สภาวะการรู้เห็นการเกิด-ดับของ "จิตหรือสรรพสิ่ง" โดยแจ่มแจ้งเป็นอย่างไร?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย AVATAAR, 1 พฤศจิกายน 2014.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็นะ

    ดี ที่ อธิบายออกมาหมด

    แต่ คนเรา เมื่อกล้าจะ กล่าวออกมา ย่อมต้อง พร้อมแล้วทีจะ รับ คำวิจารณ์

    ถ้า การอธิบายออกมานี้ เป็นเพียง ความตีบตัน หมดหนทาง ไม่รู้จะอวดอะไร
    จนจิตมันบีบเค้นให้พูด เรียกว่า " กล่าวออกมาด้วยอำนาจแห่งตัณหา " เมื่อ
    กล่าวออกมาแล้ว มันจะไม่ สละออกเหมือนเข็ม สละด้าย แต่ จะเป็น เวรภัย
    แก่ตนด้วยเหตุแห่งมุสาวาทา อันมี ตัณหา เป็นผู้ผลักดัน เจาะปากให้เพลี้ยงพล้ำ
    เผลอพูด ทั้งที่ ใจไม่พร้อบ รับคำวิจารณ์ อันนี้ก็ กราบขออภัย แต่ความ
    ที่ ธรรมจะไม่มีการอ่อนข้อให้แก่ ตัณหา อันเป็นตัวเจ้านาย จึงต้องกล่าวว่า

    " คิดเอาเอง " ทั้งหมด

    จิตที่เป็นความคิดนั้น เวลา คิดๆๆๆๆ แล้ว คิด วางลง เพราะ เหนื่อยจะคิด
    จิตมันจะ ปิ๊งว่า ก็วางลงสิ หลังจากนั้น กาย จะทำอาการเข้าผสมโลง แสดง
    อาการพลังงานตก " 0 " ไปอยู่กลางของกลาง ไหลลงไปแน่นิ่ง สงบ [ ถ้า
    เป็นคน จำอารมณ์เก่ง จะทำให้ ตกแล้วตกอีก ตกท่วมทับทวี ซ้อนได้ 18รอบ
    ก็ยังได้ ล้านรอบก็ยังได้ แต่ละรอบ อยากเรียกชื่ออะไร ก็จะว่ากันไป เลอะเทอะ
    -- ตรงนี้เจ้าของกระทู้พิสูจน์ได้ พอมันมีปัจจัยใกล้ มันจะ หน่วงมาทำได้ แล้ว
    ซ้อนได้ ไปเรื่อยๆ ซึ่งมีทั้งออกมาโปร่ง เบา ไปหมด หรือไม่ก็ นิ่งได้เป็นอาทิตย์
    เป็นเดือน เป็นปี --- ทีแน่ๆ คือ มีเข้า มีออก มีต้องออกแรง ไม่ใช่ รู้พร้อมโดยไม่ขึ้นกับการเวลา ]

    ความคิด จะกระโดด งับ รับความสงบนั้น ตื่นใจ อูยยยยส์ จิตเราสงบแล้ว เหมือน
    หลวงน้า หลวงลุง มีชื่อ

    หลังจากนั้น กายมันจะ สั่นสะเทือน น้ำหูน้ำตาไหล ดีอกดีใจ แสดงอาการพรั่ง
    พรูออกมา เหมือนว่า ได้พบเห็น ดวงปัญญา

    ทีนี้ เนื่องจากมันเป็นการทำงานของ " สังขารขันธ์ " ซึ่ง ลักษณสามัญของ
    สังขารขันธ์นั้น พอมันไปถึงที่สุด ไแถึงแก่นของ สังขาร มันจะ ปรากฏรส กลวงตรงกลาง
    [ อาการประมาณว่า ออกจากตรงนี้แล้วไงต่อละเว้ยเฮ้ย !!!..... สงสัยมันเกิด ไม่กำหนดรู้ แล้วยังไปเชื่อมัน ]

    ถ้ากำหนดรู้ เห็นการทำงาน ของสัขารขันธ์ เห็นความกลวงตรงกลาง อุปมาตามพระพุทธ
    องค์เหมือน หยวกกล้วย ก็จะ ทันสังขารได้บ้างไม่มากก็น้อย

    แต่ถ้าไม่กำหนดรู้ ความกลวงโบ๋เบ๋ ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้ทำอะไรต่อ รู้แต่ว่า ตรงเนี่ยะ
    มันกลวง มันจบ รสตรงนี้ต้องหายไป จิตต้องเคลื่อนออก มันก็จะมี กิเลสมาร ขันธ์มาร
    มันมาเตรียมหลอก ด้วยเสียงกระซิบ " ออกเถอะ เพราะ เธออธิษฐานไว้ จึงอยู่
    ตรงนี้ต่อไม่ได้ น่าเสียดายเนาะ " พอรับสมอ้างมัน ก็ออก แล้วก็ มา ฮานาก้า
    กูคือ หนึ่งในตองอู รู้รอบสิบทิศ มีมิตรเป็นธรรมเหมือนหลวงน้า หลวงอา มาแว้วววววว

    โอยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย..............................................


    ท่านคร้าบ

    ภูมิธรรม การเห็น เอาแค่ ประจักษณ์ไตรลักษณญาณ เนี่ยะ มันจะ รู้แล้ว รู้เลย

    รู้แล้ว ก็พ้นกาล พ้นสถาณ พ้นปัจจัยนั้น ไม่ไปเกี่ยวข้องอีก ไม่ติดข้องอีก จึง
    ไม่ต้อง ตะ เวลาว่า เออ เดี๋ยวกลับมาหานะ กลับมา จะมา อยู่ตรงนี้
    ตอนนี้ขอไปเป็นคนดีด้วยอาการอย่างโน้นอย่างนี้ไม่เลิกก่อนนะ( ติดสมถะ )

    รู้ลงปัจจุบัน รู้ตามความเป็นจริงเนี่ยะ รู้แล้ว รู้เลย งานทางธรรม มันจะต้อง มีรสว่ามีทางจบ
    เรื่องนั้นๆ ไป ที่ละส่วน ไม่กลับมาติดอีก [ หากไตรลักษณ์ญาณไม่สัมปยุติ
    แต่เป็นการ คิดเปรียบเทียบ(สัมมสนญาณ) มันจะกลับมา ต่อ หรือไปติดตัว
    เดิมแต่เปลี่ยนผัสสะนิดหน่อย เรียกว่า ลูบหน้าปะจมูก ขายพ้าเอาหน้ารอด
    หรือ โวหาร-ปริพาชก หรือ เก่งคิด-นักปรัชญา-ศาสดาอื่น ]

    ต่อให้เป็น การปราถนาพุทธภูมิ มันก็จะต้อง ประจักษ์ สุญญตา ทำให้
    เกิดความอาจหาญอย่างแรงกล้าว่า พบ ผลงาน คือ มีทิศทางไปสู่
    การสำเร็จ ได้ทุกขณะจิต ไม่ใช่ ป้อแป้ๆ กระปริดกระปรอย พลัดวัน
    ประกันพุ่ง อมนำมนต์ ฝังตะกรุด สักยันลายหมาแมว เอาก้อนขี้มาอัดเม็ด
    เลี่ยมใส่กรอบ อย่างโง่ๆ มาปะผุ ความไม่มี "สัจจ" วาจา ใน สุญญตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2014
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คนเรา หากมี จิตกตัญญู ออกมาจาก จิต อัน หาที่ตั้งไม่ได้ ไม่ใช่เพราะ กิเลส

    มันจะ มี สัจจาธิษฐาน ที่เต็มด้วยตัวเอง ไม่ต้อง อ้างใครหน้าสนสิบใส่ชฏา มาแต่ไหน
    มารับ สมอ้างคำอธิษฐานของ ผู้มีสัจจวาจา แต่อย่างใด
     
  3. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    เป็นดังนั้นครับท่านพี่ นิวรณ์

    ตอนนี้ขอตามดูเวทนาก่อนบ้างครับ ไม่มีความถนัดถนี่ ตอนนี้ก็ถือว่าได้โอกาส ก็ต้องบรรเลงกันไปให้เต็มสูบครับ

    ปีนี้นี่ก็เข้าไปจะ 5 เดือนแล้ว ยังยกไม่ขึ้นสู่วิปัสสนา ไม่แจ้ง ไม่แจ่ม ปีที่แล้วเวทนาเกือบถึงขีดสุดก็ให้มีอันต้องต้องละไป

    ขอบพระคุณท่านพี่ที่กรุณาสั่งสอนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2014
  4. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ทำให้ คลายออกหมด
     
  5. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207


    แล้วแต่ท่านจะคิดเถิดคะ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็ทิ้งไปก็ได้นี่คะ

    ตอนนั้นมันอยาก ตอนนี้อาจไม่อยากก็ได้แล้วนี่คะ

    ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนหรอกคะ

    ถ้าไม่เข้าไปรู้ด้วยตนเอง แล้วจะเข้าใจในสิ่งนั้นได้อย่างไรเนาะ

    เผอิญธรรมชาติให้มา ก็ตอบแทนกลับคืนให้เท่านั้นเองคะ

    เผื่อเป็นข้อคิดสำหรับใครบางคน

    เป็นธรรมดา โลกนี้มีสองสิ่งเสมอ ย่อมมีเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

    หากเราทำผิดคิดปั้นสรรแต่งเติม ธรรมชาติคงลงโทษเราเอง

    เพราะมันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยที่มีผลต่อตัวเอง

    มีแต่ว่า ต้องการให้สิ่งใด ก็ขอให้ได้รู้ธรรมนั้นด้วย

    และเห็นว่า สภาวะที่ได้รู้ ก็ได้มาแบบไม่ได้ตั้งใจ

    เหมือนจะให้ได้รู้ และทำอะไรสักอย่าง ก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร

    ตอนตั้งใจจะแลกเปลี่ยน เห็นความว่างในธรรมชาติ และ อีกหลายอย่าง

    ถึงตอนนี้ ..... คงไม่แล้ว ธรรมชาติ เขาอาจให้เราพูด แค่คนบางคนก็ได้

    ขอบคุณคะ ... รักนะ....ตัวเอง...:cool:
     
  6. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    .

    ขอสมควรเรียนเชิญท่าน หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ เสวนาปราศัยกับ น้องหญิง จิตยิ้ม กันตามสะดวกตามสบายครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2014
  7. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    งั้นแนะนำให้คุณ จิตยิ้ม หมั่นเจริญสติ เจริญมรรคมีองค์8 ต่อไปครับ
    สภาวะนี้ยังไม่ใช่สภาวะ.............

    ถ้าหากจะเกิดการรู้แจ้ง หรือ สภาวะที่จะสะบั้น "สักกายะทิฐิ"
    ขณะจิตก่อนหน้าวินาทีนั้น จิตจะเกิดเป็นปิติ เป็นกลาง รู้แบบตั้งมั่น มั่นคง
    รู้แบบกลางๆ ไปเห็นขันธ์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
    มีสภาพใดสภาพหนึ่ง มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ในไตรลักษณ์
    จนจิตเห็นแจ้งขึ้นมาเลยว่า ขันธ์ เป็นของ เกิด-ดับ หรือไม่เที่ยง หรือบังคับไม่ได้
    พอเห็นอย่างนี้ จิตเกิดญาณขึ้นมาถึงความว่าง จากความเป็นตัวตน
    (ขณะที่ว่านี้จิตเข้าไปเห็นภายในอย่างเดียว)
    หลังจากนั้นอากรของจิตที่เข้าไปเห็นความจริงนี้ ขอเว้นไว้
    ให้ปฏิบัติแล้วเข้าถึงเองครับ

    จากน้นจิตจะทวนออกมาเห็นโลก ทุกสรรพสิ่งมีสภาพเดียวกัน
    กับขันธ์ จิตปล่อยวางความยึดมั่นชั่วขณะ
    ขณะที่เห็นทุกสรรพสิ่งไปตามลักษณะสามอย่าง นี่ก็เป็นอีกญาณที่โสดาบัน
    สังโยชน์3 ขาดลงแล้ว

    สภาวะทั้งหลายไม่มีป้ายบอก
    แต่สิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้แจ้ง เป็นสิ่งเดียวกันทั้งสิ้น
    จะปฏิบัติมายังไง รวมลงตรงนี้ก่อน คือ เห็นไตรลักณ์ อย่างที่ คุณ AVATAAR ตั้งกระทู้ไว้
    เห็นไตรลักษณ์ จนจิตฟันธงเมื่อไหร่
    ถึงจะตกกระแส

    แต่ถามว่า จิตจะฟันธง เมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า "จิตตั้งมั่น เป็นกลาง" เมื่อไหร่
    เหตุที่จิตตั้งมั่นเป็นกลาง คือ การเจริญมรรคแปด อย่างเดียว

    ทุกคนต้องเข้า เช็คพ็อยท์ จุดแรกนี้ก่อน คือ เห็นแจ้งในไตรลักษณ์
     
  8. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
     
  9. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    ผมอ่านของคุณนิวรณ์ แล้วนึกถึงพระสูตรนี้เลย
    ที่พระพุทธองค์ อุปมาขันธ์5 ไว้

    ภิกษุ ท.! คนทั่วไปกล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท .! เพราะกิริยาที่
    แตกสลายได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้นแตกสลายได้ เพราะอะไร
    ? สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง, แตกสลายได้ เพราะ
    ความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความระหายบ้าง,แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด
    และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง, (ดังนี้เป็นต้น) ภิกษุ ท .! เพราะกิริยา ที่แตกสลายได้มีอยู่ในสิ่ง (เช่นนี้แล)
    ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป

    ภิกษุ ท.! แม่น้ำคงคานี้ ไหลพาเอา ฟองน้ำ ก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งมา,บุรุษผู้จักษุ (ตามปกติ) เห็น
    ฟองน้ำ ก้อนใหญ่ก้อนนั้น ก็พึงเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยกคาย เมื่อบุรุษ ผู้นั้นเห็น อยู่ เพ่งพินิจพิจารณา
    โดยแยบ คายอยู่, ก้อนฟองน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสาร
    มิได้ไป . ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในก้อนฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็
    ฉันนั้น คือ รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็
    ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม. ภิกษุเห็นรูปนั้นย่อม
    เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, รูปนั้น ย่อม
    ปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในรูปนั้น จะ
    พึงมีได้อย่างไร.


    ภิกษุ ท.! คนทั่วไป กล่าวกันว่า "เวทนา" เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะ
    กิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
    สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่ง
    ความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ

    ท.! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูก
    เรียกว่าเวทนา.
    อุปมาแห่งเวทนา

    ภิกษุ ท.! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน ), ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้นและแตกกระจาย
    อยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปรกติ) เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้น
    เห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, ต่อมน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏ
    เป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;ภิกษุ
    ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน
    หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม; ภิกษุ
    รู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบ
    คายอยู่, เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป ภิกษุ ท.!
    ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.
    อาการเกิดดับแห่งเวทนา
    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและเกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟ
    สองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิด
    จากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น, ย่อมดับ
    ไปเพราะผัสสะดับ, ดังนี้แล.


    ภิกษุ ท.! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า? ภิกษุ ท.! เพราะ
    กิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่า สัญญา . สิ่งนั้น ย่อมหมาย
    รู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีเหลืองบ้าง,
    ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้ เป็นต้น). ภิกษุ ท. !
    เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อมมีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสัญญา.
    อุปมาแห่งสัญญา
    ภิกษุ ท .! เมื่อเดือนท้ายแห่งฤดูร้อนยังเหลืออยู่, ในเวลาเที่ยงวันพยับแดดย่อมไหวยิบยับ . บุรุษ
    ผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นพยับแดดนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุคคลนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจ
    พิจารณาโดยแยบคายอยู่, พยับแดดนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง ของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่น
    สารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในพยับแดดนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท.! อุปไมย ก็ฉันนั้นคือสัญญาชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็
    ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่
    ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การบังเกิดขึ้นแห่ง) สัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อ
    ภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า
    และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.!ก็แก่นสารในสัญญานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.



    ภิกษุ ท.! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.!
    เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูปมีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล ) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้น
    ย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นรูป, ย่อม
    ปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็น
    สัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูป
    เพื่อความเป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่ง
    นั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
    อุปมาแห่งสังขาร

    ภิกษุ ท.! บุรุษผู้หนึ่งมีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่, เขาจึง
    ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า. เขาเห็นต้นกล้วยต้นใหญ่ ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังอ่อนอยู่ ยังไม่เกิดแกน
    ไส้. เขาตัดต้นกล้วยนั้นที่โคน แล้วตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบออก. บุรุษนั้น เมื่อปอกกาบออกอยู่ ณ ที่
    นั้น ก็ไม่พบ แม้แต่กระพี้ (ของมัน) จักพบแก่นได้อย่างไร. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปรกติ) เห็นต้นกล้วยนั้น
    ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, ต้นกล้วยนั้น
    ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า
    และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในต้น
    กล้วยนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิด
    หนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็
    ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) สังขาร
    ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดย
    แยบคายอยู่, สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.
    ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงมีได้อย่างไร.


    ภิกษุ ท.! คนทั่วไปกล่าวกันว่า “วิญญาณ” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะ
    กิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า
    วิญญาณ. สิ่งนั้นย่อมรู้แจ้ง ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้นย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง,
    ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความหวานบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง
    ซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็มบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง (ดังนี้เป็นต้น)
    ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูก
    เรียกว่า วิญญาณ.
    อุปมาแห่งวิญญาณ

    ภิกษุ ท.! นักแสดงกลก็ตาม ลูกมือของนักแสดงกลก็ตาม แสดงกลอยู่ที่ทางใหญ่สี่แยก. บุรุษผู้มี
    จักษุ (ตามปรกติ) เห็นกลนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา
    โดยแยบคายอยู่, กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ
    ท.! ก็แก่นสาร ในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ วิญญาณชนิด
    ใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
    ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง)
    วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบ
    คายอยู่, วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.
    ภิกษุท.! ก็แก่นสารในวิญญาณนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
     
  10. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ผมขอยกสภาวะธรรมที่มีคน หลังไมค์ มาถามผมในเว็บ Pantip นะครับ
    ลองอ่านสภาวะธรรมนี้ดูครับ
    มีสภาวะ การบรรลุธรรมอยู่ในนั้น
    ใครที่เคยเจอ สภาวะ เช่นเดียวกันนี้ก็จะพอที่จะระลึกถึง "ช่วงเวลานั้นได้"
    ซึ่งเท่าที่ผมฟังมา พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ท่านจะกล่าวถึงช่วงที่บรรลุธรรม
    แต่ท่านไม่ได้กล่าวตรงๆ แต่ถ้าคนฟังได้เกิดสภาวะเช่นนั้นเหมือนกัน
    มันจะระลึกไปถึงวินาทีนั้นได้เองครับ


    อันนี้ตัวอย่าง ผมขออนุญาติเจ้าของข้อความนี้แล้วครับ
    แต่ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ

    จากที่เคยปฏิบัติเองโดยการนั่งสมาธิวันละ 2 ชั่วโมง เช้า เย็น จนกระทั่งลมหายใจดับหายไปหลังจากออกสมาธิแล้วเกิดตัวผู้รู้ขึ้นเองในจิต อัตโนมัติ

    ทำให้เห็นสภาวะความโกรธตอนที่มีรถขับปาดหน้า จิตมันเห็นแว๊ปเดียวเหมือนกระพริบตาว่าความโกรธเป็นแค่คลื่นพลังงานมีลักษณะ เหมือนดวงไฟวาบอย่างรวดเร็วและดับลงที่กลางอก เหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วมากทันทีที่รู้ทันความโกรธก็ดับไปอย่างรวดเร็ว

    เช่นเดียวกันตอนที่กำลังนั่งสมาธิเผลอจะสัปหงก จิตก็ไปเห็นก้อนดำๆ เท่ากำปั้น ทันทีที่เห็นก้อนดำๆ นั้นก็มีแสงผ่าออกจากก้อนดำ ๆ ที่กลางอกกลายเป็นแสงสว่าง ตอนนั้นทำให้ทราบว่าจิตไม่ใข่เรา ความโกรธ ความง่วงไม่ใช่เรา แต่ยัง งงๆ กับสภาวะ เพราะเป็นการฝึกด้วยตนเองไม่มีครูอาจารย์ให้สอบถาม แต่เหตุเกิดจากจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ทำให้ตัวผู้รู้แยกออกมา ซึ่งตัวผู้รู้นี้คงสภาพอยู่แค่เพียงประมาณ 7 วันเท่านั้นเอง

    ช่วงที่เกิดตัวผู้รู้เกิด ทำให้เห็นสภาวะอื่น ๆ ตามเหตุปัจจัยอีกเช่น

    - มีสติรู้ตัวตลอดเวลา มันรู้ชัดมาก ๆ ในทุกอิริยาบทที่ร่างกายเคลื่อนไหว
    - รับรู้ถึงสภาวะการเต้นของหัวใจและชีพจรซึ่งดังมาก
    - รับรู้ถึงฟันกระทบกันแล้วรู้สึกสะเทือนไปทั้งปาก
    - เห็นสภาวะว่า แขน ขา ไม่ใช่เรา โดยรับรู้ว่าเป็นท่อน ๆ แข็ง ๆ (ท่อนอะไรเนี๊ยะ) สภาวะธรรมดังกล่าวเป็นการเห็นจากการทำสมาธิแต่ตอนนั้นผู้ปฏิบัติยังไม่มี สัมมาฐิทิที่ถูกต้อง ยังคิดว่าสุข ทุกข์ มาจาก ผู้อื่น หรือ เราทำเอง

    หลังจากนั้นหลายปีมีเหตุปัจจัยได้มีโอกาสมาที่วัดผาซ่อนแก้ว จึงเข้าใจเรื่องของปฏิจจสมุปบาทและสัมมาฐิทิมากยิ่งขึ้น ช่วงที่ปฏิบัติที่วัดได้ปิดวาจาเป็นเวลา 14 วันทำให้เห็นสภาวะธรรมดังนี้

    - ขณะที่ทบทวนหัวข้อสังโยชน์ 3 ว่า มีความใกล้เคียงกับตนเองบ้างหรือเปล่า จึงนั่งอ่านทั้ง 3 ข้อและนั่งทำสมาธินึกตามแต่ละข้อ จิตมันอ๋อขึ้นมาว่า.....มันจะมีตัวเราไปได้ไง มันไม่มีตัวเรา เป็นแค่สภาวะธรรมเกิดดับ ตอนนั้นร่างกายเกิดสภาวะสะท้านทั้งตัว ต่อเนื่องด้วย น้ำตาไหลอาลัยอาวรณ์ที่รู้ความจริงว่าไม่มีตัวเรา

    – ได้ เฝ้าดูการทำงานของอายตนะ 6 ทำให้เห็นสภาวะที่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำงานเอง โดยที่เราเป็นผู้ดู จิตมันอ๋อขึ้นอีกรอบว่า มันทำงานได้เองอย่างนี้ บังคับบัญชาไม่ได้ เห็นกระแสปัจจัยที่เกิดขึ้นว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ถึงมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้นเช่นกัน ไม่มีตัวตนด้วยตนเอง จึงไม่มีตัวเราในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น

    -เห็นการทำงานของใจเราว่าเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ เมื่อมีเหตุ หรือมีผัสสะมากระทบก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยนั้น จึงตระหนักได้อย่างชัดเจนว่า เวทนาเกิดจากผัสสะที่มากระทบโดยผ่านอายตนะทั้ง 6 จริงๆ ตอนที่เห็นการทำงานเองของขันธ์ 5 น้ำตาไหลอีกรอบ รู้สึกขอบคุณพระพุทธเจ้าที่ท่านส่งสั่งสอนธรรมะให้กับสัตว์โลก ทำให้เรามีโอกาศได้ฟังธรรมและเห็นสภาวะการทำงานของขันธ์ 5 จริงๆ ไม่ใช่ว่าโน้มเชื่อจากคำสอนเหมือนตอนวันแรกที่เรียนและท่องจำจากสายปฏิจสมุ ปบาทคะ

    - ตอนนี้มั่นใจแล้วว่าทางสายนี้เป็นทางสายเอกที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ได้จริงๆคะ

    ถ้าเห็นจากการภาวนาว่ากายนี้ ใจนี้ไม่ใช่เราแล้ว เห็นความไม่เที่ยง ความแปรปรวน เนื่องจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ จนใจยอมรับแล้ว คือ การตัดสังโยชน์ข้อแรกได้แล้วใช่มั้ยคะ

    ขอบคุณคะ
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อิมสมึ สติ อิท โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    อิมสสุปปทา อิท อุปปชชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    อิสมึ อสติ อิท น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
    อิมสส นิโรธา อิท นิรุชฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ ( ด้วย)

    . อวิชชาปจจยา สงขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    สงขารปจจยา วิญญาณ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    วิญญาณปจจยา นามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    นามรูปปจจยา สฬายตน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    สฬายตนปจจยา ผสโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    ผสสปจจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เวทนาปจจยา ตณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    ตัณหาปจจยา อุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
    อุปาทาปจจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    ภวปจจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    ชาติปจจยา ชรามรณ เพราะชาติเป็ยปัจจัย ชรามรณะจึงมี
    . อวิชชย ตเวว อเสสวิราคนิโรธา สงขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
    สงขารนิโรโธ วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    วิญญาณนิโรโธ นามรูปนิโรโธ เพราะวิยญาณดัดับ นามรูปจึงดับ
    นามรูปนิโรโธ สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนจึงดับ
    สฬายตนนิโรโธ ผสสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับ ผัสสะจึงดับ
    ผสสนิโรโธ เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เวทนานิโรโธ ตณหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    ตณหนิโรโธ อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    อุปาทานิโรโธ ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    ภวนิโรโธ ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    ชาตินิโรโธ ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชารามรณะ (จึงดับ)

    ��ʹҾط�

    ประโยชน์ที่ได้ ไม่ปฏิเสธสมมุติ รู้เหตุรู้ผล รู้บาปบุญ ชาตินี้ชาติหน้า..
    รู้ทาง(อริยมรรค)ในการดับเหตุปัจจัย เหนือสมมุติ คือไม่เข้าหา ย่อมหลุดพ้น
    และรู้ว่าถ้ายังอยากจะเข้าหาอะไร(บารมี) ก็จงสร้างเหตุปัจจัยนั้น ตามปฏิปทาและความมุ่งหมาย
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ่านดูแล้ว ก็ยังไม่เต็มนะ ยังไม่รอบอยู่นั่นเอง
    ยังขาดตกบกพร่องอยู่นั่นเอง แล้วก็ยังไปวนเวียนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ ไม่จบ
    นี่เขาเรียกว่า ยังไม่เห็นสังขารตัวจริง มันหลอกให้เชื่อโน่นเชื่อนี่อยู่ตลอดเวลา
    เห็นแต่สังขารข้างหน้า สังขารข้างหลังไม่เห็น

    นึกถึงคำครูบาอาจารย์ ท่านเคยกล่าวไว้เป็นปริศนาธรรมว่า
    ผู้ที่จะบรรลุธรรมได้นั้น จะต้องเห็นท้ายทอยของเจ้าของให้ได้เสียก่อน
    อันนี้เป็นความจริงเลยทีเดียว ทำอย่างไรมันถึงจะเห็นท้ายทอยของเจ้าของได้

    อันนี้ขอฝากเป็นการบ้านให้ทั้งผู้เอามาโพสต์ และผู้ถูกหยิบยกเอามาโพสต์ด้วยนะ
    ถ้างง สงสัยให้ตัดสงสัยออกไปเสียก่อน อย่าเพิ่งไปคิดมาก
    ยิ่งสงสัยยิ่งค้นยิ่งคิด ยิ่งโดนหลอกไม่จบไม่สิ้นอยู่นั่นเอง

    กรรมฐานต้องสิ้นคิดให้เป็น
     
  13. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนาคะ

    ได้อ่านซ้ำไป ซ้ำมาหลายรอบ แล้วนำไปเทียบเคียงกับสภาวะ การมีดวงตาเห็นธรรม
    ของท่าน รตนญาโน ภิกขุ ที่ได้เขียนบรรยายไว้อย่างละเอียดมาก และคล้ายกันมากคะ

    โดยเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ มีจิตพุ่งออกมาจากส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย
    เมื่อจิตเดิมจิตเดิมหลุดพ้นออกมาจากสภาวะการปรุงแต่งแล้ว เข้าสูสภาวะ
    ของจิตเดิม คือ โปร่งโล่ง หรือเข้าถึงธรรม จะพบแสงสว่างที่ไม่เคยพบเห็น
    มาก่อน ซึ่งแสงสว่างนี้ไม่ได้มองเห็นด้วยตาหรือด้วยใจ ซึ่งเป็นแสงสว่าง
    ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของจิต

    โดยเฉพาะการทำลายความสงสัยเรื่องต่าง ๆ

    ความเห็นในสมมุติบัญัตติของโลก ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อจะไม่ทำลาย
    สมมุติบัญัตติในตัวเราเอง หรือให้ผู้อื่นเดือดร้อน

    ความเห็นเกี่ยวกับตัวตน ว่าสิ่งทั้งหลายล้วนมาจากเหตุและปัจจัย ต่อเนื่อง
    จากไม่มีตัวตนถาวร เมื่อมีเหตุปัจจัยส่งมา มีเหตุเกิด ผลก็เกิด
    มีเหตุดับ ผลก็ดับ ย่อมส่งผลต่อเนื่องกัน เป็นสายวนไปวนมา
    คนที่หลุดพ้นสภาวะปรุงแต่งแล้ว จะเห็นตัวนี้ชัดเจนมาก ไม่เหมือนการเจริญสติ
    เพราะเห็นแบบนี้ สภาวะของขันธ์ถูกปรุงแต่งจากการตัดขาดแล้ว
    หมดความสงสัยและยอมรับตนเองเข้าถึงธรรมแล้ว เมื่อสภาวะเข้าสู่ปกติ
    เริ่มมองเห็นทางเดินชีวิตแล้ว จะเดินไปแนวไหน

    หนังสือเล่มนี้บรรยายสภาวะอย่างละเอียดเลยคะ และมีวิธีการปฏิบัติตน
    หลังจากหลุดพ้นสภาวะนั้นแล้ว เขียนอธิบายไว้ครอบคลุมจนถึงสุดทางเดินเลยคะ

    ใครที่สนใจหาอ่านเป็นคู่มือ (โดยเฉพาะผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว)
    น่าจะดีนะคะ

    และเป็นหนังสือที่เก่ามากคะ ถ้าหาไม่พบยินดีถ่ายเอกสารให้คะ

    จึงขออนุโมทนาคะ กับท่านผู้นั้นด้วยคะ

    และกับท่าน หมัดเทพเจ้าดาวเหนือด้วยคะ ที่นำมาลงให้นะคะนะคะ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การเข้าหา กัลยาณธรรม ต้องหาให้ถูก ถ้า ไปเข้าหาผิด สามัญผล ก็ไม่ต้องไปถามถึง

    กัลยาณธรรม ที่ดี จะสอนให้ อิ่มเอมกับการฝึก ที่รู้เอง เห็นเอง โดยไม่ต้อง
    เอาไปเปรียบเทียบ เอาภายหลังการเห็นธรรม แล้วจึง ฮานาก้า ปีรามิดของข้า !!!


    กัลยาณธรรม ที่ดี จะสอนให้ พยากรณ์ตนได้ เป็นพยานตนได้ มีสัจจเต็มเปี่ยม

    กัลยาณธรรม ที่เลว ชั่วชาติ พยากรณ์ตนไม่ได้ จะต้องอาศัย การวาดภาพ
    วาดมุม วาดวิธีการเปรียบเทียบ ทิ้งเอาไว้ให้ เข้ามา เปรียบเทียบ เทียบ
    เคียง แล้ว ฮานาก้า ตามๆ กันไป ตายเปล่า
     
  15. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ผมว่าความจริงไม่ใช่เรื่องคิด ไม่คิดอะไรมั้งครับ
    ความจริง คือ ตนเองไม่ได้เกิดสภาวะนั้นด้วยตนเอง
    เลยไปคิดว่า เค้าคิดเอา
    ครูบาอาจารย์ก็เคยบอกเอาไว้ใช่ไหมครับว่า ปุถุชน ไม่มีทางรู้ความเห็นอริยะ
    ข้อนี้เลยข้ามไปดีกว่าครับ

    อยากถามคุณ Tboon ครับ บอกหน่อยครับ ว่าโพสข้างบน ตรงไหนเป็น
    ขณะบรรลุธรรม ตอบได้ไหมครับ
    (อย่าเพิ่งไปเข้าใจผิดล่ะครับว่า ข้อความนั้นเป็นของผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว)

    ผมมีตัวอย่างที่อีกอันเป็นของครูบาอาจารย์ แต่ท่านไม่ได้กล่าวว่า คำพูดตรงนั้นเป็น
    การบรรลุธรรม แต่มันมีซ่อนอยู่ในนั้น
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=0kGxrfgyjLE]หลวงพ่ออำนาจ โอภาโส คอร์สตัดภพตัดชาติ รุ่น 3 วันแรก - YouTube[/ame]


    ถ้าทราบรบกวนเล่าให้ฟังด้วยครับ ถ้าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรครับ เป็นอันตกไป

    อีกอย่างคุณ Tboon คิดว่าต้องเต็มแค่ไหน ปฏิบัติแค่ไหน จึงจะบรรลุธรรมได้
    เพราะความจริงมันไม่ได้เกี่ยวกับต้องรู้ให้ลึก รู้ให้รอบ รู้ให้เยอะ ฝึกนานๆ ถึงจะเห็นแจ้งได้
    แต่มันอยู่ที่รู้ถูก และปัจจัยถึงพร้อม มันอาศัยแค่นั้น
    เห็นด้วยไหมครับ

    คำกล่าวของคุณ Tboon ดูเหมือนจะกล่าวว่าตนรู้มากกว่า ภูมิธรรมสูงกว่า
    งั้นที่เหลือต้องให้คุณ Tboon อธิบายเพิ่มแล้วครับว่า จริงๆ ขณะที่จิตละสักกายทิฐิ
    เป็นอย่างไรครับ จะรออ่านครับ
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ไม่เห็นมีอะไรนี่ครับ
    ก็เป็นแค่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแค่นั้นเอง
    บรรลุอะไร ยังไง ทำไม ไปหลงมันทำไม ทันมันไหม
    สังขารขันธ์ครอบหัวอยู่นั่นทั้งหมด ครอบโลกไว้ทั้งหมด
    ไปหลงอุปาทานขันธ์มันทำไม ไม่เห็นใช่มั้ย ถึงถามแบบนี้
    อุปาทานขัีนธ์ตัวเบ่อเร่อนั่น นั่นแหละตัวทุกข์ล่ะ เห็นไหม


    เต็มแค่ไหน ก็แค่เริ่มต้นนี่แหละ
    ถ้าไม่เห็นทุกข์อุปาทานขันธ์ให้รอบ
    ไม่เห็นหัวตัวอุปาทานขันธ์ ก็อย่าเพิ่งไปหวังว่าจะก้าวต่อไปได้
    ก้าวแรกนี่ต้องเห็นมันให้ได้จริง ๆ เสียก่อน
    เห็นให้มันหมด ให้มันถูกตัวจริง ๆ
    ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะโดนตัวซ้อนมันหลอกอยู่ร่ำไป บรรลุแล้ว ๆ ๆ อยู่นั่นเอง

    พูดไปพูดมาก็มาติดอยู่ที่เก่า มาย้อนถามอยู่เรื่องเดิม ๆ เหมือนเคย
    "ขณะที่จิตละสักกายทิฏฐิเป็นอย่างไร"
    จะมาเอาถ่านเอาแก๊สอยู่แต่ตรงนี้ เนี่ยมันถึงหลงอยู่นี่ไง
    ไปติดใจกับมันทำไม เกิดดับไปแล้วทั้งนั้น ก็แค่เกิดดับ ๆ
    มัวติดใจอยู่ไม่มีประโยชน์หรอก อุปาทานมันขวาง เดี๋ยวก็ไปไม่รอดหรอก
     
  17. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    พระธรรมเทศนาเตือนสติสำหรับผู้ที่ได้ยินได้ฟังอย่างแท้จริง เพื่อประโยชน์

    ของผู้นั้น แต่ว่าจิตใจของคน เป็นไปตามการสะสม สะสมมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะได้

    ฟังพระธรรมที่พระองค์ตรัส แต่เพราะกิเลสที่สะสมหมักหมมอยู่ในจิตมาอย่างเนิ่นนาน

    นี้เอง ทำให้ไม่มีความเลื่อมใส ไม่เกิดศรัทธาที่จะน้อมรับฟังด้วยดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

    กิเลสมีกำลังที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) ถ้ามี

    ความเห็นผิดแล้ว วาจาก็ผิด การกระทำทางกายก็ผิด ทุกอย่างย่อมผิดไปหมด

    ความเห็นผิด จึงเป็นอันตรายมาก ถ้าความเห็นของแต่ละบุคคลคลาดเคลื่อนไป

    ผิดไป ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทุกอย่างก็จะผิดไปด้วย โดยที่สิ่งที่ผิด ก็จะเห็นว่าถูก,

    สิ่งที่ถูกก็จะเห็นว่าผิด นี่แหละคือความเห็นผิดซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้

    กระทำอกุศลกรรมประการต่าง ๆ มากมาย เป็นไปเพื่อความเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย

    โดยประการทั้งปวง ไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ เลยทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น

    การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม มีประโยชน์อย่างยิ่ง ขณะที่ฟัง

    แล้วเข้าใจ ขณะนั้นกุศลธรรมเจริญขึ้น ศรัทธา ปัญญา เป็นต้น เกิดขึ้นเป็นการขัดเกลา

    ละคลายความเห็นผิด รวมถึงอกุศลธรรมประการอื่น ๆ ด้วย ขณะที่กุศลธรรมเกิด

    อกุศลธรรมจะเกิดร่วมด้วยไม่ได้ และความเห็นผิดจะถูกดับได้อย่างเด็ดขาดเมื่ออบรม

    เจริญปัญญาถึงความเป็นพระโสดาบัน เมื่อนั้น ความเห็นผิด จะไม่เกิดขึ้นอีกเลยใน

    สังสารวัฏฏ์ ซึ่งจะต้องเริ่มสะสมอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูก ตั้งแต่ในขณะนี้ ครับ สนทนาธรรมบ้านธัมมะ พระท่านว่าอย่างนั้น
     
  18. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ Tboon ตอบว่า "ไม่เห็น" อันนี้ตอบแก้เขิลหรือเปล่าครับ

    ความจริง คือคุณ Tboon "ไม่เห็น" หรือ "ไม่รู้" กันครับ

    เรื่องมีอยู่ว่า
    ผมสนทนากับเพื่อนสามคน
    เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เค้าไปเที่ยว ระยอง มา
    เค้าเห็นว่าที่นั้น "มีหุ่นพระอภัยมณี นางเงือก และผีเสื้อสมุทร " เห็นทะเล
    ที่นี้เพื่อนอีกคนก็พูดแทรกมาว่า "เฮ้ย!! นั่นไม่ใช่ระยองนะ"
    ที่ระยองต้องมี "อนุเสาวรีย์ชัยฯ ต้องมีสะพานแขวน" ต่างหาก
    ทั้งๆที่เพื่อนที่พูดขัดนี้ ไม่เคยไป "ระยอง"

    ทีนี้กลับมาเรื่อง การตัดสังโยชน์ "สักกายะทิฐิ"
    ขณะบรรลุธรรม คุณTboon บอกไม่เห็น
    แปลว่า คุณ Tboon ต้องรู้ว่าขณะบรรลุธรรมเป็นอย่างไร
    ถึงได้ตอบได้ว่า "ไม่มี ไม่เห็น"
    คราวนี้ถ้าคุณ Tboon เห็นว่าผมอวดดี
    โปรดแสดงออกมาให้ "ผมหงายเงิบไปเลย"
    ว่า ตอนนั้นเป็นอย่างไร
    แต่ถ้าไม่ได้ ผมว่า "ไม่ต่างจากเรื่องที่ผมเล่า"


    ความจริงคุณTboon "ต้องย้อนดูที่สังขารตนเอง"
    ที่ปรุงแต่ง เดา ว่า ผมเป็นนั่น เป็นนี่
    ยึดติดกับการบรรลุธรรม
    ตรงไหนที่ผมกล่าวอย่างนั้น ลองดูอีกครั้งครับ
    มันเป็นแค่พูดคุยกันถึง "สภาวะหนึ่ง"
    ของคนที่เจอสภาวะเดียวกัน คุยกัน
    เรื่องมันมีแค่นั้นครับ

    คราวนี้คุณ Tboon กล่าวถึง "ก้าวแรก"
    ตรงนี้ไว้ขู่เด็กหรือครับ
    ในเมื่อ ยังไม่ "เห็นทุกข์ " "เห็นไตรลักษณ์"
    ยังไม่เห็นว่าที่ทำๆกันอยู่ ไอ้ที่นั่งสมาธิ เดินจงกลมนี่
    ทำไปทำไม แล้วอุปาทานจะเห็นกันหรือครับ
    กระทู้นี้ น่าจะเป็นเรื่อง การเห็น ไตรลักษณ์ มากกว่า
    ตรงนี้ต้องเห็นให้ได้ก่อน
    แต่ถ้าคุณ Tboon จะคุยกับผมเรื่อง "อุปาทานในขันธ์" ก็ยินดีครับ


    สุดท้ายก็อยากให้แสดงให้ผมประจักษ์สักครั้งครับ

    ความจริง คุยกันแบบตรง ไปเลย ครับ
    ที่ผมถามซ้ำ เพราะผมยังไม่ได้คำตอบ จากคุณ Tboon ไงครับ
    รู้ ก็บอก รู้
    ไม่รู้ ก็บอก ไม่รู้
    ผมจะได้ไม่ต้องถามซ้ำอีก
    นักปฏิบัติมันต้องรับความจริงให้ได้อันดับแรกก่อนครับ

    มีอีกข้อเสนอครับ
    ถ้าคุณ Tboon รู้เรื่อง อุปทานในขันธ์
    แน่นอนว่า ต้องรู้ ปรมัตถธรรม
    งั้นไปช่วยแก้ความเห็นผิด ที่คนอื่นเข้าใจ
    ในคำสอน "ท่านพุทธทาส" ผิดหน่อยครับ

    เพราะเรื่องที่ท่าน สอน มันเหนือสมมุติ เหนือจากความเป็นตัวตน
    ทั้งสิ้น
    อย่างทราบเหมือนกันว่า คุณ Tboon
    มองคำสอน ของ ท่านพุทธทาส ออกหรือไม่ครับ
    ถ้ามองไม่ออกอย่าเพิ่ง มาพูดคุย เรื่อง อุปาทานในขันธ์เลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤศจิกายน 2014
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    สภาวะธรรม คือ อะไร

    สภาวะ คือ สภาพที่เป็นอยู่

    ธรรม คือ สัจจะ ความจริงของธรรมะ หรือ ธรรมชาติ

    การเห็นสภาวะธรรม ก็คือ การไปรู้ เข้าไปเห็น ความเป็นจริงของตัวเอง
    ที่เกิดขึ้น ในสภาวะธรรม ของ กายใจว่ามันเป็นเช่นไร

    แต่ละคนอาจจะประสบพบเจอแต่ละเรื่องที่ไม่เหมือนกัน
    แต่ที่เหมือนกัน เมื่อเจอแล้วและเข้าใจ ผลจะเป็นอย่างไร เขาคนนั้น
    จะรู้และเข้าใจด้วยตนเองคะ เพียงแต่แลกเปลี่ยนกันว่า แต่ละคนประสบกับความจริง
    กันมาอย่างไร

    จริง คืออะไร คือ ความจริงที่เห็นกันอยู่ รู้กันอยู่ ว่าที่ตนเองพบมันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ

    สมมุติบัญัญัติ ก็คือ ความจริงในสมมุติบัญญัติ

    ปรมัตถสัจจะ ก็คือ ความจริงของปรมัตถ์สัจจะ

    และ ความจริงที่แท้จริงของธรรมะ ก็คือ การไม่มีอยู่จริงของสรรพสิ่งใด ๆ

    ************
    ธรรมะที่แท้จริงไม่มีธรรมะ

    ไม่มีธรรมะนั่นแหละ คือธรรมะ

    ปัจจุบันถ่ายทอด ไม่มีธรรมะแล้ว

    ธรรมะจะเป็นธรรมะ ไปได้อย่างไรกัน

    โดย รัตนญาโนภิกขุ
    *********************

    เลยเข้าใจยอรับสภาพในความจริงของแต่ละคนคะ

    ความจริงของเขา ก็คือ เป็นของเขา

    ความจริงของ ก็เป็นของเรา

    ถ้าเราฟังแล้ว รับรู้และเกิดความเข้าใจได้ ทำให้เราพบความจริงในตัวเรา

    และทำให้เราเกิดปัญญา

    จะไม่ปฏิเสธในทันทีเลยว่า "นั่นไม่ใช่ความจริง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2014
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ทั้งหมดนั่นแหละ
    อย่าไปหวั่นไหวกับมัน เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ๆ ๆ ๆ
    มองอุปาทานที่มีให้ออก มีหรือไม่มี
    เห็นหรือไม่เห็น เข้าใจหรือไม่เข้าใจ

    เวลาหิวข้าวมากกินอะไรก็อร่อย
    อากาศร้อนอบอ้าวมาก เหงื่อตก
    พอได้เป่าพัดลมสักหน่อยก็เย็นสบาย
    ยิ่งได้แอร์เย็น ๆ ด้วยยิ่งสบายใหญ่เลย

    คนที่เก็บกดมานาน พอมีโอกาสได้ระบาย คำพูดก็พรั่งพรู
    ความทุกข์ยิ่งทุกข์มาก เวลาสุขก็ยิ่งสุขมาก
    คนฟุ้งซ่านมาก ๆ เวลาสงบจะรู้สึกสงบมาก
    นี่มันเป็นของมันอย่างนั้น

    อะไรที่ไม่อยากได้ ถึงได้มาก็ไม่รู้สึกอะไร เฉย ๆ
    ยิ่งมีอุปาทานมาก ๆ ว่าไม่ต้องการ ยิ่งได้มายิ่งไม่พอใจใหญ่
    เช่นโรคระบาด โรคติดต่อ

    เห็นอะไรบางอย่างหรือยัง เห็นทุกข์หรือยัง
    ถ้ายัง ค่อย ๆ ดู รู้ตามความเป็นจริงไปเรื่อย ๆ ก่อนก็แล้วกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...