ชัยมงคลสถาน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย chaimongkol2, 30 พฤษภาคม 2007.

  1. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    แผนที่ทางไปสวนชัยมงคล
    ----------------------------------------------------------------------
    เริ่มต้นที่บึงฉวาก ให้เป็น กม.ที่0 จาก กทม.-สุพรรณ-ชัยนาท
    --กม.ที่5 เห็นป้ายยินดีต้อนรับจาก จ.ว.ชัยนาท ตรงตามถนนเรื่อยๆ มีป้ายข้างทางเล็กๆ เขียน หันคา อย่าเลี้ยว
    --กม.ที่10.8 มีป้ายสีเขียวบนถนนตัวใหญ่..หันคา ลูกศรเลี้ยวซ้าย เราเลี้ยวซ้ายตามลูกศรแล้วไปตามถนน
    --กม.19 ข้ามสะพานแม่น้ำท่าจีน เจอสี่แยกไฟแดง ตรงไป
    --กม.20 สุดถนน เจอสามแยกไฟแดง เลี้ยวขวา
    --ผ่าน วัดพิชัยนาราม(วัดบ้านเชี่ยน)
    --กม.23 เจอสี่แยกไฟแดง เลี้ยวขวา มีป้อมตำรวจซ้ายมือ ขวามือเป็นคลองชลประทานขับเลียบคลอง(ซึ่งอยู่ขวามือ)ไปเรื่อยๆ (ผ่านวัด ราษฏร์บำรุง,วัดศรีเจริญธรรม) เลียบคลองตลอด

    --กม.36 เห็นปั้มน้ำมันเราเลี้ยวซ้ายก่อนถึงปั้ม

    +++> ตรงนี้เป็นสี่แยกใช่หรือไม่ครับ ? เข้าใจว่าแยกทางขวาเป็นสะพานข้ามคลอง ? และไม่ทราบว่าเป็นปั้มยี่ห้ออะไรครับ ?

    --ยังเป็นถนนลาดยาง ซ้ายมือเป็นร.ร.วัดศรีเจริญธรรม ตรงไป

    +++> เลี้ยวซ้ายแล้วจึงจะสังเกตุเห็นโรงเรียนใช่ไหมครับ ? เพราะดูในแผนที่จะเห็นว่าโรงเรียนจะหลบเข้ามาด้านในนิดนึงประมาณ 200 เมตร (เดาตำแหน่งโรงเรียนในแผนที่ครับ)

    --กม.38(นับจากบึงฉวาก)ขวามือเป็นโรงสี

    +++> อาจต้องรบกวนมารับแถวๆหน้าโรงสีนะครับ หรือเปิด ว. ไว้ครับเพราะเข้าใจว่าถนนหนทางตอนกลางคืนน่าจะมืด

    --ไปอีกนิดเดียวเราข้ามคลองให้หยุดชลอแล้วเลี้ยวซ้ายลงไปซึ่งเป็นถนนดินแดงไม่ลาดยางไปตามถนน
    --ถึงสองแยก ให้ไปแยกขวาตอนนี้ถนนไม่ดีต้องระวัง ไปอีก50ม.ถึงหน้าสวนแล้วครับ ถ้าฝนตกอย่าเข้าให้จอดด้านหน้า
    --เข้าสวนซ้ายมือเป็นไร่มันตรงไปอีกหน่อยเจอ4แยกเลี้ยวขวาวิ่งอีก60ม.ถึงหน้ากระท่อม

    อาจโทรบอกจะได้มารอตรงจะเข้าถนนดินแดงครับ
    ชัยมงคล2 0819295520 ดำ 0860010279

    +++> เปิด ว. ช่อง 10 นะครับ มือถือ AIS 0898227931 , TRUEMOVE 0891279522 , DTAC 0816576777 ครับ



    ปล. ตัวเลขในรูป...เป็นระยะทางที่วัดจากแยกที่มีป้ายหันคาใหญ่ครับ

    - หลังคาขาวๆขวาบนเข้าใจว่าเป็นโรงสี
    - มีคลองตัดผ่านถนน
    - สวนคุณลุงอยู่ล่างซ้ายกระมัง...บริเวณที่รูปคล้ายๆสามเหลี่ยม

    .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PointAsia-3.jpg
      PointAsia-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      239.4 KB
      เปิดดู:
      1,064
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2007
  2. chaimongkol2

    chaimongkol2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +2,113
    เอามาได้เลยยิ่งต้นไม้หายาก
     
  3. chaimongkol2

    chaimongkol2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +2,113
    แก้ไข

    ตรง กม.36(คิดจากบึงฉวาก)เป็นสี่แยกครับ(ในรูปเป็นสามแยกเขียนผิด)
    เราเลี้ยวซ้ายไปสัก หน่อยหนึ่งซ้ายมือเป็นร.ร.
    (ตรงสี่แยกถ้าเลี้ยวขวาเป็นสพานข้ามคลอง)ใช่ครับ...
    ปั้มน้ำมันไม่ใช่ยี่ห้อดังจำไม่ได้แต่มียกป้ายเห็นชัด.
    เดี๋ยวมารับแถวสี่แยกปั้มน้ำมันเลยใกล้ๆกัน โอเคช่อง10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0420.jpg
      IMG_0420.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      88
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กำลังทำสมอบก...โดยนายกฤช...ครับ


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 100_6878.JPG
      100_6878.JPG
      ขนาดไฟล์:
      824.7 KB
      เปิดดู:
      59
    • 100_6875.JPG
      100_6875.JPG
      ขนาดไฟล์:
      721.7 KB
      เปิดดู:
      81
    • 100_6876.JPG
      100_6876.JPG
      ขนาดไฟล์:
      781.4 KB
      เปิดดู:
      74
    • 100_6881.JPG
      100_6881.JPG
      ขนาดไฟล์:
      773.4 KB
      เปิดดู:
      169
    • 100_6882.JPG
      100_6882.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      69
    • 100_6885.JPG
      100_6885.JPG
      ขนาดไฟล์:
      790.9 KB
      เปิดดู:
      70
    • 100_6889.JPG
      100_6889.JPG
      ขนาดไฟล์:
      741.8 KB
      เปิดดู:
      68
    • 100_6888.JPG
      100_6888.JPG
      ขนาดไฟล์:
      882.6 KB
      เปิดดู:
      78
  5. เช้าใหม่

    เช้าใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2005
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +5,754
    <TABLE><TBODY><TR><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-COLOR: #317023; BORDER-TOP-STYLE: outset; BORDER-TOP-COLOR: #317023; BORDER-RIGHT-STYLE: outset; BORDER-LEFT-STYLE: outset; BORDER-RIGHT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-STYLE: outset" bgColor=#317023>[FONT=Tahoma,]วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [/FONT][FONT=Tahoma,]ปีที่ 19 [/FONT][FONT=Tahoma,]ฉบับที่ 410[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [FONT=Tahoma,]คุยกันเรื่องเห็ด กับลุงลี

    ศูนย์เห็ดล้านนา

    จะกินเห็ด ต้องรู้จักเห็ดพิษ

    ทุกปีเมื่อเข้าช่วงฤดูฝนจะมีข่าวคนกินเห็ดแล้วเจ็บป่วยต้องส่งโรงพยาบาล บางครั้งถึงตาย ตามข้อมูลที่ คุณอรุณี จันทรสนิท และ คุณอนุสรณ์ อยู่เย็น ได้รวบรวมไว้ ปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วยจากกินเห็ด 1,442 ราย ตาย 5 ราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดทางภาคอีสาน บุรีรัมย์ สุรินทร์ สกลนคร ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยจากการกินเห็ดมากขึ้นเรื่อยๆ ปีนี้ทางจังหวัดน่านและเชียงราย มีผู้ป่วยจากการกินเห็ดต้องส่งโรงพยาบาลจำนวนไม่น้อย

    ลุงลีสังเกตดูว่า คนที่เจ็บป่วยจากการกินเห็ดนั้น ส่วนใหญ่จะเคยกินเห็ดที่คล้ายเห็ดมีพิษมาก่อน แล้วติดใจจึงหามากินอีก ปรากฏว่าเห็ดที่หามากินทีหลังมีลักษณะคล้ายกับเห็ดที่เคยกินมาก่อน ที่ลุงลีว่าคล้ายกันนั้น หมายถึงว่าเป็นเห็ดคนละชนิดกัน ไม่เหมือนกัน

    คุยกันเรื่องเห็ด กับลุงลี ฉบับนี้ ลุงลีขอคุยเรื่องเห็ดที่กินไม่ได้ หรือเห็ดที่เราเรียกกันว่าเห็ดพิษ บางชนิดมีพิษถึงตาย บางชนิดมีพิษไม่ถึงตาย บางชนิดกินแล้วประสาทหลอน

    มารู้จักเห็ดพิษกันสักหน่อย อาจารย์อนงค์ จันทร์ศรีกุล และ อาจารย์นันทินี ศรีจุมปา ได้จำแนกชนิดของเห็ดพิษโดยแยกตามกลุ่มสารพิษออกเป็น 7 กลุ่ม

    กลุ่มแรก มีพิษถึงตาย คือ กลุ่มสร้างสารพิษ Cyclopeptides, Amatoxins และ Phallotoxins พิษชนิดนี้ทำลายเซลล์ ตับ ไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบหายใจ ระบบของผู้ป่วยตายได้ภายใน 4-10 ชั่วโมง เห็ดที่มีพิษนี้คือ เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก (ฮาก) Amanita verna (Bull.ex.Fr), Amanita virosa Secr.

    กลุ่มที่สอง สร้างพิษ Monomethy/hydrazine, Gyromitrin ทำลายเซลล์ตับ ระบบประสาท ทางเดินอาหาร ได้แก่ เห็ดสมองวัว Gyromitra esculenta (Pat. Et Bak) Boedism

    กลุ่มที่สาม สร้างพิษ Coprine ได้แก่ เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก Coprinus atramantarius (Ball) Fr. พิษจะมีผลกับระบบประสาท ถ้ากินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

    กลุ่มที่สร้างสารพิษ Muscarine มีผลต่อระบบประสาท เพ้อคลั่ง หมดสติ ไม่ถึงตาย ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ได้แก่ เห็ดเกล็ดขาว เห็ดหัวเสือดำ Amanita pantherina (Dc.ex.Fr) Secr. เห็ดแดงตายซาก เหลืองตายซาก ระโงกเหลืองตายซาก ระโงกแดงตายซาก Amanita muscaria. (L.ex.Fr.) Hooker

    กลุ่มที่สร้างสารพิษ Ibotenic และ Muscimol, Psilicybin และ Psilocin 2 กลุ่มนี้ ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เพ้อ คลั่ง มึนเมา เคลิบเคลิ้ม ได้แก่ เห็ดขี้วัว Copelandia cyanescens (Bark & Br.) Sing. เห็ดขี้ควาย Psilocybe cubensis (Earle) Sing เห็ดขอนสีแดงอมม่วงแดง Gymnopilus aeruginosus (Peek) Sing.

    กลุ่มที่สร้างสารพิษ Gastrointestinal มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วง อาเจียน เห็ดหัวกรวดครีบเขียว กระโดงตีนต่ำ Chlorophyllum molybdites (Meyer.ex.Fr.) Mass. เห็ดกรวยเกล็ดทอง Gomphus floccosus (Schw.) Sing. เห็ดกระโดงต้นต่ำเกล็ดงอนแหลม Chlarkeinda teachodes (Berk.) Sing. เห็ดแดงน้ำหมาก Russula emetica เห็ดไข่หงส์ Seleroderma eitrinum Pers. เห็ดปะการังส้มอมชมพู Ramaria Formosa เห็ดนมหมู Entoloma Strictius เห็ดห้า (เหนือ) เห็ดน้ำผึ้ง (อีสาน) Phaeogyroporus portentosus เห็ดนางรมเรืองแสง Lampteromyces japonieus

    ลุงลีใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย เนื่องจากแต่ละภาคเรียกไม่เหมือนกัน ผู้สนใจใคร่รู้จะได้เปิด internet หาความรู้เพิ่มเติมได้

    เห็ดพิษทั้งหมดที่น่ากลัวมากคือ เห็ดระโงกหิน หรือเห็ดพิษกลุ่ม Amanita เพราะมีลักษณะคล้ายเห็ดที่กินได้คือ เห็ดระโงก เห็ดไข่ห่าน ยิ่งถ้าดอกตูมจะสังเกตได้ยากมาก พ.ท.ยงยุทธ ขจรวิทย์ ได้ให้ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ เห็ดระโงกที่กินได้ ขอบหมวกมักจะเป็นริ้วคล้ายรอยหัว มีกลิ่นหอม และก้านดอกกลวง ส่วนเห็ดระโงกหินที่เป็นพิษ กลางดอกหมวกจะนูนขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะปลอกหุ้มโคมจะยึดติดกับก้านดอก ก้านดอกตันหรือเป็นรูที่ไส้กลางเล็กน้อย มีกลิ่นเอียนและกลิ่นค่อนข้างแรง เมื่อดอกแก่มักเกิดแยกจากกลุ่มเห็ดที่กินได้ มีทั้งแบบดอกสีเหลืองอ่อน สีเขียวอ่อน สีเทาอ่อน และสีขาว

    พ.ท.ยงยุทธ ยังให้ข้อควรระมัดระวังในการกินเห็ดทั่วไป ดังนี้

    1. เห็ดมีเส้นใยเยอะเป็นอาหารย่อยยาก อย่ากินอิ่มมากเกินไป

    2. เห็ดที่เน่าคัดออกห้ามกิน

    3. ห้ามกินเห็ดดิบ สุกๆ ดิบๆ หรือเห็ดดิบดอง

    4. คนที่เป็นโรคแพ้เห็ดห้ามกิน

    5. เห็ดบางชนิดไม่ควรดื่มสุราพร้อมด้วย เพราะจะไปกระตุ้นช่วยให้พิษกระจายเร็วขึ้น

    6. อย่ากินเห็ดที่สงสัย ไม่รู้จัก และไม่แน่ใจ

    การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษ สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก และช่วยดูดพิษจากผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน Activated charcoal และดื่ม 2 แก้ว โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อน แล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียน หากออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยเด็ดขาด และวิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ

    ข้อสำคัญคือ พยายามพาผู้ป่วยไปหาหมอหรือโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และถ้าเป็นไปได้สามารถนำเห็ดพิษที่กินเข้าไปให้หมอดูได้จะเป็นการดี

    การทดสอบว่าเห็ดชนิดนี้มีพิษหรือไม่ ตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการรวบรวมของ พ.ท.ยงยุทธ มีหลายวิธีซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่ในบางโอกาสสามารถนำมาใช้ได้

    1. นำข้าวสารต้มกับเห็ด ถ้าไม่เป็นพิษข้าวสารจะสุก ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ

    2. ใช้ช้อนเงินคนกับต้มเห็ด ถ้าช้อนเงินมีสีดำจะเป็นเห็ดพิษ เพราะเห็ดบางชนิดจะเปลี่ยนซัลไฟด์เมื่อถูกต้ม

    3. ใช้ปูนกินหมากป้ายดอกเห็ด ถ้าเป็นสีดำจะเป็นเห็ดพิษ

    4. ใช้หัวหอมต้มกับเห็ด ถ้าเป็นพิษ หัวหอมจะเป็นสีดำ

    5. ใช้มือถูเห็ดจนเป็นรอยแผล ถ้าเป็นเห็ดพิษแผลจะมีสีดำ ยกเว้นเห็ดแชมปิญอง

    6. ดอกเห็ดที่มีรอยแมลงและสัตว์กัดกิน เห็ดนั้นจะไม่เป็นพิษ แต่กระต่ายกินเห็ดพิษสกุลอะมานิต้าได้ และหอยทากกินเห็ดพิษได้

    7. เห็ดที่เกิดผิดฤดูกาลมักจะเป็นเห็ดพิษ แต่ทุกวันนี้สามารถเพาะเห็ดได้ทุกฤดูกาล

    8. เห็ดพิษจะมีสีฉูดฉาด เห็ดรับประทานได้มีสีอ่อน ซึ่งไม่แน่เสมอไป

    ถ้าจะให้แน่นอนการทดสอบเห็ดพิษหรือการตรวจวิเคราะห์สารพิษ ควรใช้วิธีทางเคมี ซึ่งจะใช้เวลานานกว่า แต่ให้ผลแน่นอน อาจารย์อรุณี จันทรสนิท ได้แนะนำไว้ 2 วิธี คือ

    1. Paper Chromatography ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้เห็ดเพียง 0.1 กรัม สามารถตรวจหาพิษ Amanitin และ Phalloidin ได้

    2. Thin Layer chromatography (TLC) ใช้เวลา 3 ชั่วโมง

    เห็ดทั่วโลกมีมากกว่า 30,000 ชนิด มีไม่ถึงร้อยละ 1 เท่านั้น ที่เป็นพิษ และเห็ดพิษใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ มีการนำสารสกัดจากพิษเห็ดไปใช้เป็นยารักษาโรค ในวงการแพทย์รักษาคนได้

    ลุงลีขอแนะว่าเห็ดกินได้ แต่ถ้าไปขึ้นผิดที่ผิดทาง เช่น ไปขึ้นบนไม้บางชนิด เช่น ต้นตายซาก ก็จะทำให้เห็ดนั้นมีพิษถึงตายได้ หรือไปขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีการนำเอาสารเคมีที่เป็นพิษไปทิ้ง เห็ดบางชนิดสามารถดูดสารเคมีที่เป็นพิษไปสะสมในดอกเห็ดได้ ดอกเห็ดนั้นก็จะเป็นพิษเหมือนกัน ดังนั้น ควรระวัง

    สำหรับท่านที่สนใจในเรื่องเห็ดพิษ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อเรื่องเห็ดพิษ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549 มีเรื่องมากมายเกี่ยวกับเห็ดพิษที่ควรรู้ ราคาเล่มละ 150 บาท ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ตู้ ป.ณ. 1094 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 หรือติดต่อที่ อาจารย์อัจฉรา พยัพพานนท์ โทร. (02) 579-8558



    ถามมา-ตอบไป

    มีผู้ถามมาว่า มีที่อยู่จังหวัดปทุมธานีต้องการเพาะเห็ดแชมปิญอง สามารถเพาะได้หรือไม่

    ลุงลีขอตอบว่า ปกติเห็ดแชมปิญองจะมีการเพาะในช่วงฤดูหนาว โดยจะเริ่มหมักวัสดุเพาะปลายเดือนกันยายน แล้วจะไปเริ่มเก็บผลผลิตประมาณเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พื้นที่ที่เพาะส่วนใหญ่จะอยู่ที่ภาคเหนือ ที่เพาะมากจะอยู่ที่เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สำหรับที่จังหวัดปทุมธานี ตามสถิติอุณหภูมิจะยังไม่ต่ำพอที่จะเพาะเห็ดแชมปิญองแบบที่เชียงรายเพาะได้ ถ้าจะเพาะเห็ดแชมปิญองที่ปทุมธานีต้องเพาะในห้องควบคุมอุณหภูมิซึ่งจะสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี เห็ดแชมปิญองนอกฤดูจะได้ราคาดี สนใจเห็ดแชมปิญองนอกฤดูลองโทร.ไปคุยกับ ดร.ชนะ พรหมทอง (081) 371-4173
    [/FONT]

    จากเวป http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0520010750&srcday=2007/07/01&search=no
     
  6. เช้าใหม่

    เช้าใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2005
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +5,754
    <TABLE><TBODY><TR><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-COLOR: #317023; BORDER-TOP-STYLE: outset; BORDER-TOP-COLOR: #317023; BORDER-RIGHT-STYLE: outset; BORDER-LEFT-STYLE: outset; BORDER-RIGHT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-STYLE: outset" bgColor=#317023>[FONT=Tahoma,]วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [/FONT][FONT=Tahoma,]ปีที่ 19 [/FONT][FONT=Tahoma,]ฉบับที่ 410[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Tahoma,]คนรักผัก

    สุมิตรา จันทร์เงา

    กินกล้วยกันดีกว่า

    ซีรีส์สนุกเรื่องผลไม้เริ่มอย่างจริงจังแล้วค่ะตั้งแต่ฉบับนี้ หลังจากที่โผล่มาแจมกับเรื่องผักหลายครั้งหลายหนแล้วก็เว้นว่างไป ไม่ได้จังหวะพูดถึงอย่างจริงจังเสียที

    ขอประเดิมด้วยเรื่อง "กล้วย" ผลไม้ยอดนิยมของไทยที่มีเรื่องราวผูกติดฝังแน่นอยู่กับวัฒนธรรมบ้านเรามายาวนาน

    เชื่อว่าคนไทยแทบทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่า รุ่นใหม่ รวมทั้งรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ทั้งหลายคงจะคุ้นเคยกับการรับประทานกล้วยเป็นอาหารว่าง เป็นของหวาน หรือแม้กระทั่งเป็นอาหารมื้อหลักมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งของชีวิตแหละค่ะ

    กล้วยนั้นเป็นผลไม้มหัศจรรย์ เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมันพืชได้อย่างคุ้มค่าอเนกอนันต์เหลือเชื่อเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงาน แร่ธาตุ และวิตามิน ที่ได้มาจากผลไม้ราคาแพงชนิดอื่นๆ กล้วยจึงกลายเป็นผลไม้ยอดนิยมของคนทั่วโลกมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นชาวเอเชียอย่างเราๆ หรือแม้กระทั่งฝรั่งตาน้ำข้าวทั้งหลาย

    อันนี้จริงๆ นะคะ

    และอย่าตกใจนะถ้าจะบอกว่า คนในกลุ่มประเทศยุโรป-อเมริกา ชอบกินกล้วยกันมากกว่าใคร ชาวยุโรปหรืออียู เป็นกลุ่มประชากรที่บริโภคกล้วยในปริมาณสูงสุดถึง 34% ของผลผลิตกล้วยที่ส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศทั้งโลก ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสอง 28% และญี่ปุ่น 7%

    เฉพาะคนอเมริกันชาติเดียวกินกล้วยหอมเป็นล่ำเป็นสันมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1,000 ล้านเหรียญ เลยทีเดียว!

    แต่คนเหล่านี้กินกล้วยเป็นอยู่ประเภทเดียวค่ะ คือ กล้วยหอม โดยเฉพาะพันธุ์คาเวน ดิช (CAVEN DISH) ที่ปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ แต่คนที่เคยไปเที่ยวยุโรป-อเมริกา ได้ลองรับประทานกล้วยหอมพันธุ์นี้แล้วมักจะบอกตรงกันว่า รสชาติอร่อยสู้กล้วยหอมของบ้านเราไม่ได้

    ถึงตรงนี้คงถามกันเซ็งแซ่ว่าทำไมเราไม่ส่งของดีๆ จากบ้านเราออกไปขายเสียเองล่ะ?

    อันนี้ก็เป็นความฝันของเกษตรกรไทยเหมือนกันว่าสักวันหนึ่งเราจะทำได้ แต่เรื่องการส่งกล้วยออกไปขายฝรั่งนั้นไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ อย่างที่คิด เพราะจะต้องมีกระบวนการวิจัยและพัฒนาอีกมากมายตามมาเพื่อให้ผลผลิตกล้วยของเรามีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความทนทานไม่เน่าเสียง่ายในระหว่างการขนส่ง ไม่มีสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้าง และมีปริมาณผลผลิตมากเพียงพอที่จะส่งออกไปตีตลาดได้ ฯลฯ สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ กล้วยหอมจากประเทศละตินอเมริกาตีตลาดโลกได้ก็เพราะอยู่ใกล้แหล่งบริโภค

    ที่เราเห็นกล้วยหลากหลายชนิดวางขายกันเกลื่อนบ้านเราอย่างนี้ บางทีมากเสียจนต้องปล่อยให้เน่าทิ้งอย่างน่าเสียดายบนแผงขายในตลาด ก็อย่าหลงเข้าใจผิดไปนะคะว่าเราปลูกกันได้มากล้นเหลือ เราแค่กินกันไม่ทันเพราะมัวแต่ไปเห่อผลไม้เมืองนอกกันเสียมากกว่า

    ประเทศที่ปลูกกล้วยได้ผลผลิตมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกจริงๆ นั้นคือ อินเดีย รองลงมา ได้แก่ จีน โดยสองประเทศนี้ปลูกกล้วยรวมกันแล้วเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งโลก ขณะที่กลุ่มประเทศแถบละตินอเมริกาที่เป็นเจ้าตลาดกล้วยในยุโรป-อเมริกานั้น ทำผลผลิตได้เพียง 1 ใน 3 ของผลผลิตรวม เท่านั้นเอง

    แต่การผลิตได้มากไม่ได้แปลว่าจะส่งออกขายได้มากนะคะ โดยเฉพาะในอินเดียนั้นปลูกมากเท่าไหร่ก็ไม่พอกินหรอกค่ะสำหรับประชากรจำนวนมหาศาลเป็นพันล้านคนในขณะนี้ เพราะกล้วยเป็นอาหารวิเศษที่รับประทานแทนข้าวได้อิ่มท้องสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้น ทุกสัญชาติ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

    ส่วนกล้วยหอมที่ส่งเข้าไปขายในญี่ปุ่นนั้น กล้วยหอมจากเมืองไทยก็ยังมีปริมาณน้อยมาก ที่ติดอันดับอยู่ในกลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นกล้วยหอมของฟิลิปปินส์ค่ะ

    พูดถึงความวิเศษของกล้วย เชื่อว่าทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ยากที่จะหาพืชชนิดอื่นใดมาเทียบเคียง เนื่องจากเราสามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นกล้วยได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นก้าน ใบ ดอก ผล ลำต้น และแม้แต่ราก

    จะใช้เป็นอาหารคาวหวานก็ทำได้เป็นสิบเป็นร้อยอย่าง ใช้เป็นยารักษาโรคก็ได้ ทำภาชนะเครื่องใช้ภายในบ้านก็ดี ใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน อาคารสถานที่และงานพิธีกรรมก็สวยงามโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดัดแปลงประยุกต์ใช้ได้หลากหลายแนวทางทั้งในงานบุญ งานศพ งานรื่นเริง หรือแม้แต่ทำเป็นของเล่นให้เด็กๆ ก็ได้ เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนกล ฯลฯ

    เรื่องราวของกล้วยกับคนไทยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราคุ้นเคยกันมาแต่ครั้งปู่ ย่า ตา ยาย เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่า กล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เราจึงมักจะเห็นการใช้กล้วยประกอบในพิธีกรรมต่างๆ มากมาย ในรูปของเครื่องบูชาตามพิธีกรรม การบายศรีสู่ขวัญ งานมงคล ขบวนแห่ขันหมาก ฯลฯ ดังนั้น ตามต่างจังหวัดชาวบ้านมักนิยมปลูกต้นกล้วยไว้ภายในบริเวณบ้านเพื่อเก็บดอก ผล ต้น ใบ มาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสะดวกสบาย แทบจะพูดได้ว่า แต่ละครอบครัวมีกอกล้วยอยู่คู่กับแปลงผักสวนครัวหลังบ้านแทบทุกครัวเรือนเลยทีเดียว

    การปลูกกล้วยสำหรับคนบ้านนอกเป็นเรื่องง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แล้วก็ดูแลรักษาไม่ยากเลยสักนิด สมัยก่อนเรือกสวนไร่นาแห่งไหนที่หาไม้ผลอื่นมาปลูกไม่ได้ เจ้าของคิดอะไรไม่ออกก็มักจะลงเอากล้วยไว้ก่อนอย่างอื่น แม้แต่สวนเล็กๆ แค่ไม่กี่ไร่ของครอบครัวเรา เมื่อแรกเริ่มที่พ่อได้เป็นเจ้าของนั้น เราไม่มีเวลาดูแลรักษามาก พ่อก็ไปหาพันธุ์กล้วยมาปลูกไว้เป็นแถว ถึงเวลาที่กล้วยตกเครือ แก่จัด พ่อก็จะขี่จักรยานไปสวน ตัดมาบ่มคราวละสองสามเครือ พอสุกเหลืองค่อยเอาออกมาแจกเพื่อนบ้านบ้าง แบ่งขายเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ทำแบบนี้จนไม่มีเรี่ยวแรงไปสวน ถึงเลิกทำหันไปปลูกไม้ยูคาลิปตัสแทน

    กล้วยน้ำว้า นั่นแหละค่ะที่เป็นสุดยอดกล้วยพื้นเมืองในท้องถิ่นที่ปลูกง่าย ขายคล่อง ประโยชน์สูงสุด

    เวลาปลูกก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หาหน่อพันธุ์มา ขุดหลุมปลูกในหน้าฝน ปล่อยให้น้ำฟ้าหลั่งไหลมาหล่อเลี้ยง ให้เทวดาดูแลรักษา ทิ้งไว้อย่างนั้น แค่ไม่กี่เดือนถัดมา หัวปลีก็จะเริ่มแทงดอก จากนั้นเครือกล้วยก็จะงอกงามเป็นสายยาวให้เห็น

    ใครที่เคยปลูกกล้วยย่อมรู้ว่ากล้วยเป็นพืชที่ให้ประสบการณ์ในการเฝ้ามองความเจริญเติบโตของผลไม้ได้อย่างสุขสันต์ ตั้งแต่เห็นปลีกล้วยสีชมพูอมม่วงเล็กๆ เต่งตูมเป็นปลีใหญ่ คลี่กลีบออกให้เห็นดอกกล้วยสีเหลืองนวลซ้อนเป็นหวีเล็กๆ ด้านใน เรียงรายเป็นชั้นๆ มีระเบียบสวยงาม ราวกับประติมากรรมฝีมือช่างชั้นเลิศ ดอกเหล่านี้เมื่อถึงเวลาก็จะกลายเป็นผลน้อยๆ ค่อยๆ เติบโต จนกระทั่งกล้วยทั้งเครืออวบอิ่มเต็มผล แก่จัด พร้อมที่จะให้ตัดเครือออกจากต้นมาสู่บ้าน สู่ตลาด แล้วส่งลงท้องยามหิวโหย

    พอให้ผลผลิตแห่งการดำรงพันธุ์แล้ว กล้วยต้นนั้นก็พร้อมจะลาจาก ล้มหายตายไปตามวงจรชีวิตของเขา แต่หน่อใหม่ก็จะแทงยอดขึ้นมาแทน เป็นเช่นนี้วนเวียน

    นักเลงกล้วยที่ปลูกกล้วยเป็นอาชีพในบ้านเรา ถ้าไม่เลือกปลูกกล้วยน้ำว้าก็มักจะปลูกกล้วยหอมเป็นเบื้องต้น เพราะเป็นพันธุ์กล้วยยอดนิยม ซื้อง่ายขายคล่อง และดูแลรักษาง่ายกว่ากล้วยไข่ ส่วนพวกกล้วยพื้นเมืองอื่นๆ จำพวกกล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง นั้นเป็นกล้วยที่ปลูกไว้กินในครอบครัวมากกว่าจะปลูกไว้มากๆ เพื่อขาย ดังนั้น คนทั่วไปโดยเฉพาะคนเมืองใหญ่จึงนิยมบริโภคกล้วยน้ำว้ากับกล้วยหอมมากกว่ากล้วยชนิดอื่นๆ

    แต่ถ้ารู้จักกล้วยจริงๆ ก็ต้องรู้ว่าบ้านเรานั้นปลูกกล้วยไม่ใช่แค่หวังกินผลเท่านั้นหรอกนะ แต่เรายังปลูกเพื่อใช้ใบด้วย เพราะใบตองยังใช้ประโยชน์ทั่วไปในชีวิตประจำวันของคนไทย แม้ว่าวัฒนธรรมพลาสติคและกล่องโฟมจะรุกคืบเข้ามาอยู่ในครัวเรือนแบบไม่ไว้หน้าอินทร์พรหมยามนี้ก็ตาม

    กล้วยที่ใช้ใบได้ดีนั้นไม่มีพันธุ์ไหนเกิน กล้วยตานี ไปได้ และก็น่าแปลกแท้ที่กล้วยสำหรับใช้ใบนี้ก็ช่างมีผลที่รสชาติไม่เอาไหนเสียเลย แถมยังมีเม็ดอยู่เต็มหน่วย ขณะที่ใบตองกลับสวยเป็นมัน ใบกว้างแน่น ไม่ฉีกขาดง่าย นำไปห่อของ ทำภาชนะ กระทง บายศรีได้สวยสะ โดยเฉพาะขนมไทยอย่าง ข้าวต้มมัด และ ขนมเทียน ไม่มีสิ่งห่อหุ้มใดจะยอดเยี่ยมไปกว่าใบตองกล้วยอีกแล้ว

    อ้อ! ขนมที่ห่อใบตองได้อร่อยเด็ดและหอมล้ำอีกอย่างขอยกให้เป็น กะละแมของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นต้นตำรับในการทำกะละแมสูตรพื้นเมืองที่ไม่เหมือนท้องถิ่นอื่นๆ ด้วยการกวนขนมให้ได้รสชาติหอมหวานเป็นเอกลักษณ์แห่งความอร่อย ไม่มีที่ไหนเทียบได้ในประเทศไทยนี้ และขนมกะละแมของธาตุพนมจะไม่ห่อด้วยพลาสติคใสหรือวัสดุอื่น แต่จะห่อด้วยใบตองที่รีดให้แห้งสนิทเท่านั้น ความหอมของใบตองที่ห่อหุ้มกลิ่นหอมหวานของกะละแมเอาไว้อีกชั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่ให้ผลอันมหัศจรรย์เมื่อเปิดห่อขนมออกมา แล้วเผยรสและกลิ่นจรุงใจที่ยั่วให้อยากรับประทานไม่รู้จบ ซึ่งเพียงแค่ชิมคำแรกก็จะไม่มีทางยับยั้งใจในการชิมคำต่อๆ ไปได้เลย

    เรื่องกะละแมห่อใบตองนี้ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพันความอร่อยได้เลย เพราะเป็นขนมพื้นเมืองบ้านเกิดที่กินมาตั้งแต่จำความได้และก็ต้องหากินให้ได้ทุกครั้งที่กลับไปเยี่ยมบ้าน ใครอยากท้าพิสูจน์ก็ลองเอากะละแมของธาตุพนมไปทำ Blind Taste ได้เลย แล้วจะรู้ว่าสูตรกะละแมของที่นี่ไม่เหมือนที่ไหนจริงๆ

    สำหรับส่วนอื่นๆ ของกล้วย นอกจากผลและใบก็ใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป เช่น

    กาบ (ส่วนของลำต้นที่ห่อหุ้มกันหลายๆ ชั้น) เมื่อนำไปตากแห้งก็จะได้เส้นใยยาวที่มีความเหนียวแน่นสามารถทำเป็นเชือกกล้วยได้ดี กาบสดส่วนที่ยังเป็นลำต้นเมื่อนำมาตัดเป็นท่อนก็ใช้ประโยชน์ในการจัดดอกไม้ ใช้ในการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ จำได้ว่าสมัยที่ครอบครัวเรายังเลี้ยงหมู แม่จะลอกกาบกล้วยเอาส่วนที่เป็นแกนในอ่อนๆ ที่เรียกว่า "หยวก" มาสับแล้วนำไปต้มกับผักโขมบ้านและเศษอาหารเหลือจากครัว นำมาใช้เป็นอาหารหมู ทุ่นค่าหัวอาหารไปไม่น้อย บางทีแม่ก็เอาหยวกมาหั่นฝอยใส่ในห่อหมกปลาช่อนและห่อหมกไก่สูตรพื้นเมืองอีสาน อร่อยจนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร และเท่าที่จำความได้ คนอีสานนิยมรับประทานหยวกมากกว่าหัวปลีด้วยซ้ำไป

    หัวปลี เป็นผักของต้นกล้วย รู้จักกันดีในครัวของทุกภาคโดยเฉพาะภาคกลาง นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสดๆ และแบบสุกแล้ว แบบสดที่เราคุ้นตาคุ้นลิ้นกันมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ หัวปลีที่เป็นเครื่องเคียงของผัดไทยทุกชนิด ไม่ว่าจะเสิร์ฟกันข้างถนนหรือในโรงแรม 5 ดาว ถ้าสั่งผัดไทยก็ต้องมีหัวปลีแนมมาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ถ้าขืนไม่มีละก็ แม่ครัวต้องถูกประเมินให้ได้คะแนนติดลบไปในทันที แม้ว่าจะยังไม่ทันได้ชิมรสชาติอาหารด้วยซ้ำ

    หัวปลีเป็นผักที่อร่อย มีรสชาติพิเศษที่แตกต่างกันมากระหว่างการรับประทานแบบดิบกับสุก คือดิบจะเหนียวอมฝาด แต่พอสุกจะนุ่มหนืดคล้ายเนื้อไก่ มีรสหวานในเนื้อนิดๆ อร่อยอย่าบอกใคร แถมสรรพคุณทางยายังมีฤทธิ์บำรุงน้ำนม ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อนมักจะแนะนำให้คุณแม่ลูกอ่อนสมัยใหม่พยายามรับประทานแกงหัวปลีให้มากๆ ระหว่างที่ยังให้น้ำนมลูกอยู่ ใครที่เคยมีประสบการณ์คลอดลูกมาแล้วก็คงจะรู้จักรสชาติของแกงเลียงใส่หัวปลีเป็นอย่างดี หรือบางทีก็กินแกงหัวปลีเปล่าๆ ใส่กับเนื้อไก่จะเข้ากันดีกว่าเนื้อสัตว์อื่น ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน

    สำหรับครัวทางภาคเหนือ มีทั้งห่อหมกหัวปลี และแกงหัวปลีแบบต่างๆ แต่ที่ดิฉันชอบมากคือต้มยำไก่สูตรพื้นเมืองชาวเหนือ ที่เรียกว่า "ยำจิ้นไก่" นั้น จัดว่าเป็นการแกงหัวปลีที่สามารถดึงเอารสชาติของส่วนประกอบวัตถุดิบทุกอย่างออกมาให้ได้ลิ้มรสพร้อมหน้าพร้อมตากันหมด ทั้งรสของหัวปลี เนื้อไก่ และเครื่องเทศทางเมืองเหนือที่ใช้ใส่ยำจิ้นไก่โดยเฉพาะ ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัวจริงๆ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเรียกว่า "มะแขว่น" (ตรงนี้ถ้าหากเข้าใจผิด รบกวนผู้รู้ทักท้วงมาด้วยนะคะ) ยำจิ้นไก่นั้นถ้าไม่มีเครื่องเทศตัวนี้และไม่มีหัวปลีใส่มาด้วย ก็จะเป็นยำจิ้นไก่ไปไม่ได้เลย

    ยังมีคุณประโยชน์และสรรพคุณจากส่วนต่างๆ ของต้นกล้วยอีกมากมาย โดยเฉพาะผลกล้วยเอง แต่พื้นที่ก็หมดเสียแล้ว เอาไว้เล่าให้ฟังต่อคราวหน้านะคะ

    จากเวป http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0571010750&srcday=2007/07/01&search=no
    [/FONT]
     
  7. เช้าใหม่

    เช้าใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2005
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +5,754
    <TABLE><TBODY><TR><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-COLOR: #317023; BORDER-TOP-STYLE: outset; BORDER-TOP-COLOR: #317023; BORDER-RIGHT-STYLE: outset; BORDER-LEFT-STYLE: outset; BORDER-RIGHT-COLOR: #317023; BORDER-BOTTOM-STYLE: outset" bgColor=#317023>[FONT=Tahoma,]วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [/FONT][FONT=Tahoma,]ปีที่ 19 [/FONT][FONT=Tahoma,]ฉบับที่ 410[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Tahoma,]เรื่องเล่าจากสองข้างทาง

    ลุงปอน

    วิถีเกษตรอินทรีย์

    คอลัมน์เรื่องเล่าจากสองข้างทาง ห่างหายไปชั่วระยะหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้ "ต้นน้ำความสุข" ของ สสส. ได้สลับฉาก เป็นการเปลี่ยนรสชาติบ้าง ท่านผู้มีอุปการคุณก็ได้ลองลิ้มชิมรสกันไปแล้ว เนื้อที่ตรงนี้ ก็จะเป็นไปอย่างนี้

    ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผมเดินทางใกล้ๆ ไปหลายจังหวัด ตั้งแต่สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ระยอง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ที่เริ่มไหวตัวอย่างแรงอีกครั้งหนึ่งหลังจากรัฐบาลนี้เริ่มผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติโดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นกรมที่ชูธงนำ และกรมกองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ผมในฐานะสื่อเกษตร ก็สนใจที่จะร่วมขบวนการกับเขาบ้าง

    เกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนหนึ่งของเกษตรยั่งยืน ในบรรดานี้ ก็มีเกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร และเกษตรพอเพียงที่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงแนวนโยบายหลักของรัฐบาลปัจจุบัน

    เกษตรอินทรีย์ในรูปแบบนั้น ผมว่าน่าจะเข้มข้นและมีวินัยยิ่งกว่าเกษตรในแนวทางอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเฉพาะในข้อจำกัดที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอย่างเด็ดขาด และเป็นเกษตรที่นานาประเทศในโลกนี้ยอมรับ สามารถทำการค้าได้อย่างออกหน้าออกตา แต่ต้องมีมาตรฐานกำหนด

    ในโลกนี้มีการทำเกษตรอินทรีย์อยู่มากถึง 85 ประเทศ บางประเทศก็พัฒนาไปไกลมาก แต่บางประเทศก็ยังเตาะแตะในระดับอนุบาล

    สำหรับประเทศไทยนั้นแม้จะเริ่มต้นมานานหลายปีแล้ว แต่พอประเมินได้ว่าน่าจะอยู่ในระดับชั้นประถม หรือถ้าพูดปลอบใจตัวเอง ก็เป็นระดับประถมปลายๆ เท่านั้น ต้องช่วยสนับสนุนกันอีกมาก

    กลุ่มประเทศที่มีเกษตรอินทรีย์มากกว่าเพื่อนก็เห็นจะเป็นออสเตรเลียและประเทศในกลุ่มแปซิฟิก รองลงไปคือประเทศกลุ่มยุโรป และอเมริกาใต้ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่นั่น

    รองลงมาก็เอเชียของเรานี่แหละ ประเทศที่ผลิตพืชผัก ผลไม้อินทรีย์มากที่สุดคือญี่ปุ่น สำหรับเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยนั้น แม้จะมีพื้นที่ไม่มากนักแต่ก็ส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่น้อยเหมือนกัน เริ่มแรกเมื่อหลายปีมาแล้ว โดยบริษัท นครหลวงค้าข้าว ที่ส่งออกข้าวอินทรีย์เป็นรายแรก หลังจากนั้น ก็มีหลายๆ บริษัทได้ตามหลังบริษัท นครหลวงค้าข้าว

    ข้าวอินทรีย์ที่ส่งออกมากที่สุด เป็นจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ

    กลุ่มที่ผลิตและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ กลุ่มกรีนเนท ที่ดำเนินการในรูปสหกรณ์ มีการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์หลากหลายชนิด ทั้งข้าวอินทรีย์ พืช ผัก ผลไม้ รายใหญ่รองลงไป ได้แก่ บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด มีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ที่ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

    บริษัท ริเวอร์แควฯ ส่งออกพืช ผัก และผลไม้เมืองร้อนจากประเทศไทย ไปหลายประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่

    การดำเนินงานของบริษัท ริเวอร์แควฯ มีทั้งที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยตัวเอง และเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ

    คุณสุนทร ศรีทวี ผู้บริหารระดับปฏิบัติการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้ผลิตผลไม้อินทรีย์เอาไว้น่าสนใจว่า แรกทีเดียวบริษัทจะเข้าไปสัมผัสกับเกษตรกรเสียก่อนว่า สามารถจะปรับตัวจากการปลูกผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และทุเรียน ในระบบเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ได้หรือไม่ โดยดูจากนิสัยใจคอ และพฤติกรรมอื่นๆ ถ้าค่อนข้างมั่นใจก็จะเริ่มทำความเข้าใจ และกำหนดกฎเกณฑ์ให้เป็นขั้นเป็นตอน

    "ก็ไม่ได้ให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงจากเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์อย่างฉับพลันทันที เพราะเขาต้องกินต้องใช้ แต่จะปรับเปลี่ยนไปช้าๆ จะใช้เวลาเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ประมาณ 5 ปี สำหรับผู้ผลิตผลไม้ และประมาณ 2-3 ปี สำหรับผักอินทรีย์"

    คุณสุนทร ศรีทวี เป็นคนหนุ่มที่แข็งขันและกระฉับกระเฉง ได้บอกเล่าอีกว่า เกษตรกรบางรายที่ดูท่าทีจะไม่อยากยอมรับเกษตรอินทรีย์ ก็ไม่เอาด้วย และรายที่เอาด้วย ทางบริษัท ริเวอร์แควฯ ก็พร้อมจะรับซื้อในราคาประกัน และมีการตรวจสอบคุณภาพเป็นประจำ เพราะในต่างประเทศจะมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แตกต่างกัน

    "ประเทศที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เข้มที่สุดคือญี่ปุ่น" คุณสุนทร บอก

    มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มี 2 หน่วยงาน ที่กำหนด ได้แก่ หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานของมูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ ม.ก.ท. รายการตรวจสอบจะเข้มข้นต่างกัน และการตรวจสอบแต่ละขั้นตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

    นี่เป็นอุปสรรคประการหนึ่งของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก

    ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเกษตรอินทรีย์ ยังมีอีกหลายราย รูปแบบการดำเนินงานจะแตกต่างกัน บางรายจะผลิตผักอินทรีย์อย่างเดียว เช่น ไร่ปลูกรัก ที่จังหวัดราชบุรี บางรายก็นำผลผลิตเกษตรอินทรีย์มาบรรจุกระป๋องโดยไม่มีแปลงผลิตเอง แต่สรุปแล้วเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยยังมีโอกาสจะป้อนตลาดในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศได้อีกมาก ถ้าจะผลิตกันจริงๆ

    เพราะอะไร ?

    เพราะเวลานี้คนไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลกมีความห่วงใยสุขภาพของตัวเองมากขึ้น ห่วงโรคภัยไข้เจ็บ ห่วงน้ำหนักเกิน ห่วงสวย ห่วงงาม สารพัดจะห่วง เกษตรอินทรีย์จึงเป็นผลิตผลและผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจคนรักสุขภาพถ้วนหน้า

    เกษตรอินทรีย์นั้นแม้จะทำได้ไม่ยาก แต่คนทำต้องมีวินัยค่อนข้างสูง คือถ้าไม่พิถีพิถันจริงๆ แล้ว จะทำไม่สำเร็จ เริ่มตั้งแต่การปรับสภาพดิน ที่ต้องเสริมความอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินคืนสภาพ มีชีวภาพอย่างหลากหลาย

    ดูง่ายๆ จากป่าธรรมชาติ เมื่อใบไม้ กิ่งไม้หัก ร่วงหล่นลงโคนต้นไม้ จุลินทรีย์ในดิน แมลงในดินจะช่วยย่อยสลายจนเน่าเปื่อย กลายเป็นธาตุอาหารของพืช รากพืชดูดกินขึ้นไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงลำต้นด้วยแสงแดด ต้นไม้เติบโตขึ้น และเมื่อใบไม้แก่แล้วหลุดจากขั้วร่วงลงดิน กิ่งไม้ที่หมดสภาพหักลงดิน นานไปก็ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ในดิน หมุนเวียนอย่างนี้เป็นนิรันดร์

    สภาพร่วนซุยของดินในป่ายังช่วยดูดซับน้ำฝนเอาไว้พร้อมไปกับระบบรากของพืชของต้นไม้ ยังช่วยป้องกันการพังทลายของดินและช่วยอุ้มน้ำเอาไว้อีกด้วย

    น้ำจึงไม่ไหลทะลักจนชะหน้าดินอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้

    เกษตรอินทรีย์จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมดี ก็ช่วยไม่ให้โลกร้อน

    เป็นคุณเป็นประโยชน์ไปทั้งนั้น

    เกษตรอินทรีย์ ชีวภาพ และจุลินทรีย์ เป็นวงจรที่เกี่ยวเนื่องกัน และเป็นทางรอดที่น่าสนใจสำหรับประเทศที่มีพื้นฐานการเกษตรอย่างประเทศไทยของเรา นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชนจึงกำหนดจะหยิบยกเอาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันนี้มาเสวนาเชิงประสบการณ์และวิชาการ ซึ่งจะเป็นการสัมมนาและเสวนาแนวใหม่ที่ให้สารประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมในงานนี้มากกว่าที่เคยมี

    "เกษตรอินทรีย์ ชีวภาพและจุลินทรีย์ ทางเลือกทางรอดใหม่ของเกษตรไทย?"

    ประเด็นหลักของการสัมมนาและเสวนาเชิงประสบการณ์และวิชาการ จะมีในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 ณ ห้องประชุม ชั้น 9 บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ประชานิเวศน์ 1 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. เราเชิญวิทยากรที่เป็นเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ในวงการเกษตรอินทรีย์กลุ่มไร่นา กลุ่มพืชผักและผลไม้ อีกกลุ่มเป็นนักวิชาการด้านจุลินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จากกรมวิชาการเกษตร จากกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน และยังมีเกษตรกร กับนักวิชาการรับเชิญที่พร้อมจะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกษตรอินทรีย์อีกมากหน้าหลายตา

    ค่าใช้จ่ายร่วมสัมมนาครั้งนี้เพียง 535 บาท ในงานยังมีของแจกที่เป็นประโยชน์กับท่านอีก และค่าใช้จ่ายนี้ นอกจากจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ท่านยังได้รับประทานอาหารอร่อยและอาหารว่าง รวม 3 มื้อ เอกสารสัมมนาที่มากไปด้วยสารประโยชน์อีก 1 เล่ม

    เรียกว่าคุ้มเกินคุ้ม

    รายละเอียดต้องสอบถามเอาเองที่โทร. (02) 954-4999 ต่อ 2100, 2101, 2102 และ 2103 กับคุณ โสภีพรรณ คุณวนิดา คุณญาฑิกานต์ และคุณอนุวัฒน์

    พิเศษสุด คือจะมีบรรยายพิเศษว่าด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า และเกษตรพอเพียงต้นทางเกษตรอินทรีย์ เป็นของแถม แต่จะบรรยายโดยใครนั้นอุบไว้ก่อน

    http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05113010750&srcday=2007/07/01&search=no
    [/FONT]
     
  8. Itokin

    Itokin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +223
    ตอนนี้เป็นยังไงบ้างแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...