ทำไมท่านจึงห้ามผู้หญิงบวช?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nitnoi, 17 ธันวาคม 2014.

  1. nitnoi

    nitnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +153
    สงสัยค่ะ ขอบพระคุณคะ สาธุ

    :)
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    259 ทำไมสตรีจึงไม่ควรบวช

    ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีก็จริงแต่ทรงบัญญัติข้อปฏิบัต ิอันยิ่งยวดไว้ให้ภิกษุณีปฏิบัติ จนในที่สุดก็ปรากฏว่าภิกษุณีได้หายสาบสูญไปจากวงการพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุผลแสดงว่าพระพุทธองค์ไม่ประสงค์จะให้สตรีได้บวชในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงมีเหตุผลอย่างไรจึงไม่ประสงค์ให้สตรีบวช?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอานนท์ หากมาตุคาม (สตรี) จักไม่ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จักดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี
    “.....ดูก่อนอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมากชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรกำจัดง่าย แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น จักไม่ตั้งอยู่นานฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่ง ขยอกลงในนาข้าวที่สมบูรณ์ นาข้าวนั้นย่อมตั้งอยู่นาน เพลี้ยลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นย่อมตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน
    “อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลออกแม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ”


    โคตมีสูตร อ. อํ. (๑๔๑)
    ตบ. ๒๓ : ๒๘๖-๒๘๗ ตท. ๒๓ : ๒๕๔
    G.S. IV : ๑๘๕

    http://www.84000.org/true/259.html

    .
     
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม
    เรื่องโดย ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา

    ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัตฒนา ลูกศิษย์เจ้าปัญหา กับอาจารย์ดร.สนอง วรอุไร ผู้เปี่ยมประสบการณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม จะสนทนากันเรื่องสิทธิสตรีว่า แท้จริงแล้วในทางธรรม ผู้หญิงจะเท่าเทียมกับผู้ชายได้หรือไม่ และการเรียกร้องสิทธิสตรีที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนั้น แท้จริงแล้วที่ถูกต้อง ควรทำแค่ไหน อย่างไร

    อาจารย์คะ การเกิดเป็นผู้หญิงนั้น เห็นได้ชัดว่าต้องใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดมากกว่าผู้ชาย ในทางธรรมแล้ว เพศหญิงไม่เท่าเทียมกับเพศชายจริงไหมคะ

    จริงลูก ถ้าหมายถึงโลกิยธรรมเพราะตามธรรมชาติแล้ว เพศหญิงกับเพศชายนั้นไม่เท่าเทียมกัน เพราะผู้หญิงอยู่ในเพศที่ไม่ปลอดภัย มีสภาวะของจิตอ่อนไหว มีสรีระบอบบาง และรับสิ่งกระทบมาปรุงอารมณ์ได้มากกว่าเพศชาย จึงเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ง่าย ทำให้ต้องมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตมากกว่า ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลของภิกษุณีสงฆ์ไว้ถึง 311 ข้อ ในขณะที่ศีลของภิกษุสงฆ์ทรงบัญญัติไว้เพียง 227 ข้อ เท่านั้น


    ทำไมล่ะค่ะอาจารย์

    เพราะจิตที่อยู่ในร่างกายของเพศหญิงนั้นต้องอาศัยศีลมากกว่า ถึงจะคุมจิตมิให้หวั่นไหวได้เท่าเทียมกับจิตที่อยู่ในร่างของเพศชาย


    หมายความว่าจิตของผู้หญิงมีความแน่วแน่และมีพลังน้อยกว่าผู้ชายหรือคะ

    ไม่ใช่ลูก ตัวจิตเองนั้นมีศักยภาพเท่าเทียมกัน แต่ร่างของเพศหญิงเป็นร่างที่เปิดโอกาสให้จิตรับสิ่งกระทบมากกว่าร่างของเพศชาย จึงต้องอาศัยศีลมากกว่าในการควบคุมกาย วาจา ใจ ของเพศหญิงให้บริสุทธิ์ แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จิตของทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีศักยภาพเท่ากัน


    ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า ผู้หญิงบรรลุธรรมยากกว่าผู้ชายใช่ไหมคะ

    ยากกว่า เพราะจิตอยู่ในร่างที่รับสิ่งกระทบมากกว่า


    อย่างนี้การเกิดเป็นผู้ชายก็นับว่าโชคดีกว่าการเกิดเป็นผู้หญิงจริงๆ น่ะสิคะ

    ใช่ลูก โชคดีกว่าในด้านการพัฒนาจิตให้เข้าถึงธรรม เพราะการอยู่ในเพศหญิงนั้นมีข้อจำกัดมาก เช่น ถึงแม้จะเก่งแค่ไหนก็ตาม แต่การดำรงชีพแต่เพียงผู้เดียวสำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องอันตราย ดูอย่างพระอุบลวรรณาสิ แม้จะบรรลุอรหัตผลแล้ว แต่ก็ยังถูกนันทมาณพข่มขืน เพราะท่านไปปฏิบัติธรรมอยู่แต่เพียงผู้เดียวที่กุฏิในป่าอัมพวัน ด้วยเหตุนี้ ในพระวินัยจึงระบุไว้ว่า ภิกษุณีห้ามอยู่วัดโดยไม่มีภิกษุสงฆ์อยู่ด้วย เพราะจะไม่ปลอดภัย นี่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าต้องบัญญัติศีลอีกหลายๆข้อสำหรับภิกษุณีสงฆ์ เช่นภิกษุณีสงฆ์แม้จะบวชมานานเท่าไร หรือบรรลุธรรมขั้นไหนก็ตาม ยังต้องกราบไหว้พระภิกษุที่บวชแม้เพียงวันเดียว ฯลฯ นี่เป็นกุศโลบายย้ำเตือนเพศหญิงให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ให้อัตตานำหน้าจนคิดว่าฉันอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่ว่าใครจะมีความเห็นอย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว การเกิดเป็นผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับการเกิดเป็นผู้ชาย


    ถ้าอย่างนั้นการออกมาเรียกร้องสิทธิสตรีที่ทำกันอยู่ทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่ผิดนะสิคะ

    การเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกับผู้ชาย เป็นสิ่งที่คนทางโลกเขาทำกัน โดยไม่ดูความถูกต้องในทางธรรม เรื่องอย่างนี้ในทางโลกอาจจะเรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันได้ แต่ในทางธรรมแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้


    เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ผู้หญิงทั้งหลายความจะอยากเกิดเป็นผู้ชายหรือเปล่าค่ะ

    ไม่จำเป็น เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาของแต่ละคน เพราะไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพียงแต่ก่อนที่จะบรรลุนั้น ความเสมอภาคทางร่างกายมีต่างกัน แต่ความเสมอภาคทางจิตใจเมื่อบรรลุธรรมแล้วมีเหมือนกัน


    กรรมอะไรทำให้คนเราเกิดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคะ

    หนึ่ง คือ การประพฤติ สอง คือ ความปรารถนา เหมือนในครั้งพุทธกาล เจ้าหญิงโคปกาเกิดเป็นผู้หญิงแล้วรู้สึกว่าเป็นเพศที่มีภาระและปัญหามาก จึงอธิษฐานขอเกิดเป็นผู้ชาย แล้วทำเหตุให้ถูกตรง ในที่สุดจึงไปเกิดเป็นโคปกเทพบุตรอยู่บนสวรรค์

    การทำเหตุให้ถูกตรงสำหรับการไปเกิดเป็นผู้ชาย ก็คือการประพฤติจริยธรรมของการเป็นผู้หญิงให้ถูกตรงตามธรรมเช่น ทำตัวเป็นลูกสาวที่ดี เป็นภรรยาที่ดี เป็นแม่ที่ดี นอกจากนั้นก็ต้องทำจิตให้มีลักษณะแบบผู้ชาย เช่น ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก เพราะถ้าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นั่นคือลักษณะนิสัยที่จะทำให้ไปเกิดเป็นผู้หญิงต่อไปอีก


    อาจารย์คะ ถ้าผู้หญิงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ไม่ต่างจากผู้ชาย แล้วทำไมปัจจุบันนี้การบวชเป็นภิกษุณี จึงเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาในบ้านเมืองเราล่ะคะ

    อาจารย์ต้องเท้าความอดีตก่อนว่า ในครั้งพุทธกาล พุทธบริษัท 4 นั้นประกอบไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา

    ภิกษุณีรูปแรกของพระพุทธศาสนาคือ พระมหาปชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระมาตุจฉาหรือพระน้านางของพระพุทธเจ้า แต่กว่าจะได้บวช พระพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาตอยู่ถึง ๒ ครั้งจนกระทั่งในครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงปลงผมและนุ่งผ้าย้อมฝาด แล้วเดินเท้าเปล่าจากรุงกบิลพัสดุ์มายืนร้องไห้อยู่หน้ากุฏาคารศาลาที่แคว้นวัชชี พระอานนท์ออกไปเห็นเข้าจึงไปถามไถ่ดู เมื่อได้ความแล้วจึงรับอาสาไปจัดการให้และเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อผู้หญิงปฏิบัติธรรมแล้วจะบรรลุธรรมได้ไหม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบว่าได้ พระอานนท์จึงทูลถามต่อว่า แล้วเหตุใดจึงทรงไม่อนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตรมีบวช ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องประพฤติครุธรรม ๘ ประการ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อวัดใจผู้บวชที่เป็นหญิงว่ามีความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาจริงๆ


    ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ตั้งแต่แรกคะอาจารย์

    เพราะทรงเกรงว่า หากรับเพศหญิงที่ไม่มีความมั่นคงในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวชแล้ว อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุได้ เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงทรงบัญญัติไว้ด้วยว่า การบวชเป็นภิก ษุณีนั้นต้องบวชด้วยสงฆ์สองฝ่าย คือทั้งฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

    ทุกวันนี้ประเทศที่ปฏิบัติตามพระวินัยข้อนี้ได้ มีเหลืออยู่เพียงประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้ภิกษุณีในประเทศไทยของเราจึงต้องไปบวชมาจากประเทศศรีลังกา แล้วค่อยกลับมาเป็นภิกษุณีสงฆ์อยู่ที่บ้านเรา แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย



    แล้วอย่างนี้ในฐานะชาวพุทธ เราควรจะเห็นด้วยกับการมีภิกษุณีในเมืองไทยไหมคะ

    ขึ้นอยู่กับสภาวะความรู้แจ้งของจิต หากจิตของเรามีปัญญาเห็นแจ้งแล้ว เราย่อมรู้ว่าไม่ว่าจิตจะอยู่ในเพศชายหรือหญิงก็สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่มีเพศด้วยเหตุนี้ผู้รู้จริงจึงเห็นด้วยกับการอนุญาตให้ผู้หญิงบวช เพราะรู้ว่าการบวชเป็นเรื่องของจิตที่มีศักยภาพในการบรรลุธรรมได้เท่าเทียมกัน ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เข้าใจนะลูก


    เข้าใจแล้วค่ะอาจารย์

    ครุธรรม 8 ประการ (โดยสรุป) ได้แก่

    1. ภิกษุณีต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเสมอ

    2. ภิกษุณีต้องจำพรรษาในวัดที่มีภิกษุอยู่ด้วยเสมอ

    3. ภิกษุรีต้องเป็นฝ่ายรับการสั่งสอนจากภิกษุเสมอ

    4. ภิกษุต้องปวารณาในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

    5. เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติหนักรองจากปาราชิก) จะต้องประพฤติมานัตต์ (การเข้าปริวาสกรรม-การอยู่ในบริเวณที่กำจัดและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาต่อเนื่อง เพื่อลดละกิเลส) ตลอดปักษ์ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

    6. ภิกษุณีต้องเป็นผู้ศึกษาธรรมและรักษาศีล 6 ข้อ (เพิ่มข้อห้ามกินยามวิกาลจากศีล 5) เป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะได้รับการบวชโดยสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

    7. ห้ามมิให้ภิกษุณีด่าว่าภิกษุสงฆ์ไม่ว่าในกรณีใดๆ

    8. ห้ามมิให้ภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ

    ทั้งหมดนี้เป็นธรรมที่ภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ เคารพ บูชาและไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต




    ���и��� ..˭ԧ-��� ���������������


    .
     
  4. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    อ่านแล้ว เศร้าค่ะ..
     
  5. คุณป้อม

    คุณป้อม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2014
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +50
    เกี่ยวกับเรื่องคาถามอาคม ความศักดิ์สิทธิ์ก็น่าจะมีส่วน

    อ่านนวนิยายเรื่อง "เรือนมยุรา" แล้วจะเข้าใจ เป็นบทประพันธุ์ของแก้วเก้า ซึ่งท่านก็เป็นผู้หญิง ท่านบอกชัดเจนเลยว่า มนต์อาคมหลายอย่างจะเสื่อมเพราะผู้หญิง ผู้หญิงจับต้องของขลังไม่ได้เลย ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงนะ สมัยโบราณตอนรบกับพม่า พม่าทำอะไรไทยไมไ่ด้หลายครั้ง คนไทยหนังเหนียว ถึงกับล้างอาถรรพณ์โดยการเอาประจำเดือนผู้หญิงไปแก้น่ะ แล้วก็ล้างอาถรรพณ์ได้จริงๆด้วย

    บางทีเวลาอยากแก้ของขลังฝ่ายตรงข้าม ก็ให้ผู้หญิงเดินข้ามบ้าง หรือเอาผ้าถุงไปคลุมบ้าง

    แปลกนะผู้ชายหนังเหนียว เรียนคาถาอาคมมาแทบแย่ แต่พอเจอผ้าถุงผู้หญิงกลับเสื่อมเลย

    มิน่าละผู้ชายหลายคนข้างนอกนี่เก่งเลย พอกลับถึงบ้านล่ะกลัวเมียฉิบ

    การทำคาถาอาคม ของขลัง ปลุกเสก พระพุทธมนต์ต่างๆสารพัดในวัด เลยไม่อยากให้ผู้หญิงเกี่ยวข้อง เลยน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่ให้ผู้หญิงบวช แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด เพราะพระพุทธเข้าก้ไม่เคยสอนให้ทำคาถาอาคม ปลุกเสกต่างๆ แต่หลายอย่างที่นำศาสนาพุทธไปผสมกลมกลืนกับคาถาอาคมต่างๆ จนแทบแยกกันไม่ออก

    สุภาพสตรีทั้งหลายอย่าไปน้อยใจเลยว่าทำไมบวขไม่ได้ แค่คุณปฏิบัติดี ทำดี ใส่บาตรพระแค่นี้ก็กุศลมากแล้ว เพราะสังเกตุว่าคนปกิบัติธรรมในวัดเป็นสตรีไปกว่า 90 %

    ที่สำคัญถ้าไม่มีคนใส่บาตรให้พระ แล้วพระจะเอาอะไรฉัน ศาสนาจะอยู่ได้ไหม เพราะคนใส่บาตรเป็นผุ็หญิงกว่า 90 % ผู้หญิงจึงมีส่วนช่วยพระพุทธศาสนามากมาย แต่คนกลับมองไม่ค่อยเห็น

    ถือไว้ซะว่าผู้ชายไปทำสวนทำไร่ ผู้หญิงก็ทำกับข้าวรอให้ผู้ชายกินก็แล้วกัน ถ้าไม่มีข้าวกับกับข้าวกิน ผู้ชายจะมีแรงไปทำไร่ไหม คิดแค่นี้ก็พอ

    ผู้หญิงจึงมีความสำคัญมากต่อพระพุทธศาสนา อย่าคิดน้อยใจเลยอุบาสิกาทั้งหลาย
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เรื่องนี้ท่าจะไปไกลแล้วล่ะ เพราะมีการเมืองร่วมวงด้วย

    เบื้องต้นเข้าใจยังงี้ก่อนครับ เถรสมาคมไม่ได้ห้ามหญิงบวช ที่ไปบวชจากลังกาแล้วกลับมาพำนักอยู่บ้านเราได้ (ไม่ห้าม) แต่มติเถรสมาคมห้ามบวช (ภิกษุณีในเมืองไทย) เพราะว่าขาดองค์ประกอบอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณีไป (เมืองไทยไม่มีอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณี มีแต่อุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุ เพราะว่าภิกษุณีต้องบวชด้วยสงฆ์สองฝ่าย)

    เปิดเผยล่าสุด ที่บวชกันทางภาคใต้ (29 พ.ย.57) เขานิมนต์อุปัชฌาย์ฝ่ายพระจากลังกา ฝ่ายภิกษุณีจากลังกา คู่สวดจากอินโดนีเซีย จากลังกา

    ข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ว่าผู้เกี่ยวข้องการบวชครั้งนี้ ได้แจ้งให้รัฐบาลปัจจุบัน ทางสำนักพระราชวัง ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ทั้งฝ่ายสงฆ์และคฤหัสถ์ทราบแล้ว ประเด็นนี้แหละจึงว่าความขัดแย้งจะลากยาว
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ภิกษุณีสายลังกา สืบต่อมาจากจีน (มหายาน) หากภิกษุณี (ในไทย) ต้นคิดซึ่งบวชมาจากลังกา หากลดทิฏฐิฟื้นฟูภิกษุณีเถวาทในไทย เล่นบทมหายาน จะง่ายกว่า ความขัดแย้งไม่น่ามี เพราะเถรสมาคมก็เหมือนเปิดให้
     
  8. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    จริงๆเรื่องภิกษุณี เมื่อพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้วว่า สตรีสามามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ใช้ได้ตลอดกาล แต่ต้องเป็นไปตาม ข้อกำหนด ของศาสดา เช่นภิกษุณีที่บวชต้องปฏิบัติ ตามครุธรรมแปด และ ภิกษุณี ต้องบวชโดย สงฆ์ สองฝ่าย คือภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ ต้องมารับโอวาสจากหัวหน้าภิกษุสงฆ์ ทุกๆกึ่งเดือนแต่ปัจจุบัน ถึงแม้ประเทศไทยจะมีภิกษุณีอยู่บ้างก็มิได้ปฏิบัติ ตาม วินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ จริงๆแล้วการบรรลุธรรม ไม่ว่าจะขั้นใด ชายหรือหญิง พระพุทธเจ้า ตรัสบอกว่าความสามารถบรรลุธรรม นั้น ได้เช่นเดียวกัน อยู่ที่ ความเพียรพยายาม รักษากายวาจา ใจและ ความแก่กล้าของอินทรีย์
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
  10. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    ตระกูลใดที่มีผู้หญิงมาก มีผู้ชายน้อย ย่อมอ่อนแอถูกโจรกำจัดได้ง่าย นี่คือเหตุผลหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงไม่ต้องการให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา

    ขนาดไม่มีนักบวชหญิง(ไม่นับแม่ชี) ศาสนาพุทธในตอนนี้ก็ได้เสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ แล้วยิ่งถ้ามีภิกษุณีเกิดขึ้นศาสนาพุทธจะยิ่งอ่อนแอเสื่อมถอยลงไปเร็วมาก

    อย่าคิดมากให้ปวดหัวเลยครับ ถ้าใครจะมาบอกว่ามันคงไม่เลวร้ายขนาดนั้น คนที่พูดกล้ารับผิดชอบมั้ยละครับ ผมเชื่อมั่นในคำพูดของพระพุทธเจ้าว่ายังไงผู้หญิงก็ไม่ควรออกบวชเป็นภิกษุณีในศาสนาพุทธ
     
  11. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    เรื่องที่คุณได้ถามมานี้เป็นเรื่องที่ sensitive มาก ดังนั้น ผมจะลองค่อย ๆ ตอบโดยมองจากหลาย ๆ มุม แล้วกัน

    1. สิทธิในการบวชตามธรรมชาติ - ตรงนี้ ผมมองว่าในปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องความเท่าเทียม และมักมีการเรียกร้องออกมาเนือง ๆ เรื่องการขอใหเหญิงมีสิทธิได้รับการบวช หรือได้รับการยอมรับในฐานะภิกขุณีอย่างเต็มภาคภูมิ เรื่องนี้ ต้องอ้างก่อนว่าพระพุทธเจ้าเองก็อนุญาติให้ทั้งชายและหญิงบวชได้ แต่ที่ทรงลังเลเรื่องภิกขุณี จากการตีความของผมเอง ผมเข้าใจว่า พระองค์ทรงเข้าใจถึงเงื่อนไขของสังคมและวัฒนธรรมในทั้งข้อจำกัดของสตรีเพศ นั้นเองทำให้เป็นเรื่องยากที่หญิงจะถือบวชได้เหมือนภิกขุ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ในภายหลังเมื่อพระอานนท์ทูลขอถึงสามครั้งและตัวผู้จะบวชเองก้แสดงความตั้งใจอย่างจริงแท้ พระพุทธองค์ก็อนุญาติ แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า พระพุทธองค์ก็ยังบัญญัติพระวินัยหรือพิธีกรรมอีกหลายอย่าง เพื่อให้พระคอยดูแลสังคมภิกขุณีเหมือนกับพี่ดูแลน้อง ซึ่งตรงนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่สังคมปัจจุบันต่างไปแล้วในหลาย ๆ แง่ด้วยเช่นกัน

    ประเด็นนี้ ถ้าว่ากันตามเรื่องสิทธิ ผมมองว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการถือบวช หากดำเนินการอย่างถูกต้องและไม่จัดอยู่ในหมวดบุคคลต้องห้ามต่าง ๆ ที่ทางพระวินัยหรือกฏหมายบ้านเมืองระบุไว้ อาทิ ไม่ติดโรคร้ายแรง ไม่เป็นลักเพศ ไม่มีคดีความ และอื่น ๆ
    สำหรับขั้นตอนตรงนี้ ถ้าเป็นเหล่ามหายานหลายประเทศ การบวช และพิธีกรรมต่าง ๆ จะทำในภาษาถิ่น ( ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่ใช้บาลีเป็นหลัก ) ก่อนการบวช พระอุปัชฌาห์จะทำการถามข้อห้ามเหล่านี้ ซึ่งถ้าบังเอิญมีข้อใดข้อหนึ่งตรง ก็ไม่สามารถบวชได้ หรือการบวชนั้นอาจต้องเป็นโมฆะ หรือถ้าบวชไปแล้วโดยไม่ทราบ ก็ยังถือว่าคนคนนั้นเป็นพระเก๊ เพราะเขาได้โกหกหรือปิดบังพระอุปัชฌาห์เกี่ยวกับข้อเหล่านี้ แต่ในบ้านเราทำเป็นภาษาบาลี ตรงนี้เลยเป็นแค่เรื่องทางพิธีกรรมมากกว่าเป็นการคัดกรองโดยระบบ เพราะผู้รับบวชเองก็ไม่ได้มีความเข้าใจถึงขั้นตอนและบทสนทนาโต้ตอบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพียงแค่ทำการท่อง ๆ ตาม ๆ ที่เขาสั่งไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
    สรุปข้อนี้คือว่า ถ้าไม่มีคุณสมบัติตรงกับข้อห้าม และมีการปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างสมบูรณ์ ตรงนี้ก็ถือว่าผู้ที่จะบวชนั้นสามารถที่จะกระทำได้ ไม่ว่าชายหรือหญิง

    2.วิธีการบวช ว่าด้วยเรื่องวินัย หรือกฏหมายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ต้น
    ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อนที่มีหลายคนอาจคิดว่า ปัญหามันมีมากก๋็แก้พระวินัยไปเลยสิ เรื่องนี้เองพูดง่าย แต่ถ้าทำขึ้นมาจริง ๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องของการทำสังฆเภท ไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแยกลัทธิใหม่ ๆ ได้ เรื่องเหล่านี้สำหรับผู้ถือพุทธต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นิกายต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ก็แตกแยกกันเพราะเรื่องการหาจุดลงตัวเรื่องการถือปฏิบัติไม่ได้ บ้างก็ผ่อนปรณ บ้างก็ว่าไม่ได้
    ว่าด้วยเรื่องวินัยนั้น เราก็ต้องมาดูว่าพระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่องการบวชภิกขุณีอย่างไร ใครที่มีคุณสมบัติจะบวชได้ และถ้าจะบวชจะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ตรงนี้ ถ้าหน่วยงานพุทธศาสนาเองมีความจริงใจในการรื้อฟื้น ก็จะต้องหยิบออกมาถกเถียงหาทางกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่อ้างกฏอ้างระเบียบที่ตราไว้ในอดีตของบ้านเมืองโดยไม่ได้แสดงว่าพร้อมจะร่วมหาทางออกเพื่อสืบต่อพุทธศาสนาไปในอนาคต
    เรื่องคุณสมบัติไม่มีปัญหาอะไร ตรงนี้จะไม่ขอพูดถึง แต่ว่าลงรายละเอียดไปถึงขั้นตอนและสายอุปสมบทเลยแล้วกัน ว่าพระวินัยว่ากันอย่างไรบ้าง

    เรื่องขั้นตอนการบวชที่เป็นปัญหาถกเถียงกัน และมักถูกหยิบยกออกมาเสมอคือ การบวชภิกขุณี ต้องผ่านการบวชจากสงฆ์สองฝ่าย เราต้องทำความเข้าใจถึงเหตุผลก่อนว่า ทำไมต้องผ่านการบวชทั้งสองฝ่าย
    ดังที่กล่าวไว้ด้านบน ในขั้นตอนการบวชนั้น จะต้องมีการถามข้อห้ามต่าง ๆ และในอดีต คนเข้าใจบาลี เมื่อพระถามข้อห้ามบวชต่าง ๆ กับหญิงสาวที่ต้องการบวช บ่อยครั้งกลายเป็นเรื่องน่าอายที่จะต้องตอบ เพราะเป็นเรื่องของผู้หญิง ตรงนี้พระพุทธเจ้าเลยให้ภิกขุณีเข้ามามีบทบาทในการทำอุปสมบท และเมื่อมีการถามข้อห้ามเหล่านี้โดยภิกขุณีแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่พระภิกษุทำการบวชให้เป็นการต่อไป
    ปัญหา ณ จุดนี้อยู่ที่ว่า ถ้าไม่มีภิกขุณีเหลืออยู่แล้ว พระจะยังทำการบวชให้ได้อยู่หรือไม่ และจะถือว่าสมบูรณ์หรือไม่ ฝ่ายค้านก็ว่า การบวชต้องผ่านการบวชโดยสงฆ์สองฝ่าย ฝ่ายสนับสนุนก็ว่าขัึ้นตอนการบวชจริง ๆ อยู่ที่พระ ดังนั้นไม่มีภิกขุณีก็ถือควรว่าสมบูรณ์ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่อย่างไรเราก็ต้องหาคำตอบว่าพระวินัยในว่ากันอย่างไรแน่ ๆ

    3.ว่าด้วยเรื่องสายอุปสมบท สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการถือบวชคือ สายการบวชนี้ จะต้องถูกส่งต่อเป็นสายตรงมาจากพระพุทธองค์โดยไม่มีการขาดตอน
    เรื่องนี้ฝ่ายสนับสนุนว่า การถือบวช ทำสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนภิกขุ ดังนั้น สายอุปสมบทก็ถือว่าสืบต่อมาทางภิกขุได้
    ส่วนฝ่านค้านว่า สายภิกขุณีขาดไปแล้ว ไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้ ถ้าไม่ได้ผ่านการบวชโดยทั้งสองฝ่าย อย่างไรเสียก็ไม่ถือได้ว่าสมบูรณ์
    เรื่องนี้เรา ๆ ต้องหาคำตอบกันเองว่าอย่างไรจึงถือได้ว่าสมบูรณ์ ไม่ใช่ว่ากันตามกฏบัญญัติบ้านเมืองที่มาตรากันทีหลัง มิเช่นนั้นจะกลายเป็นเรื่องของการถือเอาสังคมแบบชายเป็นใหญ่มาก ๆ ไป ซึ่งทุกวันนี้ก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้วจึงดูเหมือนมีการกีดกันสตรีเพศออกไปจากวงการ

    จริง ๆ แล้วเรื่องพระวินัยว่าด้วยเรื่องข้อยกเว้นในการสืบต่อสายอุปสทบทยังมีอีกหลายข้อ แต่ผมเองมองว่ามันไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้ เพราะจะละเอียดเกิน เอาแค่เรื่องสองสามเรื่องที่กล่าวไว้ข้างบนก็ใหญ่มาก ๆ เกินพอแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2015
  12. The eyes

    The eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    968
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,638
    มีเหตุผล และถูกต้อง พระพุทธองค์ทรงมองกาลไกล (ตรัสถูกต้อง ทั้งเหตุและผล) มาคิดๆดู แม้ไม่ได้เป็นภิกษุณี แต่ก็ใช่ว่าจะบรรลุธรรมไม่ได้ การขจัดกิเลสใช่ว่าผู้บวชจำเป็นต้องเป็นภิกษุณีเสมอไป ศีลอยู่ที่ใจไม่ใช่สิ่งสมมุติที่ใช้เรียกขาน(ตำแหน่ง) อย่างน้อยๆ หากพลั้งเผลอทำสิ่งที่ไม่บังควร ก็ยังโชคดีที่ไม่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นหนึ่งในผู้ทำลายพระพุทธศาสนา แต่สำหรับท่านๆที่ฝึกจิตจนละซึ่งกิเลสได้แล้ว ก็ขอโมทนาสาธุด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 ธันวาคม 2014
  13. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ใช้ปัญญา เดินทางมาด้วยอภิปรัชญา ทันสมัยที่สุดจนถึงปัจจุบัน การที่พระพุทธเจ้าท่านปฏิเสธระบบวรรณะ และให้มีผู้หญิงถือบวชได้จริงภิกษุณี ก็ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของท่าน: การที่ศาสนาพุทธดำรงคงมั่นมาถึงปัจจุบันก็เพราะแรงศรัทธาส่วนหนึ่งจาก
    ผู้หญิง ศาสนาพุทธเสื่อมถอยลงในอินเดียคงไม่ใช่เพราะผู้หญิงบวชมาก แต่เกิดจากเหตุและปัจจัยอื่น ในขณะที่ฝ่ายมหายานปัจจุบันนับว่าทิเบตเข้มแข็งมากที่สุด มีนักบวชหญิงและมีมหาวิทยาลัยเป็นรูปธรรม ส่วนของเถรวาทอยากบอกว่าไทยเข้มแข็งที่สุด แต่ไม่รู้ว่าจะจริงไหม ในขณะที่พม่ากล้าประกาศศาสนาพุทธเป็นศาสนี มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่เหมือนกัน มีศรัทธามหาชนมาก พระได้สมณศักดิ์ชาวบ้านติดป้ายใหญ่มาก มีเด็กผู้หญิงเล็กๆบวชชี มีภิกษุณี
    ก็ยังงงทำไมเขามีครบ ทราบมาว่าของไทยพระวินัยสุดยอด ของพม่าเน้นพระอภิธรรม โดยส่วนตัวก็คิดว่าทำอย่างไรไทยจะเป็นประเทศที่รักษาศาสนาพุทธไว้ให้นานที่สุด เพราะปัจจุบันคนมีลูกไม่มาก สามเณรไทยหายไปมาก กระแสโลกก็เชี่ยวเหลือเกิน จัดบวชเณรข้ามปี 9วัน ยังต้องแจกทุนและให้เกรดเด็กถึงจะบวชกัน แต่ก็น้อยมาก สถานะของแม่ชีก็น้อยมากในสังคมไทย สถานะของภิกษุณีก็น้อยเหมือนกัน เพราะว่าชายหญิงต่างก็เป็นภัยแก่พรหมจรรย์ด้วยกันทั้งคู่ ทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเถอะ สงฆ์ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นสมมุติสงฆ์อยู่เลย
    ผู้หญิงก็ปฏิบัติได้ด้วยตนเองมันไม่ได้อยู่ที่ชุด ภูมิใจเถอะว่าศาสนาพุทธได้ให้เกียรติผู้หญิงมานานแล้ว
     
  14. ssahn34

    ssahn34 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2013
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +75
    เหตุผลที่ท่านห้ามผู้หญิงบวชก็ตามด้านบน แต่การบรรลุธรรมไม่ได้เกี่ยวกับชุดที่สวมใส่
    แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ หลวงตามหาบัวยังรับรอง ในหนังสือเพชรน้ำหนึ่งเลยครับ
    ผมมองว่าจิตที่ปฏิบัติคือพระ ส่วนใครจะมองเรายังไงก็ชั่งเขา เราปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ
    ตามกำลังและเวลาของเรา เดียวก็ถึงเองแหละครับ ถ้าผิดไรไปขออภัยด้วยครับ
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เชื่อพุทธพจน์ คำกล่าวเทศน์สอน ของพระพุทธเจ้า ไหมครับ


    ตอบให้


    เพื่อ ทำให้ถูกต้อง ตามกฏบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้า อนุญาติ ไงครับ


    .
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
     
  17. หนุ่มยาดอง

    หนุ่มยาดอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +680
    บวชใจได้ ดีที่สุด:cool:
     
  18. artwhan

    artwhan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ผมว่าข้อความในพระไตรปิฎกก็ชัดเจนมากแล้วนะครับ
     
  19. Bluecake

    Bluecake สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    เราคิดว่า ในทางธรรมคงไม่ใช่เรื่องเบียดเบียนทางเพศหรอก แต่เพราะกามต่างหาก ที่แบ่งแยกชญ ในทางธรรม ชญ เปนเหมือนเครื่องกีดขวางกันและกัน ความรักคือทุกข์ คือกิเลสเครื่องเศร้าหมอง แต่ทางโลก ความรักคือ ส่ิงสวยงามและยิ่งใหญ่ เปรียบเปนพลังขับเคลื่อนให้ทำมาหากิน เพื่อลูกเมีย สามีภรรยา ก็คือพลังของกิเลสกามนั่นเอง เราเข้าใจว่าทำไมภิกษุณีถึงหายไปจากพุทธกาล ก็ดูจากพระทั้งในอดีต ปัจจุบัน และไปในอนาคต ที่สึก ลาสิกขาไป ก็เพราะกามทั้งนั้น ทั้ง กามราคะ และ กามคุณ 5
     
  20. LetItGo

    LetItGo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    ทำไมท่านจึงห้ามผู้หญิงบวช?

    1. ในพุทธกาลพระองค์ท่านได้มีพุทธานุญาติให้สตรีบวชได้
    (โดยอาศัยการทูลขอหลายครั้งของพระอานนท์)
    ดังที่ ท่านเฮียปอ ได้กล่าวไว้ข้างต้น

    2.เมื่อกาลล่วงไปหลังพุทธปรินิพพาน
    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคพระเจ้าอโศกเรื่อยมา
    จนไปถึงประเทศศรีลังกานั้น ยังปรากฏการมีอยู่ของภิกษุณีสงฆ์อยู่

    แต่หลังจากยุคของศรีลังกาเป็นต้นไปนั้น
    ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในประเทศจีนและไต้หวันรวมทั้งประเทศอื่นๆ
    (ควบคู่กับการแผ่ขยายของมหายาน)

    ตามประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
    จนสิ้นพุทธศตวรรษที่ 18 นั้น
    ไม่ปรากฏพบว่ามีภิกษุณีสงฆ์ ฝ่ายเถรวาทเหลืออยู่อีกเลย


    หมายเหตุ: ทั้งนี้ สมัยก่อนนั้น
    ไม่ได้มีการเรียกชื่อว่า เถรวาท(หินยาน) หรืออาจาริยวาท (มหายาน)
    อย่างชัดเจน เพราะชื่อนี้เพิ่งมาจัดหมวดเมื่อการประชุมพุทธโลกที่ศรีลังกา
    ในปี พ.ศ. 2400 กว่าๆ เท่านั้นเอง



    ในคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ พระวินัยปิฎก
    อันว่าด้วยระเบียบของการบวชภิกษุณีนั้น

    พระพุทธเจ้าได้กำหนดให้การบวชภิกษุณีได้นั้น
    ต้องอาศัย สงฆ์จากทั้งสองฝ่าย
    หมายถึงต้องบวชท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์
    ต้องใช้ทั้งอุปัชฌาย์และปวัตตินี(อุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณี)
    ก่อนจะบวชก็ต้องเป็น สิกขมานา ถือศีล 6 ข้อ อยู่ถึง 2 ปี
    ถ้าขาดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็ต้องเริ่มนับใหม่


    เมื่อภิกษุณี ฝ่ายเถรวาทสาบสูญไปแล้ว
    ทำให้ไม่สามารถทำการบวชได้อีก
    เพราะองค์ประกอบในการบวชไม่ครบ
    เนื่องจากขาดปวัตตินีผู้มีสิทธิ์บวชให้ได้ของภิกษุณีสงฆ์ไป


    หากบวชเองด้วยภิกษุสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว
    หรืออาศัยการบวชเองก็ตาม
    พระพุทธเจ้าท่านถือว่าเป็น
    “ไถยสังวาส” (ลักเพศ คือ การปลอมบวช)
    ไม่สำเร็จเป็นสงฆ์ถูกต้องตามพระธรรมวินัย



    แต่คราวนี้
    ภิกษุณีสงฆ์ที่บวชที่ศรีลังกานั้น
    ท่านไปบวชมาจาก มหายานของทางจีน-ไต้หวัน
    เพราะมีความเห็นส่วนตนว่า ภิกษุณีทางมหายาน
    ก็น่าจะสืบมาจากภิกษุณีเถรวาท แต่ครั้งโบราณ
    (ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดรับรอง
    เพราะสงฆ์เถรวาทกับมหายานในจีน-ไต้หวันนั้น
    มีการแยกกันอย่างชัดเจนในสมัยก่อน)

    โดยร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ศรีลังกาบางรูปที่สนับสนุน
    เห็นด้วยกับการบวชภิกษุณี โดยทำการเริ่มต้นบวชจาก


    ภิกษุ (เถรวาท) + ภิกษุณี (มหายาน)
    = ภิกษุณี (สายใหม่ ที่กล่าวอ้างว่าเป็นเถรวาทเพราะมีสงฆ์เถรวาทรับรอง)


    จากนั้น เขาก็รอให้ ภิกษุณี (สายใหม่) นั้น
    มีพรรษาครบ จนสามารถเป็น ปวัตตินี ได้
    แล้วจึงให้บวชเป็น


    ภิกษุ(เถรวาท) + ภิกษุณี (สายใหม่ที่เข้าใจว่าเป็นเถรวาทแล้ว)
    = ภิกษุณี (เถรวาทแบบสมบูรณ์)


    ซึ่งก็ทำให้เข้าใจว่า ภิกษุณีในเถรวาทนั้นยังสมบูรณ์
    และสามารถบวชได้เหมือนครั้งสมัยพุทธกาล

    ถ้าอุปมาให้เข้าใจเช่นว่า
    ม้าพันธุ์แท้ เกิดจาก ม้า(ตัวผู้) + ม้า(ตัวเมีย)
    สมัยหนึ่ง ม้า(ตัวเมีย) สูญพันธ์
    คนเลยเอา ม้า(ตัวผู้) + กวาง(ตัวเมีย) = X(มีเชื้อม้าครึ่งหนึ่ง)
    หลังจากนั้นนำ ม้า(ตัวผู้) + X = สัตว์ชนิดหนึ่งพันธุ์ A
    จากนั้นจึงสรุปกล่าวว่า A นั้น คือม้า (ตัวเมีย) พันธุ์แท้แบบดั้งเดิม

    หมายเหตุ: อุปมาให้เข้าใจง่าย มิได้หมายจะนอกประเด็นอื่นๆ นะครับ



    คราวนี้เนื่องจากพุทธศาสนา เถรวาท นั้น ท่านถือว่า
    ท่านจะเอาเฉพาะต้นฉบับดั้งเดิม (สมัยสังคายนาครั้งแรก)
    ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรใหม่เพิ่มเติม
    ซึ่งต่างจากมหายาน ที่จะเอาคำดังเดิมรวมกับคำสอนของพระโพธิสัตว์
    และอาจารย์ต่างๆ รวมไปด้วยในพระไตรปิฎก (เป็นแนว Apply)

    พระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทยนั้น
    จึงไม่สามารถยอมรับให้มีการบวชภิกษุณีสงฆ์ได้
    เพราะท่านถือว่าไม่ได้ทำตามพุทธบัญญัติ
    (ทั้งๆ ที่พระสงฆ์ไทยหลายรูปนั้น
    ท่านก็แสดงตนว่าอยากให้ผู้หญิงได้บวช
    เพราะจะสามารถสอนหรือเข้าใจ
    หัวอกอุบาสิกาซึ่งเป็นคนส่วนมากที่เข้าวัด ได้ดี
    มากกว่าพระภิกษุ ซึ่งอาจไม่สนิทใจกันในบางประเด็น

    แต่พระเถระเหล่านั้น ท่านก็ไม่สามารถทำได้
    เพราะถ้าทำเช่นนั้น ก็แสดงว่าตนเองเก่งกว่าพระพุทธเจ้า
    และบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ
    รวมทั้งเป็นการกระทำสัทธรรมปฏิรูปที่เป็นอันตรายต่อพระธรรมวินัย
    และเป็นสิ่งที่น่าติเตียนยิ่งกว่า)


    ทางออกของประเทศไทยในสมัยนั้น
    จึงทำให้มีการสร้างฐานของระบบ "แม่ชีไทย" ขึ้นมา
    เพื่อจะคานสมดุลของพุทธบริษัทส่วนหนึ่งในบริษัท 4 ที่หายสาบสูญไป

    หมายเหตุ:
    ปัจจุบัน แม้ภิกษุสงฆ์เถรวาทที่ประเทศศรีลังกาอีก 2 นิกายในประเทศนั้น
    ก็ไม่ได้ยอมรับการบวชภิกษุณีสงฆ์อย่างเต็มใจนักเช่นกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...