แจกพระเหรียญเป็นพุทธานุสติโอกาสวันวิสาขบูชา.(ลงชื่อแล้วส่งซองมารับได้เลย)

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย phraedhammajak, 23 พฤษภาคม 2013.

  1. keey8

    keey8 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +511
    สมาพล ทรัพย์อนันต์ ลำดับที่17
    ขอรับเหรียญที่ 14 พระหลวงพ่อเย็ค วัดใหญ่ท่าเสาอ.เมือง จ.อุตรดิตค์ 2512
    เพราะศัทธาในตัวหลวงพ่อที่มีความซื่อสัตย์ครับ
    วัดใหญ่ท่าเสา อยู่ที่ตำบลท่าเสา อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองอุตรดิตถ์ โดยเดินทางไปตามถนนสำราญรื่น แล้วเลี้ยว ซ้ายเข้าซอย 10 เดินทางเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดครับ วัดนี้มีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก 2 บาน ตลอดจนลายไม้ที่วิหารด้านหน้าด้วยครับ เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา ได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2423 สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเขตที่ดินโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 87 ง ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา ศาสนสถานและโบราณสถานภายในวัดมีอุโบสถ หอไตร ศาลาการเปรียญ และวิหารหลวงพ่อเย็ก ดังนี้

    1. อุโบสถ มีลักษณะเด่นที่รูปทรง ประตูเข้าอุโบสถเป็นประตูไม้แกะสลัก 2 บาน มีลวดลายไม้ฉลุที่หน้าบันอุโบสถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เชิงหวาย ช่อฟ้าและใบระกาหางหงส์ เป็นอาคารชั้นเดียวกว้าง 8.80 เมตร ยาว 14 เมตร หน้าต่างด้านละ 3 ช่อง มีลักษณะเด่นที่หน้ามุข เป็นมุขทะลุขื่อ ซึ่งเป็นแบบอย่างทั่ว ๆ ไปตามศิลปะสมัยอยุธยา ลวดลายแกะสลัก หน้าบัน เชิงชายน้ำ บานประตูมีรอบแกะสลักลึก ลีลาอ่อนช้อย และสวยงามตามฝีมือช่างโบราณ เพดานอุโบสถไม่มีการตีฝ้า ปล่อยโปร่ง ๆ มีการตกแต่งลวดลายตามขื่อ คาน และตง และฐานอุโบสถเป็นฐานปัด บัวคว่ำ บัวหงายจะมีลักษณะแอ่นเป็นเรือสำเภา ปัจจุบันอุโบสถได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง

    2. หอไตร เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลายไม้ฉลุที่หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาว 5.5 เมตร เสาล่างเป็นเสาอิฐฉาบปูน เสาบนเป็นเสาไม้เนื้อแข็งกลม สมัยก่อนใช้บรรจุพระไตรปิฎกคัมภีร์จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีการบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา และปัจจุบันได้บูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง โดยกรมศิลปากร

    3. ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาหน้ากว้าง 19.5 เมตร ยาว 26 เมตร เสาช่วงล่างหรือเตาม่อเป็นอิฐฉาบปูน ส่วนเสาบนเป็นเสาไม้เนื้อแข็งกลม ได้บูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง แต่ก็คงยังรักษารูปใกล้เคียงอันเดิมไว้มาก อุโบสถ หอไตร และศาลาการเปรียญ มีการสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกัน โดยสังเกตได้จากรูปไม้แกะสลัก และลวดลายต่าง ๆ

    4. วิหารหลวงพ่อเย็ก (พระครูสว่างคบุรี) เป็นวิหารขนาดเล็ก ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา ในวิหารมีพระพุทธรูปหลวงพ่อเย็กซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสมบัติของหลวงพ่อเย็ก แต่ไม่มีรูปจำลองหรือภาพในวิหาร และด้านในวิหารมีพระพุทธไชยพิชิตมารอยู่ด้วย พระพุทธรูปหลวงพ่อเย็กซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสมบัติของหลวงพ่อเย็กนั้น เป็นพระพุทธรูปทองเหลืองปางห้ามญาติ สูง .99 เมตร วัดรอบพระอุระ .59 เมตร (ส่วนพระพุทธรูปองค์เดิมนั้นเป็นไม้สักทองแกะสลักปางห้ามญาติ มีขนาดความสูงประมาณ 12 นิ้ว ซึ่งได้ถูกโจรกรรมไป และต่อมานางชิด เชยประทับ ได้ให้ช่างมาหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อขึ้นใหม่ และมีการก่อสร้างวิหารหลวงพ่อเย็กขึ้นด้วย เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็ถูกโจรกรรมไปอีก จึงได้หล่อขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง) หลวงพ่อเย็ก เป็นพระปฏิบัติสมถวิปัสสกรรมฐานและศีลลาจารวัตรที่งดงาม ซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่าหลวงพ่อเย็ก ซึ่งหลวงพ่อชอบเดินเขยก ๆ และสมัยนั้นหลวงพ่อยังทำหน้าที่ช่วยเหลือทางราชการในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีหน้าที่เก็บเงินภาษีอากรจากราษฎร แล้วนำส่งไปยังที่กรุงเทพ ฯ ด้วยตัวเองเป็นประจำทุกปี จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระครูชั้นพิเศษ มีราชทินนามว่า “พระครูสว่างคบุรี” มีหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์เทียบเท่ากับเจ้าเมืองในสมัยนั้น และได้รับพระราชทาน “เรือเก๋งสี่แจวกัลยาหลังคาแดง” แต่ปัจจุบันไม่ทราบเก็บไว้ที่ไหน หรือสูญหายไปแล้ว
    วิหารหลวงพ่อเย็กเป็นวิหารขนาดเล็ก ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา ในวิหารมีพระพุทธรูปหลวงพ่อเย็กซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสมบัติของหลวงพ่อเย็ก แต่ไม่มีรูปจำลองหรือภาพในวิหาร และด้านในวิหารมีพระพุทธไชยพิชิตมารอยู่ด้วย พระพุทธรูปหลวงพ่อเย็กซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสมบัติของหลวงพ่อเย็กนั้น เป็นพระพุทธรูปทองเหลืองปางห้ามญาติ สูง .99 เมตร วัดรอบพระอุระ .59 เมตร (ส่วนพระพุทธรูปองค์เดิมนั้นเป็นไม้สักทองแกะสลักปางห้ามญาติ มีขนาดความสูงประมาณ 12 นิ้ว ซึ่งได้ถูกโจรกรรมไป และต่อมานางชิด เชยประทับ ได้ให้ช่างมาหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อขึ้นใหม่ และมีการก่อสร้างวิหารหลวงพ่อเย็กขึ้นด้วย เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็ถูกโจรกรรมไปอีก จึงได้หล่อขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง) หลวงพ่อเย็ก เป็นพระปฏิบัติสมถวิปัสสกรรมฐานและศีลลาจารวัตรที่งดงาม ซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่าหลวงพ่อเย็ก ซึ่งหลวงพ่อชอบเดินเขยก ๆ และสมัยนั้นหลวงพ่อยังทำหน้าที่ช่วยเหลือทางราชการในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีหน้าที่เก็บเงินภาษีอากรจากราษฎร แล้วนำส่งไปยังที่กรุงเทพ ฯ ด้วยตัวเองเป็นประจำทุกปี จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระครูชั้นพิเศษ มีราชทินนามว่า “พระครูสว่างคบุรี” มีหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์เทียบเท่ากับเจ้าเมืองในสมัยนั้น และได้รับพระราชทาน “เรือเก๋งสี่แจวกัลยาหลังคาแดง” แต่ปัจจุบันไม่ทราบเก็บไว้ที่ไหน หรือสูญหายไปแล้ว

    วันวิสาขบูชา 24 พฤษภาคมนี้ จะไปทำบุญทำทานให้อาหารนกแล้วต้องไปทำงานต่อครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • h0712.jpg
      h0712.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      65
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  2. จิตจำนงค์

    จิตจำนงค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +198
    จิตจำนงค์
    เหตุผลคือ ชอบความงดงามเป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือ
    ขอจองลำดับที่ 18 " เหรียญหลวงพ่อสิม รุ่นสร้างอุโบสถ วัดม่อน ศรีบุญโยง ลำปาง ปี 17 "
    ประวัติวัดม่อนศรีบุญโยง
    วัดม่อนศรีบุญโยง ตั้งอยู่เลขที่ ๙๔ บ้านหัวแต หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๑ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕๑ วา ๑ ศอก จดลำเหมือง ทิศใต้ประมาณ ๖๗ วา ๓ ศอก จดที่ดินของโรงเรียน ทิศตะวันออกประมาณ ๒๔ วา ๓ ศอก จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๕๔ วา จดที่สวนเอกชน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎิ หอฉัน หอระฆัง และศาลาบาตร ปูชนียวัตถุ มี พระพุทธรูป ก่ออิฐถือปูน ศิลปะสุโขทัย เจดีย์และพระพุทธรูปองค์เล็ก
    วัดม่อนศรีบุญโยง สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๖ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม จำนวน ๑๗ รูป คือ พระปัญญา พระแท่น พระมา พระอิ่นแก้ว พระอ๊อด พระตุ่น พระนา พระสุคำ พระสุนทร พระอิ่นคำ พระติ๊บ พระเจริญ พระบุญมี พระปัญญา พระสุนทร พระสมบูรณ์ พระจันทร์ และปัจจุบัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพระครูโสภิตตวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตั้งใจจะใส่บาตรตอนเช้าแล้วเย็นเดินทางไปวัดป่าทางภาคเหนือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  3. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    สาธุอนุโมทามิ ผู้ที่ลงชื่อขอรับสามารถส่งซองมารับได้เลย ขอให้พระคุ้มครองเจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  4. noomit

    noomit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +63
    วิทยา พวงมาลี ลำดับที่ 18

    เหรียญที่ 33
    ครูบาศรีวิชัย

    ศรัทธาครูบาศรีวิชัย




    เหรียญครูบาศรีวิชัย หลังพระเจดีย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ จ.เชียงใหม่ ปี 2515 เนื้อทองแดง
    เหรียญครูบาศรีวิชัย หลังพระเจดีย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ จ.เชียงใหม่ ปี 2515 เนื้อทองแดง สวยๆ เหรียญนี้ได้รับการจัดสร้างโดยวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ปลุกเสกหมู่โดยเกจิภาคเหนือ ซึ่งส่วนมากก็คือลูกศิษย์ของท่าน พระรุ่นนี้เป็นหนึ่งในรุ่นยอดประสบการณ์ของทางภาคเหนือเลยก็ว่าได้... พระเครื่องและวัตถุมงคลชุดนี้ นับเป็นพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พิธีหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ เหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่นนี้ถือเป็นยอดวัตถุมงคลที่ผู้มีจิตเคารพศรัทธาในครูบาศรีวิชัยควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ โดยยอดคณาจารย์ในสมัยนั้นแล้ว ยังสร้างโดยวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยท่านได้สร้างและยังเป็นศูนย์รวมใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนชาวล้านนาอีกด้วย... ประวัติการสร้าง ปี พ.ศ. 2515 พิธีใหญ่ พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์จำลอง โดย คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2515 โดยเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเคารพนับถือ ทั่วแคว้นแดนสยาม ร่วมปลุกเสกถึง 108 องค์ อาทิ... 1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 2. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม 3. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง 4. หลวงพ่อเกษม เขมโก 5. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม 6. ครูบาคำแสน อินทจักรโก วัดสวนดอก 7. ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล 8. ครูบาชุ่ม โพธิโก 9. อาจารย์นำ แก้วจันทร์ และ อาจารย์ชุม ไชยคีรี (ฝ่ายฆราวาส) ฯลฯ... สมเด็จย่า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จเป็นประธาน พุทธคุณแคล้วคลาด มหาอุตถ์และคงกระพัน เป็นเยี่ยม.. นับเป็นพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ พระรุ่นนี้ ลูกศิษย์สายหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ตามหาเก็บกัน เพราะวัตถุมงคลที่ทันหลวงพ่อปลุกเสกฯ... พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่สร้างและปลุกเสกในพิธีเดียวกัน นอกจากเหรียญครูบาศรีวิชัยแล้ว ยังมีพระพิมพ์พระร่วงรางปืน พระกริ่งเชียงแสน , เหรียญพระพุทธสิหิงค์, เหรียญพระเจ้าเสตังคมณี วัดเชียงมั่น, เหรียญหลวงพ่อทันใจ, เหรียญเจ้าคุณพระราชสิทธาจารย์, เหรียญเจ้าคุณพระอภัยสารทะ วัดทุงยู... เหรียญครูบาศรีวิชัย หลังพระเจดีย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ปี 2515 พิธีใหญ่ จัดเป็นพระอนาคตอีกชุดหนึ่ง รอแค่เวลาบูมเท่านั้น พระชุดนี้หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ร่วมปลุกเสกครับ...


    ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
    และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k0767.jpg
      k0767.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.5 KB
      เปิดดู:
      44
    • n0768.jpg
      n0768.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6 KB
      เปิดดู:
      69
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  5. สิงโตหิน

    สิงโตหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    251
    ค่าพลัง:
    +209
    ศักดิ์เกษม แสงลิ้มสุวรรณ ลำดับที่ 19

    ขอรับเหรียญที่ 8 เหรียญพระพุทธประธาน งานปิดทองพระประธาน วัดสวนพลู 2497
    เหตุผล ที่ขอรับคุณแม่และครอบครัวผมทำบุญที่วัดนี้ประจำ เนื่องจากใกล้บ้าน

    ประวัติวัดนี้เท่าที่จำได้จากคำบอกเล่าของ ดร.พระมหาโสรัจจ์ เจ้าอาวาสวัดสวนพลู คือ เป็นวัดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างช่วงรัชกาลที่ 1 มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วประมาณ 8-10 องค์ ก่อนมาถึง ดร.พระมหาโสรัจจ์

    พระที่แจกนี้ น่าจะเป็นรุ่นที่สองของวัดสวนพูลที่สร้างอย่างเป็นทางการ
    ด้านหน้าจำลองรูปพระพุทธชินราช ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังใหญ่ ด้านขวามือ
    ด้านหลังเป็นยันต์ห้า ไม่แน่ใจเรียกถูกหรือไม่
    โดยมีตัวหนังสือ เขียนว่า งานปิดทองพระประธาน วัดสวนพูล พศ.๒๔๙๗
    สร้างโดยหลวงตาพัน เจ้าอาวาสรูปก่อน กับหลวงพ่อพี สหธรรมิกที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสวนพลู

    ปัจจุบันวัดนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ มาถ่ายรูป ทำบุญกันเยอะ
    เนื่องจากวัดอยู่ใกล้กับโรงแรมแชงกรีล่า บางรัก เดินประมาณ 50เมตรก็ถึง
    และเป็นวัดกลางเมืองจริงๆ มีโรงเรียนวัดสวนพลู ที่วัดให้การสนับสนุนอยู่
    อีกด้านก็ติดกับพื้นที่ของโบสถ์อัสสัมชัญ ฝั่งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา

    วันวิสาขบูชา ตั้งใจไปถวายสังฆทานอุทิศส่วนบุญและส่วนกุศลให้กับบิดาและมารดา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 60696.jpg
      60696.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.6 KB
      เปิดดู:
      95
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2013
  6. cengridae

    cengridae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +62
    อานนท์ กิตติลักคณาตระกูล ลำดับที่ 20
    ขอรับเหรียญที่35 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่

    ประวัติท่าน

    หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ

    ๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

    ๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส

    ๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

    มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า...

    เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป

    และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย

    "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"

    การศึกษา

    เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย

    อุปสมบท

    หลวงพ่อคูณอุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ

    หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง)

    หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า...

    " เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา"

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

    ๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง

    ๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด...

    หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ

    หลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ และได้อบรมสั่งสอนให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพราง โดยการให้การศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน น้นเรื่องการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ "หลง" ท่านให้พิจารณาว่า...

    "อนิจจัง ไม่เที่ยง

    ทุกขัง เป็นความทุกข์

    อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเราและของเขา”

    และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา 5 ประการ คือ

    พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้

    พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้

    พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้

    พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้

    พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว"

    ส่วนพระกัมฏฐานนั้น หลวงพ่อคงได้สอนให้ใช้หมวดอนุสติ โดยดึงเอาวิธีกำหนด “ความตาย” เป็นอารมณ์ เรียกว่า “มรณัสสติ” เพื่อให้ เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า “อานาปานสติ”

    เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง

    สู่มาตุภูมิ

    หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.๒๔๙๖ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูง บนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้นเป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ เมื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน

    แต่กระนั้นหลวงพ่อก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น

    นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น หลวงพ่อยังได้สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนบริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ

    สร้างวัตถุมงคล

    หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓

    “ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ

    “กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม….”

    “ถ้ามีใจอยู่กับ 'พุทโธ' ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง… ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก”

    การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กีบท

    หัวใจพระคาถามีว่า

    มะ อะ อุ

    นะ มะ พะ ธะ

    นะ โม พุท ธา ยะ

    พุทโธ และยานะ

    แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา

    เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง (สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้

    นะ มะ พะ ธะ

    มะ พะ ธะ นะ

    พะ ธะ นะ มะ

    ธะ นะ มะ พะ

    ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

    ท่านั่งยอง

    หลวงพ่อให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน

    การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ

    หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท

    "หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่น ก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ”

    ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ

    หลวงพ่อคูณสั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา "พุทโธ" ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ค่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวยมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหวงพ่อคูณย้ำว่า "ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง...ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใด ๆ ในโลก"

    คาถาที่หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ

    เวลาหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า ตาย

    เวลาหายใจออก ให้บริกรรมว่า แน่

    เป็น ตายแน่... ตายแน่... ตายแน่ ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ

    *** เหตุผลที่อยากได้ไว้บูชา เนื่องจากตัวผมเองเป็นคนจังหวัดนครราชสีมาและมีความศรัทธาในตัวท่านมานานจึงอยากที่จะมีไว้บูชาน่ะครับ เห็นท่านที่ไหนจะรู้สึกอุ่นใจทุกครั้ง คิดถึงโคราชทุกครัง

    วันวิสาขนี้จะไปทำบุญตอนเยนจะไปเวียนเทียนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • h0771.jpg
      h0771.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.1 KB
      เปิดดู:
      60
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2013
  7. nattawutball

    nattawutball Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +37
    ณัฐวุฒิ ทันยาทรัพย์ ลำดับที่ 21
    เหรียญที่ 4.
    เหรียญรุ่น1 หลวงพ่อเพิ่ม วัดเกาะลอย (เขางู) ราชบุรี ปี37

    เขางู ปัจจุบันทางจังหวัดได้จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชื่อว่า อุทยานหินเขางู แต่เดิมนั้นเขางู มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

    จากคำบอกเล่าของคุณณรงค์ คุ้มจิตร์ เล่าว่า เขางูมีตำนานเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เขางูเป็นเมืองลับแล เล่ากันว่า ที่ถ้ำแห่งนี้สามารถทะลุผ่านไปยังเมืองลับแลซึ่งมีผู้คนชาวลับแลอาศัยอยู่ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถมองเห็นคนพวกนี้ได้ วันดีคืนดีจะมีเสียงปี่พาทย์ดังออกมา ในสมัยก่อนเมื่อชาวบ้านจะทำบุญเลี้ยงพระ จะไปอธิษฐานขอยืมถ้วยชามรามไหจากคนลับแล ก็จะมีถ้วยชามจัดวางไว้ตามที่ขอยืม ต่อมา มีคนขอยืมแล้วไม่นำไปคืน ทำให้คนลับแลไม่ให้ยืมอีกต่อไป ปากถ้ำที่เข้าไปสู่เมืองลับแลจึงปิด ตอนเด็กๆ ได้เคยไป วิ่งเล่นแถวนั้น แล้วมีปู่ ย่า ตา ยาย ชี้ให้ดูประตูปากถ้ำ ซึ่งต่อมาได้ทำกำแพงกั้นไว้ และเมื่อจังหวัดจะมาบูรณะ รถไถจึงไถมาดินมาไว้บริเวณปากถ้ำโดยไม่ทราบที่มา ทำให้ปากถ้ำที่เป็นเสมือนกำแพงสู่ตำนานที่เล่าขานกันมานั้นก็หายไป และนี่คงเป็นที่มาของชื่อถ้ำฝาโถ ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของเทือกหินเขางู

    ตามประวัติจากจารึกกระเบื้องจาร วัดอรัญญิกหน้าเขางูกล่าวว่า “หาญบุญไทย ผู้แทนจันทรภาณุ-สุวรรณภูมิอยู่เฝ้าเมืองทองแทนจันทรภาณุ เมื่อพุทธกาล ๑๐๒๖ ...หาญบุญไทย เฝ้าอู่อยู่เมืองอินไสเรนทร์เอาผู้หญิงผู้ชาย...ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่หน้าผาเขางูให้ชื่อว่า ราชพลีไทยลว้า คู่พริบพรี สร้างวัดมหาธาตุ วัดอรัญญิก”

    วันวิสาขบูชานี้ ช่วงเช้าจะไปทำบุญใส่บาตร
    ช่วงเย็นเวียนเทียน ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 90687.jpg
      90687.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      56
  8. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,207
    ค่าพลัง:
    +10,090
    ลำดับที่ 22
    นายเอกสิทธิ์ พุ่มงาม
    เหรียญที่ 23 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มูลนิธิอนุสรณ์ผู้เสียสละ จังหวัดตาก สร้าง ปี 2533แถม พระพุทธชินราชหลังพระนเรศวร 2538
    เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มูลนิธิอนุสรณ์ผู้เสียสละ จ.ตาก จัดสร้าง
    และมีพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๓ โดยครูบาสร้อยอธิฐานจิต


    วันวิสาขบูชานี้ ผมจะไปหล่อพระพุทธรูปที่องค์พระปฐมเจดีย์ครับ
    เหตุผลที่เลือกองค์นี้เพราะว่า พระเจ้าตากเป็นกษัตริย์ของไทยซึ่งมาความรักชาติมาก ผมอยากให้ทุกคนรักชาติเหมือนท่านครับ ซึ่งผมก็รักชาติด้วย และไม่ยอมให้ใครมารุกรานหรือทำอันตรายประเทศไทยครับ และรู้สึกว่าปลาบปลื้มที่ได้เห็นเหรียญนี้

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 มีพระนามเดิมว่า สินพระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์
    พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

    -------พระพุทธชินราชหลังพระนเรศวร 2538---------
    ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของพระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อพระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อใหญ่ ที่ชาวพิษณุโลกเรียกกันจนติดปาก มีอยู่มากมายเหลือคณานับ อย่างเช่น ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศวรมหาราช ทุกครั้งที่พระองค์จะเสด็จออกทำศึกสงคราม พระองค์จะเสด็จเข้าไปในวิหารทรงกราบไหว้อธิษฐานขอพรจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินราช ขอให้ทรงมีชัยชำนะศึกต่ออริราชศัตรูของแผ่นดินและก็เป็นดั่งคำอธิษฐานขอพรจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชำนะศึกทุกครั้ง เมื่อเสด็จกลับสู่เมืองพิษณุโลก พระองค์ก็ทรงนำเครื่องทรงที่มีชัยชำนะศึกถวายเป็นเครื่องสักการะ แด่พระพุทธชินราชเสมอมา ส่วนพุทธศาสนิกชนตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ก็ยังพากันไปกราบไหว้บูชาพระพุทธชินราชด้วยความศรัทธา บางคนมีความทุกข์ร้อนในใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว การงานหรือค้าขาย ต่างก็ได้บนบานศาลกล่าวอธิษฐานขอพรที่ปรารถนา แล้วก็เหมือนความอัศจรรย์ที่ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ คำบนบานศาลกล่าวอธิษฐานขอพรต่างก็ประสบความสำเร็จไปตามๆ กันและก็มีประสบการณ์ให้เห็นอยู่ทุกวัน กับการแก้บนในวิหารพระพุทธชินราช

    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่สวยงาม เด่นสง่าที่สุดของประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยผสมผสานกับศิลปะเชียงแสนอย่างลงตัว นับได้ว่าเป็นประติมากรรมชั้นสูงสุดแห่ง " พุทธศิลป์ " พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สร้างจากโลหะเนื้อสัมฤทธิ์ลงน้ำรัก ปิดทอง

    ในการสร้างพระพุทธชินราช จากหลักฐานของหนังสือพงศาวดารของทางเหนือได้เขียนกล่าวยืนยันเอาไว้ว่าในปีพุทธศักราช 1500 หรือ จุลศักราช 319 เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก หรือ พระธรรมราชาลิไท ได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงพระประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวน 3 องค์และพระองค์ก็ได้ช่างฝีมือดีที่เป็นพราหมณ์มา 5 คน มาเป็นแม่งาน พร้อมทั้งได้ทรงหาช่างฝีมือเอกจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก เมืองเชียงแสน และเมืองหริภุญชัย มาร่วมช่วยกันหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

    วัสดุ สำฤทธิ์ ปิดทอง

    เหรียญพระพุทธชินราช สมเด็จพระนเรศวร ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในปี 2538 ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 40736.jpg
      40736.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      114
    • t0778.jpg
      t0778.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.8 KB
      เปิดดู:
      98
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2013
  9. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    สาธุได้ความรู้ได้ศึกษาประวัติครูบาอาจารย์ได้ความรู้ดีมาก

    ผู้ที่ลงชื่อขอรับพระไปแล้วสามารถส่งซองมารับพระได้เลยตามที่อยู่

    ฝากกองบุญนี้ด้วย สาธุ
    [​IMG]
    ผลบุญดลให้ร่มเย็นเป็นสุขให้ชีวิตเป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร [/COLOR][/SIZE]
    http://palungjit.org/threads/ผลบุญด...เป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรม.493226/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2013
  10. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    จะส่งไปพรุ่งนี้ ขอบคุณครับ
     
  11. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    วันนี้ได้จัดส่งพระมอบให้ไปแล้ว3องค์ขอให้นำไปบูชาเป็นสิ่งยึดมั่นในการทำความดีต่อไป สาธุ

    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  12. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,207
    ค่าพลัง:
    +10,090
    จะส่งซองไปรับนะครับ
     
  13. pernjaime

    pernjaime Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +44
    1. นาย พงษ์ระวี เพื่อนใจมี ลำดับที่ 23
    2. เหรียญที่ 6 เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มีจิตศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ท่านเป็นพระสุปฎิปันโน
    3.
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    นามเดิม
    ฝั้น สุวรรณรงค์ เป็นบุตรของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) และนางนุ้ย สุวรรณรงค์
    เกิด
    วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    บรรพชา
    พ.ศ.๒๔๖๑ อายุ ๑๙ ปี ณ วัดโพนทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีท่านอาญาครูธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์
    อุปสมบท
    พ.ศ.๒๔๖๒ อายุ ๒๐ ปี ณ วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีพระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์
    ญัตติเป็นพระธรรมยุต
    วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านมีอุปนิสัยสุขุม เยือกเย็น กว้างขวาง มีความขยันหมั่นเพียร อดทน ต่อสู่กับอุปสรรค หนักเอาเบาสู่ มีความแตกฉานในการเขียนจาร อ่านหนังสืออักษรตัวธรรม (เป็นหนังสือผูกใบลานซึ่งทานภาคอีสานใช้เรียน ในสมัยนั้น) มีความเฉลียวฉลาด กิริยามารยาทเรียบร้อย ท่านได้บูรณะวัดและซ่อมแซมกุฎิที่วัดป่าธานุนาเวง (วัดป่าภูธรพิทักษ์) จังหวัดสกลนคร และสร้างพระพุทธรูปบนหน้าผาร่วมกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระครูอุดมธรรมคุณ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำพระ พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้ค้นหา "ถ้ำขาม" ตามนิมิต ท่านจำพรรษา ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่พรรษาที่ ๔๐-๕๒ เป็นต้นมา (พ.ศ.๒๕๐๗ - ๒๕๑๙)
    มรณภาพ
    วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สิริอายุได้ ๗๗ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน ๕๒ พรรษา

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล สุวรรณรงค์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุล ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของ หลวงประชานุรักษ์ จะเห็นได้ว่า เชื้อสายของท่าน เป็นขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทย ซึ่งอพยพมาจากประเทศลาวในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระอาจารย์ฝั้น เคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นครอบครัวใหญ่เรียกว่า ไทยวัง หรือไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งอยู่ในเขตมหาชัยของประเทศลาว) บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวางเยือกเย็น เป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัว ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้ และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงไหม ตั้งชื่อว่าบ้านบะทอง โดยมีบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป
    เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารีกว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรคหนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดามารดา และญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น
    ด้านการศึกษา พระอาจารย์ฝั้นได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย) สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับ พระอาจารย์เมื่อครั้งนั้น เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมาก สามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครูให้สอนเด็กคนอื่นๆ แทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น
    พระอาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับนายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมืองฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปชั้นสูงขึ้น ในช่วงนี้เองท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิงไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิต ครั้งนั้นพี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคนแม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคนตาย นายวีระพงษ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่าน เมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวาอำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฐานฆ่าคนตายเช่นกัน
    สภาพของบรรดานักโทษที่ท่านประสบมา ทั้งโทษหนักโทษเบา นับได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ท่านได้สติบังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการและตัดสินใจบวช เพื่อสร้างสมบุญบารมีในทางพุทธศาสนาต่อไป
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    ชีวิตสมณะของพระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2461 เมื่อท่านอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม และในปี พ.ศ.2462 ถัดมา ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม มีพระครูป้อง นนตะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์นวลและพระอาจารย์สังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากออกพรรษาปีนั้น ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง จึงได้ปฏิบัติธรรม อบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์อยู่รุกขมูล กับท่านอาจารย์อาญาครูธรรม
    ปีถัดมาพ.ศ. 2463 ท่านได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งได้เที่ยวธุดงค์มาพร้อมด้วยภิกษุสามเณรหลายรูป และพักที่ป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบันเป็นวัดภูไทสามัคคี) เมื่อได้ฟังธรรมจาก พระอาจารย์มั่น ท่านบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสติปัญญาความสามารถของ พระอาจารย์มั่น จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์พร้อมท่านอาญาครูดี และพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เนื่องจากทั้งสามท่าน ยังไม่พร้อมในเครื่องบริขาร จึงยังไม่ได้ธุดงค์ตามอาจารย์มั่นไปในขณะนั้น
    เมื่อทั้งสามท่านได้เตรียมเครื่องบริขารเรียบร้อยแล้ว ประจวบกับได้พบกับ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นมาก่อน และกำลังเดินธุดงค์ ติดตามหาพระอาจารย์มั่นเช่นกัน พระอาจารย์ฝั้นจึงได้ศึกษาธรรมเรียนวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้นจากพระอาจารย์ดูลย์ จากนั้นทั้งสี่ท่าน ได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ดูลย์เป็นผู้นำทาง จนได้พบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน ท่านทั้งสี่ได้ศึกษาธรรมกับ พระอาจารย์มั่นที่นั่น เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นจึงได้ไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (ผู้ซึ่งได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น) ที่บ้านหนองดินดำ แล้วจึงไปรับการอบรมธรรม จากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่บ้านหนองหวายเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงไปที่บ้านตาลเนิ้ง และได้ไปรับฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเสมอๆ
    เมื่ออาจารย์ฝั้น ได้รับการศึกษาอบรมธรรมะจากพระอาจารย์มั่น และได้ฝึกกัมมัฏฐาน จนจิตใจมั่นคงแน่วแน่ บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มารบกวนได้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจ ทำการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ไปจำพรรษาแรกกับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน ออกพรรษาปีนั้นท่านได้เดินธุดงค์ เลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขงเที่ยวธุดงค์ไปหลายแห่ง วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตาม และพบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม) ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษาและโปรดญาติโยมที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    หลังออกพรรษาท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่นไปอุบลฯ ด้วย ในปีพ.ศ. 2470 นี้ ท่านได้จำพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับอาจารย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยม ที่นั่น พ.ศ.2471 ท่านได้ไปจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
    หลังออกพรรษาท่านได้ไปเผยแพร่ธรรมที่จังหวัดขอนแก่น ได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างนั้นท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผี ให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีล 5 และภาวนาพุทโธ ท่านเป็นที่พึ่ง และให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไป คนคลอดลูกยาก คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า คนมีมิจฉาทิฏฐิ หลอกลวงชาวบ้าน ท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้น
    ตัวท่านเองบางครั้งก็อาพาธ เช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ท่านปวดตามเนื้อตามตัวอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียว ตั้งแต่ทุ่มเศษจนกระทั่ง 9 โมงเช้า ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน และทำให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นด้วย
    ระหว่างปี พ.ศ.2475-2486 พรรษาที่ 8-19 ท่านได้จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมาโดยตลอด แต่ในระหว่างนอกพรรษาท่านจะท่องเที่ยวไปเพื่อเผยแพร่ธรรมและตัวท่านเองก็ได้ศึกษา และปฏิบัติธรรมด้วย เช่น ก่อนเข้าพรรษาปี 2475 ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการป่วย ของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) โดยพักที่วัดบรมนิวาสเป็นเวลา 3 เดือน
    เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ.2477 ท่านได้เดินธุดงค์ไปในดงพญาเย็น ท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้ในระยะที่ใกล้มาก ท่านสำรวมสติเดินเข้าไปใกล้ๆ มัน แล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่?" เจ้าเสือผงกหัวหันมาตามเสียงแล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน 3 พ.ศ.2479
    พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่นที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เล่ากันว่าท่านทั้งสองต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิได้โดยตลอด ทั้งๆที่กุฏิห่างกันเป็นระยะทางเกือบ 500 เมตร
    หลังออกพรรษาปี พ.ศ.2486 พระอาจารย์ฝั้น ได้ออกธุดงค์จากวัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่าสงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ ขณะเดียวกันก็สั่งสอนธรรมะ ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความทุกข์ยาก และพาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้าน และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ท่านธุดงค์ผ่านไปเขาพนมรุ้งต่อไปจังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งถึงจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำพรรษาปี พ.ศ.2487 ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ นี้เอง พระอาจารย์ฝั้นมีหน้าที่เข้าถวายธรรมแก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งกำลังอาพาธ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา) และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่น จนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ปรากฏว่าทั้งสมเด็จฯ และพระมหาปิ่นมีอาการดีขึ้น
    ปี พ.ศ.2488-2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวง เป็นป่าดงดิบอยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตรเศษ ท่านได้นำชาวบ้านและนักเรียนพลตำรวจพัฒนาวัดขึ้นจนเป็นหลักฐานมั่นคง ในพรรษา ท่านจะสั่งสอนอบรมทั้งศิษย์ภายใน (คือพระเณรและผ้าขาว) และศิษย์ภายนอก (คืออุบาสกอุบาสิกา) อย่างเข้มแข็ง ตามแบบฉบับของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ทุกวันพระ พระเณรต้องฟังเทศน์แล้วฝึกสมาธิและเดินจงกรมตลอดคืน อุบาสกอุบาสิกาบางคนก็ทำตามด้วย ช่วงออกพรรษาท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระ หรือพักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณเทือกเขาภูพาน เป็นต้น ช่วงปี พ.ศ.2491 ท่านไปวิเวกที่ภูวัวและได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผาที่สวยงามมาก ออกพรรษาปี พ.ศ.2492 ได้ติดตามพระอาจารย์มั่นถึงวัดสุทธาวาสที่จังหวัดสกลนคร และเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่นจนถึงแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ.2493-2495 ท่านได้ไปเผยแพร่ธรรมแถวภาคตะวันออกเช่นที่จันทบุรี บ้านฉาง (จ.ระยอง) และ ฉะเชิงเทรา ในระหว่างนั้นก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆ ด้วย เช่น ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น ราวกลางพรรษาปี พ.ศ.2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารถกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่าท่านได้นิมิตเห็นถ้ำแห่งหนึ่งทางตะวันตกของเทือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบและวิเวก พอออกพรรษาปีนั้น เมื่อเสร็จกิจธุระต่างๆ แล้ว ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่งเดินทางไปถึงบ้านคำข่า พักอยู่ในดงวัดร้างข้างหมู่บ้าน เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้วท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต ในที่สุดชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขาม บนยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่พอใจของท่านมาก เพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงามมองเห็นถึงจังหวัดสกลนคร อากาศดี สงัดและภาวนาดีมาก ดัานหลังถ้ำเต็มไปด้วยต้นไม้
    ออกพรรษาปี พ.ศ.2505 ท่านพระอาจารย์ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและเพื่อจะได้สั่งสอนอบรมโปรดชาวบ้านพรรณา อำเภอพรรณานิคมบ้าง วัดป่าอุดมสมพรนี้ เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำชื่อหนองแวง ที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่าน ท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราวเพื่อบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานแด่บุพการี ครั้งเมื่อออกพรรษาปี 2487 พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาญาครูดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้นก็ได้มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษามาโดยตลอด จนกระทั่งได้กลายเป็นวัดป่าอุดมสมพร
    ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (2505) ท่านพระอาจารย์ได้นำญาติโยม พัฒนาเส้นทางจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ไปถึงบ้านหนองโคก ท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนนทั้งวัน อยู่หลายวัน จนอาพาธเป็นไข้สูง และต้องยอมเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสกลนคร และเดินทางไปรักษาตัวต่อที่กรุงเทพฯ เมื่ออาการทุเลาแล้วจึงเดินทางกลับสกลนคร เนื่องด้วยท่านยังมีความดันเลือดค่อนข้างสูง แพทย์จึงได้ขอร้องให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษาบนถ้ำขาม เพราะสมัยนั้นยังต้องเดินขึ้น ดังนั้นท่านจึงจำพรรษาปี 2506 ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์
    ช่วงปี พ.ศ.2507 จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่านคือ ปี พ.ศ.2519 ท่านพระอาจารย์ฝั้น จำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพรโดยตลอด จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่ มีการขุดขยายหนองแวง ให้กว้างและลึกเป็นสระใหญ่ สร้างศาลาใหญ่เป็นที่ชุมนุม สำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์ ถังเก็บน้ำและระบบท่อส่งน้ำ ถึงแม้ว่าท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำขาม และวัดป่าภูธรพิทักษ์ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบและอุปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆ มาๆ ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ
    เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ และได้ทรงนิมนต์ท่านเข้าไปพักที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 22 เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างที่พักในวัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนและสนทนาธรรมกับท่าน นอกจากนั้นล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่านที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2518 อีกด้วย
    กิจวัตรประจำวันตามปกติของท่านพระอาจารย์ฝั้น ท่านจะนำบิณฑบาตทุกๆ เช้า ไม่เคยขาดการบิณฑบาตเลย แม้มาระยะหลังๆ ท่านอาพาธ ก็ยังพยายามบิณฑบาตในวัด พระและเณรทุกๆรูป ก็ต้องออกบิณฑบาตเป็นกฎของวัด นอกเสียจากรูปใดเร่งความเพียร ตั้งสัจจะว่าจะไม่ฉันอาหารจึงไม่ต้องบิณฑบาต ในวันที่ไม่ฉัน ท่านอาจารย์ใหญ่จะรับแขกญาติโยมบนศาลา จนกว่าท่านจะเห็นสมควรขึ้นกุฏิ ส่วนพระเณรอื่นๆ นอกจากรูปไหนที่เป็นเวรคอยรับใช้ปรนนิบัติท่าน ก็ช่วยกันเก็บกวาดอาสนะให้เรียบร้อย และนำบาตร กระโถน กาน้ำ แก้วน้ำไปล้าง เสร็จแล้วไปคอยอาจารย์ใหญ่ อยู่บนกุฏิของท่าน เพื่อรับการอบรมจากท่านต่อไป เมื่อท่านอบรมแล้วใครมีปัญหาอะไร เป็นต้นว่า ภาวนาเห็นนิมิตอะไร หรือสงสัยปัญหาธรรมอะไร ขัดข้องตรงไหนจะเรียนถามท่านได้ ท่านจะคลายปัญหาต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เมื่อถึงเวลาทำวัตรเย็น
    (สวดมนต์เย็น) โดยอาจารย์ใหญ่ท่านจะเป็นผู้นำไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วท่านจะแสดงธรรมโปรด และนำนั่งสมาธิต่อจนถึงเวลา 23.00 น. บางครั้งก็ถึงเวลา 24.00 น. ถ้าเป็นวันพระ จะประชุมฟังธรรมจนสว่าง แต่ท่านจะหยุดพักเป็นระยะๆ เมื่อเหนื่อยก็อนุญาตให้พักเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำและฉันน้ำ เสร็จแล้วก็เดินจงกรมต่อ สำหรับอาจารย์ใหญ่ ท่านจะไม่ลงจากศาลาจนรุ่งเช้า สว่างแล้วก็แยกย้ายกันกลับกุฏิของตน ใครจะเดินจงกรมต่อหรือจะทำกิจวัตรสุดแต่อัธยาศัย
    ธรรมโอวาท

    “ ถ้าเราไม่ได้ทำความผิด 5 อย่าง (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ไม่พูดเท็จ และดื่มน้ำเมา) อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดงก็มีศีล
    อยู่ในรถในราก็มีศีล ให้เข้าใจศีลตรงนี้ ที่คอยจะรับจากพระนั้นไม่ใช่ ”

    พระธรรมเทศนา (อาจาโรวาท)

    บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละ ทานก็รู้อยู่แล้วคือการสละหรือการละการวาง ผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มาก ผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย มัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้แหละคือความโลภ ต้องสละเสียให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น แหละไม่ใช่อื่นไกล แปลว่าทะนุบำรุงตน เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมี อันนี้นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องเสบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้ว เราจะเดินทางไกลเราก็ไม่ต้องกลัว อุปมาเหมือนกับเดินทางมาวัดนี้แหละ ถ้าเราไม่ได้เตรียมอะไรมา มันก็ไม่มี ถ้าเตรียมมาแล้ว เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยาก ของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำมาแล้ว เราก็ไม่ได้ อยากได้สิ่งโน้น อยากได้สิ่งนี้ อยากเป็นโน้น อยากเป็นนี่ เราไม่ได้ทำไว้ ไม่ได้สร้างไว้ อยากได้มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ให้พากันเข้าใจ
    ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่าศีลนั่นเป็นของพระ ถ้าพระไม่ให้แล้วก็ว่าเราไม่ได้ศีล อย่างนี้เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีล แท้ที่จริงนั้น ศีลของเราเกิดมาพร้อมกับเรา ศีล 5 บริบูรณ์ตั้งแต่เกิดมา ขา 2 แขน 2 ศีรษะ 1 อันนี้คือตัวศีล 5 เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีล 5 บริสุทธิ์อย่างนี้ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อย อย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของเรา
    โทษ 5 คืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำนั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีล อทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีล กาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษ มุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษไม่ใช่ศีล สุราเมรยมชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษ ถ้าเราไม่ได้ทำความผิด 5 อย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในบ้านในช่องก็มีศีล อยู่ในป่าในดงก็มีศีล อยู่ในรถในราเราก็มีศีล ให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระนั้นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่าอย่าไปทำ 5 อย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์บริบูรณ์ ศีล 5 อย่างนั้นเราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนา เหตุฉันใดจึงว่าไม่อยากได้พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่าเรา หรือมาฆ่าพี่ฆ่าน้องญาติพงษ์ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอ ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น โทษของเราก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อยแต่หนุ่ม ก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ในหลายภพหลายชาติ แม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในชาตินี้ ในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ
    เหตุนั้นพระพุทธเจ้า ท่านจึงสอนไว้ให้ละเว้นโทษที่เราไม่พึงปรารถนา เช่น อทินนาทานการขโมยอย่างนี้หละ เขามาขโมยข้าวขโมยของ ขโมยเล็กขโมยน้อยของเรา เราก็ไม่อยากได้ หรือโจรปล้นสะดมอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ท่านจึงให้ละ ถ้าเราไม่ได้ขโมยของใครไม่ว่าในภพใดภพหนึ่ง เราก็ไม่ถูกโจรไม่ถูกขโมย ไม่มีร้ายไม่มีภัยอะไรสักอย่าง เราละเว้นแล้ว โจรทั้งหลายก็ไม่มี โจรน้ำ โจรไฟ โจรลมพายุพัดก็ไม่มี นี่เป็นอย่างนี้
    กาเมก็เช่นเดียวกัน เกิดมามีสามีภรรยามีบุตร ปรองดองกันอันเดียวกัน เกิดคนมาละเมิดอย่างนี้เราก็ไม่อยากได้ ว่ายากสอนยากหรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เราก็ไม่อยากได้ ถ้าเราละเว้นโทษกาเมนี้แล้ว มันก็ไม่มีโทษแหละ มุสาวาทาก็พึงละเว้น มีคนมาฉ้อโกงหลอกลวงเรา เราก็ไม่อยากได้ คิดดูซี เราไปหลอกลวงฉ้อโกงเขา เขาก็ไม่อยากได้ เช่นเดียวกัน
    นี่แหละพระพุทธเจ้าท่าน จึงได้ละเว้น มันเป็นโทษ คนไม่ปรารถนา ถ้าเรารักษาศีลนี้แล้ว เราก็สบาย ไปไหนก็สบายซี่ ไม่มีโทษเหล่านี้แล้ว สุราการมึนการเมา เราละกันแล้ว เราก็ไม่อยากได้ภรรยาขี้เมา สามีขี้เมา ลูกขี้เมา พ่อแม่พี่น้องขี้เมา เราก็ไม่อยากได้ เมื่อไม่มีเมาแล้วจะทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนเล่า เกิดมากรรมให้โทษ เช่น คนเป็นใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์เป็นลมบ้าหมู เราก็ไม่อยากได้ หูหนวกตาบอดเป็นใบ้อย่างนี้เราก็ไม่อยากได้ ขี้ทูดกุดถังกระจอกงอกง่อย เป็นคนไม่มีสติปัญญา เราก็ไม่อยากได้ พระพุทธเจ้า จึงได้ละเว้นโทษเหล่านี้ เมื่อเราทั้งหลายละเว้นแล้ว เราไปไหนก็อยู่เย็นเป็นสุขสนุกสบาย

    ฉะนี้เมื่อเราสมาทานศีล
    พระท่านจึงบอกว่า สีเลน สุคติ ยนฺติ
    ผู้ละเว้นแล้ว มีความสุข
    สีเลน โภคสมฺปทา
    เราก็มีโภคสมบัติไปในภพไหนก็ได้
    ในปัจจุบันก็ดี เป็นคนไม่ทุกข์
    เป็นคนไม่จน ด้วยอำนาจของศีลนี้
    สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ
    จะไปพระนิพพานก็อาศัยศีลนี้เป็นต้น

    ต่อไปนี้ให้ทำบุญโดยเข้าที่ภาวนา นั่งดูบุญดูกุศลของเรา จิตใจมันเป็นยังไง ดูให้มันรู้มันเห็นซี่ อย่าสักแต่ว่า สักแต่ทำ เอาให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ซี่ เราต้องการความสุขความสบาย แล้วมันได้ตามต้องการไหม เราก็มาฟังดูว่า ความสุขความสบายมันอยู่ตรงไหน เราก็นั่งให้สบาย วางกายของเราให้สบาย วางท่าวางทางให้สง่าผ่าเผยยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อกายเราสบายแล้ว เราก็วางใจให้สบาย รวมตาเข้าไปหาดวงใจ หูก็รวมเข้าไป เมื่อใจสบายแล้ว นึกถึงคุณพระพุทธเจ้า อยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์อยู่ในใจ เราเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว จึงให้นึกคำบริกรรม ภาวนาว่า "พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ" 3 หน แล้วรวมเอาคำเดียวให้นึกว่า "พุทฺโธ พุทฺโธ" หลับตา งับปากเสีย ตาเราก็เพ่งเล็งดูตำแหน่งที่ระลึกพุทโธนั่น มันระลึกตรงไหน หูเราก็ไปฟังที่ระลึก พุทโธนั่น สติเราก็จ้องดูที่ระลึก พุทโธ พุทโธ จะดูทำไมเล่า ดูเพื่อให้รู้ว่าตัวของเรานี่เป็นสุข หรือเป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่ว จิตของเราอยู่ในกุศลหรืออกุศลก็ให้รู้จัก ถ้าจิตของเราเป็นกุศล มันเป็นยังไง คือจิตมีความสงบ มันไม่ส่งหน้าส่งหลัง ส่งซ้ายส่งขวา เบื้องบนเบื้องล่าง ตั้งอยู่จำเพาะท่ามกลางผู้รู้ มันมีใจเยือกใจเย็น ใจสุขใจสบาย จิตเบากายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วง ไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์หายยาก หายความลำบากรำคาญ สบายอกสบายใจ นั่นแหละตัวบุญ ตัวกุศลแท้ นี่จะได้เป็นบุญ เป็นวาสนา เป็นบารมีของเรา เป็นนิสัยของเรา ติดตนนำตัวไปทุกภพทุกชาติ
    นี่แหละให้เข้าใจไว้ จิตของเราสงบ เป็นสมาธิคือกุศล อกุศลเป็นยังไง คือจิตเราไม่ดี จิตทะเยอทะยาน จิตดิ้นรนพะวักพะวง จิตทุกข์จิตยาก จิตไม่มีความสงบมันเลย เป็นทุกข์ เรียกว่าอกุศล ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม อันนี้เป็นกรรมในศาสนา ท่านว่ากรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในที่อื่น

    กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของๆ ตน
    กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ
    เราทำกรรมอันใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาป
    เราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

    เราจะรู้ได้ยังไง กุศลกรรม พิจารณาดูซี่ กรรมทั้งหลายมันไม่ได้อยู่อื่น กายกรรม แน่ะ มันอยู่ในกายของเรานี้ มันเกิดจากกายของเรานี้ วจีกรรม มันเกิดจากวาจาของเรานี้ไม่ได้เกิดจากอื่นไกล มโนกรรม มันเกิดจากดวงใจของเรานี้แหละ ให้รู้จักไว้ ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่ากรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะ เดี๋ยวนี้เรารู้ เราเป็นผู้ทำเอาเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ เราทำเอาเอง ที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เราทำบุญ บุญอันนี้เป็นอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้ คือเราให้ทานร้อยหนพันหนก็ตาม อานิสงส์ไม่เท่าเรานั่งสมาธิ นี้มีผลานิสงส์เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว

    ปัจฉิมบท

    เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ฝั้น ยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ท่านได้เอาใจใส่ศึกษาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ถึงขนาดคุณย่าของท่านได้พยากรณ์เอาไว้ว่า "ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าขมิ้นจนตลอดชีวิต ระหว่างนั้นจะสร้างแต่คุณความดีอันประเสริฐเลิศล้ำค่า จะเป็นผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ประชาชนทุกชั้น ตั้งแต่สูงสุดจนต่ำสุด ทุกเชื้อชาติศาสนาที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่าน จะบังเกิดความเลื่อมใสในตัวท่านและรสพระธรรมที่ท่านเทศนาเป็นอันมาก"
    คำพยากรณ์ของคุณย่าของท่านมิได้ผิดความจริงเลย เมตตาธรรมและคุณความดีของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาสานุศิษย์และบรรดาสาธุชนโดยทั่วไป ความเมตตาของท่านพระอาจารย์ แสดงออกตั้งแต่การให้ของเล็กๆ น้อยๆ หรือการยอมทำตาม คำขอร้องง่ายๆ ขึ้นไปจนถึงการให้ของที่สำคัญๆ และการกระทำที่ยากๆ แม้จนกระทั่งสิ่งที่ท่านเองไม่อยากกระทำ แต่ถ้าถึงขีดที่เป็นการผิดพระวินัย ท่านจะไม่ยอมเป็นอันขาด
    ครั้งหนึ่งมีพระอธิการจากวัดหนึ่งในจังหวัดอื่น มาขออนุญาตทำของอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อเอาไปให้เช่าหารายได้ปรับปรุงวัด พยายามอ้อนวอนเท่าไรๆ ท่านก็ไม่ยอม เพราะท่านขัดข้องต่อการขายสิ่งมงคลต่างๆ ทั้งสิ้น นอกจากไม่อนุญาตแล้วท่านยังว่ากล่าวตักเตือนให้สังวรในพระวินัยให้เคร่งครัดอีกด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเมตตาอีกแบบหนึ่ง คือช่วยไว้ให้พ้นจากอบายภูมิ
    ตัวอย่างความเมตตาของท่านมีมากมาย แทรกอยู่ในประวัติของท่านทุกๆ ตอนไม่สามารถจะกล่าวได้หมดสิ้น เช่น
    ช่วงที่ท่านพำนักอยู่ในป่าริมห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ ได้มีพุทธบริษัทเลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก ผู้คนพากันไปฟังพระธรรมเทศนา และรับการอบรมจากท่านอย่างเนืองแน่นมิได้ขาด เมื่อท่านได้ทราบถึงความเจ็บป่วยของชาวบ้านบางคน ท่านได้ให้ลูกศิษย์หาเครื่องยามาประกอบเป็นยาดอง โดยมีผลสมอเป็นตัวยาสำคัญกับเครื่องเทศอีกบางอย่าง ปรากฏว่ายาดองที่ท่านประกอบขึ้นคราวนั้น มีสรรพคุณอย่างมหาศาล แก้โรคได้สารพัดแม้คนที่เป็นโรคท้องมานมาหลายปีรักษาที่ไหนก็ไม่หาย พอไปฟังพระธรรมเทศนารับพระไตรสรณคมน์ และรับยาดองจากท่านไปกิน เพียง 3 วัน โรคก็หายดังปลิดทิ้ง แม้คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็เช่นกัน ชาวสุรินทร์ถึงกับขนานนามท่านว่า "เจ้าผู้มีบุญ"
    ช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ.2489 ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร เกิดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกลัวอดข้าวเพราะทำนาไม่ได้ จึงไปปรารภกับท่าน ท่านจึงได้แนะนำให้รักษาศีลให้เคร่งครัดโดยพร้อมเพรียงกัน ท่านกล่าวว่าหากยึดมั่นในพระรัตนตรัยแล้ว จะไม่อดตายอย่างแน่นอน กุศลความดีทั้งหลายจะรักษาผู้ปฏิบัติชอบเสมอ บรรดาญาติโยมทั้งหลายต่างพากันเข้าวัดปฏิบัติ ถือศีล 5 ศีล 8 กันอย่างมั่นคง ต่อมาวันหนึ่งพระอาจารย์ฝั้นให้ลูกศิษย์ปูเสื่อบนลานวัดกลางแจ้ง ท่านพร้อมกับพระภิกษุ 2 รูป สามเณร 2 รูป นั่งสวดคาถาท่ามกลางแสงแดดจ้า ไปได้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่กำลังมีแดดจ้าพลันมีเสียงฟ้าคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆกับมีฝนเทลงมาอย่างหนัก ท่านได้ให้พระและเณรหลบฝนไปก่อน ส่วนตัวท่านเองยังคงนั่งอยู่ที่เดิมอีกนานจึงได้ลุกไป ฝนตกหนักเกือบ 3 ชั่วโมง เมื่อฝนหยุดแล้วท้องฟ้าก็แจ่มใสดังเดิม ในปีนั้นฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง
    พระอาจารย์ฝั้น ท่านเป็นอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขันมาก คอยเคี่ยวเข็ญพระเณรตลอดจนผ้าขาวให้ปฏิบัติภาวนาโดยเข้มแข็งเสมอ ถ้าใครเกียจคร้านหรือเหลาะแหละ ท่านก็จะว่ากล่าวตักเตือนเช่นว่า บวชแล้วอย่าให้ชาวบ้านเปลืองข้าวเปล่าๆ หรือว่า พระกรรมฐานเป็นพระนั่ง ไม่ใช่พระนอน เป็นต้น ถ้าใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านก็ชมเชยและเอาใจใส่อบรมเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ก้าวหน้าไปไกลยิ่งขึ้นอีก
    ท่านพระอาจารย์ฝั้นเป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นนักพัฒนา เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ มีความรอบรู้กว้างขวาง และมีปฏิภาณไหวพริบฉลาดเฉลียว จะเห็นได้จากในประวัติของท่าน ท่านมักจะได้รับมอบหมายให้ไปตัดสินปัญหาพิจารณาความเป็นธรรมอยู่เนืองๆ เช่น กรณีแก้มิจฉาทิฏฐิของไท้สุข กรณีแก้วิปัสนูปกิเลสของแม่ชีตัด กรณีระงับเหตุการณ์ไม่สงบที่วัดเทพนิมิตร จังหวัดฉะเชิงเทรา และการได้รับบัญชาจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ให้อยู่ใกล้ชิด และคอยแนะนำเรื่องภาวนาที่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
    การพัฒนาทางวัตถุของท่าน มีให้เห็นมากมาย ท่านได้ก่อตั้งและบูรณะวัดให้มีหลักฐานมั่นคงหลายวัด เช่น วัดป่าศรัทธาราม วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม และวัดป่าอุดมสมพร ส่วนถาวรวัตถุอื่นๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ก็มีมากมาย เช่น ถนนสายบ้านคำข่า-บ้านไร่ ถนนสายบ้านม่วงไข่-บ้านหนองโคก สะพานข้ามห้วยทราย เขื่อนกั้นน้ำอูน ตึกพิเศษสงฆ์ที่โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่อำเภอพรรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นต้น
    ตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาก็คือ ในระหว่างพรรษา ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาบนถ้ำขาม ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา บนไหล่เขาช่วงใกล้จะถึงยอดเขาถ้ำขาม มีที่ค่อนข้างราบอยู่ประมาณครึ่งไร่ ซึ่งมีดินขังอยู่ระหว่างก้อนหิน ท่านให้ชาวบ้านถางหญ้า แล้วหาหน่อกล้วยมาปลูก ชาวบ้านหลายคนค้านว่าที่อย่างนั้นปลูกกล้วยไม่ขึ้น เอามาปลูกก็เสียเวลา เสียของเปล่าๆ แต่ท่านพระอาจารย์บอกว่าไปหามาปลูกก็แล้วกัน ขึ้นหรือไม่ขึ้นก็จะรู้เอง พอปลูกแล้วก็งอกงามเป็นป่ากล้วยและยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ ท่านถือป่ากล้วยนี้เป็นบทเรียน สำหรับชาวบ้านให้เห็นว่า การลงความเห็นว่า อ้ายโน่นทำไม่ได้ อ้ายนี่ทำไม่ได้ โดยไม่พยายามลองดูนั้น คือความโง่ และความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์และยากจน ส่วนความสนใจ ใคร่ทดลองทำอย่างโน้นอย่างนี้ แม้ไม่เคยทำมาก่อน เป็นความฉลาดและความขยัน จะนำไปสู่ความสุขและความร่ำรวย ในปัจจุบันที่ตรงนั้นมีทั้งกล้วย มะม่วง และขนุน เป็นที่อาศัยของพระเณรและลูกศิษย์ ในบางโอกาสพวกลิงก็แห่กันมาเป็นฝูงๆ เพื่อขอแบ่งไปบ้าง
    พระคุณของท่านพระอาจารย์ฝั้นไม่อาจจะบรรยายให้หมดสิ้นได้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ควรจะถือเป็นแบบอย่าง เพื่อให้ตัวเอง สังคม และประเทศชาติ เจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์โดยประการทั้งปวง ดั่งในโคลงดั้นวิวิธมาลี "อาจารศิรวาท" พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่ง ความว่า

    ใครเอยเคยกอบเกื้อ เอาภาร
    แนะเรื่องประเทืองหทัย ทุกข์กั้น
    เสาะแสวงสิทธิศานต์ สุขทั่ว
    "อาจารย์" ท่านเดิม "ฝั้น" ตั้ง ต่อนาม
    เมตตาบารมีธรรมของท่านอาจารย์ กว้างใหญ่ใหญ่ไพศาลขึ้นทุกที แต่ละปีที่ล่วงไป ผู้คนที่หลั่งไหลไปนมัสการท่าน เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันจบสิ้น จนกระทั่งในระยะหลังๆ บรรดาสานุศิษย์และนายแพทย์ ได้กราบวิงวอนท่านครั้งแล้วครั้งเล่า ให้บรรเทาการรับแขกลงเสียบ้าง ท่านจะได้มีเวลาพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เพราะนับวันที่ผ่านไปสังขารของท่านได้ทรุดโทรมลงไปมาก ทั้งยังล้มป่วยลงบ่อยๆ อีกด้วย แต่ท่านไม่ยอมกระทำตาม ซึ่งทุกคนก็ตระหนักดีในเหตุผลว่า เป็นการขัดต่อเมตตาธรรมที่ท่านยึดถือปฏิบัติมาตลอด
    ความตรากตรำในการแผ่บารมีธรรมของท่านนี้เอง เป็นมูลเหตุสำคัญให้ท่านเกิดอาพาธอย่างฉับพลัน เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๙ จึงได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่อาการของท่านไม่ดีขึ้น จึงได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในกรุงเทพฯ อีกระยะหนึ่ง โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อรักษาตัวอยู่ได้ระยะหนึ่ง พระอาจารย์ฝั้นก็ขอกลับวัด กลับมาคราวนี้ คณะศิษย์ได้ร่วมกันสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่านพักอาศัย โดยยกพื้นขึ้นมาบนสระหนองแวง ข้างโบสถ์น้ำและทำรั้วกั้น เพื่อมิให้ผู้คนเข้าไปรบกวนท่านด้วย
    แต่การของท่านก็ยังไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุดอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ ได้เกิดอาการโรคแทรกซ้อนขึ้นอย่างรุนแรง และกะทันหัน ท่านจึงต้องทิ้งขันธ์ธาตุของท่านไปด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๙.๕๐ น. ของวันเดียวกัน ข่าวมรณภาพแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว สานุศิษย์และญาติโยมทั้งหลายต่างหลั่งไหลไปคารวะศพของท่าน แต่ละคนพบกันด้วยสีหน้าอันหม่นหมอง หลายต่อหลายคนบรรยายความรู้สึกในขณะนั้นด้วยน้ำตา เพราะไม่ทราบจะบรรยายถึงความเศร้าเสียใจให้สมบูรณ์ดีไปกว่านั้นได้อย่างไร
    ท่านพระอาจารย์ฝั้น เป็นผู้มีระเบียบเรียบร้อย สมกับที่ท่านสืบตระกูลมาจากผู้สูงศักดิ์ นอกจากนั้นท่านมีความขยันหมั่นเพียรอย่างเอกอุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนา การอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือการก่อสร้างอาคารถนนหนทาง ท่านถือเอาการงานและหน้าที่ เป็นเรื่องสำคัญข้อแรก ส่วนความสะดวกสบายนั้น เป็นข้อรอง และท่านปฏิบัติเช่นนี้โดยสม่ำเสมอมาตั้งแต่หนุ่มจนถึงวัยชรา
    อนุสรณ์สถานที่ถือว่าสำคัญที่สุดของท่านพระอาจารย์ฝั้น น่าจะเป็นวัดป่าอุดมสมพร ซึ่งห่างจากตัวเมืองสกลนครราว 34 กม. เป็นที่ที่ท่านได้จำพรรษาช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นเวลากว่า 12 ปี ท่านมรณภาพที่นี่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2520 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านที่นี่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2521 ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพได้มีการสร้างพระเจดีย์ พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร องค์พระเจดีย์สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมยอดแหลม บรรจุพระอัฐิและพระอังคารพระอาจารย์ฝั้น ที่ส่วนยอดของพระเจดีย์
    ฐานของพระเจดีย์ เป็นรูปซุ้มโดยรอบลดหลั่นกันลงมาเป็น 3 ชั้น ซึ่งซุ้มชั้นล่างหมายถึงศีล ชั้นกลางหมายถึงสมาธิ และชั้นยอดหมายถึงปัญญา ในองค์พระเจดีย์จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงเครื่องบริขารของท่าน ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน ลานชั้นล่างรอบองค์เจดีย์ จัดเป็นลานพระธรรม มีซุ้มโดยรอบ 56 ซุ้ม ถ้ามองจากภายในลาน จะมีหินจารึกคำสอนธรรมะของท่าน ติดอยู่บนหลังซุ้ม หากมองจากภายนอก จะเป็นซุ้มแสดงประวัติของท่าน ซึ่งประดับด้วยประติมากรรมดินเผา เป็นเรื่องราวตั้งแต่ท่านถือกำเนิดมา บวชเรียนจนถึงมรณภาพ บริเวณโดยรอบ เป็นสวนป่าอันเงียบสงบ ร่มรื่น อันเป็นบรรยากาศของการปฏิบัติภาวนาโดยเฉพาะ
    แม้บัดนี้ พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ารูปหนึ่ง พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งเห็นจริงในพระสัทธรรม ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ละสังขารขันธ์พ้นโลกดับสูญไปแล้ว จะเหลืออยู่ก็แต่ร่องรอยแห่งเมตตาบารมีธรรมอันสูงส่งของท่าน ซึ่งจะจารึกอยู่ในความทรงจำของบรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปอย่างไม่มีวันลืมเลือน
    4. รักษาศีล ปฏิบัติธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m0798.jpg
      m0798.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.4 KB
      เปิดดู:
      104
  14. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,207
    ค่าพลัง:
    +10,090
    1. นายเอกสิทธิ์ พุ่มงาม ลำดับที่ 24
    2. เหรียญที่ 1 หลวงพ่อผาเงา ปี 24 อยากบูชาเพราะรู้สึกปิติเมื่อเห็นท่าน มีความชอบมาก เพราะท่านเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เมื่อเห็นรู้สึกสบายตาสบายใจ
    3. เหรียญหลวงพ่อผาเงา วัดพระธาตุผาเงา ปี 2524 รุ่นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมสมเด็จพระเทพฯทรงเททอง เหรียญดี พิธีใหญ่ เกจิดังภาคเหนือร่วมปลุกเสกหลายรูป
    ผู้สร้างพระธาตุผาเงา จากพงศาวดารโยนกบอกว่า ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494-512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์ ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม

    ผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาภายหลัง เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าตอดจันทร์ เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่นถุกแดด-ฝนและลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้

    ชื่อของวัดพระธาตุผาเงา ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงา ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "พระธาตุผาเงา" ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า "วัดสบคำ" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธา จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

    การสร้างวัดใหม่ ตอนแรกได้สันนิฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้ ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบซากโบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำเรียกว่า "ถ้ำผาเงา" ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฎเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อนเต็มไปหมด มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์ ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา เชื่อว่าเป็นพระประธานในวิหาร คณะศรัทธาจึงตั้งใจบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เหมือนเดิม

    ความฝันของนายจันทรา พรมมา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 นายจันทรา พรมมา หนึ่งในคณะศรัทธาทั้งหมดที่เริ่มบุกเบิกแผ้วถางป่า ได้นอนหลับและฝันในเวลากลางคือว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง รูปร่างสูง-ดำ มาบอกว่า "ก่อนที่จะยกชิ้นส่วนองค์พระประธานที่เหลือครึ่งองค์ออก ให้ไปนิมนต์พระมา 8 รูป ทำพิธีสวดถอนเสียก่อน แล้วจะได้พบสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งกว่านี้"

    ทำพิธีสวดถอน รุ่งขึ้น วันที่ 1 มีนาคม 2519 นายจันทรา พรมมา จึงได้นำเอาความฝันนั้นไปบอกให้คณะศรัทธาทั้งหมดฟัง และต่อจากนั้นทุกอย่างก็ดำเนินไปตามความฝันทุกประการ เพื่อปรับพื้นที่ซึ่งต็มไปด้วยตอไม้ รากไม้และก้อนหินน้อยใหญ่ งานปรับพื้นที่ได้ดำเนินไปด้วยความยากลำบาก

    ค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา วันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปิติยินดี เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้ เมื่อเอาหน้ากากออก จึงได้พบพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญโบราณวัตถุ วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อผาเงา" และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระธาตุผาเงา" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    วัดประจำเมืองเก่า ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้ จะเห็นได้ ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธ รูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

    ผู้สร้างพระธาตุผาเงา จากพงศาวดารโยนกบอกว่า ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494-512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์ ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม

    ผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาภายหลัง เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าตอดจันทร์ เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่นถุกแดด-ฝนและลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้

    ชื่อของวัดพระธาตุผาเงา ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงา ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "พระธาตุผาเงา" ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า "วัดสบคำ" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธา จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

    การสร้างวัดใหม่ ตอนแรกได้สันนิฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้ ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบซากโบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำเรียกว่า "ถ้ำผาเงา" ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฎเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อนเต็มไปหมด มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์ ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา เชื่อว่าเป็นพระประธานในวิหาร คณะศรัทธาจึงตั้งใจบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เหมือนเดิม

    ความฝันของนายจันทรา พรมมา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 นายจันทรา พรมมา หนึ่งในคณะศรัทธาทั้งหมดที่เริ่มบุกเบิกแผ้วถางป่า ได้นอนหลับและฝันในเวลากลางคือว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง รูปร่างสูง-ดำ มาบอกว่า "ก่อนที่จะยกชิ้นส่วนองค์พระประธานที่เหลือครึ่งองค์ออก ให้ไปนิมนต์พระมา 8 รูป ทำพิธีสวดถอนเสียก่อน แล้วจะได้พบสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งกว่านี้"

    ทำพิธีสวดถอน รุ่งขึ้น วันที่ 1 มีนาคม 2519 นายจันทรา พรมมา จึงได้นำเอาความฝันนั้นไปบอกให้คณะศรัทธาทั้งหมดฟัง และต่อจากนั้นทุกอย่างก็ดำเนินไปตามความฝันทุกประการ เพื่อปรับพื้นที่ซึ่งต็มไปด้วยตอไม้ รากไม้และก้อนหินน้อยใหญ่ งานปรับพื้นที่ได้ดำเนินไปด้วยความยากลำบาก

    ค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา วันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปิติยินดี เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้ เมื่อเอาหน้ากากออก จึงได้พบพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญโบราณวัตถุ วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อผาเงา" และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระธาตุผาเงา" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    วัดประจำเมืองเก่า ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้ จะเห็นได้ ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธ รูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า
    4. วันวิสาขบูชานี้ผมไปทำบุญที่องค์พระปฐมเจดีย์ และเข้าร่วมพิธีหล่อพระใหญ๋
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • d0800.jpg
      d0800.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.2 KB
      เปิดดู:
      62
  15. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    สาธุ ดี มากเลยได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ทำให้รู้เข้าใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาของบรรพบุรุษที่มีต่อพระพุทธศาสนา ทำให้เราห่วงแหนเอาใจใส่ศึกษาธรรมะคำสอนในพระพุทธศาสนามากขึ้นและนำเอาไปปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้น ไม่หันไปนับถือลัทธิอื่น
     
  16. noomit

    noomit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +63
    1. วิทยา พวงมาลี ลำดับที่ 25
    เหรียญที่5.
    หลวงพ่อครูบามหาเถรวัดสูงเม่น ปี 2538
    ศรัทธาหลวงพ่อครูบามหาเถร

    ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น

    ชาติภูมิ: ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร" หรือ "ครูบามหาเถร" เดิมชื่อ ปอย เป็นบุตรของนายสปินนะและนางจันทร์ทิพย์ ราษฎรใน

    หมู่ที่ ๒ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ.๒๓๓๒ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑

    เมื่ออายุครบบวชได้เข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ ณ พัทธสีมาวัดศรีชุม อำเภอเมืองแพร่ เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๒ พระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์

    และพระอนุสาวนาจารย์ ไม่ปรากฏนามแน่ชัด ได้รับฉายาว่า "กัญจนภิกขุ"

    ท่านได้ทำการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนแตกฉาน รวมทั้งภาษาล้านนา

    ได้ช่วยเป็นครูสอนพระภิกษุในวัดศรีชุมต่อมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสูงเม่น

    ครูบามหาเถรให้ความสนใจทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน มุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ

    ภายหลังได้ไปศึกษาต่อที่วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ เข้ารับการศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระมหาราชครูแห่งวัดสวนดอก

    เนื่องด้วยพระมหาราชครูมีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ

    มีอำนาจทางคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก แต่ท่านให้ความเลื่อมใสครูบามหาเถรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอักษรบาลีและพระธรรมวินัย

    จึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน พ.ศ.๒๔๐๒ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์

    ได้รับสมณศักดิ์ฉายาจากเจ้าหลวงเชียงใหม่ว่า "ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร"

    ครูบามหาเถรเดินธุดงค์ไปศึกษาเล่าเรียนต่อในประเทศพม่า จนสำเร็จฌาณสมาบัติชั้นสูง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

    และพระอรหันตธาตุ นำมาทูลเกล้าต่อเจ้าหลวงอินทวิชัยราชา เจ้าเมืองแพร่

    ต่อมา เจ้าหลวงเมืองแพร่ได้นำเข้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    แต่พระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้นำกลับมาไว้ที่เจดีย์วัดมหาโพธิ์ ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่

    เพื่อเป็นสมบัติของชาวแพร่สืบไป ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วภาคเหนือ สะสมสรรพวิชาไว้ในคัมภีร์ใบลาน

    ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
    และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น

    จะส่งซองพรุ่งนี้ครับ
    ขอรับสองรายการ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • j0922.jpg
      j0922.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.5 KB
      เปิดดู:
      66
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2013
  17. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    สาธุ หลวงพ่อท่านเป็นนักปราญแห่งล้านนาเป็นพระอริยสงฆ์ที่น่าเคารพนับถือ ขอมอบผ้ายันต์ที่ระลึกงานปิดทองหลวงพ่อให้โยม วิทยา พวงมาลี อีก 1 ผืน ต้องส่งซองใหญ่หน่อยถึงจะดี
    [​IMG]
     
  18. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    คงได้รับซองเเล้วนะครับ
     
  19. warodomsathan

    warodomsathan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,123
    ค่าพลัง:
    +1,032
    ขออนุโมทนา

    1. คุณสมภพ วโรดมสถาน ลำดับที่ 26
    2. ขอรับเหรียญที่ 21 เหรียญอิเกสาโล 2530 เพราะ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ท่านอัญเชิญมาเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ และขอรับผ้ายันต์ครูบามหาเถร เพราะท่านเป็นพระนักปฏิบัติจนมีความรู้ทางด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานมุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ
    3. ประวัติของท่าน (หายากมาก) หลวงปู่อิเกสาโรนั้น ท่านเป็นพระสงฆ์ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ท่านอัญเชิญมาเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ.235 หลวงปู่อิเกสาโรท่านมาพร้อมกับคณะหลวงปู่พระโสณเถระเจ้าและหลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงปู่อิเกสาโรท่านเป็นองค์ที่ 3 ในคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร รังสีของท่านเป็นสีแดงครับ
    4. วันวิสาขบูชา 24 พฤษภาคม 2556 ได้ไปทำบุญถวายสังฆทานที่วิหารหลวงพ่อน้อย วัดสิงห์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p0749.jpg
      p0749.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      70
    • d0750.jpg
      d0750.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.9 KB
      เปิดดู:
      85
    • f0961.jpg
      f0961.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.2 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2013
  20. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    จดหมายเตรียมจัดส่งพระ

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...