ข่าวดีที่ข่าวร้าย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 9 ตุลาคม 2014.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--> [FONT=&quot]“ปาฐกถาธรรม” โดยพระธรรมปิฎก (พระราชทินนามในขณะนั้น ปัจจุบันที่พระพรหมคุณาภรณ์) (ป.อ.ปยุตฺโต) เนื่องในโอกาสที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพแสดงมุทิตาจิต...เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๘ ชื่อหนังสือ “สถานการณ์พระพุทธศาสนา กระแสไสยศาสตร์” [/FONT]



    เข้ากับสถานการณ์สังคมพุทธยังไง ติดตามดู

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]-->
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตอน “ข่าวร้ายแบบนี้ ก็คือข่าวดี ที่ควรรีบใช้”

    เวลานี้ ทุกท่านย่อมสนใจข่าวคราวความเป็นไปในวงการพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะคือ เรื่องข่าวร้ายเกี่ยวกับความประพฤติของพระสงฆ์ที่มีต่อเนื่องตลอดมาเป็นเวลาประมาณ ๑๐ ปีแล้ว พอระลอกโน้นผ่านไป ยังไม่ทันเสร็จสิ้น ระลอกใหม่ก็เกิดขึ้นอีก และไม่ทันไรเดี๋ยวก็มีมาอีก ข่าวร้ายได้ตามติดกันมาเรื่อยๆ

    ข่าวเหล่านี้ สั่นคลอนความรู้สึกของพุทธศาสนิกชน และความรู้สึกของคนไทยโดยทั่วไปจนกระทั่งมีการใช้คำว่า วิกฤตศรัทธา หมายความว่า ชาวพุทธเราเริ่มมีความรู้สึกไม่มั่นใจในพระพุทธศาสนา โดยเฉเพาะคือในพระสงฆ์ จนอาจจะเสื่อมความเชื่อความเลื่อมใสไปได้

    ข่าวที่พูดถึงเหล่านี้ ถือว่าเป็นข่าวร้าย แต่เมื่อมีใครมาถามกระผม ก็จะตอบว่า มันเป็นทั้งข่าวร้ายและข่าวดี
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ข่าวร้ายนั้นก็เห็นชัด รู้กันอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบาย แต่ที่ว่าเป็นข่าวดีนั้นเป็นอย่างไร ที่ว่าเป็นข่าวดีนั้นเป็นไปโดยมีเงื่อนไข หมายความว่า ถ้าเรารู้จักถือเอาประโยชน์จากข่าวเหล่านี้ก็กลับดี เพราเป็นโอกาสที่จะสร้างสรรค์ ทำไมจึงว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างสรรค์ทำให้เป็นข่าวดีได้ เพราะข่าวที่รุนแรงอย่างนี้เป็นสัญญาณเตือนภัย และเป็นเสียงปลุกที่จะทำให้ชาวพุทธตื่นขึ้นมา แล้วก็สำรวจดูตัวเองว่า สิ่งที่เราได้ประพฤติปฏิบัติตลอดจนเชื่อถือกันมา ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนานั้น ถูกต้องหรือเปล่า เป็นพุทธศาสนาจริงหรือไม่ ทำไมจึงข่าวคราวพระสงฆ์เป็นอย่างนี้ ถ้าพวกเรานับถือและปฏิบัติถูกต้องก็ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ มีอะไรผิดพลาด ถ้ารู้ตัวว่ามีอะไรผิดพลาดเราก็จะได้แก้ไข

    ถ้าเราถือเอาประโยชน์อย่างนี้ได้ ข่าวร้ายก็กลายเป็นข่าวดี เพราะทำให้เราตื่นขึ้นมาและทำให้เกิดการแก้ไขปรับปรุง ดีกว่าจะไม่มีข่าวอย่างนี้ เพราะถ้าไม่มีข่าวอย่างนี้ หากว่าเรามีความเชื่อ และการประพฤติปฏิบัติที่ผิดอยู่แล้ว เราก็จะหลงผิดต่อไป เมื่อหลงผิดต่อไปโดยไม่รู้ตัว ในที่สุดความเสื่อมก็จะมาถึง กลายเป็นความหายนะ และความพินาศเหมือนกับคนที่หลบไหลอยู่ถูกกระแสน้ำพัดพาจนกระทั่งไหลตกเหวไปเสียก่อน เลยตายโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าหากว่าในระหว่างที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปนั้น ไปสะดุดอะไรเข้า ทำให้ตื่นขึ้นมา ก็จะตะเกียกตะกายออกจากกระแสน้ำนั้น แม้จะบาดเจ็บบ้าง ก็ยังอาจจะเอาตัวรอดฟื้นคืนชีวิตได้ จึงเป็นประโยชน์

    เพราะฉะนั้น เมื่อมองดูเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ถ้าเรามีโยนิโสมนสิการ รู้จักคิดพิจารณา ก็หาประโยชน์ ได้จากสถานการณ์นั้น สามารถทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดีได้ เพราะฉะนั้น ข่าวร้ายจึงกลายเป็นข่าวดีได้ถ้าชาวพุทธเรารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยก็ทำให้เราตื่นขึ้นมา แต่ถ้าเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังหลับกันต่อไป ไม่แก้ไข ถ้าอย่างนั้นก็น่าเสียใจ ว่าข่าวร้ายนั้นจะเป็นข่าวร่ายโดยสมบูรณ์ และจะนำมา ซึ่งข่าวร้ายยิ่งๆขึ้นไปกว่านี้อีก เป็นอันว่าตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่ชาวพุทธควรจะได้ตื่น และลุกขึ้นมาแก้ไข
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ๓ หลักการต่อไป สังเกต "ธรรม, กรรม, วิริยะ, สิกขา" สัมพันธ์กันยังไง (นี้หลักการที่ ๑)

    ตอน “จากเทพ สู่ธรรม”

    เมื่อพูดถึงเรื่องข่าวร้ายเหล่านี้ โดยโยงไปหาความเชื่อถือ และความประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธ ก็เลยจะขอถือโอกาสกล่าวถึงหลัก การ หรือหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาสัก ๓ ข้อ โดยเอามาเป็นบทตั้ง สำหรับสำรวจว่า เวลานี้หลักการเหล่านี้ที่ถือว่าเป็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนานั้น เรายังเชื่อถือถูกต้องและปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ และพิจารณาโดยสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอพูดถึงหลักการ ๓ อย่างนั้นก่อน

    หลักการที่ ๑ คืออะไร ขอย้อนกลับไปพูดถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา ใครๆ ก็รู้ว่าพระพุทธศาสนาเกิดในอินเดีย ที่เรียกว่า ชมพูทวีป และเกิดนานแล้วเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อนโน้น เรามาย้อนดูภูมิหลัง คือ สภาพพื้นเพของสังคมอินเดีย ก่อนที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร และทำไมพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น

    ชาวอินเดียนั้นแต่เดิม นับถือศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อถือและหลักปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลครอบงำสังคมอินเดีย ทั้งหมด ประชาชนถูกสอนให้มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า คือ พระพรหม ผู้สร้างโลก และสร้างสรรค์บันดาลชะตากรรมของมนุษย์ทั้งหลาย สังคมมนุษย์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นถูกกำหนดโดยองค์พระผู้เป็นเจ้า คือ พระพรหม ให้แบ่งกันโดยชาติกำเนิดเป็นชั้นต่างๆ เรียกว่าวรรณะ ๔ เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นตามธรรมชาติ

    ความเชื่อในอำนาจดลบันดาลของ เทพเจ้าต่างๆ ทำให้คนในชมพูทวีปนั้น หวังความอยู่รอดปลอดภัย และโชคลาภความสุขสิ่งที่ที่ปรารถนาจากการดลบันดาลของเทพเจ้า เมื่อหวังผลประโยชน์ความสมปรารถนาจากอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้า ก็ต้องอ้อนวอน ในการอ้อนวอนก็ต้องเอาอกเอาใจ ชาวอินเดียจึงได้พยายามเอาอกเอาใจเทพเจ้าทั้งหลาย โดยประดิดประดอยวิธีการเอาอกเอาใจต่างๆ ขึ้นมามากมาย อย่างที่เรียกว่าเป็นการเช่นสรวงอ้อนวอน

    การเซ่นสรวงอ้อนวอน นั้น เมื่อทำไปแล้วก็ไม่รู้ว่าเทพเจ้าจะพอใจหรือไม่ การเอาอกเอาใจจึงไม่มีที่สิ้นสุด คราวนี้เซ่นสรวงไปเท่านี้ ก็ยังไม่ได้รับผลที่ต้องการ แทนที่จะหาความจริง กลับนึกว่าตัวเองเซ่นสรวงไปพอ พระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้ายังไม่โปรด ก็เลยต้องเพิ่มเครื่องเซ่นอีก พอเพิ่มไปแล้วเกิดพอได้รับผลที่ต้องการแต่น้อยหน่อย ก็นึกว่า เอ้ย..นี่เราถวายเครื่องเซ่นไปเท่านี้ท่านพอใจให้มาหน่อย นี่ถ้าเราถวายเครื่องเซ่นมากกว่านี้ ท่านคงจะโปรดมากกว่านี้ เราคงจะได้รับผลประโยชน์มากกว่านี้ ก็เลยเติมและเพิ่มเครื่องเซ่นเป็นการใหญ่

    ต่อมาเจ้าพิธีคือ พราหมณ์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้าหรือพระผู้เป็นเจ้าได้ รู้ความประสงค์ของเทพเทวาทั้งหลาย ก็มาบอกอีกว่า นี่นะ เทพเจ้าองค์นั้น ซึ่งมีความสามารถเก่งในทางนี้บันดาลสิ่งนี้ได้ ชอบเครื่องเซ่นแบบนี้ องค์โน้นเก่งในทางโน้นชอบเครื่องเซ่นแบบโน้น เอาละซิ ทีนี้ เมื่อต้องการผลประโยชน์ด้านไหน จะบวงสรวงอ้อนวอนเทพองค์ไหน และจะใช้เครื่องเซ่นอย่างไร ก็ประดิษฐ์ประคอยกันไป และลงทุนกันมากขึ้น คนอินเดียก็เลยวุ่นกับการบูชายัญ

    การบูชายัญเพื่อเอาใจเทพเจ้า ได้มีกันขึ้นมากมายจนกระทั่งในที่สุดก็ใช้ชีวิตบูชายัญ เช่น เอาวัว ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว แกะ ๕๐๐ ตัว มาเซ่นสรวงบูชายัญเทพเจ้า หรือเอาม้า มาฆ่าบูชายัญ ตลอดจนเอาคนฆ่าบูชายัญก็มี จึงเกิดเป็นพิธีบูชายัญมากกายหลายชนิดเพื่อผลตอบแทนในลักษณะต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นไปเพื่อทรัพย์ และอำนาจหรือลาภ และยศตลอดจนสวรรค์ สภาพเช่นนี้ เป็นไปทั่วในสังคมอินเดียจนถึงยุคพุทธกาล มีเรื่องราวปรากฏในพระไตรปิฎกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว เสด็จไปในที่ต่างๆ ทรงพบกษัตริย์ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศลบ้าง พราหมณ์มหาศาลบ้าง กำลัง จัดพิธีบูชายัญ พระองค์ก็ได้ไปทรงพบปะสนทนากับท่านเหล่านั้น และทรงแนะนำสั่งสอนทำให้ท่านเหล่านั้นบางท่านสละละเลิกการบูชายัญไป

    สิ่ง ที่ต้องการพูดในที่นี้ก็คือ พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าการเชื่อในอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้าทั้งหลายที่ แสดงออกด้วยการอ้อนวอนบูชายัญนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง พระองค์จึงได้ทรงสอนชาวอินเดียใหม่ว่า ท่านจงดูซิ ในธรรมชาตินั้น มีความจริงอยู่ ความจริงนี้ ก็คือ กฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ การที่ผลเกิดจากเหตุปัจจัยของมัน อย่าไปมัวมองดูว่าเป็นฤทธิ์ดลบันดาลของเทพเจ้า ความเป็นจริงที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น เราเรียกว่า ธรรม
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตอน “เมื่อไม่มีใครมาบังคับ ก็ต้องปกครองตัวเองให้ได้ ต้องเรียกร้องกับตัว และฝึกตนเองให้ทำ” (แต่ก็ยังอยู่ในหลักการที่ ๑) สังเกตต่อไป โดยเฉพาะความหมาย “กรรม”


    ธรรมก็คือความจริง ได้แก่ กฎธรรมชาติ แห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ในเมื่อสิ่งหลายเป็นไปตามธรรม คือ เป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือตามกฎธรรมชาติอันนี้ มนุษย์ต้องการผลอะไร ก็ต้องทำเหตุที่จะให้เกิดผลนั้น ไม่ต้องไปมัวอ้อนวอนรอคอยการดลบันดาลของเทพเจ้า เมื่อทำเหตุตรงที่จะนำมาซึ่งผลก็เกิดขึ้นมาตามที่เราต้องการ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือการกระทำเหตุ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการด้วยเรี่ยวแรงของเรา อันนี้ เรียกว่า กรรม

    เพราะฉะนั้น ธรรม หรือหลักความจริงในกฎธรรมชาติ จึงเรียกร้องให้เราทำกรรม แต่กรรมหรือการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องใช้ความเพียร ไม่เหมือนกับการไปอ้อนวอนเทพเจ้า ถ้าเราไปอ้อนวอนเทพเจ้า พอเราอ้อนวอนท่านเสร็จ เราก็นอนคอยฝน แต่ถ้าเราจะทำเหตุที่จะให้เกิดผล เราต้องใช้ความเพียรพยายาม

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสหลักกรรมคู่ กับ หลักความเพียร จะเห็นได้ว่า ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เองว่าเป็น กรรมวาที วิริยวาที ต้องเรียกคู่กัน กรรมวาที ผู้ ถือหลักกรรม วิริยวาที ผู้ถือหลักความเพียร และเรียกชื่อพระพุทธเจ้าว่า กรรมวาทะ วิริยวาทะ แปลว่า หลักการแห่งกรรม หรือหลักการกระทำ และหลักแห่งความเพียรพยายาม มนุษย์จะต้องทำกรรมและทำด้วยความเพียรพยายาม อันนี้ คือหลักการของพระพุทธศาสนา แทนที่จะไปเซ่นสรวงอ้อนวอนแล้วรอคอยผลที่เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า ก็หันมาทำกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลด้วยความเพียรพยายามของตน

    อย่างไรก็ตาม มนุษย์แม้จะทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม แต่ถ้าทำไม่ตรงเหตุปัจจัย ทั้งๆที่ทำเสียเหน็ดเหนื่อยยากลำบากด้วยความเพียรเต็มที่ แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่ต้องการ เพราะเหตุไม่ตรงผล เมื่อการกระทำนั้นไม่ตรงกับผลที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น มันก็ไม่สำเร็จ เรียกว่า กรรมนั้น ไม่ตรงตามธรรม คือ กรรมนั้นไม่เป็นเหตุปัจจัยของผลดีที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น เมื่อเป็นอย่างนั้น จะทำอย่างไรให้เกิดผลสำเร็จ ก็ต้องมีปัญญารู้เหตุปัจจัยแล้วทำกรรมให้ตรงเหตุปัจจัย คือต้องรู้ตัวธรรม ได้แก่ รู้ความเป็นจริงตามเหตุปัจจัยนั้น เมื่อรู้ตัวเหตุปัจจัยในธรรมชาติตามหลักธรรม กรรมที่ทำสอดคล้องกับธรรมก็เกิดผลที่ต้องการขึ้นมา ทังหมดนี้ก็หมายความว่า ต้องมีปัญญารู้เหตุปัจจัย เพื่อให้ทำกรรมได้ถูกต้องตามธรรม พูดสั้นๆว่า รู้ธรรมนั่นเอง

    ทำอย่างไรจะมีปัญญารู้เหตุปัจจัยขึ้นได้ ก็ต้องมี สิกขา หรือศึกษา คือ ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝน ต้องพัฒนาตน แล้วก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้น เพื่อให้กรรมคือการกระทำเกิดผลตามธรรม จึงเรียกร้องว่าเราจะต้องมีการเรียน ผู้ฝึกฝนพัฒนาตน ที่เรียกว่า สิกขา เพราะฉะนั้น หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา ก็คือ สิกขา


    โดยนัยนี้ ชีวิตมนุษย์จึงต้องเป็นชีวิตแห่งการศึกษา คือ ต้องฝึกฝนพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา มนุษย์เรียนรู้ขึ้นมาก็จะทำกรรมที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น กรรมนั้น ก็จะเป็นไปเพื่อผลดีที่ต้องการ ชีวิตก็จะประสบความสุข ความดีงามยิ่งขึ้นไป

    รวมความว่า เมื่อสิกขา/ศึกษา ก็เกิดปัญญา จึงรู้ธรรมแล้วก็ทำกรรมได้ตรงเหตุปัจจัย จึงได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป

    เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าดึงคนจากเทพมาสู่ธรรม แล้วหลักธรรมก็เรียกร้องหลักกรรม หลักกรรมก็เรียกร้องให้มีสิกขา คือ การศึกษา ศึกษาก็เอาปัญญามาโยงกรรมให้ถึงและให้ถูกธรรม

    สิกขา/ศึกษา เรียกเต็มว่าไตรสิกขา เป็นระบบการปฏิบัติทั้งหมดของชาวพุทธ ชาวพุทธนั้น ถือว่าชีวิตของเราอยู่ได้ด้วยการศึกษา และชีวิตที่มีการศึกษา ก็จะเป็นชีวิตที่ดีงาม ที่เราเรียกว่า มรรค เพราะฉะนั้น สิกขา ก็สอดคล้อง กับ มรรค

    สิกขา ก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ย่อลงแล้วก็เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ชีวิตดีงามที่เป็นมรรคก็เกิดจากการมีชีวิตอยู่ด้วยการศึกษานั่นเอง

    เราสิกขา คือ ฝึกชีวิตให้ เป็นอยู่ดี เราก็มีมรรค คือ มีชีวิตที่เป็นอยู่ดี ฝึกอย่างไรก็ได้อย่างนั้น พูดตามสำนวนนี้ว่า ดำเนินชีวิตให้ดี เป็นสิกขา แล้วก็ดำเนินชีวิตได้ (หรือด้วยดี) เป็นมรรค สิกขา ก็ทำให้ดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้นๆ เรียกว่า ก้าวหน้าไปในมรรค

    ในที่นี้ ต้องการเน้นว่า หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาก็คือ การที่เราต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และจะต้องฝึกฝนพัฒนาตน เพื่อจะทำกรรมให้ดียิ่งๆขึ้นไป แทนที่จะคิดว่า เราจะขอให้ใครช่วย เราจะไปอ้อนวอนเทพเจ้าองค์ไหนให้ทำให้เรา ก็หันมาถามตัวเองนี่แหละว่าเราจะต้องทำอะไร และเราจะต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเราอย่างไร เพื่อให้การกระทำของเราได้ผลดียิ่งขึ้น นี้คือหลักการของพระพุทธศาสนา

    ที่ถามว่า จะต้องทำอะไร ก็คือหลักกรรม และที่ถามว่า เราจะต้องแก้ไขปรับปรุงพัฒนาตัวเราอย่างไร ก็คือ หลักสิกขา นั่นเอง


    ยิ่งกว่านั้น ในกระบวนการที่เราจะต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และมีการศึกษาฝึกฝนพัฒนาตนตลอดเวลานี้ ท่านยังย้ำด้วยหลักอัปปมาทะอีกว่า จะต้องมีความไม่ประมาท จะต้องใช้เวลาแต่ละขณะที่ผ่านไปให้เป็นประโยชน์ที่สุด จะต้องเร่งรัดทำความเพียร จะผัดเพี้ยนไม่ได้ จะทอดทิ้งปล่อยปละละเลยไม่ได้ อันนี้ หลักพระพุทธศาสนา ย้ำในเรื่องที่ว่าจะต้องทำความเพียรพยายามตลอดเวลา ถ้าเราปฏิบัติตามหลักสิกขา และมีความไม่ประมาทอยู่เสมอแล้ว เราก็จะเป็นบุคคลที่มีความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ มีการแก้ไขปรับปรุงตัวพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะชีวิตของชาวพุทธ

    ชาวพุทธทราบดีอยู่แล้วว่า ในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีการบังคับ ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการบังคับ ไม่มีการบังคับให้เชื่อหรือให้นับถือ ไม่มีเทพเจ้ามาห้ามมาสั่ง เมื่อไม่มีใครมาบังคับเราให้ทำหรือไม่ให้ทำ ไม่มีใครมาลงโทษหรือให้รางวัล การที่จะทำอะไรให้ถูกต้องดีงาม หรือการที่จะปฏิบัติตามธรรม จึงอยู่ที่ตัวเราเอง จะต้องมีจิตสำนึกในการศึกษา คือการที่ระลึกตระหนักอยู่เสมอว่า เราจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนให้มีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป ด้วยความรับผิดชอบต่อธรรม คือ กฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าขาดจิตสำนึกในสิกขานี้เสียแล้ว ก็หมดพลังก้าว ชาวพุทธก็ย่อมร่วงหล่นหลุดออกไปจากธรรมสู่เทพ และไสย์โดยง่าย คือ ตกไปจากพระพุทธศาสนานั่นเอง


    ทีนี้หันมาดูว่า ตามสภาพปัจจุบันเราได้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเราเป็นชาวพุทธจริง เราก็จะเรียกร้องการกระทำของตัวเอง เราจะไม่ถ่ายโอนภาระไปให้กับสิ่งภายนอก ไม่มัวรอให้สิ่งภายนอกมาสร้างผลที่ต้องการให้ด้วยการอ้อนวอน พระพุทธเจ้าได้ดึงเรามาแล้วจากเทพมาสู่ธรรม มาสู่หลักกรรม มาสู่หลักสิกขา และความไม่ประมาท อันนี้เป็นกลักการที่ ๑ ที่เสนอให้ใช้สำรวจ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ หลักการที่ ๒

    ตอน “มีฤทธิ์มีเดช เป็นได้แค่ผู้วิเศษ หมดกิเลส จึงเป็นพระอรหันต์


    หลักการที่ ๒ คืออะไร ในยุคพุทธกาลนั้น คนเขาเชื่อว่าพระอรหันต์คือผู้วิเศษ ผู้วิเศษคือผู้มีฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์ดลบันดาลทำอะไรต่างๆ ได้แปลกๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ เพราะฉะนั้น เขาจะวัดกันว่า ใครเป็นพระอรหันต์ก็ต้องมีฤทธิ์เหล่านี้

    จะเห็นได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ เสด็จออกประกาศพระศาสนา จะเข้าไปประดิษฐานพระพระพุทธศาสนา ในเมืองราชคฤห์ ก็ทรงพิจารณาว่าจะต้องไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้องก่อน เพราะว่า ชฎิล ๓ พี่น้องนั้นเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไป ชฎิลที่พบก่อนก็คือ อุรุเวลกัสสปะ ซึ่งถือเอาอิทธิปาฏิหาริย์เป็นเครื่องวัดว่า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ ตอนแรกท่านอุรุเวลกัสสปะ จึงคิดว่า พระพุทธเจ้าที่เสด็จมานี่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา เพราะเรามีฤทธิ์ จนกระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีฤทธิ์ มีอิทธิปาฏิหาริย์เหนือกว่าชฎิลเหล่านั้น ชฏิลจึงยอมรับแล้วก็ยอมฟังธรรม

    ตลอดมาเราจะเห็นเหตุการณ์ปรากฏอยู่เสมอว่า คนอินเดียนั้น ถือเอาอิทธิปาฏิหาริย์เป็นเกณฑ์ตัดสินความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนา พระองค์จึงต้องใช้อิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อปราบอิทธิปาฏิหาริย์บ่อยๆ และพระองค์ได้ตรัสหลักการในเรื่องนี้ว่า ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง คือ

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการแสดงฤทธิ์ได้
    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการดักใจ การทายใจ รู้ความคิดของผู้อื่นได้
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือคำสอนที่ให้เกิดปัญญารู้เห็นความจริง


    แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า เรารังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ เราสรรเสริญแต่อนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น


    นี่คือหลักการของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า แม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์ ก็จะใช้ฤทธิ์เฉพาะเมื่อทรงปราบฤทธิ์เท่านั้น เรียกง่ายๆว่า ว่าใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ เมื่อใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์เสร็จแล้ว พระองค์ก็ไม่ใช้ฤทธิ์อีกเลย คือ ทรงใช้ฤทธิ์เพื่อให้เขายอมฟังธรรม เมื่อเขายอมแล้ว ต่อจากนั้น พระองค์ก็จะทรงแสดงธรรมต่อๆไป เช่น ทรงใช้ฤทธิ์ปราบชฎิล ๓ พี่น้อง พอปราบเสร็จแล้ว เขายอมแล้ว พระองค์ก็เลิกใช้ฤทธิ์ ต่อจากนั้น ก็ทรงแสดงธรรมสอนให้ชฏิลเกิดปัญญา รู้ความจริง จนบรรลุธรรมสูงสุดด้วยตนเอง

    ขอให้สังเกตว่า พระพุทธเจ้าทั้งที่ทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มาก เก่งกว่าผู้วิเศษทั้งหลาย ทรงปราบชฏิลและเทพพรหมยักษ์ที่ฤทธิ์กล้าได้หมด แต่พระองค์ไม่เคยยอมให้ชาวพุทธคนไหน ไปหวังพึ่งฤทธิ์ของพระองค์ ไม่ทรงดลบันดาลสิ่งปรารถนาให้แก่สาวกคนใด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น จะต้องมีเหตุผลในเรื่องนี้

    เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์

    คิดดูง่ายๆ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ คนทั้งหลายก็จะชื่นชมความเก่งกล้าสามารถของพระองค์ ซึ่งเขาเองทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อเขาทำไม่ได้ เขาก็ต้องพึ่งพาอาศัยขึ้นต่อพระองค์เรื่อยไป เมื่อเขาคอยรอพึ่งพากอาศัย เขาก็ปล่อยเวลาเสียไป ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ และโดยเฉพาะที่สำคัญคือไม่ได้พัฒนาตนเอง เวลาผ่านไป เคยเป็นอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น


    นอกจากนั้น เขาไม่สามารถรู้ว่าฤทธิ์นั้นเกิดได้อย่างไร ท่านผู้นั้น ทำฤทธิ์ได้อย่างไร เขาก็อยู่กับความหลงเรื่อยไป และจึงเป็นทางของการหลอกลวง คนอื่นที่เป็นนักเล่นกลก็ได้ช่องตรงนี้ และควรสังเกตด้วยว่า คนจำนวนมากที่เข้ามาทางนี้จะมีสติฉุกใจฉุกคิดน้อยลงๆ เมื่อเพลินหมกมุ่นไป ก็ยิ่งไม่ใช้ปัญญา เห็นแปลกๆ แผลงๆ ดูน่าอัศจรรย์ ก็เชื่อก็นับถือ ก็ตื่นกันไป ยิ่งโน้มไปในทางที่จะสร้างนิสัยเห็นแก่ง่าย ไม่ใช้ปัญญาแก้ปัญหา ขาดความคิดวิจัย ถูกหลอกลวง และลุ่มหลงได้ง่าย เมื่อเป็นกันอย่างนี้ ทั้งบุคคล และสังคมก็ยิ่งหมกจม ไม่พัฒนา

    พระพุทธเจ้าสอนคนให้พึ่งตนได้ ให้เขาพัฒนาตนเอง จนเป็นอิสระ ไม่ต้องขึ้นต่อพระองค์ คนที่ชอบอิทธิปาฏิหาริย์จะต้องมาขึ้นกับผู้แสดงฤทธิ์เรื่อยไป ไม่รู้จักพึ่งตนเอง ไม่พัฒนา ไม่เป็นอิสระ แต่ถ้าใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ก็ทำให้เขาเกิดปัญญา รู้เห็นความจริงด้วยตนเอง และทำสิ่งนั้นๆได้ด้วยตัวเขาเอง แล้วเขาก็เป็นอิสระ เขาพึ่งตนเองได้

    แม้แต่ถ้าใครชอบอิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธศาสนาก็สอนให้เขาทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปหวังพึ่งอิทธิปาฏิหาริย์ของคนอื่น อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าต้องการให้คนมีปัญญาเห็นความจริง อิทธิปาฏิหาริย์ไม่เป็นเครื่องหมายที่จะวัดความเป็นพระอรหันต์ คนที่มีอิทธิปาฏิหาริย์จะเรียกได้แค่ว่าเป็นผู้วิเศษ ความเป็นผู้วิเศษไม่ทำให้เกิดปัญญารู้ธรรม ไม่ทำให้หมดกิเลสหรือหมดความทุกข์ได้


    หันมาดูสภาพในเมืองไทยปัจจุบันนี้ เรากำลังจะเอาเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ หรือความเป็นผู้วิเศษมาเป็นเครื่องวัดความเป็นพระอริยะไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นสภาพที่จะต้องมาตรวจสอบทบทวนกันตามหลักการที่ ๒
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (สุดท้าย) หลักการที่ ๓


    “จะทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์ หรือจะคอยของความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์


    หลักการที่ ๓ คือ หลักคติพระโพธิสัตว์ ต้องตรวจสอบให้ชัดว่า คติพระโพธิสัตว์แต่ก่อนนี้ ในพระพุทธศาสนาที่แท้นับถือย่างไร และปัจจุบันนับถืออย่างไร เรายังนับถือถูกต้องหรือไม่


    คติพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นโดยถือว่า พระพุทธเจ้านั้น จะสำเร็จโพธิญาณตรัสรู้ได้ ก็เพราะทรงบำเพ็ญเพียร ทำความดีอย่างยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่าบารมี ซึ่งยากที่ใครจะทำอย่างพระองค์ได้

    บารมีคือคุณธรรมความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ยิ่งยวดหมายความว่า เหนือสามัญวิสัยของคนธรรมดา หมายความว่า จำบำเพ็ญคุณความดีข้อไหนก็ทำอย่างเต็มที่ พระพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามบำเพ็ญบารมีมาด้วยความยากลำบาก เราจึงมีเรื่องของพระโพธิสัตว์ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้นทรงเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน โดยทรงบำเพ็ญเพียรทำความดีด้วยความเสียสละอย่างยิ่ง ถ้าตกลงว่าจะทำความดีข้อไหนแล้ว ก็จะทำด้วยความเข้มแข็ง เต็มที่ ไม่มีการย่อท้อ ไม่มีการถดถอยเลย แม้จะต้องสละชีวิตก็ตามที และการทำคามดีอย่างเสียสละเต็มที่นี้ รวมทั้งการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่น จนถึงที่สุดแม้จะต้องสละชีวิตของตนก็ยอมได้

    พระโพธิสัตว์เป็นคติสำหรับสนับสนุนการระลึกถึงพุทธคุณ การระลึกถึงพระพุทธคุณนั้นเป็นเครื่องเตือนใจเราให้ระลึกถึงความเป็นมนุษย์ และศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเราว่า เราก็เป็นมนุษย์อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ แต่พระองค์มีความเพียรพยายามพัฒนาพระองค์เองจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เราก็จะต้องพัฒนาตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองอย่างนั้นด้วย นี้เป็นการเตือนให้เราทั้งมีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาได้ ทั้งสำนึกในหน้าที่ของตนที่จะต้องพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นไป และทั้งทำให้เกิดกำลังใจในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองด้วย พร้อมกันนั้นก็จะได้นำเอาวิธีปฏิบัติพัฒนาของพระองค์ที่ได้ทรงสอนไว้มาใช้ประโยชน์


    ถ้าเราทำความดีไปแล้วเกิดความรู้สึกท้อแท้ว่า เราทำความดีถึงอย่างนี้ก็ยังไม่ได้รับผลที่ต้องการ เราก็หันไปดูพระจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ว่า พระองค์ทำความเพียรลำบากยากเย็นกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากกว่าเรา พระองค์ไม่เคยท้อถอย พระองค์ถูกกลั้นแกล้งมากมาย พระองค์ยังทำต่อไปในความดี เมื่อเรานึกถึงคติพระโพธิสัตว์ ระลึกถึงจริยาวัตรของพระองค์ เราก็เกิดกำลังใจฮึดสู้ต่อไป ทำความเพียรต่อไป ไม่ถอย เพราะฉะนั้น คติโพธิสัตว์จึงหนุนการระลึกถึงพระพุทธคุณ ซึ่งทำให้เรามั่นใจในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่ต้องพัฒนา ระลึกถึงหน้าที่ของเราที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตน และเกิดกำลังใจในการฝึกฝนพัฒนาตนอย่างนั้น

    อย่างไรก็ตาม ต่อมาปรากฏว่าคติพระโพธิสัตว์ได้กลายไป คนในยุคหลังต่อมาคงจะเห็นว่า เออ พระโพธิสัตว์นี้ท่านเสียสละมาก ท่านตั้งใจทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยมหากรุณา ท่านมาคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ในเมื่อขณะนี้มีพระโพธิสัตว์คอยช่วยเหลืออยู่แล้ว เราก็ไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์แล้วกัน ถึงตอนนี้คติพระโพธิสัตว์ก็เปลี่ยนไป แทนที่จะนึกถึงพระโพธิสัตว์ เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำความดีให้เกิดกำลังใจ และต้องทำความดีด้วยความเสียสละจริงจังอย่างท่าน ก็กลายเป็นลัทธิหวังพึ่งว่าคราวนี้มีพระโพธิสัตว์ไว้คอยช่วยเหลือ เราไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ดีกว่า

    จากคติทีเพี้ยนไปอย่างนี้ ก็มีพระโพธิสัตว์อย่างเจ้าแม่กวนอิมขึ้นมา แล้วคนก็ไปขอความช่วยเหลือกัน แทนที่จะบำเพ็ญความดีอย่างพระโพธิสัตว์ กลับกลายเป็นขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ กลายเป็นคติคล้ายกับการนับถือเทพเจ้า แล้วไปขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้า โดยอ้อนวอนให้ท่านดลบันดาลสิ่งที่ตนต้องการให้


    พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา สั่งสอนประชาชนให้พ้นออกมาจากการบวงสรวงอ้อนวอนเทพเจ้าอย่างที่ว่าดึงจากเทพสู่ธรรม ไปๆมาๆ ชาวพุทธกลับไปนับถือศาสนาแห่งการอ้อนวอนตามเดิม


    วันนี้คิดว่า กลักการทั้ง ๓ ข้อ นี้ น่าจะเป็นเครื่องสำรวจความเชื่อถือและข้อปฏิบัติของชาวพุทธในปัจจุบัน ว่ายังคงอยู่ในพระพุทธศาสนาหรือไม่
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อไป ตอนสำคัญตอนหนึ่ง ชื่อตอน

    “ชาวพุทธขาดการศึกษา เพราะพระไม่สอน หรือพระไม่มีความรู้ที่จะสอน

    เมื่อเอาหลักการมาวางอย่างนี้แล้วก็จะขอพูดถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน เมื่อหนังสือพิมพ์มาถาม ก็ต้องอธิบายกันยาวนาน ก็เลยย้อนถามไปข้อหนึ่งว่า ให้ชาวพุทธลองสำรวจตัวเองว่า เวลานี้ชาวพุทธ และคนไทยเรานี้ นับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก หรือนับถือไสยศาสตร์เป็นหลัก
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  10. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    [​IMG]
     
  11. bluemachine

    bluemachine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +184
    เป็นธรรมดาของโลก
     

แชร์หน้านี้

Loading...