ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รายงานสถานการณ์รอบโลก/นอกโลก

    [​IMG]

    ช่วงวันที่ 17-18 ก.พ.2557 ตรวจพบวัตถุลึกลับบริเวณดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ SOHO และ STEREO ที่ประจำการอยู่นอกโลกเพื่อสังเกตการณ์ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวัตถุ UFO หรือจานบิน

    คลิป กล้อง SOHO และ STEREO

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/HRVP4XnVC1I?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    คลิป กล้อง SOHO

    SOHO/LASCO C3
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Newsmania

    [​IMG]

    พระญี่ปุ่นฝึกโหด คอร์สเพิ่มพลังจิต 100 วัน กินแค่ข้าวต้มเช้าเย็น+บ๊วย 1 เม็ด แถมอาบน้ำอากาศหนาวๆ วันละ 7 ครั้ง! @TomyamWasabi
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    tatoott1009 ได้แชร์ลิงก์

    [​IMG]

    ทะเลอาร์กติก ฤดูการที่น้ำแข็งละลาย จะยือยาวออกไป ! จริงหรือ ๆ?
    Arctic Sea Ice Melting Season Getting Longer ! WOW REALLY?

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/C4fMUkQD6nQ?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    TAT'S 2 MIN NEWS 21614 Arctic Sea Ice Melting Season Getting Longer ! WOW REALLY - YouTube

    Arctic Sea Ice Melting Season Getting Longer ! WOW REALLY? | Tat's Revolution
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Weather Lover Club

    [​IMG]

    status บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้น และมีอากาศเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2557

    The ridge of nearly active high pressure covers upper Thailand and the South China Sea. Cooler weather by dropping 3-5 °C is likely with windy. More rain is expected over in the South during 20-22 February.
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Weather Lover Club ได้แชร์ รูปภาพ ของ Solute Gallery Hall

    [​IMG]

    เพราะคนเรามองเห็นความสวยงามที่แตกต่างกัน... ที่ผมพูดอย่างนี้แน่นอนครับ ว่าไม่ได้พูดขึ้นมาอย่างลอย ๆ ยกตัวอย่างรูปทางช้างเผือกแล้วกันครับ ใกล้ตัวดี

    ผมสังเกตมาหลายครั้งแล้วครับ บางคนสนใจเรื่องฉากหน้ามากกว่าทางช้างเผือก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ่ายภาพออกมาแล้วฉากหน้าดี สวย แถมมีฉากหลังเป็นทางช้างเผือกจาง ๆ เล่าเรื่องราว แต่บางคนก็ไม่ค่อยจะสนใจฉากหน้าเลย จะเอาแต่ทางช้างเผือก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ช้างของเขาเหล่านั้นโหด และดุดันมาก แต่ดูแล้ว ภาพมันไม่ได้เล่าเรื่องราว ที่มา ที่ไปอะไรมากมาย กลุ่มคนเหล่านี้สามารถออกมาถ่ายภาพที่หลังบ้านตัวเองได้ทุกคืน (ในกรณีที่บ้านของเขาฟ้าดี ไม่มีแสงเมืองรบกวนนะครับ) บางคนก็ชอบสีสันแบบแรง ๆ ในขณะที่บางคนชอบแบบจืด ๆ ไม่รุนแรงมากมาย ช้างไม่ตกมัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ชอบถ่ายช้างให้เป็นขาวดำ.. (ซึ่งผมก็เคยมีอารมณ์นั้นมาก่อน)

    อย่างเช่นภาพนี้ครับ ถามว่าผมชอบอะไรในภาพนี้ ? ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบสีสด แถมดวงอาทิตย์ก็กำลังจะขึ้นมาด้วย ทำให้ผมสูญเสียข้อมูลในพื้นที่เล็ก ๆ ไปนิดนึง แถมฉากหน้าก็เป็นฉากเดิม ๆ ครับ แต่อย่าไรก็ตามส่วนที่ผมชอบที่สุดในรูปนี้ก็คือ ผมได้ออกไปถ่ายมันครับ และผมก็ไม่ได้ไปคนเดียวด้วย ผมมี เพื่อน มีพี่ อีกหลาย ๆ คนที่ออกไปทำในสิ่งที่ตัวเองรัก

    รูปของผมอาจจะถูกใจใครบางคน และอาจจะขัดใจใครหลาย ๆ คน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับรูปของทุกคน แต่ผมรู้อยู่อย่างเดียว ว่าการที่ได้ออกไปถ่ายรูป นั่งดูดาว มันก็มีความสุขแล้วครับ

    แด่ภาพที่มีสีสันรุนแรงกว่าปกติ...

    Camera : Nikon D800
    Lens : Nikon 14-24 mm
    Focal Length : 24 mm
    Shutter Speed : 30 sec
    Aperture : f/2.8
    ISO/Film : 4000
    Category : Astrophotography
    Taken : February 7th 2014
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พุฒิพงศ์ ก้อนวิมล

    [​IMG]

    ถ้าถามทุกๆคนว่าภูเขาอะไรสูงที่สุดในโลกทุกคนคนจะตอบว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์กันทั้งนั้น แต่มันคือคำตอบที่ผิดคำตอบที่ถูกคือภูเขา"มัวนาเคีย" อยู่บนหมู่เกาะฮาวายต่างหาก(ภาพบน)
    มันเป็นยอดภูเขาไฟที่สูงกว่า 10,200 เมตรซึ่งสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ประมาณ 1,200 เมตร !

    ดังนั้นในขณะที่เอเวอร์เรสต์เป็นภูเขาที่สูงเพียงแค่ที่ระดับ 8,848 เมตร มันกลับไม่ใช่ภูเขาที่มีความสูงที่สุดแต่อย่างใด
    แล้วรู้มัยว่าภูเขาที่สูงที่สุดในจักวาลอยู่ที่ไหน???คำตอบก็คือ อยู่บนดาวอังคาร
    เป็นภูเขาไฟยักษ์ที่มีชื่อว่า โอลิมปัส(ภาพล่าง)ภูเขา ลูกนี้เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ และสูงที่สุดในจักรวาลเท่าที่มีข้อมูลอยู่ในปัจจุบัน

    ด้วยความสูง ถึง22.5 กิโลเมตรและกว้าง 624 กิโลเมตร ภูเขาลูกนี้มีความสูงเกือบ 3 เท่าของภูเขาเอเวอร์เรสต์ และมีฐานขนาดมหึมาชนิดที่สามารถครอบรัฐแอริโซน่าหรือหมู่เกาะอังกฤษได้มิดเลยทีเดียว ส่วนปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทซึ่งมีความกว้างประมาณ 72 กิโลเมตร และลึกเกือบ 3.2 กิโลเมตรนั้น ก็มีขนาดใหญ่พอที่จะกลืนกรุงลอนดอนลงไปได้ไม่ยากเลย
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Ammy Chumnankij

    สวัสดีวันพฤหัสค่ะ

    วันนี้เอากลอนมาฝากและมีคลิปให้ฟัง
    “ที่นาจะเป็นบ้าน คนเกียจคร้านจะอดตาย ภูเขาจะย้าย แผ่นดินจะเดิน พระจะไม่เชื่อสมภาร พญามารจะสู้ผู้ครองเมือง เสือเหลืองจะปล้นบ้าน ห้วยหนองคลองละหานจะแคบ แกลบจะมีราคา หมูหมาคนตายจะไม่เป็นไข้ โรคใหม่จะมากินคน ไอ้ตีนมนจะออกเขา เสาจะกินเงิน มนุษย์เดินดินจะกินน้ำพญานาค คนทุกข์ยากจะแห่เข้าเมือง คนนุ่งผ้าเหลืองจะมีเมีย คนเกิดจะเหลือน้อยลง สัตว์ป่าดงพงพีจะสูญพันธุ์ คนคุยกันจะชักหาง ขุนนางจะขอทาน ชาวบ้านจะออกรบ ศพจะเกลื่อนเมือง”

    คลิปคำทำนายเป็นกลอนภาษาเขมรค่ะ ลองฟังกันดู คำทำนายเขมร สะท้านประเทศไทย

    <iframe width="640" height="360" src="//www.youtube.com/embed/zgg288BrB4A?feature=player_embedded" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รายงานสถานการณ์รอบโลก/นอกโลก

    Aurora Borealis and the Aurora Australis

    [​IMG]

    ภาพถ่ายแสงออโรร่าที่ขั่วโลกเหนือใต้จากการเกิดพายุสนามแม่เหล็กในบรรยากาศโลกระดับ G2 หรือ kp=6 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 57

    - ออโรร่าสีชมพูสวยสดใสแถบขั่วโลกใต้ ณ ทะเลสาบ Ellesmere เมืองแคนเทอร์เบอรี่ประเทศนิวซีแลนด์
    Aurora Australis

    - ออโรร่าแถบขั่วโลกเหนือที่รัฐเมนประเทศสหรัฐอเมริกา

    [​IMG]

    Aurora

    - ออโรร่าแถบขั่วโลกเหนือที่แคนาดา สีเขียวอมชมพู

    [​IMG]

    Auroras
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอร์ด เซย์เรน

    [​IMG]

    Bz คืออะไร ?

    [​IMG]

    ตามกราฟ http://www.swpc.noaa.gov/ace/Mag_swe_24h.gif
    ช่องบนสุดที่หน้ากราฟเขียนว่า Bt (สีขาว) Bz (สีแดง)
    ...............ลมสุริยะนั้น แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง แต่สนามแม่เหล็กนั้น ไม่เสมอไป เนื่องจาก สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์เอง ก็ไหลออกมาไม่ได้เป็น เส้นตรงตั้งฉากผิวดวงอาทิตย์เสมอไป และ การเกิดการพ่นมวลโคโรน่า corona mass ejection หรือ พายุสุริยะ มีแนวสนามแม่เหล็กเป็นบ่วง มีมุมของสนามแม่เหล็กปัดไปมา บน-ล่าง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ครบหมดทุกทิศทาง
    ...นี่คือเรื่องของ " เวคเตอร์ " ครับ กราฟของดาวเทียม ACE ตามลิ้งข้างต้นนี้ ไม่ได้ มีองค์ประกอบครบ เนื่องจาก แสดง เวคเตอร์รวม B total และ เวคเตอร์ z หรือ Bz เท่านั้น ซึ่งที่จริงต้องมีครบ 3 แกน นั้นคือ X Y และ Z แต่.... แกน z ในลมสุริยะมีผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กโลกมากกว่า แกน x และ y ดังรูป ทาง ACE จึงตัดการแสดงผลของ x และ y ออกไป (ถ้าจะสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ว่ามุมสนามแม่เหล็กลมสุริยะเป็นแบบไหน ต้องใช้ครบ 3 แกนครับ)
    ........ Bz มีค่าเป็น - คือ ? ..........
    ค่า - ไม่ได้หมายความว่ามันติดลบในเรื่องกำลังแม่เหล็ก แต่เป็นการแสดงทิศทางในเวคเตอร์ ที่วิ่งตรงข้าม กับทิศทางที่อ้างอิง นั่นคือ ขั้วของสนามแม่เหล็กโลก ......... สนามแม่เหล็กโลกนั้นในปัจจุบัน มีขั้วเแม่เหล็กหนือ อยู่ในขั้วภูมิศาสตร์ใต้ และขั้วแม่เหล็กใต้ อยู่ในขั้วภูมิศาสตร์เหนือ (สลับกันอยู่) เราใช้หลักการมือขวาเพื่อดูว่าสนามแม่เหล็กด้านไหนเป็นขั้วเหนือ เราจะให้เวคเตอร์เป็น + หรือว่าพุ่งออกนั่นเอง (จริงๆ สนามแม่เหล็กมันพุ่งออกทั้งคู่ครับ แต่มันมีสนามไฟฟ้าหมุนคนละด้านกัน ขั้วใต้จะใช้มือซ้าย ซึ่งทั้ง 2 จะวิ่งเข้าหากัน) สนามแม่เหล็กลมสุริยะ

    ............Bz เป็น - คือการวิ่งสวนกระแสที่ด้านหน้าปะทะของสนามแม่เหล็กโลก (รูปบน) จะเห็นว่าขั้วเหนือต้องวิ่งไปหาขั้วใต้ด้านบน แต่สนามแม่เหล็กลมสุริยะ วิ่งมาต้านเอาไว้ ทำให้ทั้ง 2 ขั้วถูกแรงนี้ต้านเอาไว้ไม่ให้จับเป็นบ่วง รวมถึงเวคเตอร์ด้านบน ที่เป็นขั้วใต้ ของโลก มีเวคเตอร์สนามแม่เหล็กลมสุริยะ พุ่งลงมาในทิศทางเดียวกัน ทำให้มันเกิดแรงลากให้สนามแม่เหล็กโลกกางออก ลักษณะนี้ถ้าเกิดเป็นเวลานาน การกางของขั้วสนามแม่เหล็กโลก (Kp-index) จะมากกว่าปกติเล็กน้อย

    ............Bz เป็น + หรือ เวคเตอร์สนามแม่เหล็กลมสุริยะวิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับสนามแม่เหล็กโลกที่หน้าปะทะ ผลคือการ บีบตัวของสนามแม่เหล็กโลก แต่ถึงมันจะบีบ ในสภาวะพายุสุริยะ ค่าการกางที่ขั้วแม่เหล็กโลก (Kp-index) ก็มีค่าสูงอยู่ดี แต่ถ้ากำลังสนามแม่เหล็กในเวคเตอร์นี้เท่ากัน สนามแม่เหล็กลมสุริยะแบบวิ่งสวนกระแส Bz - จะให้ค่า kp สูงกว่า "เล็กน้อย" (ขั้วแม่เหล็กโลก กางออกมาก หรือ พายุแม่เหล็กมีอาณาเขตกว้างขึ้น **ไม่ใช่รุนแรงขึ้น)

    ** หมายเหตุ **
    จากภาพ คือสนามแม่เหล็กลมสุริยะ ชี้ขึ้นหรือ ลง ก็จริงแต่การเคลื่อนที่ยังคงแผ่ตรงมายังโลก ตามเส้นสีเหลือง
    กราฟลมสุริยะที่ลงไว้ เป็นภาพ real time ครับเปิดเวลาไหนมันก็จะแสดงเวลานั้น
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอร์ด เซย์เรน

    [​IMG]

    จากเว็บ http:// เนื่องด้วยข้อความเตือน.........สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้ถึง -11.8 nT ................ ใช้ข้อมูลผิดอย่างมากครับ ภาพนี้

    [​IMG]

    คือภาพ icon ของข้อมูลสนามแม่เหล็ก และความเร็วลมสุริยะครับ **...ไม่ใช่....** สนามแ่ม่เหล็กโลก

    ...ข้อมูลกราฟมาจาก ดาวเทียม ACE ซึ่งงานโดยตรงคือเก็บข้อมูลลมสุริยะครับ
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Predee Yuenyong

    [​IMG]

    พายุ 3 ประเภทจากดวงอาทิตย์ ...จากคุณลอร์ดเซเรน ( ดูคลิปครับ) แยกมาให้ไม่สับสน พระอาทิตย์ ๑ - YouTube
    ---------------------------
    อ่านก่อนแล้วดูคลิปประกอบครับ ผมให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของวงแหวนรังสีเป็นอย่างไร ----
    1.พายุอนุภาคพลังงานสูง (Solar energetic particle storm)
    2.พายุแม่เหล็กสุริยะ หรือ พายุสุริยะ (Solar storm // Solar magnetic storm // Corona mass ejection)
    3.พายุคลื่นวิทยุรบกวน (Radio backout // Radio storm)
    ----------------------------------------------------
    พายุ 3 ประเภทไม่ใช่พายุชนิดเดียวกัน ทั้ง 3 มีเอกลักษณ์ต่างกันค่อนข้างมาก

    1.)พายุอนุภาคพลังงานสูง คืออะไร

    ......พายุอนุภาคพลังงานสูง เป็น พายุรังสีอนุภาคโปรตอน เป็นหลัก (มีมวล) เกิดจาก Solar flare เหตุผลที่ปล่อยอนุภาคโปรตอน
    ที่ปกติอนุภาคพลังงานสูงมากระดับนี้จะอยู่ลึกเข้าไปในดวงอาทิตย์ ระดับที่พลาสม่า แตกตัวจนเหลือแต่อนุภาค ชั้นนี้อยู่
    ระหว่างแกนดวงอาทิตย์กับผิวดวงอาทิตย์ สาเหตุที่ออกมาถึงผิวได้คือการแผ่ของขั้วสนามแม่เหล็กย่อย (ตอนสลับขั้ว)
    ......แต่ว่า Solar flare ก็..ไม่ได้..ทำให้เกิดพายุรังสีแบบนี้ได้ทุกๆ ครั้ง flare ส่วนมากที่จะเกิดพายุรังสี ต้องมีจุดเกิดลึกลงไป
    ใต้ Sunspots ที่มีพลาสม่าหนาแน่นมาก รวมไปถึงพลาสม่าร้อนจัดที่ขึ้นมาจากชั้นรังสีอนุภาคบางส่วนดันตัวขึ้นมาใกล้กับผิวของ
    ดวงอาทิตย์ พอเกิด Solar flare ที่เป็นการตัด และ เชื่อมต่อใหม่ของสนามแม่เหล็ก (คล้ายๆไฟฟ้าลัดวงจร) ชุดสนามแม่เหล็ก
    ที่ปะทุออกมาก็ดันให้ส่วนพลาสม่าแต่ร้อนจัดมาก จนแผ่รังสีอนุภาคตลอดเวลา ระเบิดออกจากดวงอาทิตย์ เป็นม่านโปรตอนขนาดใหญ่
    แผ่ไปแทบจะทุกทิศทางเหมือนกับแสง (ไม่เป็นไปตามการขยายตัวของ Corona mass ejection) และมีความเร็วมากเกือบเทียบ
    เท่าแสงเลยด้วย (Solar flare อาจจะมีขนาดแค่ M 4.0 หรือ 5.0 ก็อาจจะทำให้เกิดพายุอนุภาคพลังงานสูงได้มากถึงระดับ
    S3 - 4 เลยก็มี)

    .....ผลกระทบ....
    ----- การสื่อสาร ------ อนุภาคพลังงานสูงแบบนี้ถ้าเข้าชนกับสนามแม่เหล็กโลก สนามแม่เหล็กโลกจะไม่สามารถเบี่ยงออกได้ในทันที
    มันจะทะลุเข้ามาก่อนระดับนึงจนเข้ามาในจุดที่มีสนามแม่เหล็กโลกเข้มมากพอจะจับเอาไว้ได้ ก็คือ แถบวงแหวนรังสีอนุภาคของโลก
    (Van allen belt) มี 2 ชั้น -- ชั้นแรก อยู่เหนือบรรยากาศโลกไปไม่ไกลมาก (วงแหวนชั้นใน) -- ชั้นที่ 2 อยู่เกือบถึงขอบของ
    สนามแม่เหล็กโลก (แถบชั้นนอก) ซึ่งกราฟจากเว็บ NOAA ดาวเทียม GOES-15 เก็บข้อมูลอยู่ที่วงแหวนชั้นนอกนั่นเอง
    .....กระทบอย่างไร.........อนุภาคโปรตอนปริมาณมากๆ ในวงแหวนรังสีของโลกนี้ สามารถกวนคลื่นวิทยุได้ ทำให้สัญญาณขาด หรือ
    มีความคมชัดน้อยลง ถ้าดาวเทียมอยู่เลยออกจากระดับวงโคจรชั้นล่าง ไปด้านนอกแถบวงแหวนรังสี (พวกดาวเทียมค้างฟ้า หรือ กึ่ง
    ค้างฟ้า) คือมีแถบวงแหวนรังสี กันอยู่นั่นเอง ถ้าจะส่งข้อมูลกลับมาโลกก็ต้องผ่านชั้นวงแหวนรังสีนี้คลื่นก็อาจจะโดนกวน หรือ ตัดขาดได้
    *** อีกอย่างคือ การชนกับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกของดาวเทียม หรือ แผง Solar cell ของดาวเทียม อันนี้ก็ทำให้เสียหายได้ถ้าโดนมากๆ
    พวกที่เก็บข้อมูล ต่างๆ ที่ใช้ก่อนส่งข้อมูลกลับมาโลกโดน โปรตอนพลังงานสูงชนก็อาจจะเสียหายได้ (ปกติอุปกรณ์พวกนี้อ่อนไหวอยู่แล้ว
    เพราะเป็น micro หรือ nano เทคโนโลยีที่ส่วนประกอบสำคัญค่อนข้างเล็ก) *** สรุปคือ แค่เฉพาะการสื่อสารระหว่างดาวเทียบ
    มายังโลก หรือ โลกไปหาดาวเทียม

    ------ คน ? ------- อนุภาคจากพายุรังสีแบบนี้เป็นโปรตอน มีมวลมีโมเมนตัมการชน (ไม่เหมือนอิเล็กตรอนที่เป็นพลังงานซะส่วนมาก)
    ในระดับ DNA ของคนก็เลยรับผลกระทบได้เหมือนกันคือการชนกับสาย DNA แล้ว DNA ขาดหลุดออกไป
    (แต่ผลกระทบน้อยกว่าอนุภาคนิวตรอน ที่มีขนาดใหญ่กว่า) .......แต่จุดที่วงแหวนรังสีอนุภาค นี้เชื่อมต่อกับ ผิวโลก หรือ บรรยากาศโทรโพสเฟียร์ที่คนอยู่
    มีแค่ที่ขั้วเท่านั้น ก็เลยไม่มีปัญหามาก จะมีก็คือพวกเครื่องบินที่บินผ่านขั้วโลกตอนมีพายุรังสีที่อาจจะโดน (แต่ถ้ารู้ก็บินอ้อมได้)

    -----ทางไฟฟ้า ----- // ไม่มี //

    ---- กายภาพโลก ---- // ไม่มี //

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    2.)พายุแม่เหล็กสุริยะ หรือ พายุสุริยะ คือ.....

    ........ตรงตัว คือคำว่า พายุ ที่เกี่ยวกับลมที่แรงมาก หรือ ฝนที่ตกหนักมาก พายุสุริยะก็เหมือนกัน มันกล่าวถึงลมสุริยะที่พัดเร็ว
    หรือมีสนามแม่เหล็กเข้มมากกว่าลมสุริยะธรรมดา สิ่งนี้คือ Corona mass ejection (ปรากฎการณ์การพ่นมวลพลาสม่าชั้นโคโรน่าของ
    ดวงอาทิตย์) นั่นเอง ........สาเหตุการเกิด...... ส่วนใหญ่มาจาก Solar flare แต่บางทีก็ยืดหลุดออกมาจากดวงอาทิตย์เองได้เช่นกัน คือ
    พวก Prominence eruption ที่ไม่ใช่ flare ในชั้นโคโรน่าด้วย พวก Prominence eruption ส่วนใหญ่เกิดที่บ่วงสนามแม่เหล็ก
    ใหญ่ๆ กว้างมากๆ แถวๆเขตขั้วดวงอาทิตย์ ปกติไม่ทำให้เกิดการพ่นมวลโคโรน่าที่รุนแรง แบบ flare

    .......ผลกระทบ.......
    ------ ทางไฟฟ้า ------ สนามแม่เหล็กจากมวลโคโรน่าพอปะทะสนามแม่เหล็กโลกแล้วเกิด 2 เหตุการณ์คือ การถ่างออกของขั้วแม่เหล็กโลก
    และ สนามแม่เหล็กโลกสั่นสะเทือน ............การถ่างออกของขั้วแม่เหล็กโลก หรือการกาง ของสนามแม่เหล็กบริเวณขั้ว เนื่องจากสนามแม่เหล็ก
    ของพายุสุริยะ กด หรือ ดึงกระชาก สนามแม่เหล็กโลก ค่าที่เกี่ยวข้องคือ ค่า Kp-index ค่าปกติ จะวัดเป็นหน่วยละ 5 องศาที่กางลงมาจากศูนย์กลาง
    ขั้วแม่เหล็กโลก ...........เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องจริงๆคือ ....สนามแม่เหล็กโลกสั่นสะเทือน ตรงตัว นั่นคือสนามแม่เหล็กโลกแปรปรวน ในเรื่องของทิศทาง
    ส่ายไปมา (ดูการเคลื่อนไหวของแสงออโรร่าได้ว่าสั่นยังไง) ** ตัวนี้ทำให้กระแสไฟฟ้ามีปัญหาได้ เฉพาะสายส่งยาว (หลาย 10 กิโลเมตร) หรือ
    หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดันสูง สนามแม่เหล็กจะไปสร้างอีกกระแสนึงขึ้นมา ทำให้กระแสเดิมที่วิ่งอยู่ไม่คงที หรือ เสริมให้มีแรงดันสูงขึ้นก็ได้ จนเกิน
    กว่าที่สายไฟหรือหม้อแปลงจะรับไหว ก็ทำให้ สายไฟ-หม้อแปลงระเบิด หรือ ลัดวงจรเสียหายได้

    ----- คน? ------ // ไม่มี // * แต่มีเหตุการณ์ประกอบร่วม คือ ค่า kp-index ที่กางออกทำให้วงแหวนรังสีขยายตัวลงมาจากเขตขั้วโลก ตอนที่โดน
    พายุสุริยะพัดกระหน่ำอยู่ ถ้ากางลงมาโดนพื้นที่ ที่มีคนอยู่ อย่างเช่น แคนาดา หรือ สวีเดน ที่ยุโรป ก็มีสิทธิโดนอนุภาคพลังงานสูงในวงแหวนรังสีได้

    ----- การสื่อสาร ----- ไฟดับ เน็ตล่ม ฯลฯ *เหตุผลคือไฟดับเป็นหลัก

    ----- กายภาพโลก ? ----- ยังไม่ยืนยัน (เพราะครั้งตรวจสอบใช้สถิติผิด)

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    3.) พายุคลื่นวิทยุรบกวน คืออะไร ......

    .....คือ การรบกวน คลื่นวิทยุสื่อสารของมนุษย์ จากดวงอาทิตย์ ....โดยปกติแล้วคลื่นวิทยุจากดวงอาทิตย์ที่ปล่อยออกมาจะไม่มีปัญหากับคลื่น
    วิทยุสื่อสารเรามาก (ยกเว้น sun outage) การเกิดพายุคลื่นวิทยุรบกวน (Radio backout) ที่แท้จริงคือเกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ปล่อยคลื่น
    วิทยุออกมามากๆ เหตุการณ์ที่ปลดปล่อยคือ Solar flare นั่นเอง (และเป็นเหตุการณ์เดียวเลยด้วย) flare ปล่อยออกมาแทบทุกความยาวคลื่นตั้งแต่
    แกมม่า เอ็กซ์ ยูวี แสงที่ตาคนเห็น ** วิทยุเองก็ด้วย มาครบทุก AM FM เลยทีเดียว (อันนี้ไม่มีอะไรมาก)

    .......ผลกระทบ.......
    ---- การสื่อสาร ----- ตรงตัว นั่นคือการที่คลื่นวิทยุจากดวงอาทิตย์แทรกสอดกับคลื่นที่เราใช้ ทำให้สัญญาณเพี้ยน หรือ ขาดหายได้ จะเป็นอยู่เฉพาะ
    ตอนที่แสงของ Solar flare ส่องสว่างอยู่เท่านั้น (แต่ก็นานเป็นชั่วโมงเหมือนกันกว่าจะดับไป **อีกแบบนึงจะอยู่ในผลแบบกายภาพ)

    ---- ทางไฟฟ้า ---- // ไม่มี //

    ---- คน? ----- // ไม่มี // *เหตุการณ์ประกอบร่วม อินฟาเรดจาก flare สูงมากกว่าผิวดวงอาทิตย์ทั่วไป หาเกิดขนาดใหญ่กว่า M5.0-class
    อาจรู้สึกได้จากความร้อนของแสงแดดที่เปลี่ยนไป (ถ้าแยกแยะดีดี) ...ไม่ได้เป็นอันตราย...ยกเว้น...!! ถ้าอยู่นอกบรรยากาศ การเกิด flare
    ปลดปล่อยรังสี เอ็กซ์ และ แกมม่า (นิดหน่อย) โดนบ่อยๆ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน **สรุปอนตรายกับคนจริงๆ เฉพาะเวลาอยู่ในอวกาศ / สถานีอวกาศ

    ---- กายภาพโลก ----- // ไม่มี // *เหตุการณ์ประกอบร่วม รังสีเอกซ์ และ ยูวี รุนแรง กระทบบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ทำให้บรรยากาศชั้น
    ไอโอโนสเฟียร์สั่นสะเทือน มีผลกับ วิทยุ FM ที่ต้องสะท้อนกับ บรรยากาศโลกชั้นนี้ ทำให้การสะท้อนคลื่นวิทยุ FM มีประสิทธิภาพลดลง หรือ
    ขาดหายไปเลย (อันนี้จะเป็นอยู่นานต่อจากแสงของ Solar flare ไปอีกอาจจะต่อได้นานถึง 4 ชั่วโมงถ้า flare มีความรุนแรงมาก) ** สรุป
    อันนี้มีผลกับวิทยุ FM อย่างเดียว ไม่เหมือนแบบแรกที่วิทยุ AM ก็โดน

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ---- เสริม // สรุป ----

    เมื่อก่อนหลายคนสงสัยว่าพายุสุริยะจริงๆ คืออะไร ตอบคือ Corona mass ejection หรือ การพ่นมวลโคโรน่า *ให้เรียกพายุแม่เหล็กสุริยะ (จะได้ไม่สับสน)
    พายุรังสี มี 2 อย่างคือ รังสีอนุภาค และ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า *รังสีอนุภาค ให้เรียก พายุอนุภาคพลังงานสูง (จะได้ไม่สับสน)
    และ * รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ให้เรียก พายุคลื่นวิทยุรบกวน (จะได้ไม่สับสน)
    ...โดยมากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์เวลาเกิด flare ที่สำคัญอื่นๆ คือ รังสีเอ็กซ์ แกมม่า และพวก ยูวี ด้วย

    คำที่เป็นคำเรียกรวม 3 เหตุการณ์นี้ ไม่ใช่คำว่า พายุสุริยะ (solar storm) ที่เคยมีผู้พูดถึงในสัมมนาเมื่อต้นปี 56 (ที่ค้านเรื่องแผ่นดินไหวกับเหตุการณ์
    บนดวงอาทิตย์ และเรื่องอื่นๆ) แต่เป็นคำว่า สภาพอวกาศ (spaceweather)
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Predee Yuenyong

    [​IMG]

    อะนาเลมมา

    หากคุณถ่ายภาพดวงอาทิตย์ทุกๆวัน อย่าลืมกรองแสงซะก่อน ตอนเที่ยงวันท้องถิ่น นานเป็นเวลาหนึ่งปี ทางเดินของดวงอาทิตย์ไปบนท้องฟ้าจะเป็นเลข 8 ยาวเรียว ไม่เหมือนเลข 8 ตามปกติธรรมดาที่เห็นทั่วไป เรียกมันว่า อนาเลมมา (analemma) มีอนาเลมมาที่จารึกบนผิวโลก
    มากมายตามพื้นที่ฝั่งของมหาสมุทรปาซิฟิค มันเป็นรูปกราฟมีประโยชน์ที่บอกเราเกี่ยวกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่เห็นและความยาวของช่วงกลางวันบนโลก ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักไม่ทราบความหมายหรือฟังก์ชันของสัญญลักษณ์ลี้ลับนี้ อนาเลมมาเกิดจากการรวมผลของแกนเอียงของโลกและวงโคจรที่มีความรีมาก ถ้าแกนโลกไม่เอียงและวงโคจรเป็นวงกลม จะอดชมอนาเลมมา ดวงอาทิตย์จะมาถึงจุดเดิมในเวลาเดียวกัน หรือที่เก่าเวลาเดิมทุกวัน แต่เพราะแกนหมุนของโลกเอียงไป 23.5 องศา ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าหรือสุริยวิถี (ecliptic) เทียบกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าเป็นไปตามนี้ ที่โซลสติชเดือนมิถุนายนหรือซัมเมอร์โซลสติช ดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 23.5 องศา และเดือนธันวาคมหรือวินเตอร์โซลสติช ดวงอาทิตย์อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไป 23.5 องศา การเดินทางของดวงอาทิตย์ที่ไปทางเหนือ และใต้ของเส้นศูนย์สูตรอธิบายความยาวของรูปแบบอนาเลมมาได้ วงโคจรของโลกมีความรีไม่เป็นวงกลม ระยะทางที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งปี โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดต้นมกราคมและอยู่ไกลที่สุดต้นกรกฎาคม ดังนั้นคนที่ซีกโลกเหนือ เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ตามสุริยวิถี ได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูหนาวแต่ช้ากว่าค่าเฉลี่ยในฤดูร้อน เกิดความไม่สมมาตร บ่วงทางใต้ในฤดูหนาวจะกว้างและเป็นบ่วงแคบในฤดูร้อนทางซีกเหนือ ดังแสดงจากภาพ

    เนื่องจากดวงอาทิตย์ไม่ได้เดินข้ามท้องฟ้าด้วยอัตราเร็วคงที่ตลอดทั้งปี มันมาถึงเมอริเดียน(ครึ่งวงกลมสมมุติที่ผ่านทิศเหนือและใต้และจุดเหนือศีรษะ) ในเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นไม่ตรงทุกวันคือไม่ตรงกับค่าเฉลี่ย ฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ ดวงอาทิตย์ปรากฏเดินเร็ว นั่นคือมันข้ามเมอริเดียนหลายนาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงท้องถิ่นค่าเฉลี่ย ในฤดูหนาวดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ช้าหรือมาล่าช้ากว่าค่าเฉลี่ย ความแตกต่างระหว่างเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นเฉลี่ยและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านเมอริเดียนเรียกว่า สมการของเวลา ที่ผู้ใช้นาฬิกาแดดเข้าใจดี
    Edwin L. Aguirre, What Is an Analemma?, Sky and Telescope, March 2003,
    ยุพา วานิชชัยแปลและเรียบเรียง
    ถูกใจ · · รับการแจ้งเตือน · แชร์
    ถูกใจ ลอร์ด เซย์เรน

    วันที่ 21 ธค. พระอาทิตย์จะเอียงลงใต้ เกือบlสุด( 23.5 องศา) วันที่ 25 ธันวา จึงจะกลับขึ้นเหนือหรือ บนอีกครั้ง ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของฝรั่งคือ วันคริสมัส (ใช่หรือเปล่า)
    รูปภาพ : Predee Yuenyong

    อะนาเลมมา

    หากคุณถ่ายภาพดวงอาทิตย์ทุกๆวัน อย่าลืมกรองแสงซะก่อน ตอนเที่ยงวันท้องถิ่น นานเป็นเวลาหนึ่งปี ทางเดินของดวงอาทิตย์ไปบนท้องฟ้าจะเป็นเลข 8 ยาวเรียว ไม่เหมือนเลข 8 ตามปกติธรรมดาที่เห็นทั่วไป เรียกมันว่า อนาเลมมา (analemma) มีอนาเลมมาที่จารึกบนผิวโลก
    มากมายตามพื้นที่ฝั่งของมหาสมุทรปาซิฟิค มันเป็นรูปกราฟมีประโยชน์ที่บอกเราเกี่ยวกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่เห็นและความยาวของช่วงกลางวันบนโลก ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักไม่ทราบความหมายหรือฟังก์ชันของสัญญลักษณ์ลี้ลับนี้ อนาเลมมาเกิดจากการรวมผลของแกนเอียงของโลกและวงโคจรที่มีความรีมาก ถ้าแกนโลกไม่เอียงและวงโคจรเป็นวงกลม จะอดชมอนาเลมมา ดวงอาทิตย์จะมาถึงจุดเดิมในเวลาเดียวกัน หรือที่เก่าเวลาเดิมทุกวัน แต่เพราะแกนหมุนของโลกเอียงไป 23.5 องศา ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าหรือสุริยวิถี (ecliptic) เทียบกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าเป็นไปตามนี้ ที่โซลสติชเดือนมิถุนายนหรือซัมเมอร์โซลสติช ดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 23.5 องศา และเดือนธันวาคมหรือวินเตอร์โซลสติช ดวงอาทิตย์อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไป 23.5 องศา การเดินทางของดวงอาทิตย์ที่ไปทางเหนือ และใต้ของเส้นศูนย์สูตรอธิบายความยาวของรูปแบบอนาเลมมาได้ วงโคจรของโลกมีความรีไม่เป็นวงกลม ระยะทางที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งปี โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดต้นมกราคมและอยู่ไกลที่สุดต้นกรกฎาคม ดังนั้นคนที่ซีกโลกเหนือ เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ตามสุริยวิถี ได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูหนาวแต่ช้ากว่าค่าเฉลี่ยในฤดูร้อน เกิดความไม่สมมาตร บ่วงทางใต้ในฤดูหนาวจะกว้างและเป็นบ่วงแคบในฤดูร้อนทางซีกเหนือ ดังแสดงจากภาพ

    เนื่องจากดวงอาทิตย์ไม่ได้เดินข้ามท้องฟ้าด้วยอัตราเร็วคงที่ตลอดทั้งปี มันมาถึงเมอริเดียน(ครึ่งวงกลมสมมุติที่ผ่านทิศเหนือและใต้และจุดเหนือศีรษะ) ในเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นไม่ตรงทุกวันคือไม่ตรงกับค่าเฉลี่ย ฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ ดวงอาทิตย์ปรากฏเดินเร็ว นั่นคือมันข้ามเมอริเดียนหลายนาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงท้องถิ่นค่าเฉลี่ย ในฤดูหนาวดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ช้าหรือมาล่าช้ากว่าค่าเฉลี่ย ความแตกต่างระหว่างเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นเฉลี่ยและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านเมอริเดียนเรียกว่า สมการของเวลา ที่ผู้ใช้นาฬิกาแดดเข้าใจดี
    Edwin L. Aguirre, What Is an Analemma?, Sky and Telescope, March 2003,
    ยุพา วานิชชัยแปลและเรียบเรียง

    วันที่ 21 ธค. พระอาทิตย์จะเอียงลงใต้ เกือบlสุด( 23.5 องศา) วันที่ 25 ธันวา จึงจะกลับขึ้นเหนือหรือ บนอีกครั้ง ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของฝรั่งคือ วันคริสมัส (ใช่หรือเปล่า)
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Predee Yuenyong

    [​IMG]

    จากคุณ ลอร์ด เซเรน
    สำหรับผู้ไม่รู้จักว่าค่า Kp-index และ G ของ Geomagnetic storm class คือ (จดเอง)
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอร์ด เซย์เรน

    [​IMG]

    Ap-index คืออะไร ?

    Ap-index (กราฟเส้นสีน้ำเงิน) คือ ค่าดัชนี วัดความรุนแรงลมสุริยะ **แบบ เพียวๆ แบบไม่คิดตัวแปรสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งตัวนี้สำคัญกับสถิติมาก เพราะโดยมากคนจำนวนมากใช้ผิด ไปใช้ solar flare บ้าง หรือ CME บ้างซึ่งจริงๆ ต้องใช้ Ap-index นี้เพราะสถิตินี้บ่งบอกว่ามันปะทะกับโลกแล้ว

    ..... ที่ต้องทำเป็นดัชนีเพราะกว่า ลมสุริยะ แรงหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วอย่างเดียว ความเข้มสนามแม่เหล็ก ณ เวลาที่ปะทะกับสนามแม่เหล็กโลกก็เช่นกัน 2 ค่า ความเร็ว และ ความเข้มสนามแม่เหล็ก นั้นไม่สามารถทำหน่วยร่วมกันได้ จึงต้องทำเป็นดัชนีขึ้นมาแทน

    เช่น ลมสุริยะ ถ้าอ่อนมาก 3-5 นาโนเทสลา แต่ความเร็วสูง 700-800 กิโลเมตร / วินาที ก็ทำให้ค่า Ap-index สูงขึ้นได้ระดับนึง เมื่อเทียบกับ ลมสุริยะ ความเข้มสนามแม่เหล็ก 7-12 นาโนเทสล่า แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 400-500 กิโลเมตร / วินาที ก็อาจจะทำให้ค่า Ap-index มีค่าเท่ากันได้

    ตัวอย่างในภาพ คือ เหตุการณ์ แคว้นควิเบค ในแคนนาดา ปี ค.ศ.1989 พายุสุริยะ ระดับ Ap-index 250 nanotesla (รุนแรงมาก) ตามค่าสเกล Ap-index ดังรูป
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอร์ด เซย์เรน

    [​IMG]

    ภาพประกอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2543

    .......พายุสุริยะส่งผลกระทบอะไรกับโลกของเราบ้าง ?........

    สนามแม่เหล็กของลมสุริยะนั้นไม่ได้ลงมาโดนผิวโลกตรงๆ การสั่นของสนามแม่เหล็กโลกนั่น คือตัวสนามแม่เหล็กโลกเองที่รับแรงปะทะมาจากสนามแม่เหล็กลมสุริยะ ทำให้เกิดการสั่น (เหมือนเราตีโต๊ะ) แต่แรงนี้จะมีผลเฉพาะกับวัตถุที่ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กได้เสียส่วนใหญ่

    ณ ปัจจุบัน ที่มีงานวิจัย

    1.) ผลต่อบรรยากาศโลกนั้น ในชั้นที่มนุษย์อยู่อาศัย " ไม่มี " เนื่องจากอำนาจลมนั้นแรงกว่ามากเมฆฝน และพายุ ถูกควบคุมโดยอุณหภูมิ และลมท้องถิ่นเสียส่วนใหญ่ ชั้นที่มีผลจริงๆ คือ ไอโอโนสเฟียร์ ที่กีาซแตกตัวเป็นไอออน (สถานะคล้ายพลาสม่า แต่ไม่ได้ลุกไหม้) สนามแม่เหล็กที่สั่นสะเทือนของโลกนั้น ทำให้บรรยากาศชั้นนี้เปลี่ยนแปลงได้ แ่ต่โดยมากไม่มีผลกระทบร้ายแรง

    2.) ต่อมนุษย์ สนามแม่เหล็กทีี่กระทบกับมนุษย์ได้นั้นโดยมาก ต้องเกินกว่า 1,000 เทสลา (1,000,000,000,000 นาโนเทสลา [ล้านล้านนาโนเทสลา] ) ซึ่งยังแรงกว่าเครื่องสแกนสมอง MRI ที่มีกำลังเพียง 2 เทสลา เยอะมากถึง 500 เท่า โดยผลคือการเิริ่มทำให้ไฟฟ้าในระบบประสาทผิดปกติ และเริ่มเกิดแรงผลักร่างกายมนุษย์ (ที่ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กน้อยมาก) ได้เลยทีเดียว

    3.) แผ่นดินไหว อันนี้อยู่ในขั้นตอนพิสูจน์อย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากการถกเถียงล่าสุด มีการอ้างอิงข้อมูลผิดพลาด ** ประเด็นสำคัญ **

    ....ด้านผู้ใช้ทฤษฎีดวงอาทิตย์ อ้างข้อมูลแผ่นดินไหวผิด (เรื่องแนวทะลาย และ ขนาดแผ่นดินไหว ที่ใช้อ้างอิงผิด ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี ทำให้ใช้สถิติผิดพลาด)

    ....ด้านผู้ใช้ทฤษฎีแผ่นดินไหว อ้างข้อมูลดวงอาทิตย์ผิด (เรื่องสถิติพายุสุริยะ กราฟต่างๆ ที่ออกมานับ 20-30 กราฟ ที่แต่ละกราฟต่างกัน กรณีก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง ใช้ข้อมูลตัวแปรไม่ครบถ้วน ทำให้ข้อมูลผิดพลาด)

    ** 2 ฝ่ายไม่ได้แลกข้อมูลที่ถูกต้องให้กันและกันเป็นประเด็น

    แผ่นดินไหว ที่อาจเกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็กโลกสั่นสะเทือนตามทฤษฎีนั้น ไม่ใช่แผ่นดินไหวขนาดเล็ก หรือ กลาง M<6.0 เนื่องด้วยข้อมูลแนวทะลายของเปลือกโลกมีพื้นที่เล็กเกินไป จนไม่น่าจะเข้าเกณฑ์ หรือ กรณี ที่ถูกอ้างอิง สนามแม่เหล็กโลก มีกำลังค่อนข้างอ่อนที่เปลือกโลก 20,000 - 120,000 นาโนเทสลา (เมื่อเทียบกับแกนโลก 2,500,000 นาโนเทสลา หรือ 0.025 เทสลา) ผลกระทบนั้นมองเห็นยากมาก โดยมากตามทฤษฎีที่ถูกต้องมันถูกใช้กับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ M>7.0 ขึ้นไป เพราะแนวทะลายกว้าง 80 กิโลเมตรขึ้นไป ถือว่าใหญ่พอจะรองรับทฤษฎีนี้ เพราะสนามแม่เหล็กโลกมีกำลังอ่อน การส่ายเพียงเล็กน้อย ในพายุแม่เหล็กโลกกำลังแรง (Horizon component มีการสะเทือน -2000 ไปจนถึง -4000 นาโนเทสลา ในเขตพายุแม่เหล็ก) นั้นก็ส่งผลต่อโลกไม่เยอะมากในพื้นที่เล็กๆ (แม้ว่าจะแรงจัดแล้ว) การที่เปลือกโลกมีพื้นที่กว้างมากนั้นเองทำให้แรงที่เล็กน้อยนี้เริ่มส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (ตามทฤษฎี ยังไม่ยืนยัน 100%) แต่ไมได้เยอะมาก เพียงแค่ 0.1 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่านั้นเสียอีก แต่มันก็เยอะพอแล้วสำหรับพื้นที่ ที่กว้างหลาย 100 กิโลเมตร ของเปลือกโลก และสร้างแรงเค้นกับเปลือกโลกได้ ...............................เยอะมั๊ย ? จริงๆ ยังไม่เยอะเพราะตามสถิติแผ่นดันไหวปกติ ขนาด 7.0 ขึ้นไป ปีที่มาก และ ปีที่น้อย ต่างกันเยอะมาก (ปีที่น้อย แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ขึ้นอาจมีจำนวนไม่ถึง 8 ครั้งด้วยซ้ำ ส่วนปีที่มาก ขนาด 7.0 ขึ้นไปมีเพิ่มเพียงแค่ 20-25 ครั้งเท่านั้นตามสถิติ) ถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้องก็ไม่ได้เกินความเป็นจริงแต่อย่างใด

    .........ในระยะยาว ค่าความเข้ม สนามแม่เหล็กโลก ตามที่มีการถกเถียงกันมา 3-4 ปี ไม่ได้ถูกใส่ไปด้วย (บางแหล่งใส่ ก็ดันใช้ข้อมูลอื่นผิดอีก มันเลยไม่ตรงซักที) สนามแม่เหล็กโลกสำคัญต่อสถิติ ไม่แพ้ Ap-index ของพายุสุริยะ เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกสะเทือนได้มากน้อยขึ้นอยู่กับกำลังที่ส่งออกมาการอ่อนกำลังลง หรือ มีสภาพขั้วเปลี่ยนแปลงไปนั้นมีผลต่อการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยเช่นกัน (ระดับเล็กน้อย ในทฤษฎี)

    ** สรุปด้านแผ่นดินไหว คือ พื้นที่เล็กๆ แทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากดูพื้นที่ใหญ่ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะมีผล คล้ายลมสุริยะ กระทบต่อดาวเทียม ถ้าเรากางผ้าใบกว้างหลายเท่าของสนามฟุตบอลติดไว้กับดาวเทียม ลมสุริยะที่ไม่มีผลเลยนั้นก็จะเริ่มส่งผลไ้ด้ทันที (ดูเรื่องเรือใบลมสุริยะ)

    // ภาพประกอบ การพ่นมวลโคโรน่า เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 จากดาวเทียม SOHO
    ถูกใจ ·
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Predee Yuenyong

    [​IMG]


    ชั้นบรรยากาศ คืออะไร
    ชั้นบรรยากาศ คือ ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้ชั้นบรรยากาศคงสภาพอยู่ได้ ชั้น
    บรรยากาศมีความหนารวมแล้วประมาณ 310 ไมล์ อากาศในชั้น บรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก
    การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้
    1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
    2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
    3.แบ่งชั้fนบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์
    4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา
    --------------------------------------------------------
    1.แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ
    1.1 ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน
    1) โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ พายุ ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ
    2) สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัว และจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วง ของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
    3) มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง 83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน
    1.2 บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ
    1) เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว
    2) เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
    3) แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย
    ---------------------------------------------------
    2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้
    2.1 โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ
    2.2 สตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตรา0.5 องศา c ต่อ1กม.
    2.3 เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง
    2.4 เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ บรรยากาศในชั้นนี้ถือเป็นบริเวณที่เปลี่ยนจากบรรยากาศของโลกมาเป็นก๊าซระหว่างดาวที่เบาบาง และเป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เรียกว่า เอกโซสเฟียร์
    นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน
    ---------------------------------------------------
    3. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ
    3.1 โทรโพสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ
    3.2 โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน
    3.3 ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน
    3.4 เอกโซเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอร์ด เซย์เรน

    [​IMG]

    ข้อมูลเหตุการณ์วันนี้ครับ พายุสุริยะ จากการพ่นมวลโคโรน่าเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์
    ** อีก 1 ลูกมีแนวโน้มปะทะโลกปะทุเมื่อวานนี้ (18กพ.57 เวลาตามในแผนภาพ)

    ลอร์ด เซย์เรน ตามชื่อกราฟเลยครับ kiruna magnetogram ตำแหน่ง ประเทศ สวีเดน (อยู่ตรงไหน google เลยครับ)

    ? -870 nT มายังไงครับ ผมเห็น -500 กว่าๆ

    ลอร์ด เซย์เรน ซูมดูครับ เส้นสีดำ (X-component) ต่ำสุดกราฟอยู่ที่ 9,804 นาโนเทสลา แต่เส้นปกติอยู่ที่ 10,680 นาโนเทสลา แน่ะครับ

    ? แล้วทำไมค่าถึงติดลบได้ครับ ใส่ลบข้างหน้าาเพราะอะไร หรือว่าเพราะเอาค่ามาลบกัน

    ลอร์ด เซย์เรน เอ่ออันนี้คือ เป็นสนามแม่เหล็กโลก ค่าปกติ ในแกน x มีแรง 10680 nT ตอนสั่นสะเทือน ลดลงเหลือ 9804 nT กำลังลดลงไป ~ 870 nT อ่ะครับ (มันจะงงๆ กับเรื่อง เวคเตอร์หน่อยนึง ถ้าหากเกี่ยวกับเวคเตอร์ผมค่อยมีหมายเหตุเตือนไว้ล่ะกันครับ)
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In & Outside World

    [​IMG]

    เสื้อคลุมของสมเด็จพระสันตะปาปาในระหว่างที่อยู่ที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์
    ..
    มาเมืองไทย เขาเรียกว่า ลางร้าย....
    ...บอกให้ รู้ ให้ เตรียมใจ อะไร ร้ายๆ ให้ ระวังให้ดี...

    Pope Francis' mantle whipped up by wind in St Peter's Square address | Mail Online
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,250
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Kaokala Fc

    19 ก.พ. 'ยูเครน' ปะทะเดือด! กลางเมืองหลวง ตำรวจสลายชุมนุมกลุ่มต้านรัฐบาล ตายอย่างน้อย 19 ศพ

    [​IMG]

    สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่าจากเหตุการณ์ปะทะดุเดือดทางการเมืองของกลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยูเครน ที่นำโดยประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ศพ จนกลายเป็นวันแห่งความรุนแรงนองเลือดเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่มีการชุมนุม เมื่อราว 3 เดือนก่อน

    [​IMG]

    รายงานระบุว่า บริเวณจตุรัสเอกราช กลางกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นจุดปักหลักชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วง ถูกแปรเปลี่ยนเป็นเขตสงคราม ตำรวจปราบจลาจลรุกคืบเข้าไปกระชับพื้นที่เรื่อยๆ ในช่วงค่ำคืนวันเดียวกันจนเกิดการตอบโต้กันอีกระลอก ไม่นานหลังจากกองกำลังด้านความมั่นคงขีดเส้นตายให้ผู้ชุมนุมหยุดก่อความวุ่นวาย ขณะที่ผู้ประท้วงก็ตอบโต้ด้วยระเบิดเพลิง พลุไฟและก้อนหิน รวมทั้งยังจุดไฟเผายางรถยนต์ ส่งกลุ่มควันหนาทึบลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ายามค่ำคืน

    ′ยูเครน′ ปะทะเดือด! กลางเมืองหลวง ตำรวจสลายชุมนุมกลุ่มต้านรัฐบาล ตายอย่างน้อย 19 ศพ : มติชน
     

แชร์หน้านี้

Loading...