นั่งสมาธิ จิตสงบแล้วทำไม ???

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย momogo, 15 พฤษภาคม 2012.

  1. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    ตอนนี้ แม้แต่เมตตาตัวเอง ยังไม่ได้เลยค่ะ
     
  2. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ธรรมะรักษาท่าน momogo

    momogo : ดูตามลมค่ะ ว่าผ่านไปตรงไหน
    sun dog : ดูแล้วรู้ไหมลูก ว่าลมผ่านไปไหนบ้าง ? หากดูแล้วยังไม่รู้ชัด ก็ไปยืนดูในที่ๆรู้ชัดดีไหม ? หรือว่าวิ่งตามลมไปแล้วรู้สึกดีกว่า ?

    momogo : คืออะไรหรือคะ ฐานปีติ ปัสสัทธิ
    sun dog : เมื่อเราบริกรรมพุทโธ หรือ สัมผัสลม ไปเรื่อยๆ เรารู้สึกถึงสิ่งที่ตนกำลังทำในระดับพอดีๆ ไม่เด่นเกินไป ไม่จางเกินไป มันจะเกิดความรู้สึกบางอย่างที่ผุดขึ้นมาเอง ไม่ใช่ความรู้สึกสุข ไม่ใช่ความรู้สึกทุกข์ เป็นความรู้สึกที่เราไม่ได้ไปทำให้มันเกิด เราไม่รู้มันมาได้ไง มันมาเอง ความรู้สึกแบบนี้เรียกว่าปีติ

    ปีติธาตุดิน รู้สึกถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของบริเวณใดๆขึ้นมาด้วยอาการธาตุดิน ที่หนักๆ หน่วงๆ เช่น รู้สึกถึงผิวหนังผ่านอาการขนลุกขนพอง รู้สึกถึงจุดเหนือสะดือด้วยอาการหน่วงๆบริเวณนั้น

    ปีติธาตุไฟ รู้สึกถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของบริเวณใดๆขึ้นมาด้วยอาการธาตุไฟ ที่ร้อน และมีแสง เช่น ร้อนๆบริเวณท้อง หรือมีภาพหรือประกายแสงปรากฎขึ้นในความรู้สึก

    ปีติธาตุลม รู้สึกถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของบริเวณใดๆขึ้นมาด้วยอาการธาตุลม ที่ดันๆ เต้นๆ ยกๆ ลอยๆ เช่น รู้สึกถึงอวัยวะภายในบางอย่างด้วยอาการดันขึ้นของลม รู้สึกถึงการเต้นของเส้นเลือดในเหงือก แถวๆหัวใจ หรือ หนังศรีษะ

    ปีติธาตุน้ำ รู้สึกถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของบริเวณใดๆขึ้นมาด้วยอาการธาตุน้ำ ที่เย็นๆ เอื่อยๆ เช่น รู้สึกเย็นๆไหลๆลงมาบริเวณสันหลัง ช่องอก แขน ขา

    ปีติธาตุอากาศ รู้สึกถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของบริเวณใดๆขึ้นมาด้วยอาการธาตุอากาศ ที่โล่งๆ แผ่ๆ แทรกซึม เช่น มีอะไรแผ่ๆในช่องอก มีอะไรแผ่ๆบริเวณก้น มีอะไรแผ่ๆ บริเวณหลัง

    เมื่อเกิดปีติ แล้วเราตระหนักรู้ เราจะสามารถบริกรรมหรือดูลมหายไปด้วย รับรู้อาการปีติไปด้วยได้ ภาวนาต่อไปสักพัก เราจะพบว่าตนเองสงบลงกว่าเดิม ไม่กระวนกระวาย อาการนี้เรียกว่า ปัสสัทธิ จ้า

    เวลาเกิดปีติ แล้วเราลังเลสงสัย เราจะกระวนกระวาย ปัสสัทธิจะไม่เกิด แต่ปีติก็ยังไม่หายหากเรายังรักษาความพอดีของการภาวนาไว้ได้ เมื่อปีติเกิดเต็มที่แล้ว ปัสสัทธิ จะมาเอง ที่ sun dog เรียกว่าฐาน เพราะเมื่อ ปีติ ปัสสัทธิ เกิดบ่อยๆจนถึงระดับหนึ่งแล้ว เราจะรู้สึกเหมือนตนตั้งอยู่บนฐาน จ้า
     
  3. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ท่าน momogo ปฏิบัติมามากมาย
    เจริญไปเรื่อยๆ ด้วยความพอใจในสิ่งที่ตนทำ กายใจก็จะสงบลง
    เมื่อสงบแล้ว เมตตามาเอง
    เราทำลงไปตามธรรมชาติ
    ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่ามันเรียกว่า เมตตา หรือว่าอะไร

    ตอนนี้ เมตตาไม่ได้ ก็ไม่ต้องเมตตา
    เผชิญหน้า กับทุกอย่าง อย่างจริงใจ
    เวลาว่าง ก็พักผ่อนกายใจ ด้วยวิธีที่ตนรู้สึกดี
    พอใจ กับทุกสิ่ง ที่เรากระทำเต็มที่แล้ว

    วิธีที่ดีกว่า มีมากมาย
    แต่หากเรากระทำไม่ได้ มันก็ไม่เกี่ยวกับเรา
    เราทำเต็มที่ ได้แค่ไหน เอาแค่นั้น
    สิ่งหล่อเลี้ยงใจ คือ เราไม่ได้หลอกตนเอง
    และเราก็ได้กระทำสุดความสามารถแล้ว ในขณะนั้นๆ
     
  4. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ลองให้ฝึก เวทนานุปัสสนาดูดีไหมครับ นั่งให้เจอเวทนาดับไปเลย?
     
  5. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    มันชอบวิ่งตามไปเองค่ะ บางครั้งก็ไม่วิ่ง แต่ละครั้ง เขาจับไม่เหมือนกันค่ะ
    บางทีเขาก็ไปจับที่ท้อง บางครั้งถ้าเป็นเหน็บชา เขาก็จะวิ่งไปจับ หรือเพราะกำหนดไม่เคยเหมือนกันหรือเปล่าคะ เลยเป็นแบบนี้
     
  6. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    ขอบคุณค่ะ ตอนนี้โดนกระทบเยอะ เริ่มไม่อยากทนแล้ว อยากสู้มากกว่าค่ะ T^T
     
  7. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158

    อันนี้ก็ลองแล้วค่ะ บางทีก็ดับ บางทีก็ไม่ดับ
    บางทีก็ทนได้ บางทีก็ทนไม่ได้ T^T
    แต่เวลาออกจากสมาธิมา อารมณ์ร้อนไว ขี้โมโห ขี้วีนเหมือนเดิม
     
  8. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog เคยฝึกอานาปานสติมาแบบไม่ค่อยครบ ตอนตนเองฝึกนั้น ภาวนาพุทโธทุกลมหายใจเข้าออก แต่ตอนหลังรู้สึกว่าพุทโธมันหนักไป รู้สึกว่าคำบริกรรมมันรบกวนการดูลม กลายเป็นบริกรรมแล้วไม่ค่อยรู้ลม ตนจึงเลิกบริกรรมกลางทาง หันมาดูลมหายใจล้วนๆแทน เวลาดูลมหายใจตนนำความรู้สึกไปแตะไว้ที่จุดลมกระทบ ตอนนั้นใช้ท้อง จึงแตะอยู่ที่ท้อง ลมมาก็รู้ ลมไปก็รู้ ตอนหลังก็ไม่รู้ว่ามาหรือไป กลายเป็นกระทบ กระทบ กระทบ แล้วก็มีปีติ แล้วก็มาสนใจปีติแทน ลมนั้นดูบ้างไม่ดูบ้าง ไม่กระวนกระวาย อยู่ได้นานๆ ไม่รู้สึกสุข สักพักใหญ่ๆก็ปวดขา แรกๆก็อยู่ได้ ต่อมาเริ่มคิดนู่นคิดนี่ อยากออกจากภาวนาแล้ว แต่ทนเอา ไม่ยอมออกง่ายๆ อยากจะออกเป็นคนสุดท้ายในศาลา ทีนี้ก็นั่งทนเอาอย่างเดียว คิดนู่นนี่บ้าง เจ็บขาบ้าง จนแน่ใจว่าตัวเองเหลือคนสุดท้ายในศาลาแล้ว หรือไม่ก็นั่งต่อไม่ไหวแล้ว จึงออก

    ทำอย่างนี้ทุกวันพระและทุกวันที่บวชชีพราหมณ์ สักพักก็เกิดสัญญาวิปลาสเลยเลิกไปวัด และเลิกนั่งสมาธิไปนานทีเดียวจ้า

    ตอนนี้กลับมาปฏิบัติใหม่ตั้งแต่ต้น แต่ไม่ได้ทำในรูปแบบนั่ง ทำในชีวิตประจำวัน ตนเองเริ่มจาก "พุทธานุสติ" ก่อน กล่าวคือ อธิษฐานตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเท่าที่ตนเองจะระลึกได้ แล้วก็กระทำตามคำอธิษฐาน ระลึกได้เป็นบทสวดมนต์ก็มี เป็นรูปพระพุทธรูปก็มี ไม่เกี่ยวกับลมหายใจ พบว่ามีปีติครบ 5 อย่าง ปีติได้นำตนไปรู้จักอวัยวะต่างๆในร่างกาย ตนรู้สึกถึงพุทธคุณจึงถือปีติเป็นพุทธานุสติ ปีติพาตนไปรับรู้ลมหายใจที่ตำแหน่งต่างๆด้วย แต่ตนไม่ได้ดูลม ตนดูปีติ จึงไม่ได้หยุดอยู่ที่ตำแหน่งลมกระทบ หากตนยังสัมผัสรายละเอียดของพุทธคุณ 56 อย่างไม่ได้ครบ และไม่ได้รู้จักพระรัศมีอันช่วยจำแนกนิมิตจริง-นิมิตลวง ชนิดของปีติในการเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ฯลฯ ตนก็ไม่ปรารถนาไปต่อยังอานาปานสติ

    จากประสบการณ์ข้างต้น sun dog ไม่ได้เชี่ยวชาญอานาปานสติ
    อาจให้คำแนะนำได้ไม่ตรงกับสภาวะของท่าน momogo
    sun dog ได้แต่กล่าว เท่าที่ตนเองสังเกตเห็นดังนี้

    เมื่อเราดูลม เราย่อมเป็นผู้ดู
    เมื่อเราเป็นผู้ดูแล้ว เราย่อมกำหนดได้
    ว่าจะดูอะไร ตรงไหน

    ความรู้สึกที่ว่า วิ่งตามไปเอง นั้น
    อาจเกิดขึ้น เพราะ ความตั้งใจเรา ขาดหายไป ระหว่างทา
    เราเลยไม่รู้ ว่าเรากำลังดูลม หรือดูปีติ หรือดูความรู้สึกชาขา
    เราจึงไม่รู้ ว่าตัวเองอยู่ไหน จึงใช้คำว่า "เขา จับไม่เหมือนกัน"

    ที่ความตั้งใจเรา ขาดหายไป ระหว่างทาง
    อาจเป็นเพราะเรา ไม่ได้ตั้งใจ ให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น
    ว่าจะดูอะไร อยู่ที่ไหน

    sun dog เอง ก็ขาดหายบ่อยๆ
    เวลาที่ขาดหาย เป็นเวลาที่ความรู้สึก
    เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่กำหนด โดยไม่รู้ตัว
    (หากรู้ตัว ตนจะไม่ขาดหาย แต่จะตั้งใจเลิกดูไปเลย
    ด้วยความเหนื่อย หรือเกียจคร้าน)

    การขาดหายนี้ ทำให้ดีขึ้นได้
    ด้วยการอธิษฐาน แสดงความตั้งใจ ให้สติรับรู้
    ว่าตน จะเอาองค์ภาวนาใด ที่ไหน
    และการภาวนาบ่อยๆ จ้า

    เมื่อเกิดปีติ อย่าลืมองค์ภาวนา
    แต่ก็ไม่ต้องกระชากอารมณ์ หรือกดอารมณ์ ให้ขังตัวอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง
    เราสามารถแตะองค์ภาวนา
    ไปพร้อมๆกับรับรู้ปีติ หรือความเจ็บปวดในร่างกายได้
    คล้ายๆกับ การกินข้าวไปด้วย ดูละครไปด้วย
    ข้าวก็กินได้ ละครก็ดูรู้เรื่อง
    ตัวเราก็อยู่ในที่ที่เราอยู่ เป็นที่เดียวกับเมื่อเริ่มภาวนา ไม่ได้เคลื่อนไปไหน
    จ้า
     
  9. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog ยังฝึกไปไม่ถึง
    แต่เห็นว่ามีหลายท่านกำลังฝึก
    จึงนำคำแนะนำ ที่คุรุมัชฌิมากรรมฐาน ท่านรจนาไว้
    (ดาวโหลดมาจากโฮมเพจสมเด็จสุก ไก่เถื่อน) มาโพสต์ ดังนี้
    ------------------------------------------------------------------

    เมื่อจะเจริญสมถะ ในห้องอานาปานสติกรรมฐาน ท่านให้กำหนดรู้โดยย่อดังนี้

    1. คณา ได้แก่การนับลมหายใจ
    เริ่มด้วยลมหายใจออก และลมหายใจเข้า
    หายใจออกนับ ๑-๒-๓-๔-๕ เดินหน้า
    หายใจเข้านับ ๕-๔-๓-๒-๑ ถอยหลัง

    2. อนุพันธนา ได้แก่การติดตามลม
    เมื่อนับแล้วซึ่งลม ให้มีสติกำหนดหมายตามลมหายใจเข้าออก อย่างต่อเนื่อง

    3. ผุสนา ได้แก่การกระทบ
    เมื่อนับลมแล้วเอาสติกำหนดตามลมหายใจเข้าออกแล้ว จึงดูว่าลมหายใจเข้า-ออก ไปกระทบที่ไหนบ้าง เช่นที่ขื่อจมูก ปลายจมูก ฯลฯ เรียกว่าการกระทบ

    4. ฐปนา ได้แก่การตั้งมั่น
    เมื่อนับลม (คณา) แล้ว จึงกำหนดสติ ติดตามลม (อนุพันธนา) ว่า ลมหายใจเข้า-ออกไปกระทบที่ (ผุสนา) ไหนบ้าง เมื่อรู้แล้วควรกำหนดจิตตั้งมั่นอยู่ที่ลมกระทบนั้น ทำนิมิตให้มั่นคง เช่น ลมกระทบที่ปลายจมูกก็กำหนดจิตตั้งมั่นไว้ที่ปลายจมูก (ฐปนา)

    การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะ ต้องเจริญการนับลม การติดตามลม การกระทบของลม การตั้งมั่น ให้กำหนดไปพร้อมกัน ตามกาล ตลอดกาล การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะ จึงจะสำเร็จถึง อัปปนาสมาธิ

    แต่เพราะลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้พระโยคาวจรทั้งหลาย ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับนิมิตต่างๆ (จุดที่ลมกระทบ) ทำให้พระโยคาวจรสับสน การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะล้มเหลว และเพื่อกำจัดความสับสน โบราณจารย์แต่ปางก่อนจึงกำหนดจุดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กระทบ ให้เหลือไว้เพียงเก้าแห่ง เพื่อความชัดเจนในนิมิตต่างๆ และไม่สับสนดังนี้

    ๑. สูญน้อยกลางนาภี (สะดือ) เป็นจุดตั้งมั่น
    ๒. จงอยริมฝีปากบน
    ๓. ขื่อจมูก
    ๔. ปลายนาสิก
    ๕. ระหว่างตาทั้งสอง
    ๖. ระหว่างคิ้วทั้งสอง
    ๗. กลางกระหม่อมจอมเพดาน
    ๘. โคนลิ้นไก่
    ๙. หทัยวัตถุ จุดสุดท้าย
    ------------------------------------------------------------------
     
  10. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    ขอบคุณมากค่ะ ขอไปฝึกต่อก่อน ได้ผลยังไงจะเข้ามาปรึกษาในเว็บอีกค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
     
  11. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    ง่ะ แค่จะฝึกก็ยากแล้วค่ะ มิบังอาจ = =
     
  12. ทรืะ

    ทรืะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +393
    ตอบได้ถูกใจค่ะ เพราะดิฉันคําภาวนาก็หายไปค่ะขอบคุณมากค่ะดิฉันจะลองทําใหม่ค่ะจะได้ไม่เสียเวลา

     
  13. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    จริงๆจะภาวนาบริกรรมต่อ ก้เมื่อเหนภาพนิมิตรแล้ว....อย่าเพิ่งทิ้งคำภาวนา ดูซิว่าเมื่อมีคำภาวนาอยู่เมื่อเหนนิมิตรแแบบนี้ นิมิตรจะค้างอยู่ไหมหรือหายวับไป

    ผมสมาธิในท่านอนเปนท่าที่สบาย เวลาก่อนจะหลับ จะมีความสงบอย่บ้างถึงจะหลับต่อไปได้ จขกท. มีสมาธิบ้างในช่วงก่อนหลับ เพราะทำสมาธิก่อนมานอนแล้วพอจิตสบายและสงบลงไปปั๊บ ก็อาจจูนเหนภาพอะไร ๆ ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงก้ได้

    ที่โบราณว่าไว้ สิ่งที่เราเหน คือเหนจริง แต่สิ่งที่ถูกเหนอาจไม่ใช่ของจริงเสมอไป(จริงก้ได้หรือปลอมก้ได้ เพราะถูกมารหลอก)555
     
  14. KRIDROCKER

    KRIDROCKER Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +95
    การฝึกสมาธิทำไมถึงต้องปรับอินทรีย์ 5 ให้สมดุลกัน
    สัทธากับวิริยะให้สมดุลกัน
    สมาธิกับปัญญาให้สมดุลกัน
    โดยมีสติเป็นตัวกลางกำกับประสาน

    ขอให้ลองดูบทความนี้ โดยพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
    จากเว็บไซต์ ลานธรรมจักรครับ

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7074
     
  15. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    อันนี้


    ฮืมมมมมมม อันนี้ก็น่าคิด
     
  16. santiphap

    santiphap สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    กำลังใจดีแล้วครับ อย่าไปใส่ใจกับนิมิตมากครับ เห็นก็สักแต่เห็น รู้ก็สักแต่รู้ ฌาณ 1 นี่มีองค์ภาวนาครับ ฌาน 2-4 องค์ภาวนาหายครับ แต่ฌาน 2-3 นี่ ยังมีตัวรู้เกิดอยู่นะครับ ถึงคำภาวนาจะหายไป เรียกว่ายังมีสติรู้อยู่ บางคนอาจจะลมหายใจเบา จนแทบจะหาไม่เจอคล้ายๆกับไม่หายใจ แต่ตัวสติก็ยังรู้ครับ ถ้าเกิดเห็นนิมิต ก็ลองพิจารณาว่า เห็นหนอ เห็นหนอ เห็นหนอ ถ้าเกิน 3 ครั้งไป แสดงว่าสติเรายังไม่ดีพอ ให้ฝึกสติเดินจงกรม นั่งกรรมฐานครับ เพราะจิตของคนเรานี้ เป็นสิ่งที่ลุ่มลึก จริงๆแล้วจิตไม่ใช่สิ่งที่ซับซ้อน แต่สิ่งที่ทำให้เรามองไม่ออกก็คือ ตัวกิเลสที่มาครอบงำตัวจิตที่ใสดั่งแก้ว ให้ดูหมองหม่นไป ฉะนั้น การนั่งกรรมฐาน เพื่อตัดกิเลส ตัดความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือแม้แต่กระทั่งตัวกาม ทั้งหลาย เมื่อจิตสงบแล้วและรวมเป็นหนึ่ง แน่นอนว่าปัญญาเกิด ความรู้ทางธรรมเกิดแน่นอนครับ ฉะนั้นอย่าไปยึดมั่นถือมั่นนะครับ ตัวธรรมมะนั้น เราก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนะครับ ให้นำธรรมมะเป็นเหมือนเรือที่จะให้เรานั่ง ส่วนเราเป็นผู้นั่งเรือ และก็ต้องรักษาเรือไว้ด้วย แต่ก็ต้องเป็นผู้พายเรือด้วย การที่จะพายถึงฝั่งหรือไม่ถึงฝั่งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วหละครับ สิ่งที่ควรสนใจในการนั่งกรรมฐานก็คือ มีแค่กายกับจิตเท่านั้นครับ สิ่งสำคัญที่สุดของการนั่งกรรมฐานก็คือการปล่อยวาง แค่คำเดียวเท่านั้น การนั่งกรรมฐาน ไม่ต้องไปอ่านหนังสือมากครับ จะสับสน แต่ควรที่จะดูที่จิตของตัวเอง พิจารณากาย พิจารณาอสุภกรรมฐานให้ตัด รูป เสียง กลิ่น รส ร่างกาย ทั้งหลายทั้งปวง ตัดกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง ไปจนถึงกิเลสอย่างละเอียด เป็นลำดับขั้นตอนไป ที่สำคัญ อย่าไปฝืน สภาวะธรรมจะเกิดกับผู้ปฏิบัติครับ เพราะฉะนั้นทฤษฎีกับการปฏิบัตินั้น ก็ย่อยจะต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2013
  17. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    กลับมาอ่านอีกครั้ง ก็นึกถึงคำตอบที่ประมาทของผม.หากไล่ตามสภาวะแล้ว จขกท.จิตสงบจริงๆในสภาวะหนึ่งแต่ถูก..นิมิตร หลอกล่อ ดึงออกไปดู จขกท.เลยส่งจิตออกนอกดูนิมิตแทน ..ต้องแข็งใจ ดึงจิตกลับมาอยู่ที่ลม หรือกายแทนครับ...ทำให้ได้ครับ
    สรุป..จิตท่านสงบจริง จนเห็นนิมิต
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ปู่แข็งใจ ดึงจิตกลับมาที่ลม ทำไงอ่ะปู่
    นึกว่าให้รู้ไปตรงๆ ว่าเจอนิมิตขณะอยู่ ขณะออก แล้วดูยินดียินร้ายที่ปรากฏอีก ย้ำไปเรื่อยๆ
     
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เจอนิมิต..ดูภาพ ติดสมมุติ
    ..ดูยินดี-ยินร้าย ดูสภาวะสัญญา ติดสัญญาอารมณ์ (ชาดสติ)

    :mad:ไอ้นี่มั่วไปหมด..แว๊บเดียวดูได้ทั้งภาพ-ทั้งสภาวะ..นึก-คิดพร้อม เอ็งจะเลือกดูสักอย่างไม่ดีรื้อออออออ อิอิ..
    :mad:สติอ่อนเว้ยยส์..ตั้งความเพียรใหม่ ดึงจิตกลับมาที่สติ ใหม่ครั้งแรกเอาสติจับที่ลม ก็ดึงกลับมาที่ลม สั้น-ยาว หยาบ-ละเอียด ให้ได้ ..ต้นทางของนักปฏิบัติอยู่ตรงนี้.. ลืมแล้วตั้งสติใหม่เพียรเข้า..ดีแต่ทะลึ่งออกยูตูป..อยู่นี่.. อิอิ:cool:
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ก็ว่ากันไปที่ขณะนั้นๆสิปู่ นี่ก็กล่าวถึงสติ สัมปชัญญะตรงๆ ในสมาธิการเข้าไปเห็นนิมิตรก็เป็นปกติของผู้ภาวนาหากแต่การการเข้าไปเสพ หลงติดหรือระลึกได้ต่างหากที่ควรพิจารณา ในขณะที่มีนิมิตตรงนั้นจิตไปรับรู้แล้วต้องขณะรู้อีกที่ว่านี่เป็นนิมิตยินดียินร้ายปรากฏจังหวะนี้ล่ะครับที่จะเข้าไปพิจารณาได้ กลับมาที่ฐานกาย(ลม)ก็ว่ากันไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...