จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]
     
  2. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]
     
  3. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    อารมณ์ที่เราละทิ้งไม่ได้

    [​IMG]


    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษี)

    อารมณ์ที่เราละทิ้งไม่ได้นั่นก็คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
    ถ้าท่านทั้งหลายทิ้งลมหายใจเข้าทิ้งลมหายใจออก ไม่มีทางได้ดี
    เพราะกรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่มาก
    เราจะทำกรรมฐานอีก 39 กอง ความจริงมีด้วยกัน 40 กอง
    ถ้าเราทิ้ง อานาปานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนั้น ๆ จะไม่มีผลเลย


    ที่มา FB
     
  4. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรม


    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้

    ๑. อย่าเอาความเลวไปแก้ความเลว จงเอาความดีเข้าไปชนะความเลวของจิตตนเอง ไม่ใช่เอาความเลวของเราไปชนะความเลวของบุคคลอื่น เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยของอริยชน

    ๒. ที่พวกเจ้าต้องผจญอยู่กับกฎของกรรมเยี่ยงนี้ ก็เพราะเป็นผลแห่งความเลวที่พวกเจ้าได้กระทำกันมาก่อน จึงพึงสร้างความดีลบล้างอารมณ์จิตเลว พึงยอมรับผลแห่งกฎของกรรม มัวแต่ไปโทษบุคคลอื่นเยี่ยงนี้มันก็ไม่ถูกต้อง

    ๓. วางอารมณ์เสียใหม่ อยากได้มรรคผลนิพพาน จักต้องเคารพกฎของกรรมให้มากๆ ให้จิตมีความอดทนต่อกฎของกรรมเข้าไว้ โลกนี้ไม่มีใครผิดใครถูก มีแต่กฎของกรรมแสดงอยู่ไม่เว้นตลอดกาลตลอดสมัย

    ๔. อยากพ้นกฎของกรรม ก็จงเพียรทำความดีเพื่อชนะความเลว อันเป็นกิเลสแห่งจิตของตนให้สิ้นซากไปเท่านั้น จึงจักพ้นได้ จงหมั่นตรวจสอบสังโยชน์ดูให้ดีๆ อย่าลืมซิว่า เวลานี้พวกเจ้าต้องการอะไร (ก็ตอบว่า ต้องการพระนิพพาน)

    ๕. แล้วการมีอารมณ์ไม่พอใจอยู่ในขณะนี้ จักเข้าถึงพระนิพพานได้ไหม (ตอบว่า เข้าไม่ได้)

    ๖. แล้วจักเกาะทุกข์เหล่านี้อยู่ทำไม ให้จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนั้นหรือ อย่างนี้เป็นคุณหรือเป็นโทษ (ตอบว่า เป็นโทษ)

    ๗. เมื่อเป็นโทษก็พึงอย่าทำ ละวางอารมณ์นี้ลงไปเสีย จงเลือกเอาแต่อารมณ์ที่เป็นคุณมากระทำ จึงจักถูกต้องเพื่อมรรคผลนิพพาน

    ๘. เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วย ทำได้หรือไม่ได้ก็ต้องทำ

    วิธีพ้นภัยตนเอง

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนไว้ดังนี้

    ๑. อยู่ที่การหมั่นตรวจสอบจิต ให้มีอารมณ์ผ่องใสอยู่ในธรรมให้เสมอ ตั้งแต่เช้าลืมตาขึ้นมาพยายามตั้งอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ และพยายามตั้งอยู่ให้มั่นคง ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งหลับตานอนหลับไป หากทำได้จิตจักผ่องใส เจริญอยู่ในธรรมตลอดเวลา เพราะอำนาจของพรหมวิหาร ๔ จักบังคับจิตไม่ให้เบียดเบียนตนเอง เมื่อสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว คำว่าจักไปเบียดเบียนบุคคลอื่นนั้นย่อมไม่มี

    ๒. ภัยร้ายแรงที่สุดในการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู้ความพ้นทุกข์ ก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตัวเราเองทำร้ายจิตของเราเอง ดังนั้น หากเราทรงอารมณ์ให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ประการได้มั่นคงตลอดเวลา จิตเราก็ผ่องใสตลอดเวลา เท่ากับสิ้นความเบียดเบียนตนเองแล้ว หรือพ้นภัยตนเองแล้วอย่างถาวร

    ๓. ในการปฏิบัติหากจิตมีอารมณ์คิด ก็ให้คิดใคร่ครวญอยู่ในธรรม แม้จักไม่มีคู่สนทนา ก็จงสนทนากับจิตตนเอง คือ ใคร่ครวญในพระธรรมวินัย หรือใคร่ครวญในพระสูตรให้จิตตนเองฟัง และเจริญอยู่ในธรรมนั้นๆ ทำได้เยี่ยงนี้จิตเจ้าจักผ่องใสอยู่ตลอดเวลา ศีล สมาธิ ปัญญาจักเกิดขึ้นได้ด้วยการใคร่ครวญในธรรมนั้นๆ และจักทำให้จิตจำพระธรรมคำสั่งสอนได้ดีพอสมควร ธรรมเหล่านี้จักเป็นผลพลอยได้ ซึ่งกาลต่อไปเจ้าจักมีโอกาสนำไปสงเคราะห์บอกต่อให้แก่ผู้อื่นได้ศึกษาและ เข้าใจถึงธรรมนั้นๆ ไปด้วย

    ๔. แต่อย่าลืมหลักสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ อย่าปฏิบัติเลื่อนลอยจักไม่ได้ผล แม้การแนะนำผู้อื่นก็เช่นกัน อย่าทิ้งหลักสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นเป็นอันขาด

    ๕. การแนะนำอย่ากระทำตนเป็นผู้รู้ ให้ถ่อมตนเข้าไว้ว่า ที่รู้นั้นรู้ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสอนให้ตัดสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้น เพื่อกันอบายภูมิ ๔ ไว้ก่อน เพราะการไปละเมิดศีล ๕ เข้าข้อใดข้อหนึ่ง กรรมนั้นก็จักถึงให้ตกนรก

    ๖. นรกขุมแรก สัญชีพนรก ๙ ล้านปีของมนุษย์เท่ากับนรกขุมนี้ ๑ วัน ให้เกรงกลัวบาปเข้าไว้ แต่มิใช่คิดประมาทว่าไม่เป็นไร เราจะพยายามไม่ละเมิดศีล แต่ไม่ต้องรักษาศีลก็แล้วกัน ถ้าบุคคลใดคิดเช่นนั้น ให้ดูตัวอย่าง อานันทเศรษฐี ผู้ไม่มีทั้งกรรมดี คือ ไม่ยอมให้ทานเลย แต่ก็ไม่มีกรรมชั่ว เพราะเขาไม่ได้รักษาศีล แต่ก็ไม่ได้ละเมิดศีล ผลของการไม่ให้ทาน ทำให้เกิดเป็นลูกขอทาน ผลที่เขาไม่ได้รักษาศีล ทำให้รูปร่างเขาเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น กฎของกรรมมันเป็นอย่างนี้

    ๗. และอย่าลืมว่าเรามิใช่เกิดมาแต่เพียงชาตินี้ คือปัจจุบันชาติเท่านั้น หากใช้ปัญญาพิจารณาถอยหลังไป คนแต่ละคนเกิดมาแล้วนับอสงไขยไม่ถ้วนในอดีตชาติที่ผ่านมาอย่างนับไม่ถ้วน นั้น ทุกๆ คน ทำกรรมชั่วละเมิดศีล ๕ มาแล้วมากกว่าทำกรรมดีนี่เป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้นทุกๆ คนย่อมมีบาปเก่าๆ ท่วมทับใจอยู่ บาปเก่าๆ เหล่านี้แหละที่จักสามารถดึงทุกท่านลงนรกได้ ถ้าหากจิตไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า คือพระโสดาบันขึ้นไปเป็นอันดับเบื้องต้น เพราะฉะนั้น จุดนี้ทุกคนจึงไม่ควรจักประมาท ให้พยายามตัดสังโยชน์ ๓ เอาไว้ให้ดีๆ เพื่อป้องกันการไปจุติยังอบายภูมิ ๔ อย่างเด็ดขาด

    ๘. การพูดต้องพูดตามนี้ การปฏิบัติของพวกเจ้า จักต้องกำหนดรู้อยู่ที่สังโยชน์ ๔-๕ จักได้มีการระงับอารมณ์อันเป็นเหตุให้เกิดความพอใจ และไม่พอใจ นี่จักต้องมีสติกำหนดรู้ไว้ มิใช่ปล่อยให้กระเจิดกระเจิงไปตามอายตนะสัมผัส เหมือนดังที่ผ่านมานั้นใช้ไม่ได้

    ๙. เมื่อรู้ว่าพลาดก็จงตั้งต้นใหม่ เพียรต่อสู้เรื่อยไป อย่าท้อถอย มีกำลังใจตั้งมั่นไว้เสมอว่า บุคคลใดจักเข้าถึงพระนิพพานได้ บุคคลนั้นต้องตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้ จึงจักเข้าถึงได้ เราเองก็จักต้องกระทำตามนั้น จักเดินทางอื่นเพื่อเข้าถึงพระนิพพานไม่ได้เลย

    ๑๐. การเอาชนะอารมณ์ที่เป็นกิเลสนี้ นี่แหละคืองานประจำ คืองานสำคัญที่เราจักต้องทำให้ได้ ถ้าปราศจากการกระทำงานนี้แล้ว การเข้าถึงพระนิพพานนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ให้ดีๆ ปฏิปทาใดที่ครูบาอาจารย์สอนแล้ว จงหมั่นเดินตามทางนั้นด้วยกำลังใจที่ตั้งมั่นในความเพียร หนทางใดเป็นทางพ้นทุกข์ จงเดินตามทางนั้น หนทางใดที่ท่านสอนไว้ว่าเป็นทุกข์ ก็จงละอย่าเดินซึ่งทางนั้น

    ๑๑. ความโกรธ โลภ หลง นั้นไม่ดี ทางนี้ทำให้จิตมีอารมณ์ของความทุกข์ จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า อเนกชาติแล้วนะที่เราเดินมาตามทางแห่งความทุกข์นั้น ทุกข์เพราะความโกรธ โลภ หลง ทำให้จิตต้องเสวยทุกข์จุติไปตามอารมณ์เกาะทุกข์ เพราะความโกรธ โลภ หลงนั้นๆ

    ๑๒. เพลานี้พวกเจ้าได้พบแล้วซึ่งธรรมพ้นทุกข์ จงเดินตามมาเพื่อจักได้พ้นจากการจุติในวัฏฏสงสารให้ได้ก่อนตาย ร่างกายนี้ต้องตายแน่ จึงไม่ควรที่จักประมาทยอมแพ้เต้นตามกิเลสอยู่ร่ำไป ขณะจิตนี้แพ้แล้วก็แพ้ไป ตั้งสติกำหนดรู้ แล้วรีบตั้งใจต่อสู้กับกิเลสใหม่ อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปโดยไร้ประโยชน์ ขอให้หมั่นเพียรจริงๆ เถิด คำว่าเกินวิสัยที่จักชนะกิเลสได้ย่อมไม่มี

    ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย

    (บุคคล ใดที่ใคร่ครวญพระธรรมวินัยอยู่เสมอ บุคคลนั้นจักไม่เสื่อมจากพระธรรม หรือไม่เสื่อมจากสัจธรรม บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นเราตถาคต ความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม หรือจิตที่ทรงธรรม มิใช่อยู่ที่ร่างกาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น)

    จากการศึกษาพระไตรปิฎกว่าด้วยพระธรรมวินัย แล้วนำมา ธัมมวิจยะ พอสรุปได้ดังนี้

    ๑. ภิกษุอาทิกัมมิกะ (ภิกษุประพฤติชั่วโดยไม่รู้ก่อนที่จะบัญญัติศีล) เป็นผู้ทำให้เกิดศีล ๒๒๗ เพราะเหตุใด ต้นเหตุทั้งหมดเกิดจากอารมณ์โลภ โกรธ หลง และโลกธรรม ๘

    ๒. โลกธรรม ๘ กับศีล เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    ๓. โลกธรรม ๘ กับอารมณ์ ๓ คือ โลภ-โกรธ-หลง ก็เกี่ยวเนื่องกันหมด

    ๔. ธรรมหรือกรรมทั้งหลาย ล้วนมาแต่เหตุทั้งสิ้น

    ๕. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย

    ๖. พระองค์สอนหรือแสดงธรรมไปในทางเดียวกัน เกี่ยวเนื่องกัน เดินไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันเลย ถ้าผู้รับฟัง ฟังแล้วเข้าใจ

    ๗. ที่เกิดการขัดแย้งกัน มีความเห็นแตกต่างกัน (มีทิฏฐิต่างกัน) เพราะจิตของบุคคลผู้นั้นยังเจริญไม่ถึงจุดนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์พอใจ และไม่พอใจขึ้น หมายความว่ามีบารมีธรรมแค่ไหน ย่อมรู้ธรรมได้แค่นั้น เมื่อบารมีธรรมถึงแล้ว ก็จะเข้าใจ และไม่ขัดแย้งกันอีกต่อไป

    ๘. ในการปฏิบัติทั้งๆ ที่รู้ๆ อยู่นี่แหละ ก็ยังอดเผลอไม่ได้ เหตุจากโมหะ ความหลง หลงใหญ่ที่สุด คือ หลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นของเรา เป็นตัว สักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย เรียกว่า สักกายทิฏฐิ) เมื่อหลงคิดว่าตัวกูเป็นของกูแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย จึงเหมาเอาว่าเป็นของกูทั้งหมด

    ๙. ในการปฏิบัติสำหรับคนฉลาด มีปัญญาสูง พระองค์ทรงให้ตัดหลงใหญ่ตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิข้อเดียว หลงเล็กๆ ก็หลุดจากจิตหมด สามารถจบกิจในพระพุทธศาสนาได้

    ๑๐. กฎของกรรมคืออริยสัจตัวเดียวกัน กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ทำไว้ในอดีต วิบากกรรมหรือผลของกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบัน ทั้งฝ่ายดี (กุศลกรรม) และฝ่ายชั่ว (อกุศลกรรม)

    ๑๑. ใครหมดความหลงจึงจบกิจในพุทธศาสนา เพราะหลงเป็นเหตุ จึงทำให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะหรือโทสะ) และพอใจ (ราคะหรือโลภะ)

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นประโยชน์อันหาประมาณมิได้ ของธัมมวิจัย ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในทางพุทธ ใครทำใครได้ ใครเพียรมากพักน้อย เดินทางสายกลางก็จบเร็ว แต่ส่วนใหญ่มักเพียรน้อย พักมาก ยังหาทางสายกลางไม่พบก็จบช้า


    ที่มา FB พุทธธรรมนำใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2014
  5. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]


    เรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของโลก ในเมื่อแบกไม่ไหวก็ดูที่ตัวเรา แก้ที่ตัวเรา ปรับปรุงกาย วาจา ใจของเราให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้วการปฏิบัติของเราจะเห็นผลเอง อย่าอยากทำแล้วไม่ค่อยทำ ทำทั้งที่ทำให้ถึงผล เมื่อเกิดผลแล้วตัวเรานั่นแหละ ที่จะเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นเขา คนอื่นเขาสนใจไต่ถามแล้วเราแนะนำเขาได้ เพราะทำได้จริง รู้จริง ๆ

    อย่าใช้วิธีจำแล้วไปคุยข่มกัน หรือไม่ก็จำคำสอนของครูบาอาจารย์แล้วก็ไปโม้กระจาย สิ่งที่เราทำได้ก็จะรั่วออกทางปากจนหมด แล้วก็แพ้กิเลสต่อไป เมื่อรู้ว่ามีจุดอ่อนตรงไหนก็ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข มีจุดแข็งตรงไหนเอามาใช้งานให้มากที่สุด แล้วเราจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม


    คำสอนหลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน
    ภาพ : งานเป่ายันต์ปี ๕๐ ถ่ายโดยคุณบัณฑิต เอี่ยมตระกูล


    ที่มา FB
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2014
  6. therd2499

    therd2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +3,209

    ปฎิบัติไปอุทิศบุญแจกไป ทำบุญภายนอกอานิสงส์ก็มากกว่าปกติ บุญภายใน ก็บึ้มบั้มบานตะเกียง ประมาณว่าเป็นเศรษฐีบุญเลยนะบุญเกิดตลอดเวลา

    อุทิศบุญให้วิญญานที่ทุกข์ ก็เป็นสุข วิญญานที่มีโซ่ตรวนก็หลุดได้

    ด้วยบุญกรรมฐาน จิตเกาะท่านพ่อนี่แหละ เป็นที่เลิฟของเทวดา เป็นที่เลิฟของชาวโลกทิพย์

    และเป็นที่พึ่งของดวงวิญญานที่เดือดร้อน ยังมีอะไรดีๆอีกเยอะ หลวงพี่จิตโตเคยกล่าวไว้

    ผมฟังบ่อยและหลวงพ่อฤาษีเคยกล่าวไว้ว่าบุคคลที่ทรงฌานตั้งแต่อุปจารสมาธิ พ่อปู่ท้าวมหาราชจะส่งบอดี้การ์ดมาอารักขา

    นี่แค่จิ๊บๆนะครับ มีดีกว่านี้อีกครับปฎิบัติไปเรื่อยๆครับ อันนี้แนวฤทธิ์แนวเดช^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2014
  7. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]

    ที่มา FB​
     
  8. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]


    พระอาจารย์เล็ก อธิบายเรื่อง

    "สังขารุเปกขาญาณในพรหมวิหาร ๔"

    ถาม : อารมณ์สังขารุเปกขาญาณที่เป็นการวางเฉย เมื่อวางเฉยแบบสังขารุเปกขาญาณแล้ว จะนำไปใช้กับตัวเมตตาในพรหมวิหาร ๔ ได้อย่างไรบ้างครับ ?

    ตอบ : อุเบกขาก็จะเป็นอุเบกขาในเมตตา แม้ว่าปล่อยวางก็ยังมีความรัก มีความห่วงใยเป็นปกติอุเบกขาในกรุณา แม้ว่าปล่อยวางก็ยังสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์อยู่เช่นเดิม
    อุเบกขาในมุทิตา แม้ว่าจิตใจไม่ยินดียินร้าย แต่ถ้าหากว่าเขาได้ดีก็ยังยินดีกับเขาอยู่ ไม่หวั่นไหวแต่มีความยินดีด้วย ต้องเป็นอุเบกขาในอุเบกขา จึงหยุดสนิท ไม่ยินดียินร้ายอะไรกับใคร

    คราวนี้ถ้าทำเข้าถึงแล้ว จะเป็นพรหมวิหารสี่ที่ประกอบด้วยปัญญา ป้องกันตัวเองได้ทุกวิถีทาง ไม่อย่างนั้นแล้วบางคนช่วยเหลือผู้อื่นแต่ตัวเองเดือดร้อน ดีไม่ดีเขาก็สรรเสริญว่าไอ้บ้า ไม่ได้รู้จักกันเสียหน่อย มายุ่งกับกูทำไม ? เมตตาไม่ดูตาม้าตาเรือ

    คราวนี้ในสังขารุเปกขาญาณจะประกอบด้วยเมตตา พูดง่าย ๆ ว่าไม่ใช่เรื่องวาระบุญ วาระกรรม ก็ไม่ไปแตะต้อง อย่างที่อาตมาสรุปง่าย ๆ ว่าถ้าไม่ได้มาล้มทับตีนอยู่ข้างหน้า แล้วเรายังเดินต่อไปได้ ก็ไม่ไปยุ่งกับเขา นี่เล่นล้มทับตีนอยู่ เราเดินต่อไม่ได้ ก็เลยต้องช่วยเขาหน่อย

    ถาม : พูดง่าย ๆ ว่าตัวสังขารุเปกขาญาณไม่ได้ทำให้ตัวพรหมวิหารลดลง..ใช่ไหมครับ ?

    ตอบ : ไม่ได้ลดลง แต่มีความมั่นคง และรู้ระมัดระวังมากขึ้น ไม่ยุ่งกับกรรมของใครโดยไม่จำเป็น เพราะใจยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ


    ถาม-ตอบ ณ บ้านอนุสาวรีย์
    ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๒

    ที่มา : เว็บวัดท่าขนุนดอทคอม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2014
  9. thipong

    thipong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2013
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +1,673
    .
    ..สาธุๆๆๆ แต่ผมก็ยังตามพิสูจน์อยู่น่ะ.. อิอิ..
    .ว่ากลิ่นที่ว่า เป็นอะไรกันแน่นอน
    ..ยกเว้นว่าจะไม่ได้กลิิ่นนั้นเป็นเดือนๆอะไรงี้ครับ
    ..สาธุๆๆๆ
     
  10. therd2499

    therd2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +3,209


    เมื่อวานเงินเดือนออกไปกดตังค์ให้แม่หมดซึ่งทำเป็นประจำทุกเดือนแม่ก็แบ่งมาให้ใช้

    เลยแบ่งเงินนั้นบางส่วนมาทำบุญโดยการโอนผ่านธนาคารซึ่งทำเป็นปกติขับมอเตอร์ไซด์

    ไปธนาคารผ่านสี่แยกจังหวะสัญญาณไฟเหลืองจะแดงซึ่งเราขับผ่านสี่แยกพอดีรถอีกฝั่งก็กำลัง

    จะออกตัวพอดีรู้สึกเหวอๆตกใจนิสๆ พอหายเหวอจิตพิจรณาความตายทันทีเราต้องตายแน่

    ไม่รู้จะตายที่ไหนไม่มีนิมิตรเครื่องหมายความตายมันตามเรามาติดๆไปไหนไปด้วย

    มันอยู่แค่ปลายจมูกเหตุการณ์นี้เตือนว่าอย่าลืมพิจรณาความตายด้วยเด้อคับเด้อ
     
  11. thipong

    thipong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2013
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +1,673
    ..
    ..ตอนที่ครูเกษสอนเรื่องกรรมให้เรายอมรับในกรรมนั้น
    ..ได้น้อมจิตระลึกถึงคำสอนของสมเด็จพ่อองค์ปฐมว่า
    ..ให้เรามองทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะกรรม
    ..ไปอ่านที่ไหนก็จำไม่ได้
    ..ตอนนั้นอ่านก็ยังไม่ยอมรับทั้งหมด
    ..แต่พอครูเกษมาสอนอีกครั้ง ในครั้งแรกจิตก็ยังเถียงว่าไม่ใช่
    ..แต่เมื่อได้พิจารณาให้ถ่องแท้
    .. จึงยอมรับว่าเป็นความจริงทุกประการ
    ..
    .ช่วงนี้คนรู้จักมีปัญหาครอบครัวมาก ถึงขั้นประกาศขายบ้าน แบ่งสมบัติ
    .เพราะว่าไม่ไหวแล้ว.
    ..ทนมานานแล้ววว สามีก็ไม่ดี ไม่เหลียวแล ครอบครัวสามีก็ไม่สนใจ
    ..โดนทอดทิ้ง เพราะตัวเองก็ลำบากสุดๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีแล้ว
    ..จึงขอหย่าดีกว่า
    ..
    ..
    .พอน้องเค้าโทษออกมาอย่างนี้
    .ก็นึกถึงที่เราเองก็เคยโทษคนอื่นเช่นกัน โห..มันเป็นความรู้สึกเราเมื่อก่อนนะ.
    ..ทำไมเราทำดีแล้วก็ยังไม่ได้ดีซักทีหนอ..
    ..ทำไมมีแต่คนจ้องจะเอาเปรียบเรา...
    ...
    ...นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์..นึกถึงครูเกษสอน..ได้ช่วยเตือนสติเค้า..
    ...
    ..น้องเอ๊ย อย่าไปโทษแต่คนนั้น ไม่ดี คนโน้นไม่ดี สามีมันเลว..
    ..พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
    ..ใครทำอะไรก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้น..
    ..ผลของกรรมเที่ยงตรงเสมอ.
    ..เราไม่รู้หรอกว่าเราไปทำไว้อะไรเมื่อไหร่ชาติไหน..
    ..
    ..แต่หากเรามองว่า เราเคยทำแบบนี้ไว้กับพวกเค้า เค้าก็เลยเมินเฉยไม่มีน้ำใจกับเรา.
    ..ส่วนสามี ก็ให้มอง เราเคยไปทำแบบนี้กับเค้า ชาตินี้เค้าเลยทำกับเราคืน.
    ..
    ..มองแบบนี้ได้ใจเราจะทุกข์น้อยลง อย่าไปโทษใคร..
    ..เรามีคู่เวรคู่กรรม จะให้มันสวยงามราบรื่นเหมือนคู่แท้ เค้าได้ไง..
    ..ทำใจยอมรับ และก็อดทนเอา เดี๋ยวซักวันมันก็ดีเอง..
    ...
    ...ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์..พระท่านสอนเป็นจริงทุกประการ..
    ...กราบขอบคุณสมเด็จพ่อองค์ปฐม ครูเกษ ที่สอนให้เข้าใจในผลของกรรมทุกประการครับ

    สาธุๆๆๆๆ
     
  12. somchai_12

    somchai_12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +800
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เราไม่มีร่างกายร่างกายไม่ไช่เรา

    นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา
     
  13. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]
    โมทนาสาธุบุญด้วยจ๊ะ...ที่ในที่สุด...สิ่งที่เราพิมพ์ไปเป็นหน้าๆ ก็ไม่เสียเปล่า...

    แหม่ แหม่ แหม๋...มันเป็นอย่างนี้นี่เอง..ถึงเกาะพระไม่ติดเสียที...มาสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สงสัยธรรมดา แต่เป็นไม่เชื่อเลยต่างหากเล่า หนักเข้าไปอีก...แต่ในที่สุด เจ้าก็แกะมันออกมาได้แล้วน่ะ โมทนาสาธุด้วยจริงๆ...

    สังเกตุอีกอย่างหนึ่งน่ะว่า กรรมไม่ดีที่ทุกคนล้วนได้รับ มันก็เป็นผลมาจากการทำผิดศีล5 ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะทางกาย วาจา ใจ...

    ทุกคนล้วนเกิดมามีกรรมเป็นตัวกำหนดด้วยกันทั้งสิ้น(ตั้งแต่เกิดจนตาย)...ก็จะมีแต่เพียง สัมมาสติ(ความรู้สึกตัว) ในชาติปัจจุบันเท่านั้น ที่จะสามารถเปลี่ยนกรรมได้ ก็เพราะสติพาคุณเปลี่ยนจิตได้แล้วยังไงล่ะ...

    ถ้าใครไม่ฝึกสติ ก็เท่ากับปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม ตามกรรมที่ติดตัวมาเป็นตัวกำหนดชีวิตคุณ (ไม่ใช่ไปวิ่งหาหมอดูให้ช่วยดูกรรม เห็นกรรม แล้วแก้กรรมให้ เพราะกรรมแก้ที่จิตเท่านั้น) มีแต่สติในปัจจุบันเท่านั้น ที่พอจะเปลี่ยนกรรม เปลี่ยนชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณได้...

    ถ้าอยากจะหมดกรรมชั่ว ก็ต้องหมั่นเพียรปฏิบัติสร้างกรรมดีให้มากๆ...

    ถ้าเปรียบจิตเป็นแก้วเปล่าๆ ว่างๆ มีดิน(กรรมชั่ว)อยู่หยิบมือในแก้ว ถ้าเติมน้ำ(กรรมดี) ลงไปในแก้วมากเท่าไร ก็ยิ่งละลายดินให้จางไปมากเท่านั้น จนแทบไม่เห็นดินในแก้วเลยด้วยซ้ำ แต่จริงๆ ดินไม่ได้หายไปไหนเลยใช่มั้ย ก็ยังคงอยู่ในแก้วนั้นแหล่ะ

    ในทางกลับกัน ถ้าเจ้าหมั่นเติมน้ำ แต่ก็ยังไม่หยุดเติมดินเข้าไปในแก้ว ฉันใด น้ำในแก้วก็ไม่อาจจะใสสะอาดได้เช่นกัน

    โมทนาสาธุ
    ธรรมมณี จบ.52

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤษภาคม 2014
  14. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 25 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 24 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    Natcha@uk


    ;aa43 Hello Hello !!
    ... โปรดทราบ สมาชิกบ้านนี้ หายไปไหนกันหมดเนี่ย ...ไม่มีใครต้อนรับแขกผู้มาเยือนเลย..ตั้ง 24 คนแน่ะ...เราเองก็ไม่ได้แวะเข้าบ้านนี้เลย ตั้งหลายวันดูเงียบเหงาจัง...sleeping_rb
     
  15. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]


    น้อมจิตรำลึกถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า​
    ด้วยความรักและศรัทธาที่แท้จริงกันเถิด​


    ~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~​




    O พระเมตตาของพระพุทธองค์ ลึกซึ้งจริงพระหฤทัย

    เมตตาที่แท้จริงในใจนั้นสั่งสมให้มากขึ้นได้ แผ่ขยายให้กว้างใหญ่ได้ จนถึงไพศาลไปทั้งโลกได้

    พระพุทธองค์ทรงเป็นพยานยืนยันความจริงนี้แล้ว ทรงอบรมพระเมตตามาหลายกัปปัลป์ จนได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เป็นความจริงที่พึงยอมรับ คือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้เป็นสมเด็จพระบรมศาสดา ตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นได้ เพราะพระเมตตาพระกรุณาเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดจริงๆ

    พระเมตตา กรุณาของพระพุทธองค์ เป็นความรู้สึกลึกซึ้งจริงพระหฤทัย ไม่มีอะไรอื่นอาจลบล้างให้บางเบาได้ ความเหนื่อยยากลำบากตรากตรำพระวรกาย แม้มากมายหนักหนาก็ไม่ทำให้ทรงเปลี่ยนพระหฤทัยกลับคืนสู่ความพรั่งพร้อมที่ รออยู่

    ทรงมุ่งมั่นแสวงหาทางช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ โดยมิทรงพ่ายแพ้ให้แก่อำนาจเย้ายวนใดๆ ทั้งสิ้น พระมหากรุณาชนะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง

    O เหตุแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

    พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุแห่งความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุด เหนือความสำเร็จใดๆ ที่เคยมีมา ไม่ว่าความสำเร็จของใครทั้งนั้น กรุณาของผู้ใดก็ตามย่อมให้ความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ตามควรแก่ความกรุณานั้นๆ

    จึงพึงเห็นความสำคัญของความกรุณาให้ยิ่ง ปลูกฝังให้มั่นคงในจิตใจตน ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าความเมตตากรุณามิได้ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเท่านั้น แต่จะให้ประโยชน์แก่ตนด้วย และตนจะได้รับก่อนใครทั้งหมด

    พระมหากรุณา ของพระพุทธเจ้าไม่เคยขาดสาย ไม่เคยว่างเว้น พระมหากรุณานำให้เสด็จออกทรงพระผนวช และเมื่อทรงพระผนวชแล้ว ก็ทรงยอมทุกข์ยากบากบั่นจนถึงที่สุดทุกวิถีทาง ทรงทำทุกอย่างแม้แทบจะทรงรักษาพระชนม์ชีพไว้ไม่ได้ เพียงด้วยทรงหวังว่าแต่ละวิธีนั้น อาจจะเป็นทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์ของสัตว์โลก

    พระมหากรุณาบัญชาพระหฤทัยอยู่ทุกเวลา ให้ทรงพากเพียรทำทุกวิถีทาง ที่ทรงหวังว่าจะเป็นเหตุให้ทรงยังความไม่มีทุกข์ให้เกิดได้

    O พระผู้มีเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย

    พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ปรากฏชัดเจนจนบังเกิดเป็นผลสำเร็จยิ่งใหญ่ เริ่มด้วยที่ทรงเห็น คือ ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ตามมาด้วยทรงคิดอันประกอบด้วยพระเมตตา คือ ทรงคิดถึงสัตว์โลกทั้งปวงที่มิได้ทอดพระเนตรเห็น

    แต่ด้วยพระเมตตาทรง คิดถึงได้ ทรงคิดถึงได้ดังทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ทรมานนั้นจริง ดังมาปรากฏเบื้องพระพักตร์เช่นเดียวกับคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ที่ได้ทอดพระเนตรนั้น ที่เกิดความคิดอันประกอบพร้อมด้วยพระเมตตา คือ พระมหากรุณาทรงปรารถนายิ่งนักที่จะช่วยเขาเหล่านั้น จะต้องทรงช่วยให้ได้ ทรงมุ่งมั่นเช่นนี้

    ผู้มีปัญญา มีจิตใจละเอียดอ่อน เมื่อมาระลึกถึงพระพุทธองค์ตามความเห็นจริง เห็นถนัดชัดเจนยิ่งพระหฤทัยอันเต็มเปี่ยมด้วยพระมหากรุณา ย่อมปิติตื้นตันและภาคภูมิใจเป็นล้นพ้นที่ได้มารู้จักพระองค์ แม้เพียงจากพระพุทธประวัติ แม้เพียงจากพระธรรมคำสอน

    แม้ไม่มีวาสนา ได้เห็นพระพักตร์ได้สดับพระสุรเสียง ทรงปลอบโยนอบรมให้ผู้มีชีวิตขื่นขมระทมทุกข์ได้ผ่อนคลาย ให้ได้เห็นแสงสว่างส่องทางระหว่างวนเวียนระหกระเหินอยู่ในสังสารวัฏ

    O ผู้ปรารถนามงคลแก่จิตใจ
    พึงระลึกถึงพระเมตตาของพระพุทธองค์


    การ ะลึกถึงพระพุทธองค์เช่นนี้ เป็นพุทธานุสติที่จักเป็นคุณสูงยิ่งแก่จิตใจ ความสุขพ้นคำพรรณนาใดจักเกิดมี จึงเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนหรือผู้ปรารถนาความเป็นมงคลแก่จิตใจ พึงพยายามให้ได้เป็นสมบัติวิเศษแห่งตนทุกคน

    O พระเมตตาของพระพุทธองค์ สุดพรรณนาได้

    อัน ภาษาสำหรับทุกคนไม่เหมือนกัน อย่างหนึ่งอาจเป็นความประทับใจอย่างลึกซึ้งสำหรับคนหนึ่งหรือหมู่คณะหนึ่ง แต่ไม่เป็นสำหรับอีกคนหนึ่งหรืออีกหมู่คณะหนึ่ง ทั้งๆ ที่มุ่งในสิ่งเดียวกันและในความหมายเดียวกัน

    ดังนั้นเมื่อนึกถึงพระพุทธองค์จึงคงต้องมีการนึกที่ไม่เหมือนกัน ใช้การบรรยายความรู้สึกนึกคิดที่ไม่เหมือนกัน

    บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์สูงส่งนัก
    บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์น่ารัก
    บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์ดี ไม่มีใครเทียบได้
    บางคนใช้ว่า...รักพระพุทธองค์ที่สุด
    บางคนใช้ว่า...คิดถึงพระพุทธองค์ทุกลมหายใจเข้าออก
    บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์ทรงฉลาดที่สุดในโลก ฉลาดกว่ามนุษย์และฉลาดกว่าเทวดาด้วย
    บางคนใช้ว่า...จะหาใครรักเรารักโลกเท่าพระพุทธองค์ไม่มีแล้ว

    คำพรรณนาความรู้สึกของมนุษย์นั้นมีมากมาย มากกว่าที่นำมายกเป็นตัวอย่างหลายเท่านัก

    ฉะนั้น ไม่ควรคำนึงถึงคำที่ต่างคนต่างนำมาใช้ และโต้เถียงให้บาดหมางกัน เพียงให้เกิดความซาบซึ้งจับใจจริงเท่านั้นเป็นอันถูกต้อง เป็นอันยังประโยชน์ให้เกิดได้ ทั้งแก่ตนเอง และอาจจะแผ่ไกลไปถึงผู้ที่มีความเข้าใจในถ้อยคำที่นำมาใช้ตรงกัน พึงเห็นความสำคัญให้ถูกต้อง จึงจะไม่เป็นโทษ จึงจะสำเร็จประโยชน์ในการเทิดทูนพระพุทธศาสนา

    O พระเมตตากรุณาจักให้ผลจริง
    ตราบเท่าที่ยังไม่พากันละเลยทอดทิ้งคำสอน


    อัน การระลึกถึงพระมหากรุณาของพระพุทธองค์นั้น ไม่ว่าจะหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาก็ตาม แม้ใช้ความประณีตละเอียดอ่อนแห่งจิตใจในการคิดนึก ย่อมได้ความรู้สึกจริงใจ ว่าทุกเรื่องแสดงแจ้งชัดถึงพระมหากรุณา การทรงสละพระสถานภาพที่สูงสุด ลงสู่ความเป็นผู้ขอที่ยากแค้นแสนเข็ญ

    นี้ก็เป็นพระมหากรุณาที่ยิ่ง คิดไปก็ยิ่งเป็นหนี้พระมหากรุณา ที่ยังพอจะหาความสุขกันได้บ้างในท่ามกลางความทุกข์ทั้งโลกนี้ ก็มิใช่เพราะอะไรอื่น เพราะพระมหากรุณาของพระพุทธองค์แท้ๆ ที่ทรงมุ่งให้เกิดประโยชน์ให้ความเกื้อกูล และให้ความสุขแก่โลก

    จึง ทรงมุ่งมั่นแสวงทางจนทรงพบและทรงแสดงไว้ ให้สัตว์โลกที่กรรมชั่วไม่หนักจนเกินไปพากันได้รับอยู่ ได้เป็นสุขแจ่มใสอยู่ พึงนึกไว้ให้เสมอในพระมหากรุณานี้ ที่เป็นจริง ให้ผลแล้วจริงและจะให้ผลจริงตลอดไป ตราบเท่าที่ยังไม่พากันละเลยทอดทิ้งคำสอนของพระพุทธองค์

    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกจากเวียงวังใหม่ๆ นั้น ยังทรงติดอยู่กับความพรั่งพร้อมงดงาม พระกระยาหารทีทรงขอได้ด้วยการออกรับบาตรนั้น มิได้เป็นอาหารที่ได้รับการตกแต่งมาอย่างประณีตในภาชนะงดงามเช่นที่ทรงเคยใน ปราสาทราชวัง แต่กลับเป็นอาหารที่ปนเปกันมาในภาชนะเดียว นึกภาพก็คงเข้าใจด้วยกันทุกคน ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจเพียงไร สำหรับท่านผู้เคยอยู่ในเครื่องแวดล้อมสูงส่งที่สุดเช่นพระพุทธองค์

    O ทรงเสียสละตนเองเพียงชาวโลกทั้งมวล

    ในพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อทอดพระเนตรเห็นลักษณะของอาหารที่ทรงเตรียมจะเสวย ประทับเปิดออกแล้ว ตั้งพระหฤทัยจะเสวยแล้ว แต่ก็เสวยไม่ได้ แม้จะให้ได้ความเข้าใจความรู้สึกของพระพุทธองค์ก็ให้ทดลองด้วยตนเองได้

    ไม่ถึงกับต้องหาของจริงมาเตรียมรับประทานก็ได้ เพียงนึกภาพอะไรต่อมิอะไรที่ปนเปกันอยู่ในจานอาหาร พร้อมทั้งสี กลิ่น และรูปร่างของอาหารเหล่านั้นที่ทรงได้มาจากคนยากคนจนทั้งสิ้น ก็คงได้ความรู้สึกในอาหารนั้นเพียงพอจะทำให้เข้าถึงพระหฤทัยของพระพุทธองค์ น่าจะซาบซึ้งในพระมหากรุณาที่ทรงยอมเสียสละถึงเพียงนั้น เพื่อผู้ที่มิใช่พระญาติพระวงศ์ แต่เพื่อโลกเพื่อเราทั้งหลาย

    O ทรงมุ่งมั่นประทานความพ้นทุกข์แก่สัตว์โลก

    เมื่อเสด็จอยู่ในเวียงวัง พระพุทธองค์ทรงพร้อมพรั่งด้วยความสะดวกสบาย ริ้นทั้งหลายมิได้ไต่ไรทั้งหลายมิได้ตอม ทรงอยู่ในความทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเพียงอยู่ในสวรรค์วิมาน แต่เมื่อทรงมุ่งมั่นจะประทานความพ้นทุกข์ให้แก่สัตว์โลกทั้งหลายก็ทรงยอม ลำบากตรากตรำพระวรกายไม่ย่อท้อ เป็นไปเช่นที่เรียกว่า นอนกลางดินกินกลางทราย ที่นอนหมอนมุ้งมิได้มี

    ผู้รับทราบเรื่องนี้ เพียงผ่านๆ ไปย่อมไม่ได้รับความซาบซึ้ง ย่อมไม่เข้าถึงพระหฤทัยว่ายิ่งใหญ่นักหนา ควรแก่ความเทิดทูนบูชาเหนือผู้ใดอื่น ทรงเสียสละยิ่งใหญ่เพื่อให้เรามีความทุกข์น้อยลงได้ และไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่อีกเลยก็ได้

    ทรงทำสำเร็จแล้ว มีผู้โดยเสด็จพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแล้วเป็นจำนวนไม่น้อย ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ สืบมาจนทุกวันนี้ที่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมยังมีอยู่ ได้เป็นผู้ไกลกิเลสน้อยบ้าง มากบ้าง จนถึงสิ้นเชิงบ้าง

    นึกถึงพระมหากรุณาให้ลึกซึ้งเถิด อย่าปล่อยให้ผ่านไปอย่างหยาบๆ เลย จะน่าเสียดายความสูญเสียของตนเองนัก เพราะเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน

    O ความเสียสละอันทรงอานุภาพยิ่งใหญ่

    แม้ พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปเกือบสามพันปีแล้ว ความเสียสละอันสูงส่งของพระพุทธองค์ยังทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ ผู้ไม่มืดบอดจนเกินไป ย่อมไม่ปฏิเสธคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าเป็นธรรมสำคัญยิ่งสำหรับทุกชีวิต รับสั่งอย่างไรอย่างนั้น

    มีความ สำคัญลุ่มลึกจริง เพียงแต่ว่าปัญญาของผู้ใดจะเจาะแทงเข้าไปลึกหรือตื้นเพียงใด เมื่อได้มาพบพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จึงพึงตั้งใจอบรมปัญญาเพื่อให้สามารถเข้าใจได้ลึกซึ้ง จนถึงสามารถปฏิบัติได้ผลสูงขึ้นเป็นลำดับ ได้พ้นความทุกข์ที่มีเต็มไปทุกแห่งหนได้เป็นลำดับ จนถึงไม่ต้องพบทุกข์อีกเลย

    O ผู้ที่ช่วยตนเองได้นั้น ย่อมช่วยผู้อื่นไปพร้อมด้วย

    การพยายามช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ ด้วยการปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน นับได้ว่าเป็นการกรุณาตนเอง และเป็นการกรุณาผู้อื่นอีกด้วย

    พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลก จึงได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีกรุณาต่อตนเอง ต้องพากเพียรพยายามปฏิบัติตามที่ทรงสอนให้จริงจัง จึงจะประสบความสำเร็จ ช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้

    ผู้ที่ช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้นั้น ย่อมสามารถช่วยผู้อื่นไปพร้อมกันด้วย ให้ผู้อื่นได้พลอยมีส่วนแห่งความร่มเย็นเป็นสุขด้วย เพราะผู้ไม่มีทุกข์เพียงไร คือ ผู้ไกลจากกิเลสเพียงนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไกลจากใจเพียงนั้น

    อันผู้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงบางเบา คือ ผู้ให้โทษผู้อื่นบางเบาด้วย นั่นก็คือ ไม่มีความร้อนของกิเลสแผดเผาจิตใจตนเองให้ร้อน ความร้อนนั้นเข้าใกล้ผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นร้อนแน่ ไม่ร้อนแต่เพียงตัวเองเท่านั้น

    O ผู้นำทางสัตว์โลกให้พ้นจากความร้อนของกิเลส

    พระพุทธองค์ก่อนแต่จะทรงเป็นผู้ไกลความร้อนของกิเลสแล้วอย่างสิ้นเชิง ได้ทรงพยายามทุกวิถีทาง เพื่อนำพระองค์เองให้ไกลจากความร้อน เมื่อทรงบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงสุดแล้ว ด้วยพระมหากรุณาที่ตั้งไว้แต่ต้น

    จึง ทรงเริ่มแสดงทางที่ทรงพระดำเนินผ่านแล้วนั้น เพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายได้ดำเนินตาม ได้ไกลพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของใจ เครื่องนำความทุกข์ความร้อนให้เกิดทุกเวลาไปไม่หยุดยั้ง

    ทางที่ทรง แสดงเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นทางที่เดินยากนักสำหรับคนทั้งหลาย แม้พระพุทธองค์กว่าจะทรงค้นพบได้ก็ทรงลำบากนักหนา ทรงทราบอยู่ว่าจะต้องทรงลำบากเหนื่อยยากต่อไปอีกเป็นอันมาก หาจะทรงนำธรรมที่ทรงตรัสรู้ออกอบรมสั่งสอนอันพระองค์เองนั้นไม่ว่าจะทรงสอน หรือไม่สอน ก็พ้นแล้วแน่นอน จากความทุกข์ความร้อนของความต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปไม่จบสิ้น

    แต่ แม้จะทรงประจักษ์พระหฤทัยดีถึงความเหนื่อยยากยิ่งนักที่จะทรงแสดงสอน แต่พระมหากรุณาท่วมท้นก็ทำให้ทรงพร้อมที่จะทรงเหนื่อยยาก ผู้เป็นมารดาบิดา แม้ปรารถนาจะให้เข้าถึงพระหฤทัยเพียงสมควร ก็พึงนึกถึงความเหนื่อยยากทั้งกายใจของตนเอง ที่ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดาผู้เป็นที่รักดัง ชีวิต

    ความกรุณาของผู้เป็นมารดาบิดาต่อบุตรธิดานั้น คนทั้งหลายไม่เข้าใจชัดแจ้ง นอกจากจะพยายามเข้าใจให้เต็มที่ พระมหากรุณาของพระพุทธองค์ต่อสัตว์โลกทั้งปวงก็เช่นกัน ยากที่คนทั้งนั้นจะเข้าใจได้ เพราะมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่นัก ผู้มีปัญญาจึงรักที่จะใคร่ครวญมิได้ว่างเว้น จนเป็นที่ประจักษ์ซาบซึ้งถึงในพระมหากรุณา

    O พระเมตตา พระกรุณามิได้ว่างเว้น
    แม้วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของพระองค์


    พระพุทธองค์ทรงยิ่งด้วยพระมหากรุณาจริง ตลอดพระชนมชีพ พระมหากรุณาปรากฏมิได้ว่างเว้น ที่เป็นพระมหากรุณาครั้งสุดท้ายก่อนแต่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ทรงแสดงต่อนายจุนทะผู้ถวายอาหารอันเป็นพิษ ซึ่งแน่นอนนายจุนทะหาได้รู้ไม่ แต่พระพุทธองค์ทรงทราบ

    เมื่อทรงรับประเคนและทรงตักสุกรมัททวะอาหาร จานนั้นแล้ว ทรงสั่งนายจุนทะมิได้ประเคนพระรูปอื่นต่อไป ให้นำไปฝังเสีย ทรงลงพระโลหิตเพราะเสวยอาหารนั้น และเสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ขณะเสด็จ พุทธดำเนินต่อไปไม่ไหวแล้ว ทรงนึกถึงนายจุนทะว่าจะต้องเศร้าเสียใจยิ่งนัก เมื่อได้ทราบว่าพระพุทธองค์เสวยอาหารเป็นพิษของเขาก่อนนิพพาน ผู้คนทั้งหลายที่ทราบก็จะพากันกล่าวโทษนายจุนทะ

    พระมหากรุณาทำให้ไม่ ทรงนิ่งนอนพระหฤทัยได้ รับสั่งบอกพระอานนท์ให้ไปปลอบนายจุนทะไม่ให้เสียใจ โดยรับสั่งว่าผู้ถวายอาหารมื้อสุดท้าย ได้กุศลเสมอกับผู้ถวายอาหารมื้อก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เรื่องนี้อย่าสักแต่เพียงว่ารับรู้แล้วปล่อยให้ผ่านหูผ่านใจเฉยๆ แต่ควรคิดให้เกิดคุณแก่จิตใจ

    O ผู้รำลึกถึงพระเมตตากรุณาของพระพุทธองค์
    ย่อมได้รับความรู้สึกอันเป็นคุณยิ่งนั้นด้วยตนเอง


    การคิดถึงคุณงามความดีของใดก็ตาม เป็นคุณแก่จิตใจผู้คิดอยู่แล้ว แต่การคิดถึงพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ยิ่งเป็นคุณแก่ผู้คิดอย่างประมาณมิได้ ผู้ซาบซึ้งอยู่ในพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ย่อมได้รับความรู้สึกอันเป็นคุณยิ่งนั้นด้วยตนเอง

    ความดีนานาประการ จักเกิดแก่ตนได้ด้วยอานุภาพแห่งความซาบซึ้งในพระมหากรุณาคุณ ผู้ยังไม่ได้รับด้วยตนเอง ถึงพยายามเป็นผู้รับให้ได้ การจะทบทวนคิดให้ตระหนักชัดในพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ มิใช่สิ่งสุดวิสัย และก็ไม่ยากนัก

    ไม่ถึงกับจนจะน่าท้อแท้ และแม้เริ่มใส่ใจให้จริงจังในเรื่องนี้ ก็จะได้รับความชื่นใจอบอุ่นใจเป็นลำดับ ที่เป็นผู้มีบุญได้มาพบพระพุทธศาสนา ได้มาพบพระพุทธเจ้า

    พระนิพนธ์ เรื่อง รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก
     
  16. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    นำบุญมาฝากทุกท่านค่ะ
    เช้านี้หลังจากเบื่อหน่ายกับธรรรมดาโลก พี่เกิดอยากอ่านวิปัสนสญาณ 9 แบบที่อยู่ในสมาทานพระกรรมฐานว่าคืออะไรบ้าง พี่พบว่าสิ่งที่เรียนกับครูบาอาจารย์จิตเกาะพระตอบโจทย์ทุกอย่าง เข้าใจอุบายของหลวงพ่อและของคุณครูทุกท่านในการให้เราพิจารณาขันธ์5 พี่มีเวลานิดเดียวก่อนเข้าประชุม ก็เลย copy ไว้ ระหว่างทำงานไดเ้เจอเพื่อนคนนึงบอกว่าจะไปตักบาตรหลวงปู่วิริยังค์พรุ่งนี้เช้า ก็เลยฝากปัจจัยไปใส่บาตรด้วย นำบุญมาฝากคุณครูและเพื่อนพี่น้องทุกท่านนะคะ

    วิปัสสนาญาณ ๙

    มีรูปหลวงพ่อฤาษ์ตรงนี้ แต่copy ไม่ติดค่ะ

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
    ๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
    ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้น เป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับ ความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระ นิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบัน ต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิด และความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติ ทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คน สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตาม ความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และ ค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจาก เป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสว กลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัว ทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณา ให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไร มันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็ เช่นเดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆ สลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา
    รวมความว่า ความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อย ๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับ เลยแม้แต่เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหว เพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขาร เมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้ว กินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้น โรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็ เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจาก ภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควร จะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับ ญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้น ข้อนี้จึง ไม่ต้องอธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจารณา๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้ว ดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่า ทุกลมหายใจเข้า ออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัย เพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่ง สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขาร นี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญา ความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วย จะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้ว นั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้ว เอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมาก เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารัก ได้เลย
    ๖. มุญจิตุกัมมยตาญาณ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้ว จากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติ เป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่าน ให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มี สังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย การที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้
    1. ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือ ความเกิด
    2. ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่
    3. ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น
    4. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยาก คือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ
    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้ว จากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติ เป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่าน ให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มี สังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย การที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้
    1. ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือ ความเกิด
    2. ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่
    3. ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น
    4. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยาก คือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ ตัณหา มีได้ เพราะอาศัย เวทนา คือ อารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์ และเฉยๆ
    5. เวทนา มีขึ้นได้ เพราะอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกระทั่ง
    6. ผัสสะ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ
    7. อายตนะ ๖ มีขึ้นได้เพราะอาศัย นามและรูป คือ ขันธ์ ๕ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ ร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ท่านรวมเรียกทั้งรูปทั้ง นามว่า นามรูป
    8. นามรูป มีขึ้นได้เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ เข้ามาเกิด วิญญาณ ในที่นี้ท่านหมายเอาจิต ไม่ได้หมายเอาวิญญาณในขันธ์ ๕
    9. วิญญาณ มีขึ้นได้เพราะ มีสังขาร
    10. สังขาร มีได้เพราะอาศัย อวิชชา คือ ความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรัก ความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ
    รวมความแล้ว ความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออก ด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขาร นี้ได้
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
    พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อน ๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ
    ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอก คือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีเขลาหลงงมงาย มีความรัก ความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ
    รวมความแล้ว ความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออก ด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขาร นี้ได้
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
    พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อน ๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ
    ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอก คือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีวิญญาณ ที่ต้องได้รับเคราะห์กรรม มีทุกข์ มีอันตราย โดยตัดใจปลงได้ว่า ธรรมดาต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ มีจิต สบายเป็นปกติ ไม่มีความหวั่นไหว เสียใจ น้อยใจเกิดขึ้น
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ
    พิจารณาญาณทั้งหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดน ของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็นว่า สังขารมีทุกข์ประจำ เป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้เรียกว่า เห็นทุกขสัจจะเป็นอริยสัจที่ ๑
    พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหา ความทะยานอยาก ๓ ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ ไม่เคยเป็น อยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยาก ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ ก็เพราะเข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้
    จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่า มรรค ๘ ย่อมรรค ๘ ลงเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิ เป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจไม่พอใจ เสียได้ ตัดอารมณ์ใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสีย ได้ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง จนจิต ครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าเพ่อพอ หรือคิดว่าดีแล้ว ต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้ว นั่นแหละชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว


    ที่มา
     
  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    วิปัสสนาญาณ ๙

    แยกได้โดยสังเขปว่า

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
    ๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร

    วิปัสสนาญาณ1-7 ฝึกปัญญาให้รู้ถึงสภาพธรรมชาติแห่งสังขาระขันธ์

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
    เป็นวิปัสสนาญาณ ฝึกปัญญาขั้นสูงขึ้นให้เห็นว่า สังขาระขันธ์ ต้องวางเฉย ไม่ยึดติดถือมั่นในสังขาระขันธ์

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
    เป็นวิปัสสนาที่อยู่ส่วนยอดของการวิปัสสนาทั้งหมด กล่าวคือ การพิจารณาเห็นแจ้งแล้วในสังขาระขันธ์ เมื่อเป็นของที่ต้องวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ที่สุดของปัญญาคือ การปล่อยวางอย่างแท้จริง หลุดพ้นจากสังขาระขันธ์ นั่นเองครับ สาธุ
     
  18. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    อย่างนี้ต้องขยาย

    ;aa18 โมทนาสาธุในธรรมทาน ด้วยค่ะ ...

    วันนี้วันดี วันพระ...จิตบุญ๑๔๒ ท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนบ้านหลังนี้มีอีกครา ...ทราบว่าภารกิจทางโลกของท่านก็รัดตัวไปเสียหมด แต่นั้นก็แค่ กายหยาบเท่านั้น ที่มันทำหน้าที่ของมันไป ...ส่วนจิตท่านนี้ นั้นไม่ต้องห่วงแล้ว
    เดินหน้าพัฒนาจิตสูงขึ้นๆ ประตูทางออกของท่านเปิดแล้ว ขอโมทนาสาธุ...

    พวกเรา รออ่านบทความทางธรรม ออกจากจิตของท่าน มาให้พี่น้องชาวจิตเกาะพระ
    และเพื่อนๆที่เกาะขอบกระทู้ อ่านเป็นธรรมทาน บ้างนะคะ ดร.อ้อ ...
    ขอให้ท่านเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ...:cool:


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2014
  19. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    กราบขอบพระคุณครูแนท ครู tjsค่ะ
    วันนี้อ้อเจอวิปัสนาญาณ9ในเวป และบางเวปเป็น ญาณ16 ไม่ทันได้อ่านญาณ 16 ละเอียดเพราะเริ่มประชุมก่อน อ้อsave ไว้ในคอมห้องประชุมแต่ลืมsaveใส่thumb drive ตัวเองค่ะ เข้าใจวิปัสนาญาณ 9 แต่ยังไม่ได้ดูญาน 16 ค่ะ
    ด้วยความเคารพ
     
  20. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937
    [​IMG]


    "เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเห็น"

    มีสติรู้กาย (ว่าทำอะไรอยู่)
    มีสติรู้จิตว่ารู้จิต (ว่ามีอารมณ์อะไรอยู่)
    ให้มีสติ "รู้กาย-รู้จิต" แบบนี้
    จะเริ่มเห็นไตรลักษณ์ได้
    ถ้าไม่มีสติ ก็เห็นไตรลักษณ์ไม่ได้
    แต่การจะมีสติได้ก็ต้องมีจิตที่นิ่งนะ


    ทุกวันนี้จิตเราวิ่งตามกระแสโลก
    เปรียบเสมือนเราเป็นเด็กน้อยคนหนึ่งที่คลานไปมา
    คลานไปแบบไร้ทิศทาง
    กระแสลม (กระแสโลก) พัดพาไปทางไหน
    เราก็เป็นไปตามนั้น



    แต่ตอนนี้เรามาฝึกจิตเกาะพระ
    เปรียบเสมือนเด็กน้อยถูกล่ามโซตรึงไว้ที่เสาตรงกลางวง
    เด็กน้อยก็คือ "จิต" ที่วิ่งไปมา
    โซ่นั้นเปรียบเสมือน "สติ"
    ส่วนเสากลางวงนั้นคือ "พระ"


    การที่เด็ก (จิต) จะหยุดวิ่งได้ ให้นิ่งได้
    ต้องมีเครื่องยึดเหนี่ยว นั่นคือเสา (พระ)
    โดยมีโซ่ (สติ) เป็นตัวเชื่อมระหว่าง
    เด็ก (จิต) กับ เสา (พระ)



    ถ้ามีแต่เด็ก กับเสา ไม่มีโซ่ เด็กก็นิ่งไม่ได้
    มันก็เหมือนโลกใบนี้ทั้งใบนี่ล่ะ
    มีวัดมากมาย มีพระพุทธรูปหลายองค์
    มีกรรมฐานหลายกอง
    มีครูบาอาจารย์หลายสาย
    เรามีทรัพยากรในการเรียนรู้และฝึกจิตอยู่มากมาย
    แต่เราไม่สามารถสำเร็จได้สักกรรมฐาน?
    ไม่สามารถนำจิตให้พ้นทุกข์ได้
    นี่เพราะเรา "ไม่มีสติ" เลย
    กรรมฐานทุกกองจำเป็นต้องใช้สติ


    ถ้าไม่มีสติ จะทำให้หลง
    ถ้าไม่มีสติ จิตจะไม่นิ่ง
    ถ้าไม่มีสติ เราก็ไม่รู้สภาวะปัจจุบันของเรา
    เราปฏิบัติมาเพื่อเรียนรู้โลก เรียนรู้ทุกข์
    รู้เท่าทันทุกข์ ออกจากทุกข์ ใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างปกติสุข
    และที่จะนำจิตให้เข้ากระแสพระนิพพานได้นั้น
    ก็ต้องใช้ "สติ" เป็นตัวเริ่มต้นในการทำให้จิตนิ่ง
    จิตมีสมาธิ จิตรู้และเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นมากยิ่งขึ้น
    ถ้าไม่มีโซ่ หรือสติ เราก็ทำให้จิตนิ่งไม่ได้ดอกหนา...


    ::คัดมาจากที่สอนการบ้านลูกศิษย์ค่ะ::​
     

แชร์หน้านี้

Loading...