โชคเหนือเมฆ-กำไลเหนือดวง- มูลนิธิเทียนฟ้า 2497 - วัตถุมงคล หลวงปู่พิศดู-ครูบากฤษดา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย bat119, 20 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ได้รับยอดโอนพระกสินทั้ง2องค์แล้วครับ เดี๋ยววันศุกร์จัดส่งให้ครับ ขอบคุณครับ
     
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,160
    ค่าพลัง:
    +14,319
    พระกสิณเนื้อดำ สวยคมชัดมากเลยครับป๋า
    สวัสดียามสายครับป๋า
     
  3. chat_002

    chat_002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    389
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ขอทราบราคาครับพี่
     
  4. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ท่านสมาชิกปิดไปแล้วครับ
     
  5. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    หวัดดียามบ่ายครับเสี่ยเฟริส์ท
     
  6. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    พระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น 2 สุดยอดเหรียญดีแห่งปัจจุบัน
    โดย รณธรรม ธาราพันธุ์

    พระแก้วมรกตถ้าเรียกอย่างบรรดาศักดิ์ก็ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ถือได้ว่า คู่บ้านคู่เมือง อย่างแท้จริง เป็นพระพุทธที่พระสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาล้วนกล่าวยกย่องถึงความศักดิ์สิทธิ์อย่างหาใดเปรียบ

    ทุกครั้งที่มีการสร้างรูปลักษณ์ของท่าน ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาหรือพระแขวนคอต้องได้รับการตอบรับจากมหาชนอย่างกว้างขวาง อีกทั้งกฤดาภินิหารอันเกิดจากพระองค์ท่านก็มีมากเกินกล่าวได้หมด

    แม้วัตถุมงคลใด ๆ ที่อยากให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์สูงสูดชนิดคู่บ้านคู่เมือง ก็ยังต้องขออนุญาตนำเข้าไปประกอบพิธีมังคลาภิเษกในพระอุโบสถวัดพระแก้วเสมอมา เชื่อกันว่าที่นี่เป็นศูนย์รวมของสรรพจิตแห่งบรรพชนชาวไทย ทั้งอดีตพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ ทั้งเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในประเทศไทย อาทิ พระสยามเทวาธิราช เป็นต้น

    ถือเป็นหัวใจของสยามก็ไม่ผิด

    สรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นั่นต่างทรงไว้ซึ่งฤทธาภินิหารและเมตตาคุณ พร้อมจะปกป้องภัยพิบัติและอำนวยพรแก่สาธุชนที่ให้ความเคารพนับถือในท่านเหล่านั้น จึงว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยความวิเศษอยู่ในทุกอณู

    เหรียญพระแก้วมรกตถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ว่ากันว่าวโรกาสนั้น ได้บังเกิดมหาพุทธาภิเษกอันหาได้ยากที่ใครจะจัดเช่นนั้นได้อีก ด้วยเป็นสถานที่พิเศษคือพระมหาราชวังที่ศักดิ์สิทธิ์ประการหนึ่ง ทำรูปจำลององค์หลวงพ่อพระแก้วมรกตพระคู่เมืองเป็นหนแรกประการหนึ่ง พระเถรานุเถระที่มาล้วนแต่เก่งกล้าสามารถในฌานสมาบัติประการหนึ่ง

    สามประการดังกล่าวย่อมยากที่ใครจะจัดทำซ้ำซ้อนขึ้นมาได้อีก อย่างน้อยพระเถระที่จะเสกให้ดังเคยก็ล้วนแต่ล่วงลับไปหมดสิ้น จากนั้นก็มีมหาพุทธาภิเษกในวัดพระแก้วเรื่อยมา หากว่าเฉพาะที่เป็นพระรูปเหมือนขององค์พระแก้วเองนั้นกลับมีไม่มากเท่าไร

    วัตถุมงคลในองค์พระแก้วมรกตที่ผมเลื่อมใสจะแขวนนั้นมีไม่มากรุ่น ใช้สมองตัวเองที่มีรอยหยักเพียงเล็กน้อยตัดสินด้วยสองเงื่อนไขคือ หนึ่ง-รูปแบบเหรียญที่บางคณะทำไม่สวยและไม่ขลังชวนมองเอาเสียเลย สอง-ผู้เสกที่อ่านรายชื่อแล้วชวนให้ขี้เกียจเช่าแม้จะมีสมณศักดิ์โด่งดังดุจบั้งไฟยโสธรก็ตาม

    เหตุ (ที่ไม่ฉลาด) ดังนี้จึงทำให้ผมเหลือพระแก้วที่จะแขวนเพียง 4 รุ่นเท่านั้น ไม่บอกดีไหมเกรงจะว่าชวนเชื่อ แต่ถ้าไม่บอกจะเล่ามาทำไมตั้งนานเนอะ

    1. เหรียญพระแก้วฉลองพระนครครบ 150 ปี รุ่นแรก พ.ศ. 2475
    2. เหรียญพระแก้วฉลองรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 มีด้วยกันสามพิมพ์ รูปไข่หยดน้ำและทรงกลม พิธีใหญ่ยักษ์ที่สำคัญคือ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ กำหนดจิตไปร่วมพิธีเสียด้วย
    3. เหรียญพระแก้วหมดห่วง รุ่น 1 คุณสุธันย์ สุนทรเสวี สร้าง พ.ศ. 2524
    4. เหรียญพระแก้วหมดห่วง รุ่น 2 คุณสุธันย์ สุนทรเสวี สร้าง พ.ศ. 2540

    นอกเหนือจากนี้ใช่ว่าไม่ดีหรือด้อยกว่าแต่ประการใด ที่ไม่กล่าวถึงเป็นเพราะไม่ทราบเรื่องพิธีการสร้างและพิธีการนำเสกว่าเป็นไปอย่างไร หากผิดพลาดเพราะเหตุใดก็กราบขออภัยด้วย

    ส่วนพระแก้วมรกตเนื้อผงที่ วัดบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี สร้างในปี พ.ศ. 2505 นั้น ผมทราบมาว่าเป็นพิธีใหญ่ก็จริงแต่ไม่มีใครยืนยันให้ผมสบายใจได้เลยว่า พระเถระที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในใบปลิวนั้นมาเสกครบทุกองค์จริง เพราะใบรายชื่อดังว่าเป็นชื่อที่ถูกหมายว่าจะนิมนต์ หากความจริงที่ผมเคยประสบมาคือหลายสิบท่านไม่อาจมาเสกได้ดังมีรายชี่อ เพราะอาพาธไม่สบายบ้าง ติดกิจนิมนต์ก่อนหน้าบ้าง เป็นต้น

    เลยกลัวพุทธาภิเษกมาแต่นั้น

    แต่ถ้าพุทธาภิเษกที่แสดงรายชื่อพระ ผู้มาร่วมเสกมิใช่พระผู้จะมาเสก แล้วล่ะก็ผมตกลงใจเหมือนกัน ดังนั้นที่สบายใจสำหรับผมคือการนำวัตถุมงคลไปถวายให้เสกถึงที่อันนี้แน่นอนสุด ๆ ยิ่งทิ้งไว้หลายวันให้เป็นไปตามอัธยาศัยในท่านยิ่งดีใหญ่ อารมณ์ไหนท่านอยากเสกให้ขลังอย่างใด เสกเวลาใด พร้อมเมื่อใด ท่านก็ว่ากันเต็มที่

    ก็อีกนั่นแหละ เมื่อเสกอย่างตัวใครตัวมัน ย่อมเป็นเหตุให้ขาดความวิจิตรในวัตถุมงคลที่สร้าง เพราะไม่มีการบวงสรวงครูบาอาจารย์ ไม่มีการอัญเชิญเทพ พรหม บรมครู ปู่ฤาษี และครูอาจารย์เจ้าของวิชาผู้ล่วงลับแล้วให้รับรู้ถึงงานมงคลที่กำลังทำกัน

    ชุมนุมเทวดานี่สำคัญนะ

    เมื่อเป็นดังนี้ ผมจึงพยายามมองหาพระเครื่อง - วัตถุมงคลอันจะเสกแบบควบสองประการ หาอยู่นานก็เจอ

    พระคุณสุธันย์สร้าง

    แน่นอนว่าพระของคุณสุธันย์มีความละม้ายในพระของอาจารย์เบิ้มทุกอย่าง นับตั้งแต่มวลสารเข้มข้นที่นำมาสร้าง ฤกษ์ยามมงคลที่ลงพระยันต์ ฤกษ์ดีที่จะหลอมชนวนเข้าด้วยกัน ฤกษ์เทหล่อเป็นองค์พระหรือปั๊มเหรียญ การนำเสกที่เบื้องแรกต้องเป็นพุทธาภิเษกในพระอุโบสถสำคัญ อาทิ วัดพระแก้ว วัดบวรนิเวศ วัดสุทัศน์ วัดราชบพิตร เป็นต้น ด้วยหวังผลจากการบวงสรวงอย่างถูกต้องทั้งทางพราหมณ์และพุทธ หวังผลจากจิตตานุภาพของครูบาอาจารย์หมู่มากซึ่งพุ่งเข้ามารวมเป็นจุดเดียว

    และเป็นพุทธาภิเษกที่มากกว่า 3 พิธีในแต่ละรุ่นของวัตถุมงคลที่สร้าง ก่อนเข้าสู่กระบวนการนำเสกแบบ บินเดี่ยว ในครูบาอาจารย์ผู้เป็นที่ยอมรับลงใจของคุณสุธันย์และประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ

    การเสกของพระเถระแต่ละรูปละองค์ คุณสุธันย์มักใช้ระบบ ทิ้ง ให้ท่านเสกนานนับเดือน หวังเพียงอย่างเดียวว่าท่านจะสร้างขลังได้ตามอัชฌาศัยโดยไม่มีเวลามาเป็นตัวแปร

    จากองค์หนึ่งสู่องค์หนึ่ง ใช้เวลายาวนานหลายอาทิตย์ หลายเดือน และหลายปี ผู้เสกก็ว่ากันจนเป็นที่พอใจ ผู้นำเสกก็ตระเวนกันจนเป็นที่จุใจ

    พร้อมแล้วก็ให้บูชา

    ดังนั้นพระคุณสุธันย์จึงเป็นพระที่ถึงพร้อมทั้งพิธีกรรมอันเคร่งครัดอย่างพุทธาภิเษกและขลังแท้อย่างการเสกแบบบินเดี่ยวตามอัธยาศัยในครูบาอาจารย์แต่ละองค์

    แขวนเดี่ยวได้ทันที

    การให้เช่าพระของคุณสุธันย์เห็นชัดว่าทำเพื่อสถานีอนามัยในหลายด้านที่ยังขาดแคลน หลักฐานแห่งการสร้างก็มีอยู่ใช่จะกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย เมื่อใจบริสุทธิ์ สร้างบริสุทธิ์ เสกบริสุทธิ์ จำนวนบริสุทธิ์ ก็ไม่มีใดต้องกังวล

    ทุกวันนี้ของที่คุณสุธันย์สร้างกล่าวได้ว่าขาดตลาด แม้ไม่ดังโครมครามแต่คนรู้ก็เที่ยวเก็บไม่เบื่อ เขารู้ว่าของดีไม่จำเป็นต้องดัง ไอ้ที่ดังแล้วไม่ดีก็มีถมเถ ฉะนั้นคนเดินตลาดพระบ่อยหากพบพระคุณสุธันย์ตามแผงซึ่งเจ้าของไม่รู้ที่มา เป็นอันว่าร้อยสองร้อยยังได้ของดีมาครอง
    สุดยอดแห่งขลัง ที่คุณสุธันย์เคยบอกกับผมเห็นจะเป็นพระแก้วมรกตหมดห่วงรุ่นแรก ด้วยการนำเสกที่เป็นสุดยอดพระอาจารย์ของสยามร่วมครึ่งร้อยองค์ และระยะเวลาเสกที่นานถึงหนึ่งปีก็ไม่ต้องสงสัยว่าเหรียญจะล้นปรี่ด้วยพุทธานุภาพเพียงใด

    ที่สำคัญหลวงปู่ดูลย์เสกในพรรษาเสียด้วย

    พระอรหันต์ทำอยู่ 3 เดือนเจียวหนา

    ทว่า ทุกวันนี้มีเหรียญที่เคลื่อนไหวมาเงียบ ๆ ซึ่งเชื่อได้ว่าวันข้างหน้าจะไม่ต่างจากหมดห่วงรุ่น 1 และเผลอ ๆ จะนิยมกว่าเพราะเวลาเสกที่ยาวนานถึง

    7 ปี

    พระแก้วมรกตหมดห่วง 2 คือเหรียญนั้น

    ทว่าตอนนี้ขอให้ทราบเพียงพระแก้วหมดห่วงสองคือเหรียญที่คุณสุธันย์ขุดชนวนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสะสมมายาวนานหลอมสร้างไปมากที่สุด เป็นพระที่ทำให้คุณสุธันย์มีอาการเดียวกับอาจารย์เบิ้มคือ บ้านโล่งไปเยอะ

    วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ตรงกับวันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เวลา 07.09 น. เป็นมหามงคลฤกษ์ที่ได้คำนวณไว้ดีแล้ว ผู้สร้างนำทองชนวนและแผ่นยันต์ทั้งปวงมาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันแล้วเทเป็นแผ่นใหญ่ ปล่อยให้เย็นตัวลงตามธรรมชาติ จากนั้นนำโลหะธาตุมารีดเป็นแผ่นบางโดยจำแนกไปตามชนิดของโลหะคือ นวโลหะ เงิน และ ทองคำ

    ต่อนั้นก็นำแผ่นโลหะทั้งสามมาดำเนินการปั๊มเป็นเหรียญให้เสร็จภายในเวลา 23.09 น. ของวันเดียวกันซึ่งเป็นอุดมมงคลตามฤกษ์ ปั๊มเหรียญเสร็จนับจำนวนได้ 2,222 เหรียญ ดังนี้

    1. ทองคำบริสุทธิ์ 5 เหรียญ
    2. เงินบริสุทธิ์ 181 เหรียญ
    3. นวโลหะกลับดำ 2,036 เหรียญ

    เมื่อได้เหรียญก็ถึงขั้นตอนการเสก ดังกล่าวแล้วว่าเบื้องแรกเหรียญหมดห่วง 2 ได้รับการบรรจุพุทธคุณแบบ พุทธาภิเษก ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยการบวงสรวงทั้งแบบพราหมณ์และแบบพุทธ

    อีกทั้งพลังจิตของพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงกฤตยาคุณได้เพ่งเข้าสู่กองวัตถุมงคลอันเป็นเป้าหมายเดียวกัน น่าเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์จะบังเกิดขึ้นได้สมปรารถนาของผู้เสกและผู้แขวน

    พุทธาภิเษกนั้นมีรายการดังนี้
    1. พิธีมหามังคลาภิเษกพระบรมรูปพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5
    ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2540

    2. พิธีพุทธาภิเษกพระรุ่นทรัพย์เพิ่มพูน
    ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

    3. พิธีพุทธาภิเษกพระเศรษฐีนวโกฏ
    ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

    4. พิธีเทวาภิเษกเทวรูปพระพิฆเณศวร กรมศิลปากร
    ณ วัดเลา กรุงเทพ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2541

    5. พิธีมังคลาภิเษกเหรียญพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5
    ณ วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2541

    6. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพุทธปัญญา
    ณ วัดเลา กรุงเทพ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542

    7. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งอัตตรักโข
    ณ วัดไผ่ล้อม นครปฐม วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2542

    8. พิธีมังคลาภิเษก 100 ปี อ.ปากท่อ
    ณ วัดยางงาม ราชบุรี วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2542

    9. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพุทธสุขสิริ
    ณ วัดเลา กรุงเทพ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

    10. พิธีเสาร์ 5
    ณ วัดไผ่ล้อม นครปฐม วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2542

    11. พิธีเสาร์ 5
    ณ วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2542

    12. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สาธารณสุข
    ณ วัดช้าง นครนายก วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543

    13. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธนิรามัย
    ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543

    14. พิธีมังคลาภิเษกสมโภชรูปเหมือนเท่าองค์จริง หลวงพ่อจ่าง อเชยโย
    ณ วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2543

    15. พิธีวันเพ็ญ เดือน 12
    ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

    16. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งเพชรกลับวชิรเวท
    ณ วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2543

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพุทธยอดฟ้า
    ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543

    18. พิธีมังคลาภิเษกรูปเหมือนสะดุ้งกลับ หลวงพ่อพูล อัตตรักโข
    ณ วัดไผ่ล้อม นครปฐม วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544

    19. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งจอมไทย
    ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม วันที่ 19 – 27 มกราคม พ.ศ. 2544

    20. พิธีมหามังคลาภิเษกมงคลอายุวัฒน์ 90
    ณ วัดไผ่ล้อม นครปฐม วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

    21. พิธีชัยมังคลาภิเษก
    ณ วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2545

    22. พิธีพุทธาภิเษก
    ณ วัดเลา กรุงเทพ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2545

    23. พิธีมังคลาภิเษกหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด กระทรวงกลาโหม
    ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

    24. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธนิรโรคันตรายและเหรียญท่านท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)
    ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

    25. พิธีพุทธาภิเษก
    ณ วัดเลา กรุงเทพ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

    26. พิธีมังคลาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
    ณ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

    ทั้งหมดนี้คือการนำเสกชนิดพุทธาภิเษกหรือที่นักเลงพระชอบเรียกกันว่า พิธีหมู่ ซึ่งในแต่ละพิธีที่คุณสุธันย์นำไปเสกบอกได้เลยว่าศักดิ์สิทธิ์และสมบูรณ์แบบครบเครื่องจริง ๆ แม้วัตถุมงคลในพิธีเองบางแห่งก็มีราคาพุ่งขึ้นสูงและกลายเป็นของหายากไปแล้ว

    ต่อไปคือการเสกแบบ บินเดี่ยว ที่บอกได้คำเดียวว่าทำยากแท้ ๆ

    1. พระครูภัทรธรรมรัติ (พ่อท่านภัทร ภัทธิโย)
    วัดโคกสูง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ. 2540

    2. พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเจริญ)
    วัดธัญญวารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2540

    3. พระครูวิทิตพัฒนาการ (หลวงพ่อจ้อย พุทธสโร)
    วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2540

    4. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ)
    วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เสกครั้งแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 10 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2540

    5. พระธรรมมุนี (หลวงพ่อแพ เขมังกโร)
    วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2541

    6. พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อัตตสันโต)
    วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2541
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 4 มกราคม ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวม 86 วัน

    7. พระภาวนานุสิชฌ์เถร (หลวงพ่อหรุ่ม)
    วัดบางจักร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เสกครั้งแรก วันที่ 12 เมษายน ถึง วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2544
    เสกครั้งที่สาม วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2544

    8. พระนิมมานโกวิท (หลวงปู่ทองดำ ฐิตวัณโณ)
    วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เสกครั้งแรก วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 13 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยวงศาพัฒนา)
    วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    10. พระครูมงคลคุณาทร (ครูบาคำปัน)
    วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    11. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอิน อินโท)
    วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 พฦษภาคม พ.ศ. 2541

    12. พระครูพิศิษฐสังฆการ (ครูบาผัด)
    วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    13. พระครูสิริสีลสังวร (ครูบาน้อย)
    วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    14. พระครูชัยวงศ์วิวัฒน์ (ครูบาน่อย ชยวังโส)
    วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    15. ครูบาเทือง นาถสีโล
    วัดบ้านเด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    16. พระราชพฤฒาจารย์ (หลวงพ่อห้อม)
    วัดคูหาสุวรรณ อ.เมือง จ.สุโขทัย วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

    17. พระครูสีลสัมปัน (หลวงปู่อ่อน)
    วัดเนินมะเกลือ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก วันที่ 8 พฤษภาคม ถึง วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2541 รวม 51 วัน

    18. พระครูสุนทรวชิรเวท (หลวงพ่อจ่าง อเชยโย)
    วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี อธิษฐานจิต-ปลุกเสกตลอดไตรมาสปี 2541 ตั้งแต่ วันที่ 8 กรกฎาคม ถึง วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541

    19. พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ)
    วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เสกครั้งแรก วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2541
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
    เสกครั้งที่สาม วันที่ 14 พฤษภาคม ถึง วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542

    20. พระครูสถิตย์โชติคุณ (หลวงพ่อไสว ฐิตวัณโณ)
    วัดปรีดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม วันที่ 3 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542

    21. พระครูสุนทรจริยวัตร (หลวงพ่อม่วง)
    วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ปลุกเสกตลอดไตรมาสปี 2542
    ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน ถึง วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2542

    22. พระครูสังวรานุโยค (หลวงพ่อช่อ)
    วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    เสกครั้งแรก วันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2542
    เสกครั้งที่สอง วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544
    เสกครั้งที่สาม วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547

    23. พระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อพูล อัตตรักโข)
    วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม อธิษฐานจิต-ปลุกเสกตลอดไตรมาสปี 2543 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ถึง วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543

    24. พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฑฒโน (พระอาจารย์ติ๋ว)
    วัดมณีชลขัณฑ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี เสกตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม ถึง วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2544 รวม 35 วัน

    25. หลวงพ่อลำใย สัญญโม
    วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เสกตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 รวม 64 วัน

    26. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร
    วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อธิษฐานจิต 3 วาระ
    วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2544 ,
    วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ,
    วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2545

    27. พระครูวินัยวัชรกิจ (หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม)
    วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปลุกเสกตลอดไตรมาสปี 2544
    ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544

    28. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (หลวงพ่อสมโภช) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสาคร วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2545 รวม 35 วัน

    29. พระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ)
    วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ปลุกเสกตลอดไตรมาสปี 2545
    ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ถึง วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และถวายเสกพิเศษในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2545

    30. พระครูวิชัยกิจอารักษ์ (หลวงพ่ออุดม)
    วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    วันที่ 17 มีนาคม ถึง วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 รวม 5 เดือน

    31. หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ
    วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ อธิษฐานจิตตลอดไตรมาสปี 2546
    ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546

    32. หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล
    วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก อธิษฐานจิตตลอดไตรมาสปี 2547
    ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม ถึง วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2547 รวมเวลา 6 เดือน

    นี่คือรายนามพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงอภิญญาและชำนาญในกีฬาทางจิตต่าง ๆ กันไป นับแล้วได้พุทธาภิเษก 26 พิธี เสกเดี่ยวอีก 32 พระเถระเท่าจำนวนอาการ 32 ที่ยังบุคคลให้เต็มบริบูรณ์ได้พอดี

    แม้ทุกองค์จะมีดีต่างกัน หากที่แน่ ๆ คือเป็นพระที่ทรงจิตตานุภาพล้นเหลือ และทุกองค์ก็ตั้งใจเพ่งจิตลงสู่ของสิ่งเดียวกัน เชื่อเถอะว่าเหรียญพระแก้วหมดห่วงรุ่น 2 นี้จะเป็นภาชนะเก็บพลานุภาพของครูบาอาจารย์ได้อย่างวิเศษสุด

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/xyNWkXYCvNypJAID" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/100/7V9EpM.jpg" /></a>​
     
  7. teerjarun

    teerjarun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +272
    สอบถามราคาครับ


    ราคาบูชาเท่าไหร่:cool:
     
  8. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    แจ้งไปทางpmแล้วครับ
     
  9. อินทรียสงวร

    อินทรียสงวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +610
    บูชาเท่าไรครับ
    พระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น 2 สุดยอดเหรียญดีแห่งปัจจุบัน
     
  10. Wish571

    Wish571 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2014
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +94
    ขอทราบราคาครับ

    ขอทราบราคาครับ
     
  11. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,366
    ค่าพลัง:
    +7,309
    ปิดครับ
    พระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น 2
     
  12. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ปิดแล้วครับ
     
  13. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,160
    ค่าพลัง:
    +14,319
    พระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น 2 สวยเดิมๆเลยครับป๋า
    สวัสดียามสายครับป๋า
     
  14. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ชุดนี้ได้มาค่อนข้างสวยครับ

    [​IMG]
     
  15. เอ๋เชียงใหม่

    เอ๋เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    839
    ค่าพลัง:
    +1,791
    พระแก้วหมดห่วงที่ด้านหลังมีผงมวลสารติดอยู่รุ่นไหนครับ ใช่รุ่น1รึป่าวพิธีเป็นงัยบ้างครับ ขอความรู้หน่อยครับ
     
  16. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    องค์นั้นคือพระแก้วทิ้งทวนที่อาจารย์นันต์สร้างครับ ข้อมูลที่เจอมาครับ

    จัดสร้างโดยอาจารย์อนันต์ สวัสดิเสาวนีย์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร หลังจากที่ท่านจัดสร้างพระแก้วโด่งดังมาแล้วหลายรุ่น แต่รุ่นนี้ถือว่าทิ้งทวน ออกแบบได้สวยงาม พระแก้วถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมือง ตามประวัติแต่เดิมจะไม่มีเครื่องทรง พุทธลักษณะของเหรียญกลมขนาดเท่าเหรียญสิบบาท ด้านหลังตอกโค๊ตประจำของอาจารย์อนันต์ สลักคาถาบูชา พระแก้วมรกต "วาละ ลุ กัง สัง วา ตัง วา" วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่าย แก่ผู้ร่วมทำบุญกับโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อพระภิษุสงฆ์ที่อาพาธ มวลสารประกอบด้วย ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สำคัญหลายสิบรุ่น อาทิ พระกริ่งปวเรศ 2 (ปี 2530 ในหลวงเสด็จเททอง และทรงเป็นองค์ประธานในพิธี),ชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์เทพวราราม, ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ชนวนพระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ เป็นต้น และที่สำคัญยังได้ใส่ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์จากยอดพระเกศและข้อพระกรของพระพุทธรูปโบราณที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในประเทศไทย และส่วนผสมใส่ทองคำเก่าไปจำนวนมาก , ด้านหลังมวลสาร(มีผงอันสูงค่าที่ไม่ควรเปิดเผยในที่สาธารณะครับ ท่านใดสนใจ สอบถามมวลสารนี้ได้ที่หลังไมค์ครับ) ผงชันเพชรบุษบกพระแก้ว ผงวิเศษที่ได้รับจากการสร้างองค์บดินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร ปฐวีธาตุหลวงปู่คำพันธ์ ปฐวีธาตุเจ้าคุณนร ผงปฐวีธาตุ 32 อาจารย์ ผงจากพระชำรุดทั่วประเทศ ผงหลวงปู่พรหมา หลวงปู่คำพันธ์ และผงมวลสารที่ได้รับการอธิษฐานจิตเพิ่มเติมจากครูบาอาจารย์ทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เป็นต้น ทั้งหมดถูกนำมาผสมรวมกันเพื่อสถาปนาขึ้นเป็นวัตถุมงคลในชุดพระแก้วสารพัดนึก เนื้อนวโลหะพิเศษ โดยได้รับการอธิฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณทั่วประเทศ ทั้งยังได้เข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดพระแก้วซึ่งเป็นพิธีใหญ่หลายครั้ง

    ในตอนแรกท่านมีดำริที่จะสร้างพีระด้วยเนื้อนวโลหะพิเศษนี้ทั้งหมดโดยใส่ชนวน 75% นอกนั้นเป็นเงินกับทองคำเพื่อให้เนื้อออกมาสวย
    แต่สร้างพิมพ์นี้ได้แค่ 50 องค์ช่างที่ทำการสร้างได้บอกอาจารย์อนันต์ว่าเนื้อโลหะแข็งมากทำให้ปั๊มแล้วเหรียญเสียเยอะ ท่านอาจารย์อนันต์
    ท่านจึงเปลี่ยนเป็นใส่ชนวน 50 % ทองแดง เงิน และทอง อีก 50 % สร้างจนชนวนหมดได้ทั้งสิ้น รวม 2 สองเนื้อ 504 องค์

    [​IMG]
     
  17. เอ๋เชียงใหม่

    เอ๋เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    839
    ค่าพลัง:
    +1,791
    พระแก้วทิ้งทวน ท่านมีไหมครับราคาบูชาเท่าไหร่ครับ ในเว๊ปทั่วไปไม่มีเลยน่าจะหายากมากนะครับ
     
  18. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    มีเหลืออยู่1องค์ครับ

    [​IMG]
     
  19. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,566
    ค่าพลัง:
    +30,871
    el063197128th บางกอกน้อย
    el063197131th คุณศุภชัย
    el063197145th คุณณภัทร
    el063197159th ปากเกร็ด
    el063197162th คุณชาติ
     
  20. hirtr1

    hirtr1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,080
    ขอทราบราคาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...