เบาะแสที่อาจหักล้างได้ว่า "กัมโพชะ" ไม่ได้อยู่ที่แคชเมียร์-ปากีสถาน-อาฟฆานิสถาน

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 3 มกราคม 2013.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แคว้น หนึ่ง ที่ ไปมาหาสู่ ระหว่างแคว้นโยนก ก็คือ แคว้น กัมโพชะ
    ซึ่ง หาก "โยนกอยู่บริเวณภาคเหนือของไทย คือ เชียงใหม่-ลำปาง"
    แคว้นกัมโพชะ ก็ ควรจะต้อง อยู่ในบริเวณรัศมี รอบๆ เชียงใหม่-ลำปาง

    ซึ่ง เวลานี้ มีเบาะแส ที่น่าสนใจ นั่นคือ "เมืองกัมโภชะ ในตำนานเมืองฝาง
    หรือ ตำนานพระธาตุสบฝาง ประวัติหนองแปดหาบ ที่ว่า..


    ประวัติหนองแปดหาบ

    หนองแปดหาบ ซึ่งเป็นปากน้ำกก กับแม่น้ำฝางมาบรรจบกัน ณ ที่นี้เรียกว่าสบฝาง ซึ่งมีหนองแปดหาบ ทอดยาวไปตามตีนเขา ดอยพระธาตุสบฝาง เป็นระยะทางยาว ๘๐๐ วา กว้าว ๖๐๐ วา นับว่ากว้างใหญ่พอสมควร ในสมัยโบราณ ณ ที่ปากแม่น้ำกก กับแม่น้ำฝางมาบรรจบกันนี้ ที่เรียกว่า สบฝางนี้ มีถ้ำหนึ่ง ภายในหน้าถ้ำ เป็นวังน้ำวน ภายในถ้ำเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป บนหลังถ้ำสบฝางนี้ ได้มีปู่ผ้าขาวตนหนึ่ง มาจากเมืองกัมโภชะ ได้มาก่อเจดีย์ไว้เป็นที่สักการะบูชา ของคนทั้งหลายแล
    ในขณะที่มีการก่อสร้าง พระธาตุสบฝางนั้น ได้มีพ่อค้าสองคนพี่น้องเป็นชาวเมืองกัมโพชะ มาทำมาค้าขาย ระหว่างเมืองชัยปราการ กับเมืองกัมโพชะ (เมืองกัมโภชะ อยู่ในเขตเมืองต่องกีของแคว้นไทยใหญ่ ในเขตพม่า ในปัจจุบัน) พ่อค้าสองคนพี่น้อง ได้นำสินค้าไปขายในเมืองเชียงแสน ขากลับ ได้มาพบการสร้าง พระธาตุสบฝาง จึงได้หยุดขบวนวัวต่าง ได้ขึ้นไปร่วมทำบุญ เสร็จแล้ว ได้จ้างคนให้ทำแพเพื่อนำขบวนวัวต่างและลูกน้อง ข้ามจากหนองแปดหาบ ไปยังฝั่งตรงข้าม เพื่อเดินทางไปเมืองกัมโภชะ บังเอิญแพที่นำคณะพ่อค้า สองพี่น้องได้เกิดล่มกลางหนอง น้องชายของพ่อค้าได้เสียชีวิต พร้อมกับทองคำที่ได้จากการค้าขาย จากเมืองเชียงแสน มีจำนวน 8 หลังม้า ส่วนพี่ชายของพ่อค้า ก็ได้ไปสร้างเจดีย์ที่ดอยหมอก ระหว่างดอยสองลูก เรียกว่าพระธาตุสองพี่น้อง ซึ่งปรากฏอยู่จนปัจจุบันนี้ เรียกดอยพระธาตุน้ำค้าง (อยู่ในตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย) เหตุที่พ่อค้าเมืองกัมโภชะได้สร้างเจดีย์ไว้บนดอยน้ำค้างนี้ ก็เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้พ่อค้าผู้เป็นน้องชาย ที่เสียชีวิตจากแพล่ม ในกลางหนองแปดหาบ ตั้งแต่นั้นมา หนองสบฝาง ก็ได้ชื่อว่า หนองแปดหาบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่แพล่มกลางหนองนั้น ตำนานได้กล่าวไว้ว่า น้องชายของพ่อค้าได้ให้บริวารของเขา ยิงลูกของพญานาค (งู) แล้วเอามาเผาไฟสู่กันกิน พญานาคจึงโกรธ ออกจากถ้ำ มาปั่นน้ำในหนอง ให้เกิดฟองใหญ่ ในขณะที่แพของพวกพ่อค้า กำลังข้าม แพของพวกพ่อค้าก็แตกออกแล้วล่มจมลงในหนองนั้น


    ซึ่ง จาก ข้อมูล ข้อสันนิษฐานที่ตั้ง ของนักประวัติศาสตร์ ในปัจจุบัน มีว่า...

    ๑๖. แคว้นกัมโพชะ

    แคว้นกัมโพชะ เป็นแคว้นเหนือสุด ตั้งอยู่เหนือคันธาระ ในเขตซึ่งเรียกว่าอุตตราปถะดังได้กล่าวแล้ว เทียบกับปัจจุบัน ส่วนมากลงความเห็นว่า ได้แก่พื้นที่ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย คือบริเวณราเชารี หรือราชปุระเดิม ยาวผ่านเขตปากีสถานไปจนถึงกาฟิริสตาน อันเป็นเขตด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอาฟฆานิสถาน

    กัมโพชะ มีชื่อในทางเป็นแหล่งกำเนิดของม้าดี กล่าวว่าม้าของแคว้นกัมโพชะมีรูปทรงสวยเค้าบางอย่าง สรุปว่าเมืองหลวงของกัมโพชะชื่อ ทวารกะ แต่ทั่วไปไม่เห็นด้วยกับที่กล่าวนี้

    ไม่ปรากฏการแผ่ขยายตัวของพระพุทธศาสนา ไปยังแคว้นกัมโพชะในสมัยพุทธกาล แต่พระพุทธศาสนาก็ได้แผ่มายังแคว้นนี้ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อหลวงจีนถังซัมจั๋งมาสืบศาสนาในอินเดีย ท่านได้กล่าวว่า ที่เมืองราชปุระมีวัดอยู่รวมด้วย กัน ๑๐ วัด แต่มีพระสงฆ์ประจำอยู่เป็นจำนวนน้อย

    ดังนั้น นี่ อาจจะเป็น เบาะแสที่อาจหักล้างได้ว่า "กัมโพชะ" ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย คือบริเวณราเชารี หรือราชปุระเดิม ยาวผ่านเขตปากีสถานไปจนถึงกาฟิริสตาน อันเป็นเขตด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอาฟฆานิสถาน ตามที่ "เขา" ลงความเห็น แต่อยู่ที่เมืองต่องกี หรือ ตองยี หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ "เมืองคัง" สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. juna

    juna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +32
    มูลนิธิม้าลำปางเดินหน้าเพาะขยายพันธุ์ม้าลำปาง รักษาไว้เป็นมรดกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ชนชาติไทย หลังค้นพบหลักฐานพันธุกรรมม้าพื้นเมืองไทยสืบเชื้อสายม้ามองโกเลีย ม้าป่าโบราณพันธุ์สุดท้ายของโลก เผยประชากรม้าลำปางมีแนวโน้มลดลง แต่สุขภาพดีขึ้น
    สพ.ญ.ดร.ศิรยา ชื่นกำไร ประธานมูลนิธิม้าลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากได้ร่วมมือกับ ดร.คาร์ลา คาร์ลตัน นักวิจัยด้านพันธุกรรมจากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอม้าพื้นเมืองในจังหวัดลำปาง โดยเปรียบเทียบฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมม้าทั่วโลก ค้นพบว่าม้าพื้นเมืองของไทยจัดอยู่ในกลุ่มม้าป่าแห่งเอเชีย และมีความเชื่อมโยงกับเชื้อสายม้ามองโกเลีย คือ พันธุ์มองโกเลียน พเวาสกี (Mongolian Przewalski) ม้าโบราณที่ใกล้สูญพันธุ์ เหลือเพียง 150 ตัวเท่านั้นในธรรมชาติ และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในฐานะเป็นม้าป่าสายพันธุ์สุดท้ายของโลก ล่าสุดมูลนิธิม้าลำปางได้จัดตั้งโครงการวิจัยสืบค้นเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ม้าพื้นเมืองไทย โดยในเร็วๆ นี้จะมีการลงนามความร่วมมือสนับสนุนการวิจัยจากภาคเอกชน เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้นจะเดินทางไปเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอในมองโกเลีย เพื่อสรุปผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
    สพ.ญ.ดร.ศิรยากล่าวว่า การค้นพบม้าไทยมีรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างและไม่เคยพบมาก่อนในกลุ่มม้าเลี้ยงในปัจจุบัน และเป็นหลักฐานยืนยันว่าม้าพันธุ์พื้นเมืองไทยมีพันธุกรรมตรงกับม้าพันธุ์มองโกเลีย ซึ่งเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ และต้องจะเดินหน้ารักษามรดกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ชนชาติไทยให้คงอยู่ต่อไป
    อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจประชากรม้าลำปางพบว่ามีแนวโน้มลดลง อีกทั้งยังพบปัญหาการนำม้าไทยไปผสมกับม้าเทศ เพื่อให้ได้ม้าแข่งที่มีรูปร่างและสีตามที่ต้องการ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นโครงการวิจัยครั้งนี้จะมุ่งพิสูจน์สายพันธุกรรมของม้าพื้นเมืองในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ม้าลำปางให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบดีเอ็นเอม้าที่เหมาะสมจะเป็นต้นแบบพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ทั้งโครงสร้าง รูปร่าง สี และสุขภาพที่ดี
    จากการสำรวจประชากรม้าลำปางล่าสุดมีจำนวนทั้งสิ้น 325 ตัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มม้าพื้นเมืองที่มากที่สุดในประเทศไทย แต่ปัญหาที่พบกับม้าลำปาง คือ การผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้ม้าพื้นเมืองพันธุ์แท้เริ่มสูญหายไปเรื่อยๆ เนื่องจากทุกวันนี้ม้าทุกสายพันธุ์ทั่วโลกเป็นม้าเลี้ยงที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการผสมพันธุ์ข้ามกันไปมา เพื่อเสาะหาม้าพันธุ์ดีและสมบูรณ์แบบมาใช้ทำม้าแข่ง ส่วนม้าป่าสายพันธุ์ดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว เหลือเพียงม้าป่าพันธุ์มองโกเลียน พเวาสกี ที่กลุ่มอนุรักษ์หลายประเทศร่วมกันขยายพันธุ์และอนุรักษ์ไว้ในป่าธรรมชาติ
    "สำหรับสุขภาพของม้าลำปางหลังจากที่มูลนิธิได้จัดก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพของม้าในประเทศไทย มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่คนเลี้ยงม้าอย่างต่อเนื่อง และการตรวจสุขภาพม้าเป็นประจำ ส่วนใหญ่มีปัญหาโรคกระดูกที่เกิดจากการขาดแคลเซียม ร่างกายจะพยายามทดแทนโดยดูดซึมแคลเซียมออกจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ม้ามีอาการกระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย ฟันโยก หน้าบวม มูลนิธิจึงจัดกิจกรรมอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่คนเลี้ยงม้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้อาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การอบรมช่างทำเล็บและใส่เกือกม้า การบริการถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลังๆ พบว่าม้ามีสุขภาพดีขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน เพราะมีการเลี้ยงม้าอย่างถูกต้องมากขึ้น" สพ.ญ.ดร.ศิรยาเผย
     

แชร์หน้านี้

Loading...