อาณาปานสติคืออะไร

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย นวกะ36, 29 มีนาคม 2010.

  1. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
    อานาปานสติ

    ............อานาปานสติ
    ............เป็นการตั้งอารมณ์พระกรรมฐานที่เป็นพื้นฐานของทุกกองกรรมฐาน
    ............สมาธิแบบพุทธศาสน์เป็นแบบฉบับที่มีความ สมบูรณ์ที่สุด ในการเรียบเรียงอารมณ์จิต เป็นไปตามขั้นตอนโดยธรรมชาติของการนั่งสมาธิ
    ผู้เขียนจึงใคร่ขอเรียบเรียงขั้นตอนต่าง เพื่อเสริมความเข้าใจให้แก่ท่านผู้ที่สนใจ
    สมาธิ หมายถึง ความมีใจตั้งมั่น,ความตั้งมั่นแห่งจิต,การทำใจสงบแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

    ............สมาธิ คือความตั้งมั่น หากแยกให้เข้าใจง่ายมีนัยอยู่ ๒ ลักษณะ ในการปฏิบัติ คือ
    ............๑. สมาถะภาวนา หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต จากนิวรณ์ ๕ ด้วยความตั้งมั่นที่จะละจากนิวรณ์ ๕ ด้วยกำลังของฌานในระดับต่างๆ หรืออาจเรียกได้ว่า อุเบกขารมณ์ ด้วยผลของฌาน ที่ ๑ ถึง ที่ ๔ ซึ่งจะได้กล่าวเป็นลำดับต่อไป
    ............๒.วิปัสสนาภาวนา หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบ ด้วยการเจริญวิปัสสนา คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสถาวะธรรม มีปัญญาที่เห็น “ไตรลักษณ์ “ เพื่อให้ถอนจากความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้ เป็นการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง
    ............อานาปานสติควรที่จะแยกอารมณ์จิตรับรู้ออกเป็น ๓ ส่วน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
    ............๑)กำหนดรู้ ลมกระทบ ในขณะหายใจเข้า / ออก
    ............๑.๑. กำหนดรู้แบบฐานเดียว กล่าวคือ
    - เมื่อหายใจเข้า ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกและสุดท้ายที่ ช่องจมูกตำแหน่งเดียว
    - เมื่อหายใจออก ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกและสุดท้ายที่ ช่องจมูกตำแหน่งเดียว
    ............๑.๒.กำหนดรู้แบบ ๒ ฐาน กล่าวคือ
    - เมื่อหายใจเข้า ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ ช่องจมูก แล้วไปสิ่นสุดที่เพดานออ่น
    - เมื่อหายใจออก ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ เพดานออ่น แล้วไปสิ่นสุดที่ช่องจมูก
    ............๑.๓.กำหนดรู้แบบ ๓ ฐาน
    - เมื่อหายใจเข้า ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ ช่องจมูก>เพดานออ่น>แล้วไปสิ่นสุดที่ในทรวงอกหรือขั่วแยกปอด
    - เมื่อหายใจออก ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ ทรวงอกหรือขั่วแยกปอด>เพดานอ่อน>แล้วไปสิ่นสุดที่ช่องจมูก
    ............๑.๔.กำหนดรู้แบบ ๔ ฐาน
    - เมื่อหายใจเข้า ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ ช่องจมูก>เพดานออ่น>ในทรวงอก>แล้วไปสิ้นสุดที่ในฐานเหนือสะดือสองนิ้วหรือกระบังลมล่างนั้นเอง
    - เมื่อหายใจออก ย่อมกำหนดรู้ลมกระทบแรกที่ ในฐานเหนือสะดือสองนิ้วหรือกระบังลมล่างนั้นเอง > ในทรวงอก>เพดานออ่น>แล้วไปสิ่นสุดที่ช่องจมูก
    ............๑.๕ . ส่วนการกำหนดรู้ในอานาปานสติอื่น ย่อมใช้แนวทางใกล้เคียงกัน เช่น หนอ – หนอ, ยุบหนอ-พองหนอ เป็นต้น

    ............สมาถะภาวนา ในพระกรรมฐาน ๔๐ แบบหมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิตจากนิวรณ์ ๕ ด้วย พระกรรมฐาน ๔๐
    ............นิวรณ์ ๕
    ............ นิวรณ์ ๕ เป็นอกุศลกรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือฌาน มิให้ทรงตัวอยู่ได้ และเป็นอนุสัย ที่นอน เนื่องอยู่ในจิตตามมาหลายภพ หลายชาติมาก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ควรคิดว่า เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นเพื่อนเก่า ถ้าจะไม่คบด้วยจะฝืนอารมณ์มิใช่น้อย ส่วนฌานเปรียบเสมือนเพื่อนหน้าใหม่มีนิสัยตรงกันข้ามกับเพื่อนหน้าเก่า ดังนั้นการดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงตัวอยู่ได้ไม่นาน ทรงตัวอยู่ได้ชั่วขณะ จิตก็เคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้นๆ
    ............เมื่อนักปฏิบัติ จิตเข้าสู่ระดับ ฌาณที่ ๑ ...ฌาณที่ ๒....ฌาณที่ ๓....ฌานที่ ๔ ถ้ายังไม่ได้ฝึกให้ชำนาญ คือเข้าออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิได้ไม่นาน จิตจะถอยหลังเข้าหา นิวรณ์ ๕ แน่นอน จงอย่าท้อถอยกำลังใจ หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน แล้วก็เริ่มทำสมาธิเข้าสู่ฌาน(จนกว่าจะได้เวลาอันสมควรที่ตั้งเอาไว้) เมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง ทำจนทรงอารมณ์ฌานได้มากขึ้นๆตามลำดับ


    ............นิวรณ์มี ๕ อย่างได้แก่
    ............๑.กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ............๒.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ............๓.ถินมิธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
    ............๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และรำคาญหงุดหงิดใจ
    ............๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด
    ............ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ฌาน ๔ ได้แก่
    ............อันดับที่ ๑ เรียก ปฐมญาณ หรือฌานที่ ๑
    ............อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาณ หรือฌานที่ ๒
    ............อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาณ หรือฌานที่ ๓
    ............อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔
    ............อรูปฌาน ๔ ได้แก่
    ............๑. อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศๆ เป็นอารมณ์ จนถึงฌาน ๔
    ............๒. วิญญารัญจายตนะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์จนถึงญาณ ๔
    ............๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์จนถึงฌาน ๔
    ............๔. เนวสัญญาณาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้ รับทราบ อะไรเลยเป็นสำคัญ จนถึงฌาน ๔
    ............ดังนั้นหากรูปฌาน ๔ กับอรูปฌาน ๔ จึงเรียกรวมว่าฌาน ๘ แต่จุดมุ่งหมายเบื้องต้นควรอยู่ที่ฌาน ๑-๔ ในรูปฌาน "อานิสงค์ฌาน ๔ "


    ............อันดับฌาน ๑ ถึง ๔ มีดังนี้
    ๑. ขณิกสมาธิ
    ๒. อุปจารสมาธิ
    ๓. ปฐมฌาน หรือ ฌาน ๑
    ๔. ทุติยฌาน หรือ ฌาน ๒
    ๕. ตติยฌาน หรือ ฌาน ๓
    ๖. จตุตถฌาน หรือ ฌาน ๔
    ............๑)ขณิกสมาธิ
    ............ ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น ได้เล็กน้อย หรือนิดๆหน่อยๆ เช่นกำหนดคำภาวนา ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่ง ขาดๆ เกินๆ มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งกำลังใจให้อยู่ใน อิทธิบาท ๔
    ............มีข้อสังเกตว่า อารมณ์ใจยังไม่ปักแน่น เสียงภายนอก ยังมารพกวนใจอย่างมาก เป็นเหตุให้สมาธิไม่มั่นคง
    ............๒)อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้ถึงปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่าง พอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพย์จักษุญาณได้



    อารมณ์ที่ เข้าถึงอุปจารสมาธิ
    ............๑.วิตก
    ............๑.๑ กำหนดจิตนึกคิดในเรื่องขององค์ภาวนา หรือ คำภาวนา
    ............๑.๒ ถ้าฝึกกสิณด้วย ก็ต้องกำหนดจิตนึกถึงนิมิตกสิณด้วย
    ............๒.วิจารณ์
    ............๒.๑ สมถะทั่วไปให้มีความรู้สึกว่า ภาวนาครบถ้วนหรือไม่ ผิดถูกหรือไม่ กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าอกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้ตลอดเวลา
    ............๒.๒ ถ้าฝึกกสิณ ในระหว่างกำหนด รูปกสิณนิมิตกองนั้นๆ มีอาการเคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร ใหญ่หรือเล็ก สูงหรือต่ำ กำหนดรู้ไว้ออกฝึกเลย
    ............๓. ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มีจิตใจเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นบางครั้งเป็นคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นานก็หายไป อาการของปีติมี ๕ อย่างได้แก่
    ............๓.๑ มีอาการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขอนพองสยองกล้า
    ............๓.๒ มีอาการน้ำตาไหล จากตาโดยไม่มีอะไรทำให้ระคายเคือง
    ............๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ............๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ............๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่งและใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    ............อาการทั้ง ๕ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อสังเกต ก็คือ อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้แต่ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่าง แต่จิตใจก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีแต่สมาธิมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่องทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ............๔. สุข ความสุขความชื่นบานเป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏอาการมาก่อนในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย จะมีอาการปวดเมื่อยก็ต่อเมื่อคลายจากสมาธิ ส่วนจิตใจมีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น
    ............๔.๑ อารมณ์วิตก คือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอดเวลา
    ............๔.๒ กำหนดร๔ภาวนา ถูกต้องครบถ้วนในกองกรรมฐานที่ทำอยู่
    ............๔.๓ มีปีติธรรมชุ่มชื่นผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา
    ............๔.๔ สมาธิตั้งมั่น
    ............๔.๕ ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นอาการของอุปจารสมาธิ
    มีข้อสังเกตว่า อารมณ์ใจยังปักแน่นมั่งคงขึ้นบ้าง เสียงภายนอก ยังมารบกวนใจ น้อยลง
    ............๓)ปฐมฌาน หรือ ฌาน ๑ ท่านกำหนดองค์ประกอบของฌานไว้ ๕ อย่าง ได้แก่
    ............๑.วิตก กำหนดนึกคิดโดย กำหนดรู้ลมหายใจ เข้า/ออก ว่าหายใจเข้าหรือหายใจออก
    ............๑.๑ ถ้ามีภาวนา ก็รู้ภาวนาอยู่มิได้ขาด
    ............๑.๒ ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดภาพกสิณ ในกองนั้นๆ ตลอดเวลา
    ............ ๒.วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้า หรือหายใจออก สั้นหรือยาว แรงหรือเบา ก็รู้ ตามหลักการจะแบ่งเป็น ๓ ฐาน คือ รู้ลมสัมผัส + ลมกระทบจมูกเข้า>> กระทบ อก>> กระทบ ศูนย์เหนือสะดือเล็กน้อย
    ............ หากมีการกำหนดฐานของลมหายใจ ให้ดูกาการกระทบ เหนือศูนย์เหนือสะดือออก>>กระทบ อก >> กระทบ จมูกหรือกระทบ ริมฝีปาก ออก .........เวียนไปมา
    ............๒.๑ ถ้ามีภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ............๒.๒ ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพสี ของกสิณเปลี่ยนแปลงหรือคงเดิม หรือมีอารมณ์อื่นสอดแทรกเข้ามาหรือไม่ เล็ก/ใหญ่ สูง/ต่ำ อย่างไรเป็นต้น
    ............๓. ปีติความชุ่มชื่น ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ ให้ไปดูที่ปีติ ๕ อย่าง มีปรากฏขึ้นมาบ้าง
    ............๔.ความสุข เยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมากาลก่อน
    ............๕.เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่เคลื่อนคลาย
    ............ข้อสังเกต คือ ในขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังคงได้ยินเสียงจากภายนอก ทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาไม่รำคาญในเสียง ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกกันเล็กน้อย เมื่อจิตเข้าระดับของปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คำนึงถึงอารมณ์พระกรรมฐานได้เป็นปกติ
    ............เสี้ยนหนามของปฐม เนื่องจากเป็นฌานโลกีย์อยู่ จึงเป็นฌานที่เสื่อมได้ง่ายทันที หากจิตยังหมกมุ่นอยู่ใน นิวรณ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ๕ อย่าง และเสียงจากภายนอก



    ............มีข้อสังเกตว่า อารมณ์ใจยังปักแน่นมั่งคงอย่างยิ่งดังกล่าวมา เสียงภายนอก วางเฉยในเสียงภายนอกได้
    ............๔) ทุติยฌาน หรือ ฌาน ๒ มีองค์ประกอบอยู่ ๓ ประการได้แก่
    ............๑. ปีติ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง จนละเอียดถึงระดับ มีแต่ความอิ่มเอิบใจ มากขึ้น
    ............ ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
    ............๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ............ในระยะนี้อารมณ์จิตจะละ วิตก และวิจาร ได้เป็นไปตามลำดับเอง(อย่าไประงับด้วยความตั้งใจ จะเป็นอุปกิเลสกินใจเปล่าวๆ ) จิตจะหยุดภาวนาเองเฉยๆมีอารมณ์นิ่งดิ่ง สบายกว่าขณะที่ภาวนามาก ลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภายนอกแต่เบามาก จิตไม่สนใจ ต้องมีสติสัมปชัญญะคุมอารมณ์อย่าให้เคลื่อน
    ............เสี้ยนหนามของทุติยฌาน ได้แก่ ๑. วิตก ๒. วิจาร
    ............๕) ตติยฌาน หรือ ฌาน ๓ มีองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ
    ............๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ เป็นความสุขทางจิตเฉพาะ ไม่มีความสุขที่เนื่องด้วยกาย
    ............ ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการสงัดจากกาย ท่านว่าจิตแยกออกจากความสนใจในกายเด็ดขาด
    ............มีข้อสังเกตว่า มีอาการทางทางกายเครียด คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้นั้น ลมหายใจรู้สึกแต่เบาเต็มที หรือคล้ายไม่มีลมหายใจ จิตสงัดดีไม่มีหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงแนบแน่นในสมาธิมาก
    ............เสี้ยนหนามของ ตติยฌาน คือ ปีติใน ฌานที่ ๑ และ ๒
    ............๖) จตุตถฌาน หรือ ฌาน ๔ มีองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ
    ............๑.เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จนเป็นอุเบกขารมณ์ในทุกสิ่ง รู้แต่วางทันที
    ............มีอาการแสดงผลดังนี้
    ............มีข้อสังเกตว่า การเปรียบเทียบอารมณ์ ในฌาน ๔ ลมหายใจเข้า/ออก ละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ โดยข้อ เปรียบเทียบไว้ ๔ อย่างคือ เสมือน
    ............๑) คนตาย
    ............๒) คนดำน้ำ
    ............๓) เด็กในครรภ์มารดา
    ............๔) คนเข้าถึง ฌาน ๔ เป็นต้น
    ............๒. มีอารมณ์จิตโพลงสว่างไสว เกินกว่าฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลยทุกสิ่ง ดังนั้น อานาปานสติ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
    ............เสี้ยนหนามของฌาน ๔ คือ ฌาน ๓ , ๒ และ ๑
    ............เมื่อมีความคล่องแคล่วในฌาน ๔


    ............เมื่อท่านมีความคล่องแคล่ว ชำนิชำนาญดีแล้ว ให้เข้าสู่ฌาน๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วอธิษฐานว่า "ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรง และกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ" แล้วเข้าฌาน ๔ใหม่ แล้วออกจากฌาน ๔ มาหยุดเพียงอุปจารฌาน ท่านก็จะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ จะมีกายของเราเองอีกกายหนึ่งปรากฏขึ้นในกายเดิม ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่า "กายในกาย" จะบังคับให้กายในท่องเที่ยวในกายหยาบทั่วไปก็ได้ ต่อมาบังคับกายนี้ไปภพภูมิใด ก็ได้ เรียกว่า " มโนมยิทธิ "
    “””””””””””””””””””””””””””””
    ...............วิปัสสนาภาวนา ๙ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบด้วยการเจริญวิปัสสนา
    ............วิปัสสนาภาวนา หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบ ด้วยการเจริญวิปัสสนา คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสถาวะธรรม มีปัญญาที่เห็น “ไตรลักษณ์ “ เพื่อให้ถอนจากความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้ เป็นการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเองโดยมีญาณ เป็นเครื่องรู้ ๙ อย่าง
    ก่อนอื่นใคร่ที่จะให้ท่านเข้าใจกฎความเป็นธรรมดาของโลก ที่เรียกว่า “กฎไตรลักษณ์”
    กฎไตรลักษณ์ ๓ ประการ
    ............๑.อนิจจัง หมายถึง ความไม่เที่ยงแท้แน่นนอน ของสรรพสิ่งในโลก
    ............๒.ทุกขัง หมายถึง มีความเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา ของสรรพสิ่งในโลก
    ............๓.อนัตตา หมายถึง ในที่สุดก็แตกสลายดับไป ของสรรพสิ่งในโลก
    ............ญาณ เป็นเครื่องรู้ ๙ อย่างได้แก่
    ............๒.๑ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ได้แก่ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่ง รูป และ นาม หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่า
    ............๑) รูป หมายถึง รูปร่าง หน้าตา แบบต่างๆ ที่เนื่องด้วย บุคคล เวลา สถานที่ ที่สามารถที่จะสัมผัสได้ด้วย “ อยตนะ ๖ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ “ ให้พึงพิจารณาอยู่เสมอว่า มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และดับไปหรือสลายตัวไปเป็นธรรมดา อยู่ใน “ กฏไตรลักษณ์ “ และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒) นาม หรือ อรูป หมายถึง “ จิตที่ติดอยู่ในรูป “ เช่น รูปร่าง หน้าตา แบบต่างๆ ที่เนื่องด้วย บุคคล เวลา สถานที่ “ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต “ ที่สามารถที่จะสัมผัสได้ด้วย “ อยตนะ ๑ ใน ๖ อย่างได้แก่ “ ใจ “ ที่ดึงเอาความรู้สึกนึกคิด จากสัญญาความจำได้หมายรู้ ขึ้นมาปรุงแต่งใหม่.....ให้ต่ำกว่าความเป็นจริงที่ผ้านมาแล้ว...ให้เสมอกับความเป็นจริงที่ผ้านมาแล้ว....ให้สูงกว่าความเป็นจริงที่ผ้านมาแล้ว.....ให้พึงพิจารณาอยู่เสมอว่า มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และดับไปหรือสลายตัวไปเป็นธรรมดา อยู่ใน “ กฏไตรลักษณ์ “ และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๒ .ภังคานุปัสสนาญาณได้แก่ ญาณตามเห็นความดับ หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่า “ กฏไตรลักษณ์ “แต่ใช้ในการพิจารณาในเรื่องของอนัตตาเพียงตัวเดียว คือ ความดับนั่นเอง ความดับที่พิจารณานั้น ดับในรูปและนามตาม ๒.๑ เมื่อพิจารณาเห็นว่าสรรพสิ่งในโลกนี้มีแต่ความเสื่อมสลายเป็นปกติ จึงละเสียซึ่งความยึดมั่นถือมั่น ทั้งรูป ทั้งนาม...และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๓ ภยตูปัฎฐานญาณได้แก่ ญาณพิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัวหมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่าสังขารที่เป็นกายเนื้อทั้งของเราและของบุคคลอื่นเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ทุกขณะ เมื่อเห็นภัยแห่งความเสื่อมนั้นจึงตั้งกำลังใจว่า สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นสังขารนั้นมีความน่ากลัวในความไม่เที่ยงนั่นเอง แต่ในทางปฏิบัติเมื่อเห็นสังขารเป็นสิ่งที่น่ากลัวก็จริงแต่ต้องดูแลมันจนกว่าจะพัง อาการของการดูแลร่างกายนี้ก็เป็นความน่ากลัวอย่างหนึ่งเหมือนกัน เราจึงดูแลสังขารนี้เพื่อยังประโยชน์...และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๔ อาทีนวานุปัสสนาญาณได้แก่ ญาณพิจารณาเห็นโทษของสังขาร หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่าโทษของสังขารเป็นบ่อเกิดของความเกิดเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์...และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๕ นิพพิทานุปัสสนาญาณได้แก่ ญาณพิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่าเมื่อเห็นความทุกข์ตามข้อที่ ๒.๔ แล้ว จึงมีอารมณ์พิจารณาว่าตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ความซ้ำซากจำเจของความเกิดเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงมุ่งแต่การปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๖ มุญจิตุกามยตาญาณได้แก่ ญาณพิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย หมายถึง การนำจิตจดจ่อ (มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า” สติ สัมปชัญญะ“ นั้นเอง)ในการพิจารณาอยู่เสมอว่า ในการเกิดในชาตินี้จะขอเกิดเป็นชาติสุดท้าย หลังจากชาตินี้ไปแล้วจะไม่ขอเกิดอีก ให้มีความทุกข์ในกองสังขารและมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน“ ในที่สุด
    ............๒.๗ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณได้แก่ ญาณพิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร หมายถึง การนำจิตจดจ่อ (มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า”สติ สัมปชัญญะ“ นั้นเอง)ในการพิจารณาอยู่เสมอว่ามีหนทางไหนเล่าที่จะพ้นจากสังขารนี้ได้ นอกเสียจากการตัดความทะยานอยากที่จะเกิดในพรหมโลก ในเทวโลก ในมนุษยโลก แกละในอบายภูมิ หากละความทะยานอยากในภพทั้งสี่นี้เสียได้ จึงมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๘ สังขารุเปกขาญาณได้แก่ ญาณพิจารณาเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่า เมื่อที่สุดของสังขารมีความเสื่อมลงด้วยโรคภัยไข้เจ็บด้วยความชรา จึงดูแลสังขารตามแต่อัตภาพที่ควรจะเป็น ณ ขณะนั้น จะทำการวางเฉย ไม่โอดครวญ ไม่ต่อรองว่าสังขารนี้ควรที่จะอยู่กับเราให้นานๆ ไม่ควรมีความเสื่อมใดๆ เกิดขึ้นแก่เราอย่างนี้ ...และมุ่งมั่นในปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    ............๒.๙ สัจจานุโลมิกญาณได้แก่ ญาณพิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ใน อริยสัจ ๔ หมายถึง การนำจิตจดจ่อ ( มี ผลของญาณ ๑ ถึง ๔ ที่เรารู้จักกันว่า ” สติ สัมปชัญญะ “ นั้นเอง )ในการพิจารณาอยู่เสมอว่า ให้ใคร่ครวญไปมาในญาณทั้งแปดประการนั้นจนจิตเข้าสู่ปัญญาแห่งความเป็นพระอรหันต์ว่า “เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา”...และมุ่งมั่นในการละสังโยชน์ทั้งสิบอย่างเป็นการปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่ “ พระนิพพาน “ ในที่สุด
    “””””””””””””””””””””””””””””””””””
    ............ กำลังกุศลใดบ้างที่ส่งผลให้ได้เกิดเป็นพรหม ๑๖ เขต
    ............อานิสงค์ของ “ รูปฌาน ๔ “ ในระดับฌานต่างๆ
    ได้ฌานที่ ๑ หยาบ ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑
    ได้ฌานที่ ๑ กลาง ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒
    ได้ฌานที่ ๑ ละเอียด ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓
    ได้ฌานที่ ๒ หยาบ ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๔
    ได้ฌานที่ ๒ กลาง ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๕
    ได้ฌานที่ ๒ ละเอียด ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๖
    ได้ฌานที่ ๓ หยาบ ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    ได้ฌานที่ ๓ กลาง ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    ได้ฌานที่ ๓ ละเอียด ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
    ได้ฌานที่ ๔ หยาบ ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑๐
    ได้ฌานที่ ๔ กลาง และ ละเอียด ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑๑

    อานิสงค์ของ “ อรูปฌาน ๔ “
    ............ซึ่งมีที่ตั้งแทรกอยู่ระหว่างพรหมชั้นที่ ๗ กับ ๘ ในระดับฌานต่างๆ ๔ ระดับดังนี้
    ............1. อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศๆ เป็นอารมณ์ จนถึงฌาน 4 ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็น อรูปพรหมชั้นที่ ๑ ( ๗.๑ )
    ............2. วิญญารัญจายตนะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์จนถึงญาณ 4 ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นเป็น อรูปพรหมชั้นที่ ๒ ( ๗.๒ )
    ............3. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์จนถึงฌาน 4 ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นเป็น อรูปพรหมชั้นที่ ๓ ( ๗.๓ )
    ............ 4. เนวสัญญาณาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้ รับทราบ อะไรเลยเป็นสำคัญ จนถึงฌาน 4 ถ้าตายในฌานได้อานิสงค์เกิดเป็นเป็น อรูปพรหมชั้นที่ ๔ ( ๗.๔ )
    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นพรหมที่ได้ “ โลกียฌาน”
    ............กำลังกุศลใดบ้างที่ส่งผลให้ได้เกิดเป็นพรหม ๑๖ เขตต่อ
    ............พรหมอีก ๕ ชั้น คือชั้นที่ ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, และ ๑๖ จะต้องมีคุณธรรม คือ
    ๑.ต้องได้บรรลุมรรคผลเป็น “ พระอนาคามี “
    ๒.ต้อง “ได้ฌาน ๔” มาก่อน
    เมื่อพ้นจาก เขตของพรหม ๑๖ เมื่อหมดอายุของการเป็นพรหม “ ก็จะได้เข้าพระนิพพาน”
    ............อารมณ์พระโสดาบัน
    ............ตัดสักกายทิฐิ คือ ความพยายามตรวจสอบระมัดระวัง เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นในกายของเรา ในกายของบุคคลอื่น และเห็นความไม่เที่ยงของกายเราและกายของบุคคลอื่น ละความทะยานอยากว่า เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้วอยากเกิดในพรหมโลกอีก อยากเกิดในเทวโลกอีก อยากเกิดในมนุษยโลกอีก อยากเกิดในอบายภูมิอีก เป็นต้น
    ...เราขอตั้งอธิษฐานว่าเมื่อสังขารนี้พังลงไปเมื่อใด สุขคติภูมิของเราคือเมืองพระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น
    ............ให้รักษาศีลห้าและกรรมบถสิบยิ่งชีวิต จนตลอดชีวิต
    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณธรรมของพระรัตนตรัยและความดีที่เราทำ
    ให้ทรงอารมณ์เช่นนี้ตลอดไปจนสิ้นอายุขัย จึงได้ชื่อว่าทรงอารมณ์พระโสดาบันตลอดไป
    ส่วนคุณธรรมอื่น อันได้แก่ อารมณ์พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์นั้น ใคร่ที่จะให้ทุกท่านไปศึกษา
    “”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
    คัดลอกมาจาก:�ҹһҹʵ� - Intania82.com

    <!--IBF.ATTACHMENT_9714-->
     
  2. j_samsen

    j_samsen สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2012
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +4
    ละเอียดมากๆเลยค่ะ อ่านแล้วเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติค่ะ ขอบคุณที่อธิบายได้อย่างละเอียดนะคะ อนุโมทนาค่ะ สาธุ
     
  3. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    อานาปานสติ
    แยกเป็น 3 คำ คือ
    1.อานะ หายใจเข้า
    2.อปอานะ หายใจออำ
    3.สติ คือตามรู้ ระลึกได้ ว่าขณะนั้นทำอะไรอยู่
    ผลที่ได้จากการทำอานาปานสติ ที่พระพุทธองค์ทรงทำนั้น ท่านอื่นได้อธิบายไว้แล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...