"ตักบาตรเที่ยงคืน" ...แปลกแต่จริง ที่ภาคเหนือของไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 25 สิงหาคม 2010.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    [​IMG][​IMG]

    "พิธีตักบาตรเที่ยงคืน" เป็นการใส่บาตรด้วยเวลาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากการทำบุญตักบาตรโดยทั่วไป ทำให้ดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้ที่ได้พบเห็น แต่สำหรับพุทธบริษัทในภาคเหนือแล้ว การตักบาตรในยามเที่ยงคืนในวัน "เป็งปุ๊ด" ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนา ที่สืบทอดปฏิบัติมาหลายร้อยปี

    ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือพิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรในเมืองทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่ จ.เชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา ๐๐.๐๐ น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่ จ.เชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา ๒๔.๐๐ น. เป็นต้นไป
    ทั้งนี้ บางปีอาจมีครั้งเดียว หลายครั้ง หรือไม่มีเลย ก็ได้ เป็นประเพณีนิยมที่มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น
    สำหรับประวัติความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากพม่าอีกต่อหนึ่ง พม่ามีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปีจะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ
    ชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต โดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภ และความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ
    พระครูพัฒนาธิมุต เจ้าอาวาสวัดอุปคุต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เป็นวัดเพียงหนึ่งเดียวในดินแดนล้านนา ที่สืบสานประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ดมาไม่ต่ำกว่า ๒๕๐ ปี จากหลักฐานประวัติของวัดที่มีการบูรณะฟื้นฟูครั้งใหญ่ใน พ.ศ.๒๓๐๐ พบว่ามีการสืบทอดประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเจ้าอาวาสวัดทุกยุคทุกสมัยได้จัดประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนถือปฏิบัติโดยทั่วไปในภาคเหนือ แต่พบมากใน จ.เชียงใหม่ และเชียงราย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพม่า ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในช่วง พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ กระทั่งวัฒนธรรมไทยลื้อได้หล่อหลอมผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมของคนไทยใหญ่ในรัฐฉาน ของพม่า ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
    ในคืนวันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม นี้ วัดอุปคุตจะจัดพิธีตักบาตรเป็งปุ๊ดขึ้นอีกครั้ง หลังจากมีขึ้นครั้งแรกของปีนี้ คือในคืนวันที่ ๒๗ เมษายน ที่ผ่านมา เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. พระสงฆ์จะประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในวิหารหลวง จากนั้นเป็นพิธีถวายข้าวมธุปายาสแด่พระมหาอุปคุต จวบจนเวลาล่วงเข้าเที่ยงคืนวันเพ็ญ ขบวนพระสงฆ์ สามเณร จะเดินออกจากวิหารไปรับบาตรจากพุทธศาสนิกชนภายในบริเวณวัด เป็นอันเสร็จพิธี โดยทางวัดได้จัดเตรียมสถานที่ทั้งในบริเวณวัด เพื่อรองรับชาวพุทธล้านนา ที่คาดว่าจะร่วมประเพณีสำคัญนี้หลายพันคน เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านๆ มา
    "พุทธศาสนิกชนล้านนา ผู้มีจิตศรัทธาจะทำบุญตักบาตรในคืนเป็งปุ๊ดจำนวนมาก และจะเป็นการทำพิเศษกว่าวันอื่น เพราะถือว่าได้อานิสงส์แรง โดยจะตระเตรียมสำรับข้าวสาร อาหารแห้ง คอยใส่บาตร ยามเที่ยงคืน ขณะที่ปัจจุบัน วัดอุปคุตได้ขอความร่วมมือประชาชนให้ใส่บาตรด้วยยารักษาโรค นอกเหนือไปจากข้าวสารอาหารแห้ง โดยปัจจัยเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังวัดในถิ่นทุรกันดาร" พระครูพัฒนาธิมุต กล่าว
    ด้าน พระอธิการประพันธ์ อินฺทญาโณ เจ้าอาวาสวัดพุทธสันติวิเวก ต.บุญนาคพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง บอกว่า การทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ด ไหว้สาพระมหาอุปคุตเถรเจ้า ของวัด เป็นแห่งเดียวใน จ.ลำปาง โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. จะทำพิธีอัญเชิญพระมหาอุปคุตเถรเจ้า ขึ้นประดิษฐานบนปราสาทจำลอง เวลา ๒๐.๐๐ น. ไหว้พระรับศีล เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต สมโภช พระมหาอุปคุตเถรเจ้า เทศนาเรื่องประวัติและอานิสงส์ใส่บาตรพระมหาอุปคุตเถรเจ้า และถวายทาน เมื่อใกล้ถึงเวลาเที่ยงคืน พระสงฆ์ ๕๐ รูปของวัดจะออกมารับบาตรข้าวสารอาหารแห้ง โดยผู้ที่ใส่บาตรมีความเชื่อว่า พระอุปคุตจะมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ ชาวบ้านจะตื่นแต่ดึก เตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตรุ่งเรืองด้วยโชคลาภ แคล้วคลาดจากอุบัติภัยทั้งปวง

    มติคณะสงฆ์มิอาจขวางศรัทธา
    อย่างไรก็ตาม โดยก่อนหน้านี้ ทางมติคณะสงฆ์หลายจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงราย ได้มีการสั่งห้ามแล้ว แต่เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน การห้ามความเชื่อแรงศัทธา ถือได้ว่าเป็นเรื่องยาก
    พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร กล่าวว่า การตักบาตรกลางคืนเป็นประเพณีของชาวพม่ามาตั้งแต่โบราณกาล ส่วนชาวเหนือในพื้นที่ ๘ จังหวัด ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับพม่า จึงมีความกลมกลืนกันไป ซึ่งการออกมาบิณฑบาตในตอนกลางคืนของพระสงฆ์และสามเณรตามหลักของพระพุทธศาสนาถือว่าผิดวินัย เพราะเป็นยามวิกาล พระสงฆ์จะออกมาบิณฑบาตได้ในเวลาประมาณตีห้า หรือ ภาษาเหนือเรียกว่า "ตีนฟ้ายก" หรือ แบมือจนเห็นเส้นลายมือแล้ว จึงจะสามารถออกไปบิณฑบาตได้ ซึ่งเรื่องนี้ ทางคณะสงฆ์ได้มีการนำเอาเข้าที่ประชุมมาหลายครั้งแล้ว พร้อมกับได้ประกาศให้พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตได้ตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ น. แต่พอมาถึงวันเป็งปุ๊ด จะพากันออกมาบิณฑบาตกันตั้งแต่เวลาห้าทุ่ม ไปจนถึงตีสี่ตีห้าของอีกวัน เรื่องนี้คงจะไปห้ามปรามไม่ได้
    ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า คำว่า แสงเงินแสงทอง คือ การขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นการเปรียบเทียบว่า แสงจากรุ่งอรุณเปรียบเป็นแสงเงินแสงทอง แต่ในสมัยโบราณยังไม่มีความเจริญทางเทคโนโลยี ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีนาฬิกาบอกเวลา ก่อนออกบิณฑบาตพระสงฆ์จึงต้องดูลายมือของตัวเอง หากไม่ปรากฏเส้นลายมือ ให้ถือว่ายังไม่รุ่งอรุณ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญแล้ว สถานที่ต่างๆ มีไฟฟ้าส่องสว่าง ทำให้กลางคืนเหมือนกลางวัน การดูลายมือจึงนำมาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เมื่อกระแสสังคมเห็นว่า พระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตในย่านชุมชนยามวิกาล เป็นสถานที่ไม่เหมาะสม แต่เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ ก็สมควรที่จะปรับเปลี่ยนมาจัดพิธีในวัด ให้ชาวบ้านรวมตัวทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ดในวัด ก็ไม่น่าจะเสียหายแต่อย่างใด
    "พุทธศาสนิกชนล้านนาผู้มีจิตศรัทธา จะทำบุญตักบาตรในคืนเป็งปุ๊ดจำนวนมาก และจะเป็นการทำพิเศษกว่าวันอื่น เพราะถือว่าได้อานิสงส์แรง โดยจะตระเตรียมสำรับข้าวสาร อาหารแห้งคอยใส่บาตรยามเที่ยงคืน"

    0 เรื่อง เอกพงศ์ ประดิษฐ์พงษ์ 0
    0 ภาพ สุระกิจ รัตนศรี 0

    ���ླ���移��� �ѡ�ҵ�����§�׹..."�ѹ�ظ���� �� ���" ���Ѵ�֡ : ��������ͧ : ���Ƿ�����

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    แม่ฮ่องสอนก็มีเหมือนกันทุกปีค่ะ
     
  3. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,348
    บ้านผมเอง หุหุหุ

    อนุโมทนาครับผม
     
  4. noonei789

    noonei789 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +6,958
    เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการขึ้นมาจากสะดือทะเลของพระสาวกของพระพุทธเจ้า ที่ทำหน้าที่ปราบมารค่ะ
     
  5. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ชาวเชียงรายนับหมื่นร่วมตักบาตรเป็งปุ๊ด


    [​IMG]


    ประชาชนและนักท่องเที่ยวนำข้าวสารอาหารแห้งไปใส่บาตรให้กับพระภิกษุสงฆ์สามเณร บริเวณถนนบรรพปราการและถนนธนาลัย ต.เวียง อิ.เมืองเชียงราย เนื่องในวันเป็งปุ๊ด...

    เมื่อเวลา 00.05 น.วันที่ 25 ส.ค. ที่บริเวณถนนบรรพปราการ หน้าวัดมิ่งเมือง ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย ได้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเกือบ 10,000 คน นำข้าวสารอาหารแห้งและน้ำดื่มพากันไปยืน 2 ฟากถนนบรรพปราการและถนนธนาลัย เพื่อรอใส่บาตรพระสงฆ์เนื่องในวันเป็งปุ๊ด โดยภายในวัดมิ่งเมือง

    ในพิธีดังกล่าวมีนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ร่วมกับนายสมพงษ์ กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนาและอาราธนาพระอุปคุตขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก นำขบวนพระภิกษุสงฆ์สามเณรกว่า 100 รูป ออกเดินบิณฑบาตไปตามถนนสายดังกล่าว ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายลงมา ทั้งนี้เป็นที่ปลื้มปิติของชาวพุทธ และนักท่องเที่ยวที่ได้ทำบุญเนื่องในวันเป็งปุ๊ด ที่มีความเชื่อว่า จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี

    นายสมพงษ์ กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า ในอดีตเมื่อเข้าใกล้เวลาประมาณเที่ยงคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ จะมีประชาชนจำนวนมาก มาร่วมทำบุญ ตักบาตรพระภิกษุสงฆ์สามเณร เรียกวันดังกล่าวว่า “วันเป็งปุ๊ด”

    มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระมหาอุปคุตเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์ สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนา ได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติใต้สะดือทะเล แล้วแปลงกายเป็น สามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลก เชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุต บุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวย และบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

    สำหรับประเพณีการตักบาตรเป็งปุ๊ดถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแต่คน รุ่นใหม่หลายคนเริ่มละเลยประเพณีดังกล่าวจนถูกหลงลืมไปกับความทันสมัย ดังนั้น เทศบาลนครเชียงราย จึงได้ฟื้นฟูประเพณีการตักบาตรในวันเป็งปุ๊ดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเพื่อ อนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวเหนือเอาไว้และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทาง หนึ่งด้วย.

    ---------------------
    [​IMG]
    <LABEL>ไทยรัฐออนไลน์</LABEL>

    <SMALL>วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2553</SMALL>
    ชาวเชียงรายนับหมื่นร่วมตักบาตรเป็งปุ๊ด - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  6. เอ๋เชียงใหม่

    เอ๋เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +1,791
    ไปตักบาตรเที่ยงคืนมาแล้วครับที่วัดอุปคุตเชียงใหม่ คนแน่นมาก รถติดขยับแทบไม่ได้ เลยต้องให้แฟนลงไปตักบาตรคนเดียว ส่วนเราขออนุโมทนาบุญอยู่ในรถ
     
  7. jaetechno

    jaetechno เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,888
    ค่าพลัง:
    +6,182
    สงสัยอ่ะครับ

    พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปีจะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ
    หมายความว่าไงครับตัวหนังสือสีแดง ตามตำนานพระอุปคุตท่านเกิดหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน(สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)ไม่ใช่เหรอครับ พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ได้ไงอ่ะครับ งง ผมเข้าใจผิดเองหรือเปล่าครับ อนุโมทนากับทุกท่าน

    อุปัชฌาย์ (/อุ-ปัด-ชา/ หรือ /อุบ-ปัด-ชา/) ความหมายโดยพยัญชนะว่าผู้เข้าไปเพ่ง กล่าวคือ ได้แก่ผู้คอยดูแลเอาใจใส่ คอยแนะนำพรำเตือนสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของตน ซึ่งก็คือพระเถระผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา เรียกทั่วไปว่า พระอุปัชฌาย์ ในภาษาอังกฤษมีความหมายเดียวกันเรียกว่า "Buddhist Preceptor"
    พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่หลัก ๒ อย่างคือเป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบทและเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความเป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้ เหมือนบิดาปกครองดูแลบุตร ตามกฎมหาเถรสมาคมนั้นได้กำหนดให้เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่ มีกรณีพิเศษ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  8. ampaporn

    ampaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    207
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คิดถึงบ้านอีกแล้ว หอบบุญมาหลาย
     
  9. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,516
    ค่าพลัง:
    +9,769
    เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปีจะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ

    เช้ามืดเป็นเวลารุ่งอรุณด้วยไม่ใช่หรือ
    เพื่อไม่ให้พระผิดวินัยน่าจะใส่บาตรเวลาช่วงเช้ามืดก็จะดีนะครับ
     
  10. gasnaka

    gasnaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,811
    ค่าพลัง:
    +3,974
    ท่านเข้าญาณสมาบัติอยู่ เฉพาะวันพุธไหนที่ตรงขึ้น 15 ค่ำเท่านั้น ท่านจะออกจากญาณขึ้นมาโปรดสัตว์ ทีนี้ตามความเชื่อว่าหากได้ใส่บาตรให้ท่าน คนนั้นจะโชคดีจะร่ำรวย ก็รีบดักกัน รีบมากันก่อน เดี๋ยวจะโดนคนอื่นแย่งใส่ก่อน ทำไปทำมาก็เลยใส่ตอน เที่ยงคืนเสียเลย ก็เลยไม่ตรงกับที่พระวินัยค่ะ
     
  11. AiiFAR

    AiiFAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +194
    ครูคนนึงเคยบอกว่า สมัยก่อนจะมีการตักบาตรตอนกลางคืนวันพุธซึ่งเปนประเพณีของทางพม่า
    แล้วผู้ใหญ่ก็จะให้เด็กๆใส่บาตร(สมัยนั้นจะีพระเดินต่อๆกันมายาว ประมาณร้อยรูป) แล้วก้อนับว่าพระมีกี่รูป ถ้าเด็กๆ นับได้เกินก็แสดงว่าได้ตักบาตรกับพระอุปคุตแล้ว จะโชคดี เปนสิริมงคลค่ะ
    เคยตักบาตรที่เชียงใหม่นะคะ แต่มีเณรเดินมาสองรูป เลยไม่ได้นับพระตามที่มีคนบอกเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  12. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,657
    ค่าพลัง:
    +9,236

    [​IMG]


    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  13. ตามหลวงพ่อ

    ตามหลวงพ่อ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +22
    ประเพณีนี้เคยไปร่วมบุญที่เชียงใหม่ครับ ดูแปลกดี นับเป็นกุศลเจตนาของชาวเหนือครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...