จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    สาธุค่ะ และอนุโมทนาในธรรมทานของ ครูพี่ภูท่านได้กล่าวไว้อย่างแจ่มแจ้งจริงๆ เพราะท่านได้รู้เห็นตามนั้นและเป็นของดีก็อยากแบ่งปันพวกเรา แต่ผู้จะทําได้อย่างนี้ต้องอาศัยสติ-ปัญญาอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนการเปิดไฟที่มีแสงจ้าอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนแล้วก็สามารถจะมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวและสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาสัมผัสเรา...จึงเป็นธรรมทานที่สูงส่งที่ท่านนํามาแสดงบอก ผู้เขียนขอกล่าวคําอนุโมทนาสาธุค่ะ และขอให้ทุกๆท่านจงเจริญในธรรมของท่านยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2013
  2. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    บวชก็ตาย ไม่บวชก็ตาย

    “ศีล ๕ ก็เข้าโลกุตระได้ ศีล ๘ ก็เข้าโลกุตระได้ ศีล ๑๐ เป็นเณรอรหันต์ได้ มันเข้าถึงได้ทั้งหมดแหละ บวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ โกนผมก็ได้ ไม่โกนผมก็ได้ มันไม่ได้อยู่ที่ผมนั่นหรอก มันอยู่ที่จิต ยารักษาโรคทางกาย ธรรมะรักษาโรคทางจิต พ้นเกิดพ้นตายได้ บวชก็ตาย ไม่บวชก็ตาย ให้มันตายแต่สังขารซิ จิตใจไม่ตาย ศีล สมาธิ ปัญญาไม่ตาย ธรรมะไม่แพ้ กิเลสแพ้ ให้มีแต่ธรรมะพ้นเกิด พ้นตาย ให้ตามีศีล หูมีศีล จมูกมีศีล ใจมีศีล”


    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    Cr: ชมรมรักษ์ธรรม chomromrakdham
     
  3. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    "..มรรค ผล นิพพาน อยู่ที่นี่นะ
    อย่าไปหาตาม ดิน ฟ้า อากาศ
    ฟ้า แดด ดิน ลม สถานที่นั่นที่นี่
    โดยสำคัญว่า เป็นมรรค เป็นผล ไม่มี!

    อยู่ที่จุดระมัดระวังตัวด้วยความมี "สติ"
    พระวินัย ก็มีสติรักษาอยู่
    พระวินัย ไม่ให้คลาดเคลื่อน
    ธรรม ก็มีสติรักษาอยู่ด้วยธรรม

    การ "จิตภาวนา" ของตน
    สติ จ่ออยู่ตลอดเวลา
    สัมปชัญญะ เคลื่อนไหวไปมา
    ก็ให้มีความรู้ตัวเสมอ
    นี่ เรียกว่า "ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร"

    ให้พากันระมัดระวังอยู่ตรงนี้นะ
    มรรค ผล นิพพาน ไม่อยู่ที่ไหน
    อยู่ที่การระมัดระวังตัว กับธรรม กับวินัย
    .."

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    Cr: เครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2013
  4. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    หลวงพ่อฤาษี
    สอนเรื่อง ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า

    ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า
    ในเมื่อท่านปฏิบัติความดีมีความตายเป็นเดิมพัน ทั้งนี้ก็หมายความว่า ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์บอกไว้ด้วยถึงแม้ว่าเวลานั้นจะไม่ได้อรหันต์ แต่ต้องได้อรหันต์แน่ถ้าท่านคิดอย่างนั้น อะไรบ้างที่ท่านยอมให้บกพร่อง ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดที่เป็นคันถธุระทุกอย่างทั้งทางด้านวิชาการและการงานไม่ยอมให้บกพร่อง เพราะถือว่าจะต้องมีอารมณ์จิตเข้มข้น ไม่ใช่จะมานั่งภาวนาอย่างเดียวให้เป็นอรหันตผล อันนี้มันไม่ได้เพราะอารมณ์ใจไม่มีการสัมผัสกับฝ่ายที่เป็นตรงกันข้าม ไม่มีการต่อสู้ ทั้งนี้เพราะว่า รู้ตัวอยู่ว่าคนที่หลีกเลี่ยงจากคันถธุระ หลีกเลี่ยงจากโลกธรรม เวลาอยู่คนเดียวสงบสงัด แต่เวลามาสัมผัสกับโลกธรรมเข้า จิตปลิวหวอย ตั้งสติไม่อยู่

    ถ้าเราจะทำบ้างทำอย่างไร
    เริ่มจับจุดเช้ามืด ทรงอารมณ์สมาธิให้สูงสุดที่มันจะสูงได้ ทรงให้นานเท่าไรได้ก็ยิ่งดี อย่ารีบถอน เวลาคลายมาแล้วจิตตั้งอยู่ในอุปจารหรือปฐมฌานอยู่ตลอดทั้งวัน ถ้าอารมณ์จะซ่านหลบเข้าสู่ที่สงัดนิดหนึ่งทำจิตให้ทรงอารมณ์จุดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ จะทำงานทำการอะไรอยู่ก็ตาม ไอ้สมาธิอย่าไปนั่งขัดสมาธินั่งพับเพียบอยู่เสมอ มันไม่มีผล มันต้องการได้ทุกขณะ แม้แต่กิจการงานที่เราทำอยู่ให้จิตมันทรงอยู่ในอารมณ์ของความดีอยู่ในขั้นอุปจารหรือปฐมฌาน วันทั้งวันอย่างนี้ความเป็นพระอรหันต์มันไม่ใช่จะเป็นของยาก ถ้าภายหลังจะบอกว่าง่ายเหลือเกิน เวลาจิตจะคลายจากสมาธิก็จับวิปัสสนาญาณตามที่ศึกษามาแล้ว

    เราศึกษามาจนท่วมหัวแล้ว ไม่ใช่แค่พอดี ถ้าจิตมันฟุ้งซ่านอีกที ทิ้งวิปัสสนามาจับอารมณ์สมาธิสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความดีมันก็จะปรากฏ
    คำว่า “ทุกข์” ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนท่านผู้เฒ่า มันเป็นของไม่ยากสำหรับเราจะเอาดี แต่ว่าน่าสลดใจอยู่นิดนะ บางทีเดินไปเดินมา เห็นพระบางทานเก็บตัวมากเกินไปก็น่าสงสาร คำพยากรณ์ใดๆ จงอย่าคิดว่ามันจะได้ตามคำพยากรณ์นะ ถ้าไม่ปฏิบัติตนอย่างดีมันจะไม่ได้อะไรเลยเพราะเราหมกมุ่นเกินไป
    (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๖)
    สะพาน บุญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2013
  5. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ความคิดที่ก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านหรือรําคาญใจ หรือหงุดงิดนั้นก็มาจากอารมณ์ที่จิตยังไม่สงบได้ภายในเพราะจิตยังไม่มีที่พึง เพราะธรรมชาติของจิตต้องมีที่เกาะที่พึงพอได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนของจิตนั้นๆ ถ้าไม่มีที่พักก็ไม่ต่างจากท้องฟ้าที่ไม่มีเขตแดน...จิตก็จะได้แต่แหวกว่ายไปไม่มีที่สิ้นสุด นั้นก็คือ ความคิดปรุงและความอยากต่างๆนาๆและคนส่วนใหญ่แล้ว ถ้ายังไม่ได้เข้ามาปฏิบัติธรรมจิตจะเกิดความคิดอย่างนี้เรื่อยไป...และยังให้เกิดความวุ่นวายต่อตนเองและผู้อื่น เพราะจิตใจยังไม่มีที่เกาะที่พึงนั้นเอง...ผู้ปฏิบัติธรรมจึงเป็นผู้มีที่เกาะที่พึง เพราะธรรมมีแต่ทําให้คนผู้เดินตามมีความอบอุ่นใจและเป็นที่ฝากเป็นฝากตายได้ด้วยจนถึงความหลุดพ้น...ไปได้ แต่จะได้อย่างนี้ก็ต้องลงแรงลงใจกระทําให้เกิดขึ้นเพราะของดีไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เช่น เราจะหาเพชร-พลอยนั้นแหละเราก็ต้องไปขุดเอามาจากดินก็ต้องมีเครื่องมือขุด ถ้าเครื่องมือไม่ดีก็ขุดไม่ได้...เพราะมันขุดไม่ถึงก็ไม่ได้ของดีนั้นเอง...ก็เหมือนกันกับการปฏิบัติธรรมผู้จะทําให้ถึงก็ต้องมีฐานอันมั่งคง คือ"ศีล สมาธิ ปัญญา" พร้อมก็จะทําได้และกําลังใจพร้อมจึงขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเทอญ สาธุค่ะ
     
  6. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เล่าสู่กันฟัง ด้วยความห่วงใย
    หลังเล่นน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณ สรงน้ำพระ ตักบาตรทำบุญกันแล้ว
    ทำดี ทำบุญภายนอกกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็อย่าทำบุญภายในกันบ้าง
    บุญภายในถือว่าเป็นบุญใหญ่ คือบุญที่ได้จากการเจริญกรรมฐาน(ปฎิบัติธรรม)
    แต่ต้องรักษาศีลของเราให้ครบบริบูรณ์ก่อน ลงมือปฎิบัติฯ

    อย่าลืม! โดยเฉพาะวันเทศกาลมักจะมีผู้เสียชีวิตกันมาก ทำอะไรก็อย่าประมาท
    โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถต้องมีสติมาก เมาอย่าขับ ง่วงก็พักนอน ผู้ร่วมเดินช่วยดูแลกัน
    ปีนี้เรารอด แต่ปีหน้าไม่แน่ ความตายมันอยู่ใกล้เรานิดเดียวเอง มันไม่เลือกวันเวลา
    พวกที่รอดปีนี้ ยังมีโอกาสทำดี รีบเร่งสร้างบุญกุศล สร้างบารมีตนให้มาก เพราะ
    โลกหลังความตาย เราคนเดียวเท่านั้นที่จักต้องไปแต่ผู้เดียว ถึงเราจะมีญาติพี่น้อง
    เพื่อนฝูงมากมายแค่ไหน แต่สุดท้ายพวกเขาไปส่งเราแค่ เมรุ หรือที่หลุมฝังศพเท่านั้น

    อย่าลืมที่พวกเราหายใจกันอยู่เพลินๆ แปลว่าทุกอย่าง ไม่มีอะไรแน่นอน
    เพราะความตายคือความแน่นอนที่สุด แต่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกัน
    ยามมีชีวิตดันไปหลงติดสุข ติดโลกมายา ตายไปก็ยังไปหลงโลกแห่งวิญญาณกันต่อ
    อยู่ก็ทุกข์ ไปก็ทุกข์อีก สำหรับผู้ที่ยังไม่ลงมือปฎิบัติธรรม
    เราเคยได้ยินคำนี้กันบ่อยๆว่า "เวลาของเราเหลือน้อยลงไปทุกทีแล้ว"
    เพราะลมหายใจคนเรามันไม่เที่ยง จะตายวันไหนก็ไม่รู้ เวลาอยู่ก็ไม่หัดทำดีกัน
    ไม่ให้เวลามันเหลือน้อยได้อย่างไร ดูสิแก่เข้าไปทุกวันๆ คนหนุ่มสาวก็เช่นกัน
    อาจจะตายก่อนคนแก่หนังเหี่ยวๆก็เป็นได้นะ อย่าประมาทก็แล้วกัน
    หวังว่าทุกคนเคยเห็น เคยไปร่วมงานศพกันมาบ้างแล้ว ใช่ไหม
    อย่าลืม! คนอื่นหรือเพื่อนๆ จะไปงานศพของเราบ้าง ก็ได้นะ

    เหมือนคนที่ขับรถเป็น ถ้าเราไม่ชนเขา หรือ เขาก็อาจจะมาชนเราก็เป็นได้
    ความตายก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่ไปงานศพเขา หรือ เขาก็อาจจะมางานศพเรา
    แหม๊! คนเรานี่นะ เวลานึกถึงความตายทีไร มีสติมากทุกทีเลย
    มิได้เขียนเสือให้วัวกลัวแต่อย่างใด ที่เขียนเนี๊ย คือเรื่องจริงๆ

    ด้วยความปรารถนาดี..จากใครไม่สำคัญ ขอให้ความสำคัญจิตตนเองมากๆ
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สติกับความสัมพันธ์มรรคมีองค์ ๘
    ถ้าใครนึกไม่ออกว่า สตินั้นมีความสำคัญมากสำหรับผู้ปฎิบัติธรรมอย่างไร
    ขอให้นึกถึงสารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีส่วนช่วยทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายเรา

    สติเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าสติน้อยเกินไป การปฎิบัติธรรมก็ไปไม่ถึงไหน ไม่เจริญในธรรมเท่าที่ควร
    เพราะเราเจริญสติไม่ต่อเนื่อง จิตก็ไม่นิ่ง เมื่อจิตไม่นิ่ง เราก็เข้าไม่ถึงกระแสจิตตนได้สักที

    ถ้าเราเจริญสติหรือสร้างสติไม่ต่อเนื่อง มีผลทำให้จิตก็ไม่นิ่ง
    เมื่อถ้าจิตเราไม่นิ่ง มีผลทำให้จิตเราไม่มีสมาธิ ฌานไม่เกิดสักที
    แต่ถ้าจิตเราไม่มีสมาธิหรือฌาน มีผลทำให้จิตเราขาดปัญญาไปด้วย
    เมื่อจิตเราขาดปัญญาเป็นของตนเองเสียแล้ว เราจะเอาอะไรไปวิปัสสนา
    หรือพิจารณาในธรรม ให้เรารู้ ให้เราเห็นถึงธรรมหรือเห็นความจริงนั้นไปได้
    เมื่อจิตเราขาดปัญญา แล้วจิตจะเอาอะไรไปปล่อยวางกับทุกสิ่งต่างๆได้
    เพราะการปล่อยวางนั้น จิตเราจะต้องใช้หรือปล่อยวางด้วยปัญญญา เท่านั้น

    สำหรับกิเลสหรืออัตตามานะละเอียดยิ๊บๆ เราต้องอาศัยปัญญามากสักนิด
    นั่นก็คือ ปัญญาญาณหรือว่าญาณกันเลยทีเดียว อันนี้สำหรับผู้ที่หวังนิพพาน
    แต่ถ้าจะปฎิบัติเพื่อออกจากทุกข์ของตนเอง เอาแค่ปัญญาธรรมดาก็พอ

    สรุปแล้ว
    สติมักจะเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับศีล สมาธิ ปัญญาอย่างนี้
    ทำไมศีลจึงมีความสำคัญในเชิงปฎิบัติ ถ้าเราจะเอาแต่ภาวนาหรือเอาแต่บุญภายในอย่างเดียว
    แต่ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับศีลตน มองข้ามศีลตน เห็นเรื่องศีลตนเป็นเรื่องเล็กน้อย
    อานิสงส์ที่ไม่สนใจเรื่องศีลตนเอง ก็คือการปฎิบัติจะไม่ไปถึงไหน ไม่เจริญในธรรมเท่าที่ควร
    ในการปฎิบัติมักมีนิวรณ์มารบกวนจิตใจ สุดท้ายเราไม่สามารถทำจิตใจตนให้นิ่งสงบได้
    เพราะฉะนั้น จึงยากแท้ที่จะปฎิบัติให้ถึงแก่นธรรม หรือยากที่จะได้ดวงตาเห็นธรรมกัน
    (แก่นธรรม หมายถึงจิตของผู้ปฎิบัติธรรม)


    ถึงบ้านจะสวยหรือแพงแค่ไหน แต่ถ้าพื้นหรือรากฐานโครงสร้างไม่แข็งแรง
    ก็อาจจะพังลงได้ง่ายๆ แต่เป็นการปฎิบัติ นั่นก็หมายถึงศีลและสติของผู้ปฎิบัติเอง

    ปล.สำหรับผู้ที่รู้แล้ว ก็ให้มองข้ามไปนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 เมษายน 2013
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระคุณแม่

    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมุโม)

    ...วันเกิดเราก็คล้ายวันตายแม่...

    อุ้มท้องแก่กว่าจะคลอดรอดหลุดพ้น

    จากเด็กน้อยจนเติบใหญ่ได้เป็นคน เติบใตจนถึงวันนี้เพราะมีใคร

    ...แม่เจ็บจวนขาดใจในวันนั้น...กลับเป็นวันลูกฉลองกันผ่องใส...

    ได้ชีวิตแล้วก็หลงเหลิงระเริงใจ...ลืมผู้ให้ชีวิตอนิจจา

    ...ทำไมเราเข้าใจว่าเป็นวันเกิด...เปลี่ยนเป็นวันผู้ให้กำเนิดจะดีกว่า

    สิ่งอวยพรที่สลอนหน้ากันมา...ควรจะมอบให้มารดาผู้มีคุณ

    ...เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดเรา...ดีที่สุดควรคุกเข่ากราบเท้าแม่

    รำลึกถึงผู้มีคุณอบอุ่นแด...อย่ามัวแต่จัดงานประจานตน...

    ...กราบหลวงปู่จรัญด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะสาธุ สาธุ สาธุ...
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อรรถกถานันทโกวาทสูตร
    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรคนันทโกวาทสูตร
    ๔. อรรถกถานันทโกวาทสูตรนันทโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    ในสูตรนั้น คำว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับการขอร้องจากพระมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ทรงส่งภิกษุณีสงฆ์ไปแล้วรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เข้าประชุม ทรงกระทำภาระแก่สงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระจงเปลี่ยนเวรกันสอนพวกภิกษุณี พระอานนท์กล่าวหมายเอาความข้อนั้น จึงกล่าวคำนี้.
    ในสูตรนั้น คำว่า ปริยาเยน หมายถึง โดยวาระ.
    คำว่า ไม่ปรารถนา คือ เมื่อถึงเวรของตนแล้ว ผู้สอนภิกษุณีจะไปบ้านไกล หรือเอาเข็มมาเย็บผ้าเป็นต้น แล้วสั่งให้พูดแทนว่า นี้คงจะเป็นความล่าช้าของภิกษุนั้น แต่การเปลี่ยนเวรกันสอนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำภาระ เพราะเหตุแห่งพระนันทกเถระเท่านั้น.
    เพราะเหตุไร เพราะเมื่อพวกภิกษุณีเหล่านี้ได้เห็นพระเถระแล้ว จิตก็จะเลื่อมใสแน่วแน่. เพราะเหตุนั้น พวกนางภิกษุณีเหล่านั้นจึงอยากรับคำสอนของท่าน ประสงค์จะฟังธรรมกถา ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำโอวาทโดยวาระว่า เมื่อถึงเวรของตนแล้ว นันทกะจะแสดงโอวาทจะกล่าวธรรมกถา ฝ่ายพระเถระไม่ยอมทำเวรของตน.
    หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร
    ก็ตอบว่า นัยว่าภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อพระเถระเสวยราชสมบัติในชมพูทวีปเมื่อชาติก่อน เป็นนางสนม. พระเถระได้ทราบเหตุการณ์นั้นด้วยบุพเพนิวาสญาณ จึงคิดว่า ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณ เมื่อได้เห็นเรานั่งกลางภิกษุณีสงฆ์นี้ชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุการณ์ ต่างๆ มากล่าวธรรมอยู่ ก็จะพึงมองเหตุการณ์นี้แล้วสำคัญคำที่จะพึงกล่าวว่า ท่านนันทกะไม่ยอมทิ้งพวกนางสนมจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านนันทกะที่มีนางสนมห้อมล้อมนี้ ช่างงามแท้. เมื่อพิจารณาเห็นความข้อนี้ พระเถระจึงไม่ยอมทำเวรของตน.
    และเล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนาของพระเถระเท่านั้น จึงจะเป็นที่สบายแก่ภิกษุณีเหล่านี้ จึงรับสั่งเรียกพระนันทกะมาในครั้งนั้นแล. เพื่อรู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้นเมื่อชาติก่อนเป็นนางสนมของพระเถระมา จึงมีเรื่องดังต่อไปนี้.
    มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งก่อน ที่กรุงพาราณสีมีพวกทำงานด้วยลำแข้งอยู่ ๑,๐๐๐ คน คือ ทาส ๕๐๐ คน ทาสี ๕๐๐ คน ทำงานด้วยกัน พักอยู่ในที่เดียวกัน. พระนันทกเถระนี้เป็นหัวหน้าทาสในเวลานั้น พระโคตมีเป็นหัวหน้าทาสี นางเป็นภรรยาที่ฉลาดสามารถของหัวหน้าทาส. แม้พวกทำงานด้วยลำแข้งทั้ง ๑,๐๐๐ คน เมื่อจะทำบุญกรรม ก็ทำด้วยกัน. ต่อมาเวลาเข้าพรรษา มีพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ จากเงื้อมเขานันทมูลกะมาลงที่อิสิปตนะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงแล้วก็ไปสู่อิสิปตนะนั่นแหละ คิดว่า พวกเราจะขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์แก่กุฏิอยู่จำพรรษา ห่มจีวรเข้าไปสู่กรุงในตอนเย็น ยืนที่ประตูเรือนเศรษฐี. นางหัวหน้าทาสี กระเดียดหม้อน้ำไปท่าน้ำได้เห็นพวกพระปัจเจกพุทธเจ้าที่กำลังเข้าสู่กรุง. เศรษฐีได้ฟังเหตุการณ์ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมา ก็พูดว่า พวกเราไม่มีเวลาว่างนิมนต์ไปเถอะ.
    ครั้งนั้น นางหัวหน้าทาสี กำลังทูนหม้อน้ำเข้าไปก็เห็นพวกพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า นั้นกำลังออกมาจากกรุง จึงยกหม้อน้ำลงน้อมไหว้ ปิดหน้าแล้วทูลถามว่า พวกพระผู้เป็นเจ้าสักว่าเข้าสู่กรุงแล้วก็ออกมา อะไรกันหนอ.
    ปัจ. พวกอาตมา มาเพื่อขอหัตถกรรมแห่งกุฏิจำพรรษา.
    ทา. ได้หรือเปล่า เจ้าคะ.
    ปัจ. ไม่ได้หรอก อุบาสิกา.
    ทา. ก็แหละกุฏินั้น พวกคนใหญ่คนโตเท่านั้นจึงจะทำได้ หรือแม้แต่พวกคนยากจนก็ทำได้.
    ปัจ. ใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจทำได้.
    ทา. ดีล่ะ เจ้าค่ะ พวกดิฉันจะทำถวาย พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของดิฉันนะคะ นิมนต์ไว้แล้วก็เอาน้ำไป แล้วกระเดียดหม้อน้ำมายืนที่ทางท่าน้ำอีก พูดกับพวกทาสีที่เหลือซึ่งพากันมาแล้วว่า พวกเธอจงอยู่นี้แหละ ในเวลาที่ทุกคนมาแล้วก็พูดว่า แม่ นี่พวกเธอจะทำงานเป็นขี้ข้าคนอื่นตลอดไปหรือ หรืออยากจะพ้นจากความเป็นขี้ข้า. พวกทาสีตอบว่า อยากจะพ้นในวันนี้แหละ แม่เจ้า. นางจึงว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พรุ่งนี้ฉันได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์ที่ ไม่ได้หัตถกรรมมาฉัน ขอให้พวกเธอจงให้พวกสามีของพวกเธอให้หัตถกรรมสักวันเถิด. พวกนางเหล่านั้นก็รับว่า ได้ แล้วก็บอกแก่สามีในเวลาที่มาจากดงในตอนเย็น.
    พวกเขาก็รับว่า ตกลง แล้วก็พากันไปประชุมที่ประตูเรือนของพวกหัวหน้าทาส. ลำดับนั้น นางหัวหน้าทาสีกล่าวกะพวกเขาเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้ขอให้พวกคุณจงให้หัตถกรรมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเถิดนะคะ แล้วก็บอกอานิสงส์ ขู่แล้ว ปกป้องพวกที่ไม่อยากทำด้วยโอวาทที่หนักแน่น.
    วันรุ่งขึ้น นางได้ถวายอาหารแด่พวกพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ให้สัญญาณแก่พวกลูกทาสทุกคน. ทันใดนั้น พวกลูกทาสเหล่านั้นก็เข้าป่า รวบรวมเครื่องเคราร้อยก็ทั้งร้อย สร้างกุฏิกันแต่ละหลังๆ มีบริวารคือที่จงกรมเป็นต้นหลังละแห่งๆ วางเตียง ตั่ง น้ำดื่มและภาชนะสำหรับใส่ของที่ต้องฉันเป็นต้นไว้ ขอให้พวกพระปัจเจกพุทธเจ้าทำ ปฏิญญาเพื่อประโยชน์อยู่ในกุฏินั้นตลอดสามเดือน แล้วตั้งเวรถวายอาหารกัน. ในวันเวรตน ใครไม่สามารถ นางหัวหน้าทาสีก็ขนเอาจากเรือนตนเองมาถวายแทนผู้นั้น.
    เมื่อนางหัวหน้าทาสีปรนนิบัติตลอดสามเดือนอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ให้ทาสแต่ละคนสละผ้ากันคนละผืน ได้ผ้าเนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน ให้พลิกแพลงผ้าเหล่านั้น ทำเป็นไตรจีวรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง หลายก็หลีกไปตามสำราญ. แม้คนผู้ทำงานด้วยลำแข้งทั้งพันคนนั้นได้ทำกุศลมาด้วยกัน ตายแล้วก็เกิดในเทวโลก. แม่บ้านทั้ง ๕๐๐ คนนั้น บางทีก็เป็นภรรยาของชายทั้ง ๕๐๐ คนนั้น. บางทีแม้ทั้งหมดก็เป็นภรรยาของลูกทาสผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น.
    ต่อมา ในกาลครั้งหนึ่ง ลูกหัวหน้าทาสเคลื่อนจากเทวโลกมาบังเกิดในราชตระกูล. ถึงเทวกัญญาทั้ง ๕๐๐ นั้นก็มาเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก เมื่อเจ้าชายนั้นได้เสวยราชย์ก็ไปสู่พระราชวัง เป็นนางสนม. เมื่อพวกนางท่องเที่ยวอยู่โดยทำนองนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็มาเกิดในตระกูลกษัตริย์ในโกลิยนครบ้าง ในเทวทหนครบ้าง.
    แม้พระนันทกะเล่า เมื่อบวชแล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ลูกสาวหัวหน้าทาสี เจริญวัยแล้ว ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ถึงหญิงนอกนี้ก็ไปสู่วัง (คือเป็นพระชายา) ของราชบุตรเหล่านั้น. เจ้าชาย ๕๐๐ องค์ ซึ่งเป็นพระสวามีของพวกพระนางเหล่านั้น ได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ในเพราะการทะเลาะกันเกี่ยวกับแย่งน้ำ แล้วก็ทรงผนวช. พวกเจ้าหญิงก็ทรงส่งพระสาส์น เพื่อให้พวกเจ้าชายเหล่านั้นกระสัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาพวกท่านผู้กระสันเหล่านั้นไปสระดุเหว่าแล้ว ทรงให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันประชุมใหญ่ก็ทรงให้ตั้งอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. แม้เจ้าหญิงทั้ง ๕๐๐ องค์นั้นเล่า ก็พากันออกไปบวชในสำนักพระมหาประชาบดี.
    พึงแสดงเรื่องนี้อย่างนี้ว่า หัวหน้าทาสนี้คือ ท่านพระนันทกะ นางทาสีเหล่านี้แหละ คือภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้.
    คำว่า ราชการาโม ได้แก่ วัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างไว้ในสถานที่คล้ายถูปาราม ที่ส่วนทิศใต้ของพระนคร.
    คำว่า สมฺมปฺปญฺญาย สุทิฏฺฐํ คือที่เห็นตามเหตุ ตามการณ์ ด้วยวิปัสสนาปัญญา คือตามความเป็นจริง.
    คำว่า ตชฺชํ ตชฺชํ คือ มีปัจจัยนั้นเป็นตัวแท้ มีปัจจัยนั้นเป็นสภาพ. มีคำที่อธิบายว่า ก็แล เวทนานั้นๆ เพราะอาศัยปัจจัยนั้นๆ จึงเกิดขึ้น.
    คำว่า ปเควสฺส ฉายา ความว่า ความที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยรากเป็นต้นก็ไม่เที่ยง ตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว.
    คำว่า อนุปหจฺจ คือไม่เข้าไปประหาร บุคคลทำเนื้อให้เห็นก้อนๆ แล้วปล่อยให้หนังห้อยย้อยมา ชื่อว่าย่อมเข้าไปกำจัดกายคือเนื้อ ในคำว่า ไม่เข้าไปกำจัดนั้น บุคคลทำให้หนังติดกันเป็นพืด แล้วปล่อยให้เนื้อทั้งหลายห้อยย้อยมาชื่อว่าย่อมเข้าไปกำจัดกายคือหนัง ไม่ทำอย่างนั้น.
    คำว่า วิลิมํสมหารุ พนฺธนํ ได้แก่ เนื้อที่พอกที่ติดที่หนังทั้งหมดนั่นเอง. ท่านกล่าวหมายเอากิเลสในระหว่างทุกอย่างนั่นแหละว่า มีเครื่องผูกคือกิเลสสังโยชน์ในระหว่างดังนี้.
    ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็เจ็ดอย่างเหล่านี้แล.
    ตอบว่า เพราะปัญญาใดที่ท่านว่า ปัญญานี้ย่อมตัดกิเลสทั้งหลายได้ ปัญญานั้นลำพังอย่างเดียวแท้ๆ ไม่อาจตัดได้โดยธรรมดาของตน.
    ก็เหมือนอย่างว่า ขวานโดยธรรมดาของตนแล้วจะตัดสิ่งที่ต้องตัดให้ขาดไม่ได้ ต่อเมื่ออาศัยความพยายามที่เกิดจากตนนั้นของบุรุษแล้ว จึงจะตัดได้ฉันใด เว้นจากโพชฌงค์อีก ๖ ข้อแล้ว ปัญญาก็ไม่สามารถจะตัดกิเลสทั้งหลายได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
    คำว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า เธอแสดงอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ กองวิญญาณ ๖ การเทียบประทีป เทียบต้นไม้และเทียบโค แล้วจบเทศนาลงด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยโพชฌงค์ ๗ อย่าง เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้พรุ่งนี้ เธอก็พึงสั่งสอนพวกภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้นแล.
    คำว่า สา โสตาปนฺนา ความว่า ภิกษุณีที่ต่ำกว่าเขาหมดทางคุณ ธรรมก็เป็นโสดาบัน. ที่เหลือก็เป็นสกทาคามินี อนาคามินีและขีณาสพ.
    ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น จะมีความดำริบริบูรณ์ได้อย่างไร.
    ตอบว่า จะมีความดำริบริบูรณ์ได้ด้วยความบริบูรณ์แห่งอัธยาศัย.
    จริงอยู่ ภิกษุณีรูปใดมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอแล เรากำลังฟังธรรมเทศนาของพระคุณเจ้านันทกะ พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลในอาสนะนั่นแล. ภิกษุณีนั้นก็ได้ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล. ภิกษุณีรูปใดมีความคิดว่า สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นางภิกษุณีรูปนั้นก็ทำความเป็นพระอรหันต์ให้แจ่มแจ้ง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ชื่นใจและมีความดำริที่บริบูรณ์แล้วแล.


    อรรถกถานันทโกวาทสูตร - พระปัจเจกพุทธเจ้า - แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" - Powered by Discuz!
    ******************************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2013
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ลูกพลัง;

    ********************************
    ขอบพระคุณท่านลูกพลังค่ะ สําหรับเพลงปลุกใจ แถมมีFashion ของผมให้ดู ทําให้เกิดIdea จะไปทําแบบนั้นเลยค่ะ;aa24
     
  12. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การประกอบความเพียรขั้นแรกต้องมี สติติดแนบกับตัว ขั้นที่สองต้องมีปัญญา เพราะในจิตทั้งดวงได้ถูกกิเลสห่อหุ้มไว้ทั้งดวงแม้ แต่ร่างกายก็ถูกมันคุ้มไว้หมดแล้ว เพราะกิเลสเป็น"อัตตาโนมัติ"มันจึงมีความชํานิชํานาญมากเพราะมันได้ครองหัวใจเรามานาน...แต่เรื่องของธรรมนั้นเราต้องมีเจตนาหรือฝืนถึงจะไปได้แล้วต้องมีสติคุ้มไว้เราต้องคอยดูความปรุงแต่งที่อยู่ภายใน เพราะมันเป็นเจ้าสร้างเรื่อง จอมหาเรื่องเราต้องระมัดระวังเรื่องราวต่างๆ ที่มันก่อขึ้นมารบกวนเรา...ความอยากคิดอยากปรุงพาให้ติดพันธุ์เรื่องนั้นๆที่เป็นอคีดอนาตค เพราะกิเลสสร้างขึ้น ถ้ากิเลสหมดสิ้นแล้วความปรุงแต่งจะมาจากไหน...เพราะจิตสงบความปรุงก็ไม่เกิดเพราะไม่มีอะไรจะเสียดายเพราะมันมีแต่ความรู้ล้วนๆเพราะไม่มีอะไรผลักดันอยู่ภายใน... ก็เปรียบเหมือนบ้านร้างแต่มีคนอยู่ ก็มีแต่ขันธ์ล้วนๆและมีแต่ความรู้อยู่ภายใน แต่สิ่งที่จะมาก่อกวนได้ตายไปหมดแล้ว...แต่ถ้ากิเลสยังไม่หมดก็เหมือนบ้านที่เต็มไปด้วยสุรายาเมานั้นเอง...เพราะฉะนั้นกริยาที่แสดงออกในท่าต่างๆจึงเป็นไปด้วยกิเลสเสียส่วนใหญ่เอาไปกินจึงต้องมาปฏิบัติเพื่อรู้ทันกิเลสคือ"ของปลอมที่จิตปรุงขึ้น"เราผู้ปฏิบัติต้องมีสติและปัญญานั้นแหละเราก็จะไปได้...
    ที่มาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  13. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    โอวาทธรรม พระธรรมสิงหบุราจารย์

    .เช้า แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

    .ก่อนนอน แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

    .ตื่น ก็เป็นสุข หลับ ก็เป็นสุข

    .อย่าไปเกลียดใคร อย่าไปผูกพยาบาทใคร

    .จำไว้เลยว่า แผ่เมตตาอย่างเดียว...กลับร้ายกลายดี...

    พระธรรมคำสอนของหลวงพ่อจรัญ ลูกขอน้อมกราบหลวงพ่อด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะสาธ...
     
  14. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    เราเห็นธรรมะ...แต่ไม่รู้จักธรรมะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า มีอยู่ที่ตัวเราเอง

    ...ได้แก่ รูป -นาม และธรรมะมีอยุ่ที่อายตนะ

    ...มีอยู่ที่อินทรีย์ มีอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่แหละ...

    ...พระพุทธองค์ทรงแสดงอินทรีย์ทั้ง ๖ ว่า...

    เห็นก็สักแต่ว่าเห็น...ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น

    ...ได้รสก็สักแต่ได้รส ถูกก็สักแต่ว่าถูก คิดก็สักแต่ว่าคิด...

    ...เพียงเท่านี้ก็ทำให้เกิดปัญญา...กิเลสดับลงหมด...

    เพราะฉะนั้น ธรรมะจึงอยู่กับตัวเรานี่แหละ...เราจะไปหา ไปค้นที่ไหน

    ...ก็ขอให้แสวงหาในตัวของเรานี้...จึงจะพบธรรมะ...

    พระธรรมคำสอนของหลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

    ...กราบน้อมรับพระคำสอนของหลวงปู่ และน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ.
     
  15. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...ชีวิตเพียงวันเดียว...

    ...ของผู้ที่มีปัญญาเพ่งพินิจ...

    ...จิตตน กายตน ประเสริฐกว่า...

    ...ผู้ที่ทรามปัญญา...

    ...มีจิตไม่มั่นคง...

    ...ถึงจะมีชีวิตอยู่ ตั้งร้อยปี...

    ...ก็หาประเสริฐกว่าไม่...

    พระธรรมคำสั่งสอนของหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค

    ...กราบหลวงพ่อปานด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะสาธุ สาธุ สาธุ...
     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ทุกข์​
    ทุกข์ แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก
    เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา หมายถึง สังขารธรรม
    อันได้แก่ ขันธ์ 5 คือสังขารทั้งปวงล้วนเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
    ทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องกำหนดรู้เพื่อละและปล่อยวาง
    ได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์(สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ)
    และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส

    ทุกขอริยสัจ ซึ่งพระพุทธองค์ได้อธิบายไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้
    1.ชาติ หมายถึง ความเกิด
    2.ชรา หมายถึง ความแก่
    3.มรณะ หมายถึง ความตาย
    4.โสกะ หมายถึง ความแห้งใจ
    5.ปริเทวะ หมายถึง ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน
    6.ทุกข์ (กาย) หมายถึง ความลำบากทางกาย
    7.โทมนัส หมายถึง ความทุกข์ทางจิต
    8.อุปายาส หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น
    9.ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก หมายถึง ความประสบ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ
    10.ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม
    11.ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

    สรุปว่าอุปาทานขันธ์ 5 ทั้งหมดนั่นเองที่เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัยที่สุด​

     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มีพระอริยเจ้าที่บรรลุอรหันตผล
    อรหันตมรรคหลายองค์

    ในพระพุทธศาสนา มองเห็นธรรมอันประเสริฐแล้วก็ตาม
    แต่ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถทิ้งอาการเดิมของตนแต่หนหลังได้
    ผู้ที่จะสามารถละทิ้งอาการทางกายได้ทุกอย่างและขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ที่สำรวมที่สุด
    ก็มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้น


    บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วพระอริยเจ้าจะต่างจากปุถุชนได้อย่างไร

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสเกี่ยวกับลักษณะของปุถุชนกับพระอริยเจ้าว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน (คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส) ผู้มิได้สดับ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง อริยสาวก (ศิษย์ของพระอริยะ) ผู้ได้สดับ ก็เสวยเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกันในบุคคลเหล่านั้น ? อะไรเป็นเครื่องทำให้อริยสาวกผู้ได้สดับต่างจากบุถุชนผู้มิได้สดับ ?"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ย่อมตีอกพิไรรำพัน ย่อมมืดมน ย่อมเสวยเวทนา ๒ ทาง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ."

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกพิไรรำพัน ย่อมไม่มืดมน ย่อมเสวยเวทนาเพียงทางเดียว คือ ทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต"

    (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๕๗)

     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    สาธุ ๆ ๆ ในธรรมทาน อ.ใหญ่ภูค่ะ..
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ({)นิพพานคือสุขที่แท้..
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เรียนรู้ดูขันธ์
    (อ.สุรวัฒน์ฯ)


    ทุกข์มี 3 อย่าง
    ร่ำเรียนมาได้ความว่า … “ทุกข์” มีสามอย่าง
    (ไม่ทราบว่าจะมีมากกว่านี้หรือเ​ปล่า)
    อย่างแรก “ทุกขเวทนา” ทุกข์ทางกายทางใจ
    ทุกขเวทนาทางกาย เช่นกายมีความเจ็บ ปวด เมื่อย
    ทุกขเวทนาทางใจ เช่นใจมีความเศร้าโศก เสียใจ ฯลฯ
    ทุกขเวทนาแบบนี้แม้คนที่ไม่ภาวน​าก็เห็นได้เหมือนๆกัน
    อย่างที่สองคือ “ทุกขัง” เป็นทุกข์
    เป็นลักษณะของความถูกบีบคั้นให้​ทนอยู่ไม่ได้
    ทุกข์แบบนี้จะเห็นได้ต้องหัดเจร​ิญปัญญาเท่านั้น
    ถ้าเห็นความเป็นทุกข์นี้ได้ก็จะ​เกิดปัญญา (เห็นไตรลักษณ์)
    ปล่อยวางความยึดถือกายได้ ปล่อยวางความยึดถือจิตได้
    อย่างที่สามคือ “ทุกขสัจ” หรือ “ทุกขอริยสัจ”
    คือทุกข์ที่เป็นชาติ ชรา มรณะ
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ (ทุกขเวทนา) โทมนัส อุปายาส
    ความไม่ประจวบกับสิ่งที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
    ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้
    สรุปโดยรวมหรือโดยย่อคือ อุปาทานขันธ์
    อุปาทานขันธ์นี้ เรียกง่ายๆ ก็คือกายกับจิตนี่เองที่เป็นตัว​ทุกข์
    เป็นที่ตั้งของอุปาทาน (เป็นที่ตั้งความยึดมั่นถือมั่น​)

    ชาวพุทธจะมีเป้าหมายอยู่ที่ ความพ้นทุกข์
    ซึ่งจะพ้นทุกข์ได้ ก็ต้องหัดรู้หัดดูทุกข์ให้ถูกให​้เป็นกันก่อน
    การหัดรู้หัดดูทุกข์เพื่อให้พ้น​ทุกข์ ก็คือ
    ให้หัดรู้หัดดูกาย เวทนา จิต ดูธรรม (ที่เป็นสติปัฏฐานสี่)
    ตามที่จะเห็นอะไรได้ชัดในขณะปัจ​จุบัน
    การหัดรู้หัดดูกาย เวทนา จิต ธรรม
    ไปตามที่จะเห็นได้ชัดในขณะปัจจุ​บันนี่แหละ
    คือการ หัดรู้ทุกขอริยสัจ เมื่อรู้จนเกิดปัญญา
    เห็นแจ้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้
    เห็นขันธ์เป็นตัวทุกข์ได้
    ก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น​ในขันธ์ห้าลงได้​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...