พระสิงห์หนึ่งเชียงแสน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย knight022, 28 เมษายน 2014.

  1. knight022

    knight022 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +454
    เชิญท่านสมาชิกแนะนำ ติชมได้ครับ ขอบพระคุณครับ

    หน้าตัก 16 นิ้วครับ เป็นผิวขัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2014
  2. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    ผมว่าองค์นี้ไม่เก่าถึงยุคเชียงแสน น่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เรียกว่า "พระรัชกาล" ครับ
     
  3. choo04

    choo04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +661
    ดินใต้ฐานไม่ค่อยชัดครับ แต่ดูเหมือนดินเชียงแสน ต้องรออาจารย์คนปั้นพระครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2014
  4. knight022

    knight022 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +454
    มีรังใหญ่มาขอบูชาในราคา 7 หลัก ผมยังไม่ตอบรับไปครับ
     
  5. knight022

    knight022 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +454
    รูปนี้คงชัดขึ้นนะคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2014
  6. choo04

    choo04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +661
    ในพุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้าง “พระนิรันตราย” จำนวน ๑๘ พระองค์ หล่อด้วยทองเหลืองกะไหล่ทองคำ มีซุ้มเรือนแก้ว ที่ซุ้มมีคาถา พระชุดนี้หล่อหลังพระนิรันตรายทองคำ ซึ่งสวมพระนิรันตรายองค์เดิม (พระสมัยทวารวดี) ซึ่งได้ให้รายละเอียดไว้ในข้างต้นแล้ว

    พระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปจำนวนเท่าพระชนมพรรษา

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา ๖๔ องค์ ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา รวม ๕๘ องค์ เท่าพระชนมพรรษาของพระองค์

    นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีรับสั่งให้ช่างชาวต่างประเทศปั้นและหล่อพระพุทธรูปกับพระสงฆ์องค์สำคัญส่งเข้ามาอีกด้วย (พระพุทธชินสีห์ พระผอม กรมพระยาปรวเรศฯ และสมเด็จพระวันรัตแดง) ในเวลาต่อมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน เหล่าขุนนาง ข้าราชการ คหบดี พ่อค้า ผู้มีฐานะดี และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่างนิยมสร้างพระพุทธรูป รวมทั้งพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ อีกทั้งสร้าง (จำลอง) พระพุทธรูปองค์สำคัญในอดีตขึ้นมา ดังปรากฏให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

    อาจจะกล่าวได้ว่า คำว่า “พระรัชกาล” เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการ “จำลอง” พระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งคำนี้น่าจะเกิดขึ้นไม่นานนัก ในหมู่นักเลงพระ หรือนักสะสมพระ เป็นศัพท์ตลาดพระนั่นเองเพื่อความเข้าใจง่าย คำว่า พระขัด พระแต่ง มักนิยมใช้กันหลัง พ.ศ.๒๔๑๑ แต่คำว่า “พระรัชกาล” อาจหมายถึงพระในวังของทางราชการ หรืออาจหมายถึงเหล่าข้าราชการระดับสูงนิยมสร้างในระหว่าง พ.ศ.๒๔๖๐-พ.ศ.๒๔๗๕ ก็เป็นไปได้

    สรุปได้ว่า “พระรัชกาลเป็นคำที่นักเล่นพระกำหนดขึ้นใหม่เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง” ซึ่งกำหนดเรียกพระขัด แต่ไม่ทราบวัดที่มาแน่นอน แต่เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปประจำตระกูลสำคัญๆ หรือพระในราชนิกุล ซึ่งจำลองแบบ หรือเลียนแบบพระพุทธรูปพุทธศิลปะ หรือพระประธานที่มีมาแล้วแต่อดีต หรือคนประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ตามใจผู้สถาปนาและช่าง โดยกำหนดอายุพุทธศิลป์แบบของตน ตามลักษณะมหาปุริษลักษณะ หรือตามความคิดเห็นของช่างและเจ้าภาพ หรือพระภิกษุผู้ให้การแนะนำ

    พระรัชกาล จึงเป็นพระพุทธรูปแบบศิลปะโบราณ หรือประดิษฐ์คิดค้นใหม่ มีการผสมโลหะตามวัน เดือน ปีเกิด ของผู้สถาปนา โดยการคำนวณในตำราโหราศาสตร์ ผสมเนื้อโลหะตามน้ำหนักชะตาราศีของผู้ที่จะสถาปนา รวมทั้งบวกผสมกับดวงชะตาบิดา มารดา เรื่องนี้มีผู้เขียนอย่างละเอียดอยู่ใน “ตำนานหล่อพระปรมาสโย ของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์)” เขียนเป็นจดหมายเหตุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐
     
  7. nattakorn

    nattakorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +31
    ผมว่าดูอยากครับ ดูจากศิลป์ น่าจะพระรัชกาล แต่ดินใต้ฐานกลับไม่ใช่ ถ้าไม่ขัดผิวมา และดินยังอยู่มากกว่านี้น่าจะดูได้ไม่อยากครับ คงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และดูจากองค์ จริงครับ
    ถึงจะชี้ชัดได้
     
  8. คนปั้นพระ

    คนปั้นพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,481
    ค่าพลัง:
    +2,427
    ก็ต้องบอกก่อนว่าติชมไปแล้วอาจจะไม่ตรงใจท่านก็อย่าโกรธกันนะครับ
    ก็มาวิเคราะห์พระเชียงแสนสิงห์หนึ่งองค์นี้กันครับ อย่างแรกก็ต้องดูศิลปะของยุคเชียงแสนก่อนว่าถูกต้องรึเปล่า องค์นี้มองก็ดูถูกต้องครับ การแต่งเกลาผิวเซาะร่องอุดซ่อมรอยทำได้ถึงระดับสุดยอดเลย มองธรรมชาติความเก่าองค์นี้มาเสียตรงขัดผิวไปแล้วทำให้การดูจุดนี้ยากขึ้น โดยปกติขัดผิวองค์ทั้งองค์แต่ตรงเม็ดพระศกนั้นจะเหลือไว้ตามเดิมเพราะแต่งยาก แต่องค์นี้ตรงเม็ดพระศกไม่เห็นความเก่าเลย มาดูจุดสำคัญตรงใต้ฐาน การหล่อพระเล็กพระใหญ่นั้นถึงจะเป็นยุคเดียวกันแต่ความเรียบร้อยนั้นต่างกัน พระใหญ่นั้นต้องเรียบร้อยกว่า องค์นี้ทำได้เรียบร้อยแต่ธรรมชาติของพระเชียงแสนตามผนังด้านในนั้นผมยังมองดูไม่ชอบเท่าไหร่นัก(องค์เล็กองค์ใหญ่งานเรียบร้อยต่างกันก็จริงแต่ธรรมชาติของยุคนั้นๆต้องเหมือนกัน) สุดท้ายคือดินใต้ฐาน ปกติการหล่อพระเชียงแสนหรือพระอื่นนั้นดินก็จะเต็มๆแต่พระบางยุคนั้นเค๊าจะขุดดินออกหลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว เหลือติดให้เห็นนิดๆหน่อยๆ ผมมองดินองค์นี้ความรู้สึกส่วนตัวนั้น ผมยังไม่ชอบเท่าไหร่ หรืออาจจะมองจากรูปก็ทำให้ดูเพี๊ยนไปก็อาจจะเป็นได้
    องค์นี้ส่วนตัวที่ดูจากรูปผมดูว่ายังไม่ชอบครับ ถ้าจะให้ชัวร์ก็ต้องดูจากองค์จริงเท่านั้น
    องค์นี้ใครมาขอซื้อก็ขายไปเถอะครับแต่ก็คุยกันให้เรียบร้อยเรื่องการรับประกัน ถึงจะเป็นใครซื้อก็ต้องให้ซื้อไปแล้วจบ จ่ายเงินแล้วไม่มีการคืน

    ปล.ช่วงนี้ผมเห็นเชียงแสนพิมพ์นี้หน้าตักขนาดนี้ออกมาให้เห็นหลายองค์ เล่นพระบูชาเดี๋ยวนี้ไม่หมูเหมือนเมื่อก่อน ดูไม่ละเอียดก็เป็นโดนเหมือนกันครับ
     
  9. knight022

    knight022 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +454
    ขอบพระคุณท่านคนปั้นพระนะครับ ผมยอมรับว่าถ่ายมาแล้วสีเพี้ยนจริงๆ แสงแฟรชแรงไปหน่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...