ศีลข้อ 3 อพรัมจริยาฯ ครอบคลุมแค่ไหน?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย kanapat, 7 เมษายน 2011.

  1. kanapat

    kanapat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +42
    ศีลข้อ 3 อพรัมจริยาฯ ครอบคลุมแค่ไหนคะ อย่างถ้าเป็นแม่ชีถือศีล 8 แต่เกิดมีจิตสเน่หากับเพศเดียวกัน มีความปรารถนาอยากครอบครอง ยังไม่สึกจากการเป็นนักบวช แต่แสดงออกอย่างชัดเจน ถึงความต้องการในอีกฝ่าย ทั้ง ๆ ที่อีกฝ่ายก็มีคู่ของตัวอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเพศเดียวกัน แบบนี้ถือว่าผิดศีลไหมคะคุณแม่
     
  2. aumpornphat

    aumpornphat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +22
  3. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    ผมคิดว่าคุณก็คงทราบดีอยู่แก่ใจแล้ว
    ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ย่อมไม่สนใจใน จริยาของผู้อื่น
    การมาโพสเพื่อความสะใจนั้น อาจสร้างกรรมไม่ดีแก่ตัวคุณเอง ส่วนจะหนักหรือเบาลองถามใจตัวเองดู ว่ากำลังต้องการคำตอบแบบไหน
    ขนาดตัวเราเอง เวลาอกหัก ยังหักห้ามไม่ให้คิดถึงเรื่องที่เสียใจได้เลย นับภาษาอะไรกับผู้อื่น
    ขออภัยถ้าคิดว่าผมเตือนแรงไปครับ
     
  4. อำไพพันธุ์

    อำไพพันธุ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +905
    ความเห็นนะครับ
    ผมคิดว่ากรรมเกิดตั้งแต่ เราคิดแล้วครับ
     
  5. Ton_PB

    Ton_PB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    4,463
    ค่าพลัง:
    +2,005
    ไม่ต้องถึงนักบวชหรอกครับ แค่บุคคลธรรมดาก็ผิดแล้ว
    ส่วนสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวเรารู้ความคิดเรามากที่สุด ถึงจะหลอกตัวเองยังไงปากพูดอีกอย่าง แต่ใจและเจตนาไม่ได้รู้สึกตามที่พูด ภาษาชาวบ้านบอก รู้อยู่แก่ใจ หากเรามีเจตนา เขาไม่มีเจตผิด 20 % หากเราและเขามีเจตนาผิด 50 %
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2011
  6. จริยากุ

    จริยากุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,314
    ค่าพลัง:
    +1,446
    บาปของการผิดนั้นอยู่ที่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ถ้าไม่มีในส่วนใดใน 3 ส่วนนี้จึงถือว่าไม่ผิด ผู้ถือศีลความผิดอยู่ที่การรักษาจิต เมื่อรู้ว่าออกนอกทางควรดึงเข้าทางที่ถูก จิตที่สว่างและขาวจึงบริสุทธิ นักบวชหลายท่านก็ยังไม่พ้น ดูเวทนา ดูจิต ดูกาย ดูธรรม แล้วพิจารณา ถ้ายังทำไม่ได้ มี 2 ทางคือปลงอสุภะ กับ ลาจากการเป็นนักบวช(ขออภัยนะคะแนะนำตรงๆ )มันเป็น 2 ทางที่ต้องเลือกแล้วจริงๆว่าจะต่อกรรม หรือจะพ้นกรรมเมื่อไปถึงตรงนั้นแล้ว
     
  7. ผู้หาทาง

    ผู้หาทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +6
    ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง คือมรรคทั้ง ( ปาก ทวารหนัก ทวารเบา)
    ๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น
    ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
    ๔. สาทิยนํ มีความยินดี
    ถ้ากระทำครบองค์ ๔ถือว่าขาดทันที่ แต่เพียงแสดงท่าทาง ถือว่าด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ และการที่คิดเป็นเรื่องของจิตเราบังคับไม่ให้มันเกิดไม่ได้ถ้าได้ปัจจัยมันก็เกิด แต่แค่เพียงนึกคิดศีลยังไม่ขาด ต้องมีการกระทำ ทางกายหรือทางวาจาด้วย ในศีลข้อนี้ต้องมีจิตคิดจะการเสพและเสพทางมรรคใดมรรคหนึ่ง มีความพยามยาม และมีความยินดี ส่วนเพียงแค่นึกคิดศีลไม่ขาดหรอก เช่นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าเป็นความฝันก็ไม่ต้องอาบัติ ถ้าเพียงคิดเฉยๆเป็นบาป วันหนึ่งเราคิดชั่วไม่รู้เท่าไหร่ เพราะเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียวจิตก็เกิดดับแสนโกฏิขณะ และปุถุชนไม่สามารถบังคับให้จิตคิดดีอย่างเดียว ได้หรอก หรือใครสามารถนั่งทำให้จิตเป็นกุศลอย่างเดียวได้ทั้งวัน โดยไม่มีอกุศลมาเกิดคั้น (เอาแค่นึกถึงพุทธคุณอย่างเดียวแค่๕ นาที โดยที่ไม่วอกแวกไปทางอื่น ผมก็ว่ายากแล้ว)
    และการศึกษาธรรมควรเกื้อกลูกันไม่ควรเบียดเบียนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2011
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ครอบคลุมตรง "อพรหมะจริยา" ทั้งหมด ซึ่งหมายถึง "ไม่ประพฤติผิดไปจาก จรรยาบัณ ของพรหม"

    +++ ความเป็นพรหมนั้น จิตต้องอยู่ใน "อัปปนาสมาธิ" ทั้งหมด

    +++ ยามใดที่ "จิตตกจาก อัปปนาสมาธิ" ยามนั้น จิตย่อมตกลงสู่ "กามาวจร" เป็นธรรมดา กลายเป็น "กาเมสุมิจฉาจารา" ไปโดยปริยาย

    +++ กามคุณ 5 คือ เสพอารมณ์จาก ทวารทั้ง 5 คือ "1. ตา 2. หู 3. จมูก 4. ลิ้น 5. กาย"

    +++ ส่วน "ใจ" ที่เป็น อายตนะตัวที่ 6 ที่เสพธรรมารมณ์ นั้น ไม่ได้อยู่ในส่วนของ กามาวจร แต่อยู่ในส่วนของ "รูปา+อรูปาวจร" อันเป็น "พรหมะจริยา"


    +++ ดังนั้น "หากประสงค์" ที่จะรู้จัก อพรหมะจริยา "ตามความเป็นจริง" ก็ควร ทำความสำรวมใน อายตนะทั้ง 6 (หมวดอายตนะ 6) ให้ได้ แล้วจะรู้ได้เองว่า

    +++ ในยามที่ สำรวมได้แล้ว "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" ย่อมเกิดมาเองตามธรรมชาติของมัน

    +++ อาการของ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" จะมีคุณสมบัติพร้อมใน มหาสติ 4 และ สัมปชัญญะ 5 ในขณะเดียวกัน ตรงนี้ต้องทำเอาจึงจะรู้ได้


    +++ เมื่อได้ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" แล้วก็จะรู้ได้เองว่า ขณะที่อยู่กับ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" นั้น ณ ขณะนั้น ๆ "อัปปนาสมาธิ" จะปรากฏอยู่ในตัว เรียบร้อยแล้ว

    +++ เมื่อ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" มีอยู่ก็จะรู้ได้เองว่า "จิตในขณะนั้น ๆ ไม่มีความเป็น เพศ ปรากฏอยู่เลย" ตรงนี้เป็น "คุณสมบัติของพรหม" อีกประการหนึ่ง

    +++ หากจะเทียบกับหมวดของ มหาสติปัฏฐาน 4 แล้ว ตรงนี้จะอยู่ในหมวดของ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน


    +++ หากทำได้แล้ว ก็จะเห็นอาการของ "จิตส่งออก" ได้ไม่ยาก (จิตส่งออก คือ สมุทัย) การเห็นได้ตรงนี้เป็น "จิตเห็นจิต" (จิตเห็นจิต เป็น มรรค) ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    +++ ในระดับของ "อพรหมะจริยา" ก็ขอจบลงเพียงแค่นี้

    +++ สรุปคือ "ศีลชี้ทางสู่สมาธิ และ สมาธิชี้ทางสู่ปัญญา" นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...