ตำนานผีล้านนาตอนหำยนต์กั๋นผี

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย พชร (พสภัธ), 16 มีนาคม 2012.

  1. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    <TABLE class="uiGrid fbPhotosGrid" id=u2ttrb_5 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class="vTop hLeft prm">
    </TD><TD class="vTop hLeft prm">
    </TD><TD class="vTop hLeft prm"></TD><TD class="vTop hLeft lastChild"></TD></TR></TBODY></TABLE>“หำยนต์” ไม้แกะสลักแผ่นเล็กๆ แต่อุดมไปด้วยเรื่องราวชวนพ<WBR>ิศวงงงงวยอย่างคาดไม่ถึง ชาวล้านนานิยมประดับ “หำยนต์” ขนาดกว้างราว 1 ฟุต ยาวสัก 3 ฟุต ไว้เหนือประตูทางเข้าห้องนอ<WBR>นของเจ้าเรือน นัยว่าเป็นสัญลักษณ์บอกให้ผ<WBR>ู้มาเยือนรู้ว่าห้องนี้เป็น<WBR> “ที่รโหฐาน” หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่<WBR>มิปรารถนาให้ผู้อื่นเข้าไปข<WBR>้องแวะ

    เพราะชาวล้านนามีธรรมเนียมก<WBR>ารถือ “ผีประจำตระกูล” กันมาแต่โบราณกาล กรวยดอกไม้ไหว้ผีก็วางไว้บน<WBR>หิ้งเหนือหัวนอนเจ้าเรือน ห้องนอนจึงถือเป็นพื้นที่ศั<WBR>กดิ์สิทธิ์ หรือที่อยู่ของ “ผี” ที่เชื่อว่าจะบันดาลความร่ม<WBR>เย็นเป็นสุขให้ครอบครัว จึงมิพึงปรารถนาให้ผู้มาเยื<WBR>อน ซึ่งถือเป็น “คนต่างผี” ย่างกรายเข้าไปทำให้ผีที่ตน<WBR>นับถือขุ่นเคือง

    บางตำราว่าลวดลายพรรณพฤกษาท<WBR>ี่ประดับ “หำยนต์” นั้น ไม่ใช่งานแกะสลักหรือฉลุให้<WBR>ดูสวยงามเท่านั้น แต่ยังซ่อนคาถาอาคมไว้ในลวด<WBR>ลาย เผื่อว่า “คนต่างผี” ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจรุกล้ำเ<WBR>ข้าไปในห้องนอน ผีหรืออวิชชาในตัวคนนั้น ก็จะถูก “สแกน” หรือสยบให้ราบคาบเสียก่อน จนมีภาษิตล้านนากล่าวว่า “หำยนต์กั๋นผี ขอบธรณีกั๋นขึ้ด” (ขึ้ด คือสิ่งไม่ดีหรือเสนียดจัญไ<WBR>รทั้งหลาย)

    ว่ากันว่าเวลาขึ้นบ้านใหม่ เจ้าเรือนต้องนำหำยนต์เข้าร<WBR>่วมพิธีด้วย ในกรณีที่ซื้อหรือได้สิทธิ์<WBR>ครอบครองบ้านต่อจากคนอื่น ก่อนจะเข้าไปอยู่ ต้องถอดหำยนต์ของเดิมออกมาท<WBR>ำลาย แล้วนำหำยนต์ของตนเองไปติดแ<WBR>ทน นัยว่าเป็นการอัญเชิญผีประจ<WBR>ำเข้าไปสถิตในที่ใหม่

    แต่เพราะตำแหน่งที่ตั้งของห<WBR>ำยนต์ใกล้เคียงกับตำแหน่ง “ทับหลัง” ในสถาปัตยกรรมชวาและขอม คือแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืน<WBR>ผ้าวางไว้เหนือประตู นิยมประดับลวดลายพรรณพฤกษาแ<WBR>ละรูปเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ไว้สักการบูชา จึงมีข้อสันนิษฐานว่าบางที “หำยนต์” อาจได้รับอิทธิพลจากชวาและข<WBR>อมที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน

    แต่ที่น่าสนใจคือแล้วทำไมต้<WBR>อง “หำ” ซึ่งตรงตัวได้ว่า “ลูกอัณฑะ” เรื่องนี้ปราชญ์ล้านนาอย่าง<WBR>ศาสตราจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ ตีความว่า “อัณฑะ” เป็นแหล่งรวมพลังของผู้ชายห<WBR>รือของเจ้าเรือน ส่วน “ยนต์” หมายถึงสิ่งปกปักรักษาพื้นท<WBR>ี่ศักดิ์สิทธ์ รวมความแล้ว “หำยนต์” น่าจะหมายถึงสิ่งคุ้มครองพล<WBR>ังศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าเรือน<WBR> คือผีประจำตระกูล

    ทำให้นึกถึงคำเรียกเด็กผู้ช<WBR>ายของชาวอีสานที่ว่า “บักหำน้อย” หรือ “ไอ้ไข่นุ้ย” ของคนใต้ สะท้อนว่าคนไทยให้ความสำคัญ<WBR>กับ “หำ” หรือ “ไข่” มาแต่โบราณแล้ว

    ปราชญ์อีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี ตีความว่า “หำยนต์” มาจาก “หัมมิยะ” กับ “อันตะ” หมายถึงชิ้นส่วนที่ใช้ตกแต่<WBR>งส่วนยอดของปะรำหรือสถานที่<WBR>ให้เกิดความสวยงาม ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของส<WBR>ถาปัตยกรรมล้านนา ไม่เกี่ยวกับคาถาอาคมที่ใช้<WBR>สยบหรือกำราบใคร และบ้างก็ว่าชาวล้านนาได้รั<WBR>บคติเรื่องหำยนต์ มาจากชาวลัวะ ชนพื้นเมืองเดิมที่นิยมแกะส<WBR>ลักไม้ประดับเหนือประตูทางเ<WBR>ข้าห้องนอน เหมือนกับที่รับ “กาแล” มาจากเขาควายที่หน้าจั่วบ้า<WBR>นชาวลัวะเช่นกัน

    แต่ไม่ว่า “หำยนต์” จะมาจากไหน มีความหมายอย่างไร ผมคิดว่านี่คือสัญลักษณ์ที่<WBR>ทำให้เราตระหนักว่า มนุษย์ล้วนมีเกียรติศักดิ์ศ<WBR>รีเท่ากัน แต่ละคนมีพื้นที่ศักดิ์สิทธ<WBR>ิ์ที่ผู้อื่นต้องเคารพ เช่น พื้นที่ทางความคิดที่ไม่จำเ<WBR>ป็นต้องเหมือนใคร และไม่อาจมีใครมาล่วงละเมิด<WBR>ได้

    “หำยนต์” ของคนโบราณอาจบอกเราว่า ถ้าเราไม่เคารพพื้นที่ศักดิ<WBR>์สิทธิ์ของเราเอง ก็อย่าคาดหวังว่าจะได้รับคว<WBR>ามเคารพจากคนอื่น

    (สังเขปจากบทความ ‘หำยนต์’ ศักดิ์ศรีคน ศักดิ์สิทธิ์บ้าน" คอลัมน์: ความยอกย้อนของกาลเวลา



     
  2. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">หำยนต์ ยามเฝ้าประตู </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE> <SCRIPT language=JavaScript type=text/JavaScript> function mxclightup(imageobject, opacity){ if (navigator.appName.indexOf("Netscape")!=-1 &&parseInt(navigator.appVersion)>=5) imageobject.style.MozOpacity=opacity/100 else if (navigator.appName.indexOf("Microsoft")!= -1 &&parseInt(navigator.appVersion)>=4) imageobject.filters.alpha.opacity=opacity } </SCRIPT> <LINK href="http://www.bansongthai.com/components/com_maxcomment/templates/default/css/default_css.css" type=text/css rel=stylesheet> <TABLE class=contentpaneopen cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=mxcdefault_dotted cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY></TBODY></TABLE>
    หำยนต์เป็นชื่อของแผ่นไม้แกะสลักลวดลายโบราณที่ติดตั้งเหนือประตูห้องนอนของเรือนล้านนา

    หำยนต์เป็นชื่อของแผ่นไม้แกะสลักลวดลายโบราณที่ติดตั้งเหนือประตูห้องนอนของเรือนล้านนา ส่วนใหญ่เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามักเกี่ยวข้องกับความเชื่อลี้ลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไป ต่างๆ ให้กับเจ้าของบ้าน [​IMG]แม้ความเชื่อเรื่องหำยนต์ จะซ่าลงไปในยุคสมัยปัจจุบัน แต่กระนั้นตามบ้านเรือนล้านนาโบราณยังคงความเชื่อเช่นนี้อยู่และอาจสืบทอดไปสู่คนรุ่นหลังในบางพื้นที่ หำยนต์มักจะทำขึ้นพร้อมๆ กับการปลูกเรือนใหม่ เมื่อเจ้าของบ้านได้แผ่นไม้ที่จะทำหำยนต์ อาจารย์หรือพระผู้มีวิชาจะนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสาเอกเพื่อทำพิธีถอน ทั้งนี้เพราะคนเมืองล้านนานั้นเมื่อจะประกอบพิธีกรรมใดๆ จะต้องทำพิธีสูตรถอนก่อนทุกครั้งและก่อนที่แกะสลักลวดลายหำยนต์ เจ้าของบ้านจะต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนมาอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่หำยนต์ เมื่อทำการแกะสลักหำยนต์แล้วจึงนำมาประดับไว้ที่บริเวณเหนือประตูทางเข้าห้องนอนของเจ้าของบ้าน โดยจะมีการทำพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหาร ให้อาจารย์กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุข นี่เป็นความเชื่อหนึ่งของคนล้านนาที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ทว่าในช่วงเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมา มีนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นออกมาให้ทัศนะต่อหำยนต์ในหลายความคิดเห็น บ้างก็ว่าเป็นการทำไสยศาสตร์ มนต์ดำของพม่าในยุคที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งให้ความหมายของหำยนต์ว่าเป็น ยันตร์สำหรับป้องกันภัยอันตราย อีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าหำยนต์มีที่มาจากทับหลัง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเขมร แล้วแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนา ซึ่งก็ว่ากันไป... ต่อไปนี้เป็นนานาทัศนะของผู้รู้หลายท่านที่ได้กล่าวถึงความหมายของหำยนต์ อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ กล่าวไว้ในหนังสือศิลปลานนาไทย เรื่องเรือนแบบล้านนาว่า คำว่า "หำ" เป็นศัพท์ล้านนาไทยแปลว่า "อัณฑะ" ถือว่าเป็นสิ่งที่รวมแห่งพลังบุรุษชน ส่วนคำว่า "ยน" คงได้มาจากภาษาสันสกฤตคือ "ยนตร์" แปลว่าสิ่งป้องกันรักษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหำยนต์จึงเป็นส่วนตกแต่งเรือนและทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันอันตรายจากภายนอก ซึ่งมีที่มาจากเกียรติมุขในศิลปชวา

    [​IMG]อาจารย์ไกรศรี ยังกล่าวอีกว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหำยนต์นี้เป็นอัณฑะของพม่านั้นเอง เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่องต่อสู้ขับไล่พม่า ซึ่งไปสอดคล้องกับความคิดเห็นของ อาจารย์เฉลียว ปิยะชน กล่าวไว้ในหนังสือเรือนกาแลว่า เมื่อชาวล้านนาจะขายบ้านหรือซื้อบ้านต่อจากเจ้าของบ้านคนเก่า ก็จะทำพิธีด้วยการตีหำยนต์แรงๆ เพื่อทำลายความขลัง การทุบตีหำยนต์เปรียบเหมือนการตีลูกอัณฑะวัวควายในการทำหมัน ซึ่งเป็นการทำให้หมดสมรรถภาพ การหมดความศักดิ์สิทธิ์ของหำยนต์ก็เช่นกัน

    ด้านอาจารย์มณี พยอมยงค์ ปราชญ์พื้นบ้านล้านนาให้ทัศนะว่า หำยนต์ มาจากคำว่า อรห+ยนต รวมเป็นคำว่า อรหันยันตะ แปลว่า ยันต์ของพระอรหันต์ ท่านกล่าวว่าในลวดลายต่างๆ ที่แกะสลักบนแผ่นหำยนต์นั้น น่าจะมีคาถาติดอยู่ เช่น คาถานโมพุทธศาสนา คาถากันผี เป็นต้น

    ในการกำหนดขนาดของหำยนต์ จะวัดจากความยาวของเท้าเจ้าของบ้าน ถ้าเป็นประตูขนาดเล็กก็จะใช้ขนาดสามเท่าของเท้า ประตูขนาดใหญ่จะต้องวัดให้ได้ขนาดสี่เท่าของเท้าเจ้าของบ้าน ทั้งนี้การปลูกเรือนในสมัยก่อน ส่วนใหญ่จะใช้สัดส่วนจากมนุษย์เป็นตัวกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและมีความเชื่อเข้าไปสัมพันธ์ว่า ควรจะเป็นขนาดเท้าของเจ้าของบ้านถือว่าเป็นการข่มผู้ที่จะลอดใต้หำยนต์ หากเป็นผู้มีวิชาอาคมต่างๆ ก็จะเสื่อมถอยลง คนล้านนาโบราณจึงถือว่าหำยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของบ้านได้

    ขณะเดียวกัน อาจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี ปราชญ์พื้นบ้านชาวล้านนาอีกท่านหนึ่งได้ให้ความหมายของหำยนต์ในอีกทัศนะหนึ่งว่า หำยนต์ น่าจะเรียกว่า หัมยนต์ มากกว่า สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า หมมิย+อนต อ่านว่า หัมมิยะอันตะ คำว่า "หัมมิยะ" แปลว่า ปราสาทโล้น หมายถึงเพิงบังแดดชั่วคราว ส่วนคำว่า "อันตะ" แปลว่า ยอด ดังนั้น "หัมมิยะอันตะ" แปลว่า ปราสาทที่ไม่มียอด จึงอาจเป็นส่วนที่ตกแต่งในส่วนยอดของปะรำที่ห้อยลงด้านล่าง ท่านยังแสดงความคิดเห็นว่า หำยนต์ เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นคาถาอาคม เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการให้เกิดความสวยงามแก่ตัวบ้านเท่านั้นเอง

    [​IMG]ในงานนิทรรศการเรื่องเกี่ยวกับ หำยนต์ ซึ่งอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ จากคณะวิจิตรศิลป์จัดขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียลควีนสปาร์ค เมื่อ ปี พ.ศ.2537 ท่านได้อธิบายเรื่อง หำยนต์ในสถาปัตยกรรมการสร้างเรือนแบบล้านนาว่า อาจจะมาจากส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมของชาวลัวะ ซึ่งเป็นชนชาติ พื้นเมืองเดิมของล้านนา เป็นรูปแบบลายไม้แกะสลักเหนือประตูทางเข้า ห้องนอนของเรือนรุ่นเก่าของชาวลัวะด้วยและต่อเนื่องมาถึงเรือนกาแลของล้านนา แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับทับหลังปราสาทหินของขอมซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน ก็อาจเป็นข้อสันนิษฐานอย่างหนึ่งว่า อาจจะมีที่มาจากแหล่งต้นกำเนิดใกล้เคียงกันก็เป็นได้

    ขณะที่ความสำคัญของหำยนต์แต่เดิมนั้น เป็นตัวบอกว่านี่คือประตูห้องนอนของเรือนหลังนั้น ซึ่งประตูห้องนอนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะได้แบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติน คือห้องรับแขก เป็นการจัดแบ่งพื้นที่เฉพาะส่วนตัวของครอบครัวซึ่งนับถือผีเดียวกันของตระกูล เพราะตามปกติคนล้านนาก็จะไม่อนุญาตให้คนต่างผีหรือแขกผู้มาเยือนล่วงล้ำเข้าไปในเขตของตน หำยนต์จึงเป็นกำหนดจัดแบ่งพื้นที่เฉพาะ

    ดังนั้นเมื่อเราขึ้นไปเยี่ยมบ้านคนอื่นถ้าเห็นหำยนต์ติดไว้เหนือประตู แสดงว่าพื้นที่นั้นห้ามมิให้คนภายนอกล่วงล้ำเข้าไป ถ้าเข้าไปก็จะเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมาลาโทษ

    นานาทัศนะของเรื่อง หำยนต์ จากผู้รู้หลายท่านก็ว่ากันไป ซึ่งความเชื่อดังกล่าวจะถูกผิดอย่างไรก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนเสี้ยวจากผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่าปัจจุบันหำยนต์ถูกหลงลืมไปในหมู่คนรุ่นใหม่ หลายคนอาจไม่รู้จักและไม่เคยเห็นด้วยซ้ำว่าหำยนต์หน้าตาเป็นอย่างไร

    หำยนต์จะเป็นเพียงงานสถาปัตยกรรมล้านนาที่ประดับตามบ้านเรือนทั่วไป หรืออาจเป็นความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่ป้องกันภยันตรายต่างๆ ไม่ให้เข้ามาในบ้าน ก็ยังไม่มีการค้นหาศึกษา อย่างจริงจัง คงมีเพียงข้อสันนิษฐานว่ากันไปต่างๆ นานา กระนั้นบทความชิ้นนี้น่าจะมีส่วนสะท้อนให้คนหันมาเห็นคุณค่าและค้นหาความหมายของหำยนต์กันมากขึ้น ซึ่งบางทีเราอาจไม่ได้เห็นหำยนต์เป็นเพียงไม้แกะสลักโบราณที่วางขายกันตามร้านค้าของเก่าเพียงเท่านั้น


    ที่มา : www.chiangmainews.co.th</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กระทู้นี้เป็นประโยชน์มากนะครับ...สมัยนี้ไม่เห็นกันแล้ว....
     
  4. Nakharin W

    Nakharin W Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +60
    เกิดมาเพิ่งเคยได้เห็นได้รู้ครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
     
  5. คนข้างทาง

    คนข้างทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    216
    ค่าพลัง:
    +392
    เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับ ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...