ทรงยืนรับคลื่นลมการเมืองแทนประชาชนและบ้านเมือง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 28 สิงหาคม 2012.

  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ทรงยืนรับคลื่นลมการเมือง


    แทนประชาชนและบ้านเมือง


    [​IMG]



    พูลเดช กรรณิการ์

    คนไทยทุกคนมีบุญที่ได้เกิดมาและอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของในหลวง เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สุดประเสริฐ ปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม เป็น “ผู้ปกครอง” ที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดในโลกเสมอเหมือน พระองค์ยังเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ที่ทุ่มเทการทำงานเพื่อประชาชนอย่างที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดในโลกทำได้ ด้วยความรักความห่วงใยในประชาชนอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้หวังผลทางการเมืองหรืออย่างอื่นเช่นผู้ปกครองทั่วไป


    หาก 65 ปีที่ผ่านมา คนไทยไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่สุดประเสริฐอย่างพระองค์ บ้านเมืองและคนไทยจะเป็นอย่างไรจากปัญหาการเมืองที่รุมเร้าประเทศไทยมาตลอด



    พระองค์ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจของ “คณะราษฎร” สองฝ่าย ที่ต่อสู้กันมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นผลสำเร็จ
    บ้านเมืองระส่ำระสายเพราะการต่อสู้ทางการเมือง พระมหากษัตริย์หนุ่มต้องยืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดจากการแย่งชิงอำนาจของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองตอนนั้น พระองค์ต้องรับแรงถาโถมทางการเมืองมากมายเพราะคำสัญญาว่า “จะไม่ทอดทิ้งประชาชน”


    สถานการณ์บ้านเมืองในตอนนั้น คนไทยไม่รู้จะพึ่งใคร นอกจากพระเจ้าอยู่หัวของพวกเขา อันสะท้อนออกมาเป็นเสียงตะโกนของคนไทยผู้หนึ่งว่า “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”


    นับแต่วันนั้นมา ในหลวงไม่เคยทั้งประชาชนเลย แม้ว่าภยันตรายทางการเมืองจะรายล้อมรอบตัวพระองค์ และ “อะไรก็เกิดขึ้นได้กับพระองค์” แม้แต่ถึงชีวิตถัดจากยุคคณะราษฎรสองฝ่าย พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จครองเมืองที่ทั้งข่มขู่กดดันพระองค์ แสดงอำนาจบาตรใหญ่เหนือพระองค์ และพร้อมที่จะเป็นภยันตรายต่อพระองค์ทุกเมื่อเช่นกัน


    พระองค์ต้องดำรงสถานะพระเจ้าแผ่นดินอยู่อย่างกล้ำกลืนเพื่อให้ประชาชนมีที่ยึดเหนี่ยว และทรงแปรความกล้ำกลืนเป็นการออกบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทุกหัวระแหงทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า “พวกเขายังมีพระเจ้าอยู่หัวอยู่กับพวกเขา”


    ยุคลัทธิคอมมิวนิสต์แผ่เข้าสู่ประเทศไทย พระองค์ต้องเผชิญมรสุมทางการเมืองอีกครั้ง เพราะพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งลัทธิคอมมิวนิสต์จะต้องทำลายและล้มล้างตามสูตรการปฏิวัติประชาชนที่ทำกันมาในหลายประเทศ ทั้งที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ควรถูกยกเว้นการโค่นล้มทำลายและเพราะพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่นอกเหนือนิยามการถูกทำลายของลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ที่ทำให้ในที่สุดลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่สามารถชนะสงครามประชาชนในประเทศไทยได้


    เราคนไทยและประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์มาได้เพราะพระองค์ท่านหมดจากยุคลัทธิคอมมิวนิสต์ แทนที่ปัญหาการเมืองจะไม่ต้องไปกระทบพระองค์อีก กลับไม่เป็นเช่นนั้น การต่อสู้ระหว่างประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย กับเผด็จการที่ยังตกทอดมา ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า
    เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์พฤษภาปี 35 บ้านเมืองวิกฤตและเสียหายอย่างหนัก ประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ ใครเล่าจะสามารถดับวิกฤตของบ้านเมืองได้ นอกจากพระองค์


    พระองค์ต้องลงมาแก้วิกฤตการเมืองของบ้านเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะไม่อาจทิ้งประชาชนและปล่อยบ้านเมืองให้ลุกลามเสียหายต่อไปได้ การเมืองยังคงวนเวียนอยู่กับพระองค์ทั้งที่ไม่ประสงค์จะเกี่ยวข้อง


    มีใครสำนึกบ้างว่า พระองค์ทรงยอมเปลืองตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองที่ไม่รู้จักจบสิ้น เพื่อบ้านเมืองที่พระองค์ทรงฟูมฟักมา และเพื่อประชาชนที่พระองค์ไม่เคยทอดทิ้ง


    จนในที่สุด วิกฤตการเมืองก็ถาโถมเข้าสู่พระองค์ เมื่อ “การเมืองชั่วร้าย” หันไปเล่นงานพระองค์ เพราะต้องการอำนาจสูงสุดทางการเมืองโดยที่ไม่ต้องการให้มีใครหรือสถาบันใดอยู่เหนือกว่าและคอยทัดทาน


    การเมืองชั่วร้ายทำลายพระองค์ด้วยการสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนที่มีต่อพระองค์ ก่อเกิดวิกฤตในบ้านเมืองสองปีซ้อนด้วยการจลาจลในปี 2552 และ 2553 สร้างความทุกข์ให้กับพระองค์ที่ทรงห่วงบ้านเมืองและประชาชนมากยิ่งขึ้นในยามที่พระชนมายุมากแล้วและยังทรงพระประชวร แทนที่พระองค์จะได้พักผ่อนและสบายพระทัยหลังจากทรงงานหนักและทรงเผชิญกับวิกฤตการเมืองมาตลอด 65 ปี



    ทั้งที่พระองค์สามารถเอาพระองค์รอดได้ด้วยการลอยตัวออกจากปัญหาการเมือง แต่เพราะพระองค์ไม่เคยทิ้งประชาชนและไม่อาจปล่อยบ้านเมืองให้เสียหายได้ ทำให้พระองค์ต้องเผชิญคลื่นลมทางการเมืองแทนประชาชนตลอดมา


    ขอขอบคุณ นสพ.สยามรัฐ
    Chaoprayanews สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    การเมืองสกปกจนแยกความดีและความเลวไม่ออก

    คนดีก้มหน้า ทำดีก็โดนด่า เสียหาย จนไม่มีใครกล้า

    ยังคิดถึงคำทำนายที่ว่า

    "คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก
    เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย
    เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
    ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง
    น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
    พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา
    เป็นประชาจนเต็มพระนคร
    ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน
    ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
    ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร
    องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน
    ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส
    แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
    จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน
    เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา
    จะมีการต่อตีกันกลางเมือง
    ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
    คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา
    ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
    ข้าราชการตงฉินถูกประนาม
    สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
    เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป
    โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี
    ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว
    ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี
    ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี
    เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
    พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ
    มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
    เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน
    พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย
    แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก
    เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
    เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย
    เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
    ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช
    ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
    ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล
    จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม
    ความระทมจะถมทับนับเทวศ
    ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
    คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม
    ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง
    จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว
    ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
    ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง
    สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ
    ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม
    หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
    จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป
    เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
    คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น
    แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
    ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา
    ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ

    ทุกคำที่กล่ามมาในคำทำนายนี้ มันตรงหมดเลยนะ

    จะเหลืองแต่ตอนท้ายๆเท่านั้นที่ยังไม่เกิดให้เห็น

    แต่หน้ากลัวว่าจะเกิดอะรัยขึ้น ก่อนประเทศไทยจะกลับมายืนได้อีกครั้ง
     
  3. siritonmo

    siritonmo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +159
    อ่านแล้ว ต้องยกชายแขนเสื้อมาซับน้ำตา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=qCtlqCweXfg"]ตามรอยพ่อ-คาราบาว - YouTube[/ame]



    พ่อไม่เคยบอกให้เรารักพ่อ....แต่พ่อบอกให้เรารักกัน
     
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติต่าง ๆ

    เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติต่าง ๆ

    [​IMG]



    โดย รามอินทรา


    เมื่อเอ่ยถึงคำว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็มักจะไปเสียดแทงใจคนบางคนมีอาการเหมือนสุนัขถูกน้ำร้อนลวก ไม่ทราบว่าเป็นอะไรนักหนา ถึงกับออกมาพูดจาเพ้อเจ้อเอาเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเปรียบเทียบกับความร่ำรวย โดยพยายามสื่อให้กระทบต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ไม่ได้เป็นความจริง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง หากแต่เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ปี พ.ศ. 2479 ที่ระบุเอาไว้ว่า พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนั้นจึงจะสามารถใช้จ่ายเงินเฉพาะที่เป็นรายได้จากการบริหารงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัยเท่านั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงไม่สามารถนำไปคิดรวมกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ และในนิยามของคำว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ได้มีคำใดที่มีความหมายว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นขัดต่อความร่ำรวยแต่ประการใด มีแต่จะช่วยให้การทำกิจการใดๆประสบแต่ความมั่นคงยั่งยืนตลอดไป



    “คนเลวทรามมักจะพูดแต่เรื่องที่ไร้สาระ และชอบปรุงแต่งเรื่องหลอกลวงคนอื่นให้หลงผิดคล้อยตามอยู่เสมอ คนพวกนี้ไม่มีความละอายหน้าด้านที่จะพูดแต่เรื่องที่ไม่เป็นความจริง ไม่เคยเห็นไปวิจารณ์ต่อต้านกลุ่มคนที่กำลังโกงกินชาติบ้านเมืองเลย นั่นแหละพวกคนรวยที่จะทำให้ประเทศไทยล่มจม”
    …………………………………………
     
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันปัญหาภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ทรงเห็นความสำคัญของความพออยู่-พอกิน ซึ่งมีผลต่อราษฎรและประเทศชาติ ที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนไทยดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักประมาณตน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการรู้จัก “คิด อยู่ ใช้ กิน อย่างพอเพียง”


    จุดกำเนิด


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2517 ข้อความว่า


    “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นเสียก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับ ต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้…”


    ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโอกาสต่างๆ อีกหลายครั้งดังนี้


    19 ก.ค. 2517 พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 2


    “…ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับชั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวังแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์…”


    4 ธ.ค. 2517 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


    “…คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่ทันสมัย แต่เราพออยู่พอกินและขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานปณิธาน จุดมุ่งหมายในแง่นี้ ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่รุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่าการพออยู่พอกินมีความสงบนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าจะรักความพออยู่พอกินนั้นได้ เราจะยอดยิ่งยวด เพราะประเทศต่างๆในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่ เพราะจะแสวงหาความยิ่งยวดทั้งในอำนาจ ทั้งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางสิทธิ ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิดแต่ละท่าน แต่ละบุคคล และมีความคิด มีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนร่วมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำ พอควร พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล…”


    4 ธ.ค. 2540 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


    “…อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้อง ผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องการมีเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้…”


    “…การที่จะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตเกินไป…แต่ข้อสำคัญที่อยากจะพูดถึงคือ ถ้าเราทำโครงการที่เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสม อาจจะดูไม่หรูหราแต่จะไม่ล้ม หรือถ้ามีอันเป็นไปก็ไม่เสียมาก…มาเร็วๆนี้โครงการต่างๆ โรงงานเกิดขึ้นมาก จนกระทั่งคนนึกว่าประเทศไทยนี้จะเป็นเสือตัวเล็กๆ แล้วก็เป็นเสือตัวโตขึ้น เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง…”
     
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    4 ธ.ค. 2541 พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


    “…เมื่อปี 2517 วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกิน นี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกินบางคนก็มีมากบางคนก็ไม่มีเลย…”



    “…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีกไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง…”



    “…พอเพียงนี้ก็หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำสมควรที่จะปฏิบัติ พอเพียงนี้อาจจะมีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น…ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…”




    23 ธ.ค. 2542 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


    “…เศรษฐกิจพอเพียงนั้น เขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชน หมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้านหรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีกินพอกิน เริ่มด้วยพอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีมาแล้วให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจพอเพียง…”




    4 ธ.ค. 2543 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


    “…เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า sufficiency economy … เป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่าประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติยากที่สุด…”




    17 ม.ค. 2544 พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน




    “…ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ 200-300 บาทขึ้นไป เป็น 2 หมื่น 3 หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวี ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวี ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวี เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป…”




    4 ธ.ค. 2546 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา



    “…เศรษฐกิจพอเพียงสำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน ถ้านึกจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ถ้าไม่เร็วช้าเกินไปก็ไม่พอเพียง ต้องให้รู้จักก้าวหน้าโดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน…”
     
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    คำนิยามของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


    จากพระบรมราโชวาท และ พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานในโอกาสต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการวางแผนงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัส สรุปออกมาเป็นนิยามความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

    จากนั้น สศช. จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ นำนิยามดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข และโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2542 ซึ่งนิยามความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้



    [​IMG]


    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และ ปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์


    ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และ ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน


    ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และ ความรอบคอบ



    เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
    ……………………………………..
     
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ



    พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานไว้นั้น มีความหมายที่ชัดเจนไม่ยากแก่การรับรู้ และ การนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม สามารถใช้ได้ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาประทศได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อนำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขร่วมกันของสังคมไทย สศช.ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักนำทาง ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 – 2549 และ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554


    คุณลักษณะ 6 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


    ข้อ 1 คือการไม่กระทำอย่างสุดโต่ง ยึดหลักความพอประมาณภายใต้เหตุผลพอสมควร นั่นคือพอประมาณ แต่ละสถานะของบุคคล ขององค์กร ของประเทศ ซึ่งมีระดับศักยภาพและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน


    ข้อ 2 คือการกระทำอย่างมีภูมิคุ้มกัน พิจารณาความเสี่ยงอย่างเหมาะสม สรุปก็คือ ถ้าต้องเสี่ยงก็ให้เสี่ยงอย่างคุ้มค่า และ ให้มีลักษณะที่พยายามอย่าให้เกิดปัญหา หรือ หากเกิดปัญหาขึ้นยังมีช่องทางที่สามารถแก้ไขได้


    ข้อ 3 คือการกระทำ ด้วยการใช้ความรู้ และ เหตุผล ไม่กระทำด้วยอารมณ์ความรู้สึก


    ข้อ 4 คือการกระทำที่เน้นเรื่องคุณธรรมและศีลธรรม ควบคู่ไปด้วย


    ข้อ 5 การดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการสร้างรากฐานที่มั่นคงก่อน


    ข้อ 6 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่ละคน แต่ละองค์กร ต้องใช้วิจารณญาณในการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานภาพ และ สิ่งแวดล้อมของตนเอง


    ข้อแตกต่างของเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์


    เศรษฐกิจพอเพียงเน้นการใช้ระยะเวลาที่ยาว มองการณ์ไกล ไม่เสี่ยงมากเกินไป จึงเดินทางไปบนเส้นทางที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและสมดุล นอกจากนั้นเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การแบ่งปันเพื่อให้สังคมดีขึ้น ซึ่งต่างกับทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะสั้น



    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทุกอาชีพและทุกฐานะ


    ไม่ใช่เฉพาะภาคเกษตรกรรม หรือ คนยากจน อาชีพรับจ้าง อาชีพอุตสาหกรรม อาชีพธุรกิจ อาชีพราชการ ฯลฯ รวมทั้งคนที่มีฐานะปานกลาง และ ฐานะร่ำรวยก็สามารถนำไปใช้ได้


    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เกษตรทฤษฎีใหม่ และ ไม่ใช่ศูนย์เรียนรู้

    แต่เป็นแนวทาง เป็นแนวความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเรื่อง ดังนั้นเกษตรทฤษฏีใหม่ และ ศูนย์เรียนรู้จึงสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บังเกิดผลสำเร็จด้วยดี


    ความพอประมาณหมายถึงความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต และ การบริโภคให้อยู่ในเกณฑ์พอประมาณพอดีพอควร


    ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจที่จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ อย่างรอบคอบมีหลักวิชาการและพิจารณาเหตุปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างถ้วนถี่


    การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับจากผลกระทบและ การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน และ อนาคต


    เงื่อนไขความรู้ หมายถึง การแสวงหาความรู้ วิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่จะกระทำ เพื่อนำมาวางแผน และ ดำเนินงานอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน


    เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง ให้มีความตระหนักในคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันอดทน และ รู้จักแบ่งปัน
    ……………………………………………


    chaoprayanews2@gmail.com
     
  10. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    อ่านเข้าใจง่ายมาก ขออนุญาตก็อปจร้า
    โมทนา..สาธุ
     
  11. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ครับผม!(smile)
     
  12. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    “ทรงครองราชย์”แต่มิทรงปกครอง


    (Thailand’s king reigns–but he doesn’t rule)




    [​IMG]



    พระมหากษัตริย์ไทยทรงครองราชย์ – แต่มิทรงปกครอง (Thailand’s king reigns — but he doesn’t rule)
    แปลจากบทความ Thailand’s king reigns — but he doesn’t rule ของ Darryl N. Johnson เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 26 ธันวาคม 2551 ในThailand's king reigns -- but he doesn't rule - latimes.com



    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของประเทศ ทรงให้โอกาสเหล่าผู้นำทางการเมืองประสบความสำเร็จและประสบความล้มเหลวตามแต่ความสามารถของพวกเขาเอง


    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ซึ่งมีพระชนมพรรษาครบ 81 พรรษาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ทรงไม่ได้มีกระแสพระราชดำรัสแก่พสกนิกรในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาดังเช่นธรรมเนียมปฏิบัติ โดยทรงให้เหตุผลคือทรงมีอาการเจ็บพระศอทำให้ไม่มีเสียง ซึ่งจริงๆ แล้วพระพลานามัยของพระองค์ก็เป็นความกังวลของเหล่าพสกนิกรไทย


    ที่ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงก่อนการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าพระองค์ทรงตัดสินพระทัยว่า เวลานี้ไม่เหมาะแก่การพระราชทานพระราชดำรัสแก่ประชาชนซึ่งอาจถูกนำไปตีความเป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองว่าพระองค์ทรงโปรดหรือไม่ทรงโปรดกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งอันอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้


    ที่ได้กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีบทบาทในการปกครองประเทศ อันที่จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงใช้อำนาจในการปกครองและมิทรงเลือกข้างทางการเมือง เฉกเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีอังกฤษและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น


    พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเพียงสัญลักษณ์และมีหลักธรรมาภิบาล มิได้เป็นอำนาจเพื่อการเมืองการปกครอง แม้ในครั้งที่พระองค์ทรงเข้าแทรกแซงในการเผชิญหน้าทางการเมือง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ก็ทรงทำเพื่อมิให้เกิดการนองเลือดและเพื่อให้เกิดการรอมชอมและความสมัครสมานสามัคคีของคนในประเทศ แต่มิได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่าให้ดำเนินนโยบายอย่างไรหรือผู้ใดควรเป็นผู้ปกครองประเทศ



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกที่มีพระชนม์ชีพในปัจจุบันและยาวนานที่สุดในโลกทั้งหมด จากการครองราชย์ยาวนานกว่า 62 ปี



    [​IMG]



    พระองค์ทรงได้รับความชื่นชมและความจงรักภักดีจากพสกนิกรของพระองค์ในแบบอย่างที่ชาวตะวันตกยากจะอธิบายได้ พระองค์ทรงมีบทบาทเฉพาะในสังคมไทยในอันที่ทรงดำรงตนเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั้งประเทศ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นลุงผู้อารีผู้ส่งเสริมให้กำลังใจประชาชนทั้งในยามสุขและในยามทุกข์ยาก เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นผู้นำทางจิตใจในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



    สิ่งซึ่งพระองค์จะไม่ทรงทำคือการเข้าไปก้าวก่ายทางการเมือง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี พ.ศ. 2475 พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ถูกจำกัดลงภายใต้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ แม้ว่านายกรัฐมนตรีทุกคนจะต้องได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีและกฎหมายทุกฉบับจะต้องทรงลงพระปรมาภิไธย แต่พระองค์ทรงกระทำด้วยความเป็นกลางทางการเมือง



    พระองค์มิทรงตัดสินพระทัยว่าจะให้ผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลควรดำเนินนโยบายอย่างไร พระองค์จะทรงโปรดผู้นำคนใดมากกว่าคนอื่นหรือไม่? อาจเป็นไปได้ การที่ทรงโปรดผู้หนึ่งมากกว่าผู้อื่นมีผลต่อการตัดสินพระทัยทางการเมืองหรือทางนโยบายการปกครองหรือไม่? คำตอบคือไม่เคยเลย!


    แต่ทรงให้โอกาสรัฐบาลในอันที่จะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวตามแต่ความสามารถของพวกเขาเอง เพราะ
    พระองค์ทรงครองราชย์ แต่มิได้ทรงปกครอง.

    **หมายเหตุ-Drryl N. Johnson ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พ.ศ. 2544 – 2547
     
  13. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    กษัตริย์นักพัฒนาบูรณาการปัญหานํ้า




    [​IMG]



    มหาอุทกภัยปี 2554 ที่ผ่านมา ทำให้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องหันมาร่วมแรงร่วมใจกันหาวิธีบูรณาการ ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงซ้ำรอยเดิม
    การใช้ความรู้อย่างบูรณาการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมให้กับคนไทยทั่วทั้งแผ่นดินได้ประจักษ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่างที่ดี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรากฏในหนังสือ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ในหลาก หลายแง่มุม
    “หลักกว้างๆของพระองค์คือ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรว่ามีสิ่งอะไรที่ควรปรับปรุงได้ดีกว่านี้ ทำประโยชน์ให้เจริญรุ่งเรืองได้มากขึ้นกว่านี้ หรือประชาชนยังมีปัญหาความทุกข์ในพื้นที่แบบนี้ จะทำอย่างไร…
    โดยพระองค์จะทรงใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้ว หรือหากยังทรงไม่มีความรู้ในสิ่งที่คิดว่าสำคัญพระองค์ก็จะทรงหาความรู้ โดยทรงศึกษาและสนทนากับผู้รู้ต่างๆ แล้วนำมาประยุกต์ปรับปรุง ด้วยความตั้งพระราชหฤทัยที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประชาชน


    พระองค์เองจะทรงลำบากเดือดร้อนอย่างไร ก็ทรงไม่สนพระทัย ถ้าทรงเห็นว่าดีแล้วก็ต้องเข้มแข็งพอที่จะทำ หากว่ามีปัญหาหรือใครมาว่า ก็ทรงต้องมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่ว่าพอมีปัญหาก็หลีกเลี่ยงไป…


    สิ่งสำคัญ นักพัฒนา ต้องเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ถ้าคอรัปชันหรือโกงเสียเองแล้วก็จะเป็นที่เกลียดชัง ผู้อื่นไม่ไว้ใจหรือไม่เป็นตัวอย่างที่ดี


    ทรงบริหารความเสี่ยง ด้วยการทดลองก่อน… “พระองค์ตรัสเสมอว่า ถ้ายังไม่ดีจริง ไม่ให้ประชาชนนำไปทำแล้วต้องรับผลแห่งความผิดพลาดหรือรับกรรม…” เกี่ยวกับการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ แม้ว่าจะพระราชทานสัมภาษณ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2554 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ถึงวันนี้ผ่านมาครึ่งปีแล้วก็ยังเข้ายุคเข้าสมัย


    “…มีเพื่อนนักเรียนมาบอกว่าไม่เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยอะไรคนกรุงเทพฯ เลย คือจริงๆแล้วพระองค์ทรงช่วย อย่างเรื่องน้ำท่วม ตั้งแต่ทำเขื่อนป่าสัก น้ำก็ไม่ท่วมหนักอย่างเก่า…ที่เราต้องปีนออกทางหน้าต่างหรือปีนต้นไม้ไปทำงานแล้วใช้ไดรโว่ก็ไม่มีแล้ว ตอนนั้น หลานกำลังจะเกิดแล้วฉันเป็นคนแต่งห้องให้เขาใหม่ สั่งทำม่าน ต้องเอาม่านใส่เรือพายมาที่สวนจิตรฯ สมัยนั้นท่วมขนาดนี้ ตอนน้ำท่วมกรุงเทพฯ พระองค์ก็เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรเอง รถพระที่นั่งไปเสียกลางทาง พระองค์ทรงขับไปถึงซอยอ่อนนุช เพื่อทอดพระเนตรน้ำ แต่กรุงเทพฯนี่ดูลำบากเพราะมีลักษณะภูมิประเทศแบน”


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯทอดพระเนตรทั้งสถานที่จริงและใช้แผนที่ประกอบ แผนที่หมายถึงสิ่งที่มีอยู่แล้ว จะเป็นหนังสือ เป็นแผนภาพ ชาร์ต หรือเป็นอะไรที่มีการบันทึกไว้ ทอดพระเนตรว่าเขาเขียนไว้ถูกหรือผิดอย่างไร แล้วทรงปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
    อันนี้นับเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งเรียกว่า ข้อมูลจากเอกสาร คือ Literature Review ทรงดูจากเอกสารที่มีอยู่ และทรงสำรวจเอง เมื่อทรงสำรวจเสร็จก็มาทรงมีพระราชดำริว่าควรจะทำอย่างไร


    “เดี๋ยวนี้แปลกนะ เกิดภัยธรรมชาติขึ้นบ่อยกว่าแต่ก่อน ลูกเห็บใหญ่เกือบเท่าโทรศัพท์มือถือ พอตกลงมาต้นไม้ตายหมด ต้องปลูกใหม่ ร้านส้มตำ ตู้ใส่ผักล้มครืนไปทั้งตู้ ก็ต้องเข้าไปช่วย
    ตอนที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ มีหลายหน่วยงานเข้าไปช่วย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ซึ่งมีหน้าที่ตรงนั้นก็เข้าไปช่วย ส่วนของมูลนิธิชัยพัฒนาก็เข้าไปช่วยหลายอย่าง ตัวฉันเองคุมอยู่ 5 ทีม ให้ไปตรวจในเรื่องต่างๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือประชาชน”


    มีต่อ
     
  14. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บางครั้งไปต่างประเทศ ไม่ต้องมีองครักษ์มาคอยรักษาความปลอดภัย ให้องครักษ์ออกไปดูแลช่วยเหลือคนที่ประสบภัยน้ำท่วม แล้วก็ติดตามงานทางอีเมล์ “เขาจะอีเมล์มารายงาน ฉันก็อีเมล์ส่งต่อให้ ด็อกเตอร์สุเมธฯ และคนที่เกี่ยวข้อง งานก็ยังเดินไปได้”




    ตั้งแต่จำความได้ ฉันคุ้นหูอยู่กับคำสองคำคือการพัฒนากับการทำบุญกุศล มีผู้ให้อรรถาธิบายว่า ถ้าอยากช่วยแล้วบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยไม่ได้หวังว่าจะมีผลกำไรอย่างไรเกิดขึ้นเรียกว่า “ทำบุญ” แต่ถ้าหวังว่าสิ่งที่ดำเนินการจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรียกว่า “พัฒนา”


    การพัฒนามีหลายด้าน ต้องทำกันอย่างต่อเนื่องและมักต้องใช้เวลานาน จากการมีโอกาสตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการเสด็จพระราชดำเนินในท้องถิ่นต่างๆตั้งแต่ยังเยาว์วัย ได้มีโอกาสทำงานพัฒนาอย่างจริงจัง ได้ข้อคิดบางประการที่สำคัญในด้านการพัฒนา คือ




    “การพัฒนาประเทศ…(ปฏิรูป) ให้ทันสมัย ต่างจากการสร้างประเทศตามแบบอย่างตะวันตก และการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืนอาจจะก่อปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา เช่น การเพาะปลูกใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เป็นพิษจำนวนมากเกินพอดี เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์ในบริเวณนั้น อาจจะทำให้ดินเสีย เพาะปลูกไม่ได้มากเท่าเดิม เป็นการผลิตหรือทำการแบบที่เรียกกันว่า…รวยแล้วเลิก”




    ส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน คำศัพท์เดิมเรียกว่า “วัฒนาถาวร” หมายถึงการพัฒนาที่บุคคลจะได้ประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาว ไม่สูญเสียทรัพยากรมากเกินไป โดยการพัฒนาจะต้องสมดุลกับการอนุรักษ์ เช่น ในการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ ต้องดูว่าจะเสียทรัพยากรอื่นๆที่ควรรักษาไว้หรือไม่อย่างไร เป็นต้น
    สมเด็จพระเทพฯรับสั่งว่า งานพัฒนาเป็นงานระยะยาว ชั่วชีวิตคนหนึ่งก็ทำไม่เสร็จ ต้องช่วยกันทำในแต่ละช่วง คนใหม่ก็ต้องฟังจากคนเก่า เช่น



    สมุดแผนที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้กรมแผนที่พิมพ์ขึ้นนั้นก็จะเห็นแผนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อจะเป็นแนวคลองต่างๆ ว่าระบบที่ทำไว้นั้น สอดคล้องกับระบบของธรรมชาติอย่างไร




    ถ้าจะทำอะไรต่อและทำตามแนวนั้นก็จะทำให้งานไปในแนวเดียวกัน วางเป้าหมายความสำเร็จได้ ไม่มีน้ำไหลกลับขวางทาง เป็นต้น
    เพราะดูจากแผนที่เก่าก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าน้ำจากที่ไหนไปลงคลองไหน จากไหนไปต่อไหน เป็นสภาพอย่างไรหรือระบบการชลประทานในทุ่งรังสิตสมัยนั้น ท่านวางระบบแนวคลองมาอย่างไร อันนี้ก็จะช่วยได้ในการพัฒนา




    กษัตริย์นักพัฒนา ทรงงาน 365 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง“พระองค์ก็คงทรงเหนื่อยเหมือนกัน…แต่ทรงไม่บ่น พระองค์ทรงฟังคลื่นวิทยุหลายเครือข่ายถึงทรงรู้ว่ามีน้ำท่วม ไฟไหม้ตรงไหน มีอะไรพระองค์ก็ทรงให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ตรงนี้คงไม่เรียกว่าพัฒนา เป็นบรรเทาสาธารณภัยมากกว่า…เดี๋ยวนี้ก็ยังทรงทำอยู่เลย พระองค์ทรงงานแบบนี้จนรู้สึกว่าเป็นชีวิตประจำวันของพระองค์ ตรงไหนที่พระองค์เสด็จฯไหวก็จะเสด็จฯ”




    แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ก็ยังทรงงานเพื่อช่วยเหลือพสกนิกรอยู่ตลอดเวลา ทรงมีพระราชดำริแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณใกล้เคียงโรงพยาบาลศิริราชที่หนาแน่นมากทั้งทางบกและทางน้ำ“พระองค์จะทรงมอบหมายให้ตำรวจไปดูตามจุดต่างๆ คำนวณการเลี้ยวของรถ และสำรวจจุดจราจรที่สำคัญๆ เช่น ตามอนุสาวรีย์ สี่แยก หรือวงเวียนต่างๆ ว่าควรจะออกแบบถนนให้มีรูปร่างแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ ตรงไหนควรมีสะพาน หรือควรมีอะไร เพื่อให้การจราจรเคลื่อนตัวอย่างลื่นไหล
    ทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักพัฒนาทุกคนต้องมีและหยัดยืนเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ.
    ขอขอบคุณ สกู๊ปหน้า1 ไทยรัฐ
     
  15. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    “ในหลวงทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน”


    โดย ปราโมทย์ ไม้กลัด


    [​IMG]



    กล่าวได้ว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ทรง เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพหลากหลายด้าน แม้แต่เรื่องน้ำและปัญหาอุทกภัยที่คนไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้



    พระองค์ก็ทรงวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขมานานนับสิบปีแล้ว มีโครงการในพระราชดำริออกมามากมาย เพียงแต่ฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำไปปฏิบัติหรือไม่ เท่านั้น ?
    ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำอย่าง ‘ปราโมทย์ ไม้กลัด‘ อดีต อธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานานนับสิบปี



    ได้ถ่ายทอดถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการทรงงานด้านน้ำในหลากหลายแง่มุม อันนำมาซึ่งความปลาบปลื้มใจของคนไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร


    **ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้มาทำงานเรื่องน้ำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่เมื่อไร


    คือผมทำงานอยู่กรมชลประทาน และได้ไปทำงานถวายพระองค์ท่านตั้งแต่ 2520 ผมทำงานเป็นวิศวกรพิจารณาโครงการสนองพระราชดำริ ตอนนั้นก็ยังเดินตามหลังนายช่างใหญ่ ตามหลังอธิบดี จนกระทั่ง 2527 ก็ได้ทำงานในโครงการพระราชดำริในฐานะผู้แทนของกรมชลประทานอย่างเต็มตัว


    **เหตุใดพระองค์จึงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำเป็นพิเศษ


    ปัญหาเรื่องน้ำเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราช หฤทัยมากที่สุด เนื่องจากราษฎรไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพที่ต้อง พึ่งพาน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้


    เพราะฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งมั่นที่จะทรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างมาก ซึ่งกระบวนการการทรงงานจากที่ผมได้ติดตามพระองค์ท่านมาโดยตลอดก็จะเห็นว่า พระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำใน 3 ด้านด้วยกัน คือ


    การแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ซึ่งพระองค์ท่านจะมุ่งไปในจุดที่การทำงานของรัฐบาลเข้าไปไม่ถึง ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล แร้นแค้น เพราะพระองค์ท่านได้รับทราบปัญหาจากฎีกา หรือจดหมายร้องทุกข์ของประชาชนที่ส่งมาถึงพระองค์ท่าน


    การแก้ปัญหาของพระองค์ก็จะยึดหลักการที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ อย่างหลักการเรื่องวิศวกรรมน้ำ พระองค์ก็จะดูว่าถ้าผืนดินแห้งตรงนี้ควรทำอะไร ถ้าผันน้ำจากธรรมชาติควรทำอย่างไร รูปแบบที่จะดำเนินงานก็จะเป็นการผสานระหว่างหลักการทางเทคนิคและหลัก ธรรมชาติของน้ำ



    การปัญหาน้ำท่วม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วมในภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินลงไปในพื้นที่เพื่อทอดพระเนตรปัญหา ทรงช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา
    พระองค์ก็จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อมูลและระดมความเห็น หามาตรการแก้ปัญหาภายใต้


    โครงการบรรเทาอุทกภัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือฝ่ายรัฐบาลเขาก็ว่าของเขาไป ขณะที่พระองค์ก็มุ่งลงไปในพื้นที่ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่ม ย่านเศรษฐกิจในตัวเมืองที่ได้รับผลกระทบ



    การแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสีย หรือน้ำเค็ม น้ำกร่อย สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียนั้นพระองค์ท่านก็ทรงศึกษาทดลองในหลายลักษณะ
    เช่น โครงการบึงมักกะสัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบึงซึ่งมีการเน่าเสียโดยใช้ ‘เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ’’ คือผักตบชวาเป็นตัวกรอง , โครงการบึงพระราม 9 ซึ่งบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีใช้เครื่องเติมอากาศ แบบทุ่นลอย



    นอกจากนั้นยังมีโครงการที่เรารู้จักกันดีคือกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งพระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมืออุปกรณ์แบบง่ายๆในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หลักการตีน้ำเพื่อเติมอากาศ
    ส่วนการแก้ปัญหาน้ำเค็ม- น้ำกร่อยนั้นคนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและทำโครงการแก้ไข ปัญหาน้ำในลักษณะนี้ด้วย โครงการนี้เกิดจากการที่พระองค์ทรงเป็นห่วงราษฎรว่า ถ้าน้ำเค็มน้ำกร่อยไหล เข้าไปในพื้นที่การเกษตร ในเรือกสวนไร่นาจะทำอย่างไร
    พระองค์จึงโปรดให้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำขึ้น เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ มีการสร้างประตูบังคับน้ำกั้นแม่น้ำปากพนังเพื่อกักน้ำจืดไว้และกันน้ำทะเล ไม่ให้เข้ามา หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนรา จ.นราธิวาส ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน


    **พระองค์ทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน


    ใช่ครับ น้ำน้อย น้ำไม่มี พระองค์ก็ทรงหาน้ำให้ น้ำมากเกินไปจนเกิดอุทกภัยก็เกิดโครงการนั้นโครงการนี้ขึ้นมา อย่างกรุงเทพมหานครก็มีโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่านเยอะ
    ในภาคใต้ อย่างหาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก พระองค์ก็ทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา พื้นพี่ไหนเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเน่าเสีย น้ำเค็ม น้ำกร่อย ก็ทรงคิดหาวิธีแก้ปัญหาให้


    ** หลายๆ ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินลงไปดูพื้นที่น้ำท่วมด้วยพระองค์เอง


    ใช่ เกิดปัญหาที่ไหนพระองค์จะเสด็จลงไปเลย สมัยที่พระองค์ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงพระองค์ท่านจะเสด็จไปยังพื้นที่ เลย อย่างๆน้อยก็ต้องทอดพระเนตรพื้นที่น้ำท่วม ทรงลงไปดูปัญหา ไปให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน


    มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012
  16. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    หลังจากนั้นก็จะทรงปรึกษากับวิศวกรน้ำ กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไรกัน ทรงเรียกประชุม ให้เอาภาพถ่ายดาวเทียมมา ภาพถ่ายทางอากาศมา เอาข้อมูลมา วิเคราะห์กันว่าจะทำยังไง


    พระองค์ท่านเสด็จไปทุกพื้นที่ แต่ถ้าไกลมากพระองค์ก็อาจจะเสด็จไปไม่ไหว ก็จะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาถวายรายงานและทรงแนะนำแนวทางปฏิบัติ คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลต่างๆทั้งในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม และเชิงเศรษฐกิจ จึงทรงมองปัญหาต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง


    **เท่าที่อาจารย์ติดตามถวายงานพระองค์ท่านในการแก้ปัญหาน้ำท่วม มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นกี่ครั้ง


    ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯเมื่อปี 2526 ตอนนั้นพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลยังอยู่กันแบบธรรมชาติ ไม่มีสิ่งปลูกสร้างมาก เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ไม่มีอะไรมากีดขวาง น้ำก็ไหลไปตามธรรมชาติ คลองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ ก็รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา


    ตอนนั้นอยู่กันแบบเอ้าท่วมก็ท่วม พระองค์ท่านก็ทรงเสด็จไปดุสภาพพื้นที่เพื่อให้กำลังใจคนทำงานถึง 6-7 ครั้ง
    ต่อมาปี 2538 ซึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ เป็นปีที่เกิดโกลาหลมากที่สุดเพราะน้ำมวลใหญ่มันมา แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเรียกประชุมก่อนที่น้ำมวลใหญ่จะมาถึง
    ตอนนั้นน้ำใหญ่มันก็มาโจมตีเยอะแต่ความเสียหายมันไม่มากเหมือนในปีนี้ ตอนนั้นสนามบินสุวรรณภูมิยังไม่มี น้ำท่วมยังกับทะเลเลย แต่กรีนเบลต์ ฟลัดเวย์ ยังทำงานได้ น้ำระบายออกได้ตามธรรมชาติ ไม่มีใครไปห้าม ก็สูบน้ำออกอ่าวไทยกันโกลาหล สูบออกตามแนวฟลัดเวย์ เขตเศรษฐกิจก็โกลาหลพอสมควรแต่ก็ป้องกันได้ น้ำไม่ทะลุสนามบินดอนเมือง ไม่ทะลุถนนวิภาวดี ไม่ทะลุลาดพร้าวหรอก


    ตอนนั้นถนนราชชนนี ถนนรัชดาภิเษกมีน้ำท่วม ก็วิ่งรถฝ่าน้ำท่วมกัน คลองมหาสวัสดิ์ก็น้ำท่วมสูงต้องทำคันกั้นน้ำฉุกเฉินที่วัดบูรณาวาส ก็ไปช่วยกัน แต่ปีนั้นสถานการณ์ก็คลี่คลายไป มันไม่โกลาหลเท่าปี 2554
    ปัจจุบันมันมีสิ่งปลูกสร้างเยอะ หมู่บ้านจัดสรร อะไรต่างๆเกิดขึ้นเยอะ แต่ปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน


    น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้เมื่อปี 2531 ตอนนั้นน้ำท่วมหาดใหญ่ พระองค์ทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาประชุมด่วน แล้วก็ทรงบัญชาการ วางแนวทาง พวกเราก็วิ่งกันวุ่นเลย คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทรงคาดหมายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ทรงเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่น้ำยังไม่ลงมาเลย


    พวกเราที่เป็นข้าราชการซึ่งรับใช้ถวายงานพระองค์ท่านก็ต้องตื่นตัว หาข้อมูล และถวายรายงานพระองค์ท่านตลอด หรือแม้แต่ภัยที่มันเกิดแล้วพระองค์ท่านก็ทรงคาดหมายถึงผลกระทบที่ตามมาได้ พระองค์ทรงเป็นนักคิดนักวิเคราะห์


    พระราชดำรัสที่พระองค์พระราชทานก็เป็นหลักคิดที่รัฐบาลหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องต้องนำไปขบคิดและขับเคลื่อน


    **จากที่อาจารย์ได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานาน ได้เห็นความเหนื่อยยากของพระองค์อย่างไรบ้าง



    ภาพที่เหล่าข้าราชบริพารและข้าราชการที่ถวายงานรับใช้พระองค์ท่านพบ เห็นมาโดยตลอดก็คือพระองค์ท่านทรงมุ่งที่จะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน


    โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในชนบท พระองค์ท่านมักเสด็จไปประทับตามภูมิภาคต่างๆ คราวละหลายๆเดือน เสด็จพระราชดำเนินทั้งปี เสด็จออกแถบทุกวัน เสด็จไปเยี่ยมเยียนประชาชน พระราชทานสิ่งของ พระราชทานโครงการ พระราชทานงาน


    ความยากลำบากของพระองค์ท่านนี่ไม่น้อยหรอกครับ เสด็จออกไปในชนบทนี่ไม่มีสบาย ทรงเสียสละพระวรกายทรงงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่ว่าพระองค์ท่านไม่ได้คำนึกถึงความเหนื่อยยากเหล่านี้เลย กลับทรงสนุกกับการทรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน


    พระองค์ท่านมักจะรับสั่งว่า “ฉันสนุกกับการทำงาน” พระองค์ท่านไม่เคยตรัสว่าเหนื่อย แต่ภาพที่พวกเราเห็นอยู่เสมอเวลาที่พระองค์ทรงงานก็คือพระเสโท(เหงื่อ)ที่ ชุ่มโชกฉลองพระองค์
    คือทรงเสด็จไปทุกภาค ทุกพื้นที่ เป็นเวลานับสิบๆปี ไม่เคยทรงเบื่อหน่าย พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชน ไม่ได้ทำเพื่อพระองค์เอง แล้วก็ไม่เคยไปเกี่ยวข้องวอแวกับรัฐบาล มีแต่ทรงงานเพื่อช่วยรัฐบาล


    มีต่อ
     
  17. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    **หลายครั้งประชาชนก็ได้เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จลงลุยน้ำด้วยพระองค์เอง




    ใช่ครับ ไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร สภาพธรรมชาติจะเลวร้ายหรือมีอุปสรรคต่างๆพระองค์ท่านก็ไม่ทรงรังเกียจ น้ำท่วม ร้อนแล้ง พระองค์ท่านก็ทรงบุกไปทุกที่ เสด็จขึ้นดอย ในชนบทห่างไกลก็ทรงเสด็จไปเสมอ




    พระกระยาหารที่พระองค์เสวย ขณะเสด็จลงพื้นที่ก็จะเป็นอะไรที่ง่ายๆ พระองค์เสวยง่าย ไม่ได้ยึดว่าจะต้องเป็นแบบไหน เวลาเสด็จลงพื้นที่ก็มักจะมีพระกระยาหารใส่กล่องไว้ในรถยนต์พระที่นั่ง





    เวลาทรงงานกระทั่งดึก ถึงทุ่ม 2 ทุ่ม ก็จะเสวยแบบนี้ เจ้าหน้าที่จะก็เตรียมเครื่องเสวยไป ก็จะเป็นแบบง่ายๆ ผมเองสนองงานรับใช้พระองค์ท่านก็ได้มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยกับพระองค์ท่าน บ่อยๆ อาหารที่พระองค์ท่านเสวยก็เป็นอาหารปกติเหมือนที่พวกเรากินกันนี่แหล่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารไทย เป็นแกงเผ็ด แกงจืด ผัดผัก แล้วอาจจะมีอาหารตามประเพณีฝรั่งบ้าง





    **ช่วงที่พระองค์ท่านทรงงาน ทรงพระประชวรบ้างไหม




    ก็มีทรงพระประชวรเป็นคราวๆ แต่ในสมัยนั้นพระพลานามัยยังแข็งแรง แต่มาระยะหลัง ตั้งแต่ 2542 เป็นต้นมา พระพลานามัยของพระองค์ท่านไม่สู้แข็งแรง แล้วก็ทรงพระประชวรบ่อย อย่างที่เรารับรู้รับทราบกัน เพราะว่าพระองค์ทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ ไม่ได้ทะนุถนอมพระวรกาย ทรงใช้พระวรกายอย่างหนัก





    **ขณะนี้พระองค์ทรงประชวรและประทับรักษาพระวรกายอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ยังเสด็จลงมาทอดพระเนตรปริมาณน้ำที่ท่าน้ำศิริราชอยู่





    คือพระองค์ทรงเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ทรงเป็นห่วงประชาชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วม พร้อมทั้งได้พระราชทานถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้พระองค์จะทรงงานไม่ไหว แต่ก็ยังทรงนึกถึงประชาชนของพระองค์อยู่ตลอดเวลา





    **จากที่ทำงานรับใช้พระองค์ท่าน อาจารย์ประทับใจพระองค์ท่านในเรื่องใดบ้าง
    ในชีวิตที่ทำงานถวายพระองค์ท่านก็มีความประทับใจเกิดขึ้นมากมาย คือได้เห็นพระองค์ท่านทรงงานตลอดเวลา ทรงเป็นแบบอย่างที่คนไทยควรน้อมนำมาเป็นต้นแบบ





    พระองค์ทรงงานมาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยทรงหยุดพัก ทรงงานตลอดเวลาเพื่ออาณาประชาราษฎร์ ทำให้ผมเองระลึกอยู่เสมอว่าผมเป็นข้าราชการคนหนึ่งที่ทำงานถวายพระราชา เราก็ต้องมีหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ แล้วก็ดูพระองค์ท่านเป็นตัวอย่าง
    ประการที่สอง พระองค์ทรงเป็นนักคิด ทรงคิดตลอดว่าจะทำโน่นทำนี่ แล้วก็รับสั่งออกมาเป็นโครงการพระราชดำริ แล้วก็ทรงขยัน ทรงรู้รอบ รอบรู้ ทั้งในเชิงวิชาการ เชิงเทคนิค ทรงรู้ทุกเรื่อง อย่างผมก็รู้แค่เรื่องน้ำ




    แต่พระองค์ท่านทรงรู้ทุกเรื่อง เรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เรื่องฝนเทียม แม้แต่เรื่องสังคม ปรัชญา ภาษาศาสตร์ ทรงรอบรู้หมด ผมจึงเทิดทูนพระองค์ท่านว่าทรงเป็นปราชญ์ และทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แต่
    ว่าพระองค์กลับทรงอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ ไม่ทรงถือพระองค์เลย





    เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนประชาชนก็ทรงตรัสกับประชาชนอย่างเป็นกันเองมาก ทรงน้อมพระองค์เข้าไปหาชาวบ้านที่มารับเสด็จ พระราชจริยวัตรของพระองค์ดูนุ่มนวล เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา
    เราก็มานึกถึงข้าราชการบางคนที่ไม่ได้เรื่องเลย ชอบวางตัวเป็นเจ้าขุนมูลนาย อย่างนี้ใช้ไม่ได้




    **มีพระบรมราโชวาทใดบ้างที่ทำให้อาจารย์จดจำมาถึงทุกวันนี้


    เยอะมากครับ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน มีพระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่ติดตรึงอยู่ในใจตลอดมาคือ พระกระแสรับสั่งซึ่งพระองค์ท่านรับสั่งกับผมและผู้บังคับบัญชาของผมโดยตรง เลย คือ “นักพัฒนาต้องทำงานแบบปิดทองหลังพระ” คือให้เรามุ่งทำงานอย่างทุ่มเท อย่าทำงานเพื่อหวังประโยชน์ หวังรางวัล เพราะถ้าทำงานเพื่อหวังประโยชน์มันก็จะต้องมองหน้ามองหลัง ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่เป็นแบบนี้
    นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงมีพระบรมราโชวาทต่อมาว่า

    “ข้าราชการต้องทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ หากทำหน้าที่ได้สำเร็จจะเป็นรางวัลอันประเสริฐ”


    ซึ่งชั่วชีวิตการทำงานของผมก็ยึดถือสิ่งนี้มาตลอด



    และทุกครั้งที่พระองค์ท่านทรงงานเสร็จและเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระองค์จะรับสั่งกับข้าราชบริพารและข้าราชการที่ตามเสด็จอยู่เสมอว่า “คิดให้ดี คิดให้ละเอียด คิดให้รอบคอบ หากคุ้มก็ทำ” คำว่าคุ้มของพระองค์ท่านไม่ได้หมายถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่หมายถึงคุ้มค่าต่อประชาชน ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชนก็ถือว่าคุ้ม ตรงนี้เป็นพระราชดำรัสที่ผมระลึกอยู่เสมอเวลาทำงาน ทำให้เรามีสติ จะทำอะไรก็ต้องศึกษาให้ละเอียด และเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง



    เห็นได้ชัดว่าในใจของพระองค์ท่านมีแต่คำว่า ‘ประชาชน‘


    พระองค์ทรงงานอย่างหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ


    ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน


    นี่ คือ ในหลวงของปวงชนชาวไทย


    ………………………………..
     
  18. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    [​IMG]



    “ประเทศไทยกับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงต่อสู้กับเรื่องน้ำ”





    นายเดนิส ดี. เกรย์




    สำนักข่าวเอพีรายงานเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากหน้าต่างชั้นที่ 16 ของโรงพยาบาลศิริราชในกรุงเทพฯ พระองค์ทรงเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังท้าทายอย่างแท้จริง ทรงอยู่กับน้ำที่กำลังรายล้อมมากขึ้น เข้าท่วมกรุงเทพฯ หลายพื้นที่ และกระแสน้ำเอ่อล้นจากสองฟากฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นที่ประทับของพระองค์ซึ่งเสด็จมาประทับรักษาพระอาการประชวร


    บทความของเอพีรายงานต่อไปว่า น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี เป็นสิ่งที่พระองค์เพียรพยายามอย่างหนักในการป้องกันมาตลอด และทรงเคยเตือนแต่ไม่มีใครใส่ใจต่อการที่น้ำมาถึงอย่างรวดเร็ว และทรงมีแนวคิดต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหนุนของน้ำทะเลจำนวนมหาศาลในแต่ละปี และการรับมือกับฤดูน้ำหลาก


    วิกฤติน้ำท่วมในขณะนี้ของไทย ได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วเกือบ 400 ศพ และไร้ที่อยู่อาศัย 110,000 คน ซึ่งถือเป็นบทเรียนแสนแพงของการเมินเฉยคำเตือนของพระองค์ และการฝืนควบคุมพลังธรรมชาติที่มีศักยภาพเหนือกว่ากำลังคน นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า ในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วม ไทยไม่มีใครที่มีความสามารถในการประสานงาน และวางแผนการจัดการน้ำให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทัดเทียมพระองค์ท่าน


    แม้ในเวลานี้ กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยกำลังดิ้นรนต่อสู้อย่างหนักกับมวลน้ำไหลทะลักเข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ก็ยังทรงแนะนำถึงแนวทางการผันน้ำจากตอนเหนือลงสู่ทะเลโดยตรง ที่เป็นหนทางดีที่สุด แต่ปัจจุบันไม่เหมือนอดีต เพราะคำแนะนำของพระองค์ไม่อาจโน้มน้าวให้ภาครัฐดำเนินการตามที่รับสั่งได้


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโครงการจัดการน้ำแห่งแรกเมื่อปี 2506 เพื่อกักเก็บน้ำจืดและป้องกันน้ำทะเลบุกรุกเข้ามาในแหล่งน้ำจืดของ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


    จนถึงทุกวันนี้ พระองค์ทรงมีโครงการพระราชดำริมากกว่า 4,300 โครงการ และโครงการเหล่านี้ร้อยละ 40 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการแหล่งน้ำ



    นายเดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญทางน้ำแห่งมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ในอังกฤษ ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับน้ำในประเทศไทย บอกว่า นโยบายด้านการบริหารและการจัดการน้ำของไทย ส่วนใหญ่มาจากพระราชดำริ ที่ในหลวงทรงทุ่มเทมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในการดำเนินการ


    ขณะที่นายโดมินิค เฟาเดอร์ บรรณาธิการ อาวุโสหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่กำลังจะตีพิมพ์ กล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจเอเชียเฟื่องฟู พระองค์ก็ทรงเฝ้าเตือนประชาชนเกี่ยวกับอุทกภัย การจราจรติดขัด และความทุกข์ยากต่าง ๆ


    เฟาเดอร์กล่าวต่อไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความมุ่งมั่นในความพยายามแก้ไขปัญหา และข้อเท็จจริงคือสิ่งที่ประชาชนกำลังได้เห็นในตอนนี้ ในหลวงทรงตั้งชื่อโครงการป้องกันน้ำท่วมว่า “แก้มลิง” โดยอธิบายจากพฤติกรรมของลิงที่พระองค์ทรงเลี้ยงครั้งยังทรงพระเยาว์ ซึ่งลิงเก็บกล้วยหรืออาหารอื่นไว้ที่กระพุ้งแก้มให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะกลืนลงคอในภายหลัง ดังนั้นเมื่อเปรียบกับน้ำที่ไหลลงจากทางเหนือ จะเข้าสู่แก้มลิง ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ก่อนระบายลงสู่ทะเล หรือกักเก็บไว้เพื่อการชลประทาน ส่งผลให้กรุงเทพฯไม่เคยจมน้ำมาเป็นเวลานานหลายสิบปี


    อย่างไรก็ตาม นายเบลคกล่าวอีกว่า โครงการนี้จะมีชุมชนบางส่วนรอบกรุงเทพฯ ต้องเสียสละเพื่อปกป้องใจกลางเมืองหลวง และบางครั้งหน่วยราชการก็ผันน้ำเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรแทนที่จะเป็นแหล่งเก็บน้ำ แต่เวลานี้พื้นที่ที่สามารถเป็นแก้มลิงทางตะวันตก ตะวันออกและทางเหนือของเมือง กลายสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรม บ้านเรือน สนามกอล์ฟ และสนามบินนานาชาติไปแล้ว


    ช่วงต้นปี 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเตือนว่า การตัดไม้ทำลายผืนป่าในแถบภาคเหนือ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในอนาคต เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ไปลดประสิทธิภาพการดูดซับน้ำของดิน ซึ่งทุกวันนี้มีการยอมรับกันแล้วว่า ปัจจัยดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วม ขณะที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เปิดเผยว่า


    ในหลวงทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ และส่งเสริมให้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นวาระแห่งชาติ อีกทั้งพระองค์ยังทรงประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนาต้นทุนต่ำ จนกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และทำให้พระองค์เป็นกษัตริย์องค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลเทิดพระเกียรติจากนานาชาติด้วยรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาไวโป
     
  19. jirarad

    jirarad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +487
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
     
  20. liquidpaper

    liquidpaper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    443
    ค่าพลัง:
    +1,423
    .....
     

แชร์หน้านี้

Loading...