เริ่มแล้วสินะ Cloud Computer สั่นสะเทือนไปทั้งโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Mr.Boy_jakkrit, 27 มกราคม 2013.

  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ที่แรกคิดว่าสิ่งที่จะแทนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน น่าจะเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์เสียอีก

    แต่นี่คือบริการใหม่ที่ยังไม่มีใครสามารถ "นิยาม" มันได้อย่างสมบูรณ์

    เชิญร่วมออกความเห็นกันครับ
     
  2. iivv

    iivv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +201
    ขอดูภาพหน่อยครับ
     
  3. iivv

    iivv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +201
  4. iivv

    iivv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +201
    “What is Cloud Computing” จากงาน Web 2.0 Expo

    เนื่องจากมีความหลากหลายในเรื่องวิธีและ แนวทางในการพัฒนาระบบCloud Computing ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้ผู้คนนิยามคำว่าCloud Computingแตกต่างกันไปตามแต่เทคโนโลยีหรือวิธีการที่ใช้พัฒนาหรือแม้แต่มุม มองของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น จากblogของคุณsoowoiได้ทำการค้นคว้านิยามภาษาไทยของคำว่าCloud Computing(ที่แปลโดยทีมblognone) ไว้ดังนี้

    บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
    ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน
    หมายเหตุ อ่านรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลได้ที่ Cloud Computing - Blognone

    ผมวิเคราะห์ได้ว่านิยามแรกของ Gartner นั้นอิงตามวิธีการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) โดยเน้นไปที่คุณสมบัติที่เรียกว่าความสามารถในการขยายตัวได้ของระบบ (Scalability) ส่วนนิยามจากฟอเรสเตอร์ (Forrester)ก็ คล้ายๆกับของGartnerที่กล่าวถึงความสามารถในการขยายตัวได้ และยังเสริมอีกว่ารองรับโปรแกรมประยุกต์และเก็บค่าบริการตามการใช้งานจริง (Pay per use หรือ Post paid นั่นเอง) สำหรับประโยคหลังนี้ที่แตกต่างไปจากของGartner โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

    แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่าอะไรคือ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

    Grid Computing คือวิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร(อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องหรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง ระบบuser accountในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง

    Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง

    SaaS ย่อมาจาก Software as a Service เป็นรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์หรือapplicationบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของ ลูกค้า โดย SaaS เป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ On-premise software อันเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้า

    จากที่blognoneแปล ไว้ ทำให้เราได้คำศัพท์สำหรับเรียก Cloud Computing แบบไทยคือ “ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” ถือว่าบัญญัติชื่อเรียกภาษาไทยได้ลงตัวดีครับ ทำให้มโนภาพเห็นเมฆลอยบนท้องฟ้า และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยากได้อะไร เราก็เงยหน้ามองฟ้าวาดเมฆให้ได้ดั่งใจเราต้องการ

    มาดูนิยามจากทางเจ้าพ่อสารานุกรมออนไลน์Wikipediaบ้าง เขาได้ให้นิยามไว้ว่า

    Cloud computing refers to computing resources being accessed which are typically owned and operated by a third-party provider on a consolidated basis in Data Center locations. Consumers of cloud computing services purchase computing capacity on-demand and are not generally concerned with the underlying technologies used to achieve the increase in server capability. There are however increasing options for developers that allow for platform services in the cloud where developers do care about the underlying technology. – โปรดดูต้นฉบับของ Wikipedia ประกอบ

    แปลได้ว่า: Cloud Computing หมายถึงทรัพยากรสำหรับการประมวลผลที่จัดเตรียมและจัดการโดยบุคคลหรือองค์กร ที่สาม (Third Party) โดยทรัพยากรเหล่านี้ถูกจัดเตรียมไว้ที่Data Center จากนั้น ผู้ใช้ของCloud Computing สามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ(หรือเช่า)ได้ตามที่ต้องการ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องคำนึง(หรือแม้แต่กังวล)เลยว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากรจะ บริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไร (หรือว่าได้หรือไม่ เพราะยังไงก็ต้องทำให้ได้ )

    แต่ประโยคสุดท้ายเขาได้กล่าวว่า การที่ Cloud Computing จัดเตรียมความสามารถที่ระบบสามารถขยายตัวได้ตามความต้องการของผู้ใช้ (increasing option) ก็เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้พัฒนาระบบจำเป็นจะต้องเป็นห่วงเป็นกังวลแทน นั่นหมายความว่า ถ้าหากผู้ใช้ต้องการทรัพยากรมากกว่าที่ผู้ให้บริการจะเตรียมให้ได้ ผู้ให้บริการจะต้องค้นหาวิธีใดๆก็ตามเพื่อสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมาแบบ ฉับพลันนี้ให้ได้ อย่างเช่น ผู้ให้บริการอาจจะต้องกลายเป็นผู้ใช้หรือลูกค้าของผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ เป็นทอดๆ เป็นต้น

    เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบ กรุณาอ่านบทความ “มุมมองในเรื่องCloud Computingของผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อดูนิยามและความเข้าใจในเรื่องCloud Computingของบุคคลท่านอื่น

    ทำไมต้องเป็นCloud

    สาเหตุที่มีชื่อว่า Cloud Computing ก็มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆ(Cloud)ที่เราใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลองดูตัวอย่างได้จากโปรแกรมMicrosoft Visio อย่างเวลาเราจะวาดแผนผังเครือข่าย สัญลักษณ์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คือรูปเมฆ

    ในเมื่อรูปเมฆแทนอินเตอร์เน็ต แล้วทำไมอินเตอร์เน็ตจึงไปเกี่ยวกับCloud Computingได้? คำตอบมาจากการที่เราต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เราก็สามารถได้บริการหรือได้ใช้ทรัพยากรที่อยู่ระยะไกลเพื่อสนองต่อความต้อง การของเราได้นั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่เขามองว่า Cloud Computing คือเมฆที่ปกคลุมทรัพยากรและบริการอยู่มากมาย เทียบได้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ต่อกับบริการและทรัพยากรจำนวนมหาศาล เมื่อเป็นCloud Computing เราจะมองว่าอินเตอร์เน็ตคือเมฆ และเมื่อไหร่ที่เราต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเมฆแล้ว เราก็สามารถเข้าถึงและใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ต่อกับเมฆ…เทียบ ได้กับเมฆปกคลุมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และผู้ใช้จำนวนมหาศาลไว้อยู่ ทั้งนี้ผู้ใช้มองเห็นเมฆผ่านทางบริการที่จะนำพาผู้ใช้เข้าถึงพลังในการ ประมวลผลและทรัพยากรต่างๆที่อยู่ใต้เมฆ หรือภายใต้ท้องฟ้าเดียวกันคือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

    มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวว่าเนื่องด้วย Web 2.0 อันเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตที่รุ่งเรืองในเรื่องของสมาคมออนโลน์หรือสังคมดิจิตอล เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนมากเข้าถึงบริการ World Wide Web (WWW) เพื่อขอใช้บริการที่มีความหลากหลาย และการใช้บริการเริ่มจะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค email,และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่านGroup และ Web board รวมไปถึงBlogส่วนตัว และ Community อย่าง Hi5 หรือ Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่านFlickr แชร์วิดีโอผ่านYoutube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งานapplicationต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆไว้ให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Doc ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

    เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google Apps ที่รวมapplicationต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ search engine, gmail, picasa, google video, google doc, google calendar, youtube, google maps, google reader และ blogger เป็นต้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและapplicationต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือน เป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้ เกิด Cloud computing ขึ้นมาในที่สุด และตัวอย่างของความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริง แล้ว ในกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่าง พนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการได้มากยิ่งขึ้น
     
  5. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ในแง่ของธุรกิจ
    การปฏิวัติเทคโนโลยีนี้จะสามารถทำรายได้ถล่มทลายภายในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
    เขาอาจจะเป็นเจ้าโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร

    Rule Breakers [Fool.com: Growth Stock Research]
     
  6. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    เจ้าโลกแห่ง ฐานข้อมูลข่าวสาร ขนาดมหึมา !!!
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่าไปหลงประเด็นมาก

    " Cloud Computing " มันเป็น ศัพท์ ที่เอาไว้หลอก ผู้บริโภค ให้จ่ายเงินให้
    ผู้อื่น ทั้งๆที่ ลงทุนเพิ่มทรัพยากร ด้วยตัวเอง

    ก็จะเห็นว่า ทุกวันนี้ ผู้บริโภค มี Gadget ที่อำนวยข้อมูล เชิง Multimedia ได้
    มาก ไฟล์พวกนี้มีขนาดใหญ่ และยิ่ง คุณภาพของกล้องเป็น HiDefinition ซึ่งมี
    ความละเอียดสูงมาก ไฟล์ก็ขนาดใหญ่มาก ถ้าจำไม่ผิด ข้อมูล HD เพียงหนึ่ง วินาที
    จะมีความจุคือ 1 Gigabytes ดังนั้น youtube มันก็ หูตูบ ขึ้นมา มันลงทุนไม่
    ทัน เพราะการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคนั้น เป็นไปตาม กราฟ xกำลัง2 คือ เพิ่มโค้งความ
    ชันอย่างรวดเร็ว

    Cloud Computing จึงถูก สอดไส้เข้ามาในระบบ เปิดโอกาสให้ ผู้บริโภค เปิด
    Gadget ต่างๆ เหล่านั้นเอาไว้ แล้วให้ Memory ของเครื่อง Gadget ต่างที่
    ผู้บริโภคลงทุนไปนั้น ย้อนกลับมาเป็น แหล่งเก็บข้อมูล และ แชร์ข้อมูล แทนที่จะ
    ต้อง อัพโหลดไป ยุทูบ( หมายเอา ค่ายอื่นๆ ด้วย) ให้ หูตูบ

    ส่วนคำว่า จัดเก็บเงิน อันนี้ก็จะเป็น กับดักที่ คนใช้ Cloud ไม่อาจจะหลีกหนี
    ได้ หากก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ก็คือ ต้องลงทะเบียนผ่าน "One
    Register" ทั้งนี้เพื่อให้ ทรัพยากร GadGets ต่างๆ มันมา รวมตัวกัน แชร์
    กัน ซึ่งเมื่อเรา ลงทะเบียนแล้ว ก็แปลว่า เราแสดงตัวตนบนโลกไซเบอร์แบบ
    ชัดเจน อีกหน่อย รถ กล้อง เครื่องพิมพ์ คอม โทรศัพท์ ตูเย็น ทีวี ฯ จะถูกระบุ
    หรือ เข้าถึงตัวเจ้าของได้ตรงๆ ซึ่งก็เรียกว่า ง่ายต่อการทวงถามหนี้สิน หรือ
    บางที สมมติว่าต้องการยิงมิสไซเป้าหมายคือตัวคุณ ก็ไม่ต้องไป เดินหาเอาเล
    เซอร์ส่องให้เมื่อยตุ้ม ใช้ตัวอุปกรณ์ที่คุณลงทะเบียนไว้กับ Cloud นั่นแหละ
    ยิงตูมเดียว ก็ต้องโดนสักอัน

    อ้อ

    ได้ยินแบบนี้ ก็อย่าไปเครียดหน่า โลกมันบีบคั้นเสมอ ยังไงก็หนีไม่ได้ หาก
    เขาใช้กันหมด .....

    ส่วนคนที่ตกใจ ก็มีคำปลอบง่ายๆว่า ระบบเข้ารหัสสมัยใหม่ จะใช้การเข้า
    รหัสมากกว่า 128 bit การ Sampling แล้วจะแกะรหัสได้ มีโอกาสเท่า
    กับ 1 ใน 128x127x126x125x124x.......x1 ( 128! แฟคทอเรียล)
    และเชื่อว่า ตอนนี้การเข้ารหัสพื้นฐานน่าจะเป็น 256 bit ( ดูจาก Box UBC
    จะมีช่องให้เลือกได้ 256 ช่อง เป็นต้น )

    ********

    Grid Computing เป็นการ แชร์ ตัวหน่วยประมวลผล ( CPU ) เพื่อการ คำนวนและส่งกลับ

    Utility Computing เป็นการ แชร์ ข้อมูลที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการ บริโภค อ้างคำว่า สาธารณูประโภค ภัยพิบัติ

    SasS เป็นการแชร์ App แต่จริงๆแล้ว การขายซอร์ทแวร์มันเป็นการคิดของนักการตลาดที่ยังโง่อยู่ เพราะวิธี
    การตลาดสมัยใหม่สามารถ ขายหรือทำเงินในส่วนอื่นได้ เช่น เกมส์ สามารถทำเงินได้จาก การขายดาบ ขาย
    น้ำยา ซึ่ง รวยกว่ามาก มากกว่า ขายซอร์ทแวร์แล้วต้องแถมดาบ น้ำยา แบบไม่จำกัด

    Cloud Computing ก็อย่างทีสรุปเทรนดไปให้ฟัง คือ อีกหน่อย ตัวเองลงทุนทรัพยากรคอมฯ เอง แต่ก็
    ยังต้องจ่าย ค่า ดาบ ค่า น้ำยา หรือ จ่ายเงินให้กับ สินค้าบางอย่าง ที่กินไม่ได้ แต่ถูก เร้าให้อยาก ขาดไม่ได้

    เรียกว่า สังคมบริโภค กำลัง กลืนกิน จิตวิญญาณ การรู้เห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตตั้งมั่น เป็นกลางไปจากมนุษย์เสียสิ้น [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2013
  8. siamblogza

    siamblogza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +2,590
    Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง

    siamblogza: ufo แสงในนิวซีแลนด์, 25 มกราคม 2013
    siamblogza: ufo แสงในนิวซีแลนด์, 25 มกราคม 2013
     
  9. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    มันเข้าใกล้ทฤษฏี SkyNet ในหนังเข้าไปทุกที :mad:
     
  10. KasroK

    KasroK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +98
    ไม่รู้ไม่เข้าใจ
     
  11. noinid0209

    noinid0209 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    742
    ค่าพลัง:
    +570
    online มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นภัย มากเท่านั้น
     
  12. noinid0209

    noinid0209 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    742
    ค่าพลัง:
    +570
    นั่งดู ภาค 3-4 เมื่อคืนนี้เอง
    สุดยอด Marcus Wright
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ถ้าเราอยู่ กับโลกออนไลน์ อย่างไม่เข้าใจ เอามาเป็นเครื่องมืออรรถประโยชน์ไม่ได้
    เราก็อาจจะเห็นว่า โลกออนไลน์เป็นของน่ากลัว อันตราย

    แต่ถ้า เมื่อไหร่ ใครก็ตาม สามารถเอา โลกออน์ไลน์มาใช้เป็นเครื่องมือได้ เมื่อ
    นั้น ความน่ากลัวจะหายไป

    การนำมาใช้เป็นเครื่องมือนั้น ตอนนี้ ในทางสังคมศาตร์ ยังเป็นการใช้ ระดับปัจเจกบุคคล
    หรืออย่างมากก็ ชุมชน เล็กๆ ใหญ่แต่ก็เล็ก เพราะ ขาดเรื่อง " อำนาจอธิปไตย "

    อำนาจอธิปไตย คืออะไร .........................

    ก็ต้อง กล่าวเพียงแต่สั้นๆว่า ความยินยอมให้เป็นเจ้าชีวิต ใช้อาศัยบังคับวิถีชีวิต

    เช่น ปวงชนชาวไทย ยกอำนาจอธิปไตยให้กับ รัฐ คือ ให้ รัฐออกกฏหมายมา
    ควบคุมวิถีชีวิตเราได้ นี่คือ การยกอำนาจอธิปไตยให้กับรัฐ

    ทีนี้ หากสังคมหนึ่งสังคมใด ได้อำนาจอธิปไตยในโลกออน์ไลน์ คือ ปวงชนชาว
    ไซเบอร์ยินยอมให้ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ประชาคมหนึ่งประชาคมใด มีอำนาจในการ
    เอา อรรถประโยชน์มาใช้บังคับด้านสิทธิ และ หน้าที่ ของปวงชนชาวไซเบอร์แล้ว

    เวลานั้น ความน่ากลัวของโลกไซเบอร์จะถูกยกออกไปจากอก

    เช่น

    มีคนหนึ่งคนใด กระทำผิด แล้วมี มาตราระวางโทษระบุว่า ห้ามเข้าถึงโลกไซเบอร์
    ด้วยอุปกรณ์พกพาใดๆ รวมถึงการเข้าถึงด้วยอุปกรณ์สาธารณะอื่นๆ

    หรือ ทั้งจำทั้งปรับ คือ ปรับสิทธิในการเข้าถึงแบบ limited เป็นเข้าได้แค่ 56k
    หรือทั้งจำทั้งปรับ

    แล้ว มีการ บังคับใช้ทางการปฏิบัติ มีหน่วยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนทำให้เกิดการ บังคับใช้

    แค่นี้ ชุมชนชาวเน็ทก็จะรู้สึกว่า ได้รับการ อภิบาล โดย "ไซเบอร์รัฐ"

    ***************

    ซึ่ง เรื่องๆนี้ คงไม่สามารถจัดตั้งได้โดย รัฐบาลของชาติใดชาติหนึ่ง อย่างที่
    โลกปัจจุบันทำกันอยู่

    แต่ เราจะเห็น " สมาพันธ์การค้า " เข้ามาขับเคลื่อนตรงนี้ เช่น กรณี google.earth
    ทำการเปิดเผย แผนที่ของแคว้นโคริยอของจูมง

    แล้วเมื่อไหร่ก็ตาม ที่ รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งของชาติใดชาติหนึ่ง ก่อการปฏิเสธอำนาจ
    ของ " สมาพันธ์การค้า " เหมือนการต่อต้านของ " นาบู " สมาพันธ์การค้า ก็อาจจะ
    สบช่องแสดงอำนาจ เพื่อหยั่งเชิงความภักดี ปวงชนชาวไซเบอร์นี่แหละ

    คือ ถ้าปวงชนชาวไซเบอร์ ให้การสนับสนุน มากพอ ก็ไม่แน่ว่า........

    <table bgcolor=black width=300 height=550>
    <tr><td><center><marquee scrollamount=1 direction=up><center><font color=green>
    แตน

    แต่น แต๊น

    แต้น แตน แตน แต้น

    ........

    ตื้ด ดึด ตื้ด ดึด ตื้ด ดึด

    ( จิงเกิ้ล )
    </font></center></marquee></center></td></tr></table>

    *******************************

    จะให้ดี สงสัย อาเซียนร่วมใจ ต้องรีบเสนอร่าง ไซเบอร์บัญญัติ พ.ศ. แล้ว
    บังคับใช้นำร่องไว้ก่อน เมื่อผลไม่สุกงอม มะม่วงก็ร่วงใส่ปาก ชาวอาเซียน
    ทั่วทั้งดินแดนจรด4คาบสมุทรเอง



    " จอดดูกั๊ป " , " Ms.Girl tri.kta "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่างวันนี้ ใน เว็บ "โอราเคิล"ผู้จัดกวน" ไปนำเอาสารจาก "สมิทธ (นิวหยอกไก่ม์)"
    ซึ่งถือว่าเป็น robbyist ของ " สมาพันการค้า " กล่าวถึงเรื่องราวของ

    cloud computing อนุพันธ์หนึ่งคือ "สก๊อย(skyope)"

    ก็เพื่อให้เห็น ประโยชน์ของการยกอำนาจอธิปไตยบางประการ ให้กับ
    สมาพันธการค้า ในการควบคุม

    ถ้าทำได้ นายกของประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็จะไม่ถูกย่ำยีเกียรติ ว่าไม่
    ได้ใช้ความสามารถ เพราะยังสามารถ อ้างการบังคับใช้ การปิดช่องทางการ
    "สก๊อย" จาก "ไดบู" ( ไม่ใช่ นาบู ) ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  15. naiman3000

    naiman3000 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +106
    :cool::cool::cool::cool:
     
  16. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    ข้อมูลประวัติศาสตร์โลก ถูกบันทึกไว้ที่หิน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...