ธรรมะจากครูบาเจ้าบุญคุ้ม วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต เรื่อง"กาแฟถ้วยหนึ่ง"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จิม, 11 กันยายน 2010.

  1. จิม

    จิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +123
    ธรรมะจากครูบาเจ้าบุญคุ้ม วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต
    เรียบเรียงโดย ครูบาคงสุข

    ที่มา.ได้รับธรรมะเป็นไฟล์wordมาจากครูบาคงสุข วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต และท่านก็อนุญาติให้นำมาลงเพื่อเผยแผ่ ให้พี่ๆน้องๆในเวปได้อ่านกัน

    เรื่อง กาแฟถ้วยหนึ่ง

    ทุกๆแก้วหรือถ้วยของน้ำปานะไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มร้อน-เย็นที่ถูกจัดเตรียมเพื่อนำมาถวายหลวงพ่อเป็นประจำ <O:p</O:pในแต่ละวันนั้น ล้วนต้องผ่านการปิดปากภาชนะด้วยฟิล์มห่อหุ้มอาหารบางใสก่อนนำมาถวาย เพื่อป้องกัน สิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองที่อาจร่วงหล่นลงไปในภาชนะ พร้อมทั้งปิดด้วยฝาครอบแก้วอีกชั้นเพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่อาจเกิดการฉีกขาดของแผ่นฟิล์มขึ้น<O:p</O:p
    สิ่งนี้แสดงถึงจิตอันละเอียดอ่อนของผู้ปฏิบัติ ซึ่งเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดของการปรนนิบัติครูบาอาจารย์ที่สมควร<O:p</O:p
    จะเลือกเฟ้นแต่สิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ตามแต่โอกาสและเวลา เพื่อแสดงถึงความศรัทธา ความมุทิตา ความกตัญญูกตเวทิตาที่เราพึงมีต่อครูบาอาจารย์ของเรา<O:p</O:p
    โดยเฉพาะถ้าท่านเป็นพระสุปฏิปันโนผู้เพียรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้มีบุญ ทรงฌานตบะบารมี เสียสละประโยชน์<O:p</O:p
    ส่วนตนเพื่อรักษาและประกาศศาสนา บอกกล่าวทางบุญแสดงพระธรรมเทศนาเพื่อดึงผู้คนออกจากความมืดมนของ<O:p</O:p
    อาสวะกิเลสสู่ความสว่างไสวแห่งสติปัญญา เรายิ่งต้องปฏิบัติต่อท่านให้ดีที่สุด <O:p</O:p
    นอกจากนี้การที่เราจะบรรลุธรรมได้นั้น หลวงพ่อบอกว่ามันขึ้นอยู่ที่เราสามารถมองทะลุสิ่งต่างๆให้แตกออก เป็นธรรมะได้หรือไม่ด้วย หากเราไม่เข้าใจในหลักหรือเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมว่าเรามาศึกษากันเพื่อสิ่งใดแล้ว<O:p</O:p
    การที่เราจะไปให้ถึงจุดมุ่งหมายก็คงเป็นไปได้ยาก<O:p</O:p
    เรื่องธรรมะเป็นเรื่องของความสงบ เป็นเรื่องของการกำจัดทุกข์อันมีรากเหง้าจากกิเลสตัณหาให้สิ้นที่ต้นตอของ ความวุ่นวายทั้งหมด<O:p</O:p
    หลวงพ่อสอนให้เรารู้จักพิจารณาทุกสิ่งรอบๆตัวให้เกิดเป็นธรรม ฉะนั้นท่านจึงไม่ได้มองว่าถ้วยกาแฟเป็นเพียงภาชนะ<O:p</O:p
    ที่บรรจุเครื่องดื่มถ้วยหนึ่ง แต่ท่านสามารถค้นพบแง่มุมธรรมะแล้วสามารถนำมาสอนลูกศิษย์ได้อีกด้วย<O:p</O:p
    นี่คือตัวอย่าง<O:p</O:p
    เริ่มต้นกันที่ถ้วยกาแฟก่อน ถ้าเราจะชงกาแฟสักถ้วย หากถ้วยกาแฟของเรายังคงคว่ำหน้าอยู่ เราจะเทน้ำ หรือใส่อะไรลงไปก็คงไม่ได้<O:p</O:p
    ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟ แก้ว หรือภาชนะอื่นๆก็มีแต่จะต้องหงายขึ้นอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะสามารถ บรรจุสิ่งต่างๆลงไปได้<O:p</O:p
    เช่นเดียวกันกับผู้ที่ไม่เคยใส่ใจจะเข้าวัดทำบุญทำทาน ไม่สนใจในการสดับรับฟังธรรมเลย หรืออาจมีโอกาสได้ยินได้ฟัง<O:p</O:p
    บ้างตามวาระโอกาส แต่ก็ไม่เคยคิดนำคำสอนกลับไปเตือนสติหรือนำไปปฏิบัติจิตใจให้ดีขึ้นเลย อีกทั้งยังคิดว่าธรรมะนั้น<O:p</O:p
    เป็นของน่าเบื่อหน่าย แต่ตัวเองกลับหลงใหลฝักใฝ่ในสิ่งโลกีย์อวมงคลว่าเป็นของดี<O:p</O:p
    บุคคลเหล่านี้จึงมีวาระจิตที่เร่าร้อน สับสนวุ่นวาย ตกต่ำช้ำทุกข์และเป็นสุขได้ยากเย็น เพราะผลของบาปกรรม ที่พวกเขานิยมชมชอบนั่นเอง ทั้งยังทำให้พวกเขาเหล่านี้มีความคับแคบในจิตและยังตีบตันในสติปัญญาอีกด้วย<O:p</O:p
    สำหรับตัวผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน หากว่าเราปล่อยตัวตามอำเภอใจไปกับความสุขสบายเพลิดเพลินต่างๆ จิตจะตก อยู่ในความง่วงงุน เซื่องซึม ไม่ตื่นตัว ขาดความพร้อมในการปฏิบัติและในการรับธรรมะ จึงทำให้เสียโอกาสและทำให้ ยิ่งล่าช้าออกจากการสำเร็จธรรมมากขึ้นไปอีก<O:p</O:p
    ตัวอย่างของบุคคลดังกล่าวจึงเปรียบได้กับถ้วยที่คว่ำอยู่ ที่ไม่สามารถจะรองรับน้ำพระธรรมได้เลย<O:p</O:p
    ดังนั้น ความพร้อมจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งเหล่านักปฏิบัติสมควรฝึกฝนให้เกิดขึ้นมา เช่นว่า หากถูก<O:p</O:p
    ปลุกให้ตื่นขึ้นกลางดึกขณะกำลังพักผ่อนเพื่อรับฟังธรรม หรือว่าต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อมารอครูบาอาจารย์แสดงธรรม ก็ไม่มีความหงุดหงิดอันใด อดทนได้ เฝ้ารอได้โดยปราศจากความฝืนใจและมีแต่ความเต็มใจเท่านั้น<O:p</O:p
    ดังนี้ ถ้วยของผู้ที่มีความยินดีในธรรมจึงเปิดหงายอยู่เสมอ เพื่อรอรับแม้เพียงหยาดหยดหนึ่งของธรรมะจาก ครูบาอาจารย์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรและที่ใดก็ตาม หากทุกสิ่งบรรจบพร้อมพอดีแล้วในการแสดงธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ต่อมาลองดูที่กาแฟกันบ้าง โดยทั่วไปเราต้องนำเมล็ดกาแฟไปคั่วแล้วนำไปบดให้ละเอียดพอดีเสียก่อนที่จะนำมาชง<O:p</O:p
    กับน้ำร้อนจึงจะรับประทานได้ ตรงนี้หมายความว่า การที่เราจะปฏิบัติธรรมให้สำเร็จนั้น เราต้องทำความเข้าใจในหลัก ของธรรมะก่อนว่าเรามาศึกษากันด้วยเรื่องอะไรและจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมนั้นอยู่ตรงไหน <O:p</O:p
    เรามาเรียนธรรมะกันเพื่อให้ตัวเรารู้ว่า ความทุกข์นั้นคืออะไร ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากสิ่งใด และเราจะกำจัดตัวทุกข์ ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร<O:p</O:p
    ทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาจากความชอบและความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสทั้งสองอย่าง ผู้ใดมีกิเลสมาก ผู้นั้นย่อมมีความหนักในจิต<O:p</O:p
    มีความร้อนควบแน่นอยู่ในใจ ทำให้เป็นอยู่อย่างไม่สงบ มีแต่ความว้าวุ่นอยู่เป็นนิจ จิตจึงไม่มีความพอดี<O:p</O:p
    ดังนั้น หากเราอยากพบกับความสงบและอยู่เหนือความทุกข์ เราจึงต้องมารู้จักทุกข์ในตัวของเรา ต้องทำลายตัณหา<O:p</O:p
    อุปาทานซึ่งเกิดจากอาสวะกิเลส บดจิตของเราให้ละเอียดอันมีศีล สติ สมาธิ ปัญญาเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้จิตใจ ของเราผสมผสานกับน้ำธรรมะจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่าหากเราได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกันอย่างลึกซึ้งแล้ว<O:p</O:p
    จิตของเราจะสามารถเข้าถึงความพอดีได้อย่างเป็นธรรมชาตินั่นเอง เสมือนผงกาแฟที่สามารถละลายไปกับน้ำร้อนได้ ฉันใดฉันนั้น<O:p</O:p
    ตรงกันข้ามเมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้คั่วนั้นเปรียบได้กับผู้ที่มีความหยาบทางจิต ผู้มีจิตที่ไม่สะอาดผุดผ่อง หรือผู้ที่มักมาก ในกิเลสโลกีย์ ทำให้มีปัญญามืดต่ำ มีกรรมหนักถ่วงรั้ง จึงกลายเป็นผู้เขลาเมาอวิชชา ไม่สามารถมองเห็น เข้าใจและบรรลุธรรมอันลึกซึ้งได้ ยิ่งมัวเมาในโลกียธรรมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งไกลห่างจากโลกุตรธรรมชั้นสูงมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังต้องมาเสวย ทุกขเวทนาอย่างมิรู้หายอีกด้วย เหมือนดั่งเมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้คั่วที่ไม่สามารถละลายเข้ากับน้ำร้อนได้ฉันนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อันดับต่อไป เคยถามตัวเองไหมว่าทำไมเราจึงชอบดื่มกาแฟกัน เราเคยคิดกันบ้างไหมว่าเราบริโภคมันด้วยเหตุผลใด<O:p</O:p
    หลายคนคงคิดว่าดื่มแก้ง่วง ไม่ก็เพราะความเคยชินที่ได้ดื่มกินมันทุกวันหรืออาจเพราะความติดตรึงใจในกลิ่น อันหอมกรุ่นและรสขมๆผสมความหวานมันจากน้ำตาลกับครีม หรือเสียงของช้อนกระทบถ้วยกาแฟขณะคนแก้ว กับภาพไออุ่นบางเบาค่อยๆลอยขึ้นจากถ้วยกาแฟ ช่างยวนเย้าให้คิดถึงจึงเกิดเป็น ”ความอยาก” ขึ้นมา ซึ่งพออยาก มากๆเข้า ”ความยั้งคิด” ก็มักพังทลายลง<O:p</O:p
    อายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและอารมณ์ต่างๆเป็นตัวล่อลวงให้คนเกิดตัณหา อยากเสพสิ่งที่ตน<O:p</O:p
    ต้องตาต้องใจ จึงต้องดิ้นรนวุ่นวายสร้างกิเลสขึ้นมาเพื่อบำรุงอารมณ์บำเรอความอยาก ให้ตนเองได้มัวเมาอยู่กับ สุขภายนอกเหล่านี้ไม่หยุดหย่อน <O:p</O:p
    เป็นสุขเมื่อได้ เสียใจเมื่อไม่มี จึงทำให้จิตสับสน จิตตกอยู่ในวังวนแห่งสัญญา เราจึงมีนิวรณ์พัวพันอยู่ในจิต เกิดเป็นความเวทนาและเป็นทุกข์ เมื่อไม่สามารถอยู่เหนือกิเลส คือ การแพ้ใจตน เราจึงหนีไม่พ้นภัยพิบัติทางจิตใจ ไม่สามารถอยู่อย่างสุขสงบได้<O:p</O:p
    อายตนะหากใครไม่รู้จักมันดีพอ มันก็เท่ากับอาหารที่มีพิษของจิต หากเราดื่มกินมันมากๆเราก็จะตกเป็นทาสของตัณหา<O:p</O:p
    ราคะ ถ้าเราไม่สามารถทำลายอายตนะเหล่านี้ลง เราก็ไม่สามารถกำจัดทุกข์หรือเข้าสู่ครรลองแห่งธรรมเพื่อหนีออกจาก<O:p</O:p
    การเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทุกคนต่างมี”ความอยาก”เป็นมูลฐานแห่งการเกิดมาเสวยผลบุญกรรมบาปในโลกนี้ทั้งสิ้น อยากเสพกาม เสพสมบัติ<O:p</O:p
    เสพเงินทอง เสพอำนาจ เสพสิ่งมึนเมาอบายมุขลวงใจต่างๆ คิดว่าสิ่งที่ได้เห็น รสที่ได้ชิม ผิวพรรณที่ได้สัมผัสจับต้อง รองรับด้วยอุปาทานในอารมณ์ยึดมั่นถือครองว่าเป็นของตน ว่าเป็นของจริง เป็นของสุขของดี ต้องวกวนอยู่ในเขาวงกต แห่งความลุ่มหลง ต้องตกเป็นจำเลยของความใคร่ด้วยใจจำยอม ก็เลยเลิกเสพละอยากกันไม่ได้ หากเรายังไม่สามารถตัด<O:p</O:p
    ความพึงพอใจในอายตนะ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสได้ เราก็ไม่มีวันที่จะหยุดกงจักรแห่งทุกข์อันได้แก่ อริยสัจแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตายลงได้เลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เราจะหนีออกมาได้อย่างไรกัน ก็เมื่อใจยังใคร่ ยังหลงใหลผูกพันกันอยู่ <O:p</O:p
    คนเราถ้าชื่นชอบอะไรก็มักวนเวียนอยู่กับสิ่งนั้น ก็สิ่งที่เรารัก เราหลง เรายินดี มันเกิดที่ไหนและมันอยู่ที่ใด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มันไม่ใช่ใน”โลก”นี้หรอกหรือที่เราหลงใหลใฝ่ฝันกันและมันไม่ใช่เชื้อพันธุ์ของความรัก โลภ โกรธ หลงที่ยังคงสิงสู่อยู่ใน<O:p</O:p
    จิตใจของเราหรือ ที่ทำให้เราไม่สามารขจัดความทุกขเวทนาที่คอยกัดกินจิตใจของเราให้เสื่อมสภาพลงไปทุกวัน<O:p</O:p
    โลกแห่งรัก โลภ โกรธ หลงที่เราอาศัยและหายใจอยู่นี่เองที่ก่อร่างสร้างวิบากกรรมเป็นชาติภพสืบต่อไปไม่รู้จบ<O:p</O:p
    “กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะสรณะ” สายธารแห่งกรรมที่เราได้กระทำต่อเนื่องนับแต่อดีตชาติผูกเป็นเผ่าร้อยเป็นพันธุ์ สู่การรับผลกรรมแห่งการกำเนิดของกายหยาบกายละเอียดในแต่ละชั้นของภพภูมิ ทุกจิตวิญญาณล้วนต้องอยู่ภายใต้ กฎแห่งกรรมทั้งหมด ต่างกันว่ากรรมดีหรือกรรมชั่วจะตอบสนองต่อตัวผู้กระทำในอัตราหนักหรือเบาเท่านั้น<O:p</O:p
    กรรมนั้นก็เหมือนเงาตามตัวเราน่ะแหล่ะ มีใครบ้างที่จะหนีเงาของตัวเองพ้น อย่าประมาทกันดีกว่า<O:p</O:p
    เกิดเป็นนกก็ต้องโผบินอยู่ในแผ่นฟ้านภากาศ เกิดเป็นปลาก็ต้องแหวกว่ายอยู่ในธารน้ำสายนที<O:p</O:p
    ทุกสรรพสิ่งย่อมมีที่มาที่ไป มีที่อยู่ที่เป็นตามเหตุและผล ไปตามบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ว่า ผลลัพธ์ย่อม<O:p</O:p
    มีเหตุมาจาก ”กุสะลาธัมมาและอกุสะลาธัมมา” ที่บุคคลได้กระทำไว้ หากบุคคลยังสร้างกรรมผูกพันสัญญากันอยู่ ก็ยังต้องแบกต้องรับกรรมอันสืบเชื้อสายมาจากกิเลสรัก โลภ โกรธ หลงต่อไป เมื่อยังปลงโลกปลดสัญญากันไม่ได้ เราก็ต้องรับทุกข์เสวยเวทนาอยู่กับการเกิด แก่ เจ็บ ตายในวงวัฏสงสารดังเดิม<O:p</O:p
    นกในฟ้า ปลาในน้ำก็ไม่ต่างอะไรจากผู้คนที่ยังวนเวียนอยู่ในโลกนี้ได้ ก็เพราะเขาใช้ความรัก โลภ โกรธ หลงเป็น กระแสลมหายใจในการดำเนินชีวิตนั่นเอง<O:p</O:p
    “โลกธรรม” มันเป็นของมันเช่นนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรามาดูที่กาแฟกันต่อ มองดูในถ้วยตอนนี้กาแฟเริ่มพร่องลงไปแล้ว ดื่มไปดื่มมาพลางคิดไปว่าในโลกนี้มีผู้คนตั้ง มากมาย หลากจิตหลายอารมณ์ กาแฟบางคนอาจชอบหวาน บ้างก็ชอบขม บางคนนิยมรสกลมกล่อม อะไรๆย่อมไม่<O:p</O:p
    เหมือนกันเสมอไป กาแฟต่างรส ผู้คนต่างใจ อย่างไรก็ใจเย็นกันไว้ก่อนก็ดี อย่าเอาแต่อารมณ์ความชอบกับความเห็น<O:p</O:p
    ของตัวเองเป็นที่ตั้งนักเลย เหตุผลของแต่ละคนนั้นดีในสายตาของตัวเองทั้งหมดนั่นแหล่ะ แต่มันจะดีกับผู้อื่นหรือเปล่า<O:p</O:p
    อันนี้เราต้องคิดด้วย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มันถูกใจแต่มันไม่ถูกจริง แบบนี้ไม่ดี ต้องฟังเหตุผลของกันและกัน ให้บทสรุปนั้นอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความถูกต้อง และความเป็นธรรมเถิด แล้วพวกเราก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีสันติภาพ เราไม่ทุกข์ เขาไม่ทุกข์ นั่นเป็นสิ่งที่ดี เว้นเสียแต่คนที่เป็นทุกข์กับความเป็นจริงและความเป็นธรรม อย่างนี้เรียกว่า “คนบาป”<O:p</O:p
    หัดทำใจและลองทำความเข้าใจกับตัวเองดูบ้าง หากบางวันกาแฟที่เขาชงมาให้รสชาติอาจเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม อย่าไปเอาอะไรกับชีวิตมาก เพราะทุกสิ่งมันไม่แน่นอน สักแต่ว่าดื่มเอาเถิด อย่าหงุดหงิดหรือไม่พอใจเลย<O:p</O:p
    แล้วเราจะไม่เป็นทุกข์<O:p</O:p
    นิ้วมือทั้งห้าของเรายังยาวไม่เท่ากันเลย มันคงไม่มีอะไรจะเท่ากับใจหรือได้ดั่งใจเราไปเสียทุกอย่างหรอก หากเรารู้จัก<O:p</O:p
    “ถอน”หรือ”วาง”ตัวตนของเราออกจากความถูกใจของตัวเองบ้าง เราก็จะทุกข์น้อยลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทีนี้เรามาดูที่ปากถ้วยกาแฟของหลวงพ่อกัน หากปากถ้วยมีเพียงฝาครอบปิดเอาไว้อย่างเดียว มันอาจสุ่มเสี่ยงต่อการ<O:p</O:p
    หกเลอะเทอะขณะนำมาถวาย จึงมีการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยการปิดปากถ้วยกาแฟเอาไว้อีกชั้นหนึ่งด้วย ฟิล์มบางใส ก็เท่ากับว่าเราสามารถรักษาความสะอาดปลอดภัยได้มากขึ้นอีก<O:p</O:p
    จริงอยู่ ฟิล์มใสเวลาเราใช้ปิดปากภาชนะนั้นอาจมองไม่เห็นเหมือนไม่มีอะไร แต่มันกลับมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการ<O:p</O:p
    ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเล็ดลอดเข้าสู่ภาชนะที่บรรจุอาหารหรือป้องกันไม่ให้เครื่องดื่มในถ้วยหกรดราดตัวเอง หรือผู้อื่นอีกด้วย<O:p</O:p
    ฟิล์มใสนั้นเปรียบได้กับ ”ศีล” ของพระภิกษุ เสมือนเกราะป้องกันไม่ให้ดวงจิตสกปรกเปรอะเปื้อนจากกามกิเลส ส่วนความใสของแผ่นฟิล์มเป็นดั่ง“ปัญญา” ที่ทำให้เกิดความเบาในจิต เกิดดวงตาธรรมที่สามารถมองทะลุไปยังด้านใน ของตัวผู้ปฏิบัติเอง ที่ให้พิจารณาถึงโทษของอายตนะที่ทำให้จิตข้นขุ่นไม่กระจ่างใส จึงไม่สามารถมองเห็น ”ความถูก” ได้อย่างชัดแจ้ง <O:p</O:p
    อุปาทานหรือความไม่รู้จริงจึงได้อุบัติขึ้นเป็นความหลง เกิดเป็นความรู้ความเชื่อที่ผิดที่ผิดทางหรือ “ความเห็นผิด” กัน<O:p</O:p
    อย่างมากมาย เมื่อมันผิดตั้งแต่เริ่มคิด วจีทุจริตกับกายทุจริตจึงตามมา เราจึงเห็นการปฏิบัติที่ผิดๆต่อกันให้เป็นที่เดือดร้อน เสียหาย เป็นทุกข์แก่ผู้อื่น เป็นกรรมชั่วที่ติดตาม เป็นบาปทรามแก่ตัวเอง เหตุเหล่านี้มีผลมาจากสิ่งเดียว นั่นก็คือ จิตของเรามันทุจริตไปแล้ว<O:p</O:p
    ลำพังเพียงศีลอาจยังไม่รัดกุมเพียงพอและความฉ้อฉลของกิเลสตัณหากับการไม่เฉลียวใจระแวดระวังภัยถึงผลกระทบแห่งการคิด การพูด การกระทำที่เกิดขึ้น อาจนำพาให้ภิกษุเพลี่ยงพล้ำจากการกระทำอันไม่เหมาะไม่ควรโดยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม แม้กระทั่งการจงใจละเมิดศีลโดยตรงอีกด้วย ดังนี้จึงเป็นการยากที่เหล่าพระภิกษุจะประคอง ความบริสุทธิคุณของตนเอาไว้ให้คงเส้นคงวาโดยไร้รอยขีดข่วนใดๆได้<O:p</O:p
    หลวงพ่อกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงเล็งเห็นช่องว่างตรงนี้ ซึ่งอาจเป็นจุดบอดให้พระภิกษุกระทำความผิดพลาดได้ ท่านจึงได้กำหนดพระวินัยเพื่อควบคุมพระภิกษุอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นกรอบเป็นแนวให้พระภิกษุดำเนินและปฏิบัติตนให้อยู่ในความสงบสำรวม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อการเดินเข้าสู่มรรคผลโดยเร็วที่สุด<O:p</O:p
    หลวงพ่อสอนให้เรารักษาความบริสุทธิ์ของจิตเราให้ดี ให้เรารักษาคุณงามความดีที่เราได้เพียรกระทำ และจะต้องมี<O:p</O:p
    สมาธิในการดำเนินชีวิตเพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างระมัดระวังพร้อมทั้งมีความมั่นคงด้วย เสมือนเวลาเราใช้มือประคอง ยกถ้วยขึ้นดื่มนั่นเอง<O:p</O:p
    หูถ้วยกาแฟมีไว้เพื่อให้เราจับถ้วยกาแฟได้ง่ายขึ้นเวลาที่กาแฟยังร้อนๆอยู่ คำสอนของหลวงพ่อก็เหมือนกับหูถ้วยกาแฟ<O:p</O:p
    ที่สามารถป้องกันการรุ่มร้อนทางจิตได้ดีที่สุด เราอาจทุกข์น้อยลงหรือว่าไม่ทุกข์อีกเลย ถ้าเรารู้จักจับหูถ้วยตามที่ท่านสอน<O:p</O:p
    แต่ที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองในทุกวันนี้ก็เพราะเราไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ให้เรารู้เหตุ แห่งความทุกข์ ใช้ชีวิตของเราให้อยู่เหนือกิเลสโดยไม่ประมาทใน “ความร้อน” นั่นเอง<O:p</O:p
    คำสอนของหลวงพ่อจากกาแฟถ้วยเล็กๆเพียงถ้วยเดียวนี้ มีความหมายมากล้นเกินขนาดของถ้วยอย่างมากมาย<O:p</O:p
    นั่นเพราะธรรมะนั้นหาประมาณค่ากันมิได้และย่อมใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งปวง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตอนนี้กาแฟก็หมดถ้วยแล้ว<O:p</O:p
    ถ้วยกาแฟใบที่ถูกใช้ คงถูกนำไปล้างให้สะอาด หลังจากตากให้แห้ง ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก<O:p</O:p
    ต่างไปจากคนเราซึ่งพอหมดลม ก็คงได้แต่นอนรอให้เขาเอาไปเผาทิ้งเท่านั้น<O:p</O:p
    อย่ามัวแต่ทำสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสาร ไม่เป็นสาระประโยชน์ไปวันๆเพื่อรอวันตายอยู่เลย ลองเปิดหู เปิดตา เบิกสติ หงายปัญญาของเราขึ้นเพื่อไตร่ตรองรองรับพระธรรมดูบ้าง เราจะได้มองเห็นสัจธรรมความเป็นจริง มองเห็นทุกข์ และทางดับทุกข์ จนเห็นหนทางสู่แก่นของความสงบสุข คือ การละ การวาง มิใช่การ “ถือ” อยู่อย่างเดียว เราจึงจะเห็นทางสายตรงสู่ “พระนิพพาน” ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อย่าประมาทกันอยู่เลย สิ่งต่างๆล้วนเปลี่ยนไปไม่เที่ยงหนา ตัวเราและถ้วยกาแฟก็คลับคล้ายคลับคลาไม่ต่างกัน<O:p</O:p
    เพราะมันอาจแตกสลายลงได้ทุกเมื่อ<O:p</O:p
    <O:p
    <O:p
    <O:p

    </O:p
    <O:p
     
  2. jee4

    jee4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +848
    ขอบคุณครับ...สำหรับธรรมะดีๆ
    ขออนุโมทนา สาธุ...:cool:
     
  3. march5

    march5 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +10
    แสวงหาสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ด้วยก่านต่อยอดด้วยทำมะดีๆ

    อนุโมนากับแก่นธรรมครั้งนี้ ด้วยคนครับ ธรรมะมาจากไกลแค่ไหนแต่ก้อยังอยู่ใกล้กับตัวเรานั้นเอง:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...