ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กระทู้นี้เราพูดกันแบบทางการเยอะแล้ว ไหนๆมีหนังสืออธิราชาในมือ ขอยกประโยคหวานๆมาเปลี่ยนสีสรรอารมณ์ของกระทู้หน่อยนะคะ เพราะใกล้ออกพรรษาแล้วจะคุยเกี่ยวกับพระราชพิธีน่ารักๆหวานๆที่จัดขึ้นเพื่อพระมหากษัตริย์และพระอัครมเหสีมาให้อ่านกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและองค์อัครมเหสีของพระองค์ทรงเคยร่วมในพระราชพิธีนี้มาแล้วค่ะ

    ตอนนี้มาอ่านประโยคหวานๆในหนังสือ อธิราชา กันค่ะ

    คุณทมยันตีให้เจ้าหญิงมณีจันทร์เป็นเจ้าหญิงจากเมืองมอญ ทางสายธาตุไม่กล้าอ่านนิยายคุณทมยันตีเพราะท่านเขียนเรื่องความรักได้หวานมาก ครั้งนี้ถือว่าอ่านอธิราชาครั้งแรกในขณะที่อายุกลางคนแล้วยังอมยิ้มเพราะรู้สึกว่าน่ารักมาก

    กลอนอีกสักบทหนึ่ง


    ประจักษ์พยานว่าทรงโปรดปรานพระอัครมเหสีที่พอจะออกมาเป็นบันทึกก็คือ พระราชพิธีหนึ่งที่กระทำหลังจากออกพรรษา พี่จงรักภักดีคงจำได้ ทางสายธาตุเคยเขียนนไว้แล้ว

    ในความเห็นของทางสายธาตุนั้น เห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระอัครมเหสีทรงมีพระทัยรักให้กันและกันมากทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หลวงพี่พระมหาฤทธิชัย กัลยาโณท่่านโทรเข้ามาพอดี ได้โอกาศขอเขียนถึงองค์หญิงนันทวดีที่หลวงพี่พระมหาฤทธิชัยสัมผัสได้ด้วยตัวท่านเองเสียเลย ท่านก็อนุญาต ขอกราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ


    ส่วนพระราชพิธีอาชศวยุทธ ทางสายธาตุไปได้ความหมายของพระราชพิธีนี้ในบอร์ดนิทรรศการที่จัดภายในพระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชพิธีรื่นเริงที่น่ารักมาก จัดขึ้นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชพิธีนี้ไว้สำหรับพระมหากษัตริย์กับพระอัครมเหสีเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระนางมณีจันทร์เคยทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าวนี้มาแล้ว
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คิดตามดู หนูก็เห็นว่าจริงตามข้อเขียนนี้อยู่ค่ะพี่

    "ดัชนีความสุขคนไทยลดลง" ซึ่งมันก็ไม่แปลกหรอก เพราะความสุข-ความทุกข์คนไทย มีสภาพคล้าย "แมลงปอถูกเด็ดตูด" บินขึ้น-บินตก ผงกๆ คาพื้นอยู่อย่างนั้น จนกว่าคนไทยจะค้นหาชาติและตัวเองพบนั่นแหละ


    สาธุ
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชพิธีอาศวยุช งานบุญออกพรรษา เดือน ๑๑

    พระราชพิธีอาศวยุช งานบุญออกพรรษา เดือน ๑๑<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->บางที่จะเขียนว่า พระราชพิธีอาสวยุทธ ไม่รู้ควรจะเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมือนกัน พระราชพิธีนี้ตอนแรกอ่านชื่อแล้วคิดว่าเป็นพระราชพิธีที่จัดไว้สำหรับแสดงแสนยานุภาพทางน้ำของกองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียอีก แต่ไม่ใช่ พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีการแข่งเรือเสี่ยงทาย ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับพระอัครมเหสี

    คิดว่ามีหลายคนรู้ว่าเป็นพระราชพิธีนี้ ถือว่าข้อเขียนนี้เป็นการย้อนรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยกันค่ะ

    สรุปว่าการแข่งขันในพระราชพิธีนี้ เรือพระที่นั่งไกรสรมุข จะต้องชนะเรือพระที่นั่งสมรรถชัยเสมอ หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เรือพระที่นั่งของพระมเหสีจะต้องชนะเรือพระที่นั่งขององค์พระมหากษัตริย์เสมอ


    ในจดหมายเหตุของสเปนยังได้ระบุพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ด้วย แต่มิได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินหรือไม่

    สรุปแล้วในประวัติศาสตร์นั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระนางมณีจันทร์เคยเสด็จเข้าร่วมในพระราชพิธีอาศวยุชอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทำให้รู้สึกว่าทั้งสองพระองค์คงจะทรงพระเกษมสำราญในพระราชพิธีคราวนั้นมากทีเดียวเพราะมีการละเล่นหลายอย่าง คาดว่าคงจะเป็นช่วงเวลาหลังออกพรรษาในปีเดียวกันกับพระราชพิธีเสด็จพยุหยาตราทางชลมารถถวายผ้าพระกฐิน พ.ศ. ๒๑๓๖ ที่ได้กล่าวไปแล้วด้วยค่ะ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระอาจารย์มหาฤทธิชัย กัลยาโณท่านกรุณาเล่าเรื่องความรักครั้งแรกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ฟังซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่ององค์หญิงนันทวดีด้วย สตรีอื่นๆอันมิได้รับการแต่งตั้งยศศักดิ์แต่เป็นนางสนมกรมนัยของพระองค์ท่าน ทางสายธาตุคิดว่ามีเพราะเป็นธรรมดาของธรรมเนียมโบราณอยู่แล้ว ความรักครั้งแรกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะขอเล่าพรุ่งนี้นะคะ วันนี้รู้สึกไม่ค่อยสบายคงจะเป็นหวัดแล้วกระมัง ไปโดนฝนมาค่ะ

    คุณรุ้งเคยเล่าให้ฟังว่า เวลากองทัพเดินทางไปในที่ต่างๆ เวลาพักทัพนั้น ถ้าใกล้ๆกันนั้นมีหมู่บ้านก็จะให้ทหารราชองครักษ์เข้าไปหาสถานที่เพื่อจัดถวายเป็นที่พักของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ บ้านของผู้นำหมู่บ้านที่ทรงเสด็จนำทัพผ่านก็จะมีโอกาศถวายรับใช้เจ้า ชาวบ้านสมัยโบราณจะดีใจมากที่ได้มีโอกาศรับใช้เจ้านายเหนือหัว บางคร้้งเขาก็ถวายลูกสาวตนเองเพื่อรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท หากแต่ว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นพระองค์ท่านจะทรงรับศีลและถือศีลตลอดระยะเวลาที่ทรงออกนำทัพ พระองค์ท่านจึงทรงไม่มีเรื่องอิสตรีในระหว่างออกศึกเพราะทรงห่วงบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนพระองค์เอง แต่บางท่านก็อาจจะรู้มาแบบใดก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ได้อ่านหนังสือเล่มที่คุณทางสายธาตุเอ่ยถึงแล้ว(ขอไม่ระบุชื่อ) ข้อมูลคล้ายกันกับที่คุณทางสายธาตุได้เคยนำมาโพสในกระทู้นี้แล้วเป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่สงสัยว่าพระโอรสหรือพระราชธิดาน่าจะยังมีอีก เพราะถ้าพิจารณาไปตามครรลองของขนบธรรมเนียมและประเพณีในสมัยโบราณการถวายตัวรวมไปถึงการผูกมัดทางด้านจิตใจเป็นเรื่องที่นิยมใช้กันอยู่เป็นการผูกสัมพันธไมตรีอย่างดียิ่ง ข้อนี้เป็นเรื่องที่เราสมควรต้องยอมรับกัน กำลังระลึกถึงเรื่ององค์หญิงนันทวดีอยู่ทีเดียว จังหวะพอดีกับที่คุณทางสายธาตุกำลังจะกล่าวถึง ต้องขออนุโมทนาและรอรับฟังครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรักครั้งแรกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์พระมหาฤทธิชัย กัลยาโณ

    เริ่มขึ้นเมื่อสงครามช้างเผือก ปี พ.ศ. ๒๑๐๖ คราวเสียช้างเผือก ๔ เชือก ในสงครามนี้พระราเมศวร พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระมหาจักรพรรดิ พระยาจักรี และ พระสุนทรสงคราม

    อ้างถึงหลักฐานสงครามช้างเผือก พระมเหสีและพระชายาของพระราเมศวรทุกพระองค์ก็ต้องโดยเสด็จไปหงสาวดีด้วย

    พระราเมศวรทรงสิ้นพระชนม์เมื่อถึงหงสาวดี พระมเหสีและพระชายาของพระองค์จึงถูกพระเจ้าบุเรงนองจัดให้ไปเป็นชายาเจ้านายพม่าและบางพระองค์ก็ถวายตัวเป็นชายาของพระเจ้าบุเรงนอง พระมเหสีและพระชายาทุกพระองค์ทรงเป็นเจ้าทุกพระองค์ คนโบราณเขาถือขนบประเพณีว่า เจ้าต้องแต่งกับเจ้า พระชายาของพระราเมศวรองค์ที่ถวายตัวกับพระเจ้าบุเรงนอง กำเนิดพระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชธิดาทั้งสองจึงทรงมีเชื้อสายพม่า-ไทย

    พระนามพระราชธิดาองค์โต องค์หญิงแก้วสุกันยา
    พระนามพระราชธิดาองค์เล็ก องค์หญิงแก้วกัลยา
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ต้องออกไปธุระสักประเดี๋ยวนะคะ เดี๋ยวกลับมาเล่าต่อช่วงบ่าย
     
  9. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    หลังจากจบเรื่องขององค์หญิงนันทวดีแล้ว ขอเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างพระองค์ท่านกับทางไทใหญ่ด้วยนะครับ(ในมุมมองของท่านมหาฤทธิชัย กัลยาโณ) เราเคยทราบกันแต่เพียงว่าพระองค์ท่านได้อาศัยกองทัพไทใหญ่ในการกอบกู้เอกราชและต่อสู้กับพม่าเท่านั้น อีกทั้งผมเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างว่าพระองค์ท่านอาจมีความผูกพันที่ลึกซึ้งกับเจ้าฟ้าที่เป็นผู้นำของไทใหญ่ในเวลานั้นด้วยก็เป็นได้ ผมเชื่อลึกๆว่าท่านพระมหาฤทธิชัย ท่านต้องรู้เรื่องเหล่านี้ดีทีเดียว ไม่ทราบว่าคุณทางสายธาตุจะเห็นด้วยกับความเชื่อในข้อนี้บ้างไหม?
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434

    ทางสายธาตุคิดว่าพระมหาฤทธิชัยท่านผูกพันกับดอยไตแลงมากทีเดียว ท่านน่าจะทราบค่ะ เรื่ององค์หญิงนันทวดีนั้นเป็นประสบการณ์ในด้านละเอียดของพระมหาฤทธิชัยท่านด้วย

    ทางสายธาตุเชื่อว่าในโบราณกาล พระมหากษัตริย์ทรงมีพระชายาหลายพระองค์เป็นเรื่องธรรมดา ทางสายธาตุมองแบบสังคมวิทยานะคะ สมัยก่อนคนอายุสั้น หยูกยาก็ไม่ค่อยมี พระมหากษัตริย์จะต้องทรงดำรงพระราชวงศ์ของพระองค์ไว้ด้วยการทรงมีรัชทายาทหลายๆพระองค์ พระองค์ท่านจึงทรงมีพระอัครมเหสี พระสนม นางใน บาทบริจาริกา เป็นเรื่องธรรมดา มองอดีตก็ต้องคิดแบบคนในอดีตคิด ถ้าความคิดคนสมัยใหม่ก็จะมองเรื่องสิทธิสตรี เรื่องนี้เป็นเรื่องคนละยุคคนละสมัยเอาไปตัดสินอดีตไม่ได้

    คุณพระราชมนู ชื่อแทนตัวเป็นสีส้มแสดงถึงสถานะเป็นนักบวช ท่านบวชอยู่หรือเจ้าค่ะ
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เล่าต่อ....เรื่ององค์หญิงนันทวดี

    เมื่อทรงเข้าสู่วัยหนุ่ม พระองค์ท่านทรงสง่างามมาก ที่หงสาวดีจะมีเจ้านายเมืองประเทศราชมาอยู่รวมกัน ทั้งมอญ ไทย ไทยใหญ่ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรต้องตกไปเป็นเชลยศักดิ์ที่หงสาวดี ได้ไปพร้อมๆกับลูกเจ้าเมืองบริวารของเมืองพระพิษณุโลก อันได้แต่เมืองสวรรคโลก เมืองนครไทย เมืองพิชัย (ชื่อเมืองเท่าที่จำได้จากปากคำของพระมหาฤทธิชัย) ก็ถือว่าเป็นทั้งพระญาติและเป็นเชื้อเจ้าเช่นเดียวกัน แต่พระสถานะของสมเด็จพระนเรศวรจะใหญ่กว่าเป็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระลูกเจ้าหัวเมืองใหญ่

    ทรงเจริญพระชันษาขึ้น ทรงมีอัจฉริยภาพในการเรียนทั้งทางด้านภาษาและด้านพิชัยสงคราม อีกทั้งด้านการทหารก็ทรงเป็นอัจฉริยะ (ภาษาสมัยใหม่ก็เรียกว่า ทรงเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ อยากเขียนคำสมัยใหม่เพราะได้ต้องอารมณ์คนสมัยใหม่ว่า ทรงเกิดมาพร้อมพระบารมีที่สั่งสมมาของพระองค์ท่านเอง คนสมัยใหม่ไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องพระบารมี แต่ถ้าบอกว่าทรงเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เพื่อกู้ชาติไทย น่าจะเข้าใจได้ค่ะ ^_^)

    ความสามารถของพระองค์จึงเป็นที่จับใจของบรรดาสาวๆในเมืองหงสาวดี พระมหาฯท่านบอกว่า เวลาพระองค์ท่านจะเดินไปฝึกซ้อมเพลงดาบ เพลงทวน ถ้าผ่านสาวๆทั้งมอญทั้งพม่าจะต้องมีเสียงลอยออกมาจากกลุ่มสาวๆนั้น อาทิ

    "แวะหน่อยซิจ๊ะ องค์ดำ" ต้องออกเสียงภาษามอญนะ แต่เขียนเวอร์ชั่นภาษาไทยให้คนไทยอ่าน

    พระมหาฯบอกพระองค์ท่านไม่เคยไขว่เขว ทรงมีวินัยสูงมาก ทรงมุ่งมั่นมากและ โดยปกติแล้วพระองค์จะไม่ค่อยทรงออกพระโอษฐ์ในเรื่องใดๆ พระองค์ทรงขรึม

    ช่วงที่พระองค์ท่านเจริญขึ้นทรงเริ่มมีพระทัยให้เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ซึ่งคนภายนอกไม่มีใครรู้ เจ้าหญิงเชื้อสายพม่า-ไทยพระองค์น้องผู้ที่ทรงพระนามว่า องค์หญิงแก้วกัลยา
     
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ดูจะเป็นธรรมเนียมประเพณีนะครับ มองอดีตก็ต้องคิดแบบคนในอดีต ใช่เลยครับ มันคนละยุคคนละสมัยกัน ต้องแยกแยะให้ออก จะไปเหมารวมเข่งไม่ได้
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพราะพระองค์ดำทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงคิดจะผูกพระองค์ท่านไว้ให้ภักดีกับหงสาวดีและลืมบ้านเกิดเมืองนอนเสีย

    พระเจ้าบุเรงนองจึงคิดวิธีผูกมัดจิตใจพระองค์ดำด้วยการให้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้านายเชื้อสายพม่า ซึ่งก็ทรงเห็นแล้วว่ามีเจ้าหญิงที่เหมาะสมอยู่สองพระองค์ ก็คือ องค์หญิงแก้วสุกันยาและองค์หญิงแก้วกัลยา

    โดยธรรมเนียมโบราณ คนพี่จะต้องแต่งงานก่อนคนน้อง พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงจัดงานอภิเษกสมรสให้กับพระองค์ดำ และ องค์หญิงแก้วสุกันยา ทั้งนี้พระเจ้าบุเรงนองไม่ทรงทราบมาก่อนว่า พระองค์ดำทรงมีพระทัยให้องค์หญิงพระองค์น้อง แก้วกัลยา

    พร้อมกันนี้ก็พระราชทานให้องค์หญิงพระองค์น้อง องค์หญิงแก้วกัลยา อภิเษกสมรสกับเจ้านายไทยอีกพระองค์หนึ่งเป็นลูกเจ้าเมืองสวรรคโลก

    เป็นการอภิเษกสมรสที่ผิดฝาผิดตัว

    หลังการอภิเษกสมรสได้ไม่นาน องค์หญิงแก้วสุกันยาทรงให้ประสูติการพระราชธิดาพระองค์แรกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังหลวงแห่งเมืองหงสาวดี

    พระราชธิดาพระองค์น้อยได้รับพระราชทานนามจากพระเจ้าบุเรงนองว่า องค์หญิงนันทวดี
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    การลักลอบออกจากพระราชวังหลวงหงสาวดีโดยมิได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าบุเรงนอง มีความผิดขั้นประหารชีวิต

    สมเด็จพระนเรศวรทรงลักลอบออกจากหงสาวดีพร้อมเหล่าทหารที่ถูกนำตัวมาเป็นเชลยศักดิ์ที่หงสาวดี ซึ่งการลักลอบหนีต้องอาญาถึงแก่ชีวิต

    เพื่อช่วยให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหนีได้และกลับไปช่วยอยุธยาได้ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง พระสุพรรณกัลยา ผู้ที่ทรงเจริญวัยและทรงสิริโฉมยิ่ง พระองค์ทรงบ่ายเบี่ยงปฎิเสธพระเจ้าหงสาวดีมาตลอดในเรื่องการถวายตัว แต่เพื่อช่วยพระนเรศวรพระพี่นางทรงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อถวายตัวเพื่อเป็นพระชายาพระเจ้าบุเรงนอง เพื่อทรงต่อรองกับพระเจ้าบุเรงนองไม่ให้ส่งทหารออกไปตามไล่ล่าสมเด็จพระนเรศวรระหว่างที่ทรงหลบหนีออกมา

    องค์หญิงนันทวดีทรงเจริญชันษาอยู่ในเวียงวังกรุงหงสาวดีพร้อมพระมารดาของพระองค์

    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกลับมาถึงพิษณุโลก ทรงเริ่มซ่องสมกำลังพลคนหนุ่มเพื่อเป็นกำลังของชาติได้พอสมควรแล้ว ทรงระลึกถึงพระราชธิดาพระองค์น้อยของพระองค์ จึงทรงรับสั่งให้พระญาติซึ่งเป็นทหารมีระดับคนหนึ่งข้ามชายแดนลักลอบเข้าไปเขตพระราชฐานเมืองหงสาวดีเพื่อพาองค์หญิงนันทวดีและพระชายาของพระองค์ออกมา

    ทหารคนนี้เคยไปเป็นเชลยศักดิ์ที่กรุงหงสาวดี ชื่อพระยาราชสงคราม ลูกเจ้าเมืองสวรรคโลก ด้วยความพระยาราชสงครามมีเชื้อสายเจ้าฝ่ายไทยที่ได้เคยเข้าไปวังหลวงหงสาวดีมาก่อน จึงรู้ทางเข้านอกออกในวัง

    เมื่อไปรับองค์หญิงพระองค์น้อยกลับเมืองพิษณุโลกนั้น องค์หญิงแก้วสุกันยาและองค์หญิงแก้วกัลยาทรงเห็นว่าพระองค์ไม่ควรจะเสด็จไปเมืองไทย แต่ยินยอมให้นำพระธิดาพระองค์เดียวของพระนางให้มากับพระยาราชสงครามนั้น และเมื่อข้ามชายแดนมาแล้วพระธิดาทรงปลอดภัย ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่พิษณุโลก

    กฏของวังหลวงหงสาวดีคือห้ามลักลอบออกจากวัง แต่องค์หญิงแก้วสุกันยาและองค์หญิงแก้วกัลยาทรงร่วมสมคบคิดให้ทหารไทยนำองค์หญิงนันทวดีลอบออกจากวังไว้ โทษคือตัดศีรษะ พระมารดาและพระน้านางขององค์หญิงนันทวดีทรงได้รับโทษประหารนี้ หลังจากองค์หญิงนันทวดีมาอยู่ในเขตไทยได้ไม่นาน

    เท่ากับองค์หญิงนันทวดีทรงกำพร้าแม่ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ๕ ชันษา
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434

    ใช่ค่ะ พี่จงรักภักดี

    ตอนแรกนึกว่าจะเล่าเรื่องนี้ได้ง่าย เล่าไปเล่ามายากเหมือนกัน ต้องประติดประต่อเรื่องที่ฟังมาจากพระอาจารย์พระมหาฤทธิชัย

    ป.ล.ทหารหญิงสมัยโบราณนั้นมีนะคะ แต่ทหารก็คือทหารส่วนใหญ่ร่างกายจะกำยำล่ำสันเพราะต้องจับดาบจับหอกเหมือนผู้ชาย ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่กลัวตายเหมือนผู้ชาย ที่ใครบอกว่าทหารหญิงเอวบางร่างน้อยนั้นเป็นแค่ในละคร เพราะเวลาออกศึกต้องปะทะด้วยข้าศึกที่เป็นผู้ชายและต้องยืนหยัดสู้เป็นชั่วโมงได้ รูปร่างต้องแกร่ง หญิงไทยโบราณอาสาไปรบเยอะ รบด้วยใจไม่รั้งตำแหน่งที่ตำแหน่งใด เพราะเจ้าพระยาและพระยาส่วนใหญ่เป็นยศทางทหารของผู้ชาย ที่จะต้องไปครองเมืองและต้องมีทายาทต่อไปจึงต้องเป็นผู้ชาย ยกเว้นเป็นครูดาบอยู่ในราชสำนักเป็นแม่ครูสอนการอาวุธให้กับพระราชบุตร คิดว่าเหมือนในหนังเกาหลี ที่ตอนฝึกเพลงดาบขณะที่พระโอรสยังพระเยาว์ก็ต้องฝีกกับครูผู้หญิงให้ได้ท่าทาง แต่ยังไม่ได้ฝึกด้านกำลัง เพราะมัดกล้ามเนื้อยังไม่เจริญวัย ต่อเมื่อพระโอรสทรงเจริญวัยขึ้นก็ฝึกด้านกำลังด้วยมักจะทรงฝึกกับครูดาบผู้ชายมากกว่า
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE id=threadslist class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY id=threadbits_forum_179><TR><TD id=td_threadtitle_184672 class=alt1 title="">[​IMG] [​IMG] ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (32 คน กำลังดูอยู่) ([​IMG] 1234567891011121314151617181920 ... หน้าสุดท้าย)
    [​IMG] จงรักภักดี


    </TD><TD class=alt2 title="จำนวนตอบ: 2,772, จำนวนอ่าน: 75,521">วันนี้ 04:07 PM


    </TD><TD class=alt1 align=middle>2,772</TD><TD class=alt2 align=middle>75,521</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในห้องงานบุญอื่นๆ แสดงคนเข้าชม 32 คน

    พอเข้ามาในกระทู้นี้เห็นเพียง 3 คน อีก 29 คนมาจากไหนหนอ

    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>ทางสายธาตุ*, นริศ </TD></TR></TBODY></TABLE>






    ทางสายธาตุแวะไปวัดปราสาทตอนบ่าย ได้ข่าวมาว่าท่านเจ้าอาวาสกำลังปรึกษากับกรมศิลปากรที่จะหล่อพระบรมรูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระองค์เท่าองค์จริง อยากเห็นเร็วๆจังเลย
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เล่าต่อ (อย่างย่อ)

    องค์หญิงนันทวดีมาอยู่ในวังพิษณุโลก แต่ด้วยความที่มีเชื้อสายพม่าในสายพระโลหิต ซึ่งติดขัดในข้อกฏมณเฑียรบาลบางอย่าง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงต้องให้พระองค์เป็นพระราชธิดาบุญธรรมแทน โดยให้ไปอยู่ในความดูแลของทหารคนหนึ่งให้ดูแลประดุจบิดาขององค์หญิง ทรงประทับระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพิษณุโลก ทรงชอบปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านออกนอกวังไปเที่ยวตลาดอยู่เนืองๆ บรรดาพี่เลี้ยงที่พาพระองค์ไปก็ได้ลงหวายกันอยู่เนืองๆเช่นกัน

    กระทั่งเจริญพระชันษาขึ้น นางสนมกรมนัยในเขตพระราชวังหลวงเริ่มซุบซิบกันว่า พระองค์หญิงกับนายทหารคนสนิทนั้น อาจจะมีความสัมพันธ์ทางใจกันมากกว่าความเป็นผู้ปกครองและธิดา ลือกันหนาหูจนต้องตั้งคณะกรรมการสืบสวน

    ทหารผู้นั้นก็ปฎิเสธตลอดแต่สุดท้ายได้หลุดปากไปประโยคหนึ่งที่ว่า หากทำความดีความชอบได้จนนั่งเมือง ก็คงจะมีเกียรติยศคู่ควรต่อพระราชธิดาได้ ประมาณนี้

    สมเด็จฯทรงพิโรธในคำตอบนี้มาก เพราะเท่ากับบังอาจยกตนขึ้นเป็นลูกเขยพระมหากษัตริย์ ทรงตรัสสั่งให้นำไปตัดหัวภายใน ๓ วัน

    องค์หญิงนันทวดีทรงเสียพระทัยเพราะเรื่องที่ลือกันนั้นไม่เป็นความจริง ทหารผู้ที่เลี้ยงและดูแลพระองค์อยู่ก็บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ทำให้ทรงตรอมพระทัยมาก ทรงไม่ยอมเสวยสิ่งใดๆ จนกระทั่งผ่ายผอมโทรมทรุด และสิ้นพระชนม์ในที่สุด ด้วยพระชนมายุ ๑๖ พรรษา

    พระอัฐิขององค์หญิงฝังไว้ที่เจดีย์องค์หนึ่งในวัดมเหยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา พระมหาฤทธิชัยบอกว่าจะขอไปเยี่ยมชมที่วัดนั้นสักครั้งหนึ่งก่อน จึงจะรู้ว่าเป็นเจดีย์องค์ไหน พระอาจารย์ยังบอกว่าดวงพระวิญญานขององค์หญิงแก้วสุกันยาก็ทรงมาอยู่ที่นี่ด้วยกันแล้ว

    (เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน)

    ป.ล. ปัจจุบันนี้ มีผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มาบวงสรวงต่อดวงพระวิญญาณขององค์หญิงนันทวดีที่วัดนี้แล้ว ที่จริงแล้วเรื่องนี้รู้กันมาในวงแคบๆในค่ายทหารที่ศูนย์การทหารลพบุรี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่ด้วยไม่มีใครเชื่อเพราะทุกคนในสังคมขณะนั้นมีความเชื่ออย่างแพร่หลายทั่วไปว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นมหาราชโสด ไม่มีพระมเหสี ไม่มีพระราชโอรส ไม่มีพระราชธิดา แต่ตอนนี้สังคมเริ่มได้รับข้อมูลต่างๆมากขึ้นแล้วในเรื่องนี้ ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของปวงไทยนั้นพระองค์ทรงมีทั้งพระอัครมเหสี พระมเหสี พระสนมหลายพระองค์ และ ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดา ในพระองค์เอง
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,922
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เรือจำลอง เรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]


    เรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย เป็นเรือกิ่ง พื้นดำ เป็นเรือทรงคู่กับเรือไกรสรมุขของพระอรรคมเหสี ถึงฤดูเดือน 11 เชิญลงน้ำแข่งเสี่ยงทาย ถ้าเรือศรีสมรรถชัยชนะจะเกิดภัยพิบัติ ถ้าแพ้จะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์​





    ป.ล. พี่ดอกไม้เล่าเรื่องดอยไตแลงให้ฟังบ้างซิคะ น้องคิดว่าพี่ดอกไม้เหมาะสมที่สุด

    ป.ล. 2 ทางสายธาตุจะไป ตปท ไม่ใช่ ปตท อิอิ หายหน้า 3 -4 วันนะคะ กลับมาคงไปเที่ยววัดที่อยุธยากับปราสาทนครหลวง มีแรงดูดมาให้ต้องไป ก็ไม่รู้ต้องทำอะไรเหมือนกัน ไปก็ไปค่ะ ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  19. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466

    หากท่านใดมีจิตศรัทธาประสงค์จะร่วมบริจาคสมทบทุนในการสร้างพระเจดีย์และพระบรมราชานุสาวรีย์ท่านสามารถเลือกได้ตามนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในเรื่องของไทใหญ่ ขอนำความเป็นมาของไทใหญ่หรือไตมาเล่าสู่กันฟังก่อน อนึ่งผู้โพสมิได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก หากผิดพลาดประการใด ขอเชิญท่านผู้รู้ได้ท้วงติงหรือแก้ไขด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

    <!-- centralNotice loads here -->
    <!-- /sitenotice --><!-- firstHeading -->ไทใหญ่

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->


    <!-- /jumpto --><!-- bodytext --><DL><DD>บทความนี้เกี่ยวกับบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐฉาน


    </DD></DL><TABLE style="TEXT-ALIGN: center; WIDTH: 22em; BACKGROUND: #f9f9f9; FONT-SIZE: 95%" class=infobox cellPadding=2><TBODY><TR><TH style="TEXT-ALIGN: center; BACKGROUND: #b08261; COLOR: #fee8ab; FONT-SIZE: larger">ไทใหญ่
    [​IMG] ไต๊

    </TH></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0.6em">[​IMG]</TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0.6em; LINE-HEIGHT: 11pt; BORDER-RIGHT-STYLE: none; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; BORDER-TOP-STYLE: none; FONT-SIZE: 95%; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0.3em"></TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND: #fee8ab">จำนวนประชากรทั้งหมด</TH></TR><TR><TD>ประมาณ 6 ล้านคน


    </TD></TR><TR><TH style="LINE-HEIGHT: 14pt; BACKGROUND: #fee8ab">ดินแดนที่ให้การรับรองชาติพันธุ์</TH></TR><TR><TD><TABLE style="TEXT-ALIGN: left; LINE-HEIGHT: 12pt; WIDTH: 100%; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; FONT-SIZE: 95%" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG] รัฐฉาน</TD><TD align=right></TD><TD style="PADDING-LEFT: 1em">[​IMG] รัฐคะฉิ่น</TD></TR><TR><TD>[​IMG] รัฐกะเหรี่ยง</TD><TD align=right></TD><TD style="PADDING-LEFT: 1em">[​IMG] เขตมัณฑะเลย์</TD></TR><TR><TD>[​IMG] ไทย</TD><TD align=right></TD><TD style="PADDING-LEFT: 1em">[​IMG] ประเทศจีน</TD></TR><TR><TD>[​IMG] กัมพูชา</TD><TD align=right></TD><TD style="PADDING-LEFT: 1em">[​IMG] เวียดนาม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND: #fee8ab">ภาษา</TH></TR><TR><TD>ภาษาไทใหญ่, คำเมือง, ภาษาพม่า และภาษาไทย</TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND: #fee8ab">ศาสนา</TH></TR><TR><TD>ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายกึงจอง ส่วนน้อยนับถือนิกายกึงโยน<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP></TD></TR></TBODY></TABLE>ไทใหญ่ หรือ ฉาน (ไทใหญ่: [​IMG] ไต๊, พม่า: ရ္ဟမ္‌းလူမ္ယုိး; IPA: [ʃán lùmjóʊ]; จีนตัวย่อ: 掸族; พินอิน: Shàn zú) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่าและบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนประเทศไทย-ประเทศพม่า คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไต (ตามสำเนียงไทย) พี่น้องไตในพม่ามีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และ ไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีคำเรียกไทใหญ่อีกอย่างว่า เงี้ยว แต่เป็นคำที่ไม่สุภาพในการเอ่ยถึงชาวไทใหญ่
    ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ
    เมืองหลวงของรัฐฉานคือ ตองยี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆมีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สีป้อ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก

    <TABLE id=toc class=toc sizset="0" sizcache="0"><TBODY sizset="0" sizcache="0"><TR sizset="0" sizcache="0"><TD sizset="0" sizcache="0">เนื้อหา

    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT> เชื้อชาติ



    ชาวไทใหญ่ทั้งหมดสามมารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
    1. 1. ชาวไทใหญ่ หรือไทหลวง(ไตโหลง)
    2. 2. ชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาของประเทศจีน และทางตะวันออกของรัฐฉาน
    3. 3. ชาวไทเขิน(ไตขึน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุง
    4. 4. ชาวไทเหนือ(ไตเหลอ) อาศัยอยู่ในแค้วนใต้คง(เต้อหง) ของประเทศจีน
    อิทธิพลของพม่า

    ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวสงคราม และประวัติศาสตร์ระยะใกล้ก็ถูกพม่ากดไว้ จนการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่เป็นเรื่องต้องห้ามตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง โดยไม่ยอมให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาบังคับ เมื่อพม่ากลับมามีอำนาจเหนือดินแดนรัฐฉานจึงสืบทอดเรื่องนี้ต่อไป <SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP> ชาวไทใหญ่ต้องเรียนภาษาพม่า เรียนทุกวิชาเป็นภาษาพม่า แม้ผู้ที่ไม่ได้โรงเรียน เข้าวัด แต่ระเบียบพิธี และพิธีกรรมต่างๆ เป็นแบบพม่า และใช้ภาษาพม่าทั้งหมด อิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่ายังเป็นสิ่งสืบเนื่องจากทางการเมืองอีกด้วย กล่าวคือเมื่อพม่าเป็นใหญ่ขึ้นมาก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ส่งลูกสาวและลูกชายไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชายเหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามาอย่างไม่รู้ตัว และนำกลับมาเผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เช่น เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูกผสมผสานกับคำไท ความเป็นพม่าจึงครอบกรอบสังคมไทใหญ่<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP>
    ภาษา

    แม้ภาษาไทใหญ่รัฐฉานที่อนุญาตให้สอนในอดีตนั้น ภาษาไทใหญ่เป็นเพียงวิชาเลือก มีการเรียนแต่ไม่มีการสอบ ถึงมีการสอบก็ไม่มีการเอาคะแนนไปสะสม<SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP>แต่ว่าไทใหญ่ก็จะเดือดร้อนมาก เพราะใช้ภาษาของตนเองไม่ได้เต็มที่ การเรียนหนังสือก็เรียนภาษาพม่าซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งไม่คล้ายคลึงกันมาก การเรียนรู้ให้ดีทั้งสองภาษาจึงเป็นไปได้ยาก และเพราะเหตุที่ชาวไทใหญ่ละเลยภาษาของตนเองมานานนี้เอง การดำรงความเป็นปึกแผ่นในชาติไทใหญ่จึงเป็นไปได้ยาก<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP> เจ้าขุนสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่ได้จำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทเหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า แต่งตัวเป็นพม่า จนกว่าจะไปถึงบ้าน จึงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขารักษาภาษา และวัฒนธรรมไทใหญ่ไว้ได้แค่ไหน<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6</SUP>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...