แชร์ผลการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 13 มิถุนายน 2014.

  1. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    โมทนาสาธุครับ ..ถ้ามีเวลาก็มาเขียนเล่าประสบการณ์ธรรม ให้ฟังกันอีกนะครับ น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาก..
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ตรงนี้เป็นการพิจารณาอาการ 32 ซึ่งเห็นได้ว่า การพิจารณาอาการ 32 นั้นเบื้องต้นควรพิจารณาโดยรวมก่อน เมื่อเด่นชัดในส่วนใดก็จับเอาเฉพาะส่วนมาพิจารณา สำหรับท่านนี้ ผมเชื่อว่าท่านได้พิจารณาโดยรวมมาแล้ว และเด่นชัดว่าท่านติดในส่วนผิวหนัง ท่านจึงยกเฉพาะส่วนของผิวหนังมาพิจารณา ผมแนะให้ท่านทำต่อไปอีกอย่าหยุดเพียงเท่านี้ ให้ไปถึงเนื้อถึงกระดูก ถึงอวัยวะต่างๆ สุดท้ายจะวนไปจนครบทั้ง 32 อาการ อนิสงฆ์จะสมบูรณ์ยิ่ง
    ที่ท่านเห็นเรียกว่านิมิตรในระดับฌานที่ 4 ซึ่งต่อไป ท่านสามารถย่อ ขยาย ในสุดท้ายเมื่อจิตปล่อยวางนิมิตร ซึ่งเรียกว่าเพิกนิมิตร ตรงนี้เป็นจุดสมบูรณ์เต็มฌานที่ 4 ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์สภาวะรูปฌาน-ฌานสมาบัติ-ฌานที่๑

    องค์ประกอบของฌานแต่ละฌานไม่ว่าจะปฏิบัติแบบใดก็ตามองค์ประกอบของฌานได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ก็จะเหมือนกันแต่อารมณ์ต่างกัน
    ระดับฌานที่ ๑ ซึ่งมีองค์ประกอบครบนั้น เริ่มสภาพก็คล้ายว่าหัดขับรถ ใหม่ๆก็ยุ่งยากไปหมด สภาพของฌานนี้ประมาณว่าพอขับได้ สภาวะจริงเริ่มเพ่งที่จุดมันก็ไม่อยู่จุดมันไปทั่ว พอเพ่งเข้าก็จะเกิดอาการมึนงง จะมีอาการกลัวๆกล้าๆ สภาวะเต็มฌานอาการกลัวหายไป เพ่งได้ต่อเนื่องเป็นช่วงๆ มีเวทนาที่จุดมโนทวารเป็นช่วงๆ
    ขยายความ
    วิตกคือวิตกกังวลในการเพ่งว่าตรงหรือไม่ตรงจุด
    วิจารคือหาทางหาวิธีที่จะเข้าจุด และเมื่อเข้าได้ก็หาทางให้อยู่ที่จุด
    ปิติคือเมื่อเพ่งเข้าที่จุดได้ก็พอใจ
    สุขคือพอใจที่ทรงได้เป็นระยะ
    เอกัคคตาคือเป็นหนึ่งในอารมณ์ข้างต้นอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ออกไปสู่อามรณ์อื่น
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2014
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์ระดับฌานที่๒-ฌานสมาบัติ

    องค์ประกอบของฌานที่ ๒ จะละ วิตก วิจาร คงมีแต่ ปิติ สุข เอกัคคตา
    ระดับฌานที่ ๒ ซึ่งมีองค์ประกอบเพียงสามตัวนั้น สภาพก็คล้ายว่าขับรถเป็นแล้ว ขึ้นขับก็ขับได้เลย ไม่ต้องวิตก วิจาร อะไรเลย ไปไหนก็ได้ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร ขับสบายมาก
    อารมณ์ของฌานนั้นก็เพ่งง่ายไม่หนีจุด เสมอเรียบง่าย จนว่าแทบจะไม่มีอะไร แต่ก็ไม่เห็นอะไรคล้ายไปในทางมืดหรือเข้าถ้ำมืด ความปิติและสุขเกิดต่อเนื่อง ในฌานนี้ยังรู้สึกลำคาญเสียงรบกวนจากภายนอกอยู่บ้าง เวทนาจุดเพ่งเด่นชัด
    *ปิติคือเมื่อเพ่งเข้าที่จุดได้ก็พอใจ
    *สุขคือพอใจที่ทรงได้เป็นระยะต่อเนื่องตลอดเวลา
    *เอกัคคตาคือเป็นหนึ่งในอารมณ์เพ่งอันประกอบด้วยปิติและสุขสลับไปมา ไม่ออกไปสู่อามรณ์อื่น
    หมายเหตุ..เรื่องนิวรณ์ธรรมในระดับฌานที่๑ จะมีความหงุดหงิดและความฟุ้งซ่านเข้ารบกวนเป็นอุปสรรค ตรงนี้ไม่ต้องแก้ไขอะไรใช้ความเพียรพยายามทำไปเรื่อยๆก็หายไปเอง ส่วนในระดับฌานที่๒ นี้จะมีความง่วงและหลับเข้ารบกวน ตรงนี้แก้ด้วยการเพิ่มแรงเพ่งให้หนักขึ้น
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2014
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์ฌานสมาบัติที่ ๓

    ฌานเมื่อเพิ่มแรงเพ่งจนสามารถข้ามนิวรณ์ความง่วงได้แล้ว ก็เหมือนว่าขับรถด้วยความเร็วสูงขึ้น เก่งขึ้น คล่องขึ้น โดยสภาพคล้ายว่ารถนี้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา พร้อมมาพร้อมไปได้ตลอด จอดอยู่ก็เหมือนติดเครื่องรอ
    อารมณ์เพ่งถี่แรงขึ้นจนเป็นอารมณ์ติดตัวเกือบตลอดเวลาลักษณะทางธรรมเรียกว่า "วสี" จะเพ่งตอนไหน อริยบทใดก็ได้ทั้งนั้น ในฌานนี้มีสองอารมณ์คือสุข กับ เอกัคคตา
    สุขคือเพ่งอารมณ์ได้เสมอต่อเนื่อง
    เอกัคคตาคือนิ่งในอารมณ์สุข
    ช่วงนี้เริ่มมีเวทนามาปรากฏในส่วนอื่นของร่างกายด้วย ไม่ต้องสนใจเพ่งสู้ที่จุดเพียงอย่างเดียว แรงของอารมณ์เพ่งจะส่งให้ร่างกายยืดตรง และมีแรงผลักร่างกายไปด้านหลังจนติดกับพนักพิง มือที่จับเข่าทั้งสองข้างต้องเพิ่มแรงจับหัวเข่ามากขึ้น ให้สังเกตุที่ฟันต้องให้ขบกันไว้ตลอดเวลา ขณะเพ่งจะไม่เห็นอะไรคล้ายว่าหนทางยิ่งมืดดำล้ำลึกสุดคณา
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2014
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เสียงไม่เป็นอุปสรรคต่อฌานที่1แล้วครับ
     
  7. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สภาวะนี้ผมถอดจากสภาวะของผมเองครับ ต้องเข้าใจในส่วนลำดับแต่ละฌานด้วยว่า แต่ละฌานนั้นก็จะมีลำดับภายในของแต่ละฌานอีก เบื้องต้นการปฏิบัติก็เริ่มที่ฌาน๑ ทันทีแต่ยังไม่เต็มฌาน จะสมบูรณ์เต็มฌานนั้นก็เป็นอีกระดับ ในฌานนี้เมื่อเต็มฌานยังมีวิตก วิจารณ์ เมื่อเสียงเข้ามา วิตก วิจารณ์ก็เกิดทันที ดังนั้นเสียงยังมีผลอย่างมากในฌานนี้ ผมเทียบสภาวะแม้นทรงในฌานที่๔ ก็ยังได้ยินเสียงอยู่เพียงแต่ไม่มีผลอะไร หากเต็มฌานที่๔ ตรงนี้จึงจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก
    ให้เข้าใจว่าแต่ละฌานนั้นก็มีหลายระดับ ใช่ว่ามีระดับเดียว การไต่ระดับของฌานก็เป็นแบบต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไป ใช่ว่าพอเข้าฌาน๑ ก็เต็มฌานทันทีเลยอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ องค์ประกอบของแต่ละฌานที่อธิบายไว้นั้นเป็นสภาวะเต็มฌาน ในส่วนที่ไต่ระดับก็เป็นไปแต่ละคนไม่เหมือนกัน
    ผมอธิบายโดยเทียบเคียงกับตำราเพียงให้เข้าใจเท่านั้น ในส่วนการปฏิบัติจริง สภาวะฌานนั้นไม่ได้ทรงอยู่ที่ฌานใดฌานหนึ่งเป็นการเฉพาะ ทั้งผู้ปฏิบัติในขณะปฏิบัติก็ไม่ทราบว่าฌานไหนเป็นฌานไหน เมื่ออกมาจึงมาเทียบเคียงดูอีกทีว่าส่วนใหญ่ทรงที่ฌานใด
    ผมอธิบายตามสภาวะจริงของผมเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับอาจารย์ท่านอื่นแสดงไว้
    คอยดูในชั้นอรูปฌาน ผมรับรองว่าหากไม่ใช่สายสมาบัติเช่นเดียวกับผมจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
    ที่ผมแชร์นี้เป็นเรื่องการปฏิบัติฌานสมาบัติ เพื่อประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังปฏิบัติฌานสมาบัติโดยตรง ผมจะแชร์ไปถึงเฉพาะที่ผมปฏิบัติไปถึงคือระดับฌานที่๘ ส่วนที่สูงเกิดตัวจะไม่ขอกล่าวถึง จึงหมั่นใจว่าทุกอย่างถอดมาจากสภาวะจริงจากตัวผมเองโดยตรง เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติฌานสมาบัติโดยตรง
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2014
  8. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถ้ายังรู้สึกว่าเสียงกระทบสะเทือนจิตอยู่ยังไม่ถึงฌานหนึ่งครับ ไม่มีฌานหนึ่งหลายระดับหรอกครับ
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมอธิบายไปทั้งหมดแล้ว คุณจะเชื่อหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    เจริญในธรรม
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์ฌานสมาบัติที่๔

    ในระดับนี้ก็ต่อเนื่องมาจากฌานที่ ๓ การเพ่งของฌานนี้จะต้องว่ามีแรงเท่าไหร่พุ่งใส่อย่างเต็มที่ สภาวะแบบขับรถเยียบมิดคันเร่ง สภาวะจะมีเพียงหนึ่งเดียว อาการทางฌานผมเรียกว่าดิ่ง คล้ายว่าตัวเรากำลังพุ่งไปสู่อากาศ เป็นอาการเสียวหวิวๆ เบา เวทนาที่จุดเพ่งรุนแรงคล้ายจะฉีกขาด
    เวทนาทางกาย ร่างกายยืดตรงตัวล็อคชาแข็งขยับไม่ได้ลมหายใจหยุดเป็นช่วงเหนื่อยแทบขาดใจ ตรงนี้เป็นจุดตัดระหว่างรูปฌานกับอรูปฌาน หากผ่านตรงนี้ได้จะปรากฏอาการดิ่งอย่างที่ผมแสดงข้างต้น
    อาการดิ่งนี้เป็นอาการเต็มฌานที่๔ อาการอื่นๆก็อยู่ในลำดับต้นๆของฌานและไต่ระดับมาจนเต็มฌานครับ
    การปฏิบัติหากถึงหลักถูกวิธีตั้งแต่ฌานที่๑ - ฌานที่๔ สามารถปฏิบัติเองได้ เพราะลำดับฌานเขาจะไต่ลำดับมาเอง ตามความแรงของการเพ่ง แต่จะไปสู่อรูปฌานหรือฌานที่ ๕ - ๙ นั้นควรมีอาจารย์แนะนำดูแลให้ ไม่งั้นก็ไปไม่ได้
    สำหรับผมปฏิบัติเริ่มแรกๆไม่นานก็ไปถึงฌานที่๘ แต่ทรงไม่ไหวก็ถอยกลับมา ต่อมาค่อยๆเพ่ง เพิ่มแรงไปครั้งละไม่มากเพื่อไต่ลำดับฌานใหม่ ผมก็มาติดที่ฌาน๔นี้ละครับ ไปอย่างไรก็ไปไม่ได้ สุดท้ายไปกราบพระอาจารย์ให้ท่านแก้ให้ ท่านแก้ให้จึงผ่านไปได้ ท่านใดมาถึงตรงนี้ก็แนะนำไปกราบพระอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งในสายเพ่งฌานสมาบัติให้ท่านช่วยแนะวิธีให้เอาเองครับ การขึ้นฌานที่๕ อาศัยฐานฌานที่๔ เต็มกำลังแต่เวลาส่งผ่านนั้นมีเทคนิคพิเศษ ไม่ปิดปังนะครับแต่หากยังไม่เจอความดิ่งมาก่อนบอกไปก็ไม่รู้ครับ
    ฌานที่๕ อาศัยฐานเต็มฌานที่๔ ส่งมาถึงไม่ใช่ไปท่องชื่อของฌานแล้วมันจะได้ ใครบอกสอนวิธีนี้ผมชี้แจงไว้เลยว่าไม่ใช่การขึ้นฌานที่๕ เพราะการขึ้นฌานที่๕ ต้องมาจากฌานที่ ๔ ครับ ทั้งนี้ฌานที่๔ ก็มาจากฌานที่๓ ฌานที่๓ ก็มาจากฌานที่๒ และฌานที่๒ก็มาจากฌานที่๑ อย่างนี้จึงจะถูกต้อง หากท่องชื่อฌานนั้นก็ได้ฌานนั้นๆผมแนะนำให้ท่านท่องเอาคำว่าพระอรหันต์เลย ท่องเอาครั้งเดียวก็จบสิ้นกิเลสไปเลย หากท่องเอาแล้วมันจะได้อย่างนั้น
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2014
  11. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่ใช่เรื่องจะเชื่อหรือไม่เชื่อนะครับ มันเป็นเรื่องที่ต้องทำความเห็นให้ตรงกับคำสอนของพระศาสดานะครับ ที่คุณบอกว่าเข้าฌานแล้วยังมีการรำคาญเสียงนั้นเป็นไปไม่ได้เลยเพราะฌานนั่นดับนิวรณ์แล้วครับ อกุศลต่างๆไม่เกิดแล้ว และการเพ่งก็ไม่มีแล้วถ้าเข้าฌานสี่ คุณจะเพ่งไม่ได้แล้ว ฌานหรือการเพ่งนั้นมีแค่ฌาน1-4เท่านั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2014
  12. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เอาการปฏิบัติของคุณมาแชร์ซิครับ ตรงนี้เป็นผลการปฏิบัติของผม ไม่มีอะไรต้องทำความเข้าใจอะไรกับใครอีกครับ
     
  13. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    การปฎิบัติของผมตรงตามคำสอนคือฌานหนึ่งเสียงไม่เป็นอุปสรรค ฟ้าผ่าไม่เกิน10เมตรก็ไม่เข้าไปในจิตไม่ทำความรำคราญใดๆเลย ถ้าท่านกล่าวว่าท่านเข้าฌานได้แต่เสียงยังรำคราญขอให้เข้าใจว่าท่านเข้าใจผิดแล้ว
     
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิบัติแบบไหน อย่างไร เอามาแชร์ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นจะดีกว่า ผมแชร์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฎิบัติตามมาภายหลัง ที่คุณทำอยู่ผมไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย
     
  15. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    การปฎิบัตเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์นั้นนิมิตรที่เกิดขึ้นคือ การเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง เพราะเห็นความเป็นอนิจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ปาฎิหาริย์อะไรทั้งนั้นถึงแม้ใครผู้นั้นจะทำได้จริงก็ไม่สมควรเอามากล่าวในการปฎิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ผมเห็นท่านเองก็พูดเกี่ยวกับพระนิพพาน ธรรมมะสูงสุดเกี่ยวกับการหลุดพ้น ผมจึงคิดว่าท่านผิดทางเกี่ยวกับความหลุดพ้น เพราะสิ่งที่ท่านกล่าวมานั้นมีแต่สร้างความสงสัย ไม่ตรงกับภูมิธรรมของผู้รู้อริยสัจเลย ผู้ที่รู้อริยสัจแล้วเรื่องฤทธิ์เป็นสิ่งที่น่ารังเกลียดจริงๆ ผมฝึกอานาปานสติ มีแต่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่ความเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง สัญญา10ประการมีแต่จะแข็งแรงขึ้นตามฐานะ ผมจึงกล่าวมาตลอดว่าผู้ที่ใฝ่ในฤทธิ์นั้น ยังไม่ก้าวลงในส่วนของสัมมาทิฎฐิเลย(หมายความว่าอริยบุคคล)
     
  16. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ที่นี้การปฎิบัติแบบอานาปานสตินั้น ตามพระสตูรเลย เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ ตรงนี้เราจะเกิดอนิจสัญญาโดยสภาวะจริง ไม่มีลมหายใจออกหรือลมหายใจเข้าไม่ว่าสั้นหรือยาวที่เกิดแล้วไม่ดับ เมื่อเราเฝ้าดูอย่างนี้อย่างจดจ่อก็จะได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา การจดจ่อคือการเพ่งได้สมถะ เห็นการเกิดดับได้ปัญญา(อนิจะสัญญ). ตามพระสูตรต่อนะครับ ศึกษาสำเนียกโดยมีหลักว่าเราเป็นผู้รู้เฉพราะกายทั้งปวง ตรงนี้เราจะเห็นกายทั้งปวงเป็นสักแต่ธาตุแปรปวนไม่คงที่เปลี่ยรแปลงไป การเพ่งทั่วร่างกายก็ได้ทั้งการเพ่งได้ทั่งสมถะและวิปัสสนา ทุกขลักษณะมั่นคงแข็งแรงขึ้น ตามพระสูตรต่อศึกษาสำเนียกโดยมึหลักว่า เราจะเป็นผู้ระงับการสังขาร ตรงนี้เราลองบังคับหยุดหายใจดูสิ บังคับได้หรือไม่ เราบังคับไม่ให้หายใจไม่ได้ใช่ป่าวถ้าเราบังคับไม่ได้จริง ก็แสดงว่าตัวตนไม่ใช่ของเรา ถ้าตัวตนเป็นของเราเราต้องบังคับได้ แต่นี่เราบังคับไม่ได้ อนัตตสัญญาที่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตนบุคคลเราเขาก็เกิดในกมลสันดานโดยสภาวะจริงที่เกิดขึ้น และการบังคับลมไม่หายใจนั้นเป็นการเพ่งอย่างยิ่งเป็นสมถะ เข้าถึงฌานสี่ได้ ไปถึงจุดที่ท่านบอกเพ่งตรงจุดที่คุณบอกนั้นแหล่ะ นี่คือการปฎิบัติตามแนวพระสูตรไม่ออกนอกแนว ยังคงรักษาคำสอนไม่ให้เสื่อมได้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2014
  17. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์อรูปฌานสมาบัติ-ฌานที่๕

    ก่อนอื่นขอกล่าวถึงรูปฌาน๑-๔เมื่อเปรียบกับสติปัฏฐานสี่ตรงนี้จะเป็นกายานุปัสสนา หลวงปู่ได้แสดงประกอบไว้ว่าที่จุดเพ่งนี้ย่อมเป็นธาตุที่สี่คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อเพ่งเข้าย่อมเป็นกายานุปัสสนาในสติปัฏฐานสี่
    การเพ่งในอรูปฌานเมื่อเพ่งจะเกิดเวทนาที่จุดเพ่ง ตัวเวทนานี้ก็เป็นเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐานสี่ด้วย เมื่อเพ่งผ่านฌานที่๔แล้ว ในระดับอรูปฌานเราอาศัยเวทนาตัวนี้เป็นตัวต่อในการปฏิบัติ เนื่องจากในฌานที่๔เมื่อเต็มฌานแล้วสภาวะจะทิ้งรูป จะไม่เห็นรูป
    ในฌานที่๑-๔ จะเห็นเป็นหนทางมืดดำ เป็นทางมืดบอด มีเวนารุนแรงมากในระดับฌานที่๔ แต่เมื่อเข้าสถาวะฌานที่๕ สภาพต่างๆจะเปลี่ยนไปไม่มืดบอด คล้ายว่าสามารถทะลุออกไปยังที่โล่งว่างแห่งใดแห่งหนึ่ง ปรากฏเป็นนิมิตรเสมือนจริง เหมือนเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นกับเราโดยตรง ไม่ใช่ว่าไปมองเห็นนิมิตร แต่เป็นว่าตัวเรานั้นละไปปรากฏที่นิมิตรเหมือนเกิดกับเราจริงๆ สภาพนิมิตรในฌานที่๕นี้จะเป็นอากาศ ที่โล่ง ที่ว่าง บางเบา เว้งว้าง ว่างเปล่า แต่ของใครจะเป็นอย่างไรนั้นก็ไม่เหมือนกัน บางคนที่ปฏิบัติด้วยกัน เขามาที่ฌานนี้น้อยมาก ผ่านไปถึงฌานที่๖เลยอย่างนี้ก็มี บางคนก็เจอกับฌานนี้
    สภาพทางกายเมื่อออกจากฌานแล้ว เวทนาที่ปรากฏก็หายไปเกือบทั้งหมด รู้สึกกายเบาสบายขึ้นอย่างมาก แม้นแต่เวทนาที่จุดเพ่งก็หายไปด้วย ทีนี้ก็เป็นปัญหาว่าจะเพ่งกันอย่างไร พอเพ่งไปมันก็จะโล่งไปหมด การปฏิบัติก็ให้เพ่งที่ความโล่งที่จุดมโนทวารนั้นละ เพ่งไปเรื่อยๆก็จะเห็นมีเวทนาเกิดขึ้น เมื่อเวทนาปรากฏก็จับตัวเวทนาเป็นฐานเพ่งต่อไป
    ทุกอย่างที่เกิดล้วนเป็นทางผ่าน อย่าไปติดไปยึดเด็ดขาด หากไม่ติดนิมิตรของความว่างก็จะเปลี่ยนไป ในฌานนี้ท้ายๆของฌานก็จะมีเวทนาทางกายเกิดขึ้นมาอีก เวทนาในอรูปฌานเป็นไปในลักษณะเจ็บแสบร้าวลึกเป็นวงแคบเริ่มเป็นเฉพาะส่วนต่อมาก็จะเป็นวงกว้าง ของรูปฌานเป็นแบบเจ็บปวดหนักหน่วงเป็นวงแคบและกว้างตามลำดับ
    ในระหว่างการปฏิบัติใช่ว่าจะทรงในฌานใดฌานหนึ่ง มีขึ้นมีลงตลอดเวลาคล้ายดั่งคลื่นน้ำ แม้นเข้าสู่อรูปฌานบางครั้งก็ตกมารูปฌานบ้างแต่ส่วนใหญ่จะตกมาที่ฌาน๔ หรือฌาน๓ แล้วก็กลับขึ้นไปใหม่ เวทนาที่จุดมโนทวารนั้นก็ต่างกันเมื่อเข้าอรูปฌานแล้วเวทนาจะแหลมเล็กลงพอเพ่งเข้าจะบาดจิตบาดใจอย่างมาก
    ผู้ที่ติดในฌานนี้ก็จะติดในความโล่ง ความว่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หลวงปู่ได้แสดงไว้บางคนออกจากฌานมาก็เกิดปิติตัวเบาราวจะเหาะได้ จนบางคนเข้าใจว่าสำเร็จธรรมขึ้นสูงสุดไปเลยก็มี
    นิมิตรที่เกิดกับตัวผมเอง ก็เป็นว่าผมไปนั่งอยู่ที่โล่งแจ้งแต่ไม่มีแดด คล้ายตอนเย็น เป็นที่โล่งที่ไม่มีอะไรเลย ก่อนปฏิบัติได้ฟังธรรมหลวงปู่ก่อนแล้ว พอออกมาก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ตอนอยู่ในนิมิตรไม่รู้ในสิ่งนี้

    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2014
  18. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ ฐสิษฐ์ ครับผมมีโอกาสได้ฟังธรรมของพระอาจารย์ประกอบแล้วครับ ผมไม่สงสัยในท่านเลยครับ คุณ ฐสิษฐ์ ฟังแล้วเป็นไงบ้างครับ พอจะสรุปได้ไหมครับว่า ท่านกล่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไร จึงบรรลุธรรมครับ ช่วยสรุปได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
     
  19. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์อรูปฌาน-ฌานสมาบัติที่๖

    อรูปฌานนี้ก็ส่งผลมาจากฌานที่๔ ส่งมาที่ฌานที่ ๕ และส่งต่อมาถึงฌานนี้ ไม่ได้ไปท่องเอาอย่างเขาว่าแต่อย่างใด ในทางปฏิบัติของผมจะมีบางช่วงก็ทรงในรูปฌาน บางช่วงก็ส่งมาที่อรูปฌาน ที่ฌาน๕บ้าง ฌานที่๖บ้าง สลับไปมาแต่ขณะที่เข้ามาฌานที่๖นี้ สภาวะนั้นก็คล้ายกับฌานที่๕ แต่นิมิตรที่เห็นแตกต่างกัน ตรงฌานนี้จะเห็นเป็นเรื่องราวต่างๆ ของเราเองบ้าง ของคนอื่นบ้าง แต่ทุกครั้งก็จะมีเราอยู่ร่วมโดยตลอด ฌานนี้หลวงปู่แสดงหมายว่าเป็นการรู้(วิญญาณ) รู้ไปทุกเรื่อง จะว่ารู้ไปทั้งโลกก็ว่าได้ แต่มันรู้ในลักษณะอดีตกับอนาคต ปัจจุบันซึ่งเป็นองค์ปฏิบัติมันไม่รู้ ฌานนี้ละครับที่ทำให้ผู้ปฏิบัติมีฤทธิมีเดช ฤทธิเดชแบบไหนผมจะอธิบายให้ฟัง เมื่อไปรู้เรื่องในอดีตหากนำไปบอกกล่าวเล่าขานให้ผู้อื่นฟัง เมื่อตรวจสอบและความจริงตามนั้น เขาก็เข้าใจว่าผู้บอกมีฤทธิมีเดช หรือเห็นเรื่องในอนาคตแล้วนำไปบอกผู้อื่น หรือแสดงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในอนาคตฟัง และเมื่อเหตุการณ์นั้นก็เกิดขึ้นจริง อย่างนี้เขาก็ว่าวาจาศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนก็เกรงขามเกรงกลัว การรู้ไปในอดีตนั้นอาจจะถึงกับข้ามภพข้ามชาติหรือไม่ตรงนี้ผมยังไปไม่ถึงไม่ขอรับรองเพราะยังไปไม่ถึง
    ฌานนี้แปลไปตามสภาวะก็หมายถึงการู้อย่างไม่มีที่จะสงบจบสิ้นลงได้ ใครหลงติดก็จะเข้าใจว่าสภาวะนี้เป็นการบรรลุธรรมขั้นสูงสุด ออกเทศน์ออกธรรมก็ว่ากันไป
    สภาวะฌานที่๖ ใครสงสัยว่าเป็นอย่างไร ให้ไปดูประวัติของพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ พระองค์ได้เจอนิมิตรที่เป็นเรื่องราวอย่างไรบ้างเช่นว่าเจอนางรำ กองทัพพญามาร อะไรทำนองนี้ สิ่งเหล่าอยู่ในฌานที่๖ ทั้งนั้น แต่นิมิตรก็เป็นไปตามความแก่อ่อนของฌานและบารมีของผู้ปฏิบัติ ของผมยังเป็นฌานขั้นอ่อนมากๆ แต่ก็ได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างอยู่พอสมควร
    สรุปนิมิตรที่เห็นก็เป็นเหมือนความเป็นจริงทุกประการ เมื่อสติระลึกรู้ว่าเพ่งอยู่เช่นนี้นิมิตรก็ดับไป พอนิมิตรดับไปจะมาทรงที่รูปฌานนิดหนึ่ง จากนั้นก็ส่งเข้าอรูปฌานอีก แต่จะไปถึงอรูปฌานใดก็แล้วแต่ความรุนแรงของการเพ่งประกับสติที่มั่นคงแข็งแกร่งเพียงใดด้วย
    นิมิตรที่เห็นนี้คืออะไร เกี่ยวข้องในทางธรรมอย่างไร นิมิตรนี้คือที่สุดของความคิด เป็นภาพที่ความคิดปรุงแต่งขึ้น หรือเรียกอีกนัยก็คือตัวสังขาร เมื่อไปเทียบกับวิปัสสนาญาณ๙ จะเห็นได้ว่าพูดถึงแต่ตัวสังขารล้วนๆ ซึ่งก็คือตัวนิมิตรเสมือนจริงนี้ ตัวนิมิตรนี้พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกว่ารูปด้วย โดยเรียกว่านามรูป ซึ่งปรากฏในปฏิจสมุปบาท หากเทียบกับสติปัฏฐานสี่ตัวนิมิตรนี้ก็เป็นทั้งจิตตาและธรรมมาในขณะเดียวกัน ในชั้นนี้จึงเป็นจิตตานุปัสสนาและธรรมมานุปัสนาของสติปัฏฐานสี่ด้วย
    นิมิตรเหล่านี้ก็มีทั้งดีและไม่ดี หากติดหากหลง หรือกลัวก็ยากที่จะผ่านฌานนี้ได้ ยิ่งหากมีการทวนฌาน ย้ำฌาน นิมิตรมันก็ยิ่งหลากหลายพิศดาร ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ความรู้ก็รู้อย่างมหาศาลตามไปด้วย ติดรู้หรือติดฤทธิ ก็ว่ากันในอรูปฌานที่๖นี้
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2014
  20. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    อนุโมทนาครับ พระอาจารย์ประกอบท่านไม่ได้แสดงลำดับฌานไว้ แต่ก็ว่ากล่าวในส่วนนิมิตรในอรูปฌานอยู่บางส่วน และท่านได้แสดงในการบรรลุธรรมระดับโสดา สกิทาคา พระอานาคา และพระอรหันต์ของท่านไว้ เพื่อเป็นแรงบันดานใจให้ผู้รับฟังสนใจเข้ามาปฏิบัติในฌานสมาบัติ สายอื่นท่านก็ปฏิบัติมาแล้ว ไปได้แค่ไหนท่านก็แสดงให้ดูว่ายังไม่ใช่ที่สุดอย่างไร
    ความจริงผมมีซีดีท่านอยู่ประมาณ 10 ชุด แต่ผมเลือกเอาให้ฟังเพียงชุดเดียว หลายชุดแต่ก็แสดงไม่ต่างกันมาก
    ผมได้ไปกราบท่านครั้งหนึ่ง ท่านเรียบง่ายจนดูไม่ออกว่าเลยว่าที่แท้ท่านเป็นอย่างไรครับ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...