบว่ามีแหลางโบราณคดีอยู่มากมายหมายหลายแห่ง เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณแห่งนี้เป็นแหล่งที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอยู่อาศัยมากมายเมื่อประมาณกว่า ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาบริเวณแห่งนี้ได้มีมนุษย์พากันเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น พร้อมกับมีการพัฒนาการอยู่อาศัยตลอดจนสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่อเนื่องกันมา จนสามารถสร้างชุมชนขึ้นใหม่ในยุคสมัยต่อมา

    สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้น นอกจากจะรู้จักที่จะดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม รู้จักเพาะปลุกเลี้ยงสัตว์ เข้าป่าล่าสัตว์ รู้จักจับสัตว์แล้ว การรู้จักประดิษฐ์คิดทำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหิน เครื่องมือโลหะ เป็นอาวุธใช้แล้ว การรู้จักปั้นภาชะดินเผา การทอผ้า การทำเครื่องประดับจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้นับว่าเป็นการพัฒนาการที่มีต่อเนื่องมา สำหรับวิทยาการที่สำคัญคือการเรียนรู้วิธีหลอมโลหะเพื่อใช้งานนั้น ก็มีวิธีการหลอมทองแดงและดีบุกเป็นสำริด และรู้จักการถลุงเหล็กเพื่อใช้ทำเครื่องก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้ ซึ่งมีการสำรวจพบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่ทำการหลอมโลหะและทำการถลุงเหล็กอยู่แล้ว

    แหล่งโบราณคดีของการถลุงเหล็ก

    เมื่อประมาณ ๓,๖๐๐ ปีก่อน มนุษย์ได้รู้จักถลุงเหล็กโดยสกัดเอาเนื้อเหล็กออกแร่ดิบแบบทางตรง (DIRECT PROCESS) ด้วยการนำแร่เหล็กไปเผาในกองไฟในลักษณะที่เป็นก้อนแข็งอยู่ (BLOOMERY PROCESS) มีบันทึกของชาวตะวันตกกล่าวไว้ว่า “มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกุย ใกล้เทือกเขาพนมเด็คในกัมพูชา ได้นำแร่ที่มีอยู่ใกล้หมู่บ้านนำมาถลุง”
    แต่การถลุงที่บ้านดงพลอง จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีขุดเตาเป็นหลุมทรงกระบอกลึกลงไปในดินเหนียวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เตาถลุงเหล็กมีขนาดกว้าง ประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ผนังเตาเป็นดินเหนียว บางเตามีท่อลมดินเผา สำหรับสูบลมด้วยมือที่มีเครื่องสูบลมที่ทำด้วยไม้ ด้านข้างของเตานั้นทำเป็นช่องระบายขี้ตระกรันที่เหลือจากการถลุงให้ไหลลงไปในหลุม ซึ่งขุดไว้ด้านข้าง วิธีการถลุงเหล็กนั้น ให้นำก้อนแร่มาทุบย่อยให้ได้ขนาด แล้วทำความสะอาดผสมด้วยถ่านกับสารีช่วยเกิดตระกรันหรือฟลักซ์ (Flux) เช่น กระดูกและเปลือกหอยป่นละเอียดในสัดส่วนพอเหมาะ แล้วใส่เข้าไปในเตาที่ทำด้วยดินเหนียว นำเชื้อเพลิงจากถ่านไม้มากองสุม จุดไฟแล้วสูบลมด้วยมือให้พ่นลมเร่งความร้อนให้ได้อุณหภูมิประมาณ ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส จนเหล็กหลอมละลายเหลวไหลออกมา เมื่อทิ้งให้เย็นลงเหล็กจะแข็งเป็นแท่ง ต่อจากนั้นจึงนำแท่งเหล็กหล่อที่ได้มาทำการตีหรือทุบ ให้เศษขี้แร่สิ่งเจือปนหลุดออกไป แล้วเผาให้ร้อนแดงอีกครั้ง แล้วนำออกมาตีขึ้นรูปของเครื่องมือใช้ที่ต้องการ เช่น มีด ดาบ เสียม ตะปู ฯลฯ

    แหล่งโบราณคดีสำรวจพบแร่เหล็กและทองแดง แล้วนำมีการไปถลุงทำโลหะขึ้นแบบเดียวกันนั้น ได้แก่

    แหล่งแร่เหล็ก เป็นแหล่งถลุงเหล็กและที่ผลิตเครื่องมือเหล็กโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งอยู่บริเวณเขาต้นน้ำลำพันในเขตตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พบว่าในบริเวณดังกล่าวมีการผลิตลูกปัดแก้วและดินเผาตั้งแต่สมัยประวัติสาสตร์ยุคเหล็กมาจนถึงสมัยทวาราวดี

    แหล่งแร่เหล็กและแร่ทองแดง อยู่บริเวณทิศเหนือและตะวันออกแยงเหนือของตังจังหวัดลพบุรี ในรัศมีราว ๗๕ กิโลเมตร เป็นแหล่งแร่เหล็กทองแดงและแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและทองแดงที่สำคัญในแผ่นดินไทยตั้งแต่เมื่อราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    เหมืองแร่ทองแดงโบราณใต้ดิน ที่เขาพุคา เขาวงพระจันทร์ และเขาพระบาทน้อย ใกล้สนามบินโคกกระเทียมประมาณ ๑๐ กิโลเมตร อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรีนั้น พบว่ามีแร่ทองแดงในหินแอนดีไซต์พอร์พีรีและฮอร์นแบลนด์ ส่วนแร่เหล็กนั้นพบที่เขาทับควาย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น ดังนั้นดินแดนสุวรรณภูมิจึงเป็นแหล่งโลหะที่สำคัญทำให้ยุคต่อมาจึงการเดินทางค้นหาแร่สำคัญในภูมิภาคนี้

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c010.shtml
     
  14. Leelawadeexseed

    Leelawadeexseed Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +97
    ^__^ thx so much
     
  15. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    การพัฒนาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

    การพัฒนาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์


    เมื่อมนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิ เมื่อก่อนหน้า ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นมนุษย์ยังเป็นสังคมเดี่ยวเป็นประชากรที่ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ป่า จับสัตว์น้ำ หาพืชผักผลไมที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาเป็นอาหาร ต้องพึ่งพาตนเองและออกหากินเรื่อยไปไม่เป็นหลักแหล่ง อาศัยหลบร้อนหลบฝนไปตามถ้ำเชิงผา ไม่รู้จักทำการเพาะปลูก ไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติทีมี ฝนตก ฟ้อร้อง น้ำท่วม ฟ้าผ่า ไฟป่าไหม้ ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ภัยอันตรายที่อยู่เหนือการป้องกันเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ล้มตาย จนกลายเป็นความเกรงและสร้างความเชื่อของมนุษย์ในที่สุด จนทำการร้องขอสิ่งลึกลับอันตรายที่หาคำตอบไม่ได้เป็นที่พึ่ง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ มีการยกสัตว์ที่ทำร้ายให้ตาย เป็นเทพเจ้าบูชา เช่น งูมีพิษ จระเข้ เหยี่ยว เป็นต้น ต่างพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นได้ ด้วยการสวดอ้อนวอน ร้องขอ และเซ่นบูชา มากกว่าหาวิธีแก้ไขหรือควบคุมสภาพธรรมชาติ ดังการเกิดโรคระบาดหรือความตายเกิดขึ้นก็จะพากันทิ้งถิ่นหาที่อยู่ใหม่ เคลื่อนย้ายไปตามเส้นทางที่ไม่ห่างจากแม่น้ำ และอาศัยแม่น้ำเป็นหลักในการอยู่อาศัยในที่สุด

    เครื่องมือป้องกันตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้ช่วยในการบ่าสัตว์และป้องกันตนเองนั้นในระยะแรกน่าจะค้นหาวิธีการใช้ไม่ปลายแหลมมาก่อนการใช้ก้อนหินเป็นหลัก ต่อมาเมื่อรู้ก้อนหินมีน้ำหนักและแข็งจนทำอันตรายได้ ก็มีการค้นหาวิธีใช้ แม้ในระยะแรกจะใช้ก้อนหินพอเหมาะมือเป็นเครื่องมือมาก่อน ต่อมารู้วิธีที่กะเทาะก้อนหินให้มีความแหลมคม สำหรับใช้งานตามต้องการได้

    เครื่องมือหินกะเทาะจึงมีวิธีทำการแกนหิน (หินกรวดจากแม่น้ำที่มีเปลือกหุ้มกะเทาะเอาแกนหินใช้) นั้นมีความแหลมคมโดยรอบนั้น วิธีกะเทาะนั้นเอาก้อนหินกรวดอีกก้อนมากะเทาะส่วนที่ต้องการออก โดยตีเป็นสะเก็ดหินออกตามรูปแบที่ต้องการ คือกะเทาะทั้งสองด้านตรงกันให้สะเก็ดที่กะเทาะออกนั้นสร้างส่วนแหลมคม เพื่อความคมนั้นบาดหรือแทงได้ เครื่องมือหินจึงรูปแบบแตกต่างกันตามขนาดของหินเรียก “ขวานหินกะเทาะ”

    ส่วนสะเก็ดที่กะเทาะออกถ้ามีขนาดเล็กและบางหากมีความคมอยู่ก็นำมาใช้เป็นเครื่องมือแล่หนังหรือเนื้อสัตว์ได้ หากมีขนาดย่อมก็ทำเป็นขวานหินตามขนาดใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของสะเก็ดหินที่ถูกกะเทาะออก

    ดังนั้นจุดกะเทาะให้เกิดความคม จึงต้องมีวิธีการและกำหนดจุดกะเทาะอย่างมีรูปแบบ เพื่อให้เกิดรอยแตกต่อเนื่อง คือทำให้ความคมที่สุดสำหรับตัด เฉือน แล่ และขูดสิ่งต่าง ๆ ได้ สำหรับขวานหินกะเทาะทีมีขนาดย่อมนั้นจะผูกติดกับไม้มีง่ามและท่อนไม้ผ่าซีกแล้วมัดด้วยเชือกปอหรือเส้นหนังสัตว์ โดยใช้ส่วนที่เหลือของไม้ง่ามหรือท่อนไม้ เป็นด้ามถือตามต้องการ ส่วนหินก้อนใหญ่นั้นน่าจะกะเทาะให้พอเหมาะกับมือที่จะใช้ทุบให้แตกมากกว่าใช้ความคม

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และช่วงเวลานั้น ได้มีการพัฒนาตนเองในหลายเรื่อง เช่น

    ที่พักอาศัย

    กลุ่มมนุษย์เมื่อก่อนหน้า ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว นิยมที่จะออกล่าสัตว์เป็นอาหารนั้น ไม่นิยมการสร้างที่อยู่อาศัยถาวร มีการย้ายที่พักไปตามแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ โดยอาจจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนที่พักตามสภาพธรรมชาติ ที่มีช่วงของฤดูแต่ละปี และสอดคล้องกับแหล่งอาหารทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งพบว่ามีการจัดเพิงพักชั่วคราว ตามที่โล่งหรือพักอาศัยตามถ้ำ เพิงผา ซึ่งบางแห่งพบมีการเขียนภาพบนผนังถ้ำเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปสัตว์ พิธีกรรม และเครื่องหมายต่าง ๆ

    ในฤดูร้อนนิยมทำเป็นเพิงพักตามที่โล่งไม่ไกลจากแหล่งน้ำ ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะเข้าไอยู่ตามถ้ำหรือพิงผาที่สามารถหลบกำบังลมและฝนได้ มนุษย์สมัยนี้น่าจะนินมอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ และเป็นครอบครัวที่อาจจะเป็นครอบครัวเดียวกันได้

    สำหรับการอาศัยถ้ำหรอเพิงผาสำหรับพักอยู่ต่อเนื่องค่อนข้างนานวันนั้นช่วงเวลาประมาณ ๑๐,๐๐๐ -๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่าในถ้ำหรอเพิงผานั้นมีการอยู่อาศัยที่ไม่สูงนักและมีร่องรอยหนาราว ๒-๓ เมตร ส่วนมากนิยมอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ ลำห้วย และชายทะเล ซึ่งพบว่ามีภาพเขียนสีปรากฏอยู่หลายแห่งและยังมีการใช้เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียอยู่

    แต่มนุษย์บางกลุ่มนั้นก็ยังมีการเคลื่อนย้ายที่พักอาศัยหมุนเวียนตามฤดูกาลและแหล่งอาหารเช่นเดิมอยู่ จนช่วงเวลา ๔,๐๐๐ -๒๕,๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนที่เป็นเกษตรกรรมขนาดกลางได้มีประชากรเพิ่มขึ้นจนต้องขยายชุมชนเป็นหมู่บ้าน แต่ยังคงอิสระต่อการปกครองตนเองแต่ก็มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้นจนทำให้หัวหน้าชุมชนนั้นมีฐานะเด่นขึ้นมีเครื่องมือเครื่องประดับตกแต่งมากกว่าสมาชิกของชุมชน โดยเฉพาะมีช่างฝีมือทำการผลิตชิ้นงานที่ประณีต มีแหล่งโลหะผลิตทองแดง แหล่งผลิตขวานหิน แหล่งผลิตเครื่องประดับแหล่งผลิตภาชนะดินเผา เป็นต้น

    ดังนั้นเมื่อชุมชนมีการเกษ๖รกรรม การเลี้ยงสัตว์ และแหล่งผลิตฝีมือ จึงทำให้ความสำพันธ์กับการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย ได้พบว่ามีร่องรอยการขุดเสาสร้างที่พักในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งมีผังที่พักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อว่าน่าจะยกเสาสูงเพื่อใช้ที่ว่างใต้ถุนบ้านทำกิจกรรม หรือทำคอกเลี้ยงสัตว์หรือเก็บเครื่องมือใช้สอยขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีพื้นที่สำหรับใช้อยู่อาศัยมากขึ้นกว่าที่แหล่งเป็นชุมชนเก่ากว่า ทำให้เชื่อว่าชุมชนนั้นได้มีการรวมกลุ่มกันสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นหมู่บ้านถาวรขึ้นแล้ว

    ในช่วงเวลา ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วนั้นได้มีร่องรอยการรวมกลุ่มสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่และมีชุมชนเกิดขึ้นกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ดอน และพื้นที่ลานตะพักน้ำระดับต่าง ๆ หลายภูมิภาคของประเทศชุมชนบางแห่งนั้นมีขนาดใหญ่กว่าชุมชนอื่น ๆ ด้วยพบว่าแหล่งโบราณคดีนั้นมีปริมาณโบราณวัตถุจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงเวลา ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐ ปีมาแล้ว จึงมีชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นร่วมสมัยชุมชนขนาดเล็ก ทำให้เข้าใจว่าชุมชนขนาดใหญ่นั้นน่าจะเป็นศูนย์กลางชุมชนขนาดเล็กเท่านั้นหรือเป็นชุมชนบริวาร

    การทำมาหากิน

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในระยะแรกนั้น ส่วนมากดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า ออกล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำอยู่ เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    ดังนั้นในช่วง ๑๐,๐๐๐ -๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบกระดูกของสัตว์ป่าขนาดกลาง เช่น วัวป่า กวาง เก้ง และหมูป่า ในแหล่งโบราณคดี เช่น ถ้ำผีแมน พบกระดูกวัวป่าและแรด

    การล่าสัตว์ขนาดใหญ่ในป่า มนุษย์สมัยนี้น่าจะมีการร่วมมือล่าสัตว์ เพราะสัตว์ป่าเหล่านั้นมีลักษณะปราดเปรียว วิ่งเร็ว และแข็งแรง ลำพังมนุษย์คนเดียวไม่สามารถล่าได้ การรวมกลุ่มคนเพื่อช่วยล่าสัตว์นั้น ทำให้เชื่อว่ามนุษย์ได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นแล้วหรือไม่ก็รวมตัวกันบางฤดูกาลที่มีการล่าสัตว์ขนาดใหญ่

    สำหรับการล่าสัตว์เล็กที่มีความว่องไว เช่น ลิง กระรอก ที่อาศัยตามต้นไม้ก็เชื่อว่าน่าจะจักการดักสัตว์ และมีการสร้างมีเครื่องมือยังสัตว์ในระยะไกลประเภทเดียวกับ ธนูที่ใช้ลูกกระสุน และหน้าไม้ที่ใช้ไม้ซางทำเป็นลูกอก ซึ่งมีการพบลูกกระสุนดินเผาปนอยู่ในแหล่งโบราณคดี และกระดูกสัตว์ที่เสี้ยมปลายแหลมเป็นหัวธนู

    การเพาะปลุกนั้นน่าจะเกิดจากการเรียนรู้โดยธรรมชาติจากสัตว์ที่กินเมล็ดพืชแล้ว ถ่ายมูลออกมาให้เมล็ดพืชเติบโต และเมล็ดพืชได้ปลิวไปตกในที่ชุมชื้นแล้วงอก เป็นต้น การสำรวจโบราณคดีที่ถ้ำผีแมนนั้น พบว่ามีเมล็ดพืชในกลุ่ม น้ำเต้า แตงกวา และถั่วบางชนิดซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นพื้นที่ถากถางวัชพืชออก จึงเชื่อว่าในราว ๖,๐๐๐ – ๙,๐๐๐ ปี มาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักปลูกพืชในพื้นที่ที่ถูกถากถางและกำจัดวัชพืชแล้ว และทำการเพาะปลูกที่มีการขุดดินถางหญ้าในเวลาต่อมา แม้จะพบว่าในระยะนั้นมนุษย์ยังใช้เครื่องหินหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียนและดำรงชีพด้วยการเข้าป่าล่าสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารก็ตาม มนุษย์ก็จะรู้จักปลูกพืชและควบคุมดูแลให้มีผลผลิตมากขึ้น

    ต่อมาราว ๔,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วกลุ่มประชากรบางกลุ่มได้รู้จักการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์บางชนิด เช่น วัว หมู ไก่ แม้ว่าจะผลิตอาหารเองได้บ้าง ก็ยังอาศัยการเข้าป่าล่าสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารอยู่เช่นเดิม แหล่งโบราณคดีที่พบว่ามีการเพาะปลูกเป็นชุมชนเกษตรกรรมนั้น คือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีโนนนกทาซึ่งเป็นเมล็ดข้าวที่ถูกเผาจนเป็นถ่านสีดำและมีแกลบข้างผสมในเนื้อดินที่ทำภาชนะดินเผา โดยมีส่วนผสมที่มีปริมาณมาก จนน่าจะเชื่อว่ามีการปลูกข้าวขึ้นแล้ว และน่าจะมีทั้งข้าวที่ขึ้นตามดอนและข้าวที่เป็นผลผลิตจาก วิธีปลูกข้าวในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำขัง ในลักษณะนาเลื่อนลอย เมื่อราว ๒,๗๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วนั้น มนุษย์จึงรู้จักวิธีปลูกข้าวแบบนาดำที่มีการยกคันดินทดน้ำเข้านา และน่ารู้จักใช้แรงสัตว์เข้าช่วยในการไถนาเพาะปลูกข้าวด้วย

    เมื่อชุมชนมีข้าวมีพืชมากพอก็เกิดกาติดต่อแลกเปลี่ยนของและผลิตของพื้นที่ระหว่างชุมชนในภูมิภาคเดียวกันและต่างพื้นที่ ที่พบว่ามีลูกปัดและกำไลจากเปลือกหอยทะเลได้เข้ามาใช้ในพื้นที่แล้ว

    เครื่องประดับ

    ในช่วงเวลา ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐ ปีมาแล้วนั้น ชุมชนก่อนประวัติสาสตร์ที่มีการใช้เหล็กเป็นเครื่องมือนั้น ไดมีลูกปัดแก้วลูกปัดหินทำจากดมราหรือหินคาร์นีเลียน หินโมกุล หรือหินอาเกต และผลึกคว๊อทสีต่าง ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และช่วงเวลา ๒,๓๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว นั้นการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนนั้นมีบทบาทต่อชุมชนที่ห่างไกลมากขึ้น พบว่ามีลูกปัดที่ทำมาจากหินกึ่งอัญมณีรุ่นแรกในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง เช่น คลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นต้น ลูกปัดนี้เป็นเครื่องประดับที่ผลิตด้วยเทคนิควัฒนธรรมอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีการติดต่อค้าขายกันมากกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    เครื่องมือหินและโลหะ

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์รู้จักที่จะคิดทำเครื่องมือจากก้อนหินเพื่อใช้งานต่าง ๆ และมีการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมตามการใช้งานซึ่งมีการสร้างเครื่องมือหินจากแกนหินและเครื่องมือหินจากสะเก็ดหิน กล่าวคือ

    เมื่อราว ๖๐๐,๐๐๐ -๔๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้วได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบง่าย โดยทำจากหินกรวดแม่น้ำ โดยนำมากะเทาะโดยตรงจากค้อนหิน (ก้อนหิน) ด้วยกัน เพื่อให้เกิดรอยแตกแยกต่อเนื่องกันไม่กี่แห่งเพื่อให้มีคมที่ขอบก้อนหินนั้น สำหรับใช้ขุด ทุบ สับ ตัด และเขียน

    เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากกรวดแม่น้ำรุ่นแรกนี้เป็นประเภทเครื่องมือแกนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือขุดสับและสับตัด มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะประเภทนี้คือ มนุษย์โฮโมอิเลคตัส ชนิดโฮโม เซเปียนส์เซเปียนส์ ที่มีชีวิตอย่เมื่อ ๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว

    ต่อมาราว ๔๐,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ปี ได้มีการทำเครื่องมือหินกะเทาะแบบใหม่ขึ้น มีขนาดเล็กกว่าเครื่องมือหินรุนแรก โดยใช้สะเก็ดหินชิ้นใหญ่มาตกแต่ด้วยก้อนหินให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ อย่างต่อเนื่องและตามรรูปแบบที่กำหนด จนทำให้เกิดความคมกว่ามีประสิทธิภาพใช้ตัดและเฉือนได้ เรียกว่า เครื่องมือสะเก็ดหิน ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างและไม่มีรูปแบบแน่นอน

    เมื่อประมาณ ๑๒,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ได้มีการสร้างเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน พบที่เมืองฮัวบินห์ในเวียดนามครั้งแรก เป็นเครื่องมือกะเทาะประเภทแกนหินที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ แต่มีรูปแบบแตกต่างไปจากเครื่องมือหินกรวดรุ่นแรก คือมีลักษณะประกอบด้วย

    ๑.เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว เหลือผิวหินเดิมไว้ ส่วนหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง จึงมีรูปทรงรูปไข่ ทรง
    สามเหลี่ยม ทรงแผ่นกลมแบน สำหรับเครื่องมือหินทรงรูปไข่ ทรงสามเหลี่ยม ทรงแผ่นกลมแบน
    สำหรับเครื่องมือหินทรงรูปไข่ที่กะเทาะผิวเดิมออกด้านเดียวจนหมด โดยเหลือผิวของก้อนหินด้าน
    หนึ่งไว้นั้นเรียกว่า เครื่องมือหินแบบสุมาตราลิทล์
    ๒.เครื่องมือหินกะทำทั้งสองด้านที่มีรูปทรงแตกต่างกันทั้งรูปไข่ สามเหลี่ยมและทรงกลม
    ๓. เครื่องมือหินที่เป็นหัวขวาน (SHOT AXES) หรือขวานสั้นโดยกะเทาะหน้าเดียวหรือสองหน้า ให้
    กะเทาะแนวขวางให้ปลายด้านซ้ายหักออกเพื่อใช้ให้เป็นด้ามของเครื่องมือ
    ๔.เครื่องมือหินกะเทาะที่ขัดฝนเฉาะส่วนคมเพื่อใช้งาน คือกะเทาะเป็นรูปหัวขวานที่มีการขัดฝนด้านคม
    เท่านั้น ไม่ขัดเรียบทั้งสิ้น
    ๕.เครื่องมือหินกะเทาะแบบอื่น ๆ มีรูปทรงต่าง ๆ เป็นเครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือแกนหิน และ
    ค้อนหิน

    ต่อมาภายหลังประมาณ ๖,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ได้มีการสร้างเครื่องมือหินขัดขึ้นอย่างแพร่หลายด้วยการรู้จักนำเครื่องหินกะเทาะมาขัดให้มีรูปร่างต่างกัน เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ -๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้พบว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำวัสดุ เช่น หิน ดินเผา กระดูก และเปลือกหอย โดยเฉพาะเครื่องมือหินรูปหัวขวานนั้นได้มีการทำอย่างประณีตมีการขัดจนเรียบ เรียกว่า ขวานหินขัด และถูกนำไปใช้ทำงานในลักษณะตัดเฉือน แบบมีด และต่อด้ามยาวเป็นเสียมขุด หรือต่อด้ามสั้นเป็นสิ่ว

    ต่อมาเมื่อ ๒,๗๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วมนุษย์รู้จักหลอมโลหะสำริดและการถลุงเหล็ก เพื่อนำมาหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ เช่น หัวขวาน ใบหอก มีด หัวลูกศร เป็นต้น ส่วนสำริดนั้นได้มีการนำมาใช้ทำเครื่องประดับแทน เช่น กำไร ต่างหู แหวน เป็นต้น

    ดังนั้นช่วงต่อมา ๒,๕๐๐ – ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว ไดมีการพัฒนาด้านโลหะกรรม คือผสมสำริดที่มีลักษณะดีบุกผสมอยู่ปริมาณอยู่มากกว่า ๒๐ เปอร์เซนต์ ทำให้สำริดชนิดใหม่นี้มีความแข็งมากจนเปราะง่ายขึ้น สามารถผสมสีออกเป็นสีคล้ายสีทองไปจนคล้ายสีเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณดีบุกที่ใช้ผสมการหล่อสำริดที่มีความแข็งและเปราะนั้นทำให้สิ่งของออกมาใช้ไม่ได้

    ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำวิธีการตีเหล็กมาใช้กับการตีโลหะผสมหรือสำริด กล่าวคือ ใช้วิธีการเผาสำริดแล้วตีในขณะที่โลหะผสมกำลังร้อนจนเป็นสีแดง เมื่อตีได้รูปร่างที่ต้องการแล้วก็เผาวัตถุที่ดีขึ้นจนได้ที่แล้วให้ร้อนเป็นสีแดงอีกครั้ง แล้วชุบไปในน้ำเย็นทันที จึงทำให้สามารถสำริดทำเป็นเครื่องประดับและภาชนะสำริดมีความแข็งแกร่งทนทานได้ และมีผิวสำริดที่สวยกว่าการหล่อสำริดแบบเดิมอีกด้วย

    ในช่วงเวลา ๒,๕๐๐ – ๑,๖๐๐ ปีมาแล้วนั้นได้มีการผลิตเหล็กและเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการผลิตทองแดงมากขึ้นจนเกินว่าจะใช้ในชุมชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นการแสดงว่า ได้มีการส่งสินค้าแลกเปลี่ยนปรือซื้อขายกับชุมอื่น ๆ ที่อยู่ต่างภูมิภาค

    ภาชนะดินเผา

    สำหรับภาชนะดินเผานั้น แม้มีการสร้างมาตั้งแต่ระยะแรก ๆ บ้างก็เป็นเพียงนำมาใช้งานในการฝังศพ เมื่อประมาณ๕,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว การทำภาชนะดินเผาได้เกิดมากมายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งภาชนะดินเผาเหล่านี้มีความหลากหลายทางรูปแบบของการใช้งาน ซึ่งมีวิธีการตกแต่งผิวนอกภาชนะ การเตรียมดิน เทคนิคการเผา ภาชนะ ซึ่งปรากฏว่าทุกชุมชนมีภาชนะดินเผาขึ้นใช่เองทั่วไป และมีลักษณะขององถิ่นอยู่บ้าง ต่อมามีการแพร่กระจายไปตามชุมชนอื่น ๆ หรือตามรูปแบบกัน

    ครั้นเมื่อ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ได้รู้จักโลหะผสมคือ นำทองแดงราว ๑๐-๘๐ % ทำเป็นโลหะสำริดขึ้น และยังนำสำริดผสมผสมเพิ่มลงไป จึงมีการสร้างภาชนะที่เป็นสำริดมาแทนภาชนะดินเผา

    ในช่วงเวลา ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐ ปีมาแล้วนั้น ได้มีการสร้างกลองมโหระทึก สำริดและวัตถุสำริดที่มีรูปทรงและตกแต่งตามแบบวัฒนธรรมดองชอน ที่พบในเวียดนาม

    การฝังศพ

    ในแหล่งโบราณคดีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการฝังศพมาช้านานในชุมชนเกษตรกรรมรุ่นแรกนั้นพบว่ามีพื้นที่ฝังศพอยู่เสมอ การจัดรูปแบบของประเพณีของชุมชนเกี่ยวกับการฝังศพขึ้น กล่าวคือ การฝังศพนั้นมีการวัดข้อมือข้อเท้าศพและห่อก่อนฝัง มีการตกแต่งร่างกายของผู้ตายด้วยเครื่องประดับ และมีการจัดเครื่องเซ่น ที่เป็นอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยโดยเฉพาะภาชนะดินเผา

    ต่อช่วงเวลาประมาณ ๕,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบการฝังศพมีการวางสิ่งของเครื่องประดับฝังอยู่ด้วยในปริมาณที่แตกต่างกันตามฐานะของสมาชิกชุมชน พบว่ามีเครื่องประดับเป็นสิ่งของมีค่าที่ผลิตมาจากชุมชนอื่นฝังอยู่ด้วย เป็นการแสดงว่าสิ่งของหรือเครื่องประดับนั้นมีการแลกเปลี่ยนมาจากที่อื่น เป็นของมีค่าที่สมาชิกหรือบุคคลบางคนหรือบางครอบครัวมีสิทธิครอบครองได้ปริมาณมากกว่าครอบครัวอื่น

    ภาพเขียนสี

    มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นได้รู้จักการเขียนภาพไว้บนผนังถ้ำหรือเพิงหินผา ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นชื่อว่า น่าจะเป็นสถานที่ซึ่งถูกใช้เป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีกรรมร่วมกันในกลุ่มของตนหรือของชุมชน ดังนั้นหินผาหรือผนังถ้ำจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถมองเห็นและถือเป็นที่หมายเพื่อพิธีกรรมร่วมกัน ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือบริเวณใกล้เคียงกัน

    การชุมนุมเพื่อทำพิธีกรรมร่วมกันนั้น ได้มีการร่วมเขียนภาพด้วยสีจากธรรมชาติ ยางไม้ และดินสีเพื่อแสดงถึงภาพความเชื่อถือ และสะท้องวิถีชีวิต หรือสิ่งที่มีความหมาย เช่นภาพคน สุนัข กบ วัว ควาย ปลา เต่า สัตว์คล้ายลิง เป็นต้น ส่วนใหญ่มักเขียนด้วยดินสีแดง และเส้นสีดำ บางแห่งเขียนเป็นรูปมือแสดงถึงความเป็นเจ้าของสถานที่ หรือลวดลายทรงเรขาคณิต

    ภาพเขียนส่วนใหญ่มักแสดงถึง การเพาะปลูก การล่าสัตว์ พิธีกรรม เซ่นไหว้ขอความหวังในการหาปลา ล่าสัตว์ หรือทำนา มีภาพเขียนปรากฏขึ้นบนผนังถ้าหลายแห่งทั่วประเทศ ภาะเขียนสีที่สำคัญได้แก่ ภาพเขียนที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ภาพเขียนที่ประตูผา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ภาพเขียนที่เขาปลาร้า อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ภาพเขียนที่เขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ภาพเขียนที่ถ้ำตาด้วง อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ภาพเขียนที่เขาสามยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ดังนั้น ภาพเขียนสีที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เขียนไว้ที่ผนังถ้ำเพิงหินผานั้น จึงเป็นภาพที่สามารถถ่ายทอดให้รู้ถึงเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี จึงถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c013.shtml
     
  16. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

    ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลนั้น ได้เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ ๔.๐๐๐ -๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว กล่าวคือสังคมการเกษตรกรรมนั้น มนุษย์ยุคหินใหม่ได้รู้จักการดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ใช้งานหินขัดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ขวานหินขัดที่ทำขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีบ่า โดยเรียนรู้เองในชุมชนและจากชุมชนอื่น

    มนุษย์ยุคหินใหม่นี้ต่างจับกลุ่มอยู่กระจัดกระจาย ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ตามลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดีย ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย และตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ของจีน เป็นต้น

    รูปแบบของขวานหินขัดและขวานหินมีบ่านั้น ได้มีการศึกษาถึงการแพร่กระจาย ซึ่งปรากฏว่า เผ่ามองโกลอยด์พวกหนึ่งที่พูดภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติค ซึ่งเป็นกลุ่มของภาษามอญ เขมร ภาษาญวน และภาษามุณฑะ นั้นใช้ขวานหินมีบ่าและอาศัยอยู่ในจีนผืนแผ่นดินใหญ่เผ่ามองโกลลอยด์ที่เป็นกลุ่มภาษาออสโตรนิเซียน เป็นภาษากลุ่มหนึ่งทวีปเอเชีย ใช้ขวานหินขัดมีด้านตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาศัยอยู่ตามเกาะที่พูดภาษาอินโดจีน และอยู่บนบกได้แก่ พวกจาม ดังนั้น การที่ชุมชนในแถบนี้มีการใช้ขวานหินขัดและขวานหินมีบ่านั้น จึงเข้าใจว่า น่าจะมาจากเส้นทางที่การติดต่อกันทางน้ำ หรือทางทะเลระหว่างกลุ่มมนุษย์ที่อยู่ทางอินเดีย และมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ ในบริเวณเอเชีย

    เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนของมนุษย์ก่อนประวัตศาสตร์ตอนปลาย ได้พบว่ามีการแพร่กระจายวัฒนธรรมจากแหล่งอื่น เช่น วัฒนธรรมการใช้มโหระทึก หรือกลองกบ ในวัฒนธรรมดองชอน ที่เกิดทางเวียดนามตอนเหนือและยูนานนั้น พบว่าได้มีการกระจัดกระจายไปยังชุมชนอื่น ๆ ในพุทธศตวรรษที่ ๑ หรือ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น พบว่ามโหระทึก หรือกลองกบนั้นได้แพร่กระจายเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ หมู่เกาะเอเชียตะวันออก พบมากในมาเลเซียและหมู่เกาะซุนดา
    สำหรับประเทศไทยนั้น ได้พบกลองกบหรือมโหระทึกหลายแห่ง ดังนี้

    · ภาคเหนือ ที่อุตรดิตถ์
    · ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธ์ อุบลราชธานี
    · ภาคกลาง ที่กาญจนบุรี ราชบุรี และตราด
    · ภาคใต้ ที่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา

    มโหระทึกหรือกลองกบนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีในสังคมเกษตรกรรม ในพิธีขอฝนจะเห็นว่าบนหน้า
    กลองนั้นมีการทำเป็นรูปกบช้อนกันอยู่ ๔ มุม และภายหลังกลองได้ถูกนำมาใช้ในพระราชพิธีของกษัตริย์
    สำหรับความเชื่อมนุษย์สมัยนี้มีความเชื่อถือในเรื่องผีหรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งกลุ่มมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ต่างผูกพันความเชื่อในเรื่องผีที่แตกต่างกัน ติ่งที่มนุษย์มีความเชื่อเหมือนกันคือ งูกับกบ ซึ่งอาจเกิดจากการแพร่ขยายความเชื่อนี้หรือนำวัฒนธรรมเข้าไปใช้ในกลุ่มชนเผ่าของตนความเชื่อเรื่องงูนั้น มนุษย์ส่วนมากมีความเชื่อในอำนาจของสัตว์ที่มีพิษร้ายและทำให้เกิดอาการรุนแรงที่เป็นอันตราย จนมนุษย์ถึงแก่ความตายได้ในทันที หรือยากที่จะหาวิธีแก้ไขได้ทัน ด้วยเหตุนี้งูจึงเป็นสัตว์ที่ที่มีพิษร้ายและอำนาจ โดยเฉพาะในเขตร้อนนี้ งูจึงอาศัยอยู่ชุกชุม จนทำให้มนุษย์พากันเกรงกลัว จึงพากันบูชางู สัตว์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และงูนั้นแม่หลีกแหล่งอยู่ใต้ดินลึกจึงเป็นสถานที่ต้องห้ามในชื่อที่รู้จักกันว่า บาดาล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดน้ำจำนวนมากขึ้นมาจากดิน โดยที่งูหรือพญางูหรือพญานาคเป็นเจ้าของ ทำให้แผ่นดินได้เกิดแหล่งน้ำสำคัญ ที่ผุดออกจากใต้ดิน (น้ำบาดาล) หรือพุพองจากใต้ดินเป็นน้ำซึม น้ำซับ และน้ำพุ ที่ทำให้เกิดแหล่งน้ำขนาดใหญ่บนแผ่นดินสร้างความชุ่มชื่นแก่บริเวณที่เพาะปลูก จึงเป็นเหตุให้มนุษย์พากันเคารพนับถืองู เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ และมีฤทธิ์ที่ทำอันตรายได้ จึงมีการจัดพิธีขึ้นเพื่อเซ่นวักงู ให้เป็นผีที่ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์มีเดช อย่าให้ทำอันตรายและขอให้ปกป้องคุ้มครองภัยแก่มนุษย์

    ด้วยเหตุนี้สัญลักษณ์รูปงูจึงปรากฏอยู่ทั่วตามภาชนะดินเผาที่มีลายรูปงู ประกอบกับลายเส้น
    โค้งที่เป็นสัญลักษณ์ของสายน้ำด้วย ลายเขียนสีของบ้านเชียงนั้นมีลักษณะลวดลายคล้ายจะถ่ายทอดลายน้ำและงูไว้ด้วย ลวดลายนั้นได้มีการทำมาใช้เขียนบนภาชนะดินเผาในสมัยทราวดีด้วย ในสมัยหลังได้มีการเขียนถึงที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เช่น จระเข้ ทำนองเดียวกับ อียิปต์ นั้น นับถือจระเข้ เป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนต์

    ส่วนความเชื่อเรื่อง กบ นั้นเนื่องจากเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ปรับสภาพไดตาฤดูกาล ทั้ง
    หน้าฝนและหน้าแล้ง จนมนุษย์นั้นมีความเชื่อว่ากบเป็นผู้นำน้ำมาจากท้องฟ้าให้ไหลล่นลงมาบนพื้นดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์มีความต้องการน้ำ (ฝน) จากท้องฟ้าในยามที่ขาดน้ำ และทำการเพาะปลูกทำให้กบได้รับยกย่องให้เป็นสัตว์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีฤทธิ์บันดาลน้ำให้ความสมบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร จึงพากันเซ่นไหว้กบ (รวมถึงคางคกด้วย) ในฐานะเป็นผีหรือเทวดาสำคัญที่ให้น้ำท่าบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนี้วิธีบูชากบจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ มีพิธีบูชากบ โดยการแต่งตัวโดยเอาโคลนทาลำตัวและแขนขาให้มีลวดลายอย่างงาม แล้วทำพิธีในท่าเต้นอย่างย่อขาสองขาทำท่าอย่างสงบ โดยมีการเซ่นวักด้วยเครื่องมือทำมาหากินประเภท มีด พร้า ขวาน คันไถ เป็นต้น

    นอกจากนี้พบว่าเครื่องประดับประเภท ตุ้มหู ทำด้วยหินสีขาว ๒ แบบ คือ ตุ้มหูรูปสัตว์ ๒
    ตัว และตุ้มหูรูปกลมที่มีดอกไม้ตูมยื่นออกมา ๓ ตุ้ม ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่เรียกว่า ลิง-ลิง-โอ (LING- LING-O) ในวัฒนธรรมซาหุญ (SA HUYNH) ของยุคโลหะที่เจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ ๑-๕ หรือ ๕๐๐-๑๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น ได้มีการกระจายแพร่ไปยังชุมชนต่างๆ เช่น ในเวีนดนามตอนกลางที่บริเวณมณฑลกวงหนำ – ตานัง และมณฑลกวงงายในฟิลิปปินส์พบที่ถ้ำดูยอง และถ้ำตาบอน ในมาเลเซียพบที่ถ้ำนีอารห์ ในประเทศไทยพบที่แหล่งโบราณคดีสามเขาแก้ว ชุมพร อู่ทอง ดอนตาเพชร เป็นต้นด้วย

    เช่นเดียวกัยลูกปัดหินประเภทหินคารเนเลียน หินโอนิกซ์ และหินอาเกต และลูกปัดแก้วสี
    ต่าง ๆ ที่มีแหล่งผลิตอยู่ในอินเดียนั้น ได้มีการแพร่กระจายเข้ามาอยู่ในแหล่งโบราณดคีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายแหลายแห่ง แม้จะเป็นส่วนที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายก็ตาม ได้สำรวจพบจากแหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นหลุมฝั่งศพพบ ลูกปัดแก้ว ทำด้วยหินคาร์เนเลียนหินโอนิก และหินอาเกต ชนิดที่นำทั้งแบบเรียบและแบบตกแต่งด้วยสกัดผิวก่อนแล้วฝังสีลงเป็นลวดลายสวยงาม โดยพบในชั้นดินของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ ๓๐๐-๕๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช

    นอกจากนี้ยังได้รับความรู้และประเพณีต่างที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อีก
    กล่าวคือเมื่อ ๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นซึ่งเป็นสมัยก่อนอารยันนั้น ชุมชนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ก่อนมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมร่วมกันหลายด้าน ได้แก่ การทำนาโดยวิธีการทดน้ำเข้านา การเลี้ยววัวและควายใช้งาน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลหะและความชำนาญในการเดินเรือของกลุ่มอินโดนีเซียและชาวมลายู การให้ความสำคัญกับผู้หญิง การปกครองอันมีระบบอันสืบจากากรเพาะปลุกที่มีการทดน้ำ การนับถือผี การเคารพบูชาบรรพบุรุษ และเจ้าแห่งพื้นดิน การสร้างศาสนาขึ้นบนที่สูง การฝังศพในไหหินหรืออนุสาวรีย์หิน เป็นต้น ประเพณีในลักษณะดังกล่าวได้กระจายและเกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ หลายแห่ง แม้จะอยู่ต่างภูมิภาคกัน

    ในพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคเหล็กตอนปลายของอินเดียนั้นกษัตริย์
    ราชวงศ์โมริยะปกครองอินเดียตอนเหนือ ได้ส่งเสริมให้มีการค้าขายกับต่างชาติ โดยตั้งเมืองตักษิลา อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าตามพรมแดนอินเดีย –ปากีสถาน โดยมีเมืองท่าที่สำคัญ เช่น เมืองคูณปารกะ เมืองภรุกัจฉะ (บาริกาซา) และเมืองตามรลิปติ (ตัมลุก) เป็นเมืองท่าสำคัญติดต่อกับดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ดังนั้นสินค้าที่พ่อค้าอินเดียนำไปนั้นมีมากมายและเสื่อมสลายได้ง่าย จึงมีลูกปัดที่คงทนและพบว่าได้
    กระจายอยู่ทั่วตามแหล่งโบราณคดีที่เคนติดต่อกับอินเดีย เช่น

    · แหล่งโบราณคดีในพม่า ที่ตวงถาเมน ในพม่า
    · แหล่งโบราณคดีในไทย ภาคกลางที่ริมแควน้อยบ้านเก่า ถ้ำองบะ ดอนตาเพชร
    ศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ ท่าแค โคระกา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านเชียง บ้านนาดี บ้านโนนเมือง บ้านธารประสาท บ้านโตนด ภาคใต้ ที่เขาสามแก้ว ควนลูกปัด เป็นต้น
    · แหล่งโบราณคดีในกัมพูชา ที่สำโรงเสน
    · แหล่งโบราณคดีในเวียดนาม ที่โดลาญ เป็นวัฒนธรรมซาหุญ
    · แหล่งโบราณคดีในมาเลเซีย ที่ถ้ำนีอาห์
    · แหล่งโบราณคดีในอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา ชวา บาหลี และบอร์เนียว
    · แหล่งโบราณคดีในฟิลิปปินส์ ที่ถ้ำตาบอนเกาะปาลาวัน
    · แหล่งโบราณคดีในลาวที่บ้านอ่าง บ้านโชค บ้านเสือ

    จากากรสำรวจลูกปัดที่เป็นวัฒนธรรมของอินเดีย ในแหล่งโบราณคดีดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เชื่อว่า
    สินค้าจากอินเดียนั้นได้แพร่กระจายในพื้นดินสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และปรากฏมีจำนวนมากขึ้นในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเริมสมัยประวัติศาสตร์คือ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๕-๙ หรือ ๕๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. ๓๐๐ ซึ่งเป็นระยะที่กษัตริย์ราชวงศ์กุษาปณะปกครองอินเดียตอนเหนือ (พุทธศตวรรษที่ ๕-๘) และมีกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะปกครองอินเดียภาคตะวันตก (พุทธศตวรรษที่ ๔-๘) ซึ่งเป็นช่วงทีอินเดียมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมันอย่างจริงจัง ทำให้มีนิคมการค้าและถิ่นฐานชาวโรมันอยาตามเมืองท่าสำคัญของอินเดีย

    ด้วยเหตุนี้สินค้าจากอินเดียที่ส่งมาขายยังเมืองต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจึงมีสินค้าของอินเดียเอง คือ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน อาเกต มีทั้งทำแบบเรียบและลวดลาย ภาชนะสำริด หวีงาช้าง ลูกเต๋า ทำจากงาหรือกระดูก

    ส่วนสินค้าจากตะวันออกนั้นมีลูกปัดแก้วมีแถบสี ลูกปัดแก้วแบบลูกปัดมีตา ซึ่งทำแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สินค้าจากอาณาจักรโรมัน เช่น ตะเกียงโรมัน หัวแหวนสลักหินมีค่า ภาชนะดินเผาผิวสีแดงตกแต่งลายประทับ และแบบกดรอยยักฟันเฟือง

    การสำรวจนั้นพบว่าสินค้าดังกล่าวจำนวนหนาแน่นมากในพื้นที่ภาคกลางของไทยที่พงตึก จันเสน อู่ทอง เนินมะกอก ภาคใต้พบตั้งตาเขาสามแก้วที่ชุมพร แหลมโพธิ์ที่สุราษฎร์ธานีไปจนถึงเกาะคอช้างที่พังงา ที่คลองท่อมที่กระบี่ แล้วยังพบลงไปจนถึงคาบมหาสมุทรมาเลเซีย ในมาเลเซียพบที่กัวลาเซลินชิง บูกิต เตงกู เลมบู ในอินโดนีเซียพบที่เมืองโบราณตารุมา อยู่ที่เกาะชวาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกาะบาหลีตอนเหนือ ตั้งแต่พม่า พบที่เมืองโบก์ถไนไปจนถึงเวียดนามพบที่ออกแก้ว เป็นต้น ทำให้รู้ว่าสินค้าจากตะวันตกนี้ได้กระจายไปตามแหล่งโบราณคดีดังกล่าว

    นอกจากนี้ชาวอินเดียยังได้นำมาเผยแพร่วิทยาการที่ได้มาจากวัฒนธรรมอินเดียผสมผสานกับวัฒนธรรมชาติอื่น เช่น กรีก โรมัน เปอร์เซีย มาเผยแพร่ด้วยจึงทำให้ชุมชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เอาแบบอย่างทำตามเช่น

    ในการใช้เหรียญกษาปณ์ตามแบบโรมันใช้เป็นสื่อกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ กษัตริย์ที่ปกครองพื้นที่นั้นได้ทำการผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้เองแต่ยังใช้เป็นเครื่องหมายที่เป็นมงคลตามความเชื่ออย่างชาวอินเดีย

    ระบบสื่อสารที่การใช้ตราประทับเป็นสื่อกลางแสดงความสำคัญของกษัตริย์ สถาบันศาสนา และหมู่คณะเพื่อผลทางการเมือง การค้าขายและศาสนา ตามแบบชาวกรีก ชาวโรมันและชาวเปอร์เซียนิยมใช้กันนั้นได้ถูกเผยแพร่และผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้นำผลิตคราประทับขึ้นเองและใช้เป็นสัญลักษณ์ สำหรับสื่อความหมายกับชุมชนต่อมา

    การใช้อิฐและหินในการก่อสร้างศาสนาสถาน ศาสนาวัตถุ แบบชาวกรีก และแบบเปอร์เซียที่นิยมใช้
    สร้างงานศิลปกรรม มาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลายนั้น ได้นำมาเผยแพร่และมีการสร้างศาสนาสถานตามในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

    นอกนี้ชาวอินเดียยังไม่ได้นำรูปแบบ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ และอุปกรณ์ การกีฬามาใช้ในสถานีการค้าของตนและในสถานที่ชาวอินเดียตั้งบ้านเรือนอยู่ ต่อมาได้มีการผลิตโดยเลียนแบบโดยชาวพื้นเมือง ที่ได้รับความนิยมที่สืบทอดการมา

    ระบบการปกครองที่อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากราชวงศ์อาคีเมนิคของเปอร์เซีย และกษัตริย์
    ราชวงศ์โมริยะได้นำมาปรับใช้จนสามารถสร้างรูปแบบการปกครองระบบกษัตริย์และจัดตั้งรัฐตามแบบอย่างอินเดียขึ้นนั้น ได้นำมาเผยแพร่ในสังคมเมืองจีนมีการนำมาใช้สร้างเมืองและรูปแบบการปกครองในแถบนี้ขึ้น

    ศาสนาของอินเดียที่นับถือทั้งศาสนาที่นับถือทั้งศาสนาพรมหมณ์และศาสนาพุทธนั้นได้ถูนำมาเผยแพร่ในช่วง ๕-๖ ซึ่งเป็นระยะที่อินเดียมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน )สมันอินโด – โรมัน) ทำให้พ่อค้าชาวพุทธจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในบริเวณกลุ่มแม่น้ำกฤษณาโคทาวารี ที่ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ ๕-๘) และราชวงศ์อักษะวากุ (พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๐) ดิอุปถัทป์ต่อมาตามลำดับนั้น ได้มีบทบาทสำคัญทางการค้าและได้เผยแพร่พุทธศาสนาไปรังบริเวณตะวันออกเฉียงใต้

    รูปแบบตัวอักษรในอินเดียที่ใช้ภายใต้ในราชวงศ์ปัลลวะ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ได้ถูกมาเผยแพร่ จึงพบว่ามีจารึกอักษรจากอินเดียอยู่ในเมืองโบราณของอินเดียในจารึกหลายหลัก เช่น จารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในเมืองบึงโคก จ.อุทัยธานี

    นอกจากนี้ภาษาสันสกฤตที่อินเดียใช้มนคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา นิกาย
    มหายานนั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นภาษาในอาณาจักรที่ได้รัยอิทธิพลจากอินเดียโบราณ และภาษาบาลีที่เป็นภาษาใช้พระไตรปิฎกของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ก็ถูกนำมาจารึกในหลักธรรมพระพุทธศาสนาในอาณาจักรทวาราวดี

    สรุปแล้วสมันก่อนประวัติศาสตร์นั้นประกอบด้วยภูเขาและที่ราบ ดังนั้นชุมชนหรือกลุ่มคนที
    ทำการเพาะปลุกโดยการทดน้ำ ก็มักจะเลือกพื้นที่ที่ทำเลใกล้แม่น้ำลำคลองสำหรับนำน้ำมาใช้ และตั้งชุมชนใกล้น้ำ เพื่อสร้างบ้านสร้างเองและสร้างกำลังทางเศรษฐกิจและทหารให้มั่นคง ครั้นเมื่อมีกำลังมากขึ้นก็ขยายเมืองโดยใช้กำลังทางเศรษฐกิจและการทหารให้มั่นคง ครั้นเมื่อกำลังมากขึ้นก็ขยายเมืองโดยใช้กำลังโดยการขับไล่ชุมชนอื่นที่มีกำลังด้อยกว่าให้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาที่สูงกันดารแห้งแล้งและป่าลึก หรือแผ่อำนาจและสร้างความเจริญให้จนเมืองอื่นยอรับเป็นพวกหรือขอพึ่งพาอาศัยอำนาจนั้นป้องกันตนเอง

    การแสดงหาสินค้าและวัตถุดิบหรือติดต่อค้าขายกันนั้น ได้ทำให้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นเส้นทางผ่านของพ่อค้า นักเดินทางจากยุโรปและอินเดียที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศจีนเป็นเส้นทางที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณทั้งเส้นทางน้ำและทางบก

    เส้นทางการเดินเรือทางทะเลไปบริเวณตะวันออกเฉียงใต้นั้น ต้องผ่านช่องแคบมะกา ที่อยู่ระหว่าแหลมมาลายูกับเกาะสุมาตราหรือช่องแคบซุนดาอยู่ระหว่างเกาะสุมาตรากับชวา จึงทำดินแดนที่อยู่ในเส้นทางเดินเรือดังกล่าวนั้นมีเมืองตั้งอยู่กลายแห่ง สำหรับในเรือทะเล ใช้จอดแวะ จึงทำให้เมืองท่าเหล่านั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหญ่ จึงสร้างเมืองให้เป็นเมืองป้อมค่ายหรืออาณาจักรปกครองตนเองได้ เช่นเมืองมะริด เมืองตะโกลา เมืองมะละกา และอาณาจักรอะแจ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของเกาะสุมาตราตอนต้น

    เนื่องจากการเดินทางสมัยก่อนนั้นนิยมการใช้เรือใบ ซึ่งต้องอาศัยทิศทางลมที่มักจะเปลี่ยนทิศทางไปตามฤดูกาล ดังนั้นที่พ่อค้าที่เดินทางจากอินเดียมายังเมืองมะละกา จึงต้องเวลาในทะเลจนกว่าลมจะพัดกลับทิศทาง เพื่อสามารถให้เรือแล่นใบกลับไปยังอินเดียได้ ประกอบกับการมีโจรสลัดชุกชุมในบริเวณช่องแคบทั้งสอง จึงทำให้มีการใช้เส้นทางเดินบกเพ่อเดินทางลัดเข้าเส้นทางผ่านคาบสมุทร ซึ่งเสียเวลาน้อยกว่าและไม่ต้องรอดูฤดูกาลที่ลมจะเปลี่ยนทิศทาง

    เส้นทางบกที่ใช้ข้ามสมุทรนั้นมีหลายเส้นทาง ได้แก่เส้นทางระหว่ามะริด กับเพชรบุรี เส้นทางระหว่างตรังกับอ่าวบ้านดอนผ่านแม่น้ำตาปีเส้นทางระหว่าตรังกับนครศรีธรรมราชผ่านทุ่งสง เส้นทางระหว่างคลองลาว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ไปทางคลองชะอุ่นออก แม่น้ำตาปีไปบ้านดอน เส้นทางระหว่างคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ไปทางคลองสินปุน ผ่านบ้านปางปลาตาย อำเภอพระแสงไปทางแม่น้ำตาปีออกบ้านดอน ซึ่งเป็นท่าจอดเรือใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น

    เส้นทางอื่นนอกนั้นก็มีเส้นทางระหว่างเคดาห์กับปัตตานีและสงขลา เป็นต้น และบางเส้นทางสามารถใช้ช้างเกวียนหรือเรือเล็กเป็นพาหนะโดยใช้เส้นทางสำคัญผ่านแม่น้ำตาปีออกสู่อ่าวบ้านดอน
    ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีการเคลื่อนย้ายและเดินทางไปตามเส้นทางที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นนี้ ก็ย่อมแสวงหาสถานที่ตั้งถิ่นฐาน เมื่อพบแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มั่งคงและสามารถดำรงในสังคมนั้นได้แม้จะอยู่ในอำนาจของชนชาติอื่น ก็รวมตัวกันสร้างชุมชนเมืองขึ้นหาหนทางเริ่มต้นเป็นอิสระที่สุด การจัดระบบสำหรับดูแลกลุ่มคนให้อยู่ในพื้นที่ได้ต่อไปโดยรู้จักวิธีการป้องกันภัยธรรมชาติ รู้วิธีป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และรู้จักทำมาหากินเลี้ยงตัวเองนั้น จึงเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในการตั้งชุมชนเมือง

    ส่วนการอพยพเคลื่อนย้ายจากแหล่งเดินทางตอนเหนือของดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะจากมณฑลยูนานและทางแถบตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง กวางลี และภาคเหนือของเวียตนามนั้น ได้มีเส้นทางบกที่สามารถเข้ามาได้ทุกทิศ ที่เข้าสู่บริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำโขง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังดินแดนอื่น ๆ ต่อไป

    สำหรับเส้นทางทะเลนั้น มีการเดินทางมาจากทางตะวันตก ทางใต้และทางตะวันออก โดยลัดเลาะตามชายฝั่งทะเลโดยเรื่อเดินทะเล โดยเฉพาะเส้นทางด้านตะวันออกนั้น มากจากแถบกวางตุ้ง กวางสี และเวียดนามได้เดินเรือเล็กเรียบชายฝังเข้าสู่อ่าวไทยมาจนถึงที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h002c014.shtml
     
  17. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ดินแดนแห่งนี้มีชื่อว่า สุวรรณภูมิ

    ในมหากาพย์รามายนะ วรรคดีโบราณของอินเดียที่มีการรจนาเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี ก่อนคริสต์สักราชเมือมีการเพิ่มเติมใน ค.ศ. ๒๐๐ (พ.ศ.๗๔๓) นั้น ปรากฏชื่อ “สุวรรณภูมิ” หมายถึง สุวรรณภูมิ ที่อธิบายถึง แผ่นดินแห่งทองคำ และถูกเรียกชื่อกันเช่นนี้มานาน

    ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้น พ่อค้าชาวอินเดียได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับประเทศทางด้านตะวันออก ดังปรากฏในคัมภีร์ปุณาณะ ถึงนักเดินเรือชาวอินเดียที่เดินเรือไปยังชายฝั่งของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และว่าค้าอินเดียโดนีเชียไปแวะชายฝั่งทะเลของอินเดียด้วย ในคัมภีร์พุทธศาสนาของบาลี และมิลินทปัญญา ได้กล่าวทำนองเดียวกันถึง พ่อค้าที่ชอบแล่เรือไปค้าขายทางทิศตะวันออก ที่รู้จักในนาม สวรรณภูมิปรอสุวรรณทวีป นั้นเป็นดินแดนแห่งทอง คือดินแดนแห่งความมั่งคั่ง ถ้าผู้ใดต้องการแสวงโชคและความร่ำรวยจะต้องเดินทางไปยังดินแดนแห่งนี้

    ในมหาชนกชาดก ได้กล่าวถึงพ่อค้าอินเดียเดินทางมาค้าขายเพื่อแสวงหาความร่ำรวยทางดินแดนสุวรรณภูมิ เช่นกัน

    สรุปแล้วชื่อสุวรรณภูมิ ที่ถูกอินเดียเรียกเป็นชื่อดินแดนแห่งนี้จึงแพร่หลายวรรณกรรมของอินเดียดังกล่าว และสร้างเป็นเสียงร่ำลือถึงชื่อเสียงถึงความเป็นแผ่นดินแห่งทองคำ จนแพร่หลายไปทุกแห่งที่มีการติดต่อค้าขาย

    โดยเฉพาะเมืองท่าสำคัญ ที่มีบรรดาพ่อค้าต่างชาติพากันมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นเดินเรือออกไปจากฝั่งตะวันตกของอินเดีย คือ เมืองภรุกะจฉะ เมืองศูรปารกะ เมืองมุฉิริ และเมืองตามมาลิปติ ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จึงรู้จักดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้เช่นเดียวกับนักเดินเรือหรือพ่อค้าชาวจีนที่รู้จักเดินเรือแห่งนี้เป็นอย่างดีว่า กิมหลิน หมายถึง ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้

    ส่วนบริเวณดินแดนคาบมหาสมุทรอินโดจีน ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ นั้น ถูกพ่อค้าชาวอินเดียและชาวจีนเรียกว่า ดินแดนสุวรรณภูมินั้น จึงน่าจะเป็นสาเหตุอื่นที่ไม่ได้ผูกอยู่แต่ในวรรณกรรมที่ชาวอินเดียได้เขียนขึ้นเมือ พ.ศ. ๗๕๓ เท่านั้นกล่าวคือ

    การที่จักรพรรดิโรมันได้มีคำสั่งห้ามทองคำออกนอกอาณาจักร เนื่องจากอินเดียนั้นได้เทียวหาซื้อกักตุนไว้มากมายนั้น จึงเหตุให้ชาวอินเดียเทียวซื้อแหล่งทองคำแห่งใหม่ขึ้น โดยส่งพ่อค้าเดินเรือมายังบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๖-๗นั้น การพบดินแดนที่มีบ่อแน่ทองคำนั้นน่าจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ดินแดนแห่งนี้เรียกว่าดินแดนแห่งสุวรรณภูมิ หรือสุวรรณทวีป แทนการเรียกชื่อเมืองที่รู้จักและเมืองที่ติดต่อค้าขายกัน และได้มีการเขียนเผยแพร่อยู่ในวรรณกรรม (มหาชนกชาดก) ดังกล่าว

    * กฏาหทวีป คือรัฐเคดะหรือ เมืองไทรบุรี
    * กรรปูรทวีป ดินแดนแห่งการบูร น่าจะเป็นเกาะบอร์เนียว
    * ตามพรลิงค์ ดินแดนที่เป็นเมืองไชยา เวียงสระ อ่าวบ้านดอน และเมืองนครศรีธรรมราช
    * ตักโกละ ดินแดนแห่งกระวาน น่าจะอยู่บริเวณเมืองตรังและเมืองพังงา
    * นาลิเกลทวีป เกาะแห่งมะพร้าวน่าจะเป็นเกาะนิโคบาร์

    เมืองเหล่านี้เป็นเมืองท่านำสินค้าของพ่อค้าอินเดียขึ้นทำค้าขาย ก่อนที่จะถูกรับช่วงนำไปค้าขายกระจัดกระจานตามเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป

    อ้างอิง
    http://www.moohin.com/thaihistory/h004c005.shtml


     
  18. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขออนุโมทนาเพื่อนธรรมทุกท่าน
    โปรดใช้วิจารณญานในการศึกษาครับ
    ข้อมูลที่ผมหยิบมานี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด
    แต่ผมอยากให้เป็นจุดเริ่มต้นความสนใจ
    หากเพื่อนธรรมท่านใดมีข้อมูล
    กรุณาร่วมบุญด้วยการนำข้อมูลมาเผยแพร่ได้
    แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ขอขุดกระทู้เก่านี้มาให้เพื่อนใหม่ที่ยังไม่ได้อ่าน
    ได้มีโอกาสอ่านกันนะครับ อนุโมทนาสาธุการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...