GOD, มหาพรหม เป็นผู้สร้าง เป็นบิดาของสัตว์ ไม่รู้ที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 5 ตุลาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓๔๕] ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อนั้น เธอได้เข้าไปหาเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมโลกแล้วถามว่า
    ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับ
    ไม่มีเหลือในที่ไหน? เมื่อเธอถามอย่างนี้ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมจึงตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้า
    ก็ไม่ทราบ แต่ยังมีพรหมผู้เป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้
    ผู้ใช้อำนาจเป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ
    เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้วและยังจะเกิดต่อไป ซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าว
    มหาพรหมนั้นแล คงจะทราบ ก็บัดนี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหน แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของพรหม
    หรือทิศทางที่พรหมอยู่ แต่ว่านิมิตทั้งหลายย่อมเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอกาสย่อมปรากฏ
    เมื่อใด พรหมจักปรากฏองค์เมื่อนั้น การที่แสงสว่างเกิดเอง โอกาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพพนิมิต
    สำหรับความปรากฏแห่งพรหม ดูกรเกวัฏฏ์ ต่อมาไม่นาน มหาพรหมนั้นได้ปรากฏแล้ว.
    [๓๔๖] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น เธอได้เข้าไปหามหาพรหมแล้วถามว่า ท่าน มหาภูตรูป
    ทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน?
    เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหมนั้นได้ตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
    เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง
    เป็นผู้เนรมิตร เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
    และยังจะเกิดต่อไป แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้น ดังนี้ว่า ข้าพเจ้า
    มิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้
    ต่างหาก แม้ครั้งที่ ๒ เล่า ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบเธออย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ ๓ เล่า
    ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมนั้นดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้น แต่ข้าพเจ้าถามท่านว่า
    มหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้ต่างหาก.
    [๓๔๗] ดูกรเกวัฏฏ์ ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น จับแขนภิกษุนั้นนำไป ณ ที่ควร
    ข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุ พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเหล่านี้เข้าใจเราว่า อะไรๆ
    ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ประจักษ์ ไม่มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตอบต่อหน้า
    เทวดาเหล่านั้นไม่ได้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ
    อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่านละพระผู้มีพระภาค
    เสีย แล้วมาเสาะหาการพยากรณ์ปัญหานี้ในภายนอกนั้น เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว นิมนต์กลับ
    เถิด ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามปัญหานี้ พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านฉันใด ท่าน
    พึงทรงจำข้อนั้นไว้ ฉันนั้น.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๓๒๗/๓๘๓
     
  2. Artorius

    Artorius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +313
    [๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.
    ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
    [๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
    ธรรมชาตินี้.
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.
    เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลิน
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

    ใครเข้าใจพระไตรปิฎกบทนี้ ช่วยแปลอย่างง่ายๆให้กระผมชัดเจนหน่อยครับ คือผมพอเข้าใจ แต่ไม่กระจ่างเท่าไหร่อ่ะครับ เข้าใจแบบ งงๆ อิอิ
     
  3. Artorius

    Artorius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +313
    หัวข้อกระทู้ที่ว่านี้ "GOD, มหาพรหม เป็นผู้สร้าง เป็นบิดาของสัตว์ ไม่รู้ที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔" อ่านแล้วกำกวม อ่านอย่างผิวเผินจะเข้าใจความหมายที่ จขกท.ต้องการจะสื่อออกมาเป็นอย่างนี้ว่า "God มหาพรหม เป็นผู้สร้าง เป็นบิดาของสัตว์ ไม่มีวันดับ" แต่จริงๆแล้ว หมายถึง "God มหาพรหม ก็ยังไม่ทราบถึง ที่ดับแห่งมหาภูติ" จนภิกษุรูปนั้นต้องกลับมาทูลถามพระพุทธเจ้า
     
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ปัจจุบันนี้ เท่าที่ทราบ

    ผู้ที่ รวมดินน้ำลมไฟ ให้ กลายเป็น รูปกาย รูปธรรม ได้ กลายเป็นแดนเกิด ของ มนุษย์ได้ ก็คือ เพศแม่ ที่มี มดลูก ก็คือ รังไข่ นั่นเอง

    ไข่ ที่สร้าง นั่นแหล่ะ คือ แดนเกิด ของ จิต ไข่ คือ ดินน้ำลมไฟ ที่ รวมกันแล้ว


    ส่วน พ่อ มี เสปิร์ม อสุจิ ทั้งหลาย ก็คือ ดวงจิต หรือ ความคิด ความอยาก คือ นามธรรม ที่ จะ ต้อง ไปรวมตัวกับ รูปธรรม ของแม่ นั่นเอง

    ความอยาก ของพ่อ มัน อยู่ใน อสุจิทั้งหลาย นั่นแหล่ะ ตัวไหน ชนะ คือ อยากแรงที่สุดของพ่อ ตัวนั้น จะได้ เกิด ไง ครับ

    คำว่า มีกรรม เป็น เผ่าพันธุ์ ก็ อันนี้แหล่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 ตุลาคม 2012
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อสุจิ หรือ เสปิร์ม ก็คือ ความอยาก ภพภูมิ ที่ ถูก สร้างขึ้นมา ของ ผู้เป้น พ่อ นั่นเอง

    ความอยากของผู้เป้นแม่ คือ รวมดินน้ำลมไฟ เพื่อเป็นแดนเกิด รองรับ จิตอสุจิ และ โหยหาความรัก จาก เพศชายไงครับ

    มันคือ กรรม เป็น เผ่าพันธุ์ กรรมเป็นแดนเกิด
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔


    นามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔[ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม] และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย เรียกว่า นามรูป)

    วิญญาณ (จักขุวิญญาณ[ตา] โสตวิญญาณ[หู] ฆานวิญญาณ[จมูก] ชิวหาวิญญาณ[ลิ้น] กายวิญญาณ[กาย] มโนวิญญาณ[ใจ])

    รูปเป็นอุปาทา
    (จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร) ไม่ขออธิบายต่อครับ ไปหาอ่านเพิ่มเอาเอง ยาวไปครับ สรูปง่ายก็คือ ทุกสิ่งที่ตาเห็นรับรู้ได้เป็นอุปาทายรูป(แสง สี) หรือสิ่งที่ตามองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ก็เป็นอุปาทายรูป(เสียง กลิ่น รส)

    มีตา มีรูป(รูปที่ตาเห็นกระทบได้ เช่น แสง สี) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี จักขุวิญญาณ
    มีหู มีเสียง บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี โสตวิญญาณ
    มีจมูก มีกลิ่น บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ฆานวิญญาณ
    มีลิ้น มีรส บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ชิวหาวิญญาณ
    มีรูป(สิ่งที่ตามองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ รับรู้ทางใจได้ เช่น เสียง กลิ่น รส) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี มโนวิญญาณ

    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าเป็นพุทธะ เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้จำแนกพระธรรม

    พระเจ้า มหาพรหม พรหม ใครๆ ก็บอกว่าเป็นใหญ่ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้ทรงอำนาจ แต่ไม่รู้จักโลก ไม่รู้จักแม้ มหาภูตรูปทั้ง ๔
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๕๑๖] รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาท(ส่วนของร่างกาย)รูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ(ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล)
    เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ ด้วยจักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง
    จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัสปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัส มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง
    ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    [๕๑๗] รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ฟังแล้ว หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัสปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัส มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสต
    สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง
    โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    [๕๑๘] รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง
    ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัย ฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ ปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่
    ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
    ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียก ฆานายตนะ.
    [๕๑๙] รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ชิวหาใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิด
    ขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัส มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่
    ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น. นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหา
    ธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    [๕๒๐] รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง ซึ่งโผฏฐัพพะ
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยกายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้
    เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่
    กระทบได้, โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง
    กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กายใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอัน
    เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง
    กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    [๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่
    หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่
    เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียก รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, จักขุอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุ อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัส
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด
    เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่
    จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
    รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
    [๕๒๒] รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ฟังแล้ว
    หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, โสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง
    กระทบ ที่เสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
    สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เสียงใด
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ
    ที่โสต อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะ
    ปรารภเสียงใด โสตสัมผัส อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง
    เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    โสตวิญญาณ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    โสตสัมผัส มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ
    มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น,
    นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    [๕๒๓] รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด
    กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือ
    กระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้,
    นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
    คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัส อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือ
    พึงเกิดขึ้น ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    ฆานวิญญาณ มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    [๕๒๔] รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ด้วยชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด เผ็ด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัส อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาสัมผัส มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาใด เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รสายตนะ.
    [๕๒๕] รูปที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง
    ของหญิง ปรารภได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อิตถินทรีย์.
    [๕๒๖] รูปที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย
    ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.
    [๕๒๗] รูปที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความ
    ประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูป
    ทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
    [๕๒๘] รูปที่เรียกว่า กายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย
    กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล
    หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแล
    ขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กายวิญญัติ
    [๕๒๙] รูปที่เรียกว่า วจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท
    แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา,
    การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย ด้วยวาจานั้น
    อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วจีวิญญัติ.
    [๕๓๐] รูปที่เรียกว่า อากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า
    อากาสธาตุ
    [๕๓๑] รูปที่เรียกว่า รูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปลหุตา.
    [๕๓๒] รูปที่เรียกว่า รูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปมุทุตา.
    [๕๓๓] รูปที่เรียกว่า รูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
    กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งรูป อันใด
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปกัมมัญญตา.
    [๕๓๔] รูปที่เรียกว่า รูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
    ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปอุปจยะ.
    [๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปสันตติ.
    [๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
    ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความ
    เสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.
    [๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
    ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
    แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.
    [๕๓๘] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
    ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
    น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของ
    สัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงชีวิตด้วยโอชา อันใด รูปทั้งนี้ เรียกว่า
    กพฬิงการาหาร.
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.
     
  9. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +3,394
    อย่าคัดลอกมาสิครับ เอาความรู้ที่ท่านคิดมาเขียนเองดีกว่านะ ผมอ่านไม่รู้เรื่อง
    ไม่ก็อธิบายให้คนบ้านๆอ่านได้เข้าใจหน่อยได้มั้ย
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คัดลอกมาเฉพาะพระสูตรที่เหลือพิมพ์เองครับ


    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔


    นามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔[ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม] และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย เรียกว่า นามรูป)

    วิญญาณ (จักขุวิญญาณ[ตา] โสตวิญญาณ[หู] ฆานวิญญาณ[จมูก] ชิวหาวิญญาณ[ลิ้น] กายวิญญาณ[กาย] มโนวิญญาณ[ใจ])

    รูปเป็นอุปาทา
    (จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร) ไม่ขออธิบายต่อครับ ไปหาอ่านเพิ่มเอาเอง ยาวไปครับ สรูปง่ายก็คือ ทุกสิ่งที่ตาเห็นรับรู้ได้เป็นอุปาทายรูป(แสง สี) หรือสิ่งที่ตามองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ก็เป็นอุปาทายรูป(เสียง กลิ่น รส)

    มีตา มีรูป(รูปที่ตาเห็นกระทบได้ เช่น แสง สี) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี จักขุวิญญาณ
    มีหู มีเสียง บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี โสตวิญญาณ
    มีจมูก มีกลิ่น บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ฆานวิญญาณ
    มีลิ้น มีรส บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ชิวหาวิญญาณ
    มีรูป(สิ่งที่ตามองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ รับรู้ทางใจได้ เช่น เสียง กลิ่น รส) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี มโนวิญญาณ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมพิมพ์เองกับพระสูตรที่คัดลอกมา ท่านแยกไม่ออกหรือครับ ข้อความไหนเป็นพระสูตร ข้อความไหนผมคัดลอกมา ข้อความตรงไหนผมพิมพ์เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔


    นามรูป (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔[ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม] และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย เรียกว่า นามรูป)

    วิญญาณ (จักขุวิญญาณ[ตา] โสตวิญญาณ[หู] ฆานวิญญาณ[จมูก] ชิวหาวิญญาณ[ลิ้น] กายวิญญาณ[กาย] มโนวิญญาณ[ใจ])

    รูปเป็นอุปาทา
    (จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร) ไม่ขออธิบายต่อครับ ไปหาอ่านเพิ่มเอาเอง ยาวไปครับ สรูปง่ายก็คือ ทุกสิ่งที่ตาเห็นรับรู้ได้เป็นอุปาทายรูป(แสง สี) หรือสิ่งที่ตามองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ก็เป็นอุปาทายรูป(เสียง กลิ่น รส)

    มีตา มีรูป(รูปที่ตาเห็นกระทบได้ เช่น แสง สี) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี จักขุวิญญาณ
    มีหู มีเสียง บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี โสตวิญญาณ
    มีจมูก มีกลิ่น บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ฆานวิญญาณ
    มีลิ้น มีรส บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี ชิวหาวิญญาณ
    มีรูป(สิ่งที่ตามองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ รับรู้ทางใจได้ เช่น เสียง กลิ่น รส) บอกอะไรไม่ได้ถ้าไม่มี มโนวิญญาณ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้

    มีจุดผิดด้วยนะ จริงๆ ไม่ผิดหรอก แต่ไม่ค่อยถูก รอผู้รู้ท่านอื่นมาช่วยแก้ ผมก็ไม่รู้ตรงไหนเหมือนกัน ยากครับ

     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่านถามมาเพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ ยังไงก็ดีกว่าพวกกดไม่เห็นด้วย แม้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้า
    ค่อยๆ อ่านไปครับ วันนี้ไม่ค่อยเข้าใจ ก็อ่านไปก่อนครับ สักวันจะเข้าใจได้เอง ดีกว่าพวกไม่อ่าน
    ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของพระตถาคต

    http://palungjit.org/threads/ฌานาภิญญาสูตร.353155/

    รักษาตัวกันดีๆ ครับ บาป บุญ นรก สวรรค์ มีจริงครับ
     
  14. mikycar offroad

    mikycar offroad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +255
    จริงๆ...เท็จๆ...เท็จๆ....จริงๆ...ห้าสิบๆ....เสียเวลาเปล่า...
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นามและรูปดับ เพราะวิญญาณดับ
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว
    โลกนี้มีความเห็นสองอย่าง "มี" กับ "ไม่มี"
    "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง" เป็น "อนัตตา"
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน
    ยึดอวิชชาคือ "ความไม่รู้" เหมือนจับของร้อน
    ทุกข์เพราะเชื่อ ศรัทธา ยึดมั่นถือมั่นในของไม่เที่ยง
    รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา
    อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    จริงคือจริง เท็จคือเท็จ ผิดคือผิด ถูกคือถูก
    ห้าสิบ ห้าสิบ ผิดกับถูกอย่างละครึ่ง
    หกสิบ สี่สิบ ไม่ถูกมากกว่า ก็ผิดมากกว่า
    ถูกมากกว่า เป็นความเห็นชอบ ทางไปสู่ สุคติ โลก สวรรค์
    ผิดมากกว่า เป็นคววามเห็นผิด ทางไปสู่ ทุคติ วินิบัติ นรก
     

แชร์หน้านี้

Loading...