{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การพิจารณาพระรูปเหมือน-รูปหล่อ ของอ้างอิงภาพพี่Amultism ประกอบ

    วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน 
      
           รูปเหมือนปั้มการดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะ
    พระหล่อปั๊มคือพระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญ
    ปั๊มนั่นเอง เช่นรูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง   
    รูปเหมือนฉีด การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะ
    ต้องมีรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้น
    องค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13  
    รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ  
    เบ้าทุบไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม  
    เบ้าประกบมีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเท
    ไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา  
     

     

    จุดสังเกตสำคัญ
    พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน 
    รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ  
    รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน  
     

     

    หลักพิจารณาพระแท้ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่ามี"   
           1. ถ้าพิมพ์ถูก ก็แท้แล้ว 50%  ต้องจำพิมพ์พระที่จะเช่าบูชาได้ทุกครั้งก่อนที่จะ
    เช่าบูชาเสมอเพราะว่าถ้าพิมพ์ถูก โอกาสพระแท้ก็มี 50% แล้ว และถ้าพระผิด
    พิมพ์ก็เก๊ 100% เลยเพราะฉะนั้น ต้องหมั่นศึกษาพิมพ์พระจากตำราต่าง ๆ ให้
    ้แม่นยำหรือถ้าศึกษาจากองค์จริงได้ก็ยิ่งดีครับ   
           2. ถ้าเนื้อใช่ ก็แท้แล้ว 25% เพื่อน ๆ ต้องจำสูตรเนื้อพระแต่ละรุ่นให้คุ้นเคย โดย
    ศึกษาจากองค์จริงเท่านั้นจะดูจากรูปไม่ได้ เช่นพระเนื้อทองเหลืองของพระแต่ละ
    ชนิดไม่เหมือนกันกระแสโลหะและผิวไฟก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเนื้อถูกกระแสและผิวไฟถูกก็แท้ขึ้นอีก 25% ครับ   
           3. ถ้าความเก่ามี ก็แท้แล้ว 25% พระเครื่องที่มีอายุต้องมีความเก่าสมอายุด้วย ถึงแม้จะเป็นพระที่เก็บรักษาดีไม่ถูกจับต้องเลย ก็ต้องใหม่แบบเก่า ๆ คือไม่มี ความแวววาวแล้ว เช่นพระหูยานลพบุรี กรุใหม่ ปี 08 เป็นต้น ถ้า พิจารณาพระทุกองค์ได้ครบถูกต้อง 3 ข้อนี้ก็เป็นพระแท้ดูง่ายควรค่ากับการสะสมครับ ภูมิคุ้มกันพระเก๊ ก่อนอื่นขอขยายความเรื่อง"พิมพ์ถูก"ก่อนนะครับ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินคำพูดว่า "พระผิดพิมพ์"บ่อย ๆ ใช่ไหมครับซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับพระเลียนแบบหรือพระเก๊นั่นเอง แล้วคำถามต่อมาก็คือแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกพิมพ์หรือผิดพิมพ์ การสร้างพระทุกชนิด ทุกครั้งจะต้องมีแม่พิมพ์เสมอ แต่อาจจะมีหลายแม่พิมพ์ในพระชนิดเดียวกันก็ได้เพราะฉะนั้นต้องศึกษาว่าพระชนิดนั้น ๆ มีกี่แม่พิมพ์หรือกี่บล็อกถ้าเป็นพระรุ่นใหม่พระที่สร้างมาจากแม่พิมพ์เดียวกันจะต้องมีรายละเอียดในองค์พระนั้น ๆเหมือนกัน100% เช่น ตุ่มนูน, ลายเส้นต่าง ๆ , รอยเนื้อเกิน เป็นต้นฉะนั้นพระที่มีลักษณะใด ๆ ที่แตกต่างจากพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกันย่อมเป็นพระผิดพิมพ์หรือมาจากแม่พิมพ์อื่นหรือเก๊นั่นเอง ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงในพิมพ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้
    อ้างอิง top rich
     
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ข้อมูลเนื้อพระโลหะ


    ความหมายของเนื้อพระแต่ละชนิด

                  1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

                    ชิน                          น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)

                    จ้าวน้ำเงิน               น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)

                    เหล็กละลายตัว       น้ำหนัก 3 บาท

                    บริสุทธิ์                   น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)

                    ปรอท                      น้ำหนัก 5 บาท

                    สังกะสี                    น้ำหนัก 6 บาท

                    ทองแดง                  น้ำหนัก 7 บาท

                    เงิน                          น้ำหนัก 8 บาท

                    ทองคำ                     น้ำหนัก 9 บาท

                    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

                    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

                    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

                    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

                    5) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

                    6) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

                    7) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

                    8) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก ฯลฯ

    โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง

    อ้างอิง toprich

    ผมพยายามที่จะรวบรวมข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักสะสม
    เพื่อสะดวกแก่การอ่านและต้องขอบคุณเจ้าของข้อมูลทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย
     
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญเลื่อนสมญศักดิ์ ลพ.คูณ พิมพ์หยดน้ำ

    เหรียญเลื่อนสมญศักดิ์ ลพ.คูณ พิมพ์หยดน้ำ พ.ศ. 2535
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลักการดูพระเบื้องต้น

    ก่อนที่เราจะรู้หลักการดูพระเบื้องต้น เราจะต้องรู้กรรมวิธีในการสร้างพระ แต่ละชนิดก่อน ถ้าเรารู้ถึงกรรมวิธีในการทำพระเราก็จะมองเห็นภาพทันทีทำให้ดูพระแต่ละประเภทให้ง่ายยิ่งขึ้น

    กรรมวิธีการสร้างพระ สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และ ประเภทเครื่องราง

    ประเภทพระเครื่อง ได้แบ่งการสร้างพระเครื่องออกเป็น

    1. การสร้างพระเนื้อดิน
    2. การสร้างพระเนื้อชิน
    3. การสร้างพระเนื้อผง
    4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั้ม พระฉีด
    5. การสร้างพระเนื้อว่าน
    6. การสร้างพระจากวัสดุอื่นๆ

    1. การสร้างพระเนื้อดิน

    พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

    ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

    เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

    นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

    พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

    พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

    1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

    ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

    ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

    2. การสร้างพระเนื้อชิน

    พระเนื้อชินถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

    ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก

    ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    ตะกั่ว  เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา

    ตะกั่วเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

    เนื้อชิน  จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ

    2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น

    2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง  คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น

    2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

    กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้

    พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น  “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

    3. การสร้างพระเนื้อผง

    ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

    พระเครื่องเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

    สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

    3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

    เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

    สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

    จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

    ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

    1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

    บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

    ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

    จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

    2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

    “ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

    -ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)

    -ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)

    -ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)

    -ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ

    -ดอกกาหลง

    -ยอดสวาท

    -ยอดรักซ้อน

    -ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)

    -ขี้ไคลประตูวัง

    -ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)

    -ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)

    -ชัยพฤกษ์

    -พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)

    -พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)

    -กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)

    น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี

    -ดินสอพอง

    เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

                    เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

                    3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้

                    3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ

                    ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ

                    การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน

                    3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้

                    3.3.3) การทำผงมหาราช  ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”

                    3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์

                    3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย

                    อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”

                    เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้

                    4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ

                    เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

                    ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน

                    5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น

                    5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ

                    5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม

                    5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน

                    พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

    4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั๊ม พระฉีด

                    การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน

                    พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้

                    1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า  ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว

                    2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

                    3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก

                    พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย

    1.     พระเนื้อทองคำ

    2.     พระเนื้อเงิน

    3.     พระเนื้อทองแดง

    4.     พระโลหะผสม

    สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

    1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

                    ชิน                          น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)

                    จ้าวน้ำเงิน               น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)

                    เหล็กละลายตัว       น้ำหนัก 3 บาท

                    บริสุทธิ์                   น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)

                    ปรอท                      น้ำหนัก 5 บาท

                    สังกะสี                    น้ำหนัก 6 บาท

                    ทองแดง                  น้ำหนัก 7 บาท

                    เงิน                          น้ำหนัก 8 บาท

                    ทองคำ                     น้ำหนัก 9 บาท

                    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

                    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

                    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

                    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

                    5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

                    6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

                    7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

                    8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

                    9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

    โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา

    นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น

    วิธีการสร้างพระ

    เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

    การหล่อแบบโบราณ

    เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น

    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”

    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ

    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง

    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ

    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”

    พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

    การหล่อแบบสมัยใหม่

    นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ

    1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว

    2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน  จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์

    3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์

    การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ

    ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

    5. การสร้างพระเนื้อว่าน

    นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้

    “ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”

    จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”

    แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”

    กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ

    เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้

    “พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า 16 เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้องการที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ 84,000 องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ 64,000 องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12.00 น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน

    สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีส่วนผสมต่างๆ เช่น

    1. ว่าน 108 ชนิด 2. ปูนขาว 3. กล้วยป่า 4. ผงขี้ธูป 5. คราบไคลสถูปเก่าที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด 6. แร่ 7. ดินกากยายักษ์ 8. ดอกไม้แห้ง 9. น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ

    การโขลกตำส่วนผสมของเนื้อพระใช้ครกหินหลายใบ โดยตำเนื้อว่านกับดินดำก่อน เมื่อละเอียดแล้วจึงใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อยกับกล้วยป่าทั้งเนื้อทั้งเม็ดตำให้เหนียว แล้วจึงใส่ผงธูป ดอกไม้แห้ง แร่และอย่างอื่นผสมลงไป ระยะแรกๆ จะตำเนื้อละเอียด ต่อมาได้เร่งตำเพื่อให้ทันฤกษ์พิธี ปลุกเสกจึงตำออกมาเนื้อหยาบ ส่วนผสมและสีของเนื้อพระจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางองค์มีสีดำจัดเพราะใส่ดินกากยายักษ์มาก บางองค์มีสีเทาค่อนข้างขาวเพราะใส่ปูนขาวลงไปมาก และเนื้อพิเศษขั้นทดลองพิมพ์มีจำนวนน้อยมาก

    การพิมพ์พระ บางองค์ร่อนจึงแกะออกจาแม่พิมได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ไม้เสียบใต้ฐานองค์พระ เพื่องัดองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์ แล้วจึงนำผงแร่มาแปะที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์

    มวลสารในเนื้อพระ มักพบมีเม็ดแร่สีขาวขุ่น, สีดำ, สีขาวอมเหลือง, สีน้ำตาล, เม็ดทรายสีขาวหรือผงวิเศษปรากฏอยู่ทั่วไป โดยพบมากที่ด้านหลังขององค์พระ”

    จากกรรมวิธีการสร้างที่ยกตัวอย่างมา ผู้ที่ศึกษาคงมองออกถึงขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการสร้างพระเนื้อว่านยังมีอยู่ หากแต่พบน้อยมาก เนื่องจากความยากลำบากในการเสาะหาว่านมงคลต่างๆ ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระ แต่อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการสร้างพระ ซึ่งคงเหลือเด่นชัดในพระไม่กี่ประเภท

    6.การสร้างเครื่องราง

    เครื่องรางนับเป็นความเชื่อและศรัทธาสากล เนื่องจากทุกอารยธรรมทั่วโลกล้วนมีเครื่องรางเป็นสิ่งมัดใจ ให้กำลังใจ ทั้งโน้มน้าวจิตใจมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

    สำหรับประเทศไทย มีการพบเครื่องรางของขลังมาแต่ยุคสุโขทัย หากแต่มาเฟื่องฟูในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเริ่มดับมอดลงเมื่อคราวกรุงแตก แต่กระนั้นเครื่องรางของขลังก็ยังอยู่ในใจผู้คนมาโดยตลอด มิเคยถูกลบเลือน

    พระคณาจารย์โบราณ ผู้มากด้วยพระเวทย์วิทยาคม จะนิยมสร้างเครื่องรางของขลังไว้ให้เฉพาะแก่ผู้ใกล้ชิด ดังนั้นการสร้างเครื่องรางของขลัง จึงเป็นงานสร้างเฉพาะตัว โดยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ในแต่ละองค์คณาจารย์ เหมือนลักษณะของลายมือหรือฝีมืองานช่างเครื่องรางของขลังจึงเป็นวัตถุมงคลที่ไม่ตายตัว แต่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่มีพิมพ์ ไม่จำกัดรูปร่าง แต่เค้าโครงแนวทางการสร้างกำเนิดมาจากผู้สร้างผู้ใด ก็จะคงความเป็นตัวตน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่บ่งบอกว่า ฝืมือใคร ใครสร้าง สร้างจากวัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้สร้าง

    วัสดุทุกชนิด สามารถนำมาเป็นเครื่องรางของขลังได้ ขอเพียงได้ผ่านการอธิษฐานจิต ลงพระคาถาอาคมพระเวทย์จากผู้สร้างที่เข้มขลังจริง

    ดังนั้น การศึกษาเรื่องเครื่องรางของขลัง จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่เนื่องจากเครื่องรางของขลัง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมศรัทธากันมาก ทั้งมีมูลค่าทางการสะสมสูงในบางพระคณาจารย์ จึงสมควรที่จะกล่าวถึงให้ทราบพอสังเขป
     
    อ้างอิง true amulet
     
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างพระเนื้อดิน

    พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

    ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

    เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

    นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

    พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

    พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

    1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

    ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

    ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

    อ้างอิง true amulet
     
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างพระเนื้อชิน

    พระเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

    ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก

    ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    ตะกั่ว  เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา

    ตะกั่วเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

    เนื้อชิน  จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ

    2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น

    2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง  คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น

    2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

    กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้

    พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น  “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

    อ้างอิง true amulet
     
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างพระผง


    ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

    พระเครื่องเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

    สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

    3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

    เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

    สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

    จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

    ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

    1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

    บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

    ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

    จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

    2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

    “ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

    -ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)

    -ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)

    -ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)

    -ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ

    -ดอกกาหลง

    -ยอดสวาท

    -ยอดรักซ้อน

    -ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)

    -ขี้ไคลประตูวัง

    -ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)

    -ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)

    -ชัยพฤกษ์

    -พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)

    -พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)

    -กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)

    น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี

    -ดินสอพอง

    เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

                    เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

                    3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้

                    3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ

                    ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ

                    การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน

                    3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้

                    3.3.3) การทำผงมหาราช  ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”

                    3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์

                    3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย

                    อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”

                    เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้

                    4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ

                    เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

                    ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน

                    5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น

                    5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ

                    5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม

                    5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน

                    พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

     
    อ้างอิง true amulet
     
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระเหรียญแท้/ปลอมดูอย่างไร

    พระเหรียญทุกชนิด พระแท้หรือปลอม ดูกันอย่างไร


    พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อ สรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ?

    แนวทางและพื้นฐาน

    ที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ มีหลักสำคัญอะไรบ้าง
    1 รู้จัก ผู้สร้างรู้จักวัดที่สร้างรู้ประวัติการสร้าง ศึกษาเรื่องแบบและแม่ พิมพ์ของพระที่จะสะสม........ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....


    แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระ เหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว แปลกแต่จริง...


    เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระ เป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้ หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน
    2 การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับ แรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถ แยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้นแม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญพระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
    เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า “ผิดพิมพ์ครับ”
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

    ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
    ยุคที่2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่

    ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทน แข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะ ด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า “เส้นขนแมว” นั่นเอง

    เหรียญยุคโบราณ นั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า “ตาไก่” เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......

    หรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้

    ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้น ผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
    ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
    ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ ระวัง
    จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้าน หลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ ซึ่งก็มี อยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการ ของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็ แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมี เหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
    1.ถ้า เป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุก คณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
    2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
    หากว่า ท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออก แดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก

    เหรียญ ทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่ พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่ เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิ โคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อ แข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระ นั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว

    เหรียญ ทำเทียมใน ลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็ก กล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้ โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอย ทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่ง ทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอ สมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอย ตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อม จะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่ เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของ เลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสัก หน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพง เป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึด เป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืม ดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไปซะฉิบ เฮ้อ........

    แม่ พิมพ์เหรียญยุคใหม่มักจะเอาภาพหลวงพ่อต่างๆที่จะมาทำเหรียญนั้น มาออกแบบบนกระดาษก่อนแล้วจึงเอาไปถ่ายฟิล์ม แล้วนำไปประกบกับเหล็กอ่อนค่อยใช้เครื่องหรือช่างแกะออกมา แล้วจึงนำเหล็กไปชุบกับน้ำยาทำให้เหล็กแข็งตัวก่อนค่อยนำไปใส่ที่เครื่อง ปั๊มซึ่งก็มีอยู่สามแบบ คือ 1...เหรียญ ปั๊มข้างเลื่อย โดยนำเอาแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้รูปแล้วนำมา เลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบของเหรียญนั้นๆ
    2...เหรียญปั๊ม ข้างกระบอก นำเอาแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้รูปทรงของเหรียญที่จะปั๊มก่อนเพื่อเข้ากระบอก ด้านข้างของเหรียญชนิดนี้จะมีความเรียบเนียนเนื่องจากกดปั๊มโดยมีกระบอกเป็น ตัวบังคับ บางเหรียญจะมีการตกแต่งให้สวยงามทำให้เกิดเส้นทิวบางๆที่ขอบเหรียญบ้าง
    3...เหรียญปั๊มตัด พ.ศ.2500-ปัจจุบัน เหรียญในยุคใหม่นี้ด้วยวิทยาการเครื่องจักรอันทันสมัย แรงอัดกระแทกดี ดังนั้นเวลาที่ป็มเหรียญออกมาจึงสวยคมชัดมากมีลักษณะเป็นภาพนูนสูง สังเกตที่ผนังเหรียญจะอยู่ต่ำกว่ารูปของพระเกจิอาจารย์มาก จุดสังเกตของเหรียญยุคใหม่ คือ ผิวเรียบตึง ไม่มีขี้กลาก หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเลยแม้แต่น้อยที่ขอบจะมีความเรียบเนียนแต่ว่าคมและมีรอย ตัด แววตาของหลวงพ่อจะแลดูแข็งๆ
    อย่างที่กล่าวมาแล้วใน เบื้องต้นว่าเหรียญเก่าแท้ๆหากจะทำเลียนแบบด้วยการทำ แม่พิมพ์ใหม่แล้วนำมาปั๊ม ปั๊มอย่างไรก็ไม่เหมือนเพราะว่าถ้าแกะบล็อกใหม่เส้นสายรายละเอียดเดิมๆที่ ช่างได้ทิ้งเอาไว้ (ที่เราเรียกว่า”ตำหนิ”) ไม่ มีทางทำให้เหมือนได้ เพราะเป็นการทิ้งใว้แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ แต่ก็เป็นประโยชน์กับพวกเรานักสะสมมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักสังเกตและจดจำ หากเอาเครื่องปั๊มยุคปัจจุบันไปปั๊มยิ่งจะทำให้เกิดความแตกต่าง อย่างมากเพราะกรรมวิธีการสร้างที่แตกต่างกันตามยุคสมัยที่ได้กล่าวเอาไว้ ตั้งแต่เบื้องต้น ดังนั้นก็จะทำได้เพียงวิธีเดียวคือ ต้องอาศัยวิธีถอดพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ดังนั้นพระ แท้ก็ต้องแท้อยู่วันยันค่ำ ของเลียนแบบก็เช่นเดียวกัน เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้วหากว่าแยกแยะพระแท้กับของเลียนแบบไม่ได้ เลยนั้น พระเครื่องประเภทพระเหรียญก็คงจะต้องเลิกเล่นกันไปตั้งนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นหากันอยู่นั่นแสดงว่ายังสามารถที่จะแยกพระแท้กับพระทำ เลียนแบบกันได้ ขออย่าให้ความโลภครอบงำก็แล้วกัน พระอะไรที่ดูก้ำกึ่ง คาบเกี่ยว ดูน่าสงสัย มีพิรุจ แถมยังราคาถูกกว่าค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาผู้รู้ ผู้ชำนาญการจะเป็นการปลอดภัยที่สุด.....
    ขอส่งท้ายและเน้น ย้ำถึงธรรมชาติของเหรียญเก่าโบราณอีกครั้งหนึ่ง พระเหรียญ วิธีสร้างก็คือการนำเอาโลหะมาปั๊มไม่ว่าจะเป็น เงิน ทองแดง นาก ทองคำ หรือโลหะผสมเช่น นวโลหะก็ดี ธรรมชาติของโลหะธาตุเหล่านี้ย่อมจะมีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแยกแยะได้ดังนี้

    1…พื้นผิวเหรียญต้องแห้งผากไม่มีความมันเงาแวววาวใดใดเลย
    2...สีสันวรรณะของเหรียญต้องดูซีดจาง ไม่สดใส
    3...เมื่อถูกสัมผัสจับต้องแล้วสีสันอาจจะเปลี่ยน แต่เมื่อทิ้งเอาไว้ระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับคืนเป็นดังเดิม
    4...ไม่มีความคมหลงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน
    5...ขอบเหรียญมักจะบาง
    6...เหรียญ ที่ผ่านการใช้มาแล้ว มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่จะเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเหรียญเนื้ออะไรเช่น กันเมื่อล้างคราบสนิมออก หรือ หลุดออกเองก็ดีเมื่อเราส่องดูที่พื้นเหรียญมักจะมีรูพรุนคล้ายตามดเพราะถูก สนิมกัดกร่อนไปถึงเนื้อโลหะแต่ถ้ารักษาอย่างดีก็จะไม่มีหลุมดังกล่าวและจะทำ ให้เหรียญมีราคาค่านิยมที่แพงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว(ที่เขาเรียกว่า เหรียญสวยระดับแชมป์นั่นแหละ ของแพง) ถ้าท่านมีเหรียญเก่าๆลองนำมาเทียบกับความเก่าตามธรรมชาติที่ได้เขียนเอาไว้ ตั้งแต่ต้นดู ว่าตรงกันหรือเปล่า แต่ต้องทำใจให้เป็นกลางด้วย ไม่เช่นนั้นอาจหลงเข้าข้างตัวเองได้ เอวัง

    ที่มา asawinamulet
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างพระโลหะ


    การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน

                    พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้

                    1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า  ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว

                    2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

                    3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก

                    พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย

    1.     พระเนื้อทองคำ

    2.     พระเนื้อเงิน

    3.     พระเนื้อทองแดง

    4.     พระโลหะผสม

    สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

    1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

                    ชิน                          น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)

                    จ้าวน้ำเงิน               น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)

                    เหล็กละลายตัว       น้ำหนัก 3 บาท

                    บริสุทธิ์                   น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)

                    ปรอท                      น้ำหนัก 5 บาท

                    สังกะสี                    น้ำหนัก 6 บาท

                    ทองแดง                  น้ำหนัก 7 บาท

                    เงิน                          น้ำหนัก 8 บาท

                    ทองคำ                     น้ำหนัก 9 บาท

                    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

                    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

                    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

                    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

                    5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

                    6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

                    7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

                    8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

                    9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

    โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา

    นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น

    วิธีการสร้างพระ

    เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

    การหล่อแบบโบราณ

    เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น

    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”

    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ

    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง

    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ

    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”

    พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

    การหล่อแบบสมัยใหม่

    นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ

    1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว

    2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน  จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์

    3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์

    การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ

    ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

     
    อ้างอิงtrue amulet
     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    การสร้างพระเนื้อว่าน

    นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้
    “ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”
    จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”
    แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”
    กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ
    เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้
    “พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า 16 เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้องการที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ 84,000 องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ 64,000 องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12.00 น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน
    สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีส่วนผสมต่างๆ เช่น
    1. ว่าน 108 ชนิด 2. ปูนขาว 3. กล้วยป่า 4. ผงขี้ธูป 5. คราบไคลสถูปเก่าที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด 6. แร่ 7. ดินกากยายักษ์ 8. ดอกไม้แห้ง 9. น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ
    การโขลกตำส่วนผสมของเนื้อพระใช้ครกหินหลายใบ โดยตำเนื้อว่านกับดินดำก่อน เมื่อละเอียดแล้วจึงใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อยกับกล้วยป่าทั้งเนื้อทั้งเม็ดตำให้เหนียว แล้วจึงใส่ผงธูป ดอกไม้แห้ง แร่และอย่างอื่นผสมลงไป ระยะแรกๆ จะตำเนื้อละเอียด ต่อมาได้เร่งตำเพื่อให้ทันฤกษ์พิธี ปลุกเสกจึงตำออกมาเนื้อหยาบ ส่วนผสมและสีของเนื้อพระจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางองค์มีสีดำจัดเพราะใส่ดินกากยายักษ์มาก บางองค์มีสีเทาค่อนข้างขาวเพราะใส่ปูนขาวลงไปมาก และเนื้อพิเศษขั้นทดลองพิมพ์มีจำนวนน้อยมาก
    การพิมพ์พระ บางองค์ร่อนจึงแกะออกจาแม่พิมได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ไม้เสียบใต้ฐานองค์พระ เพื่องัดองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์ แล้วจึงนำผงแร่มาแปะที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์
    มวลสารในเนื้อพระ มักพบมีเม็ดแร่สีขาวขุ่น, สีดำ, สีขาวอมเหลือง, สีน้ำตาล, เม็ดทรายสีขาวหรือผงวิเศษปรากฏอยู่ทั่วไป โดยพบมากที่ด้านหลังขององค์พระ”
    จากกรรมวิธีการสร้างที่ยกตัวอย่างมา ผู้ที่ศึกษาคงมองออกถึงขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการสร้างพระเนื้อว่านยังมีอยู่ หากแต่พบน้อยมาก เนื่องจากความยากลำบากในการเสาะหาว่านมงคลต่างๆ ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระ แต่อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการสร้างพระ ซึ่งคงเหลือเด่นชัดในพระไม่กี่ประเภท

    อ้างอิง true amulet
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน รุ่นมหามงคล อายุครบ 7 รอบ

    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน รุ่นมหามงคล อายุครบ 7 รอบ พิมพ์เหรียญแจกทานใหญ่ เนื้อทองแดงนอก ลงยาราชาวดีสีธงชาติ ขนาด 2 x 3 ซม. จำนวนจัดสร้าง 1,999 เหรียญ

    ดำเนินการจัดสร้าง โดย วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    พิธีมหาพุทธาภิเษก
    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2554 ณ อุโบสถวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    หลวงพ่อจรัญ อนุญาตให้ชมรมไทยคู่ฟ้า จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมหามงคล ในโอกาสอายุครบ 7 รอบ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงใช้สอยตามพระอัธยาศัย และสมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และสมทบทุนเพื่อบูณะศาสนสถานวัดอัมพวัน และเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์

    หลวงพ่อจรัญ จารแผ่นทอง, นาก, เงิน และชนวนมวลสาร


    เพิ่งเช่ามาใหม่ 2 เหรียญครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1322191539.jpg
      1322191539.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.9 KB
      เปิดดู:
      62
    • 1322191546.jpg
      1322191546.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.6 KB
      เปิดดู:
      62
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน รุ่นมหามงคล อายุครบ 7 รอบ

    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน รุ่นมหามงคล อายุครบ 7 รอบ พิมพ์โลห์ใหญ่ (สไตล์หลวงพ่อพรหม) เนื้อทองแดงนอก ลงยาราชาวดีสีธงชาติ ขนาด 2 x 3 ซม. จำนวนจัดสร้าง 1,999 เหรียญ

    ดำเนินการจัดสร้าง โดย วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    พิธีมหาพุทธาภิเษก
    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2554 ณ อุโบสถวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    หลวงพ่อจรัญ อนุญาตให้ชมรมไทยคู่ฟ้า จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมหามงคล ในโอกาสอายุครบ 7 รอบ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงใช้สอยตามพระอัธยาศัย และสมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และสมทบทุนเพื่อบูณะศาสนสถานวัดอัมพวัน และเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์

    หลวงพ่อจรัญ จารแผ่นทอง, นาก, เงิน และชนวนมวลสาร


    เพิ่งเช่ามาใหม่อีก 2 เหรียญเช่นกันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1322191731.jpg
      1322191731.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.7 KB
      เปิดดู:
      75
    • 1322191741.jpg
      1322191741.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.1 KB
      เปิดดู:
      64
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงปู่คำบุ รุ่นเจริญพร สดุ้งกลับ ( กลับร้ายกลายดี )

    หลวงปู่คำบุ รุ่นเจริญพร สดุ้งกลับ
    เหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงนอกลงยาราชาวดีสีน้ำเงิน
    ขนาด 2.3x2.8 ซม. จัดสร้าง 1,999 เหรียญ
    ดำเนินการจัดสร้าง โดย วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    1.สร้างกุฏิไม้ทรงไทย ณ วัดกุดชมภู
    2.ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดกุดชมภู

    ภาพพิธีเททองนำฤกษ์
    วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2554 ณ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี

    เช่ามาอีก 2 เหรียญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1322130658.jpg
      1322130658.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.1 KB
      เปิดดู:
      74
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงปู่คำบุ รุ่นเจริญพร สดุ้งกลับ ( กลับร้ายกลายดี )

    หลวงปู่คำบุ รุ่นเจริญพร สดุ้งกลับ
    เหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงนอกลงยาราชาวดีสีแดง
    ขนาด 2.3x2.8 ซม. จัดสร้าง 1,999 เหรียญ
    ดำเนินการจัดสร้าง โดย วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    1.สร้างกุฏิไม้ทรงไทย ณ วัดกุดชมภู
    2.ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดกุดชมภู

    ภาพพิธีเททองนำฤกษ์
    วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2554 ณ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี

    จัดไปอีก 2 เหรียญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1322127013.jpg
      1322127013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.2 KB
      เปิดดู:
      78
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต

    ประวัติ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู่ อุบลราชธานี

    หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง


    ชาติภูมิ


    หลวงปู่คำบุ ถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2465 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสาและนางหอม คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน หลวงปู่คำบุ ปัจจุบันท่านอายุ 86 ปี มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน


    กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์


    ภายหลังบวช ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่งอุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้ มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม


    กล่าวสำหรับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ (สมัยบวชเณร) จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน


    ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็น มีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา


    จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มี พระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์


    ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความ ชำนาญด้านพระคาถาอาคมหลายรูปจนวิชาแกร่งกล้า จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมภูจนถึงปัจจุบัน


    มีเรื่องน่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง เนื่องจากพระอาจารย์รอดท่านเป็นพระที่ร้อนวิชาชอบลองวิชาอยู่เสมอ เมื่อร่ำเรียนวิชาอาคมแขนงใดได้ก็จะนำมาทดสอบหรือทดลองวิชานั้นอยู่เป็นประจำ


    มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้สำเร็จวิชาหุงสีผึ้งมหาเสน่ห์ แล้วทำการทดลองปรากฏว่าบรรดาญาติโยมทั้งหญิงและชายแห่เข้ามาที่วัดเพื่อมาขอ สีผึ้งมหาเสน่ห์จากท่านอย่างมากมาย จนไม่มีเวลาประกอบกิจสงฆ์อันใดได้ ท่านจึงย้ายมาอยู่กับพระภิกษุคำบุ ที่วัดกุดชมภูและได้เขียนตำราเพื่อมอบให้กับพระภิกษุคำบุไว้ศึกษาเล่าเรียน สืบต่อไป


    พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา


    นอกจากการศึกษาวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความชำนาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์


    ปัจจุบัน หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มีอายุถึง 86 ปี แต่ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา


    การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง 7 ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครู บาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง


    สำหรับ วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น ส่วนใหญ่มักได้รับความนิยมจากนักสะสม โดยรุ่นล่าสุด "เมตตา โภคทรัพย์ กลับดวง" ปัจจัยสมทบทุนหล่อเนื้อนาบุญหลวงปู่คำบุ ร่วมสร้างวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมภู


    ฤกษ์มงคลผสมสูตรหล่อเม็ดนวโลหะ เมื่อวันอังคารขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 วันที่ 30 กันยายน 2551 เททองเบ้าทุบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ที่ 9 พ.ย.2551 เวลา 11.59 น. อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 12 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น. " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต"อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์แรม 11 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 23 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pic_093.jpg
      pic_093.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.3 KB
      เปิดดู:
      109
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

    ประวัติ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

    พระราชทินนาม พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส


    หลวงพ่อเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจากโยมมารดา เจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์


    ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์

    เกิด วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

    อุปสมบท วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์

    วิทยฐานะ
    พ.ศ. ๒๔๘๗ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
    พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สามัญศึกษา
    พ.ศ.๒๔๙๓ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ.๒๔๙๔ ศึกษาปฏิบิติธรรมฐาน กับหลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำเครื่องลางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
    พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ
    พ.ศ.๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ณ วัดระฆัง กรุงเทพฯ
    - ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
    - ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต
    - เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขตลำเนาไพรทางภาคเหนือ (เป็นต้น)


    สมณศักดิ์
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๐๐ รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๐๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๑๖ เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๑๗ รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๒๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
    [​IMG] พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง

    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง อยุธยา
    อ้างอิง tumsatit009

    พระหลวงพ่อโต ที่ออกกรุบางกระทิง จะมี 2 พิมพ์ คือ สมาธิ และ มารวิชัย นอกจาก พิมพ์หลวงพ่อโต ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกที่มีลักษณะย่อมกว่า เรียก พระโป้ ซึ่งก็มีลักษณะเนื้อดินเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบที่กรุอื่นๆ รวมถึงเป็นพระฝากกรุอีกด้วย แต่ที่คล้ายกันก็มีพิมพ์หลวงพ่อโต ออกที่กรุวัดตะไกร ซึ่งพิจารณาง่ายๆ คือ ของกรุวัดตะไกร มีรูเสียบที่ก้น เพื่องัดพระออกจากพิมพ์ และมีพบเป็นเนื้อชินบ้างแต่น้อย

    จุดพิจารณา พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์สมาธิ
    - พื้นผนังข้างหูขวา จะยุบเป็นแอ่ง
    - ปลายหูซ้ายจรดชายสังฆาฏิที่พาดไหล่
    - ปลายนิ้วพระหัตถ์ซ้ายยาวจรดข้อมือขวา และฝ่ามือขวาที่วางทับพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเล็กๆ ในรูปนิ้วโป้ง
    - มี ติ่งเนื้อ ใต้ข้อพระหัตถ์ซ้าย
    - บัวกลางด้านบนจะเป็นรูปสามเหลี่ยมคมชัดเจนมาก

    จุดพิจารณา พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย
    - พื้นผนังข้างหูทั้ง 2 ข้าง เป็นแอ่ง ลงไป
    - เส้นซุ้มเหนือเข่าขวา จะเป็นเนื้อนูนออกมาเล็กน้อย
    - ปลายส้นพระบาทเป็นติ่งแหลม
    - มีเส้นซ้อนใต้พระหัตถ์ซ้าย ลากต่อพาดไปที่พระชงฆ์ (แข้งขวา)
    - ศอกซ้ายจะเป็นเนื้อย้อยยาว ดูใหญ่กว่าลำแขน

    จุดพิจารณาข้างต้น บางครั้งไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน เนื่องจากพระบางองค์อยู่ในสภาพที่ไม่เห็นจุดพิจารณาเนื่องจาก สึก หัก หรือ บิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่เนื้อดิน เป็นหลัก

    เนื้อดิน บางท่านบอกง่ายๆ ว่า ต้องเก่า มีการหดตัว มีรอยแตกของเนื้อดินบ้าง เนื่องจากพระแตกกรุ ปี 2504 ดังนั้นหากเป็นพระใหม่จะมีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งต่างจากของจริง มีอายุไม่ต่ำกว่า 250 ปี เนื้อดินย่อมต่างกัน และทุกองค์ที่ผมลงกล้อง พบว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงชัด มีมากบ้าง น้อยบ้าง บางองค์ไม่เห็นแต่อาจปนอยู่ในเนื้อพระก็เป็นได้ ส่วนด้านหลัง อาจจะเป็น รอยกาบหมาก หรือ ไม่เป็นก็มี แต่ถ้าจะให้ครบสูตร ต้อง หลังกาบหมาก ก้นหยิกเป็นจงอยออกมา ซอกแขนลึก ซอกหูเป็นแอ่ง และมีว่านดอกมะขาม ครับ

    ส่วนบางองค์ ผ่านการลงรัก ปิดทอง ทำให้พิจารณายากขึ้น เนื่องจาก ปิดจุดพิจารณา ซึ่งต้องล้างรักออกจึงจะเห็นชัด แต่ความนิยม โดยทั่วไปจะนิยม องค์ลงรัก ปิดทอง ซึ่งต้องพิจารณาจาก รักเก่า ทองเก่า คู่กันไป ส่วนสมาธิจะนิยมมากกว่ามารวิชัย ทั้งที่หลวงพ่อโต องค์ต้นแบบ วัดพนัญเชิงเป็นปางมารวิชัย

    ส่วนรูปข้างล่าง เป็นรูปที่แสดงพิมพ์พระหากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ (ของจริงผมยังไม่เคยเห็น จำได้ว่าตอนลอกข้อมูลมา ระบุว่าเป็นของเจ้าอาวาสคนเก่า เก็บไว้ตอนเปิดกรุ เป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบัน ไม่ทราบอยู่ในความครอบครองของท่านใด - ข้อมูลนี้ไม่ยืนยัน) เพื่อให้ท่านได้พิจารณา รูปลักษณะ พิมพ์ ทรง อย่างไรก็ตามให้พิจารณา เนื้อดิน เป็นหลักใหญ่
    ผิดถูกอย่างไรขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระหลวงพ่อโต บางกระทิง สุดยอดพระคงกระพันชาตรีมหาอุด

    พระเครื่อง ที่มีองค์พระขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนมากมักจะเรียกกันว่า พระหลวงพ่อโต และที่รู้จักกันดี ก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งชนิดเนื้อละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ รวมทั้งมีพระเนื้อชินปะปนอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก

    นอกจากกรุวัดบางกระทิงแล้ว พระหลวงพ่อโตยังพบตามกรุวัดต่างๆ ทั้งใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งบางวัดในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระที่นำมาฝากกรุในภายหลัง

    พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่มีจำนวนสร้างมาก คาดว่าน่าจะเท่ากับ พระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือมากกว่านั้น ทำให้พบเห็นโดยทั่วไป ในส่วนพระเนื้อดิน นับเป็นเนื้อดินที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอยุธยาโดยเฉพาะ ราคาเช่าหาไม่แพงนัก แต่ที่สวยคมชัดมากๆ อาจจะมีราคาที่สูงกว่าพระทั่วๆ ไป

    พุทธศิลป์ เป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา อายุกว่า ๔๐๐ ปี
    ชาวอยุธยารุ่นเก่าๆ เล่าว่า สมัยก่อนบริเวณวัดบางกระทิง มักพบพระหลวงพ่อโตตกหล่นอยู่ตามพื้นดินตามลานวัดโดยทั่วไป คนสมัยก่อนไม่นิยมนำพระเข้าบ้าน เมื่อนำพระมาใช้ติดตัวยามไปไหนมาไหน หรือนำออกสู้รบในสงครามเสร็จแล้ว ก็มักจะนำพระกลับมาเก็บไว้ที่วัดเหมือนเดิม

    สำหรับการแตกกรุของ พระหลวงพ่อโต นั้น ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ที่ทางวัดเปิดกรุอย่างเป็นการ คือในปี ๒๔๘๑ ขณะรื้อโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระหลวงพ่อโต บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงได้นำพระส่วนหนึ่งออกมาแจกสมนาคุณแก่ชาวบ้าน ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ส่วนพระที่เหลือได้นำบรรจุที่ฐานพระประธานในโบสถ์หลังใหม่

    ในการพบกรุพระหลวงพ่อโต ครั้งนั้นได้พบ แม่พิมพ์ ของพระหลวงพ่อโตด้วย ต่อมาได้มีคนร้ายแอบขุดพระหลวงพ่อโต ที่ใต้ฐานพระประธานได้ไปจำนวนหนึ่ง พร้อมกับเอาแม่พิมพ์เก่าไปด้วย ทางวัดจึงได้เปิดกรุพระอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายแอบลักขุดขโมยพระได้อีก

    การขุดกรุครั้งนี้ ได้พบ พระหลวงพ่อโต อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ขุดได้ในครั้งก่อน ทางวัดได้ให้กรมศิลปากร ตรวจสอบ ปรากฏว่า พระหลวงพ่อโต ในส่วนนี้เป็นการสร้างขึ้นภายหลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเนื้อหามวลสารแตกต่างกัน และอายุความเก่าไม่ถึงสมัยอยุธยา ไม่เหมือนกับพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบก่อนหน้านี้

    พระหลวงพ่อโต มีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิ และ ปางมารวิชัย องค์พระคมชัดนูนเด่น พระพักตร์ใหญ่ และมักปรากฏรายละเอียดต่างๆ บนพระพักตร์อย่างครบถ้วน รวมทั้งเส้นสังฆาฏิ ด้านหลังองค์พระ ส่วนใหญ่มีรอยปาด ที่เรียกกันว่า "รอยกาบหมาก"

    พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มีของปลอมมานานแล้ว ทั้งที่ถอดพิมพ์ หรือสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งส่วนหนึ่งที่คนร้ายได้ขโมยแม่พิมพ์เก่าไป ได้เอาไปกดพิมพ์พระกันใหม่ ก็เป็นอีกฝีมือหนึ่งที่คนร้ายได้ทำ พระปลอม วางขายกันมาโดยตลอด

    การพิจารณาจากพิมพ์ทรงองค์พระ จึงอาจจะมีปัญหา เพราะ พระปลอม ส่วนหนึ่งมักจะมีจุดตำหนิเหมือนกับ พระแท้ มาก สิ่งที่ต้องยึดเป็นหลักในการพิจารณา คือ เนื้อพระ ที่ไม่สามารถทำได้เหมือน โดยเฉพาะ ความเก่า ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ซึ่งย่อมแตกต่างกับ ความเก่าที่แปลกปลอม อันเกิดมาจากการเร่งทำปฏิกิริยาด้วยน้ำยาทางเคมี หรือการเผาไปที่เป็นไปอย่างเร่งรีบ

    อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาท หรือถามผู้รู้ไว้ก่อน ก็ย่อมจะปลอดภัยจาก พระปลอม ได้ในระดับหนึ่ง

    พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่ชายชาตรีสมัยก่อน หรือนักเลงโบราณ นิยมกันแขวนโชว์นอกเสื้อมานานแล้ว ด้วยความเชื่อมั่นในพุทธคุณ ที่เลื่องลือกันมานานแล้วว่า เป็นพระคงกระพันชาตรี มหาอุด ปืนผาหน้าไม้ทำอะไรไม่ได้เลย ขณะเดียวกัน คนสมัยใหม่ต่างยืนยันว่า ทางด้านเมตตามหานิยมก็เป็นเลิศ

    ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อมูลที่ยืนยันตรงกันหลายแหล่ง
    จึงอยากให้เพื่อนๆระมัดระวังในการเช่าหานะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระแท้ของ เต้ สระบุรี

    วิธีพิจารณาดูพระเครื่องของแท้

    เนื้อนั้นสำคัญไฉน
    เนื้ออย่างนี้จะเก๊ได้อย่างไร หรือ เนื้อแบบนี้มันทำเก๊ไม่ได้หรอก คำพูด ๒ ประโยคนี้นักเล่นพระคุ้นทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ คุ้นเคยกันอย่างดี

    นักสะสมในอดีตส่วนใหญ่นิยม ยึดเอาลักษณะเนื้อหาของพระเครื่อง เป็นหลักใหญ่ในการพิจารณาพระเครื่องต่างๆ โดยเฉพาะ พระกรุ พระเก่า เช่น พระประเภทพระเนื้อดิน พระสกุลเมืองลำพูน หรือ พระสกุลเมืองกำแพงเพชร ถือได้ว่าเป็นพระเนื้อดี มีเนื้อหาอันงดงามกว่าพระเครื่องเนื้อดินเมืองอื่นๆ มีสีสันมากมาย หลายสี เนื้อในมีความละเอียดหนึกนุ่มและมี ว่านดอกมะขาม ปรากฏอยู่เป็นเอกลักษณ์

    หลายคนจึงยึดติดเอากับ ว่านดอกมะขามนี้ เป็นเกณฑ์ชี้ขาดพระแท้ ซึ่งขอบอกไว้ตรงนี้ว่า ไม่ได้

    เพราะ...ปัจจุบันนี้ พระปลอมก็มี ว่านดอกมะขามพรึบพรับไปหมด หรือถ้าเป็น พระเนื้อดินสกุล อยุธยา-สุพรรณบุรี ส่วนใหญ่เป็น พระที่สร้างในสมัยอยุธยา มักจะมีเนื้อหยาบ โดยทั่วไปมักจะมีการตัดขอบข้างและหลัง จึงทำให้เม็ดกรวดในเนื้อพระเกิด รอยครูดไปกับรอยปาด เมื่อนำพระไปเผา และถูกใช้สัมผัส เม็ดกรวดบางเม็ดก็จะหลุดไปเป็น รอยกรวดหลุด รอยว่านหลุด นักเลงพระรุ่นก่อน จึงนำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณา แต่ปัจจุบัน พระปลอมก็มีการทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาหมดแล้ว จึงจะนำสิ่งเหล่านี้ใช้เป็นหลักชี้ขาด พระแท้ พระปลอม เพียงอย่างเดียวไม่ได้

    หลักการพิจารณาพระแท้และพระปลอม ในปัจจุบัน แบ่งเป็น ๓ หลักใหญ่ อย่างกว้างๆ ดังนี้

    ๑.พิมพ์ทรง ซึ่งถือว่า มีความสำคัญที่สุด สำหรับการพิจารณาพระเครื่อง เพราะถือว่าเป็น แบบแผนตายตัวของพระเครื่องแต่ละชนิดที่กด หรือเทหล่อมาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกันจะต้องมีลักษณะเหมือนกัน ขนาดขององค์พระต้องไม่แตกต่างจนเกินเหตุ

    ผู้ชำนาญแต่ละประเภทสามารถแยกได้ว่า พระแต่ละชนิดมีแม่พิมพ์ ประมาณกี่แม่พิพม์ แต่ละแม่พิมพ์ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์อย่างไร มีลักษณะหน้าตา การวางแขน วงแขน มือ การวางขา เท้า ฐาน เป็นอย่างไร เช่น

    พระกำแพงเม็ดขนุน ที่เท้าข้างขวามีการวางแบบยกส้นขึ้น มีตุ่มเนื้อเกินที่ปลายเท้าเป็นเอกลักษณ์ในแม่พิมพ์ (วงการพระเรียกว่า ลูกตะกร้อ) หรือ ในพระกำแพงกลีบบัว พิมพ์เกศแฉก ที่โคนเกศด้านซ้ายจะมีปลายเกศแยกออกไปอีก คล้ายหางเปีย เป็นเอกลักษณ์ในแม่พิมพ์ (วงการพระเลยเรียกว่า พิมพ์เกศแฉก)

    เมื่อพบว่า พระเครื่ององค์ไหนมีลักษณะผิดไปจากแม่พิมพ์ ในวงการจะเรียกว่า ผิดพิมพ์ ถือได้ว่าเป็นพระที่ไม่เป็นมาตรฐาน และไม่สามารถกำหนดราคาเป็นสากลได้ เพราะฉะนั้น การที่จะเรียนรู้พิมพ์ทรงพระเครื่องชนิดนั้นๆ ได้ จำเป็นต้องศึกษาจากการได้เห็น ได้สัมผัสของจริง จึงจะรู้ลักษณะ ขนาด มิติ ต่างๆ ขององค์พระ หนังสือหรือตำราพระเครื่อง ใช้เป็นส่วนประกอบได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

    ทุกวันนี้ พระปลอม หลายรุ่น ผู้ทำปลอมมักนำพระแท้มาถอดเป็นแม่พิมพ์ พระปลอมจึงจะมีความคล้ายในด้านรูปทรงเป็นอย่างมาก แต่ขนาด มิติ ความคมชัด จะไม่เหมือนกับของแท้ ถ้าเราได้เห็น และสัมผัส พระแท้ จะทำให้เราได้รู้ความลึกชัด เส้นสายรายละเอียด เหลี่ยมมุมต่างๆ ซึ่งในหนังสือหรือตำราพระเครื่องเล่มใดๆ ก็ไม่สามารถ แสดงตรงนี้ออกมาได้ ผู้นิยมพระเครื่องจึงต้องขวนขวายที่จะหาพระองค์จริงมาดูเป็นแม่แบบ หรือเก็บไว้เป็นองค์ครูเพื่อจะได้นำมาพิจารณาดูได้บ่อยๆ ป้องกันความสับสนในอนาคตข้างหน้า เวลาที่ไม่ได้เห็นพระเครื่องชนิดนั้นนานๆ

    ๒.เนื้อ เนื้อหาของพระเครื่อง จัดว่ามีความสำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง แต่เป็นอันดับรองลงมาจาก พิมพ์ทรง เพราะเนื้อของพระเครื่องในการจัดสร้างสมัยโบราณนั้น ไม่ได้กำหนดปริมาณการตวงวัด อย่างเป็นมาตรฐาน มีอย่างไร ทำไปอย่างนั้น จึงพบได้ว่า พระเครื่องแต่ละชนิดมักพบลักษณะเนื้อได้หลายแบบ ดังนั้น เมื่อพระถูกสัมผัส ถูกใช้ ถูกเก็บรักษา ที่แตกต่างกัน เนื้อของพระเครื่องก็จะแตกต่างกันไป อีกอย่างในสกุลพระลำพูนและพระสกุลกำแพง มักพบ ว่านดอกมะขาม ปรากฏอยู่ในองค์พระ

    ว่านดอกมะขามที่ว่านี้ มักจะพบในพระที่ถูกสัมผัสใช้มา หรือประเภทพระกรุเก่า แต่ ในพระเครื่องที่เก็บรักษามาอย่างดีโดยไม่ถูกสัมผัส หรือประเภทพระกรุใหม่ พระมักจะมี ผิว และคราบกรุคลุมอยู่ จึงทำให้พิจารณาว่านดอกมะขามได้ลำบาก จึงยากที่จะนำมาพิจารณา ยิ่งในปัจจุบันการผสมเนื้อพระปลอมนั้นทำได้ใกล้เคียงมาก จนยากแก่การพิจารณาเนื้อเป็นที่สุด โดยเฉพาะพระที่ใช้ชํ้า หรือสึกลบเลือน เพราะผิวพรรณ คราบกรุ ธรรมชาติต่างๆ ของพระจะหลุดออกไป ทำให้หลักพิจารณาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งไม่ปรากฏอยู่ด้วย

    ๓.ธรรมชาติ เป็นหลักพิจารณาประกอบอีกหนึ่งประการที่ใช้ประกอบร่วมกับเนื้อหาของพระนั้นๆ ซึ่ง หมายถึงรูปแบบของ ผิวพรรณ คราบกรุ สนิม การตัดขอบ การกดพิมพ์ การเท รูปแบบด้านข้าง-ด้านหลัง ของพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องแต่ละแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ชำนาญการจะนำลักษณะธรรมชาติต่างๆ ขององค์พระ รวมถึงกรรมวิธีสร้างของพระแต่ละแบบ มาพิจารณาร่วมด้วยทั้งหมด เช่น พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จ.สุโขทัย ผิวพรรณธรรมชาติ มักมีคราบกรุเป็นฝ้า หินปูนสีขาวอมเหลือง ปกคลุมอยู่ทั่วไป ก็ต้องอาศัยจดจำสีสัน ธรรมชาติ ความหนา-บาง-แน่น ของคราบนี้ประกอบด้วย หรืออย่าง พระขุนแผน กรุวัดบ้างกร่าง สุพรรณบุรี ด้านขอบข้างขององค์พระจะปรากฏรอยปาด โดยธรรมชาติ พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่างเป็นพระเนื้อหยาบ มีกรวดปนอยู่ จึงมักเกิดรอยครูดของกรวดไปกับด้านที่ถูกปาด และธรรมชาติที่สำคัญของ เนื้อพระบ้านกร่าง มักจะเรียงตัวเป็นชั้นๆ ลักษณะเหมือนหินกาบ จะสังเกตเห็นได้ง่ายจาก พระพลายคู่ตัดเดี่ยว ในด้านที่มีรอยตัดใหม่ ซึ่งอย่างในพระปลอมยังมีลักษณะต่างไป แต่ใน พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มักมีการปาดที่ด้านหลังแทน (ที่ไม่เป็นรอยปาดก็มีแต่เป็นส่วนน้อย หรืออาจเป็นกรุอื่นก็ได้ต้องดูพิมพ์และเนื้อ ประกอบ) เราจึงต้องนำธรรมชาติตรงนี้มาร่วมพิจารณาประกอบด้วย

    ถ้าพระเครื่ององค์นั้นเป็นพระแท้ที่มีพิมพ์ทรง เนื้อหาถูกต้อง แต่ธรรมชาติของพระเครื่องชนิดนั้นเกิดผิดไป ก็ยังสามารถบ่งบอกได้ว่า พระองค์นั้นต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นแน่นอน เช่น ถูกล้างขัด ทำผิวใหม่ รวมทั้งมีการศัลยกรรม อุด-ซ่อม ขึ้นตรงบริเวณที่ธรรมชาติผิวพรรณผิดแปลกไป ซึ่งผู้ชำนาญการจะใช้ธรรมชาตินี้แหละ พิจารณาพระชำรุดที่ถูกอุดซ่อม โดยการไล่พิจารณาดูความเสมอของผิว สีสันของคราบกรุ ว่าผิดเพี้ยนไปจาก บริเวณรอบข้างหรือไม่

    พระชำรุดเมื่อนำมาซ่อม ช่างซ่อมจะต้องทำการพรางที่บริเวณรอยต่อ รอยอุด ซึ่งตรงบริเวณนั้นธรรมชาติของผิวพรรณ คราบกรุ จะไม่เหมือนกับบริเวณใกล้เคียง เราต้องใช้ความละเอียดในการสังเกตพิจารณา เพราะฉะนั้น ธรรมชาติต่างๆ ในองค์พระจึงเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการพิจารณาพระเครื่องแต่ละชนิดๆ

    ปัจจุบันนี้การทำพระปลอมนั้น มีการพัฒนาการได้ใกล้เคียงของแท้ขึ้นเรื่อยๆ เราจึงต้องจดจำลักษณะทุกด้านของพระเครื่องนั้นๆ ให้ครบ อย่าใช้หลักเพียงอย่างเดียว ในการพิจารณาพระเครื่อง เราต้องศึกษาให้รู้ถ่องแท้ทุกด้านที่กล่าวมาเสียก่อนแล้วนำ มาประกอบรวมกันพิจารณาอย่างละเอียดทุกด้าน อาจใช้หนังสือหรือตำราเป็นแนวทางการศึกษาได้ แต่ต้องลงภาคปฏิบัติศึกษาจากของจริงที่เชื่อถือได้ให้เป็นประจำ จนขึ้นตา ขึ้นใจ จึงจะเรียกได้ว่ามีเกราะคุ้มกันพระปลอมติดตัว
     
  20. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    วันนี้ความรู้เยอะจัง............อ่านจนตาลายหมดแล้ว......ขอบคุณครับที่นำสิ่งดี ๆ มาให้อ่านกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...