แนะนำพระดี มีพลังมหัศจรรย์ อาถรรพ์หนุนชีวิต อิทธิฤทธิ์มหาศาล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. 15 ค่ำ

    15 ค่ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,108
    ค่าพลัง:
    +10,575
    กำหนดทำบุญครบรอบวันมรณภาพ ๓๕ ปี

    หลวงปู่ทิม อิสริโก ณ วัดละหารไร่

    หมู่ 8 ตำบลหนองละลอก อำเภอ บ้านค่าย จังหวัดระยอง

    กำหนดการ
    วันเสาร์ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑)

    เวลา ๐๙.๓๙ น. ทำพิธีวางศิลาฤกษ์โรงเรียนปริยัติธรรมที่วัดละหารไร่
    เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแค่พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป
    เวลา ๑๓.๑๙ น. ทำพิธียกยอดฉัตร เจดีย์ภาวนภิรัติ หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม จังหวัดตราด นั่งบริกรรม ปลุกเสกเดี่ยว
    พระสงฆ์อนุโมทนา เสร็จพิธี

    หมายเหตุ:
    วัน ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๐๐ น. ทำพิธีบวชชีพราหมณ์ รวม ๓ วัน ๓ คืน ลาศิลวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๑๒.๐๐ น. เสร็จพิธี

    ขอเชิญศิษยานุศิษย์ผู้เคารพนับถือทั้งหลายเป็นเจ้าภาพร่วมกันผู้ใดร่วมเป็นเจ้าภาพวางศิลาฤกษ์ จะได้รับมอบขันน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใบ
     
  2. 15 ค่ำ

    15 ค่ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,108
    ค่าพลัง:
    +10,575
    เรียนเชิญศิษย์หลวงปู่ทิมทุกท่าน เข้าร่วมงานทำบุญครบรอบวันมรณภาพ ๓๕ ปี
    หลวงปู่ทิม อิสริโก ณ วัดละหารไร่

    หากใครพึ่งมาครั้งแรก และไม่ทราบเส้นทางไปวัดสามารถโทรสอบถามผมใด้ที่เบอร์086 838 2440 หรือหากใครมาโดยรถตู้หรือ รถทัวร์ และไม่มีรถเข้าไปที่วัดละหารไร่ ให้รวมตัวกันที่ห้างแหลมทอง เวลา10.00 และโทรแจ้ง ผมจะใด้ไปรับ ขอให้เดินทางปลอดภัยทุกท่าน .............................................
     
  3. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549
    สวัสดีครับพี่หนุ่มและพี่ๆทุกท่านครับ

    อดีต อนาคต ปัจจุบัน

    [​IMG]


    สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน
    เพราะเป็นสิ่งของที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำความผูกพัน
    และมั่นใจในสิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบัน...ก็เป็นไปมิได้
    ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป
    อนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
    อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน
    ปัจจุบันเท่านั้นที่จะสำเร็จเป็นประโยชน์ได้
    เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. namo_2009

    namo_2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,432
    ค่าพลัง:
    +10,228
    สวัสดียามเช้าของวันดีๆ ขอให้ทุกท่านมีโชคมีลาภ นะครับในวันของการลุ้น

    สวัสดีครับพี่นวล สบายดีนะครับผม วันนี้จะเดินทางไปวัด ลป ทิมกับพี่ๆ จะเก็บภาพมาฝากนะครับ
     
  5. มังกรน้อย101

    มังกรน้อย101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +4,390

    ขอบคุณครับพี่หนุ่ม แล้วผมจะจำ จำแล้วนำไปใช้ครับ (เรื่องที่พี่หนุ่มเล่าสนุกมากครับ)
     
  6. b_wanlop

    b_wanlop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +1,888
    ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
    สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์ พ้อง
    ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
    คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม

    (พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5)




    <CENTER>พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)พ.ศ.2411 – 2453</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER> พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประชาชาติไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช และพากันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์อยู่ในทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติ เมื่อปีฉลู วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396 ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 เมื่อพระชนม์ได้ 16 พรรษา ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 5 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 เมื่อพระชนมายุได้ 58 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 42 ปี
    ตลอดเวลา 42 ปี ที่สมเด็จพระปิยมหาราชได้เสวยราชสมบัตินั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระองค์นั้น เป็นระยะเวลาที่อารยธรรมสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ชาติไทย และเป็นพื้นฐานให้ชาติไทยได้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนถึงสมัยทุกวันนี้ ปัจจัยแห่งอารยธรรมสมัยใหม่ที่ได้ริเริ่มในรัชสมัยของพระองค์มี อาทิเช่น การประปา การไฟฟ้า การไปรษณีย์โทรเลข การรถไฟ การตัดถนนหนทาง การแพทย์ การสาธารณสุข การศาล การทหาร การจัดระบบการศึกษาแบบใหม่ การตั้งโรงพยาบาล และการจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบอย่างอารยประเทศ การเลิกทาส การจัดตั้งสภาเสนาบดี อันเป็นวิธีการของการปกครองอย่างระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราชนี้ ซึ่งแต่กาลสมัยก่อนนั้น เมืองไทยยังไม่มีปัจจัยแห่งอารยธรรมสมัยใหม่อันสำคัญดังกล่าวนี้ และประการสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการจัดส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งได้กลับมาเป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติมากที่สุด นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สำคัญพระองค์หนึ่งในประเทศประวัติศาสาสตร์ของชาติไทย ที่ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชาติไทยอย่างใหญ่หลวง

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 โปรดให้สถาปนาพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นนางเธอฯ ในต้นรัชกาลนั้น และเลื่อนเป็นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี เมื่อปี พ.ศ.2423 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ ครั้น พ.ศ.2437 สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ มกุฎราชกุมารพระองค์แรกในกรุงสยามซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 อันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เสด็จทิวงคต พระพุทธเจ้าหลวงปิยมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พระราชโอรสที่ประสูตแต่พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เลื่อนขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารแทน และโปรดเกล้าฯ ให้พระชนนีของมกุฎราชกุมารนั้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี

    สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 9 พระองค์คือ

    1. สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เป็นกรมพระเทพนารีรัตน์ ในรัชกาลที่ 6 ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2421 แต่พระองค์สิ้น
    พระชนม์แต่พระชันษา 9 ปี

    2. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ต่อ
    มาทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามลำดับ
    ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

    3. สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพชรรุตมธำรง ประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2424 สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาเพียง 7 พรรษา

    4. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เป็นกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นสกุลจักรพงษ์ ประสูติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2425 สิ้น
    พระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2463

    5. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกุกุธภัณฑ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2428 สิ้นพระชนม์แต่พระชันษา 3 ปี

    6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ

    7. สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ เป็นกรมหลวงนครราชสีมา ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2432 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่
    9 กุมภาพันธ์ 2467

    8. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เป็นกรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ประสูติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2435 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่
    8 กรกฎาคม 2466

    9. สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ เป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2436 และเสด็จเถลิง
    ถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 7

    สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ในรัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิม “สว่างวัฒนา” ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 8 พระองค์คือ

    1.สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิรุณหิศฯสมเด็จพระบรมราชโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน
    พ.ศ.2421 สวรรคตเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2432 พระชนมายุได้ 16 พรรษาเศษ

    2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายอิศริยาภรณ์ ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2428 มีพระชนมายุได้เพียง 21 วัน ก็สิ้นพระชนม์

    3. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2424 มีพระชนมายุได้ 3 เดือน กับ 24 วัน
    ก็สิ้นพระชนม์

    4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2425 สิ้นพระชนม์เมื่อ
    วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2442 มีพระชนม์มายุได้ 17 พรรษา

    5. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2427 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 มีพระชนม์มายุได้ 54 พรรษาเศษ

    6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ ประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2431 สิ้นพระชนมเมื่อพระชนม์มายุได้ 9 พรรษา

    7. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2434 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่
    24 กันยายน พ.ศ.2470 เมื่อมีพระชนมายุได้ 37 พรรษา นับว่าพระองค์มีพระบุญญาธิการอันยิ่งใหญ่ที่พระโอรสได้เสด็จ
    เถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และต่อมาในรัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิม
    พระนามาภิไธย สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทรว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศธ์อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    และประกาศเฉลิมพรนามาภิไธย สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลว่า “สมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี”

    8. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงประสูติได้ 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์

    ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ นี้ เป็นระยะเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกได้แผ่อำนาจมาทางเอเซียอาคเนีย์ หลายประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกแต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระปิยมหาราช พระองค์ได้ทรงยอมเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสถึง 5 ครั้ง และแก่อังกฤษ 1 ครั้ง เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติเอาไว้ ดังนี้

    การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสในช่วงแรก พ.ศ.2410 – 2436 (ค.ศ.1867 – 1893)

    ครั้งที่ 1 เสียเขมรส่วนนอก พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867)
    ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไทย พ.ศ.2431 (ค.ศ.1888)
    ครั้งที่ 3 เสียหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าและหัวเมืองกระเหรี่ยงตะวันออก พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892)
    ครั้งที่ 4 เสียดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893)

    การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษในช่วงหลัง พ.ศ.2446 – 2452 (ค.ศ.1904-1909) ดังนี้

    ครั้งที่ 1 เสียฝั่งขวาของแม่น้ำโขง : มโนไพร จำปาศักดิ์ และหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส พ.ศ2446 (ค.ศ.1904)
    ครั้งที่ 2 เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907)
    ครั้งที่ 3 เสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และประลิศให้อังกฤษ พ.ศ.2452 คิดเป็นเนื้อที่ ๆ เสียดินแดนไปประมาณ 518,700 ตารางกิโลเมตร


    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ


    การปฎิรูปการปกครองของไทย

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฎิรูปการปกครองของประเทศไทย จากแผนโบราณมายังแผนอารยใหม่ทั้งหมด การที่พระองค์ทรงปฎิรูปการปกครองแบบแผนใหม่นี้ ก็เนื่องมาจากมูลเหตุบางประการคือ
    มูลเหตุจากปัญหาภายนอกประเทศ คือในช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่รอบประเทศของเราในคาบสมุทรอินโดจีน ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของประเทศมหาอำนาจตะวันตกคือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ
    มูลเหตุจากภายในประเทศ ประเทศไทยเรายังใช้ระบบแผนโบราณมาปกครองประเทศ ทำให้การบริหารงานปกครองแผ่นดินอืดอาดล่าช้า


    ก่อนการปฎิรูประเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ พ.ศ.2435 นั้น ดินแดนที่ไทยเราปกครองอยู่แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ดินแดนที่เป็นของดั้งเดิมของไทย หรือดินแดนชั้นใน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ หัวเมืองชั้นใน อันเป็นที่ตั้งราชธานีคือ กรุงเทพฯ หัวเมืองชั้นในนั้นต้องอยู่ภายในระยะที่จะติดต่อกันได้ภายใน 2 วัน กับหัวเมืองชั้นนอก ดินแดนใหม่ที่ได้ผนวกเข้ามาคือ เมืองประเทศราชนั่นเอง
    • หัวเมืองชั้นในได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขัน์ กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สมุทรสาคม นครสวรรค์ ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
    • หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่ถัดออกไปจากหัวเมืองชั้นในทั้งหมด แบ่งออกเป็นเมืองพระยามหานคร ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอก โท ตรี
    ก่อนที่จะมีการปฎิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบการปกครองในสมัยก่อนได้มีเสนาบดี ตำแหน่งสูงสุด 3 ตำแหน่งคือ
    1. สมุหนายก
    2. สมุหกลาโหม
    3. พระยาโกษาธิบดี
    ในทางทฤษฎีนั้น อำนาจของเจ้าเมืองอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่พระราชกำหนดบัญญัติไว้ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว อำนาจของเจ้าเมืองมีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าเมืองที่อยู่ไกล ๆ ราชธานีออกไป และความสวามิภักดิ์ต่องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งปกครองราชธานีก็มีเพียงแต่ผิวเผินเท่านั้น การปกครองบังคับบัญชาตลอดจนการปฎิบัติหน้าที่ของข้าแผ่นดินก็ปฎิบัติกันในรูปแบบหรือใช้ลัทธิเจ้าขุนมูลนาย เกิดช่องว่างกันมากระหว่างข้าราชการกับราษฎร
    ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นความบกพร่องของการจัดระเบียบและการวางนโยบายการปกครองประเทศหลาย ๆ ด้าน และประกอบทั้งอารยธรรมของตะวันตกก็ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศ พระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการปกครองในส่วนกลาง ซึ่งเวลานั้นมีเพียง 6 กระทรวง และเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงเพิ่มขึ้นอีก 4 กระทรวง เป็น 10 กระทรวง


    การออกพระราชบัญญัติเลิกทาส

    [​IMG]
    ในบรรดางานทั้งหลายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ปลดเปลื้องทุกข์ยากของประชาราษฎร์ เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ประชาชนชาวเราทั้งหลายถวายพระนามสัญญาว่า “ปิยมหาราช” นั้น งานเลิกทาสดูเหมือนจะนำหน้างานใด ๆ ทั้งสิ้น

    งานขั้นต้นของการเลิกทาสได้เริ่มจริงจังขึ้นใน ปี พ.ศ.2417 โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชปรารถในที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เรื่องจะลดเกษียณอายุค่าตัวลูกทาส และจะให้บิดามารดาขายลูกได้ แต่ตามเกษียณอายุ ซึ่งจะตั้งขึ้นใหม่ ห้ามมิให้พ่อแม่ขายลูกเป็นเงินแพงกว่าที่กำหนดไว้ โดยกำหนดค่าตัวทาสไว้อย่างแน่นอนคือ ถ้าเป็นชายให้มีค่าตัว 8 ตำลึง ถ้าเป็นหญิงให้มีค่าตัวเต็ม 7 ตำลึง และเมื่ออายุครบ 21 ปี ให้ขาดจากการเป็นทาสทั้งหญิงและชาย
    ในที่สุด พระราชบัญญัติที่แท้จริงทั่วพระราชอาณาจักร คือ มีพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ ศก 124 (พ.ศ.2448) ในพระราชบัญญัติฉบับนี้เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาสไม่เป็นลูกทาสอีกต่อไป นับแต่วันออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ ห้ามการขายตัวลงเป็นทาส การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผุ้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว นายเงินต้องลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด ถ้ามีการโยกย้ายเปลี่ยนนายก็มิให้เพิ่มค่าตัวขึ้น
    ต่อมาอีก 3 ปี เมื่อได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาใน พ.ศ.2451 ก็มีบทบัญญัติวางโทษผู้ซื้อขายทาสเท่ากับโจรปล้นทรัพย์ คือ มีโทษจำคุกถึง 7 ปี


    การปราบปราบพวกฮ่อ

    เหตุการณ์ในสมัยของพระองค์ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การปราบฮ่อ ซึ่งพวกฮ่อนี้ก็คือคนจีนนั่นเอง แต่ชาวไทยทางเหนือเรียกว่า “ฮ่อ” ซึ่งจีนพวกนี้ได้ตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า “คณะไต้เพ็ง” ได้ก่อการกบฏจะทำลายราชวงศ์แมนจู แต่กองทัพหลวงจีนได้ทำการปราบปราม พวกไต้เพ็งสุ้ไม่ได้จึงหนีถอยลงมาทางทิศใต้ มาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำในแถบเมืองพวน เมื่อ พ.ศ.2417 แล้วเตรียมจะเข้าตีเมืองหลวงพระบาง ฝ่ายเจ้าเมืองหลวงพระบางกับกรมการเมืองหนองคาย จึงได้ส่งใบบอกมายังกรุงเทพฯ สมเด็จพระปิยมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองทัพออกไปทำการปราบปราม


    การทำนุบำรุงการทหาร

    การทหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติ จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้จัดการทหารตามแบบแผน และฝึกหัดยุทธวินัยของชาติยุโรปที่เจริญแล้ว พระองค์ได้จัดส่งพระราชโอรสออกไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรปเพื่อนำเอาความรู้เข้ามาใช้ในประเทศของเรา พระองค์ได้ทรงประกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการทหารบก และ ทหารเรือขึ้นใน พ.ศ.2430 ได้ตราพระราชบัญญัติจัดการทหารต่อมาใน พ.ศ.2437 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้น และได้ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารขึ้นใน พ.ศ.2448 เพื่อให้จัดการฝึกหัดอบรมวิชาการทหาร สำหรับป้องกันประเทศซึ่งได้ชั้ตลอดจนถึงสมัยปัจจุบันนี้

    นอกจากนี้ สมเด็จพระปิยมหาราช ยังได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันสำคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น การรถไฟและส่งเสริมการคมนาคม การจัดระเบียบการเก็บภาษีอากร การตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร การโทรเลขและการเสื่อสาร การทำนุบำรุงการศึกษา การก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภาพอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนี้ก็มีการตัดถนน สร้างถนนหนทาง สร้างสะพานข้ามคลอง การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การปฎิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ
    ตามที่กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่อารยธรรมสมัยใหม่เหมือนอารยประเทศได้เริ่มขึ้นในสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราชนี้ และโดยที่พระองค์ได้ทรงรักใคร่เป็นห่วงในทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์ยิ่งนัก ฉะนั้น แม้พระองค์จะเสด็จสวรรคตไปนานแล้ว แต่ประชาติไทยก็ยังคงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่อย่างไม่มีวันจืดจากมิเสื่อมคลายและยอ่มจะต้องน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อยู่ต่อไปตลอดกาลนาน......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2010
  7. มังกรน้อย101

    มังกรน้อย101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,376
    ค่าพลัง:
    +4,390

    อ้าววว!!....น้องชาย...O_O"...^O^"...^__^"...
     
  8. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549

    ขอให้เดินทางปลอดภัยนะครับ ขออนุโมทนาบุญครับพี่
     
  9. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205
    ธรรมะไม่กลับมาโลกาจะวินาศ

    โดย สุชาย จอกแก้ว ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓
    <O:pคนไทยทุกคนล้วนรู้สึกผิดหวัง...เสียใจ...ผิดหวัง...เสียใจ...เศร้าใจ...ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่คนไทยทั้งประเทศ ผู้ปฏิบัติธรรมต่างก็ต้องแผ่เมตตากันว่า จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย<O:p
    ฆ่ากันทำไม...ทำร้ายกันทำไม...เผาบ้านเผาเมืองกันเองทำไม...โกรธเคืองกันมาแต่ชาติปางไหน เคยถามตนเองบ้างไหมว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า... เป็นชาวพุทธซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานหรือเปล่า หรือว่าไม่มีศาสนา สยามเมืองยิ้มหรือสยามเมืองเศร้า คำว่าบาป บุญ นรก สวรรค์ ความละอายแก่ใจ ความเกรงกลัวต่อบาป ความรู้สำนึกดี ชั่ว ยังมีอยู่ในจิตใจของมนุษย์หรือไม่ นี่คือคำถามคำปรารภคำปรับทุกข์ของคนไทยสายเลือดไทยทั่วทั้งแผ่นดิน <O:p
    หากมองย้อนอดีต สมัยกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองเราก็เคยถูกเผาวอดวายไปทั้งเมืองมาแล้ว โดยคนไทยกันเองนั่นแหละที่ไม่รักสามัคคีและกลับช่วยต่างชาติเผาบ้านเมืองตนเอง และมาในยุคนี้สมัยนี้คนไทยก็กลับมาเผาบ้านเผาเมืองตนเองอีกเช่นเคย ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อเตือนสติสอนใจ เตือนความทรงจำ มิใช่มีไว้เพื่อซ้ำรอยเดิม<O:p
    ทำไมคนจึงไม่มีธรรมะ ไม่มีคุณธรรม ไม่มีจริยธรรม ไม่มีศีลธรรม สังคมไทยเสื่อมทรามถอยจมลงไปขนาดนั้นเชียวหรือ <O:p
    หากมองถึงสภาพของปัญหา ก็หนีไม่พ้นปัญหาทางการเมือง...การเมืองไทยมีปัญหา...ปัญหาอยู่ที่ระบบระบอบประชาธิปไตย หรือว่าอยู่ที่คน คำตอบ ปัญหาอยู่ที่คนแน่นอน แต่ก็มิใช่คำตอบสุดท้าย ยังมีปัญหาอื่นอีกหลายอย่างหลายปัจจัยหลายบริบทที่กำลังดำรงอยู่ อาทิเช่น <O:p
    ๑. ปัญหาครอบครัว พ่อแม่แตกแยก ลูกไม่เคารพเชื่อฟังพ่อแม่เพราะพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูกเพราะมัวแต่ดิ้นรนเลี้ยงปากท้อง ปล่อยให้ทีวี เกมส์ เลี้ยงลูกแทน<O:p
    ๒. ปัญหาการศึกษา ก็เน้นแต่ระบบแข่งขันใครเก่งกว่ากัน ไม่ได้เน้นคุณธรรมนำการศึกษา อิงทุนและระบบอุปถัมภ์กันอยู่เสมอ<O:p
    ๓. ปัญหาเศรษฐกิจ กระจายงบกระจายรายได้ไม่ทั่วถึงกัน รวยกระจุก จนกระจาย รวยเอาไปก่อน จนไว้ทีหลัง รวย ๆ ล้นฟ้า จน ๆ ติดดิน มีอำนาจก็กุมประโยชน์แต่กลุ่มตน ไม่ย่อมแบ่งปัน ถึงแบ่งปันก็แบ่งปันไม่ทั่วถึงไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค<O:p
    ๔. ปัญหาสังคม เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น แข่งขันกันสูง มือใครยาวสาวได้สาวเอา แหล่งอบายมุขมีเพียบ ยาเสพติดล้นเมือง วัดส่วนใหญ่มีไว้เพื่อประกอบพิธีกรรม เร่งสร้างแต่วัตถุ เสกของขลัง แต่กลับไม่พัฒนาจิตใจคนให้เข้าถึงธรรมะอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนคนก็กลับไม่ยอมเอาธรรมะมาใส่ใว้ในจิตใจ แต่กลับมือถือสากปากถือศีล <O:p
    ๕. ปัญหาสื่อโดยเฉพาะสื่อวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม อินเตอร์เน็ต เดี๋ยวนี้เรามีสื่อที่เน้นเสรีมากจนเกินไป อิสระจนเกินขอบเขตและควบคุมไม่ได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันสื่อถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีกันทางการเมืองเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องควบคุมสื่อเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศ สื่อจำเป็นที่จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง <O:p
    ๖. ปัญหาข้าราชการ เกิดปัญหาทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ที่ไม่เป็นกลางทางการเมือง เกิดความคิดเห็นแตกแยกแบ่งฝ่าย แยกพวก พวกตนได้รับการดูแล ไม่ห้ามปราม ไม่ดำเนินการ ส่วนพวกอื่นปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม โดยเฉพาะตำรวจ ทหาร นักการเมือง ถูกกล่าวหาว่าแตกแยกกันอย่างนัก โดยลืมนึกถึงว่า ทุกท่านทุกหน่วยงานต่างเป็นข้าฯ แผ่นดิน ต่างเป็นข้าราชการของแผ่นดิน ต่างต้องรับใช้พี่น้องประชาชนชาวไทยด้วยกันหมดทั้งสิ้น <O:p
    ๗. ปัญหาการเมือง เน้นระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรม ใครเลือกฉัน ก็จะได้รับการดูแลก่อน ใครให้ทุนให้เงินฉัน ก็ต้องได้รับผลตอบแทนก่อน ใครเอาใจฉัน ตอบสนองนโยบายฉัน ก็จะได้รับการดูแลจัดสรรผลประโยชน์จัดสรรตำแหน่งให้ก่อน มิได้เป็นไปตามนโยบายที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค มิได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง การเมืองควรเป็นเรื่องในสภา แต่กลับต่อสู้กันนอกสภา การเมืองเป็นเรื่องของส่วนรวม แต่กลับเห็นแก่ตัว และประโยชน์ของพรรคพวก พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองของฝ่ายตนโดยแท้ ซึ่งเมื่อฝ่ายตนพ่ายแพ้ เสียประโยชน์ เสียอำนาจ ก็กลับตีโพยตีพาย อ้างเหตุต่าง ๆ นา ๆ เพื่อให้ฝ่ายตนมีความชอบธรรมที่จะต่อสู้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยการใช้ประชาชนตาดำดำเป็นเหยื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง อ้างประชาธิปไตยบังหน้า อ้างอุดมการณ์เลื่อนลอย และปกปิดความจริงความไม่ดีของตนเองเสีย ทำผิดไม่ยอมรับผิด กลับโทษว่าโดนกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม สองมาตรฐาน ทั้ง ๆ ที่อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเดียวกัน)<O:p
    ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ ท่านทั้งหลาย ต่างได้พบเห็นกันเป็นที่ประจักษ์ชัดในแต่ละท่านอยู่แล้ว<O:p
    ตราบใดที่เราทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่ คนไทย สายเลือดไทย ประเทศไทย และโลกของเรายังอยู่ ปัญหาทั้งหลายย่อมมีทางออก ย่อมมีทางแก้เสมอ ถ้าเราไม่รักตนเอง ไม่รักครอบครัว ไม่รักเพื่อนร่วมชาติ ไม่รักสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไม่รักประเทศไทยของเราเองแล้ว เราจะไปเรียกหาความรักจากใครไหนเล่า (ขณะนี้บางท่านถึงกับปรารภว่า อายประเทศเขมร ลาว พม่า เพื่อนบ้านเราจริง ๆ)<O:p
    ทางแก้ปัญหาที่จีรังยั่งยืนและเที่ยงแท้แน่นอนถาวร นั่นก็คือ ธรรมะ (dharma) ต้องมีธรรมะ คนต้องมีธรรมะ คนต้องมีศีลธรรม คนต้องมีคุณธรรม คนต้องมีจริยธรรมนำจิตใจ กำกับจิตใจ ควบคุมจิตใจ สามารถควบคุมกิเลส ๓ กองใหญ่นี้ได้ อันได้แก่ ความโลภ (ไม่รู้จักพอ) ความโกรธ (อาฆาตมาดร้าย พยาบาท) ความหลง (เชื่องาย งมงาย หูเบา ไม่รู้จริง) หากคนเราสามารถ ลด ละ เลิก กิเลส สามตัวนี้ได้ ชาวพุทธเราถือว่าท่านเข้าถึงธรรม ดวงตาเห็นธรรมในเบื้องต้นแล้ว โลกเราบ้านเมืองเราก็สงบน่าอยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรขัดเกลาจิตใจคนตั้งแต่เด็ก ทุกเพศทุกวัย ต้องมีคุณธรรมกำกับจิตใจ การศึกษาทุกระดับต้องมีเกณฑ์วัดคุณธรรมเป็นอันดับหนึ่ง การเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ต้องเน้นการวัดคนที่คุณธรรมเป็นอันดับหนึ่งมิใช่เน้นแต่คะแนนสอบแข่งขันเป็นอันดับหนึ่ง เพราะคนเก่งมิใช่คนมีคุณธรรมเสมอไป ในระหว่างทำงานปฎิบัติงานของแต่ละหน่วยงานไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ต้องมีหลักสูตรอบรมคุณธรรมและจริยธรรมอยู่เสมอ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย ต้องวัดกันที่คุณธรรมและความสามารถมิใช่ยึดแต่ระบบอุปถัมภ์ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ วัฒนธรรม ศาสนา หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการกุศลสาธารณะ ต้องร่วมด้วยช่วยกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมะสม่ำเสมอ มิใช่ต่างคนต่างทำ วัดแต่ละวัดควรมีบริเวณสถานที่สำหรับประชาชนคนทั่วไปได้เข้าไปปฏิบัติธรรมอบรมพัตนาจิตใจ โรงเรียนแต่ละโรงเรียน มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย ควรมีการจัดสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ควรมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรม สรุปง่าย ๆ ต้องเอาธรรมะนำจิตใจ นำสังคม นำเศรษฐกิจ นำการเมือง ต้องมีหลัก
    ธรรมาภิบาล(good governance) (ลองระลึกถึงซิว่า ทำไมในอดีต คนชอบเข้าวัดอยู่ใกล้วัด แต่ทำไมทุกวันนี้ คนห่างวัด และกลับเข้าแต่ห้าง) และสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการมีธรรมะก็คือ ทำอย่างไรคนไทยจึงจะมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อส่วนรวม ข้าราชการต้องรับผิดชอบต่อบ้านเมืองต่อประชาชน นักการเมืองต้องรับผิดชอบต่อประชาชนส่วนรวมและประเทศชาติ เป็นปัญหาที่เราทุกคนต้องช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขปัญหากันต่อไป ตราบชั่วฟ้าดินสลาย <O:p
    แต่ ณ เพลาเวลานี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ช่วยกันนำธรรมะกลับมาสู่จิตใจของคนไทยทุกคน ให้รู้จักบาป บุญคุณโทษ รู้จักสำนึกชั่ว ดี รู้จักละอายแก่ใจต่อการทำชั่ว และเกรงกลัวต่อการทำบาป รู้จักใช้หลักเหตุ ผล ตามหลักกฎหมายและหลักธรรมะ และปัญหาที่ต้องช่วยกันคิดหาเหตุผลกัน พูดคุยกันด้วยเหตุผล ก็คือ อำนาจและผลประโยชน์เป็นเรื่องความโหดร้าย การเมืองเป็นเรื่องกิเลสตัณหา จริงหรือไม่ ประชาธิปไตยแท้จริงมันคืออะไรกันแน่ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการแค่เพียงกินดีอยู่ดี ไม่มีภยันตรายใด ๆ มากล้ำกรายมาเบียดเบียนมิใช่หรือ...? โลโก ปัตถัมภิกา เมตตา เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ความรักเป็นเครื่องค้ำจุนโลก เมื่อความรักมาโอ้มอุ้มโลก ความเศร้าโศกย่อมมลายสิ้น หากความรักมาดับดิ้น ทั่วทั้งธรณินคงอับเฉาเหงาใจตาย./
    ที่มา....http://suchai.212cafe.com/archive/<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2010
  10. b_wanlop

    b_wanlop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +1,888
    การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453





    <HR>
    ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475


    สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5
    1.สภาพการณ์ทางด้านการเมือง

    การเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
    สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น

    ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น
    สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก

    นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410

    2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
    ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง

    การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา

    3.สภาพการณ์ทางด้านสังคม
    สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย

    1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้

    1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น

    2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

    3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา

    คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์

    2. พระบรมวงศานุวงศ์
    พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น

    3. ขุนนาง
    บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
    สิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้

    1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย

    2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทนด้วย

    3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย

    4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว

    5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก

    6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้
    4. ไพร่

    คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ

    1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง

    2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส

    3.5 ทาส
    ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ

    1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
    2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
    3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
    4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
    5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
    6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
    7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม

    สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น
    จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้

    1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง
    2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ
    3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ
    4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วย

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คน

    ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจ

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น

    4.การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

    1.การยกเลิกระบบไพร่

    1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก

    1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
    รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย
    ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
    พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ
    พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
    พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย

    1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ

    1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น

    2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

    2. การเลิกทาส

    2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้

    1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย

    2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้

    3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว

    4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

    5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย

    2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
    การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป

    2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

    (1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม

    (2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411

    (3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5

    (4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย

    (5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย

    พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้

    3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443
    พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป

    4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
    พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส

    5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
    พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ

    (1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก

    (2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย
    จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

    2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส

    1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน

    2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น



    <HR>

    ที่มา http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Pa-tirup-Social.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2010
  11. gungwan

    gungwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +1,188
    อนุโมทนาบุญครับพี่เดชา กับเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงพ่อจรัลและวัดอัมพวัน ทำให้นึกถึงบ้าน
    วัดอัมพวันอยู่ใต้บ้านผมไปประมาณ 5 กิโล ไปวัดโฆสิตาราม 40 กิโล พี่เดชาครับผมเคยอ่านเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งจำไม่ได้ว่าที่ใหน มีหลวงปู่องค์หนึ่งท่านได้บอกกับศิษย์ให้รีบไปทำบุญกับหลวงพ่อซะไม่ปลายปีนี้ก็ปีหน้าท่านจะละสังขารแล้ว และมีหลวงพ่อจรัลองค์เดียวที่สามารถติดต่อกับเจ้ากรรมนายเวรของทุกคนได้ เรื่องที่ทำงานผมอยู่ศูนย์ฝึกอบรมครับ ก่อนถึงโรงไฟฟ้า แต่ก็เป็นหน่วยงานของ กฟผ. ถ้าพี่เดชามาแอ่วเหนืออย่าลืมโทรมานะครับมีที่พักรับรองอย่างดีหรือจะมาจัดสัมมนา อบรม ก็ได้เพราะหน่วยงานผมมีบริการ ซึ่งทุกวันนี้ก็มีหน่วยงานจากภายนอกมาใช้บริการกันมาก เดือนหน้าก็จะเป็นงานท่องเที่ยวของแม่เมาะคือทุ่งบัวตองซึ่งจะบานในเดือนพฤศจิกายนนี้ อยู่ในเหมืองแม่เมาะ พาครอบครัวมาเที่ยวซิครับไม่ต้องไปถึงแม่ฮ่องสอน แต่ต้องแจ้งผมล่วงหน้านะจะได้จองห้องพักไว้ให้
     
  12. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205

    เดินทางปลอดภัยค่ะ น้องอารท์......พี่ยังไม่เคยไปเลยค่ะ.....
    หากมีโอกาสจะไปกราบลป.ทิมสักครั้ง.........................
     
  13. พุทธิวงษ์

    พุทธิวงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,200
    ค่าพลัง:
    +7,879
    พี่นวลแล้วพี่นวลเอาถุงยาของพี่ไปด้วยมัยครับ...............อิๆๆ.....พี่นวลเป็นผู้หญิงที่อบอุ่นจริงๆนะครับ [​IMG]
     
  14. CheKuvara

    CheKuvara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,460
    ค่าพลัง:
    +19,342
    ปีก่อนผมไปเผาญาติกันที่ลำปาง แกทำงานอยู่กับ กฟผ อยู่หน่วยบริการนี่แหละครับถ้าจำไม่ผิด เป็นผู้หญิงและเป็นมะเร็งตายฉับพลัน ลูกก็ยังเีรียนอยู่เลย ตอนไปเผาดูแล้วทาง กฟผ เค้ารักกันมากครับมาช่วยงานเป็นอย่างดี นอกจากแอบมองสาวๆ กฟผ แล้วผมสังเกตุพิธีกร เป็นพิธีกรได้ยอดเยี่ยมมากเลย ทั้งการพูดการกำหนดพิธี และการเตรียมตัวมีกลอนหลายๆอย่าง พอตอนทอดผ้าเค้าประกาศตำแหน่งให้ทราบ ที่แท้พี่เค้าเป็นวิศวกรแต่ทำหน้าที่พิธีกรได้อย่างยอดเยี่ยม ผมมองลึกลงไปในหัวคิดว่้านอกจากพรสวรรค์ของแต่ละคนแล้ว การให้ความรู้จากหน่วยงานในการฝึกคนได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ พูดไปพูดมาก็คืออยากบอกว่าหน่วยงานวิสาหกิจเค้าให้ความสำคัญในเรื่อง HRD จริงๆ คนละทางเลยกับที่ผมอยู่ ส่วนใหญ่อบรมผลาญงบประมาณ
     
  15. อุดมเดช

    อุดมเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +2,710
    วันนี้ที่วัดละหารไร่ทำบุญให้หลวงปู่ทิมในวาระครบรอบวันมรณภาพ ไม่รู้ว่าลูกศิษย์ที่ครอบครูทั้งหลายจะไปครบทุกคนหรือเปล่า วงแตกกันหมดแล้วตอนนี้เพราะเงินตัวเดียวแท้ๆ แต่ยังเป็นมหากาพย์อยู่แน่นอนสำหรับเรื่องราวแต่หนหลังที่วัดละหารไร่ ตราบใดที่ยังมีการปกปิดข้อมูลจริงไว้แบบนี้ คนที่เช่าหาสะสมก็ควรยั้งๆคิดมากๆหน่อย เงินแท้ๆอย่าไปทิ้งเสียหมด ชอบชิ้นใหนต้องมีข้อมูลดิบของรุ่นนั้นด้วยจึงจะรอดปากเหยี่ยว ระวังพระ ลพ.เสริม ลพ.เหมือนและ ลพ.คล้าย ไว้บ้างก็ดี

    พระเนื้อผงของหลวงปู่ทิมที่น่าใช้มากและดีแน่ๆไม่แพ้พระขุนแผน ลองดูพระสมเด็จชินบัญชรที่ท่านให้สร้างเองและแจกฟรีในงานเททองพระกริ่งชินบัญชร ที่เรียกกันว่า สมเด็จหลังยันต์แดง ใส่ผงพรายไม่น้อยและเจตนาดี มีประสบการณ์มากมาย ต่อไปราคาแพงกระฉูดแน่ ถือได้ว่าเป็นพระผงที่จะไล่ตามพระขุนแผนของท่านได้เลย หากชอบพระแนวขุนแผนลองดูพระพิมพ์หัวเล็กที่ชัดเจนในประวัติและแม่พิมพ์ ไม่มีเสริมไม่มียัดแบบขุนแผน ถ้าใช่ก็คือแท้
     
  16. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,205

    รู้ได้งั้ยค่ะ.......พี่จะไปปรึกษาหมอเหมือนกันค่ะโรคนอนไม่หลับ............
    โรคติดกระทู้พี่หนุ่ม....เข้ามาฟังเรื่องเล่า...บทความดีดี....ข้อมูลที่แฝงด้วยธรรมะ.....และข้อมูลที่ทุกท่านร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน...คอลัมภ์แซว....
    แลกเปลี่ยนที่พี่น้องมีให้กัน......ฯลฯ....
     
  17. อุดมเดช

    อุดมเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +2,710
    ที่ระยองสมัยก่อนนั้น พระที่ดังที่สุดคือ ลพ.โต วัดเขาชากโดนหรือวัดเขาบ่อทอง อยู่ที่อำเภอแกลงบ้านคุณหนุ่มนั่นแหละ ท่านดังมากที่สุดในแถบหัวเมืองชายทะเลรองมาจาก ลพ.อี๋ สัตหีบ คนรุ่นเก่าๆรู้จักกันดี เหรียญรุ่นแรกของท่านเจ๋งมากทางแคล้วคลาด เมตตาค้าขาย รูปหล่อของท่านมีหลายรุ่นสุดๆทางคงกะพัน ทหารเรือขึ้นกันมากหลังจากสิ้น ลพ.อี๋ สัตหีบไปแล้ว พระกริ่งของท่านดีทางทำมาหากินไม่น้อยหน้าของวัดสุทัศน์ ใครมีไว้ลองเอามาแขวนดูสักเดือนก็รู้ผล

    ในแถบจันทบุรี ยังมี ลพ.ผุด วัดวังเวียนที่ดีเด่นทางเมตตามาก น้องๆของ ลพ.แก้ว วัดเครือวัลย์ทีเดียว ยังหาได้ตอนนี้แต่ต่อไปจะเหลือแต่ชื่อเท่านั้นและเป็นตำนานต่อไปอีกอย่างหนึ่งของพระดีเมืองจันทบุรี พระแบบนี้ดีจริง ดังเพราะประสบการณ์จริงๆไม่ต้องเขียนเชียร์ดัน เรื่องมหานิยมแล้วเชื่อถือได้เลย

    การเชียร์หลวงพ่อต่างๆในหนังสือพระหรือในเวปพระเครื่องทำได้ง่ายๆ คนรู้เรื่องเบื้องหลังมีน้อย แต่คนไม่รู้มีมากมายกว่าหลายเท่า คิดเป็นสัดส่วน1 ต่อ 10 เงินยังหอมหวานสำหรับคนพวกนี้เสมอจึงทำได้ทุกอย่างเพื่อเงิน หากจะหาแบบที่เอามาแขวนคอจริงๆ ลองดูเบื้องหน้าเบื้องหลังการสร้างด้วยก็จะดีไม่น้อย
     
  18. พุทธิวงษ์

    พุทธิวงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,200
    ค่าพลัง:
    +7,879
    นั่งจับยามสองตา...ที่หน้าหมู่บ้านมาน่ะครับ.......จับนานไม่ได้เขามองหน้าก็เลยแกล้งถามทางและเดินหนีน่ะครับ....[​IMG]
     
  19. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    ครบรอบ 35 ปี วันมรณะภาพ หลวงปุ่ทิม วัดละหารไร่
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ไปร่วมงานบุญ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  20. chanayut

    chanayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    384
    ค่าพลัง:
    +1,672
    ปรัชญาจากผ้าขี้ริ้ว
    ผ้าขี้ริ้วยอมสกปรกเพื่อให้สิ่งอื่นสะอาด
    เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมลำบากเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข
    พ่อแม่ยอมเหนื่อยเพื่อให้ลูกหลานอยู่สุขสบาย
    ความสุขแท้ของคนคือการได้ยืนแอบยิ้ม
    อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้อื่น


    ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้
    แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ตลอดเวลา
    เสน่ห์ของคนอยู่ที่รู้ตัวเองว่าสกปรก ถึงเวลาต้องชำระล้างแล้ว
    มิใช่อมความสกปรกไว้แล้ว แกล้งบอกว่าตนเองสะอาด


    ผ้าขี้ริ้วเป็นผ้าที่สะอาดที่สุด ในขณะที่คนมองว่าสกปรกที่สุด
    เหมือนคนที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน
    ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่รังเกียจหมั่นไส้ของคนอื่น
    เขาจะเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด การศึกษามากหรือน้อยก็ตาม
    เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดดี เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง


    ผ้าขี้ริ้วถึงจะเป็นผ้าไม่มีราคา แต่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ได้
    เหมือนคนที่พยายามทำตนให้มีคุณค่า ด้วยการทำงานมิใช่ด้วยการประจบ
    ทำตนให้มีประโยชน์ ให้มีค่า ไม่ใช่งอมืองอเท้า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาชะตาชีวิต
    ต้องสร้างกำลังใจให้ตนเองอย่ารอคอยจากคนอื่น


    ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร
    เหมือนคนที่ยอมตัวอาสาทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ปริปากบ่น
    รู้จักอาสาคน อาสาทำงาน ต้องตั้งใจทำงานโดยไม่เกี่ยงงอน ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ก็ตาม
    คนที่ตกงานเพราะไม่ยอมทำงาน


    ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด
    เหมือนคนที่ยอมทำในสิ่งที่คนทั้งหลายรังเกียจ ที่เขาเห็นว่าเป็นงานชั้นต่ำ
    แต่ก็ตั้งใจทำให้เป็นของมีค่าขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ
    เหมือนคนที่อิ่มเอิบเมื่อได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม
    ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ ความสามารถของตน
    และยินดีที่ได้เสนอตัวเข้าไปบริการมากกว่าเข้าไปบริหาร


    ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสะอาด
    เหมือนคนควรพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของคนอื่น
    ต้องมีความพอใจที่จะทำงานปิดทองหลังพระ เป็นนายอินหรือนางอิน
    ผู้ปิดทองหลังพระ มีความสุขและภูมิใจที่ได้มอบความสำเร็จให้คนอื่น
    มีมากที่ผู้น้อยบางคน ทำงานแล้วทำให้ผู้ใหญ่เล็กลง ขณะที่ตัวเองโตขึ้น


    ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูซักล้างไม่เปราะบาง
    เหมือนคนที่มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้
    เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย
    คือไม่เป็นคนทุกข์ง่ายใจเบา แต่นิ่งและหนักแน่นคงดุจแผ่นดิน


    ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่ไม่ทำตัวให้ขี้เหร่
    เหมือนคนที่รู้ตัวเองว่า กำลังถูกึนปรามาสสบประมาท
    จะต้องตั้งใจเอาชนะอุปสรรค ครั้งนั้นให้ได้
    ไม่พ่ายแพ้ต่อคำปรามาสของผู้อื่น
    รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรและมีกำลังใจในสิ่งนั้น
    มองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลายมองว่าไร้ค่า
    เมื่อมีปัญหาให้หัดมองสองด้านเสมอ
    ผ้าขี้ริ้วมีเสน่ห์เพราะยอมสัมผัสกับสิ่งสกปรก


    ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน หากทนความทุกข์ยากลำบาก
    ยอมสัมผัสกับงานที่ต่ำต้อยได้ก็จะมีเสน่ห์ และมีความหมาย
    ทุกคนจึงควรพากเพียรพยายามสร้างเสน่ห์ให้กับชีวิต
    อย่างที่ผ้าขี้ริ้วสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง


    คุณเห็นด้วยไหม ที่ว่าเราต้องทำตัวเองให้มีคุณค่าและมองเห็นค่าของตัวเองก่อน
    แล้วเราจะไม่รู้สึกท้อแท้หมดหวัง
    (ที่มา คุณทิวลิป)
     

แชร์หน้านี้

Loading...