ปฏิบัติอานาปนสติกรรมฐาน ควบกับอุปสมานุสสติกรรมฐาน อย่างไรให้ได้ผลดีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย anakiz, 29 สิงหาคม 2014.

  1. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ผมปฏิบัติด้านสมาธิโดยจับเอาอานาปนสติกรรมฐาน ควบกับอุปสมานุสสติกรรมฐาน มาพอสมควร ส่วนความสงบ ระงับของจิต ก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง อยากถามว่า ปกติผมปฏิบัติสมาธิ วันละ 20 นาที จะน้อยไปหรือเปล่า และส่วนมากแล้วการทำสมาธิ จำเป็นต้องไปทำตามป่าเขาหรือไม่ ถ้าทำที่บ้าน จะได้ผลเหมือนกันหรือเปล่า? ขอขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2014
  2. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ขอขอบคุณสำหรับคำถามนะครับ เป็นคำถามที่ดีมากเลยทีเดียว สำหรับกระทู้นี้ ในการปฏิบัติด้านสมาธินั้น สมควรจะต้องตั้งเป้าหมายไว้ก่อนนะครับ ว่าเรามีความต้องการสิ่งใดจากสมาธิบ้าง? จะเป็นเรื่องของความสงบ พักผ่อนตามโอกาส หรือจะเป็นเรื่องของอภิญญา หรือว่าจะเป็นมรรคผลนิพพาน ต้องให้ชัดเจนก่อนในเบื้องต้น

    การปฏิบัติสมาธิ ให้เน้นในหลักการของทางสายกลาง โดยให้มีความสบายของอารมณ์ใจเป็นหลักนะครับ และทำการประคองอารมณ์สบายๆ นั้นไว้ให้ได้ตลอดเวลา ตลอดทั้งวัน อย่างนี้ ถึงจะเกิดเป็นความก้าวหน้า ถ้าหากเมื่อใด รู้สึกว่าการปฏิบัติเพื่อความสงบ ไม่ว่าจะจับกรรมฐานกองใด จะอานาปนสติ หรือกสิณ แล้วมีอาการมึน ซึม เจ็บ จุก เสียด อึดอัด ไม่สบายเนื้อตัว อย่างนี้จะต้องทำการปรับแก้ข้อกรรมฐานกันเป็นการเร่งด่วนต่อไป

    ลองมาพิจารณาดูจากเหตุการณ์จริงในชีวิตประจำวันของเรา วันหนึ่งเรามีเวลากันคนละ ๒๔ ชั่วโมง เราฝึกสมาธิ วันละ ๒๐ นาที ส่วนอีก ๒๓ ชั่วโมง กับอีก ๔๐ นาที จิตของเราปล่อยไปเรื่อยเปื่อยให้โลดแล่นไปตามอารมณ์ใจ อีกทั้ง ในเวลา ๒๐ นาทีที่ว่า จิตของเรานิ่งเป็นสมาธิอย่างแท้จริงสักกี่นาที จะเห็นว่า การปฏิบัติเพียง ๒๐ นาทีใน ๑ วันนั้น เป็นช่วงเวลาที่น้อยมากๆ เลยนะครับ

    ซึ่งหากจะต้องการหวังผลถึงมรรคผลนิพพาน สมควรจะต้องว่ากันทั้งวัน!!!!!

    แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องล่อกันทั้งวัน อย่างจริงจัง ด้วยความเคร่งครัด ไม่ให้จิตคลาดเคลื่อนไปจากสมาธิ แม้แต่ชั่ววินาทีเดียว ตรงนี้ก็ไม่ใช่อีกเหมือนกัน คืออย่างนี้ก็เป็นอารมณ์ที่หนักไป เคร่งเครียดต่อจิตใจมากเกินไป เช่นเดียวกัน

    นทางปฏิบัติ อย่างที่กล่าวไว้ว่า ต้องใช้อารมณ์สบายเป็นสำคัญ ให้ตั้งใจเอาไว้นะครับว่า เราจะประคองลมหายใจของเราให้มีความราบรื่น ไหลลื่น เบาสบาย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพักผ่อนจิตใจจากความคิดที่สอดส่ายไปตามอารมณ์ใจทั้งหลายที่เกิดมีขึ้น ให้อยู่กับความนิ่งและความสบายของลมหายใจที่ผ่อนคลายนั้นเป็นสำคัญ

    เมื่อตั้งหลักได้อย่างนี้แล้ว ก็ให้อยู่กับความสงบและความสบายนั้นไปเรื่อยๆ และทำให้ได้ในทุกอิริยาบท โดยไม่ต้องตั้งท่า ตั้งทางให้เสียเวลา เมื่อเป็นไปตามนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าเรากำลังทรงอยู่ในอานาปนสติกรรมฐาน คือมีสติระลึกถึงลมหายใจ ได้ตลอดในทุกอิริยาบท ทุกที่ ทุกเวลา ตลอดทั้งวันแล้วนะครับ

    ในส่วนของการจับลมหายใจนั้น ให้เลือกเอาตามความถนัด จะจับลมสบายตลอดสาย หรือจะจับลม ๓ ฐานก็ได้ทั้งนั้น โดยให้เน้นความนุ่มนวลและลื่นไหลของลมที่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย ตั้งแต่จมูก ผ่านหลอดลม อก ท้อง แล้วไหลย้อนกลับออกไปนอกร่างกาย ให้มีความต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ครบตามวงจรเป็นสำคัญ ลมหายใจก็จะมีความสบาย เมื่อลมหายใจมีความสบาย ร่างกายก็จะมีความผ่อนคลายไปด้วยในตัว

    ให้เป็นไปอย่างนี้ จึงกล่าวได้ว่า ปฏิบัติสมาธิ ด้วยอารมณ์สบาย ผ่อนคลาย ตลอดเวลาทั้งวันได้แล้วนั่นเอง และเมื่อใดก็ตาม เมื่อใจมีความสงบ ระงับแล้ว ในไม่ช้า จิตก็จะมีอารมณ์เป็นฌานได้ต่อไป

    การปฏิบัติสมาธิเพื่อความสงบ เรื่องของสถานที่ก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามป่าเขาลำเนาไพร หรือในอาคารบ้านเรือน เรื่องของความปลอดโปร่ง การระบายอากาศที่ดี ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะพบว่า การฝึกสมาธิตามป่าเขา จะทำได้ง่าย เนื่องจากอากาศมีความบริสุทธิ์ และสภาพแวดล้อมก็มีความบริสุทธิ์ ทำให้คลื่นจิตมีความราบเรียบ จิตก็สงบระงับได้ง่าย ดังนั้น ในเบื้องต้น ควรจัดเรื่องสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับการเจริญสมาธิของเรา ทั้งในเรื่องของความปลอดโปร่ง การระบายอากาศที่ดี หากทำได้ดังนี้ ไม่ว่าจะปฏิบัติที่ใด ไม่ว่าจะเป็นป่าเขา หรือที่อาคารบ้านเรือน ก็ให้ผลที่เสมอกัน

    ส่วนการปฏิบัติอานาปนสติกรรมฐาน ควบอุปสมานุสติกรรมฐาน นั้น เมื่อทำสมาธิจากอานาปนสติกรรมฐานจนใจสงบ ระงับแล้ว ให้ผ่อนอารมณ์ฌานลงมาที่อุปจารสมาธิ แล้ว ให้ตั้งกำลังใจเพิ่ม เพื่อควบอุปสมานุสติกรรมฐานว่าเมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้านึกถึงพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้ากำลังระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่บนพระนิพพาน หากข้าพเจ้าตายเมื่อใด พระพุทธเจ้าทรงอยู่ที่ใดข้าพเจ้าจะไปที่นั่นเพียงจุดเดียว

    ดังนั้นตราบใดที่เรายังระลึกถึงพระพุทธเจ้า จิตของเราก็ยังระลึกถึงพระนิพพานอยู่ตราบนั้น หากเราทรงอารมณ์ได้อย่างนี้ กล่าวได้ว่ามีอุปสมานุสสติกรรมฐานประจำใจ อยู่ตลอดเวลาแล้ว นั่นเองนะครับ


    ทั้งหมดนี้ ลองนำไปปรับใช้ดูตามสถานการณ์ และตามความเหมาะสมได้ต่อไปนะครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มเล็กๆจากครูบาอาจารย์เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือที่จะบอกคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ว่าเรื่องของเวลาและสถานที่ ที่คุณได้ถามแล้วในคำถาม หนังสือเล่มนั้นคือ " วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ " โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง... เชื่อว่าจะช่วยคุณได้มากเลยทีเดียว....

    (คลิกตรงชื่อหนังสือได้เลยครับ)
     
  4. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบคุณ คุณ yooyut ที่ได้อธิบายให้ทราบครับ อ่านแล้วมีความเข้าใจขึ้นเยอะ ว่าผมใช้เวลาปฏิบัติน้อยไปจริงๆ ควรจะต้องเร่งความเพียรให้มากขึ้น หากต้องการปฏิบัติเพื่อหวังผลนะครับ และขอขอบคุณ คุณ Phanudet ด้วยครับ ที่ได้แนะนำหนังสือดีๆ ให้อ่าน เรื่องคำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุงนี้ ผมเคยอ่านมา เมื่อก่อนเคยจับอสุภกรรมฐาน ก็ได้คำสอนของท่าน เป็นแนวทาง เคยทราบว่า ท่านเคยสอนว่า การเจริญกรรมฐาน ถ้ามีความเข้าใจ กรรมฐานทุกกอง ทำเป็นฌาน 4 ได้หมด แล้วต่อเป็นสมาบัติ 8 ได้ ไม่ทราบว่า ถ้าเป็นอสุภกรรมฐาน จะทำเป็น ฌาน 4 สมาบัติ 8 จะต้องทำยังไง ท่านใดพอจะรู้บ้าง?
     
  5. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ก็น้อยไป อะนะ เขาฝึกนั่งกันที ไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง เพื่อฝึกฝนเป็นพื้นฐานต่อการนั่ง ข้ามคืนข้ามวัน ในโอกาสต่อไป
    (บางคนนั่งวันละไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง ถามว่าจะบ้าเหรอ คนบ้าถึงจะทำกันแบบนั้น ... เลยไม่รู้ว่า ฝ่ายไหนบ้ากันแน่ ระหว่างคนปฏิบัติ กับ คนปุถุชน ที่กล่าว เหอ เหอ เหอ)

    แต่ใหม่ๆ คงต้องใช้สัจจะและวินัย เพิ่มเวลาเข้าไปทีละนิดเมื่อเข้าที่แล้ว ทีละ 5 นาที 10 นาที 15 นาที ก็แล้วแต่ บางคนเพิ่มวันละ 5 นาที บางคนเพิ่มอาทิตย์ละ 5 นาที บางคนเพิ่มเดือนละ 5 นาที เมื่อกุศลธรรมเจริญขึ้น มันก็เป็นอนิสงค์แก่เราเอง ไม่ว่ากรณีไหนๆ

    ถามว่าจำเป็นตามป่าตามเขาไม๊ - ไม่จำเป็น อะ แต่ ตามป่าตามเขาย่อมดีกว่าตามบ้าน เพราะมันสงัดสงบ มีความปราณีตกว่า อากาศก็บริสุทธิ์กว่า หากไม่สะดวก วัดป่าในเมืองยังมีสงบพอสมควรหลายแห่ง

    เรื่องของกรรมฐาน มิใช่ว่าจะต้องทำมันซะทุกกอง เดวกองโน้นบ้างเดวกองนี้บ้าง สะเปะสะปะไปหมด เลือกที่ตรงกับจริตของเราสักกอง มันจะไปได้เร็ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2014
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ฟังได้จากพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อในหมวดนี้ได้เลยครับ ชัดเจนแน่ใจได้ชัด...โมทนาสาธุบุญด้วยนะครับ...
     
  7. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบคุณ คุณ Phanudet ครับ เข้าไปดูตามที่บอกแล้ว การปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ให้เป็น ฌาน 4 สมาบัติ 8 ชัดเจนแล้วว่า ถ้าเป็นตามที่หลวงพ่อท่านสอนเอาไว้ ถือว่าจะต้องปฏิบัติไปตามกรรมฐานกองที่ว่าด้วยกสิณ ควบอสุภะกรรมฐาน

    แต่อ่านแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่

    คราวนี้ ต้องขอความอนุเคราะห์จาก คุณ yooyut ช่วยอธิบายแบบแผนการฝึก กสิณ ควบอสุภะกรรมฐาน ให้ฟังหน่อยนะครับ (พื้นฐานของกสิณ การจับภาพพระ พอมีพื้นมาบ้างครับ แต่คงไม่ได้ลึกซึ้ง ในเรื่องกสิณแม่ธาตุในระดับที่เป็นเรื่องของการเดินธาตุ และใช้กำลังธาตุ แบบคุณ yooyut นะครับ )

    ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์จากคุณ yooyut เป็นการล่วงหน้า (ช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร เข้าใจว่าต้องตามคิวครับ คุณ yooyut ครับ)
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อยากไว ปฏิบัติ อานาปานสติ ทุกลมหายใจเข้าออกครับ แนะนำสั้นเท่านี้ละครับ

    อย่าหายใจทิ้งครับ ยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจกรรมประจำวันได้หมดครับ ^^

    .
     
  9. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอขอบคุณ คุณตั้งฉาก กับคุณ Saber ครับ ที่ได้ให้คำแนะนำ โดยเฉพาะคุณ Saber ที่มักจะนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง และหลวงพี่เล็ก มาให้อ่านกันตลอด ตามกระทู้ต่างๆ ผมชอบอ่านมาก ขอขอบคุณครับ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    การจะฝึกกรรมฐานหลายกองได้นั้น อย่าลืมจับกองใดกองหนึ่งให้ได้รูปฌาน ๔ จนเป็นวสีด้วยนะครับ...ถ้าไม่ได้ จับพร้อมกันหลายกอง พังครับ...ข้อนี้เป็นจุดสำคัญนะ...

    อรูปฌานฝึกไม่ยากหลอกครับ ถ้าชำนาญในรูปฌาน ๔ แล้วนะ คือการจับตัวอรูปฯ ฌาน ๔ ในตัวอรูป สภาวะอารมณ์ฌาน ตัวเดียวกันชัดครับ
     
  11. เมธาสิทธ์

    เมธาสิทธ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +78
    ผมติดใจตรงนี้ครับตอนนี้ผมกำลังเป็นแบบนี้อยู่เวลานั่งสมาธิทีไรเป็นแบบ จุกเสียดอึดอัด หายใจติดๆขัดๆครับ รบกวนแนะนำวิธีการแก้ไขด้วยครับ ขอบคุณอย่างสูงครับ
     
  12. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154

    เรื่องของอสุภกรรมฐานควบกสิณ เพื่อมุ่งหมายให้การปฏิบัติอสุภกรรมฐาน เป็นฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ นั้น ถ้าเป็นไปตามที่วิธีการที่หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ท่านได้แนะนำไว้ ตามที่คุณ Phanudet ได้กล่าวถึงไว้นั้น การปฏิบัติ ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนนี่ครับ ถ้าอย่างนั้น มาดูกันว่าการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน เป็นฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ นั้น จะต้องทำอย่างไร

    โดยทั่วไปแล้ว อสุภกรรมฐาน ใช้ต่อสู้กับราคะจริต จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติกรรมฐานกองนี้ก็คือ การตัดความพอใจและความปรารถนาในร่างกายเกี่ยวกับเรื่องของกามคุณ เป็นอารมณ์ที่ปล่อยวาง จากความยึดติดในความปรารถนาในร่างกาย อารมณ์ปล่อยวางนี้ ไม่ใช่ความรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจ ถ้ายังรู้สึกรังเกียจ ยังไม่ใช่อารมณ์สุดของการพิจารณาอสุภกรรมฐาน อารมณ์สุดจะต้องรู้สึกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ความรังเกียจ แต่เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา พอจิตจับว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตจะมีอาการเบา เยือกเย็น คลายจากความยึดติด ที่มีแต่ความเร่าร้อน ซึ่งเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย

    ทีนี้ เรามาดูกันว่าอสุภกรรมฐาน ควบกสิณ ทำกันยังไง เริ่มแรก การจะเพ่งอสุภะ จะไปหาศพดูได้จากไหน? ซึ่งในสมัยนี้ เป็นเรื่องไม่ยากครับ เพราะมีสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่จะสามารถใช้เสาะหาภาพเกี่ยวกับศพ ในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพ่งได้ไม่ยากนัก ต้องการศพแบบไหน มีให้เลือกสรรทุกแบบครับ

    แต่ส่วนตัวแล้ว มักจะใช้วิธีดูจากศพจริงๆ มากกว่า เพราะให้ความรู้สึกครบทั้งภาพ ทั้งกลิ่น ครบถ้วน ซึ่งถ้าหากดูจากภาพอย่างเดียว คงจะขาดเรื่องกลิ่นไป แต่ก็จัดว่าพอจะใช้ถูไถ แก้ขัดไปได้นะครับ

    เมื่อได้ภาพศพที่ถูกใจมาแล้ว ก็ทำการเพ่ง พิจารณาตามกระบวนการของอสุภกรรมฐานนะครับ จะต้องพิจารณาว่ายังไง ก็ให้เป็นไปตามวิธีการ ผมคงจะไม่ขอกล่าวถึงในส่วนนี้ เพราะสามารถหาอ่านวิธีการปฏิบัติได้ตามสื่อทั่วไปได้ไม่ยากครับ

    ทีนี้มาในส่วนควบกันบ้าง เรื่องของอสุภกรรมฐานควบกสิณ เพื่อมุ่งหมายให้การปฏิบัติอสุภกรรมฐาน เป็นฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ นั้น ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ฝึก จะต้องมีพื้นฐานด้านกสิณ กองใดกองหนึ่ง ที่ชำนาญแล้วมาก่อน ชนิดที่ไล่ไปจนสุดอารมณ์ของกสิณกองนั้นๆ ได้แล้ว จากนั้น จึงเอาอสุภกรรมฐานมาควบรวมไว้

    วิธีการ คือ แทนที่เราจะพิจารณาภาพศพเฉยๆ ตามกระบวนการของอสุภกรรมฐาน ก็ให้จับภาพศพนั้น กำหนดภาพให้เป็นนิมิตไว้ในใจ หากกำหนดได้แล้ว ภาพของศพนั้นมีสภาพตามที่เห็นเหมือนจริง อย่างนี้จัดเป็นอุคคหนิมิตแล้ว เมื่อทำการเพ่งไปเรื่อยๆ ตามกระบวนวิธีของกสิณ จนภาพของศพนั้น มีความสว่าง สุกใส สามารถย่อ ขยายให้ใหญ่เล็กได้ตามใจ และสุดท้าย กลายเป็นดวงแก้วใส แพรวพราว อย่างนี้จะกล่าวว่าถึงความเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วนะครับ จากนี้ไปก็หมั่นประคับประคองนิมิตที่ว่านี้ ให้คงอยู่และพัฒนาไปให้สุดอารมณ์ของการปฏิบัตินี้ต่อไป การจับดวงนิมิตนี้ ให้จับให้นิ่งสนิท นึกถึงเมื่อไหร่ นิมิตปรากฏขึ้นในใจเมื่อนั้น อย่างนี้เรียกว่าเป็นการปฏิบัติกสิณ ควบอสุภกรรมฐาน

    สำหรับการปฏิบัติจากฌาน ๔ ไปสู่อรูปฌาน ก็ให้เพิกนิมิตที่ว่านี้ไปเสีย แล้วไปจับอารมณ์ของอรูปแทน ซึ่งอย่างที่ คุณ Phanudet ได้กล่าวไว้แล้ว ในความเห็นที่ ๑๐ ว่าฌาน ๔ และอรูปฌาน ใช้กำลังที่เสมอกัน เพียงแต่เปลี่ยนอารมณ์ฌานจากการจับรูปวัตถุ ไปเป็นการจับอรูปวัตถุ เป็นอารมณ์แทน นั่นเองครับ

    ก็จบเรื่องการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน เป็นฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ เพียงเท่านี้


    ในการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ถ้าหากมีความตั้งใจจริงๆ จะควบหลายๆกองเลยก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด แต่ก็ต้องคำนึงถึงสิ่งที่คุณ Phanudet ได้เตือนไว้ด้วย ในความเห็นที่ ๑๐ นะครับ ว่าก่อนจะทำการควบกรรมฐานหลายๆกอง จะต้องมีความชำนาญในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ก่อน จะเป็นอานาปนสติหรือกสิณ ก็ได้ ให้สุดอารมณ์ของกรรมฐาน เป็นฌาน ๔ ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงทำการควบกรรมฐานหลายกองเข้าด้วยกัน ต่อไป

    สำหรับคุณ anakiz นั้น เอาเลยครับ อสุภกรรมฐาน ควบกสิณแสงสว่าง (หรืออื่นๆตามความพอใจ) และควบอุปสมานุสติกรรมฐาน คือให้ตั้งใจไว้ว่าตายเมื่อใดขอไปนิพพานจุดเดียวเท่านั้น พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนขอไปที่นั่น

    อย่างนี้ จัดว่าครบเครื่อง สำหรับคุณ anakiz แล้วครับ
     
  13. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154

    เรื่องนี้มีหลายสาเหตุมากนะครับ ที่ทำให้เกิดอาการเช่นที่กล่าวมานี้ ในเวลานั่งสมาธิ ไม่ทราบว่ากำลังปฏิบัติในกรรมฐานกองใดอยู่ครับ? ถ้าเป็นอานาปนสติกรรมฐาน ก็ต้องดูเรื่องการจัดท่าทางของร่างกายในขณะนั่งสมาธิ เป็นหลักก่อน ในเบื้องต้น

    คือต้องพิจารณาว่าก่อนนั่งสมาธิ มีอาการป่วยไข้ ไม่สบายหรือเปล่า? จัดท่าทางการนั่งได้เหมาะสม ตัวตั้งตรงดีไหม? และปฏิบัติได้ถูกวิธีตามข้อกรรมฐานนั้นๆ หรือไม่? ถ้ามีข้อติดขัดตรงนี้ ก็ต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน

    ในส่วนของลมหายใจ จุดนี้ก็สำคัญครับ การหายใจ ต้องไม่บังคับลม จะหายใจช้า หายใจเร็ว หายใจตื้น หายใจลึก ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติครับ เพราะหากไปบังคับลมหายใจ ก็อาจจะเกิดอาการหายใจติดขัด และลามไปถึงอาการจุกเสียดได้เช่นเดียวกัน

    ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็จะมีประมาณนี้ การแก้ไขเบื้องต้น เสนอว่า ควรจัดท่านั่งให้ดี ลำตัวตั้งตรง ทางเดินหายใจจะได้ไม่ติดขัด ลมหายใจจะได้ไหลลื่น โดยสะดวกนะครับ และก่อนการนั่งสมาธิ ควรรับประทานอาหารให้อิ่มพอประมาณ อย่าให้อิ่มมาก จะเกิดอาการจุกเสียดได้เช่นเดียวกัน และพยายามพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ก่อนการนั่งสมาธินะครับ

    เนื่องจากสาเหตุของอาการไม่สบายกาย ในขณะนั่งสมาธิ มีร้อยแปด พันเก้า ประการ เป็นเรื่องที่เจ้าตัวผู้ปฏิบัติ ควรจะต้องสังเกตอาการด้วยตัวเอง แล้วทำการปรับแก้ไขให้ถูกจุดหรือทำการปรึกษาหารือกับครูบาอาจารย์ที่ให้ข้อกรรมฐานนั้นๆ แก่เรา ช่วยทำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้ต่อไปครับ

    อย่างไรก็ตาม ถ้าพอจะมีโอกาส ลองคลิกเข้าไปอ่าน หนังสือ ที่คุณ Phanudet ได้แนะนำไว้ในความเห็นที่ 3 ก็จะมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติของคุณ ไม่มากก็น้อยครับ
     
  14. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบคุณ คุณ yooyut มากครับ ที่ได้แนะนำการควบกรรมฐานต่างกองเข้าด้วยกัน โดยส่วนตัวแล้ว อยากจะทำให้ได้ครบข้อกรรมฐานทั้ง 40 กอง เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องกลับไปไล่อานาปนสติกรรมฐานให้สุดก่อน จากนั้นค่อยไปตามเก็บกสิณ เป็นเป้าหมายต่อไป สำหรับในเรื่องของอานาปนสติกรรมฐานนี้ ทราบว่าเขามีการจับลมหายใจกันทั้งแบบลมสบายตลอดสาย ไม่ต้องกำหนดฐาน กับลม 3 ฐาน ขอเรึยนถามคุณ yooyut ว่าแต่ละแบบต่างกันยังไง และผมควรจะใช้วิธีจับลมแบบไหนดีครับ? ขอขอบคุณครับ
     
  15. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154

    เรื่องของการฝึกตามลมหายใจ ในแบบของอานาปนสติกรรมฐานนั้น การฝึกของครูบาอาจารย์แต่โบราณ จะกำหนดแยกเอาไว้สองแบบ คือ

    ๑.การกำหนดลมหายใจไว้ โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้ว่าหายใจออก หรือถ้ากำหนดรู้เฉพาะ รู้ว่าลมหายใจเข้า หายใจสั้นหรือยาว รู้ว่าลมหายใจออก หายใจสั้นหรือยาว เป็นต้น เรียกว่าเป็นลมสบายตลอดสาย อย่างนี้เป็นการฝึกในด้านของสติปัฏฐาน กล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานของหลักสูตรสุกขวิปัสสโก

    ๒.การกำหนดลมหายใจ ที่ต้องกำหนดฐานของลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้า ลมหายใจกระทบจมูก หน้าอก ท้อง เวลาหายใจออก ลมหายใจกระทบท้อง หน้าอก จมูก เป็นต้น อย่างนี้เป็นการฝึกในทางหลักสูตรเตวิชโชและในทางหลักสูตรฉฬภิญโญ ซึ่งครูบาอาจารย์แต่โบราณ จะกำหนดให้มีการวางอารมณ์พื้นฐานของจิตในตอนต้นไว้ในระดับที่สูงกว่าในหลักสูตรสุกขวิปัสสโก เพื่อประโยชน์ในการฝึกขั้นต่อไป


    ทีนี้ มาดูกันว่าในเรื่องของลม ๓ ฐาน นั้น การจับลม ๓ ฐาน จะก่อให้เกิดอานิสงค์ในการเจริญกรรมฐานได้อย่างไร?

    สาเหตุก็เนื่องมาจากการค้นพบว่าบนร่างกายของมนุษย์เรานี้มีจุดต่างๆมากมาย จุดเหล่านี้เป็นจุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเรื่องตามธรรมดาของสรีระร่างกาย ซึ่งจุดที่ได้กล่าวถึงเหล่านี้ หากมีการใช้จิตกำหนดสติ ตั้งฐานของสติที่ตรงจุดเหล่านี้เอาไว้ จะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปต่อร่างกายและจิตใจ ตามคุณสมบัติของจุดนั้นๆ ซึ่งจะพบว่าจุดพื้นฐานทั้ง ๓ คือ จมูก อก ท้อง นั้น ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านกล่าวว่า เป็น ๓ จุด ที่เกิดอานิสงค์มาก เหมาะแก่การเจริญสมาธิ ในขั้นต้น จึงเป็นที่มาของเรื่องที่มีการสอนเน้นที่จุดทั้ง ๓ คือ จมูก อก ท้อง เป็นสำคัญ ในการเจริญกรรมฐานนั่นเองครับ

    ผมเคยผ่านการฝึกมาทั้ง ๒ แบบ ทั้งลมไร้ฐานและลม ๓ ฐาน ตามความรู้สึกแล้วพบว่าการกำหนดลมไร้ฐาน กับลม ๓ ฐานนั้น ความคมชัดของจิตในการครองสติแทบจะไม่ต่างกัน ตรงนี้อาจจะเป็นเพราะความเคยชิน ที่ไม่ว่าจะจับลมในแบบใด แบบไร้ฐานหรือแบบ ๓ ฐาน จิตก็จะทำการจับฐานของลมไปเองตามอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปกำกับให้ทำ ดังนั้น ผลของความคมชัดของสติจึงไม่รู้สึกถึงความแตกต่างกัน

    อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพิจารณาถึงด้านอานิสงค์ที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ ระหว่างลมไร้ฐาน กับลม ๓ ฐาน ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ แม้ว่าทั้งสองอย่างจะสามารถประคองสติได้จริง แต่ว่าลมไร้ฐานนั้น ย่อมไม่เกิดอานิสงค์ต่อร่างกายและจิตใจ เท่ากับลม ๓ ฐาน ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นนะครับ

    สำหรับคำถามข้อต่อมาของคุณ anakiz คือเรื่องของการฝึก ว่าควรจะเริ่มต้นใช้วิธีจับลมในแบบใดดี? ถ้าตามความเห็นของผม มองว่าในขั้นต้น ให้เริ่มจับลมในแบบของลมสบายตลอดสายหรือลมไร้ฐานก็ได้ครับ เพราะจัดว่าใช้กำลังไม่มากนัก เหมาะสำหรับใช้ในการฝึกเอาสติตามลมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ใจมีความสงบมากขึ้นแล้ว ก็ขอเสนอให้ทำการเปลี่ยนมาจับเป็นลม ๓ ฐาน ในลำดับต่อไป และทำการจับลมหายใจ ไปให้สุดอารมณ์ของกรรมฐานกองนี้

    การเปลี่ยนวิธีการจับลมจากลมไร้ฐานมาเป็นลม ๓ ฐาน แรกๆอาจจะขลุกขลักบ้างเล็กน้อย เนื่องจากว่าการจับลม ๓ ฐาน จะต้องใช้กำลังใจมากกว่าลมไร้ฐาน แต่เมื่อเกิดความคุ้นเคยแล้ว ก็จะทำได้อย่างสบายๆ ได้ในที่สุดนะครับ ซึ่งในการปฏิบัติ สมควรจะฝึกเรื่องลมให้มีความคล่องตัวไว้ทั้ง ๒ แบบ เพื่อประโยชน์ในการนำเอากำลังใจไปใช้สำหรับการฝึกต่อยอดเกี่ยวกับวิชชาพิเศษด้านกรรมฐานอื่นๆ ในอนาคต (หากประสงค์จะทำการฝึก) ต่อไปครับ
     
  16. mesus

    mesus Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2014
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35
    กรรมฐานในหมวดอนุสติ 10 นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว เพราะสำหรับผมแล้วมองว่ากรรมฐานในหมวดนี้ เป็นกรรมฐานที่ต้องใชักำลังเยอะอยู่เหมือนกัน ที่ผ่านมาผมเคยฝึกอานาปนสติกรรมฐานมาก่อนที่จะมาฝึกด้านกสิณสีขาว ก็รู้สึกว่าการที่มีพื้นฐานด้านอานาปนสติมาก่อน ทำให้การฝึกกสิณนั้นมีความสะดวกขึ้นอย่างมาก

    ที่นี้มาคิดอีกทีว่า เมื่อเสร็จกิจจากการฝึกกสิณสีขาวแล้ว อยากจะย้อนกลับมาฝึกกรรมฐานด้านอนุสติ 10 อีกครั้ง อยากขอถามความเห็นจากเจ้าของกระทู้หน่อยนะครับว่า ในกรรมฐานหมวดอนุสติ 10 นี้ นอกจากอานาปนสติกรรมฐานแล้ว จะมีกรรมฐานใดในหมวดนี้ที่น่าทำการฝึกเพิ่มเติมอีกบ้างครับ และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำล่วงหน้าครับ
     
  17. ปอพอมอฟอ

    ปอพอมอฟอ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +43

    555555555555

    ขำครับ ฝึกไม่ยาก
     
  18. anakiz

    anakiz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +67
    ถัาจะถามความเห็นของผมล่ะก็ มองว่าพุทธานุสสติกรรมฐาน ธรรมานุสสติกรรมฐานและสังฆานุสสติกรรมฐาน ก็น่าสนใจดีครับ ครบทั้งรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งของเราพุทธศาสนิกชนทีเดียว

    แต่สำหรับคุณ mesus ผมมองว่าหากมีพื้นทางอานาปานุสสติกรรมฐานมาแล้ว หากฝึกกสิณสีขาวเสร็จ น่าจะจับพุทธานุสสติกรรมฐานต่อ แล้วมุ่งไปทางเตวิชโช ฝึกทิพยจักขุญาณไปเลย โดยอาศัยกำลังของกสิณสีขาว ควบอานาปานุสสติกรรมฐาน แลัวก็ควบพุทธานุสสติกรรมฐาน เป็น 3 ใน 1 เดียว น่าจะเหมาะกับคุณมากกว่าครับ

    ส่วนการฝึกควบกรรมฐานสามกอง คืออานาปานุสสติกรรมฐาน (ผ่านมาแล้ว) กสิณสีขาว (กำลังฝึก) และพุทธานุสสติกรรมฐาน (จะฝึกต่อไปในอนาคต) หากได้หมดแล้ว จะมาควบรวมกันยังไง และการฝึกทิพยจักขุญาณ เพื่อการมุ่งสู่การฝึกในสายเตวิชโช จะทำได้ยังไง คงต้องขอให้ท่านที่เคยมาตอบในกระทู้นี้ ช่วยมาแนะนำอีกทีนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...