สิ่งเร้นลับมหัศจรรย์(พบพระพุทธเจ้าที่นิพพานไปแล้ว)...และท่องยมโลก (มีคลิปครับ)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ผู้เตือน warn, 17 พฤษภาคม 2012.

  1. wat2518

    wat2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +147
    ไอบ่าวนี้มันเข้าใจยากจริง พาลอีกต่างหาก ฉานจะบอกบ่าวให้น๊ะ ยาวๆง่ายๆ

    ถ้านายเป็นพวกนับถือศาสนาพุทธจริง ให้ไปอ่านประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ท่านธุดงค์ปักกรดอยู่ ท่านหามีดเล็กประจำตัวไม่เจอ ก็ได้มี

    พระอรหันต์ในสมัยพุธกาลชื่อ พระพากุลละ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้า

    ทรงยกย่องแต่งตั้งเป็นเอกคัตทะในด้าน เป็นผู้มีอาพาทน้อย ได้มาหาหลวงปู่

    ชอบ มาสอนแนะนำเพิ่มเติมในทางปฏิบัติกรรมฐาน ท่านมาจากแดนนิพพาน

    ถ้านายเชื่อในคำบอกเล่าของหลวงปู่ชอบ นายต้องเปิดใจ ยกเว้นเสียว่านายไม่

    เชื่อ นายก็จะยิงคำถามแบบพาลๆอีก เวรกรรม เวรกรรม phudit999 ปฏิบัติ

    ไม่ได้แล้วมามั่วเขาอีก :d:d:d
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  2. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ผม ก่ รอ ท่าน ช่วย มา อธิบาย ล่ะ ครับ

    จึง ตั้ง คำ ถาม ทิ้ง ไว้

    ท่าน มี ข้อ มูล ก่ ว่า มา รอ อยู่ ครับ
     
  3. wat2518

    wat2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +147
    ไอ้บ่าวนี้เดี๋ยวตรูให้... สักที มันกวนจริง ตรูหรือฉานดี ฉานก็ได้ นายไปอ่านประวัติ
    หลวงปู่ชอบที่ฉานบอกไว้ก่อนหน้านี้ ไปอ่านมาก่อนค่อยมาคุยกัน เดี๋ยวฉานให้ลูกชายคนเล็ก 13 ขวบมาตอบคำถามแทน นายอย่ามาคุยกับเราเลย นายคุยกับลูกเราไปก่อนน๊ะนายคนเหนือ .................
     
  4. eakkypoo

    eakkypoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +139
    คุณอย่าไปเถียงเขา พวกน้ำเชี่ยวอย่าเอาอะไรขวาง
    เขาจะไป อเวจี หรือไปไหนก็เรื่องของเขา เราอธิบายไป ก็กรูจะเชื่อตามนี้ ใครจะทำไมฉนั้น อย่าไปเถียงเขาครับ

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านที่สุดขนาดไหนแล้ว

    ง่ายๆคำเดียว นิพพานคือ ปัจจัตตัง

    รำคาญไม่ได้อยากมาพิมพ์ตอบ
    แต่รำคาญพวกรู้มาก ปทปรมะ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไม่มีใครพูดผิดหรือพูดถูก คือพูดถูกทั้งสองฝ่าย คนที่เห็นรูปย่อมบอกว่ามีรูป คนที่ไม่เห็นรูปย่อมบอกว่าไม่มีรูป พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมสายกลาง รูปมีอยู่ก็ถูก แต่ถูกในปัจจุบันผิดในอนาคต เพราะรูปในปัจจุบัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมดับไปในที่สุด

    รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา ควรแล้วหรือที่จะยึดมั่นถือมั่น ว่าสิ่งนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา
     
  6. พุทธธรรมดิลก

    พุทธธรรมดิลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +383
    มันเป็นปัจตังครับ ไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ
     
  7. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ---------------------------

    เรื่องรูปเค้ารู้กันว่ามันคือสมมติ ไม่ใช่ไร้ปัญญา
    แต่ที่มีนั่นคือจิตสำนึก ว่าควรที่จะระลึกถึงพระคุณทำได้อย่างไร
    และใช้อะไรเป็นสื่อ นี่แหละคือความหมาย

    หากมองอะไรแล้วไม่ยึดมั่นไปหมด ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกเนรคุณ
     
  8. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ทิ้ง คำถาม เพื่อ การ พิจารณา ต่อ ยอด ครับ ไม่ ได้ มา กวน ใคร ให้ ปั่น

    ป่วน แต่ อย่าง ใด....เป็น เพียง คำถาม (จิต เจตนา ไม่ ได้ กวน ใคร)

    สรุป คือ กฎไตรลักษณ์ ไม่ ได้ ครอบ คลุม ถึง ทุก สรรพ สิ่ง

    และ ไม่ ได้ ก้าว ล่วง ตั้ง แต่ นิพพาน .... แต่ จะ มี กฎ เช่น ใด ไม่ รู้

    ใคร รู้ ก่ ขอ ยินดี ด้วย ที่ เข้า ถึง แล้ว


    ที่ ถาม ว่า ไม่ ใช่ ตัว ตน ของ เรา แท้ (อนัตตา)

    ก่ ให้ ต่อ ยอด ต่อ ไป ว่า .... อะไร คือ ตัว ตน ที่ แท้

    เพราะ ว่า เมื่อ ไม่ ใช่ ตัว ตน แท้ มัน ก่ ต้อง มี ตัว ตน ที่ แท้ สิ ครับ

    ใคร จะ มา อธิบาย ให้ ฟัง ล่ะ ครับ ....ถาม ก่ ไม่ ได้ ... งง จริง ๆ

    ใน ตำรา โบราณ มี กล่าว หรือ เปล่า ใคร รู้ ก่ เชิญ มา ตอบ สิ ครับ

    จะ มา ยัด .......ให้ ทำไม .... เพราะ ว่า คุณ อู๋9 เป็น ผู้ เจริญ แล้ว

    ใน ธรรม ก่ คง ไม่ มา ยัด..... ใส่ ผม น่ะ ครับ

    ---------------------------------------

    เคย เห็น พระ แสดง ธรรมาส ให้ ประชาชน เขา ดู หรือ เปล่า ครับ

    พระ เขา จะ แถลง ไข ธรรม แต่ ละ ข้อ จะ ต้อง มี ผู้ ถาม ผู้ ตอบ

    ผู้ ถาม ก่ จะ ถาม ให้ ถึง ใส้ ทะลุ ให้ ถึง กึ่น จะ กวน บ้าง ก่ บาง หัว ข้อ

    ผู้ ตอบ ก่ จะ ตอบ แบบ มี สติ ปัญญา ที่ ดี งาม ด้วย ธรรม อัน งด งาม

    ชาว บ้าน จึง จะ เข้า ใจ

    ---------------------------

    ผม ก่ เลย เขียน เพื่อ วาง บันใด ให้ ขึ้น กัน ...

    เปิด ธรรม ให้ แสดง ....

    ผล คือ มี คน มา ด่า ให้ ของ ....

    สำหรับ ผู้ ที่ มา แสดง ธรรม อัน งด งาม (แบบฆราวาสธรรม) ก่ ขอ ให้ ท่าน

    เป็น ผู้ เจริญ ใน ธรรม ที่ ยิ่ง ๆ ขึ้น ไป น่ะ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  9. kencito

    kencito เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +954
    โดนใจอะพี่ ชอบๆ
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นิพพานคือนิพพาน

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๒

    นิพพานคือนิพพาน

    สติเป็นสำคัญนะ เรื่องธรรมที่จะแก้กิเลสทุกประเภท สติกับปัญญาจึงเป็นเครื่องมือชั้นเอกเลยขาดไม่ได้ ที่เป็นพื้นฐานของธรรมทุกขั้นก็คือสติ เป็นพื้นฐาน จากนั้นปัญญาก็รอบ สติธรรม คนมีสติก็เป็นคนธรรมดาเรา คนไม่มีสติก็พลั้ง ๆ เผลอ ๆ คนไม่มีสติจริง ๆ ก็คือคนบ้า ไม่มีผิดมีถูกคนบ้า เช่นอย่างไฟเขียวไฟแดงที่รถวิ่งสวนกันไปสวนกันมานี้ คนบ้าเขาจะไปจัดของเขาอะไรอยู่นั้นแหละ เครื่องบริขารแตก ๆ เติก ๆ ใส่ถุงใส่ย่ามเขา เขาจะจัดนั้นจัดนี้ใส่ เราไปเห็นที่อุดรฯ นี้ โห อย่างนี้เอง เอามาพิจารณาเป็นธรรมนะ คือพวกรถวิ่ง วิ่งมานี่ คนบ้าเขาจัดของอยู่ท่ามกลางของไฟเขียวไฟแดงเลยนะ ทีนี้รถไม่ทราบจะไปยังไงมายังไง ตอนนั้นยุ่ง ตำรวจยังไม่มีนี่นะ ไม่มีตำรวจ รถยุ่ง เขาเฉยไม่สนใจกับอะไร เราก็ดู

    อ้อ คนเมื่อขาดสติเสียจริง ๆ แล้วก็เป็นได้อย่างนี้ เอามาเทียบนะ คือสตินี้เป็นคุณภาพอันสูงสุดเทียวนะ ทุกขั้นของธรรมสติเป็นพื้นฐานตั้งแต่ต้นจนสุดยอดเลย พอสุดยอดแล้วตอนที่จะสุดยอดจริง ๆ ท่านเรียกว่ามหาสติมหาปัญญา กลมกลืนกันเป็นอันเดียว ทีแรกต้องวางรากฐานสติไว้ให้ดี นี่เอามาพิจารณาตอนไปเห็นคนบ้าจัดอะไรต่ออะไร ของอะไรมีแต่ของทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ นั้นแหละ เขาเอาจัดใส่ถุงใส่อะไรเขา หยิบอันนั้นใส่ หยิบอันนี้ใส่ของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วรถวิ่งไปวิ่งมา จะตายละรถติด สี่แยกไฟแดงอุดรฯ

    นี่ไปเห็นด้วยตานะ เราเอามาพิจารณา อ๋อ คนเราเมื่อขาดสติจริง ๆ แล้วก็เป็นอย่างนี้ นี่หมายถึงว่ามีแต่ความรู้คือจิต ไม่มีสติควบคุม ปัญญาควบคุม เป็นเจ้าของ มีแต่ความรู้มันก็อย่างนี้ อย่างพวกบุ้งกือไส้เดือนนี้เขาก็คืบคลานของเขาไปตามเรื่อง นั่นละมีแต่ความรู้อย่างเดียวเป็นอย่างนั้น ไม่รู้ผิดรู้ถูก เพ่น ๆ พ่าน ๆ ไป รู้ยังไงไปยังงั้น แต่ความรู้นั้นก็มีอันหนึ่งของมันอยู่นั้นละคือฝ่ายชั่ว คือฝ่ายกิเลส มีแต่ความรู้กับกิเลสล้วน ๆ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าความรู้มีธรรมเข้าไปแทรกก็มีความรับผิดชอบ ต่างกันอย่างนั้นนะ

    ความรู้นี่รู้อย่างนั้นแหละ ไม่เคยสูญเคยหายเคยตายเคยฉิบหายเลยความรู้นี้ ท่านจึงบอกว่าเป็นอจินไตยพระพุทธเจ้า ว่าอย่าไปถามถึงเรื่องว่าอดีตกาลเป็นมายังไง กำเนิดของความรู้เป็นมายังไง ความดับของจิตจะดับที่ไหนหรือไม่ดับที่ไหน พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งนี้เป็นอจินไตย ไม่เกิดประโยชน์ ท่านจึงเทียบเข้าไปเหมือน ข้อเปรียบเทียบเทียบเข้าไปปุ๊บ เหมือนหนามยอกเท้าเรา เมื่อหนามยอกเท้าให้รีบถอนหนามออก อย่าไปถามหาสกุลหนามว่าหนามนี้มาจากสกุลไหน เกิดมาแต่เมื่อไร ๆ เท้าจะเน่าเฟะเสียไปหมด ไม่เกิดประโยชน์ ท่านว่าอย่างนั้น

    ข้อเปรียบเทียบฟังซิเข้ากันได้ปุ๊บเลย ให้รีบถอนหัวหนามแล้วเอายาใส่ นี่เป็นประโยชน์ อย่าไปถามหาสกุลหนามว่าหนามนี้เป็นมายังไง มาจากสกุลใด มาเมื่อไรเรื่อยไปอย่างนั้น เหมือนถามหาเรื่องจิตว่างั้นเถอะ สุดท้ายเท้าก็เน่าเฟะทิ้งเปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์ ท่านจึงห้าม เป็นอจินไตย ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อันใดที่จะเป็นประโยชน์ให้รีบจัดการตรงนั้น คือรีบถอนหัวหนาม แล้วอะไรมันขัดข้องภายในตัวของเราเวลานี้ ตัวของเราทั้งหมดมันก็เหมือนเท้า กิเลสทั้งมวลความเชื่อทั้งมวลมันก็เหมือนหนามยอกเท้า ให้รีบถอดรีบถอนออก

    นี่ละพระพุทธเจ้ารับสั่งคำไหนตรัสคำไหนหาที่ค้านไม่ได้ ให้รีบถอนหัวหนาม อย่าไปถามหาสกุลหนาม ให้รีบถอนออกทันทีแล้วเอายาใส่แล้วหาย ถ้าไปถามหาหนามถามหาสกุลหนามแล้วเท้าเน่าเฟะตายทั้งคนไม่เกิดประโยชน์ การถามอย่างนั้นไม่ใช่เป็นประโยชน์

    นี่จิตที่มีแต่จิตล้วน ๆ ไม่มีผู้อารักขา ไม่มีสติไม่มีปัญญารักษา มันก็รู้ของมันไปตามภาษีภาษาไป แต่ความสุขความทุกข์มี แต่ความรู้ดีรู้ชั่วผิดถูกไม่มี เพราะไม่มีสติควบคุม ท่านจึงต้องให้ตั้งสติเริ่มต้น เช่นอย่างพวกภาวนาสติขึ้นเป็นพื้นฐานเลย เวลาตั้งเข้าไป ๆ มันหากมีเครื่องหนุนกันนั่นแหละ ตั้งสติเพื่อทำความดี ผลประโยชน์ที่จะเกิดจากสติที่กระจายออกไปนี้เราพรรณนาไม่ได้นะ พอมีสติตั้งเข้าไปในตัว เฉพาะอย่างยิ่งตั้งเข้ามาในตัวนี้เราจะรู้สึกตัวของเราทันที อย่างไม่มีสติตั้งกับจุดใดอย่างธรรมก็ตาม เพียงมีสติดูตัวเองพิจารณาตัวเอง ปัญญาดูตัวเอง จะมีอะไรทื่อท่าเข้ามาให้เกิดความรู้สึกตัวเรื่อย ๆ ผิดถูกชั่วดีก็จะเริ่มรู้ แล้วความแก้ไขตัวเองก็จะมาพร้อม ๆ กัน คิดหาไตร่ตรองหาความแก้ความไขของตัวเอง ก็จะค่อยเป็นไป เพราะฉะนั้นสติจึงต้องหยั่งเรื่อย ๆ

    เช่นอย่างเราภาวนามีสติควบคุมอยู่ตลอด เรียกว่าเป็นความเพียรตลอด พอสติพรากไปเมื่อไรความเพียรขาดทันที ๆ เวลาสติตั้งเรื่อย ๆ ก็มีกำลังขึ้น ๆ ปัญญาก็ค่อยติดตามกันมา ๆ จนกลายเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ คือไม่ต้องตั้ง ธรรมขั้นนี้ไม่ต้องตั้งสติมีตลอด ปัญญาก็เหมือนกันเมื่อเวลาเข้าถึงขั้นธรรมอันละเอียดแล้ว สติปัญญาจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันเลย เคลื่อนพร้อมกันเลย ๆ เพราะติดแนบด้วยกัน สติปัญญาอัตโนมัติ นี่ละท่านว่าสติปัญญาฆ่ากิเลส ถ้าลงสติปัญญาขั้นนี้เกิดขึ้นแล้วกิเลสมีเท่าไร ๆ เป็นพังทั้งนั้น ๆ วัฏวนความหมุนของจิตเพื่อวัฏวนความเกิดแก่เจ็บตายนี้ จะประมวลเข้ามาหาเชื้อของมันคืออวิชชา นี่ตัวฝังลึก ฝังให้สัตว์เกิดสัตว์ตายตลอดเวลา

    คำว่าเกิดตายหมายถึงร่างนะ เข้าไปสู่ร่างนั้นร่างนี้เรียกว่าเกิด ร่างนั้นสลายเรียกว่าตาย แต่จิตนั้นไม่ได้ตาย คือจิตมีอวิชชาเป็นเชื้อพาให้เกิดให้ตายอยู่ในจิตนี้ เข้าตรงนั้นออกตรงนี้เรื่อย ๆ ตามจิตอันนี้ต้องตามด้วยแบบพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ใครจะเอาแบบไหนมาใช้สามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีความหมาย แบบพุทธศาสนาแล้วจะตรงเป๋งเลยเทียว เข้าถึงจุด เหมือนอย่างเราตามรอยโค เราเอาโคไปปล่อยที่ไหน ถ้าเราไปดักตรงโน้นดักตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าจะเจอตัวโคเมื่อไร ให้ติดตามรอยมันไปเช่นอย่างพวกชาวนาเขา เขาปล่อยโคไว้ที่ไหนเขาติดตามรอยไป ตามไปแล้วก็ไปถึงตัวโค

    อันนี้ตามรอยวัฏจักรวัฏจิตด้วยจิตตภาวนา คือด้วยความพากเพียรทุกด้านทุกทางเหมือนตามรอยโค ตามเข้าไป ๆ ขั้นหยาบขั้นละเอียดจะทราบไปเป็นระยะ ๆ นี่ทางของพระพุทธเจ้าทางพ้นทุกข์ ตามไป ๆ ทีนี้จิต คำว่าจิตนั้นละเอียด ๆ หมายถึงสิ่งเกี่ยวข้องกับจิต จิตจะละเอียดเข้าไป ๆ คือสิ่งเกี่ยวข้องกับจิตจะละเอียดเข้าไป ๆ ส่วนคำว่าจิตจริง ๆ มีรู้เท่านั้น ความสว่างนี้เป็นอาการอันหนึ่ง ๆ ในเวลาบำเพ็ญ จิตจะค่อยหนาแน่นเข้าไปมีสมาธิ หนาแน่นมั่นคงเข้าไป สติค่อยดีขึ้น ๆ ปัญญาค่อยกระจายออก ๆ มันจะเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายนอกภายในไปพร้อม ๆ กัน

    เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ พอปลูกต้นไม้แล้วกิ่งก้านสาขาดอกใบจะแตกออกไปจากต้นของมัน ออกจากลำต้นของมัน กิ่งนั้นแตกไปนั้น กิ่งนี้แตกไปนี้กว้างแคบจะเกิดขึ้นจากลำต้นนี้ อันนี้ก็จะเกิดขึ้นจากจิต ความรู้ความเห็นต่าง ๆ นี้จะแตกออก ๆ คือไม่ต้องไปศึกษากับใครแหละเบื้องต้นที่ปรากฏขึ้นมา ทีนี้พอมันเกิดขึ้นมาแล้วได้ศึกษาละที่นี่นะ ศึกษาครูบาอาจารย์ผู้ท่านเชี่ยวชาญกว่าเรา อันไหนผิดอันไหนถูกท่านจะแนะ ๆ เราก็ค่อยเดินตามท่านแล้วค่อยขยายออก ๆ สุดท้ายก็ค่อยเป็นตัวของตัวเอง

    นี่เราหมายถึงเรื่องติดตามวัฏจิตวัฏจักรติดตามด้วยจิตตภาวนา ตามเข้าไป มันจะมีวงแคบเข้าไป สิ่งเกี่ยวข้องของมันจะถูกตัดออก ๆ มันยั้วเยี้ยไปหมดนะ จิตดวงเดียวนี้มันรู้รอบโลกธาตุ มันติดไปหมดเลย เวลาเข้าไปตรงนี้แล้วค่อยตัดทางโน้นทางนี้ ทางเหล่านั้นก็ค่อยหดเข้ามาย่นเข้ามา เพราะออกจากจิตอันเดียว เมื่อจิตหดเข้ามาสิ่งเหล่านั้นก็หดเข้ามาลงไปรวมอยู่ที่จิต ตัดออกไปเรื่อย ๆ ตัดเข้าไป สุดท้ายร่างกายที่เป็นอุปาทานยึดมั่นที่สุด ร่างกายนี่ยึดมั่นส่วนหยาบ ยึดมั่นส่วนละเอียดก็นามธรรม พวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เป็นกิ่งของอวิชชาทั้งนั้นนะ คือเป็นทางหากินของอวิชชา เหล่านี้เป็นทางเดินหากินของมันทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างออกกว้านหากินสร้างวัฏจักรเข้ามาหาวัฏจิต สร้างเข้ามา

    ทีนี้เวลามันรู้แล้วก็ค่อยตัดเข้ามา ๆ ตัดเข้ามาจนกระทั่งร่างกายตัดออก ๆ เวลารู้ชัดตรงไหน ๆ มันจะถอนอุปาทานพร้อมกันไป ๆ นี่เรียกว่าตามรอยของจิตคือตามอันนี้ ตามเข้าไป สุดท้ายเมื่อกายก็ขาดไปแล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตามเข้าไปอีก ๆ จนกระทั่งถึงจิต ถึงจิตก็ถึงอวิชชา อวิชชาที่ฝังอยู่ในจิต ที่นี่วัฏจักรวัฏจิตจะสิ้นสุดกันลงจุดนั้น เกิดแก่เจ็บตายมากี่กัปกี่กัลป์มีแต่อันนี้ทั้งนั้นแหละพาให้เป็น เวลาตามเข้าไปไปถึงจุดมันแล้ว ทำลายจุดนั้นปั๊บ อวิชชาที่ฝังอยู่ในจิตเหมือนกับหนามยอกเท้ามันฝังอยู่ในจิต หนามอวิชชายอกจิต ถอนปัวะออกมาแล้ว ทีนี้ขาดสะบั้นไปหมด กระจายไปหมดเลย ตัวเดียวเท่านี้ที่ทำให้โลกมืดมิดปิดตา รู้หมดทันทีไม่ต้องไปถามใคร พอตัวนี้ถอนปึ๋งมานี้ขาดสะบั้นออกหมดไม่มีอะไรเหลือเลย โลกธาตุนี้เหมือนไม่มีเพราะจิตไม่ไปหมาย จิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้วไปหมายอะไร คิดกับอะไร

    คำว่าจิตบริสุทธิ์เต็มที่นี้เป็นธรรมทั้งดวงไปแล้วนะ หมายถึงว่าธรรมทั้งดวงกับจิตทั้งดวงเป็นอันเดียวกันแล้ว นั่นเรียกว่าจิตกับธรรมเป็นอันเดียวกัน ถึงจุดนี้แล้วขาดสะบั้นหมด เรื่องสมมุติทั้งมวลนี้ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้อง เป็นอฐานะ คือให้เป็นไปอย่างไรอีกไม่ได้แล้ว จะบังคับให้ติดก็ไม่ติดเมื่อถึงขั้นของมันแล้ว เมื่อยังไม่ถึงขั้นบังคับให้ถอนมันก็ไม่ยอมถอน มันยึดมั่นถือมั่นของมัน พอถึงขั้นของมันแล้วมันถอนของมันเอง เมื่อถอนเต็มส่วนแล้วทีนี้จะบังคับให้ติดก็ไม่ติด เป็นหลักธรรมชาติแล้ว เรียกว่าเป็นอฐานะ ให้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้แล้ว

    ทีนี้เวลาถึงขั้นนั้นแล้ว นั่นละท่านเรียกว่าขั้นอัศจรรย์ อัศจรรย์โลกสมมุติเรานี้เป็นอันหนึ่งนะ ที่ว่าอัศจรรย์ของธรรมแท้จิตแท้ เรียกว่าจิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต เรียกว่าธรรมธาตุก็ไม่ผิด ท่านให้ชื่อว่านิพพาน ธรรมธาตุ จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้วพระพุทธเจ้าทรงให้ชื่อว่านิพพาน จะแยกเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ คำว่านิพพานเป็นคำเดียวเท่านั้น อันไหนไม่เหมือน อันไหนไม่ถูก

    อย่างที่ว่าไว้ มีผู้มาอ้างในพระไตรปิฎกก็มีนี่นะ ว่าพระไตรปิฎกท่านแสดงไว้ว่านิพพานเป็นอนัตตา หึย ว่าอย่างนี้เลยเรานะ อ้าวจริง ๆ มันยันกันเลยทันที มันเดินให้เห็นอยู่ชัด ๆ นี่นะ นิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง นิพพานคือนิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นี้เรียกว่าไตรลักษณ์เข้าใจไหม เราพิจารณาเพื่อพระนิพพาน ต้องเดินไปตาม อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อพิจารณาอันนี้รอบแล้วปล่อย ๆ พอถึงขั้น อนัตตา เต็มส่วนแล้วปล่อย อนัตตา ปุ๊บถึงนิพพาน แล้ว อนัตตา ทำไมจะไปเป็นนิพพาน ถ้า อนัตตาเป็นนิพพาน นิพพานก็เป็นไตรลักษณ์ล่ะซีเข้าใจไหม นี่ละว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ อัตตา ก็เป็นส่วนสมมุติ อัตตา คือความยึดถือ อัตตา ตนจะไปเป็นนิพพานได้ยังไง อัตตา ความถือตนถือตัว อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ

    พระองค์แสดงไว้แล้วว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต แล้วก็ อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ ดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียได้ อัตตาฟังซิ ถอนอัตตานุทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิก็เป็นทางเดิน ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พญามัจจุราชจะติดตามเธอไม่ทันอีกแล้ว นั่นท่านให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ แล้วยังทำไม อัตตา จะมาเป็นนิพพานเสียเอง เอาพิจารณาซิ ยันกันอย่างนั้นซิ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็เป็นทางเดินเพื่อก้าวสู่พระนิพพาน อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้ เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ

    อย่าเอาหนอนแทะกระดาษมาอวดนะ ให้เอาภาคปฏิบัติจับกันทันทีไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้า นี้จริง ๆ นะ เราพูดอย่างนี้มันคึกคัก มันหากเป็นของมันนี่นะ ก็มันจัง ๆ อยู่นั่นเห็นประจักษ์ ทูลถามพระพุทธเจ้าทำไมว่างั้นเลย ของอันเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน ถามกันหาอะไร นี่ละคำว่านิพพานต้องเป็นนิพพานเท่านั้นเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ จะเอาอัตตา อนัตตา เข้าไปใส่ อย่าเอามูตรเอาคูถไปโปะพระนิพพานว่างั้นเลย นิพพานคือนิพพานเลิศเลอสุดยอดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แสดงไว้แล้ว นี่มีในพระไตรปิฎก แล้วพระไตรปิฎกไหนจะมาว่านิพพานเป็นอนัตตาได้อีก เอาอย่างนี้ซิ

    มี พระเจ้าฟ้าเจ้าคุณท่านมาพูดถึงเรื่องว่า ในพระไตรปิฎกท่านว่านิพพานเป็นอนัตตา ชึ่ย ว่างี้เลยเรา ดีไม่ดีมันส่อให้เห็นผู้ไปจดจารึกพระไตรปิฎกมาเป็นคนประเภทใดอีกด้วยนะ ถ้าเป็นคนประเภทพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้วจะว่านิพพานเป็นอนัตตาไม่ได้เป็นอันขาด นอกจากพวกคลังกิเลสมันเข้าไปจดจารึก ได้คำบอกเล่าอะไรมาก็มาว่าผิด ๆ ถูก ๆ ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงส่อให้เห็นว่าผู้ไปจดพระไตรปิฎกมานี้เป็นคนประเภทใด มันบอกด้วยนะ อ่านไปในพระไตรปิฎกบอกไปในตัวเสร็จ ว่าผู้จดจารึกพระไตรปิฎกเป็นคนประเภทใด ถ้าเป็นคนประเภทเป็นพระอรหันต์จดจารึกมาแล้ว จะมีเน้นมีหนัก นี่เรียบ ๆ ไป พูดไปที่ไหนส่งเสริมแต่กิเลสเรื่อยไป ตีกิเลสไม่มีนี่บอกแล้ว ความจริงมีนี่

    เหมือนเราถากไม้นี่สมมุติว่าต้นเสานี่นะ ต้นเสาตรงนี้มันเรียบ ๆ ตรงไป เขาก็ถากเสมอ ๆ พอไปถึงจุดคดจุดงอเขาจะถากหนักมือ คดงอที่ไหนจะต้องถากอย่างหนักมือเพื่อให้ราบเสมอกัน อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นพระอรหันต์ท่านจดจารึกตามหลักความจริง หลักความจริงมีชื่อนี่นะ พอไปเจอหลักความจริงก็เน้นหนักลงไปจุดนั้น ๆ พอเรียบ ๆ ถึงจุดไหนที่เป็นบทหนักที่ควรจะเน้นหนัก ก็ต้องเน้นหนัก ๆ นั่นเรียกว่าหลักความจริง อันนี้มีแต่เรียบ ๆ ไปพูดที่ไหนยกมือไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ จดจารึกไปที่ไหนไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ มันอดคิดไม่ได้นะ เรายกให้หลักใหญ่ที่นำมาเป็นแบบเป็นฉบับของพวกเราชาวพุทธนี้นะ เราไม่ได้ปฏิเสธไปหมดนะ ไอ้กิ่งก้านสาขาไปนั่นซิ ไปเอากิ่งไหนมาทับกับกิ่งไหนผสมกับกิ่งไหนก็ไม่รู้ สุดท้ายก็ยกยอกิเลส

    ยกยอมันเท่าไร โคตรพ่อโคตรแม่ของกิเลสมันไม่เคยทำประโยชน์ให้แก่ใคร มีแต่เอาไฟมาเผาโลก จะไปยกยอมันหาอะไร ธรรมต่างหากเป็นเครื่องเชิดชูสัตวโลก ควรจะยกยอธรรม เหยียบกิเลสลงไปมันถึงจะถูกว่างั้น พูดต้องขออภัยนะ นี่ละเรียกว่าพูดตามหลักความจริงต้องพูดอย่างนั้น ให้ตรงไปตรงมา เรื่องกิเลส โอ๋ย ไม่ได้นะ ปลิ้นปล้อนหลอกลวง ไพเราะเพราะพริ้งนิ่มนวลอ่อนหวาน แต่ความโกหกอยู่ในนั้นหมดเลย ธรรมะนี้ไม่ ตรงไปตรงมา ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ดีว่าดี ชั่วว่าชั่วไปเลย จึงเรียกว่าภาษาของธรรมเป็นภาษาที่สะอาดมากที่สุด ไม่มีเล่ห์มีเหลี่ยม ตรงไปตรงมา ภาษาของกิเลสเป็นภาษาที่สกปรกมากที่สุดเลย ต่างกันอย่างนี้นะ

    นี่เราพูดถึงเรื่อง อัตตา อนัตตา ก่อนจะถึงพระนิพพาน ถึงธรรมชาติที่ให้ชื่อว่านิพพานนั้นต้องผ่านไตรลักษณ์ไปเสียก่อน ไม่ผ่านไตรลักษณ์ไปจะถึงความบริสุทธิ์ไม่ได้ จะถึงนิพพานไม่ได้ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เรียกว่าไตรลักษณ์ พิจารณา ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อะไรก็ตาม ๓ ประเภทนี้จนพอแล้วมันปล่อยของมัน ถ้าไม่พออันนี้ยังไม่ปล่อย ยังต้องพิจารณา อัตตา อนัตตา เหล่านี้อยู่ในวงเดียวกันของการดำเนินเพื่อก้าว ๆ ผ่านไป อัตตาก็เป็นตัวกิเลสอันสำคัญจึงถอนด้วย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ถอนอันนี้อีกทีหนึ่ง อัตตานุทิฏฐิ ความถือว่าเป็นตนเป็นตัว เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เหล่านี้ ถอนอันนี้ออก แล้วจากนั้นก็ ทั้งหมดนี้เป็น อนัตตา นะ ปล่อย เมื่อถึงขั้นสุดยอดแล้วทั้งหมดเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งนั้นนะ เป็น อนัตตา ทั้งนั้น จิตถอนปึ๋งออกจากนี้ ถอนจากนี้แล้วเรียกว่าอะไรตรงนั้น

    นั่นละพระพุทธเจ้าเลิศเลิศจากการถอนทั้งสามนี้แล้วนะ อยู่ใน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อัตตาเหล่านี้ถอนไม่ได้ตายอยู่นั่น ถอนจากนี้แล้วจึงจะเป็นนิพพาน แล้วนิพพานอะไรถึงจะมาแอบซ่อนอยู่ในไตรลักษณ์ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และ อัตตา นิพพานก็ไม่มีที่พึ่งเที่ยวไปเกาะไตรลักษณ์อยู่นั้น เป็นอิสระได้ยังไง พูดแล้วเราคันฟันนะ โอ๋ย เถียงกันตาดำตาแดงจนกลายเป็นหมากัดกัน เถียงว่านิพพานเป็นอัตตาเป็นอนัตตา เถียงยุ่งกันไปหมดเลย คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอัตตา คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอนัตตา เอ้า กัดกันไปเราว่างั้น เฉย เอ้ากัดกันไป

    ถาม ได้ยินว่าพวกนักปราชญ์ทางศาสนาเขาบอกว่าจะทำการสังคายนาพุทธศาสนา จะได้เขียนว่าอะไรเป็นอะไร แล้วเขาไม่ได้ปฏิบัติอันนี้น่าเป็นห่วงค่ะ คือทุกคนที่สังคายนาก็ไม่มีใครปฏิบัติเจ้าค่ะ

    ตอบ อันนี้เป็นเรื่องของเขานะ เราก็เตรียมสังคายนาเรานะ ไปสังคายนากับเขาใช้ไม่ได้ เราต้องเตรียมสังคายนาเรา พระพุทธเจ้าสังคายนาพระองค์แล้วจึงตรัสสอนโลก พระอรหันต์ทั้งหลายท่านสังคายนาท่านเรียบร้อยแล้วจึงสั่งสอนโลก ทีนี้เขาจะเอาไปกัดกันที่ไหนมันแล้วแต่เขา

    ถาม ถ้าพยายามรักษาสติ สมาธิมันจะตามมาใช่ไหมเจ้าคะ

    ตอบ ทำสมาธิก็สงบง่ายถ้าสติดี สติเป็นของสำคัญมาก แม้เราจะไม่เข้าบทภาวนาก็ตาม เราทำอะไร ๆ อยู่นี้ให้มีสติประจำตัว เรียกว่ามีธรรมประจำตัว ท่านให้ชื่อว่าผู้มีสติอยู่ตลอดทุกอิริยาบถนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา สติจดจ่อตรงนี้ สัมปชัญญะซ่านไปหมด เรียกว่ารู้ตัวไปหมด สติรู้อยู่จำเพาะ เช่นอย่างเรากำหนดพุทโธ รู้อยู่กับพุทโธ พอย้ายจากพุทโธมาแล้ว เราจะเคลื่อนไหวไปมาทำหน้าที่การงานอะไร ความรู้คือสตินี้จะซ่านไปตามความเคลื่อนไหวของเรานี้ เรียกว่า สัมปชัญญะ แยกมาจากสติ เข้าใจไหม เอาไปสังคายนานะ

    เข้าใจเหรอที่พูดอัตตา อนัตตา เป็นอย่างนี้ละ นั่นละให้ฟังเอาซิ นี้ยันเลยไม่ได้มีสะทกสะท้านนะสามแดนโลกธาตุนี้ ที่เราพูดออกมานี้เราไม่ได้สะทกสะท้าน เรารู้แล้วเห็นแล้วทุกอย่างว่างั้นเลย จะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตาม พูดไม่พูดก็ธรรมอันเดียวกันนั่นแหละที่รู้อยู่นั้นแหละ เราจะพูดออกไปไม่พูดออกไปก็ธรรมที่เรารู้อยู่นี้แหละว่างั้นเถอะ ส่วนพูดออกไปมีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้นเอง เช่นว่าเรารู้อย่างนี้ คนที่เขาไม่เชื่อก็เป็นอกุศลแก่เขา คนที่เชื่อก็เป็นมงคลแก่คนนั้นเท่านั้นเอง ถ้าพูดออกไปแล้วมีส่วนได้ส่วนเสีย ถ้าไม่พูดก็ไม่มีได้มีเสีย สำหรับธรรมชาติผู้นั้นเองแล้วนะ จะพูดหรือไม่พูดท่านก็ไม่มีได้มีเสีย แต่มันมีได้มีเสียสำหรับเวลาพูดออกไป ผู้ฟังถ้าเชื่อตามหลักความจริงแล้วก็เป็นมงคลแก่ผู้ฟัง ถ้าไม่เชื่อไม่ยอมรับนี้ก็เป็นอัปมงคลแก่ผู้นั้น และกิเลสครอบหัวเอาเลยว่างั้นเถอะนะ กิเลสครอบเอาเลย หามขึ้นเขียงเลย

    นี่เราพูดถึงเรื่องธรรมชาติแท้เป็นอย่างนั้น ท่านให้ชื่อว่านิพพาน คือให้ชื่อธรรมชาตินั้น ธรรมชาติที่จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว เรียกว่าธรรมทั้งแท่งเลย หรือเรียกว่าธรรมธาตุก็ได้ ธรรมธาตุกับนิพพานไม่ขัดกัน แต่อัตตากับอนัตตานี้ โห ไม่ได้เลยนะ อัตตากับอนัตตานี้เข้าไม่ได้เลย เหมือนกับว่าเอามูตรเอาคูถไปโปะทองคำทั้งแท่ง ใครจะยันขนาดไหนก็ยัน ยันขนาดไหนก็เหมือนกับขนมูตรขนคูถเข้าไปโปะทองคำทั้งแท่ง กลบหมดเลยให้มีแต่มูตรแต่คูถเต็มตัว ทองคำไม่ให้เห็นเลย นี่จะไม่ให้เห็นนิพพาน เอาอัตตาเอาอนัตตาเข้าไปเป็นมูตรเป็นคูถเข้าไปโปะเอา ๆ หมดเลย

    ก็มันไม่ได้ปฏิบัติ เรียนตามคัมภีร์ใบลานเฉย ๆ เราก็เรียนมาแล้วเราถึงกล้าพูดได้ ใครจะเรียนสูงเรียนต่ำเรียนมากเรียนน้อยก็ตาม ถ้าไม่ได้ปฏิบัติแล้วก็ไม่มีความหมายอะไรเลย เรียนบาปสงสัยบาป เรียนบุญสงสัยบุญ เรียนนรกสงสัยนรก เรียนสวรรค์สงสัยสวรรค์ เรียนนิพพานสงสัยนิพพาน สุดท้ายเรียนมาเต็มหัวอกความสงสัยเต็มหัวใจ ไม่มีอะไรยึดเป็นของตัวเองได้ เพราะฉะนั้นการเรียนมากเรียนน้อยจึงถือประมาณไม่ได้นะถ้าไม่นำออกปฏิบัติ ถ้านำออกปฏิบัติก็เหมือนตามรอยโค โคไปไหนตามเลยก็จะถึงตัวโค นี่ก็เหมือนกันภาคปฏิบัติเป็นภาคตัดสินได้เลย ภาคอื่นตัดไม่ได้ ความจำเป็นแนวทาง

    เหมือนแบบแปลนของเรา แปลนนี้จะสร้างจะทำสักเท่าไรก็ได้เต็มศาลาก็ได้ก็เป็นแปลนทั้งหมด ไม่ได้เป็นบ้านเป็นเรือนให้ เมื่อดึงแปลนนี้ออกมา แปลนนี้ชี้แจงว่ายังไงจะทำยังไง ตึกรามบ้านช่องหรืออะไรก็ตาม กี่ชั้นกี่ห้องกี่หับ ความกว้างความแคบแปลนเขาบอกไว้เรียบร้อยแล้ว เอานี้ออกไปกางปุ๊บใส่ลงไป แล้วก็จะเริ่มปรากฏตัวขึ้นมาตั้งแต่เริ่มวางรากฐานของตึกรามบ้านช่องขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงคานถึงตัวตึกสำเร็จ นี่เป็นภาคปฏิบัติ ปฏิเวธก็คือเห็นชัด ๆ อยู่นี้ เวลานี้กำลังวางรากฐานก็เห็นอยู่นี้ ขึ้นถึงไหนแล้ว ปฏิเวธคือความรู้ ความรู้ไปตามลำดับ ความรู้ผลของมันไปตามลำดับ ก็เห็นไปเรื่อย ๆ เห็นจนกระทั่งถึงตึกนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    การศึกษาเล่าเรียนถ้าเทียบก็เหมือนกับว่าแปลนบ้าน ปฏิบัติทีนี้ดำเนินงานปลูกบ้าน ปฏิเวธก็คือว่าคอยดูผลของมันเป็นยังไง เวลานี้ได้ถึงไหน ๆ แล้ว ปฏิเวธก็รู้ไปตามลำดับ เวลานี้เทคานแล้ว เวลานี้กำลังวางนั้น ๆ ขึ้นไป ปฏิเวธก็รู้ไปตามลำดับจนกระทั่งถึงบ้านสำเร็จเต็มภูมิแล้วปฏิเวธก็รู้ อ๋อ บ้านนี้เรียบร้อยแล้ว เข้าใจเหรอ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สืบเนื่องกันอยู่นี้

    ศาสนาเราทุกวันนี้มีแต่ศาสนาขาดบาทขาดตาเต็ง ไม่ว่าท่านว่าเรานะ ศาสนาไม่ได้เต็มบทเต็มบาท ศาสนาขาดบาทขาดตาเต็งเวลานี้ มีแต่ภาคปริยัติ เรียนจำได้มากน้อยเพียงไรก็เอาน้ำลายมาโปะกัน ๆ ว่าข้าเรียนได้มากเท่านั้นเท่านี้ ได้แต่ความจำกิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิก ถ้าความจริงจับเข้าไปตรงไหนกิเลสเริ่มไหวตัวนะ จับเข้าไปมากเท่าไร ๆ กิเลสก็เริ่มร้อนละที่นี่ ร้อน ๆ แล้วไล่ขับออกได้หมดด้วยภาคปฏิบัติ ปฏิเวธธรรม ปฏิเวธคือความรู้ ฆ่ากิเลสได้มากน้อยเพียงไรก็รู้ไปโดยลำดับ จนกระทั่งกิเลสมุดมอดหมดไม่มีเหลือทำไมจะไม่รู้ ก็ปฏิบัติเพื่อรู้แท้ ๆ

    ภาคปฏิบัติเท่านั้นจะตัดสินศาสนาพุทธได้นะ เพียงภาคปริยัติตัดไม่ได้ว่างี้เลย ยันได้เลย เพราะเรียนเราก็เรียนมาแล้ว โอ๋ย แบกความสงสัยไปหาพ่อแม่ครูจารย์มั่นเราไม่ลืมนะ เพราะความมุ่งมั่นที่จะหวังมรรคผลนิพพาน มุ่งมั่นเต็มหัวใจอยู่แล้ว แต่ยังสงสัย ฟังซิน่ะ ทั้ง ๆ ที่เรียนไปถึงนิพพานนะ แต่ยังสงสัยว่า เอ๊ สมัยนี้มรรคผลนิพพานจะยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่นา นั่นเห็นไหม ขอให้ท่านผู้ใดมาชี้แจงให้เราทราบว่ามรรคผลนิพพานมีอยู่อย่างสมบูรณ์นี้แล้ว เราจะกราบมอบชีวิตจิตใจกับครูบาอาจารย์องค์นั้น แล้วเราจะปฏิบัติให้ถึงขีดถึงแดนให้ถึงมรรคผลนิพพานนั้น แบบเอาตายสู้เลย

    พอไปถึงหลวงปู่มั่น ท่านก็ใส่เปรี้ยงเลยเทียว หือ ท่านเอาเลยนะ เพราะท่านเอาเรดาร์จับไว้แล้วนี่นะ หือ ท่านมาหาอะไร ท่านมาหามรรคผลนิพพานเหรอ อะไรเป็นมรรคผลนิพพาน ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่าง ๆ ทั่วสามแดนโลกธาตุนี้ไม่ใช่มรรคผลนิพพาน ไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสจริง ๆ ตัวมรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้ปฏิบัติใจ เอาละที่นี่ชี้เข้ามาหาใจ อยู่ที่นี่นะ มรรคผลนิพพานอยู่ที่นี่ ธรรมอยู่ที่นี่ ไม่อยู่ที่เหล่านั้น ให้ปฏิบัติใจให้เกิดความสงบร่มเย็นเข้าไปโดยลำดับนะ เอาใจเท่านั้นนะ

    แต่นั้นก็มีข้อแม้อันหนึ่งว่า เออ นี่ท่านมหาก็เรียนมามากพอสมควรจนถึงขั้นเป็นมหา อย่าว่าผมตำหนิติเตียนธรรมพระพุทธเจ้านะ ธรรมที่ท่านเรียนมามากน้อยเวลานี้ยังไม่เกิดประโยชน์ ขอให้ท่านยกบูชาไว้ก่อน ให้ท่านเน้นหนักทางภาคปฏิบัติให้มาก เมื่อเวลาถึงขั้นปริยัติที่ท่านเรียนมากับปฏิบัติจะวิ่งเข้าหากันแล้วเอาไว้ไม่อยู่ จะวิ่งประสานกัน เอาไว้ไม่อยู่ โอ๋ย มันเป็นจริง ๆ นะ พอถึงขั้นสติปัญญาเกรียงไกรแล้ว ปริยัติกับปฏิบัตินี้วิ่งใส่กันเลย เอาไว้ไม่อยู่เหมือนกันนะ มันหากเป็นของมันเอง ดีดใส่กันพับ เอาปริยัติมาอ้างมาอิง ทางภาคปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ภาคปริยัติเป็นยังไง มันจะวิ่ง สงสัยตรงจุดไหน ๆ ปริยัติท่านว่ายังไง มันวิ่งเข้ามาใส่กันผึง ๆ เลย นี่พ่อแม่ครูจารย์ชี้ให้เห็น

    จึงว่าเรียนมากเรียนน้อยไม่พ้นความสงสัยนะ ใครอย่าเข้าใจว่าใครเรียนมากเรียนน้อยนั้นจะเป็นหลักเป็นเกณฑ์นะ ไม่ได้เป็น ว่างี้เลย เราก็เรียนมาแล้วนี่ ไม่มีอะไรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ถ้าธรรมดาเรื่องที่ยึดที่เกาะนี้ผู้เรียนมากเรียนน้อยมันพอ ๆ กัน ดีไม่ดีผู้เรียนมากนี่ทิฐิมานะยิ่งสูงจรดฟ้า หนายิ่งกว่าคนไม่ได้เรียนเสียอีกถ้าไม่ได้ปฏิบัติ แต่ถ้าปฏิบัตินี้จะถอนตัวออกเรื่อย ๆ กระจายออก ๆ เรื่อย จนกระทั่งถึงว่าเด็ดเลยว่างั้นเถอะนะ ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้า ธรรมอันใดที่ทรงสอนไว้แล้วสอนไว้แล้วโดยถูกต้อง พอเราเจอเข้าไปพับยอมรับทันที ๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นสำเร็จรูปเรียบร้อยแล้ว กราบพระพุทธเจ้านะ แต่เรายังไม่เห็นก็เป็นปัญหาอยู่

    พอเราเจอเข้าจุดไหน ๆ เท่านั้น อ๋อ ๆ เรื่อย ๆ นั่นภาคปฏิบัติเป็นที่แน่ใจ ปริยัตินี่ไม่ได้ นอกจากเป็นหนอนแทะกระดาษ เขาก็เรียนเราก็เรียน เรียนไปเรียนมาเลยเอาความจำนั้นมาเป็นมรรคผลนิพพานเสีย ไม่ได้เอาความจริงเป็นมรรคผลนิพพานล่ะซี ศาสนาจึงขาดบาทขาดตาเต็งเวลานี้ ศาสนาไม่ได้เต็มบาทเต็มเต็งนะ ได้แต่ปริยัติมาโม้กันภาคปฏิบัติไม่เคยสนใจ ไม่ว่าฆราวาสไม่ว่าพระ ปฏิบัติให้มันรู้ตามนั้นซี นี่เรียกว่าเริ่มจะเต็มละนะ พอปฏิบัติเข้าไปปฏิเวธก็จะมาตาม ๆ กัน ก็เป็นศาสนาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าศาสนามีทั้งปริยัติมีทั้งปฏิบัติแล้วปฏิเวธไม่ต้องถาม มาด้วยกัน แล้วก็เต็มบาท อันนี้มีแต่ภาคปริยัติ เรียนจำได้เฉย ๆ กิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิกจากความเรียนนะ ต้องถลอกปอกเปิกหรือขาดสะบั้นไปจากการปฏิบัติต่างหาก

    เอาละนะที่นี่นะ

    คัดลอกมาจาก Luangta.Com -
     
  11. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    จงอย่าสนใจในรูป เป็นธรรมะที่เจาะจงกับ สาวกรูปหนึ่ง ที่หลงใหลในรูปกายพระพุทธเจ้า

    เรื่องมีอยู่ว่า สาวกรูปหนึ่ง หลงใหล ในความสง่างาม รูปกายของพระพุทธเจ้า

    ไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม ให้เจริญก้วหน้า งอกงามไพบูลย์ วันๆเอาแต่นั่งเฝ้ามอง

    พระรูปโฉมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ต่อมา พระพระพุทธเจ้า เห็นดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า เธอจงไปเสียให้พ้น

    ก็คือไล่นั้นเอง สาวกรูปนั้น ก็เสียใจ คิดว่าจะไปกระโดษหน้าผาตาย คิดว่าเราอยู่ไป

    ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว ตายดีกว่า ในขณะที่ จะกระโดหน้าผานั้น

    พระพุทธเจ้าก็ได้ปรากฏโฉมอยู่ตรงหน้า ด้วยพุทธาสนุภาพ แล้วทรงได้ตรัสกับ ว่า

    "เธอจงอย่าสนใจในรูป"

    ความหมายก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับท่าน ว่า
    เมื่อเธอเห็นรูปแล้ว จงทำจิตว่ารูปทั้งหลายมีสภาพพังเหมือนกันหมด
    พระพุทธเจ้าตรัสเพียงเท่านี้ปรากฏว่า ท่านสำเร็จเป็นพระอรหัตผล พร้อมไปด้วย


    "จงอย่าสนใจในรูป" คำสอนนี้ เป็นคำตรัสสอนเฉาะบุคคล ตรัสสอนกับพระสาวกรูปหนึ่ง

    โดยเฉพาะ แต่พวกเราบรรดาสาวก ก็สามารถ เอามาเป็นตัวอย่าง เอามา

    เป็นครู เป็นความรู้ได้ แต่จะได้เหมือนพระสาวกรูปนั้นหรือไม่ ก็ต้องว่ากันอีกที....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤษภาคม 2012
  12. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    อะไร เป็น ตัว ตน ที่ แท้ ...

    ก่ ต้อง ไป ดู ที่ จขกท ยก ขึ้น มา

    ตัว ตน ที่ แท้ อยู่ ไหน ....
     
  13. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด นี่ก็เป็นธรรมตรัสเฉพาะบุคคล

    "เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด"

    ธรรมนี้ พระัพุทธเจ้าตรัสกับ องคุลีมารโดยเฉพาะ

    องคุลีมาร วิ่งไล่ตาม เพื่อที่จะฆ่าะพระพุทธเจ้า เพื่อตัดเอานิ้วมือ

    วิ่งไล่ตาม ไม่ทัน ก็เลยร้อยตระโกน บอกว่า พระหยุดก่อน

    พระพุทธเจ้าตอบกลับไปว่าเราหยุดแล้ว

    องค์คุลีมาร พอได้ฟัง กลับยิ่งโมโห คิืดว่า ไหนบอกว่าหยุด แต่ทำไมยังเดินอยู่

    องค์คุลีมารวิ่งไล่เท่าไหร่ก็ไม่ทัน จึงตระโกนว่า ท่านบวชเป็นสมณะไฉนจึงโกหก

    ว่าหยุดแล้ว แต่ก็ยังเดินอยู่เลย

    พระพุทธองค์ทรงตอบกับไปว่า เ้ราหยุดทำความใชั่ว ต่างหากเล่า

    อกุศลกรรม ความชั่วทั้งมวล เราหยุดแล้ว องค์คุลีมาร พอได้ยินดังนี้ ก็สลดใจ

    นึกว่า เรานี่ทำบาปหนักเสียแล้วหนอ จึงทิ้งดาบ แล้วก้มลงกราบพระพุทธองค์


    เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็เทศน์ตรัส สอน จนทำไห้องค์คุลีมาร

    เหลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอบวช ต่อมาท่านก็ได้สำเร็จเป้นพระอรหันต์..
     
  14. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    "จงอย่าสนใจในรูป" ตามหลักพระพุทธศานาครับ

    เรื่องมีอยู่ว่า สาวกรูปหนึ่ง หลงใหล ในความสง่างาม รูปกายของพระพุทธเจ้า

    ไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม ให้เจริญก้วหน้า งอกงามไพบูลย์ วันๆเอาแต่นั่งเฝ้ามอง

    พระรูปโฉมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ต่อมา พระพระพุทธเจ้า เห็นดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า เธอจงไปเสียให้พ้น

    ก็คือไล่นั้นเอง สาวกรูปนั้น ก็เสียใจ คิดว่าจะไปกระโดษหน้าผาตาย คิดว่าเราอยู่ไป

    ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว ตายดีกว่า ในขณะที่ จะกระโดหน้าผานั้น

    พระพุทธเจ้าก็ได้ปรากฏโฉมอยู่ตรงหน้า ด้วยพุทธาสนุภาพ แล้วทรงได้ตรัสกับ ว่า

    "เธอจงอย่าสนใจในรูป"

    ความหมายก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับท่าน ว่า
    เมื่อเธอเห็นรูปแล้ว จงทำจิตว่ารูปทั้งหลายมีสภาพพังเหมือนกันหมด
    พระพุทธเจ้าตรัสเพียงเท่านี้ปรากฏว่า ท่านสำเร็จเป็นพระอรหัตผล พร้อมไปด้วย


    "จงอย่าสนใจในรูป" คำสอนนี้ เป็นคำตรัสสอนเฉาะบุคคล ตรัสสอนกับพระสาวกรูปหนึ่ง

    โดยเฉพาะ แต่พวกเราบรรดาสาวก ก็สามารถ เอามาเป็นตัวอย่าง เอามา

    เป็นครู เป็นความรู้ได้ แต่จะได้เหมือนพระสาวกรูปนั้นหรือไม่ ก็ต้องว่ากันอีกที..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤษภาคม 2012
  15. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ช่วย ให้ กระจ่าง ดี ครับ

    เรื่อง นิพพาน อัตตา ....หลาย ๆ อย่าง ครบ ครัน
     
  16. Khonthan

    Khonthan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +56
    แต่รูปก็สวยดีนะครับ
     
  17. อู๋9

    อู๋9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +229
    หลวงพ่อเล่าเรื่องเมืองนิพพาน
    โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี



    "วันหนึ่งสมเด็จท่านพามาที่วิมาน นิพพานที่มันกว้างลิ่ว และบ้านนี่นะนานๆจะได้ไปสักที ส่วนมากก็ไปนั่งป๋ออยู่ที่วิมานพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปอยู่ที่นั่นแล้ว เวลาเราตายมันจะไปไหน อาตมาเป็นคนเกาะ พุทธานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ตลอดเวลา ถ้าวันไหนไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าวันนั้นตายดีกว่า มันจะเป็นยังไงก็ตาม ยิ่งป่วยยิ่งไข้ยิ่งหนัก ป่วยนิดเดียวจิตจะไม่ยอมคลาดพระพุทธเจ้า เราถือว่าถ้าเราเกาะพระพุทธเจ้าอยู่ มันจะตายลงนรกก็ยอม ท่านคงไม่ยอมให้ลง แล้วท่านก็พาไปดูที่วิมาน ชี้ให้ดูบอกว่า "คณะของคุณมันมาก เพราะคุณใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป และเป็นฝ่ายวิริยาธิกะ"
    เป็นอันว่าคณะของเราที่ตามกันมาเป็นระยะ ไอ้ที่เขาหนีไปนิพพานแล้วนับไม่ถ้วน พวกนั้นขี้ขลาดสู้เราไม่ได้ ไอ้เราต้องมาตกระกำลำบาก ช่วยกันวิ่งโน่นวิ่งนี่ ไอ้ที่จะกินก็ยังไม่มี แต่ยังพยายามหาเลี้ยงคนอื่น ใช่ไหม....

    วันนี้มีเวลาลองสอบดูนิดหนึ่ง ถามว่า "คณะของข้าพระพุทธเจ้ามีกี่สาย จากหลังบ้านไปนี่"
    ท่านบอกว่า "มี ๓๗ สาย"
    ถามว่า "สายหนึ่งมีระยะยาวเท่าไร....?"

    ท่านบอกว่า "สองแสนโยชน์ของนิพพาน"
    แล้วก็ไปดูเห็นหมดทั้ง ๓๗ สาย สองฝั่งของถนนวิมานเต็มหมด มันไม่มีจุดพร่อง สายหนึ่งประมาณ ๒ แสนโยชน์ แต่ละสาย ๓๗ คูณด้วย ๒ วิมานมันจะตั้งสายละสองฝั่งถนน ๓๗ ถนนยาวเหยียด ถนนกลายเป็นแก้วแพรวเป็นประกายสวยสดงดงามไปหมดบอกไม่ถูก วิมานแต่ละหลังก็แพรวพราวหาที่ติไม่ได้เลย หัวหน้าทีมตั้งบ้านใหญ่อยู่ด้านหน้า ต่อไปก็มีถนนซอยเข้าไป

    ทางด้านของนิพพานนี่เขาอยู่กันเป็นกลุ่มๆ อย่างกลุ่มของพระกกุสันโธ ท่านก็อยู่กลุ่มหนึ่ง วิมานของพระพุทธเจ้าก็ตั้งข้างหน้า บริวารก็เป็นสายอยู่ข้างหลัง พระโกนาคม ท่านก็อยู่กลุ่มหนึ่ง พระพุทธกัสป ก็ตั้งอยู่จุดหนึ่ง ของสมเด็จพระสมณโคดม ท่านก็ตั้งอยู่จุดหนึ่ง

    ตอนนี้ของอาตมาก็เป็นจุดที่แปลก วิมานตั้งอยู่ในเกณฑ์เรียงของพระพุทธเจ้า ใหญ่คล้ายคลึงกัน แต่สวยสู้ของท่านไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่ในฐานะที่ปรารถนาพุทธภูมิมาสิ้นระยะเวลา ๑๖ อสงไขยกับแสนกัปพอดี แต่ว่าต้องเกิดไปอีก ๗ ที ทนไม่ไหวไม่เอา แค่นี้พอ รอเกิดอีก ๗ ครั้ง ก็ในกัปนี้แหละ และต้องไปรอองค์ที่ ๒๒ หลังจากพระศรีอาริย์ ต้องไปนั่งรออยู่ชั้นดุสิต ไม่ไหวเปิดดีกว่า ฉะนั้นกลุ่มของพวกเราจึงมีวิมานตั้งอยู่ในระหว่างกลุ่มของพระพุทธกัสป และกลุ่มของพระสมณโคดม

    เป็นอันว่าหาจุดพร่องไม่ได้ตามสายของพวกเรา วิมานสวยไม่เต็มที่มีอยู่มากพอสมควร แต่ก็ไม่เต็มสาย ที่วิมานสวยไม่มากก็เพราะว่า จิตของบุคคลใดถ้ารักพระนิพพาน วิมานจะปรากฎที่นั่น แต่ถ้าจิตใจของท่านผู้นั้นยังไม่ถึงอรหัตผลเพียงใด วิมานจะสวยไม่เต็มที่ ไอ้จิตกับวิมานมันสวยเท่ากัน เดินไปจึงรู้ เป็นอันว่าวิมานมันนั่งคอยอยู่ เป็นอันว่าคนที่ติดตามมาไม่พลาดพระนิพพาน

    สมเด็จท่านตรัสต่อไปว่า


    ทุกคนที่เอาจริง ที่ตามแกมาตั้ง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัปมันมีที่อยู่กันหมดแล้ว คำว่าถอยหลังไม่มี ประการที่สองให้เตือนไว้ว่า

    ในระหว่างชีวิตที่ยังไม่ตาย
    ใครจะปฏิบัติดีบ้างปฏิบัติชั่วบ้าง ขณะใดที่เราสร้างความดีเพราะจิตมันดี แต่บางครั้งจิตมันจะเศร้าหมองลงไปให้มีแต่ความวุ่นวาย นั่นต้องถือว่าเป็นเรื่องของกรรมที่เป็นอกุศลของชาติก่อนเข้ามาบันดาล แต่เรื่องนี้เราจะแพ้มันในระยะต้น เวลาตายน่ะไม่มีหรอก มันจะทำร้ายได้ชั่วคราวเท่านั้น

    เราจะให้มันในขณะที่มีชีวิตทรงอยู่เท่านั้น ถ้าใกล้ตายจริงๆ ไม่สามารถจะสังหารจิตเราได้ เมื่อใกล้จะถึงความตาย พอจิตเข้าถึงจุดนั้น ไอ้กิเลสไม่สามารถเข้ามายุ่งได้เลย เพราะว่ากรรมที่เป็นกุศลใหญ่ที่บำเพ็ญมาแล้วจะเข้าไปกีดกันหมด กรรมที่เป็นอกุศลเข้าไม่ถึง อาตมารับรองผลว่าทุกคนไม่ไร้สติ และไม่ไร้ความดีที่ปฎิบัติ

    เพราะอะไรเพราะไปตรวจบ้านมาแล้วสบายใจ หมดเรื่องหมดราวเสียที ตามธรรมดาเราจะตำหนิกัน บางคนเราก็เห็นว่ามานั่งกรรมฐานกัน มาศึกษากัน กลับไปก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง เอะอะโวยวาย ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ชำระสินกันไป ถือว่าช่างมันไว้ ท่านบอกว่าไปบอกเขานะ เพื่อความมั่นใจ

    เป็นอันว่าทุกคนที่มีวิมานอยู่ที่นิพพานละก็ควรจะภูมิใจว่าเราเข้าถึงกิจสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้ว ขึ้นชื่อว่าการถอยหลังกลับไปสู่อบายภูมิย่อมไม่มี ถึงแม้ว่าในชาตินี้เราจะประมาทพลาดพลั้งในด้านอกุศลกรรมเป็นธรรมดา ก็แต่ว่าจิตเราก็ต้องหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ ถือว่าขันธ์ ๕ ไม่มีความหมายสำหรับเรา ว่าช่างมันๆเอาไว้ อารมณ์ดีก็ช่างมัน เวลาคันก็ช่างเผือก หมดเรื่องหมดราว อย่างนี้สลับกันไปสลับกันมา คำว่า ฌาน ก็คือ อารมณ์ชิน จิตมันชินอยู่อย่างนั้น จิตมันก็ตั้งอยู่ในอารมณ์พระนิพพานโดยเฉพาะ จิตก็เข้าถึงพระโสดาบัน เรื่องสกิทาคา อนาคา อรหันต์ เป็นของไม่ยาก ยากอยู่ที่พระโสดาบันเท่านั้น

    สมเด็จท่านตรัสเรื่องพระศาสนาว่า
    "การขึ้นคราวนี้กว่าจะลงของพระพุทธศาสนา คนที่จะบรรลุมรรคผล คราวนี้นับโกฏิเหมือนกัน และจะไปโทรมเอา พ.ศ. ๔๕00 ช่วงนี้จะขึ้นเรื่อยๆต่อไปไม่ช้าคำว่าพระนิพพานจะพูดกันติดปาก ชินเป็นของธรรมดา จะเห็นเป็นเรื่องปกติ"

    ถ้าเราจะถอยหลังไปจากนี้ ๒0 ปี จะเห็นว่าจิตใจของคนเวลานี้ต่างกันเยอะ พูดถึงด้านความดีนะ เวลานี้ฟังแล้วทุกคนอยากไปนิพพาน สังเกตที่จดหมายมาบอกอยากจะไปนิพพานทั้งนั้น

    และจากนี้ไปอีกไม่ถึง ๒0 ปี จะมีพระอริยเจ้านับแสนไม่ใช่ฉันสอนเป็นผู้เดียวหรอกนะ คือว่าเขาสอนกันโดยทั่วๆไป แต่ว่ากลุ่มเราจะมาก หมายถึงว่าอาจจะไม่มีตัวมาแต่มีหนังสือมีเทป กาลเวลามันเข้ามาถึง เวลานี้คนที่เข้าถึงมุมง่ายแล้ว กำลังใจมันตีขึ้นมา ถามว่าตอนก่อนทำไมไม่ให้สอนแบบนี้ ท่านบอกว่า คนมันหาว่าง่ายเกินไป มันเลยไม่เอาเลย จะต้องยากๆ แต่พวกของแกไม่มีใครเหลือ ท่านชี้จุดเลย ก็เลยดีใจ แล้วท่านก็บอกว่า

    "ต่อไปภาระมันจะหนัก ต้องวางพื้นฐานไว้"
    ก็ถามว่า "พื้นฐานจากพระองค์อื่นไม่มีหรือ"
    ท่านก็บอกว่า "พระองค์อื่นเขาก็มีความสามารถ ไม่ใช่ไม่มี แต่สงสัยว่าคนที่เรียนกรรมฐาน ๔0 กับมหาสติปัฏฐานจนครบกันนี่มีกี่องค์ หมายถึงว่าทำได้ฌาน ๔ หมด"
    บอก "ไม่เคยถามชาวบ้านเขาเลย" ท่านบอก "ไม่มีหรอก ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครเขาจบ มันเหลืออยู่แกคนเดียว ท่านปานก็ตายเสียแล้ว"

    ท่านบอกว่า "ผู้ที่จะทรงกรรมฐาน ๔0 นี่ ต้องเป็นฝ่ายพุทธภูมิถึงขั้นปรมัตถบารมี ถ้ายังไม่เต็มปรมัตถบารมีนี่ยังไม่ได้กรรมฐาน ๔0 ครบ พระโพธิสัตว์ต้องเรียนวิชาครู"

    ท่านก็ถามว่า "คุณทำไมไม่หมั่นขึ้นมา"
    ก็บอกว่า "เหนื่อยเต็มที ร่างกายเพลียมากก็ต้องชำระตัว เกรงว่าจะประมาท"
    ท่านถามว่า "คนอย่างแกยังมีคำว่าประมาทหรือ....?"
    เลยบอกท่านว่า มี
    ท่านถามว่า "ทำไมว่ามี....?"
    ก็เลยบอกว่า "ยังไม่รู้ตัวว่าดี"
    ท่านบอกว่า "เออ ใช้ได้"

    คือว่าถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็เลวเมื่อนั้น รู้ตัวว่าเราวิเศษแล้วเราประเสริฐแล้ว เราสำเร็จแล้ว ทุกข์มันก็เกิด แต่ว่าอารมณ์จิตถึงระดับนี้แล้ว มันก็คิดงั้นไม่ได้แล้วนะ เรื่องตัวนี้ชำระกันอยู่ตลอดวันเป็นปกติ คำว่าชำระก็หมายความว่า พิจารณาว่าร่างกายไม่มีความหมาย โลกนี้ไม่มีความหมาย คำว่าไม่มีความหมายมันติดอารมณ์
    สมเด็จท่านตรัสต่อไปว่า

    "งานสาธารณประโยชน์ มันเป็น ปรมัตถบารมี อย่างสูงสุด อันนี้จะทำให้เร็วที่สุด ทำให้เร่งรัดพวกเราให้เร็วที่สุด ท่านบอกว่าให้คุณบอกลูกหลานไว้ จะได้รู้ว่าเป็นจุดที่มีกำลังแรงให้เข้าถึงได้เร็วที่สุด เป็นการบั่นทอนไอ้กฎของกรรมต่างๆ ที่มันคอยกั้นขวางเรา งานนี้มันเป็นเมตตากฎของกรรมมันก็ดันไม่อยู่"

    ต่อไปเรื่อง "สมเด็จองค์ปฐม" ซึ่งทรงพระนามว่า พระพุทธสิกขี พระพุทธเจ้านี่มีชื่อซ้ำกันนะ อย่าง เรวัติ ก็มีชื่อซ้ำกัน พระพุทธสิกขีนี่องค์ปฐมจริงๆ
    วันนั้นพบท่านเข้า พบจริงๆสมัยที่ พล.อ.ท.อาทร โรจนวิภาค อยู่ที่นครราชสีมา วันนั้นไปนั่งกรรมฐานกันเห็นพระพุทธเจ้าท่านเยอะ ยืนสองแถวพนมมือ เราคิดว่าพระพุทธเจ้าไหว้ใครไม่มี ใช่ไหม...ก็เลยถามหลวงพ่อปานว่า มีเรื่องอะไรกัน ท่านบอกว่า
    "ประเดี๋ยวพระพุทธเจ้าองค์ปฐมจะเสด็จ"

    องค์ปฐม หมายถึงองค์แรกสุด ไม่มีครูสำหรับท่านเลย ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างหนัก ต้องเข้มแข็ง เดี๋ยวท่านเดินมากลางพระพุทธเจ้า ยืนสองข้างพนมมือตลอดสวยสว่าง จิตเราเลยสว่างเห็นอะไรชัดหมด"


    จากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๓"
    โดย พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


    อ่านจบแล้วอย่าลืมอุทิศส่วนกุศลด้วยนะครับ


    คำอุทิศส่วนกุศล
    โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    อิทังปุญญะผะลังผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้าและเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราชขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดีเสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2012
  18. Doksil

    Doksil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    529
    ค่าพลัง:
    +1,136
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
    เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิต
    นิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุ
    อรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้า
    ถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า
    พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

    นิพพาน ที่เกิดจากนิโรธสมาบติ (สัญญาเวทยิตนิโรธ)
     
  19. หวังปู้เลี่ยว

    หวังปู้เลี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +87
    ไม่เห็นด้วยที่ใครจะมาเถึยงว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือ อนัตตา
    ...ใครที่ได้นิพพานก็รู้เอง

    ส่วนคนที่มาเถียงกัน โดยเฉพาะที่อ้างตำราน่ะ
    ผมว่าจะยิ่งห่างนิพพานเข้าไปใหญ่นะครับ

    ....
    ถ้าผมถามว่า "ลิง" เป็น อัตตา หรือ อนัตตา ?
    คำตอบคือ เป็นได้ทั้งสอง และเป็นไม่ได้ทั้งสอง

    1 อัตตา
    2 อนัตตา

    แน่ใจว่ามีแค่ 2 อย่าง? อาจจะมีอย่างที่ 3 ก็ได้

    ดังนั้น ผมว่า ... ไม่มีประโยชน์ที่จะหาคำตอบในเรื่องนี้นะครับ ...
     
  20. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ความ หมาย ของ อัตตา

    และ อาตมัน เป็น เรื่อง เดียว กัน หรือ ไม่

    ความ หมาย เหมือน กัน จริง หรือ ไม่ (วิกีพิเดีย ว่า เหมือน) ???

    แต่ การ ใช้ น่า จะ แตก ต่าง กัน

    นี่ ต้อง ขอ ให้ ผู้ รู้ มา ช่วย แล้ว

    เพราะ การ เข้า ใจ ที่ ผิด ก่ จะ ใช้ คำ ผิด ได้

    ---------------------------

    ผม ขอ ยก ประ เด็น เช่น เคย .... ให้ ช่วย กัน ดู (ไม่ได้เจตนาจะแย้งใคร เด้อ)

    อาตมัน คือ ตัว ตน (ที่ แท้ จริง สูง สุด) หรือ เรียก ว่า กาย ธรรม ที่ หลวง พ่อ ฤษี ว่า

    หรือ เปล่า????

    สำหรับ อัตตา คือ ตัว ตน (ที่ ยิ่ง ใหญ่) หรือ เปล่า ?????

    -------

    มา พิจารณา ทำไม วิกีพิเดีย (ใครบางคน) จึง ว่า เหมือน กัน

    เขา คง คิด ว่า ที่ ยิ่ง ใหญ่ = ที่ แท้ จริง สูง สุด มั่ง ครับ ????
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...