ศีลเป็นเสมือนรั้วกันความชั่ว : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย AddWassana, 11 กันยายน 2008.

  1. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center bgColor=#e2e2e2 border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ศีลเป็นเสมือนรั้วกันความชั่ว </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ศีลเป็นเสมือนรั้วกันความชั่ว

    การักษาศีลเป็นที่รู้สึกกันโดยมากว่า
    เหมือนเป็นการสร้างรั้วล้อมตนเอง
    ศีลยิ่งมากข้อ ก็ยิ่งเหมือนรั้วที่แน่นหนาแข็งแรง
    และยิ่งมีวงแคบ จะทำอะไรจะไปไหนก็ล้วนแต่มีข้อห้ามทั้งนั้น
    เมื่อรู้สึกดังนี้จึงไม่พอใจจะรักษาศีล
    ปรารถนาที่จะทำอะไรไปข้างไหนตามความพอใจ
    มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า

    ภิกษุรูปหนึ่งรู้สึกว่าวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเป็นอันมาก
    ไม่อาจที่จะรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
    มีความเบื่อหน่ายหมดกำลังใจ
    พระพุทธเจ้าได้ทรงเรียกภิกษุนั้นไปตรัสถาม
    ว่าสามารถจะรักษาเพียงข้อหนึ่งได้หรือไม่
    ภิกษุนั้นก็กราบทูลว่า ถ้าเพียงข้อเดียวก็สามารถ
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
    ถ้าอย่างนั้นก็ให้รักษาจิตของตน
    เมื่อสามารถรักษาจิตของตนได้เพียงข้อเดียว
    ก็สามารถรักษาข้ออื่นๆได้ทั้งหมด
    ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติตามพระพุทธโอวาท
    ก็สิ้นความอึดอัดรำคาญ
    สามารถรักษาพระวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์

    อันที่จริงจะเปรียบศีลเหมือนอย่างรั้วล้อมก็ได้
    แต่หมายความว่าล้อมมิให้ความชั่วเข้ามา
    เหมือนอย่างรั้วล้อมบ้านป้องกันโจรผู้ร้าย
    และรั้วบ้านนั้นก็มีประตูสำหรับเข้าออก
    แม้ตัวบ้านเองก็มีประตูหน้าต่าง
    คนโดยปกติก็เข้าออกทางประตู
    ถ้าปีนรั้วหรือปีนหน้าต่างเข้าหรือออก
    ก็เป็นการผิดปกติ
    ศีลก็เช่นเดียวกัน
    แม้เป็นข้อห้ามดังศีล ๕ เหมือนอย่างรั้วกั้น
    แต่นอกจากที่ห้ามไว้นั้นก็อาจทำได้
    เท่ากับมีประตูสำหรับเข้าออกอยู่ด้วยบริบูรณ์
    เพราะข้อที่พึงทำมีมาก
    จะแสดงไว้ก็คงไม่หมด
    จึงได้แสดงไว้แต่ข้อห้ามที่มีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น
    เมื่อเข้าใจดังนี้ ก็เข้าใจต่อไปได้ว่า

    ผู้ที่เว้นจากข้อห้าม
    ทำในข้อที่ท่านไม่ห้าม
    เรียกได้ว่าเป็นคนปกติ
    เหมือนอย่างเข้าออกทางประตูโดยปกติ
    เป็นอันเข้าใจความหมายของศีลโดยตรง



    คัดลอกจาก...ชุดความร่วมรู้เรื่องพระพุทธศาสนา
    ศีลในพระพุทธศาสนา
    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    ขอบคุณข้อมูลจากธรรมจักรดอทเน็ต

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่ารักษาศีล ก็เท่ากับให้ทานแล้ว
     
  3. jajakob9

    jajakob9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +41
    สาธุ สาธุ

    1 สีเลนะ สุคะติง ยันติ - การรักษาศีลทำให้เกิดความสุข
    2 สีเลนะ โภคะสัมปะทา - การรักษาศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์
    3 สีเลนะ นิพพุติง ยันติ - การรักษาศีลเป็นหนทางให้เข้าสู่นิพพาน
    4 ตัสมา สีลัง วิโสทะเย - ทุกคนควรรักษาศีลครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...