ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    บทโศลกของหลวงปู่พุทธอิสระ


    [​IMG]


    ลูกรัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "พระอรหันต์ไม่ใช่หัวตอ"

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    บางตอนจากเทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

    "พระอรหันต์ไม่ใช่หัวตอ"
    ........(โยมกราบเรียนว่า เมื่อ ๙ ปีก่อนเขาเข้าใจว่าพระอรหันต์ไม่ฉันหมาก แต่หลวงตาฉันหมาก เลยมากราบขอขมา) พระอรหันต์ไม่ใช่หัวตอรู้ไหม ร่างกายเป็นสภาพเหมือนโลกทั่วๆ ไป ใช้เหมือนโลกทั่วๆ ไปที่เคยใช้ยังไงๆ เข้าใจไหมล่ะ ธาตุขันธ์เป็นสมมุติ ใจเป็นวิมุตติ ใจไม่เอาอะไร ใจของพระอรหันต์ทุกองค์บริสุทธิ์สุดส่วนไม่เอาอะไรเลย ส่วนธาตุขันธ์เป็นเหมือนโลกทั่วๆ ไป เขากินอะไรกินกับเขา ถ้าเขาพากินช้างก็จะฟาดช้างเลย เข้าใจหรือยัง มีช้างกี่ตัวเอามาจะฟาดหมด อะไรกันเห็นพระอรหันต์เป็นหัวตอไปหมดกระดุกกระดิกไม่ได้ พระอรหันต์เป็นนักโทษใหญ่คืออรหันต์ พวกส้วมพวกถานนั่นละมันมาตำหนิพระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นอย่างนั้น พระอรหันต์เป็นอย่างนี้ ตัวมันเป็นอะไรไม่ดู แล้วว่าอะไร มาขอขมา (ครับ) เราให้เขามาตลอด โลกสงสารเราไม่เอาอะไร

    อ้าว จริงๆ เราไม่มีอะไรกับใคร ใครจะมาฆ่ามาแกงมาฟันมาอะไร ตายด้วยหลวงตาบัวเต็มตัว ไม่มีอะไรกับใคร เขาจะมาฆ่า ยกแผ่นดินมาฆ่าเราตายทิ้งเปล่าๆ แหละเรา เราไม่เคยไปเกาะเกี่ยวกับใคร เอากรรมเอาเวรกับใครไม่มี หมดตลอดๆ ทั่วโลกนี้เราหมดตลอด เข้าใจเหรอ ให้อภัยหมดเลย เราไม่เอาอะไร ให้พากันเข้าใจเสีย เรียกว่าไม่มีอะไรกับโลก พูดง่ายๆ ใครจะมาตำหนิติเตียนชมอะไรๆ ก็ตามเถอะ ไม่มีอะไรเหนือธรรม ธรรมเลิศเลอกว่านั้น ปัดออกหมดไม่ว่าคำสรรเสริญ นินทา ออกเองๆ สรรเสริญแค่ไหนไม่สู้ธรรมอันเลิศได้ เข้าใจไหมล่ะ สรรเสริญแค่ไหนก็ตามสู้ธรรมอันเลิศของท่านไม่ได้ ท่านผู้สิ้นแล้วเป็นอย่างนั้น ไม่เอา ไม่เอาอะไรทั้งนั้น แต่ให้ระวังนะ มาไม่เข้าท่าหลงทิศไปนะ มันต้องเหน็บไว้ด้วย

    ช่วยโลกเราช่วยอย่างนั้นละ พี่น้องทั้งหลายดูเอา เราขนสมบัติทองคำเข้าคลังหลวงเท่าไร ตั้ง ๑๑,๕๔๙ กิเลส สำหรับดอลลาร์เข้า ๑๐ ล้านกว่า นอกนั้นเงินไทยกับดอลลาร์ตามกันไปทั่วประเทศไทย ช่วยอย่างว่านี่ ส่วนทองคำเข้าร้อยทั้งร้อยไม่ให้ไปไหนเลย ทองคำเข้าหมด เราเป็นคนสั่งการเองเคลื่อนไม่ได้ลงได้สั่งอะไรแล้ว เคลื่อนไม่ได้เลย ถ้าเด็ดเด็ดจริงๆ หลวงตาองค์นี้ไม่เหมือนใคร ขาดสะบั้นไปเลย ถ้าได้สั่งอะไรแล้วเคลื่อนไม่ได้ ยังตามมาถามอีกนะ สั่งเรียบร้อยแล้ว เข้าใจแล้วเหรอ เข้าใจแล้ว เป็นอันว่าจับกันแล้วนั่น เข้าใจแล้ว ต่อมาจะย้อนมาถามอีกนะ ถามคราวหลังนี้แหลกเลย ถ้าลงไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ เป็นอย่างนั้นหลวงตา

    เรามีแต่ช่วยโลกทั้งนั้น มีเท่าไรออกหมดๆ ไม่ใช่เงินเรามีนะ หากค่อยมาๆ ไหลออกๆ มาเท่าไรออกหมด เงินสำหรับวัดป่าบ้านตาดไม่เก็บ เราบอกจริงๆ ไม่เก็บ เงินวัดป่าบ้านตาดไม่มี ออกหมดเลยออกทั่วโลก เราช่วยโลกเราแบมือเราไม่กำ แบตลอด ช่วยโลกจริงๆ วิ่งเต้นตลอดเวลาทุกวันนี้วิ่งเพื่อโลก เราไม่ได้วิ่งเพื่อเรา เราพอทุกอย่างแล้ว เรียกว่าช่วยโลกล้วนๆ อย่างนี้



    รับชมและรับฟังพระธรรมเทศนาของหลวงตา ได้ที่

    www.luangta.com หรือ www.luangta.or.th

    และสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz และเครือข่ายทั่วประเทศ



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "สติปัฏฐาน" ในนัย"ดังตฤณ"

    ปกติคนเราถูกทำให้มองออกข้างนอก ลองดูลูกนัยน์ตา จะเห็นว่าเล็งออกนอกตัวแท้ๆ ไม่มีอวัยวะใดเลยที่ส่งเข้ามาให้เห็นภายใน ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของโลก

    ด้วยตาเนื้อธรรมดา คนเราสามารถเห็นทุกสิ่ง ยกเว้นตนเอง

    ความกำหนดหมายและความปรุงแต่งเกี่ยวกับโลกและตนเอง ล้วนสร้างขึ้นจากการรับรู้ภายใน ใครได้รับผลกระทบอย่างไร ศึกษามาแบบไหน โตขึ้นในสภาพแวดล้อมดีเลวเพียงใด ก็หล่อหลอมลงเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับอัตตาภายใน มีโลกภายนอก บุคคลภายนอกเป็นเครื่องตกแต่ง เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เช่นอย่างนี้ของฉัน อย่างโน้นของเขา

    ด้วยความปรุงแต่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติทั้งหลาย ทำให้เกิดสัญญาวิปลาสขึ้นมากมาย เช่นทั้งรู้ทั้งเห็นว่าร่างกายทุกคนรวมทั้งเราเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ก็ยังยึดด้วยความรู้สึกเป็นจริงเป็นจังในปัจจุบันว่าร่างนี้ของเรา และทั้งรู้ว่าความรู้สึกนึกคิดแปรปรวนไปทันทีที่เกิดขึ้น ก็ยึดด้วยความรู้สึกมั่นหมายว่ามีตัวเราเป็นผู้รู้สึก เป็นผู้นึกคิด

    สติปัฏฐานสี่เป็นการกลับความกำหนดหมายเสียใหม่ ทำให้สัญญาวิปลาสหายไป เหลือไว้แต่ความเห็นตามจริง นับแต่สิ่งที่แปรปรวนง่ายที่สุดเช่นความรู้สึกนึกคิด ไปจนกระทั่งสภาพความเป็นกายที่แท้

    ขันธ์ 5 เป็น "ส่วนหนึ่ง" ของสติปัฏฐานสี่ เพราะฉะนั้นก่อนจะกล่าวถึงขันธ์ 5 ก็ต้องจาระไนอย่างละเอียดว่าจะไปให้ถึงการเห็นขันธ์ 5 ละขันธ์ 5 นั้น ต้องผ่านบันไดเป็นขั้นเป็นตอนมาอย่างไร

    โดยปกติคนเราจะเหม่อลอย ปล่อยให้เกิดความคิดนึกไปเรื่อยเปื่อย บุคคลทั่วไปจึงปราศจากฐานของสติ คือมีอะไรเข้ามากระทบ ก็ปล่อยเลยตามเลย จะรู้สึกนึกคิดอย่างไรก็ไม่ต้องรู้เรื่อง ชอบก็เอาและอยากได้เพิ่ม เกลียดก็ทิ้งและไม่อยากพบเจออีก

    หากเป็นคนมีการศึกษา ทำงานทำการเป็นเรื่องเป็นราว อย่างมากที่สุดฐานของสติก็ได้แก่การงานที่ตนถนัด ซึ่งฐานสติชนิดนั้นนำมาซึ่งความอยากประการต่างๆละเอียดซับซ้อน เช่นตำแหน่งหน้าที่ รายได้ ชื่อเสียงเกียรติยศ

    พอศึกษาพุทธศาสนา *** เห็นชอบเป็นเบื้องต้นแล้วว่าทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นสมบัติของความว่าง เนื่องจากอะไรปรากฏเท่าไหร่ก็เสื่อมสลายไปเท่านั้น *** จึงมองเห็นว่าที่มีที่เป็นอยู่นี้ หากเวียนวนซ้ำซากเป็นวัฏจักรอย่างที่เรียกเกิดตายในสังสารวัฏ ก็เท่ากับเกิดเปล่าตายเปล่าอย่างไร้สาระแก่นสาร สร้างทำอะไรเหนื่อยยากไว้แค่ไหน ก็ต้องทิ้งไปเรื่อย สร้างใหม่ไปเรื่อย พลาดเมื่อไหร่ก็ลงนรก เคราะห์ดีนานครั้งถึงได้เป็นมนุษย์หรือเทวดา

    แต่แม้รู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร หนทางที่จะดับทุกข์ ดับกิเลสให้สนิท เพื่อตัดห่วงโซ่ของการสืบเนื่องเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่ปรากฏเป็นของง่าย เพราะธรรมชาติความไม่รู้ทาง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่ต้องรอผู้สั่งสมบารมีเพื่อความรู้ทางโดยเฉพาะมาเปิดเผย

    พระพุทธองค์พบว่าการใช้ชีวิตตามสบาย ปล่อยให้ความสุขความทุกข์มารุมเร้า เพลิดเพลินและหลงเหยื่อไปเรื่อย จะไม่ทำให้เกิดธรรมชาติแน่วนิ่งรู้ธรรม เห็นธรรมอย่างเป็นกลาง และวางธรรมอย่างปราศจากความอาลัยไยดี จึงต้องเดินสายกลาง ไม่ปล่อยให้ผัสสะบวกเกินไปหรือลบเกินไปมากระทบ

    เมื่อเห็นชอบแล้ว กระทำชีวิตให้เกื้อกูลต่อจิตที่พร้อมรู้ พร้อมเห็นโลกภายนอกและโลกภายในอย่างเป็นกลางแล้ว จึงบำเพ็ญภาวนา ไต่ระดับขึ้นมาจากการทำจิตให้อุดมด้วยความชุ่มชื่น คือทำทานไม่มีประมาณ รักษาศีลด้วยจิตใจแน่วแน่มั่นคง

    ฐานความเปิดกว้างของใจ และความชุ่มชื่นของจิต จะเกื้อหนุนให้ทำจิตเป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อจิตตั้งเป็นสมาธิ เป็นกลาง ไม่เอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่คว่ำไปข้างหน้า ไม่หงายไปข้างหลัง สะท้อนออกทางกายที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งในดุลยภาพอย่างเป็นธรรมชาติในทุกอิริยาบถ จึงเรียกว่าเริ่มพร้อมล้างสัญญาวิปลาสออก

    แทนการไร้ฐานตั้งสติแบบเดิมๆของสามัญมนุษย์ พระพุทธเจ้าให้เริ่มจับเอากาย ได้แก่ส่วนทั้งหลายนับแต่ส่วนหัวไปจรดปลายเท้า ทั่วรอบขอบเนื้อหุ้มกระดูกนี้ ใช้เป็นฐานสติแทน นิ่งก็รู้ว่านิ่ง เคลื่อนไหวก็รู้ว่าเคลื่อนไหว ประชุมลงที่อาการยืน เดิน นั่ง นอนนั่นเอง

    เมื่อรู้อาการโดยรวม เห็นความเป็นกายในอาการหลักๆชัดแล้ว ก็แจกสติซอยย่อยเข้าไปในอาการไหวตัวน้อยใหญ่ทั้งหลาย เช่นเหยียดแขน คู้แขน หมุนคอ เอี้ยวตัว เรียกว่าปิดกั้นไม่ให้สัญญาวิปลาสเกิดขึ้นได้แม้สักขณะจิตเดียว ทุกอย่างปรากฏตามจริงไปหมดว่ากายนี้เป็นอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร ไม่มีมโนภาพตัวตน หล่อสวย ขี้ริ้วขี้เหร่ หรือว่าชื่อนายนั่นนางนี่เข้าแทรกแซงได้

    เมื่อสะเด็ดสัญญาวิปลาสออกจากกายได้สิ้น จะรู้สึกถึงความเป็นตัวเป็นตนภายใน เป็นนามธรรม เป็นความเห็นว่าความรู้สึกนึกคิดภายในยังเป็นตัวเป็นตนอยู่

    อันนั้นจึงต้องต่อยอดด้วยการพิจารณาลึกลงไปตามลำดับ โดยไล่จากเวทนา คือความรู้สึกพอใจ ไม่ชอบใจ หรือเป็นกลาง ที่เกิดผุดขึ้นตลอดเวลา เนื่องด้วยกายบ้าง เนื่องด้วยความคิดปรุงแต่งภายในบ้าง แต่เวทนาทั้งหลายจะขึ้นตรงกับอาการทางกาย จึงสามารถจับผ่านกายได้ว่ากำลังอยู่ในภาวะใด เช่นกล้ามเนื้อเครียดเกร็งที่จุดใดจุดหนึ่งจะบอกถึงความทุกข์ ถ้าผ่อนกายสบายตลอดเนื้อตัวก็บอกถึงความสุข

    เมื่อลบสัญญาวิปลาสจากเวทนาได้ เห็นเวทนาเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปด้วยเหตุปัจจัยปรุงแต่งกระทบกายใจ ปล่อยวางจากอุปาทานในเวทนาเสียได้ จึงเข้าลึกไปจับเอาภาวะจิตเป็นฐานสติในลำดับต่อไป

    จิตเป็นสภาวะกุศล อกุศล และเป็นกลาง เพื่อมองให้เห็น ต้องกำหนดให้เห็นว่าแยกชั้นไปจากกายและเวทนา พูดง่ายๆคือมองเลยกายและเวทนา เข้ามาให้เห็นใจกลางตัวรู้ของตัวเอง ว่ากำลังมีภาวะขุ่นมัว ผ่องใส มีราคะ โทสะ โมหะ หรือปลอดวางว่างสบาย หากกำหนดจิตเป็น จะเห็นว่าถ้าโฟกัสเข้ามาที่กลางอกแบบสบายๆ ไม่เพ่งให้เกิดอาการร้อยรัดจับยึดจนเกินไป ไม่ปล่อยจนเกิดอาการเพิกเฉยเหม่อลอยตามธรรมดา จะสามารถเห็นสภาพจิตอันเกิดดับสืบเนื่อง คลี่คลายจากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่งได้ง่ายที่สุด

    พอคุ้นกับฐานสติใหม่ คือกาย เวทนา และจิตแล้ว โลกทัศน์จากภายในจะเปลี่ยนไป แต่ไม่ถึงกับปล่อยวางเสียทีเดียว เพราะความสงสัยในธรรมชาติสืบเนื่อง ผูกเป็นความรู้สึกในตัวในตนนั้น ยังดองอยู่ในขันธสันดาน นี่เองจึงเป็นที่มาของฐานสติสุดท้าย คือธรรม

    ธรรมนี้กระจายเป็นหัวข้อต่างๆได้หลายหลาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกมองมุมไหน พระพุทธเจ้าแจกแจงไว้มากมาย เป็นที่มาของคำว่า ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ปฏิจจสมุปบาท 12 อริยสัจจ์ 4 ฯลฯ

    ในส่วนของขันธ์ 5 เป็นหมวดธรรมที่ถูกกล่าวถึงกันมากที่สุด เพราะพิจารณาได้ง่าย เนื่องจากเป็นองค์ประกอบห้าอย่างของมนุษย์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เพียงจับส่วนข้อธรรมขันธ์ 5 ให้เข้าใจ ก็อาจบรรลุประโยชน์สูงสุด คือมรรคผลนิพพานกันได้ อย่างเร็วเจ็ดวัน อย่างช้าเจ็ดปี สำหรับผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ

    ในส่วนของรูป เวทนาและวิญญาณนั้น เคยชินดีแล้วจากฐานสติซึ่งเป็นสามด่านแรก เมื่อมาพิจารณาธรรม เห็นกายใจเป็นองค์ประกอบห้าส่วน ก็มีของใหม่ที่ยังไม่ใช้เป็นฐานสติ ได้แก่ความคิด

    ความคิดนั้นประกอบด้วยสัญญาและสังขาร

    สัญญาคือการกำหนดหมาย หมายรู้ มีอาการเข้ากระทบจิตแล้วเกิดเป็นการไหวรับรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เช่นถ้าทรงจิตนิ่งในดุลดี มีกายเป็นฐานสติพร้อม เมื่อได้ยินเสียงมาจากฟ้าไกลเบื้องบน ก็สามารถจำแนก "รู้" ทันทีว่าเป็นเสียงเครื่องบิน เสียงเฮลิคอปเตอร์ เสียงนกกา

    รู้ว่าได้ยินอะไรก็สักแต่ว่ารู้ เห็นเป็นสัญญาซึ่งเกิดขึ้นพร้อมผัสสะกระทบจิตที่ตั้งมั่น ทรงนิ่งในดุลสว่างอยู่

    เมื่อได้ยินเสียงใดเสียหนึ่ง ต้องมีการปรุงแต่งขึ้นเสมอ เช่นเสียงนกร้องเมื่อคิดว่าเพราะ ก็ "ตั้งใจ" ฟังต่อ ตัวความตั้งใจนั้นเองเป็นสังขาร เป็นสิ่งปรุงแต่งให้ใจโน้มเอียงไปทางกุศล อกุศล หรือเป็นกลาง

    หากเข้าใจสายสัมพันธ์เช่นนี้แล้ว แม้จิต หรืออีกนัยหนึ่งคือวิญญาณขันธ์ จะเกิดภาวะกุศลหรืออกุศล ก็จะเห็นสักแต่เป็นฟองอากาศที่ผุดขึ้นแล้วแตกไป สลายเป็นอื่น

    ไม่เหลือความยึดอะไรไว้เลย

    ความเห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นการค่อยๆเปิดทางให้ธรรมชาติรู้เบ่งบานขึ้นถึงขีดพังทำนบกิเลสที่ครอบงำจิตใจ เปิดขึ้นพบธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งซึ่งพ้นไปจากขันธ์ 5

    นี่เองครับ สติปัฏฐาน 4 เป็นการสะพานให้เข้าจับขันธ์ 5 ความเห็นอย่างเป็นกลาง เห็นด้วยสติปัญญารู้ทันไตรลักษณ์นั้นเองเป็นตัวถอนสัญญาวิปลาส กระทั่งปล่อยอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ในที่สุด



    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ชีวิตสมบูรณ์แล้วทุกประการตามเหตุปัจจัย

    เหตุดี ผลก็ดี เหตุไม่ดี ผลก็ไม่ด
    พิจารณาให้ดีเถิด
    เราอาจจะเกิดมาไม่มีพ่อ หรือไม่มีแม่ หรือไม่มีทั้งพ่อและแม่
    เราอาจจะเกิดมายากจน
    เราอาจจะถูกกลั่นแกล้งอยู่เรื่อย ๆ
    บางวันเราอาจจะเป็นทุกข์และไม่สบายใจ
    แต่วันนี้เราอาจจะเป็นทุกข์และมีความพอใจมากที่สุดในชีวิต
    วันนี้เราอาจจะไม่มีอะไรจะเสียใจแล้ว
    เท่านี้เราก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า
    ทุกอย่างดำเนินไปตามเหตุปัจจัยที่สมบูรณ์ที่สุดเสมอ
    จงก้าวไปสู่อนาคตด้วยความเข้าใจเช่นนี้
    จงมั่นใจในผลกรรมและเชื่อในเหตุปัจจัยอย่างสมบูรณ์เถิด
    จงทำความดี ละความชั่ว มีเมตตาแก่ตนและสรรพสัตว์
    และยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่สงบ



    โลกนี้สมบูรณ์ด้วยกรรม
    เรามีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว
    วันนี้เราอาจทุกข์ แต่พรุ่งนี้เราก็อาจจะเป็นสุข
    ทุกอย่างไม่แน่นอน
    ให้อยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา และทำใจให้เป็นสุข
    และอย่าลืมทำเหตุให้ดีตั้งแต่วันนี้ เพื่อผลที่ดีในวันนี้และวันข้างหน้า
    เรามีหน้าที่รักษาข้อวัตร และทำให้ดีที่สุดเสมอ ... เท่านั้น
    นอกจากนั้น เขาจะเป็น "เป็นไปเอง" ตามเหตุปัจจัยของเขา

     
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ต้องรู้อยู่ตลอด

    โ ด ย : พระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
    จ อุบลราชธานี

    ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาทีถ้าไม่มีสติครึ่งวัน เราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งว้น เป็นอย่างนี้ สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไร ต้องรู้ตัวเราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้คล้ายๆกับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่คนจะเข้ามาซื้อของ หรือขโมยของของเรา ถ้าเรา สะกดรอยมันอยู่เสมอเราก็รู้เรื่องว่าคนๆนี้ มันมาทำไม เราจับอาวุธ ของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็นพอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้ อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้อารมณ์มันจะทำให้เรา ดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไป ยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก... ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม
     
  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    มิลินทปัญหา
    ปัญหาที่ 9
    ถามลักษณะศีล
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _____10.jpg
      _____10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.8 KB
      เปิดดู:
      364
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ธรรมะ
    พุทธศาสนสุภาษิต
    อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

    <TABLE width="88%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย </TD><TD></TD><TD>อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
    ขุ.ธ. ๒๕/๑๘


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD vAlign=top width="53%">ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้
    เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
    </TD><TD width="2%"></TD><TD width="45%">อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
    ขุ.ธ. ๒๕/๑๘


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย </TD><TD></TD><TD>อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
    ขุ.ธ. ๒๕/๑๘


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ </TD><TD></TD><TD>อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
    ขุ.ธ. ๒๕/๑๘


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3>

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
    ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน.

    </TD><TD></TD><TD>อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
    สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
    ที. มหา. ๑๐/๑๔๒.


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น

    </TD><TD></TD><TD>อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
    ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
    ขุ. ธ. ๒๕/๓๓/๕๘


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
    ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น
    </TD><TD></TD><TD>อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
    สญฺโญชนํ อณุ ํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
    ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
    เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
    </TD><TD></TD><TD>อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
    อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
    ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
    ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้
    พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.
    </TD><TD></TD><TD>เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต
    ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
    ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ
    อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.
    ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๕. ขุ. จู. ๓๐/๙๒.


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ผู้มีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความข่มใจ

    </TD><TD></TD><TD>อุฏฺ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _____12.jpg
      _____12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.9 KB
      เปิดดู:
      369
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    บทโศลกของหลวงปู่พุทธอิสระ 2



    [​IMG]

    ลูกรัก
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    [​IMG]



    สันติวรบท

    โอวาท ของ<O:p</O:p

    ท่านเจ้าพระคุณธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ<O:p</O:p






    ๒. เมตตา
    อย่ากลัวจงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ไม่มีอะไรทำอันตรายได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้นแล้วก็จะได้รับความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฎของจิตตานุภาพ แล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแก่ตน สมประสงค์ทุกประการ เป็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย<O:p></O:p>



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    มิลินทปัญหา
    ปัญหาที่ 10
    ถามลักษณะศรัทธา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _____11.jpg
      _____11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.5 KB
      เปิดดู:
      309
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "ไม่ประมาท"ในธรรมสมาธิ มีอะไรบ้าง

    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอด 45 พรรษาแล้วทรงเปล่งปัจฉิมวาจาก่อนดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
    (มหาปรินิพพานสูตร ฑี.ม. 10/143/180)
    ความหมาย "
    ความไม่ประมาท"คือการที่สติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ จะไม่ยอมถลำ สู่ทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการสร้างความดี.
    ซึ่ง "ความประมาท"ในธรรมปฏิบัตินั้น แท้จริงแล้ว อาจจำแนกได้ถึง 11 ประการคือ
    1. ไม่ทำกิจโดยเคารพ คือนั่งสมาธิไปอย่างนั้นๆ ไม่ศึกษาว่าทำถูกต้อง ถูกวิธีหรือไม่ ทำผิดก็คิดว่าทำถูก ทำน้อยก็คิดว่าทำมาก จึงได้รับผลไม่เต็มที

    2. ไม่ทำติดต่อกัน คือนั่งสมาธิแบบเดี๋ยวจริงเดี๋ยวหย่อน เหมือนธารน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกัน ก็กลายเป็นร่องน้ำเป็นหย่อมๆ ไป

    3. ทำๆ หยุดๆ คือนั่งสมาธิไปช่วง เลิกนั่งไปอีกช่วงเหมือนกระแตที่วิ่งๆ หยุดๆ แม้ช่วงที่ได้นั่งสมาธิจะได้ผลอย่างดี แต่หากทำๆ หยุดๆ แล้วก็ ยากที่จะเอาดีได้ เหมือนนักกีฬาที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หากซ้อมบ้างไม่ซ้อมบ้าง ก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศได้

    4. ทำอย่างท้อถอย คือนั่งสมาธิเหมือนคนซังกะตายเหมือนลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มแรง

    5. ทอดฉันทะ คือทำแบบเลื่อนลอย ทำแบบหมดรัก"ความรัก" จะก่อให้เกิดพลังอย่างน่าอัศจรรย์

    6. ทอดธุระ อาการหนักกว่า ทอดฉันทะอีก คือไม่สนใจทำแล้ว

    7. ไม่ติด คือทอดธุระแล้วก็ชะล่าใจ ชักนั่งสมาธิไม่ติดแล้ว ผุดลุกผุดนั่ง

    8. ไม่คุ้น คือพอทิ้งไปมากเข้าบ่อยเข้า ครั้นมานั่งสมาธิอีก ก็เหมือนมาเริ่มต้นใหม่ เหมือนไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน รู้สึกอึดอัดขัดข้องไปหมดก็ต้อง อดทน...อดทน...แล้วก็ อดทน ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เอง ไม่ควรท้อถอย หรือหมดกำลังใจ

    9. ไม่ทำจริงๆ จังๆ คือทำแบบเช้าชาม เย็นชาม ทำพอได้ชื่อว่าทำ

    10. ไม่ตั้งใจทำ คือทำแบบถูกบังคับให้นั่ง ทำแบบให้คิดจะเอาดี อันที่จริงจะตั้งใจนั่งสมาธิกับไม่ตั้งใจช่วงเวลานั้นก็ใช้เวลาเท่ากัน ไหนๆ จะต้องเสียเวลาแล้วก็น่าจะทำให้ดีที่สุด

    11. ไม่หมั่นประกอบ คือนานๆ ทำที ทำที่ก็ทำแต่น้อย เช่นนั่งสมาธิปีละ3 ครั้งครั้งละ 10 นาทีเป็นต้น พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้เราสันโดษในปัจจัย 4แต่ไม่ใช่สันโดษในการสร้างความดี ความดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ บัณฑิตไม่อิ่มด้วยความดี โดยเฉพาะความดีที่เกิดจากการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า"แก้กรรม"

    (คัดจากเทศน์บางตอนของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานีครับ)
    ..........ที่ปรากฏก็มีผู้ปรากฏชื่อลือนาม เช่นอย่างพระอานนท์ พระกัสสปะในตำรายังบอกไว้ว่ายังไม่ได้เผา ศพพระกัสสปะนี่ ท่านมีกรรมอะไรๆ เกี่ยวโยงกับพระอริยเมตไตรย ดูว่าพระอริยเมตไตรยจะเอาอัฐิของพระกัสสปะมาเผาที่ฝ่าพระหัตถ์เลยว่างั้นใช่ไหม ในปฐมสมโพธิ เราอ่านนานแล้วมันลืม เหล่านี้ผ่านมาหมดแล้วแต่มันลืม ท่านมีกรรมเกี่ยวโยงกัน พระกัสสปะเป็นช้างบอกนอนสอนง่ายทุกอย่างๆ ท่านก็อยากชมเชยช้างตัวเองว่างั้นใช่ไหม แล้วได้ยินไปถึงหูพระราชา พระราชาก็พระราชาเทวทัต เรียกเข้ามาเฝ้า ช้างเธอนั้นบอกนอนสอนง่ายทุกอย่างได้หมดใช่ไหม ใช่ บอกเลย ถ้างั้นบอกให้จับเหล็กแดงได้ไหม ได้ สั่งทำอะไรได้อย่างนั้นๆ พระราชาก็เลยสั่งเผาเหล็กแดงให้ช้างจับ ดูซิน่ะ

    เจ้าของช้างก็เลยน้ำตาร่วง มาพูดให้ช้างฟังให้ช้างตัดสินใจเอง เพราะความรักช้าง บอกอะไรได้อย่างนั้น เลยมาเล่าให้ช้างฟัง เอ๊อ เราได้ผิดพลาดไปแล้ว ไปหาพระราชาก็เพราะความดีของเธอนั่นแหละ ว่าอะไรๆ ไม่เคยขัดเคยแย้ง ทำตามหมดทุกอย่าง พระราชาก็มารับสั่งถามเราว่าให้จับเหล็กแดงได้ไหม ก็บอกว่าได้ ให้ฝืนนี้ไม่ฝืน มาเล่าให้ช้างฟัง ถ้าหากว่าเธอไม่จับเราก็คอขาด ถ้าจับเธอก็ตายเราก็ยังอยู่ ให้เธอเลือกเอา บอกให้ช้างเลือก ช้างเลือกทางจับ นั่นเห็นไหม เพราะรักนายเข้าใจเหรอ จับเหล็กแดงก็เลยตาย เรื่องราวเป็นอย่างนั้น

    ดูว่าพระกัสสปะนี้ยังไม่ได้เผาศพนะ อยู่ในเขาสามลูก วิสัยของธรรมใครจะไปคาดไม่ได้นะ พระพุทธเจ้ารื้อฟื้นขึ้นมาจากความจริงทั้งนั้น เป็นวิสัยของธรรม เราจะไปคาดด้นเดาด้วยอำนาจของคลังกิเลสนี้ไม่ได้ พระกัสสปะเวลานี้ก็ยังไม่ได้เผาศพ มันเกี่ยวโยงกันกับพระศรีอาริยเมตไตรยที่ให้ช้างจับเหล็กแดง แล้วพระอริยเมตไตรยจะเอาอัฐิของพระกัสสปะมาเผาที่ฝ่าพระหัตถ์แก้กันที่ให้ช้างจับเหล็กแดง มีอย่างนั้นในหนังสือปฐมสมโพธิ แต่เรามันดูมานานสมัยเรียนหนังสืออยู่นั้นดูจริงๆ เวลาออกปฏิบัติแล้วไม่เอาเลย จนกระทั่งทุกวันนี้ก็จะดูเล่มนั้นเล่มนี้ไปบ้างเล็กๆ น้อยๆ ไม่เป็นจริงเป็นจังเหมือนแต่ก่อน ทุกวันนี้ดูอะไรก็ไม่จริงทั้งนั้นแหละ ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แต่ก่อนดูจริงๆ จำจริงๆ

    นี่พูดถึงเรื่องพระกัสสปะที่ยังไม่ได้เผาศพ พระอริยเมตไตรยมาตรัสรู้จึงจะได้เอาอัฐิของพระกัสสปะมาเผาที่ฝ่าพระหัตถ์แก้กรรมกัน คือพระพุทธเจ้าก่อนที่จะรับสั่งอะไรออกมานี้เล็งญาณดูเรียบร้อยแล้วไม่ผิด คิดดูซิว่า มีรายใดที่ปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านี้ ให้ท่านเล็งญาณดู ถ้าองค์ไหนได้รับลัทธพยากรณ์ว่า เท่านั้นกัปเท่านี้กัลป์จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่าอย่างนั้นๆ สาวกข้างซ้ายข้างขวาชื่อว่าอย่างนั้นๆ แล้วแก้ไม่ตก แก้ยังไงก็ไม่ตก ต้องได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นอย่างที่ว่า นี่เรียกว่าพระญาณหยั่งทราบ หนึ่งไม่มีสอง ท่านเรียกว่า เอกนามกึ คือหนึ่งไม่มีสอง พระญาณหยั่งทราบอะไรแล้วเป็นอย่างนั้นๆ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูทำไมต้องให้หมอรักษาไข้

    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    นานาปัญหา

    <TR><TD align=right>โดย คณะสหายธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    <CENTER>๔๑. พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูทำไมต้องให้หมอรักษาไข้</CENTER>
    ถาม พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู แต่เหตุใดจึงต้องให้หมอชีวกรักษาในเวลาเจ็บไข้ หรือ<WBR>ถูก<WBR>สะเก็ดหินห้อพระโลหิต ทำไมจึงไม่รักษาพระองค์เอง พระองค์เป็นสัพพัญญูย่อมทรงทราบทุกอย่างว่าโรคอะไรใช้ยาอะไรรักษา


    ตอบ พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรอบรู้ทุกอย่าง<WBR>ก็จริง แต่หากว่าพระองค์จะทรงทำหน้าที่ทุก<WBR>อย่าง<WBR>ด้วย<WBR>พระ<WBR>องค์<WBR>เอง<WBR>แล้ว การบำเพ็ญบารมีมาเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกก็<WBR>คง<WBR>ไม่<WBR>เกิด<WBR>ประ<WBR>โยชน์<WBR>อะไร เพราะพระองค์ทรงกระทำทุกสิ่งเสียเองหมด แต่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาเพื่อ<WBR>อนุ<WBR>เคราะห์<WBR>ชาวโลกให้ได้รับความสุข การปฏิบัติพระพุทธองค์เป็นบุญเป็นกุศลให้ผลเป็นความสุข พระพุทธองค์จึงทรงอนุเคราะห์คนเหล่านั้น ตลอดจนหมอชีวกให้ได้บุญและได้ทำหน้าที่ของหมอ หน้าที่ของใครๆ ก็ทำ พระองค์ไม่ทรงก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น นี่เป็นพระพุทธจริยาที่พวกเราควรจะได้เอาอย่าง แม้คุณเองก็อาจทำอะไรเป็นตั้งหลายอย่าง แต่คุณก็ไม่ทำทุกอย่าง เพราะถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของคุณก็มีมิใช่หรือ <CENTER>________________________________________</B></CENTER>
    ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คำว่า ทศพลญาณhttp://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทศพลญาณ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒
    พระเทวทัตทำโลหิตุปบาทhttp://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=7&A=3616&Z=3696
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    คำว่า ชีวกhttp://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ชีวก_ชื่อหมอ&detail=on
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></P>

    ที่มา http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=41

    **โปรดพิจรณา เป็นการตอบปัญหาของ คณะสหายธรรม **
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  14. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    รบกวนพี่ ๆ ช่วยยกตัวอย่างจาก พาโลวาทชาดก ให้เข้าใจกว่านี้อีกได้ไหมครับ


    ๖. พาโลวาทชาดก
    ว่าด้วยคนมีปัญญาบริโภค
    [๓๔๒] บุคคลผู้ไม่สำรวม ประหารสัตว์ เบียดเบียน และฆ่าสัตว์ ให้ทานแก่ สมณะใด สมณะนั้น บริโภคภัตเช่นนี้ ย่อมเข้าไปติดบาปด้วย.
    [๓๔๓] ถ้าสมณะเป็นผู้มีปัญญา แม้จะบริโภคทานที่บุคคลผู้ไม่สำรวม ฆ่าบุตร และภรรยาถวาย ก็ไม่เข้าไปติดบาปเลย.
    จบ พาโลวาทชาดกที่ ๖.



    อีกนิดครับ
    ขอถามเกี่ยวกับการกินเนื้อสัตว์

    case ที่ 1. การที่เรากินเนื้อสัตว์ที่เราไปซื้อจากตลาดจะได้รับผลกรรมเช่นไร
    case ที่ 2. กับการที่เรากินเนื้อสัตว์ที่เราไปพบที่ในป่าซึ่งโดนยิงตายหรือสิ้นอายุขัย
    เราจะได้รับผลบาปจากการฆ่านั้นด้วยหรือไม่ แล้วเราจะได้รับผล
    กรรมเช่นเดียวกับการที่เราไปซื้อกินหรือไม่












    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    [​IMG]




    สันติวรบท


    โอวาท ของ<O:p</O:p


    ท่านเจ้าพระคุณธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ

    .ความสบายใจ
    คำว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293

    น้องโอ๊ตครับก่อนอื่นคงต้องอ่านบทความนี้เสียก่อนที่จะ
    ตอบปัญหานะครับ

    ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้าเป็นบาปไหม
    ถาม ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้าบาปไหม
    ตอบ ในชีวกสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ข้อ ๕๖ ซึ่งมีข้อความว่า
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ข้าพเจ้าคือท่านพระอานนท์ ท่านได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน คือสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ เขตพระนครราชคฤห์
    ครั้งนั้นหมอชีวกโกมารภัจได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2008
  17. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ขอบพระคุณมากครับพี่ปุ๊

    อ่านแล้วเข้าใจได้ดีเยี่ยมเลยครับ(y)



    **หมายเหตุ ส่วนนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล**

    จาก
    ในเรื่องนี้ที่ตนรังเกียจหรือที่ตนสงสัยนั้น อรรถกถาอธิบายว่า ภิกษุในศาสนานี้ เห็นคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้น กำลังออกจากบ้านหรือกำลังเที่ยวเข้าไปในป่า ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นที่ท่านได้เห็นถือข่ายถือแหเป็นต้นเมื่อวานนี้ นำอาหารที่มีปลาและเนื้อมาถวาย ท่านก็สงสัยว่า ปลาและเนื้อนี้เป็นปลาและเนื้อที่ท่านได้เห็นเขาไปฆ่ามาเมื่อวานนี้ เพื่อถวายภิกษุสงฆ์กระมังหนอ เมื่อท่านสงสัยโดยอาศัยการเห็นเช่นนั้น ท่านก็ไม่ฉันปลาและเนื้อนั้น เพราะไม่แน่ใจว่า เขาทำเพื่อท่านหรือไม่
    ครั้นคนเหล่านั้นถามว่า
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    บทโศลกของหลวงปู่พุทธอิสระ 3




    [​IMG]

    ลูกรัก
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ไหว้ 5 ครั้ง

    [​IMG]



    ไหว้ 5 ครั้ง
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ)
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรห? สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน? พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต? เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 3 ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ พุทฺธ? สรณ? คจฺฉามิ ธมฺม? สรณ? คจฺฉามิ สงฺฆ? สรณ? คจฺฉามิ ฯ ทุติยมฺปิ พุทฺธ? สรณ? คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺม? สรณ? คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ สงฺฆ? สรณ? คจฺฉามิ ฯ ตติยมฺปิ พุทฺธ? สรณ? คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺม? สรณ? คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆ? สรณ? คจฺฉามิ ฯ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ


    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ


    ที่ต้องเอาเรื่องไห้ว 5 ครั้งมาลงก็เพราะได้คุยกับพี่ใหญ่ไว้เมื่อหลายวันมาแล้ว มีอยู่ตอนหนึ่งที่พี่ใหญ่ปรารภอยากให้เอาเรื่อง ไห้ว 5 ครั้ง ของ
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ)
    วัดเทพศิรินทราวาส มาให้ได้อ่านและนำไปปฏิบัติกันให้เป็นนิจ

    อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการสมาทานศีลก่อนนอน
    เป็นเรื่องที่ดีมาก หากตายตอนขณะที่นอนอยู่นั้นก็ไม่ต้องไปอบายภูมิ

    ก็เลยนำเรื่องเหล่านี้มาเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติกันต่อไป สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    เรื่องของ ในหลวง ที่คุณอาจไม่เคยรู้

    เมื่อทรงพระเยาว์

    1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.

    2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์

    3.พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

    4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช

    5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก

    6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol"หมายเลขประจำตัว 449

    7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า "แม่"

    8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง

    9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม

    10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต

    11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า"บ๊อบบี้"

    12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ

    13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว

    14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ

    15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน

    16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"

    17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา

    18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

    พระอัจฉริยภาพ

    19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก "การเล่น" สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง

    20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์

    21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)

    22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้

    23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส

    24.ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง

    25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้"

    26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5

    27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย

    28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ "พระมหาชนก" ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

    29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬาซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510

    30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน

    31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536

    33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

    34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง



    เรื่องส่วนพระองค์

    35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า"น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง

    37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

    37. หลังอภิเษกสมรส ทรง"ฮันนีมูน"ที่หัวหิน

    38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน

    39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

    40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

    41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา

    42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ

    43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม

    44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง


    งานของในหลวง

    45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ

    46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ

    47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน

    48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน

    49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน

    50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห้นกันทุกวันนี้

    51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด

    52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ

    53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

    ของทรงโปรด

    54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา

    55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย

    56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก

    57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง

    58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง

    59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก

    60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง

    61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก

    62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว

    63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ

    64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว

    รู้หรือไม่ ?

    65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "นายหลวง" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง

    66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน

    67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า "ทำราชการ"

    68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี

    69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"

    70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด

    71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี

    72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์

    73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน

    74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน

    75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง

    76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง

    77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด


    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพระพลานมัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ. ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ...

    ที่มา - เวปลานธรรม โดย ฐานิโย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     

แชร์หน้านี้

Loading...