ความทรงจำที่บางลำพู

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 21 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ความทรงจำที่บางลำพู</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>20 สิงหาคม 2550 19:38 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>บ้านพระอาทิตย์เมื่อวันวาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>วันนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ต้นลำพู สัญลักษณ์บางลำพู</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>บางลำพูในวันวาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ป้อมพระสุเมรุ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ถนนพระอาทิตย์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ป้อมพระสุเมรุ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>บางลำพูในความทรงจำของใครหลายคนในอดีต ไม่ใช่ป้อมสีขาวโดดเด่นล้อมรอบด้วยสวนสาธารณะริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่ย่านเก่าแก่ที่กลายเป็นแหล่งที่พักราคาถูกของนักท่องเที่ยวตาน้ำข้าวอย่างถนนข้าวสาร ที่ปัจจุบันเต็มไปด้วยผับบาร์สุดเก๋ของนักท่องราตรี แต่คือโรงหนัง ตลาดสด ย่านของกินแสนอร่อยหลากหลาย หรือแม้แต่บ่อนไพ่และโรงฝิ่น ไปจนถึงวังของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เหล่านี้คือ 'ภาพ' ความทรงจำที่มีต่อบางลำพูของคนเก่าคนแก่ ที่เกิดและเติบโตมาในย่านบางลำพูแท้ๆ

    ผู้จัดการปริทรรศน์ จะพาท่านไปย้อนอดีตวันวานอันแสนรื่นรมย์ของย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ผ่านคำบอกเล่าของลูกหลานชาวบางลำพูตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

    คนตรอกบวรรังษี

    บริเวณหลังกุฏิของสมเด็จพระสังฆราชในวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ตั้งของชุมชนเล็กๆ ในตรอกเก่าแก่ที่มีชื่อว่า ตรอกบวรรังษี และเมื่อ 69 ปีก่อน บุคคลสำคัญในแวดวงประวัติศาสตร์วิชาการและโบราณคดีของไทยได้ถือกำเนิดขึ้นที่นี่ 'รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม' ผู้เป็นลูกหลานชาวตรอกบวรรังษีแท้ๆ คนหนึ่ง

    รศ.ศรีศักรกล่าวว่า รู้สึกยินดีมากที่ได้มาร่วมย้อนอดีตถึงความทรงจำย่านบางลำพู ที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์จัดขึ้นในวันนี้ เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการพูดถึงประวัติศาสตร์ในแง่ของ 'คน' หากมุ่งเน้นแต่สร้างวัตถุหรืออนุสาวรีย์เป็นส่วนใหญ่ เราจึงควรริเริ่มมาทำประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ในภาคสังคมหรือประชาชนในวันนี้

    "ผมเป็นคนย่านบางลำพู ผมวนเวียนอยู่แถวนี้ตั้งแต่เกิด ระเห็จระเหเร่ร่อนไปไหนก็ต้องกลับมาที่นี่ ผมเกิดหลังวัดบวรฯ ใกล้ๆ โรงเรียนสตรีวิทย์ บ้านผมอยู่ริมคลองวัดบวรรังษี ถัดบ้านผมไปก็คือตรอกบวรรังษี ลักษณะย่านของสังคมเมืองในกรุงเทพสมัยก่อนมันไม่มีซอย ถ้าไม่ถนนก็คลอง หรือก็ตรอกเลย แล้วคนอยู่ในตรอกปัจจุบันนี้นี้ถ้าท่านไปดู ความเป็นคนอยู่ในตรอกก็คือสลัม บ้านผมนี่ก็เป็นสลัม คำว่าสลัมในภาษาฝรั่งหมายถึงชุมชนแออัด แต่ความเป็นสลัมมันไม่ใช่การที่ต่างคนต่างอยู่ แต่มันคือชุมชนที่ทุกคนรู้จักกันหมด ซึ่งปัจจุบันสภาพนี้เป็นสิ่งที่บ้านจัดสรรไม่มี"

    รศ.ศรีศักรกล่าวต่อไปว่า ชุมชนตรอกบวรรังษีสามารถย้อนความเป็นมาได้นับกว่าร้อยปี ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดบวรฯ ผู้ที่มาอยู่แถบนี้ดั้งเดิมจึงมักเป็นเจ้านาย มีวังสร้างอยู่มากมาย ถัดมาจึงเริ่มมีเหล่าช่างแขนงต่างๆ และผู้มีอาชีพค้าขายมาอยู่เพิ่มเติม แต่ตรอกบวรรังษีไม่ใช่ย่านพ่อค้า แต่เป็นย่านอยู่อาศัยและคนที่อยู่ในตรอกมีหลายกลุ่ม "พ่อผมเป็นคนฝั่งธนฯ แต่พ่อผมมารับราชการที่กรมศิลปากรจึงมาซื้อบ้านอยู่ที่นี่ ย่านตรอกบวรรังษีจึงมีข้าราชการกรมศิลปากรหรือใกล้เคียงมาอยู่เยอะแยะ ฉะนั้นจึงรู้จักกันหมดว่าใครเป็นใคร" ดังนั้น ทุกคนในชุมชนจึงเกิดความสัมพันธ์กัน รศ.ศรีศักรที่นับเป็นคนตรอกบวรรังษีรุ่นที่ 3 จึงเติบโตมาในสังคมที่ความเป็นเพื่อนบ้านในชุมชนยังแน่นแฟ้นอยู่มาก

    "ขณะนี้คนรุ่นพ่อแม่ผมแทบไม่เหลืออยู่แล้ว เพราะขณะนี้ตรอกบวรรังษีเป็นชุมชนแออัดไปหมดแล้ว กลายเป็นบ้านเช่า แต่สมัยที่ผมอยู่ไม่เป็นสลัม ผมอยู่ในตรอกที่มีบ้านติดๆ กันแต่สะอาด และรู้จักกัน ใกล้ๆ บ้านผมก็คือบ้านของคุณหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ถัดไปหน้าตรอกบ้านผมก็คือบ้านภรรยาเก่าของหลวงวิจิตรวาทการ ผมเกิดที่นั่น ผมก็วิ่งเล่นอยู่ในนั้น สมัยก่อนร้านค้าที่อยู่ในตรอกก็คือร้านเจ๊กเฮง ผมเด็กๆ ผมก็จะไปซื้อน้ำแข็งกด แล้วแกก็จะไสน้ำแข็งให้กิน"

    ครั้งน้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2485 รศ.ศรีศักรก็ต้องถอดเสื้อผ้าลุยน้ำท่วมสูงเท่าคอจากที่บ้านออกมาหน้าปากตรอก ขณะที่บิดาของเขาต้องต่อเรือบดลำเล็กเพื่อใช้เป็นพาหนะเดินทางไปทำงานแทน นอกจากนี้ปากซอยริมถนนยังมีร้านค้าที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน มีโรงพิมพ์ และร้านขายยาหน้าวัว ฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านช่างทำทอง ในสมัยสงครามโลก คนในย่านนั้นก็ต้องพากันไปหลบระเบิดในหลุมหลบภัยขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นห้องส้วมสาธารณะใกล้แยกสิบสามห้าง ขณะที่เพื่อนวิ่งเล่นด้วยกันก็คือบรรดาลูกศิษย์วัดใกล้เคียงนั้นเอง

    แม้ว่าจะมีทางออกถนนใหญ่ไปทางปากตรอก แต่รศ. ศรีศักรกลับชมชอบที่จะออกจากบ้านโดยลัดทางฝั่งที่ติดคลองโดยเดินผ่านไม้กระดานที่พาดอยู่แผ่นเดียว เมื่อต้องเข้าโรงเรียนอนุบาลที่โรงเรียนราชินีก็ต้องข้ามสะพานไม้แผ่นเดียวนั้นไปขึ้นรถรางที่บางลำพูซึ่งเป็นชุมทางที่มีรถรางผ่านหลายสาย "พอโตขึ้นถึงเริ่มมีรถเมล์วิ่งมากขึ้น ผมอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึง 6-7 ขวบถึงย้ายไปลพบุรี จากลพบุรีผมต่อไปอยุธยา บ้านที่นั่นก็ให้เขาเช่า แต่เผอิญตอนหลังก็มีญาติมาปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆ ผมก็ไปๆ มาๆ อยู่ ผมก็เลยเติบโตอยู่ที่นั่น และได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของมัน"

    ปัจจุบันนี้ สภาพชุมชนแห่งนั้นได้เปลี่ยนเป็นป่าคอนกรีตไปจนหมดในสายตาของรศ. ศรีศักร "สมัยนั้นมันสนุกตรงที่ว่าชีวิตของเรามันอยู่ในแวดวงที่คุ้นกัน ผมเข้าออกกุฏิโน้นกุฏินี้ที่วัดบวรฯ ได้ตลอดเวลา วันหนึ่งผมตกน้ำในคลอง ผมว่ายน้ำไม่เป็นก็มีคนฉุดผมขึ้นมา มันมีน้ำขึ้นน้ำลง พอน้ำลงจะมีพวกปลาตีน เด็กๆ ชอบไปแหย่เล่น แต่มันอันตรายตอนน้ำขึ้น แล้วผมตกลงไปในคลองตอนน้ำขึ้นพอดี"

    ชีวิตไทยๆ ที่ผูกพันกับสายน้ำ ยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รศ. ศรีศักรจำได้ไม่ลืม "ผมชอบกินก๋วยเตี๋ยวที่ตรงวัดบวรฯ ใกล้ๆ คลองวัดบวรฯ ตรงนั้นจะมีกุฏิของสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ แล้วหน้ากุฏิจะมีคนจีนมาขายก๋วยเตี๋ยวอยู่สองเจ้า เจ๊กโข่งหรือเจ๊กหมวกผมจำไม่ได้ แต่ผมชอบกินเจ๊กหมวกมากกว่า แล้วยังมีไอติมมาขาย มันสนุกครับ ชีวิตเราก็วนเวียนอยู่แถวนั้น นั่นคือชีวิตเมื่อเด็กๆ ของผม"

    ย่านชุมชนในกรุงเทพฯ ที่เคยมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง บัดนี้คละกลืนกันไปจนหมดแทบไม่เหลือร่องรอยในอดีตให้เห็น "ตอนนี้เมื่อผมกลับไปดูอีกที ไอ้คลองที่ผมเคยวิ่งเล่นแล้วตกน้ำ มันเหลือแต่ท่อน้ำ แล้วบ้านที่ผมอยู่เป็นเรือนไม้ปั้นหยาขนาดใหญ่ มีนอกชาน มีท่าน้ำ แต่เดี๋ยวนี้เขาผ่าบ้านผมเหลือครึ่งหนึ่ง บ้านผมเหลือแค่นั้น วัดบวรฯ เป็นที่ทรัพย์สินฯ เป็นที่ของวัด พวกเราที่อยู่ และเช่าเป็นเวลานาน เดี๋ยวนี้วัดรุกที่เข้ามาในชุมชน ความเป็นชุมชนแบบเก่ามันหมดไปเลย กลายเป็นชุมชนแออัด"

    ลูกหลานช่างทำทองตรอกสุเหร่า

    เชื่อไหมว่าในอดีต ตรงตรอกรามบุตรีข้างวัดชนะสงคราม เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยเป็นคลองเล็กๆ ที่ทะลุไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาได้ แถมยังเคยมีจระเข้ โผล่มาอาละวาดให้ผู้คนแตกตื่นขวัญผวาอีกด้วย
    อาจจะจินตนาการยากอยู่สักหน่อย สำหรับคนที่เคยเห็นแต่ผับ, ร้านเหล้า, ร้านอาหาร ตลอดจนเกสต์เฮาส์ที่เรียงรายตลอดตรอกรามบุตรีในทุกวันนี้ แต่สำหรับสุจินต์ วรรักษ์สิทธิ วัย 72 ปีแล้ว ภาพเหล่านี้เป็นความทรงจำในวันวานที่ยังแจ่มชัดมาจนถึงวันนี้

    ปู่สุจินต์หรือ 'ปู่ยิบ' เป็นลูกหลานช่างทำทองตรอกสุเหร่า ชุมชนอิสลามเล็กๆ ใกล้กับมัสยิดจักรพงษ์ในย่านบางลำพู "เมื่อก่อนผมจำได้ว่ามันจะมีคลองผ่านไปทางฝั่งที่เป็นธนาคารกสิกรไทยทุกวันนี้ แล้วไปออกซอยรามบุตรี เข้าไปในตรอกบ้านผมคือตรอกสุเหร่า แล้วสมัยก่อนจะมีเรือผลไม้ พวกผักสดมาขาย เขาจะพายมาจากทางคลองมหานาคจะเลาะไปเรื่อยๆ มีฟืน มีถ่าน มีผลไม้มาขายประจำ"

    บรรพบุรุษของปูยิบซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิม อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ตรอกสุเหร่าในย่านบางลำพูตั้งแต่สมัยครั้งรัชกาลที่ 1-2 เริ่มจากหักร้างถางพงและจัดสรรที่ดินปลูกบ้านอยู่อาศัย "คนตรอกสุเหร่าส่วนมากเป็นช่างทอง ทางปู่ย่าผมมีอาชีพทำทองในวัง ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมัยก่อน แต่ก่อนยังไม่มีเครื่องเชื่อม ต้องใช้ตะเกียงเป่าเชื่อมแหวนเชื่อมทอง"

    นอกจากทำทองแล้ว ปู่ยิบยังเป็นช่างทำเครื่องถมอีกด้วย ซึ่งสมัยก่อนนั้นเครื่องถมเป็นที่นิยมแพร่หลาย จึงมีผู้มาว่าจ้างให้ปู่ยิบและช่างทองในตรอกสุเหร่าทำข้าวของเครื่องใช้ให้จำนวนมาก แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ปู่ยิบต้องวางมือจากการแกะสลักเครื่องทอง เครื่องถมไป

    ช่างทำทองตรอกสุเหร่า จึงเหลือเพียงตำนานเล่าขาน ขาดผู้สืบทอดต่อกันมา ปู่ยิบจึงตั้งใจว่าอยากจะถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังเรียนรู้วิชาทองต่อไป "สมัยผมเป็นประธานชุมชนอยู่ ทางเขตเขาอยากให้ผมสอนเยาวชนให้เด็กรุ่นใหม่จะได้รับความรู้ ผมก็ยินดี ผมก็ประกาศว่าใครอยากจะมาเรียน ผมจะสอนให้ฟรี แต่ปรากฏว่า มีเด็กมาเรียนได้ไม่กี่วัน เพราะการแกะสลักลาย เราจะต้องมาแกะจากแผ่นทองแดงก่อน การเดินเส้นตรง เดินเส้นโค้งต้องใช้กำลังให้มือแข็งก่อนถึงจะทำลายได้ เด็กเขาก็เลยเลิกกันหมด ผมก็เลยไม่ได้ฝึก"

    บ้านพระอาทิตย์-สง่างามคู่ถนนพระอาทิตย์

    ถนนพระอาทิตย์ในอดีต สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยวังของเจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ปัจจุบันนี้ หลายแห่งสูญหายไปกับกาลเวลากลายเป็นตึกแถวขึ้นแทนที่ บ้างก็ถูกแปรเปลี่ยนเป็นสถานที่ราชการหรือหน่วยงานเอกชน หนึ่งในนั้นคือ วังพระอาทิตย์ หรือ 'บ้านพระอาทิตย์' ในปัจจุบันที่กลายเป็นที่ทำการของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทว่า ด้วยความโดดเด่นของสถาปัตยกรรม ทำให้บ้านพระอาทิตย์ในทุกวันนี้ยังคงความสง่างามไว้เหมือนเมื่อครั้งแรกสร้างไม่เสื่อมคลาย

    บริเวณที่ตั้งบ้านพระอาทิตย์ เดิมเป็นที่ตั้งของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาที่ดินนี้ตกทอดมาสู่เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ เย็น อิศรเสนา) ต้นราชสกุลอิศรเสนา ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากวังเดิมชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ได้สร้างวังขึ้นมาใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2475 ลักษณะอาคารเป็นตึก 2 ชั้นยกพื้นสูงหลังคามุงกระเบื้องว่าว และต่อเดิมเป็นอาคาร 5 ชั้น มียอดโดมประดับอยู่เป็นหลังคาทรงสูงอยู่ด้านหลัง ประดับชายคาและช่องลมด้วยลวดลายไม้ฉลุ อาคารนี้ได้ตกทอดมาสู่ราชสกุลอิศรเสนา คือ หม่อมหลวง สันธยา อิศรเสนา ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อวังให้เป็น "บ้านพระอาทิตย์" บ้านพระอาทิตย์เคยเป็นที่ตั้งของสถาบันเกอเธ่ (สถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน) ระหว่าง พ.ศ. 2505-2533 ต่อมาได้ขายให้กับเอกชน เป็นสำนักงานของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

    ม.ล.ประพิม อิศรเสนา ผู้เป็นเชื้อสายของอดีตท่านเจ้าของบ้านพระอาทิตย์ กล่าวว่า ถนนพระอาทิตย์นับว่าเป็นถนนประวัติศาสตร์สายสำคัญที่เต็มไปด้วยที่ตั้งวังของต้นราชสกุลต่างๆ นับจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยามา แห่งแรกคือ วังที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์ ซึ่งถูกคณะราษฎรยึดไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันเป็นที่ทำการองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)

    ถัดมา เคยเป็นที่ตั้งวังของพระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์( กรมหลวงอดิศรอุดมเดช) ต้นราชสกุล สุขสวัสดิ์ ใกล้เคียงกันนั้น 'บ้านมะลิวัลย์' วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร กรมพระนเรศวรนรฤทธิ์ ต้นราชสกุลกฤดากร ปัจจุบันเป็นสำนักงาน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

    ฝั่งตรงข้าม คือ วังของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ผู้เป็นต้นกำเนิดของ 8 ราชสกุลคือ วิลัยวงษ์, กาญจนวิชัย, กัลยาณะวงศ์, สุทัศนีย์, วรวุฒิ, รุจจวิชัย, รัชนี และวิสุทธิ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนการข่าวทหารบก ขณะที่ในซอยตรอกโรงไหมที่ต่อกับถนนพระอาทิตย์ เคยเป็นที่ตั้งวังของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ พระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ 5 ต้นราชสกุลวรวุฒิ

    ขณะที่บ้านเจ้าพระยาที่อยู่ตรงข้ามบ้านพระอาทิตย์นั้น เดิมเป็นวังของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวรัตน์ กรมหมื่นสถิตยธำรงสวัสดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจนสิ้นพระชนม์ ต่อมาใน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานที่ดินและอาคารแก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ อดีตอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาล พระบิดาของหม่อมราชวงศ์ถ้วนเถ้านึก ปราโมช, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และได้สืบทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของราชสกุลปราโมช คือ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ปัจจุบันเป็นสำนักงานของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี

    ม.ล.ประพิมเองก็เกิดและเติบโตที่บ้านพระอาทิตย์แห่งนี้ ท่านเล่าว่าด้วยความที่มีวังเจ้านายอยู่มากมายนี่เอง บรรดาเจ้านายฝ่ายสตรีจึงได้มาก่อตั้งโรงเรียนในแถบย่านบางลำพูขึ้นด้วย อาทิ โรงเรียนวรวุฒิ ที่หม่อมเจ้าหญิงในราชสกุลวรวุฒิร่วมกันก่อตั้ง กระทั่งท่านผู้หญิงยสวดี อัมพรไพศาลได้เข้ามาซื้อกิจการต่อภายหลัง เพื่อตั้งเป็นโรงเรียนอัมพรไพศาล โรงเรียนราษฎร์ที่เคยโด่งดังแห่งหนึ่งในอดีตของย่านบางลำพู

    ตรอกสะเต๊ะ

    เมื่อก่อนละแวกตรอกข้าวสารจะเป็นตึกไม้ทั้งหมด ถนนตะนาวจะมีร้านผลิตน้ำเขียว น้ำแดงที่นำไปทำน้ำแข็งไส รวมทั้งลอดช่องแสนอร่อยของคนจีนมาขาย ย่านบางลำพูจึงคึกคักไปด้วยนักช็อป นักชิมที่ชื่นชอบเสาะแสวงหาของอร่อยลิ้นที่ขึ้นชื่อลือชา

    ป้าชไมพร โสธรกุล วัย 78 ปี เล่าว่า คุณพ่อของเธอเป็นชาวมุสลิมเชื้อชาติชาวยะหวา หรือชวา ประเทศอินโดนีเซีย อพยพมาอยู่ที่ย่านบางลำพู โดยทำอาชีพรับจ้างดูแลต้นไม้ให้กับบริเวณหัวมุมที่เป็นกรมธนารักษ์นั้นเคยเป็นโรงต้นไม้ทั้งหมด ชาวยะหวามีทักษะการตัดแต่งต้นไม้ได้สวยงามเป็นรูปครุฑ รูปสัตว์ต่างๆ โดยใช้ต้นตะโกดัด แต่ที่เก่งกาจจนขึ้นชื่อก็คือ ฝีมือในการหมักเนื้อสะเต๊ะของชาวยะหวาในบางลำพู

    ปู่ยิบกล่าวเสริมว่า วิธีสังเกตว่าเนื้อสะเต๊ะนั้นเป็นฝีมือของชาวยะหวาหรือไม่ เนื้อนั้นจะต้องอ่อนนุ่ม ซึ่งสูตรการหมักนี้เป็นเคล็ดลับของชาวยะหวา ป้าชไมพรอธิบายว่าเมื่ออพยพมาใหม่ๆ นั้น ชาวยะหวายังไม่รู้จะประกอบอาชีพใดดี ผู้ชายก็มักไปทำงานดูแลต้นไม้กันหมด ส่วนแม่บ้านที่เป็นผู้หญิงจึงหาอาชีพ โดยทำก๋วยเตี๋ยวแกง หรือก๋วยเตี๋ยวแขกเป็นต้นตำรับก่อน แล้วจึงค่อยๆ เลื่อนมาเป็นขายเนื้อสะเต๊ะ

    "แม่เป็นแม่ค้าขายในตลาดก่อน พี่ป้าน้าอาก็ทำเนื้อสะเต๊ะส่งขายตามสนามหลวง หลักเมือง จนค่อยๆ เริ่มมีชื่อดังขึ้นมา ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่อตรอก จนกลายมาเป็นตรอกสะเต๊ะอยู่ตรงข้างสหกรณ์ จะมีตรอกเล็กๆ อยู่ตรอกหนึ่ง ตรงนั้นมีแต่มุสลิมและพวกยะหวาอยู่ทั้งนั้น เพราะทำเป็นศาสนสถานด้วย ถึงเวลาทำบุญก็จะมีผู้ใหญ่นำทำพิธีถวายพระเจ้า อยู่กันมาเรื่อยๆ ก็อยู่กันมาสบายๆ ตอนหลังก็มาแตกแยกกันไป"

    ปัจจุบันนี้ มีชาวยะหวาเหลืออยู่ในบางลำพูอยู่ไม่มากนัก มีเพียงร้านก๋วยเตี๋ยวแขกเจ้าดังอีกเจ้าเดียวเท่านั้น ขณะที่สะเต๊ะเนื้อฝีมือชาวยะหวาแท้ๆ ก็หารับประทานได้ยากลงทุกที ส่วนมากมักเป็นสะเต๊ะหมูฝีมือชาวจีนที่อพยพมาอยู่ภายหลังมากกว่า
    ปู่ยิบอธิบายว่า สมัยก่อนเนื้อสะเต๊ะนี้ไม่ได้ตั้งโต๊ะขาย มีหน้าร้านเช่นทุกวันนี้ แต่จะมีหาบเร่ขายไปเรื่อยๆ โดยตั้งหม้ออยู่ตรงกลาง มีเก้าอี้ผ้าใบพับได้ติดในหาบไปด้วย ปิ้งเสร็จก็วาง คนกินก็หยิบกินไป กินเสร็จจึงค่อยนับไม้แล้วจ่ายเงิน

    สมใจนึกบางลำพู

    เด็กกรุงเทพฯ เมื่อหลายสิบปีก่อนแทบทุกคน คงต้องคุ้นเคยกับร้านขายเครื่องแบบนักเรียนชื่อดังในย่านบางลำพูแห่งนี้ ร้านดังกล่าวดังจนถึงกระทั่งยุคหนึ่ง ชื่อร้านได้กลายเป็นคำแสลงติดปากด้วยวลีฮิต 'สมใจนึกบางลำพู' ไปทั่วประเทศ

    คนเก่าคนแก่ของย่านบางลำพูเล่าว่า เริ่มแรกร้านสมใจนึกนั้นไม่ได้ขายชุดนักเรียน แต่ทว่าเปิดเป็นร้านขายของชำ จนกระทั่งในช่วงหลังจึงค่อยริเริ่มตัดเย็บเครื่องแบบนักเรียนจำหน่าย ต่อมาได้แบ่งกิจการให้ลูกๆ ไปบริหาร แตกสาขาออกไปมากมาย
    ชุดนักเรียน สมใจนึก มีจุดเริ่มต้นที่ร้านค้าเล็กๆ แห่งหนึ่ง บนถนนพระสุเมรุ ย่านบางลำพู ในปี 2498 บริหารงานโดยตระกูล อมรวัฒนา แรกเริ่ม ร้านสมใจนึก เป็นร้านค้าขายของใช้ทั่วไป เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน และของใช้อื่นๆ คล้ายกับห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน ด้วยความที่มีทุกสิ่งครบตามที่ลูกค้าต้องการ ชื่อ "สมใจนึก" จึงเป็นชื่อที่ลงตัวเป็นอย่างยิ่ง

    ในเวลาต่อมา สมใจนึก เริ่มหันมาลงทุนในธุรกิจเครื่องแต่งกายอย่างจริงจัง เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นธุรกิจเครื่องแบบนักเรียนยังไม่มีใครทำอย่างจริงจัง และสินค้าชุดนักเรียนในตลาดมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า สมใจนึก จึงตัดสินใจดำเนินธุรกิจเครื่องแบบนักเรียนเต็มรูปแบบเพียงอย่างเดียวในปี 2515 อันเป็นการเปิดศักราชของชุดนักเรียน สมใจนึก อย่างแท้จริง

    ยังมีเรื่องราวความทรงจำในอดีตอีกมากมายของย่านบางลำพู ทั้งแหล่งความบันเทิงอย่างโรงหนังศรีบางลำพู หรือโรงหนังปีนัง ตลาดบางลำพูที่เต็มไปด้วยของกินแสนอร่อย นอกจากนี้ บางลำพูยังคึกคักไปด้วยนักคิดนักเขียนมากมายในยุคหนึ่ง อาทิ ครั้งหนึ่งนักเขียนชั้นครูอย่าง อบ ไชยวสุ หรือ 'ฮิวเมอร์ริสต์' บ้านของท่านนั้นอยู่ตรงข้ามวัดชนะสงคราม หรือ ป.อินทรปาลิตก็เคยเป็นครูสอนอยู่ที่ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช และเคยอาศัยอยู่ในบ้านเช่าที่ตรอกสุเหร่า แม้แต่พญาอินทรีอย่าง 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ก็ยังประทับใจย่านนี้จนนำไปเขียนเป็นฉากในนวนิยายเรื่องยาวของเขาอย่าง 'บางลำพูสแควร์' บางลำพูในวันนี้ จึงยังอบอวลด้วยกลิ่นอายของอดีตอยู่จางๆ เพื่อรอให้ผู้ที่อยากไปสัมผัสบรรยากาศในวันวาน ได้เดินทางไปเยือนอีกครั้งหนึ่ง


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. seastar4633

    seastar4633 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +23
    ดีมากเลยครับอ่านและแลเห็นทำให้คิดถึงบ้านเก่ามาก ๆ
     
  3. พรายแสง

    พรายแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +371
    เพลินดีค่ะ ปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะ เราเรียนแถวนั้นมา 5 ปี ปัจจุบันทำงานแร้ว ไปอีกทีก็ให้ความรู้สึกแบบเก่า ๆ อยู่บ้าง แต่ว่าไม่เหมือนเดิมเท่าไร มันแล้ง ๆ และดูว่าไม่ขลังเหมือนแต่ก่อนเลย มีผับ บาร์เยอะไปหมด ลานตาจนตื่น ๆ ไปเลย ส่วนตัวชอบแบบเดิม ๆ มากกว่า มันเจริญไปจนหารอยเดิมไม่ได้เลย .. ได้แค่ความทรงจำเท่านั้น ..ลาง ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...