สมาธิที่ถูกต้อง ศึกษาได้ที่ไหนหรอคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย roneychai, 16 ธันวาคม 2013.

  1. roneychai

    roneychai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +156
    สมาธิตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่ต้นนะคับ
    ปฏิบัติอย่างไรหรอคับ

    ผมอยากนั่งสมาธิเป็นมากๆเลย ผมรู้สึกว่ามันดีสนุกที่สุดและน่าจะพบความจริงได้ละเอียดที่สุด

    ก่อนอื่นเลย ทนอ่านประวัติย่อๆผมสักนิดนะครับ:cool:

    กระผมคิดไปคิดมา ทุกอย่างลวงโลกทั้งนั้น แม้กระทั่งสิ่งที่อยู่กับเรายังลวงโลกเลย
    บัญญัตินาม เรียกว่า มือ แต่ที่แท้จริงแล้ว เรียกว่าอะไรก็ไม่รู้
    อย่างต้นไม้ เนี่ย รู้ได้ไงว่า มันเรียกว่าต้นไม้ ใครเป็นคนตั้งชื่อเรียกนี้
    แล้วคนตั้งชื่อเรียกนี้ เค้าก็สมมุติมันขึ้นมาอีก สรุป สมมุติจิงๆ
    ฉะนั้น ทุกอย่างคือสิ่งสมมุติทั้งนั้น ทุกอย่างก็แค่กำหนดมาเพื่อ ให้มีจุดยืนใช้ชีวิตให้ง่าย ทุกอย่างก็ จบลงที่ ความตาย

    สิ่งที่ผมรู้ตอนนี้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีจริง 100%

    ผมนับถือพระรัตนตรัย เพราะทำให้ผมได้ มาถือศีล 5 ก็เพราะพระรัตนตรัย
    ผมจึงถือว่า เป็นผู้มีพระคุณเป็นอย่างมากสำหรับผม

    ผมคิดแนวๆแบบนี้ ตั้งแต่เริ่มถือศีล 5 แล้วพิจารณาทุกอย่างให้เป็นตามความจริง
    ถูกอย่างก็แค่กำหนดมาเพื่อ ให้มีจุดยืนใช้ชีวิตให้ง่ายดาย
    แล้วทุกอย่างก็ จบลงที่ ความตาย

    ไม่รู้ว่าคิดผิดรึเปล่า ถ้าเกิดคิดผิดบอกผมทีนะคับ ไม่อยากเดินผิดทาง:'(

    ผมอยากเข้าสมาธิได้บ้าง ยังไม่รู้รสชาติของสมาธิ อยากจะรู้มากๆเลยว่าจะสงบมากเพียงใด

    นิสัยของผม
    1.โคตรชอบสันโดษมากที่สุด
    2.ไม่ชอบคนกลุ่มมาก ยิ่งคนจับกลุ่มคุยกันเรื่องสมมุติโลกหลีกทันที แต่ถ้าจับกลุ่มคุยธรรมมะผมกับชอบมากๆ แต่ผมก็ยังไม่ได้ทิ้งเรื่องทางโลกไปนะคับ
    3.ชอบความดี ละความเลวทั้งปวง
    4.อยู่ในพรหมวิหาร 4 ด้วยครับ
    5.ใครที่อยู่ในทางธรรมะ โคตรจะสรรเสริญ และใครที่อยู่ในทางเลวก็นึกสงสาร


    นั่นก็เป็นนิสัยคร่าวๆของผมนะคับ
    ถ้าอ่านตั้งแต่ต้นมาจนถึงนี่ก็ขอขอบคุณมากๆเลยละคับ
    สมาธิผมก็เคยอ่านและลองทำมาบ้างแล้ว แต่อยากได้คำแนะนำแบบลัดๆ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในการปฏิบัติถูกต้องแท้จริง
    ผมอยากได้ฟังประสบการของผู้ปฏิบัติจริงๆเลยอะคับ แบบข้ามทฏษฎีไปเลยนะคับ

    ขอคำชี้แนะนำด้วยนะคราฟ
     
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ก่อนอื่นต้องแยกแยะให้ออกก่อนนะครับ
    ระหว่าง สมมติทั่วๆไป กับสมมติสัจจะ
    อย่าไปหลงสมมติทั่วไป
    และก็ไม่ต้องไปใส่ใจสมมติสัจจะ
    มิฉะนั้นปฏิบัติไม่ถูก ไม่ก้าวหน้า

    สมมติทั่วไป ได้แก่ เงินทอง ลาภยศ สัญเสริญ
    สมมติสัจจะ ได้แก่ คน หมา แมว ต้นไม้

    ลดความลังเลสงสัยที่มีมากจนล้นออกไปก่อน
    ด้วยการศึกษาธรรม ทั้ง ๔ เรื่องนี้ให้เข้าใจถ่องแท้ คือ
    อิทัปปัจจยตา
    ปฏิจจสมุปบาท
    ไตรลักษณ์
    ขันธ์ ๕
    อริยสัจ ๔

    แล้วถึงเริ่มค้นหาเรื่องการภาวนา อันได้แก่
    สมถะ (กรรมฐาน) ๔๐ และ วิปัสสนา (สติปัฏฐาน)

    ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของความเพียร
    ชาตินี้ ได้แค่ไหน ก็ขึ้นกับตนเอง
     
  3. octobernism

    octobernism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +150
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล ครับ
    สอนตั้งแต่พื้นฐานคือ สมถะ จนถึง วิปัสนา ครับ
    สำหรับผม การได้เรียน หลักสูตรสมาธิ ที่นี่ ถือเป็นช่วงเวลา และสิ่งมีค่าสูงสุดในชีวิต
    เชิญพิสูจน์ และ เรียนรู้ได้ตามกำลังสติปัญญา นะครับ
     
  4. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ควรศึกษา พระไตรปิฎก ครับ อ่าน คัมภีร์วิสุทธิมรรค อ่านให้มากที่สุด

    ไม่ควรข้ามครับ เดี๋ยวไปผิดทาง ปฎิบัติแล้ว กิเลส ควรลดลง
     
  5. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    อธิษฐานจิตก่อนนั่งสมาธิว่า"ขอสัมมาสมาธิจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ" ทำทุกครั้งที่นั่งสมาธิ
     
  6. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    ศีล เป็นเสาเข็ม เป็นบาทฐาน

    สมาธิ เป็นยาทา

    วิปัสสนา เป็นยากิน
     
  7. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ศีล ห้าให้ได้ก่อน ตัดความอยากทุกอย่าง ยิ่งฟรีคๆ ยิ่งดี
    ไปไหนให้มองเหมือนเรามาเยือนต่างดาว อย่าใช้สัณชาติญาณทางกาย
    ที่กรรมพันธุ์มันส่งให้เรารู้สึก มองให้เหมือนว่า เราโดนมนุษย์ต่างดาว
    จับตัวมาใส่ไว้ในร่างอะไรก็ไม่รู้ หน้าตาแปลกๆ สิ่งแวดล้อม
    คนอื่นๆก็ให้มองว่าเป็นส่วนนึงของ อาณาจักรประหลาดๆของ
    มนุษย์ต่างดาว และพยามคิดว่าเราจะหาทางหนีออกไปจากที่นี้
    ยังไงเพราะว่ามันช่างน่ากลัว


    สำหรับคนที่เริ่มต้นจริงๆไม่เคยฝึกอะไรมาเลยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะ กสิณ มโณ ฯลฯ เอาแค่
    นั่งสมาธิ อานาปานสติ พุทธ โธๆ ให้แค่ไม่มีภาพ เสียง
    ความคิดใดๆ แทรกได้ อย่างสมบูรณ์จนถึงจุดที่ หายใจไม่ออก
    ถ้ายังไปไม่ถึงตรงนั้นยังจะไปต่อเรื่อง พิลึกพิศดารอะไรจะยังไม่ได้ทั้งสิ้น
    เอาแค่นั่งสมาธิ แต่ละครั้ง ไม่มีนิวรณ์แทรกให้สำเร็จก่อน
     
  8. Allymcbe222

    Allymcbe222 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +1,445
    แนะนำว่าควรศึกษากับท่านที่สอนและทรงกรรมฐาน 40 ครบทุกกอง สติปัฏฐาน 4 ทุกหมวดทุกบรรพครับ โอกาสสอนผิดจะน้อย ปัจจุบันหาได้ยากยิ่ง แต่ก็ยังมีอยู่ ซึ่งถ้าพบแล้ว ไม่มีทางหลงผิดไปอย่างน่าเสียดายแน่นอนครับ
     
  9. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ทุกอย่างไม่ใช่สมมติมีแต่เราไม่เอาชื่อไปเรียกหรือมีและเอาชื่อเข้าไปเรียก
    การตายเป็นแค่การเริ่มต้นไม่ใช่จุดสิ้นสุด
    สมาธิพื้นๆคืออะไรจะเกิดเวลานั่งสมาธิก็ให้ ชั่งมัน จิตหรือกายจะเกิดอะไรหรือมันคิดอะไรก็ชั่งมัน ชั่งมัน ไม่สน ปล่อยมันเป็นไปจนกระทั่งเลิกนั่งสมาธิ
    สมมติจิตมันวูบไปเห็นสวรรค์ ไปนรก ไปภพภูมิอื่น ก็ให้ชั่งมัน ปล่อยมันเป็นไปเรื่อยๆ
    นี่คือสมาธิต้นๆ คือนั่งหายใจทิ้งและก็ชั่งมันเวลานั่งจะปวดจะไรไม่สน จะหายปวดไม่สน จิตมันจะบ่นไรไม่สน ลมหายใจจะหยุดก็ไม่สน ไม่สนไปเรื่อยๆเลย มันจะกระทำการของมันเองขณะนั่ง นี่คือแบบสมาธิต้นๆ
    ยังไม่ถึงขั้นต้องเอาตัวเองมาตายข้างหน้า ยังไม่ต้องเอาสาวสวยเปลือยกายมานอนตรงหน้า

    มั่วตอบนะครับอย่าถือสา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2013
  10. Broccocat

    Broccocat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +4,094
    สวดมนต์ภาษาพระ+สวดคำแปล ก่อนนั่งสมาธิน่าจะดีกว่านะคะ คือจะทำให้ นิ่ง สงบ สยบ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ง่ายน่ะค่ะ อิอิ ละก็นึกภาพพระพุทธรูปหรือพระอริยสงฆ์ที่คุณชอบไปด้วยยิ่งดีเลยค่ะ
     
  11. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สมาธิที่ถูกต้องนั้น

    ศึกษาได้จากคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกในพระไตรปิฎก เป็นหลักครับ
    โอกาสผิดพลาดน้อยมาก (โอกาสที่ผิดก็เพราะอ่านพระสูตรแล้วเข้าใจผิดเอง)

    แนะนำ สมาธิสูตร กับ อานาปานสติสูตร ครับ

    โดยหลักๆ คือ มีสติ มีความรู้สึกตัว ไม่เคลิ้มหลับ ทำอย่างสบายๆ ไม่เคร่งเครียด

    สมาธิสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ

    - สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
    - สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
    - สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
    - สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑


    1) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน


    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

    2) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน


    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ

    3) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว ความสำคัญหมายว่ากลางวันกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่ เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

    4) ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ



    อานาปานสติสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
    - เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    - เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว
    - เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    - สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด
    - เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    - เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    -สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย

    เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า
    - เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า
    - เราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า
    - เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลสหายใจเข้า
    - สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี

    เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ธันวาคม 2013
  12. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    ที่ทุกท่านกล่าวมาถูกหมดครับ แต่คุณต้องเลือกว่าแบบไหนเหมาะสมกับคุณ คนเรามีจริตนิสัย อารมณ์ ความเชื่อ แตกต่างกันวิธีฝึกจึงไม่เหมือนกัน ไปศึกษาเรื่อง จริต6 ดูน่ะครับแต่ล่ะจริตก็มีวิธีฝึกไม่เหมือนกัน เมื่อคุณรู้จริตตัวเองแล้ว รู้ว่าต้องใช้กรรมฐานกองไหน ก็ไปหาครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐานกองนั้นๆ ฟังเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น ไม่ต้องหาที่ไหนยูทูปนี้แหละครับเพียบ ฟังเยอะๆ รู้สึกศรัทธาองค์ไหน องค์นั้นแหละครูบาอาจารย์ของคุณ
     
  13. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ช่วงแรกๆก็เข้าท่าดี แต่ดูเหมือนน้องเจ้าของกระทู้จะคิดแบบฉาบฉวย จะให้ได้อะไรก็เอาผลสำเร็จเลย หลายคำแนะนำที่ผ่านมาเป็นสัมมาทิฐฐิ แต่ถ้าไม่มี
    อิทธิบาท 4 ต่อให้ครูดีแค่ไหนก็เจ๊ง ค่อยๆดูเบื้องต้นก่อนจนเห็นอะไรบางอย่างแล้วค่อยไปต่อก็ดีครับ แล้วครูอาจารย์จะมาเองเมื่อถึงเวลา
     
  14. roneychai

    roneychai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +156
    ขอบคุณทุกท่านนะคับ ที่มาตอบคำถาม ขอบคุณจิงๆคับ
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สมาธิแปลว่าความตั้งใจมั่น ตรงนี้คือหัวใจของสมาธิที่หลวงปู่สาวกโลกอุดรสั่งสอนเอาไว้ การทำอะไรก็ต้องมีความตั้งใจมั่นที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เป็นหัวใจเป็นหลักก่อน
    ส่วนสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติก็คือความนิ่งในอารมณ์ ส่วนนี้เป็นสมาธิระดับรองครับ สมาธิตัวรองนี้มีขึ้นมีลงตามสภาพของการปฏิบัติ แต่สมาธิตัวแรกซึ่งเป็นหัวใจ จะต้องมีอยู่อย่างตั้งมั่นไม่เสื่อมคลายครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมาธิตามเพื่อนๆกล่าวมา เพิ่มเติมให้เดินจงกรมที่วัดด้วย สะดวกกลางวันหรือกลางคืนก็ทำไปตามนั้น หัวข้อในการภาวนาคือกรรมฐาน 40 กอง คุณเลือกจับสัก 7-10 กองถ้าคุณปรารถนาพุทธภูมิ ถ้าไม่ปรารถนาก็สัก 3-4 กองก็ได้ เช่น สรรญเสริญพระพุทธคุณ เทวดานุสสติ กาคตานุสสติ ทานนุสสติ มรณานุสติ หรืออนัตตะลักขณะสูตร ก็ได้ (ที่เหลือค้นในตำรา กรรมฐาน 40 กอง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) ควรเดินจงกรมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
     
  17. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ชออภัยขอรับ ขอตอบตามความรู้สึกของข้าพเจ้า เมื่อได้อ่านสิ่งที่คุณเขียนมา ข้าพเจ้ารู้สึกว่า คุณเป็นคนไม่จริงใจขอรับ และชอบเสแสร้งแกล้งทำมากกว่าขอรับ ส่วนสถานที่ต่างๆท่านอื่นๆได้ตอบให้แล้วขอรับ ในเวบฯพลังจิตนี้ก็มีขอรับ ถ้าต้องการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตัวเอง เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนเท่านั้นขอรับ
     
  18. ฐนพลศ์

    ฐนพลศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +289
    ตามข้อแนะนำของคุณ tsukino2012 เลยครับ
    ตรง ชัดเจน แล้วหลังจากนั้นค่อยๆศึกษาตามจริตของตัวเอง
    อิทัปปัจยตา กับ ปฎิจจสมุปบาท
    ศึกษา ปฎิบัติมากๆให้ถึงซึ่งมหาสติปัฎฐาน
    จะนำไปสู่ความสุข ความสงบแก่ใจเป็นอย่างยิ่ง
    ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ด้วยนะครับ
    ผมแค่ยังฝึกหัดปฎิบัติ ยังไม่ได้ลึกซึ้งมากมายอาจกล่าวผิดไป
    ขอให้ จขกท หมั่นปฎิบัติและเจริญๆในธรรมครับ อนุโมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 ธันวาคม 2013
  19. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    หนังสือ ที่หลวงพ่อพระราชพรหมญาน ทำไว้ให้ ที่วัดท่าซุงเยอะมาก ไปหามาศึกษาเลยคะ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเทศน์ หรือหนังสือไว้ศึกษาเองคะ
    โมทนาคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...