หลวงปู่โง่น ค้าน[dispute] ข้อธรรมว่าด้วยวิญญาณเดิมแท้เป็นประภัสสรขัดอิทัปปัจจะยะตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย dearestguardian, 21 กันยายน 2007.

  1. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    เรื่องภาษานี่ยาก
    แต่ไม่มีภาษาก็ไม่รู้จะสื่อกันอย่างไร

    พุทธเองก็มีหลายนิกายมาก ที่ไม่เห็นตรงกันในรายละเอียด

    ฟังแล้วก็งงค่ะ ไม่ทราบจะเข้าใจถูกขนาดไหน
    ความรู้ก็เลยห้ามยึด

    ฟังๆ ไปก่อนแล้วกันอะค่ะ ตอนนี้ฟังเทปอยู่ก็งง อยู่ค่ะ..

    คิดว่าคนสมัยก่อนก็คงพยายามจะใช้ภาษาสื่อให้เราเข้าใจ
    แต่ด้วยความที่มันสามารถปรุงไปตามสัญญาคนฟังอีก ทุกอย่างก็เลยบิดเบือนไปอีกบ้าง เป็นทอดๆ

    จะสื่อ จะรับ ตรงกันได้ขนาดไหน ก็ต้องพิจารณาให้มากที่สุด

    (})
     
  2. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    อย่าลืมนะ ชาวพูทธทั้งหลาย วิญญาณกับ จิต ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และ (จิตและเจตสิก ในพระอภิธรรม ๘๙ หรือ ๑๒๑ ชนิดเป็นสังขารธรรมคือลักษณปรุงแต่งของจิตหรือ อาการของจิตค่ะ)

    ใช่ค่ะ คุณ กังขา ข้าพเจ้าได้รับปัญญาจากพระแท้รูปหนึ่ง ค่ะ ว่าจิตประภัสสร นั้นเป็นจิตของพรหม ชั้นหนึ่งค่ะ ยังไม่หลุด ยังเป็นจิตโง่ที่อวิชชาครอบงำได้อยู่
    และไดรับคำตอบชนิดเดียวกันจากหนังสือธรรมะประืทานพรค่ะ

    จิตที่มีอวิชชานั้นก็มีความคิดดีคิดชั่วคิดผิด ๆ ถูก ๆ เรียกว่า สังขาร อารมณ์ความคิดผิด ๆ ถูก ๆ สังขารมี จึงเกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ต่าง ๆนานา เรียกว่าจิตนั้นมีปฏิสนธิวิญญาณทำให้เข้ามาอยู่ในวงกลมวัฏฏสงสาร หรือจิตเข้าไปเกิดเป็นตัวคนสัตว์
    ปฏิสนธิวิญญาณของจิตทำให้เกิด เป็นคนหรือสัตว์ตามบุญตามบาปมีรูปร่างกายและนาม คือ มีขันธ์ 5 คือ
    กาย เวทนา(ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ความรู้สึกทางระบบประสาท)
    พอมีขันธ์ 5 ทั้งรูปกายที่มองเห็นและนามอีก 4 อย่างคือ ความคิดปรุงแต่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ ความจำและวิญญาณ ระบบประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมองไม่เห็นแต่ซ่อนอยู่ในกายคนสัตว์ทุกคน นามทั้ง 4 อย่างนี้ชาวพุทธทุกท่านโปรดเข้าใจว่าเป็นส่วนเดียวกับร่างกาย ไม่ใช่ของจิตพุทธะแรกเริ่มก่อนเกิดไม่เอาไปปนกันกับขันธ์ 5 ที่เป็นของชั่วคราว ของสมมุติ ของอนัตตาบังคับไว้ไม่ให้ตายไม่ได้ ถ้าเอาไปปนกันแล้วยุ่ง ทำให้เข้าใจผิดไม่เข้าใจอภิธรรมกันมากก็เพราะ เอาจิตไปปนกับวิญญาณในขันธ์ 5 คิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
    จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่ตาย วิญญาณคือ ระบบประสาททุกส่วนในร่างกายคน สัตว์ มีตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ตายไปกับร่างกายเป็นอนัตตา
    พอมีรูปกาย ก็มีอายตนะ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส ประสาทกาย ใจ คือ ความรู้สึกทางกายทั้งหมด ใจอันนี้เป็นอารมณ์ใจของขันธ์ 5 ไม่ใช่จิตแรกเริ่มที่ประภัสสรสะอาดมาแต่ก่อน แต่มามัวหมองเพราะความเข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดนี้คือ อวิชชา ก็วกกลับมาถึงสาเหตุแรกเริ่มของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงกลมอย่างนี้ วงกลมเกิด ๆ ตาย ๆสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่มีวันจบสิ้น องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ชื่อว่า ปฏิจสมุปบาท
     
  3. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    หากเราคิดว่า
    <O:p
    ....ถ้าจิตเดิมเป็นประภัสสร หมายถึงจิตบริสุทธิ์ไม่มีกิเลส ย่อมค้านกับอิทัปปัจจยตาในแง่ปฎิจจฯ เพราะไม่รู้จะเป็นพระอรหันต์ทำไม หากกลับมามีอวิชชาได้
    <O:p
    ....แต่ถ้า.. จิตเดิม *มีธรรมชาติเป็นประภัสสรผ่องใส มีแสงในตัว แต่ไม่ได้หมายถึงจิตบริสุทธิ์ที่ไม่มีกิเลส แต่เป็นจิตประภัสสรที่หลุดจากนิวรณ์ห้า (อุปกิเลส 16) ย่อมมีธรรมชาติความสว่างไสว (นับแต่ปฐมฌานขึ้นไป ก็จะเห็นจิตสว่างมากแล้ว) ..จนกิเลสจรมาจับ.. จึงทำให้เกิดอวิชชามัวหมอง มีนิวรณ์กิเลส หลุดจากธรรมชาติเดิมออกมา ..ย่อมไม่ค้านกับปฏิจจฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอขอบคุณในสิ่งที่ปู่โง่นสังเกต และคำตอบจากท่านเสถียรโพธินันทะ<O:p</O:p




    ที่นี้ ..ที่อ้างอิงคือสีแดงนะ <O:p</O:p
    สีดำเป็นคำตอบ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    จิตที่มีอวิชชานั้นก็มีความคิดดีคิดชั่วคิดผิด ๆถูก ๆ เรียกว่า สังขาร อารมณ์ความคิดผิด ๆ ถูก ๆ สังขารมี จึงเกิดความรู้สึกเกิดอารมณ์ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ต่าง ๆนานาเรียกว่าจิตนั้นมีปฏิสนธิวิญญาณทำให้เข้ามาอยู่ในวงกลมวัฏฏสงสารหรือจิตเข้าไปเกิดเป็นตัวคนสัตว์
    ปฏิสนธิวิญญาณของจิตทำให้เกิดเป็นคนหรือสัตว์ตามบุญตามบาปมีรูปร่างกายและนาม คือ มีขันธ์ 5 คือ
    กายเวทนา(ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ความรู้สึกทางระบบประสาท)

    <O:p</O:p
    .... ข้างบนนี้ คุณเขียนเองว่า สังขาร วิญญาณเกิดจาก จิตมีอวิชชา จิตทำให้เกิดเป็นคนหรือสัตว์<O:p</O:p
    แล้วอย่างนั้นอวิชชามาจากไหนล่ะ มาจากจิต หรือ ร่างกายที่มีอวิชชา ??<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    พอมีขันธ์ 5 ทั้งรูปกายที่มองเห็น และนามอีก 4 อย่างคือ ความคิดปรุงแต่งความรู้สึกสุขทุกข์ ความจำและวิญญาณ ระบบประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กายใจมองไม่เห็นแต่ซ่อนอยู่ในกายคนสัตว์ทุกคน<O:p</O:p
    นามทั้ง 4 อย่างนี้ชาวพุทธทุกท่านโปรดเข้าใจว่าเป็นส่วนเดียวกับร่างกายไม่ใช่ของจิตพุทธะแรกเริ่มก่อนเกิดไม่เอาไปปนกันกับขันธ์ 5 ที่เป็นของชั่วคราว ของสมมุติ ของอนัตตาบังคับไว้ไม่ให้ตายไม่ได้ถ้าเอาไปปนกันแล้วยุ่ง ทำให้เข้าใจผิดไม่เข้าใจอภิธรรมกันมากก็เพราะเอาจิตไปปนกับวิญญาณในขันธ์ 5 คิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .... แล้วนามอีก 4 อย่าง คือความคิดปรุงแต่ง1 ความรู้สึกสุขทุกข์ 1 ความจำ 1 และวิญญาณ 1 (ที่คุณว่า เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) เหตุใด จึงไม่ใช่ สังขาร เวทนา สัญญา วิญญาณ ที่อยู่ในจิตล่ะ <O:p</O:p
    นามขันธ์สี่ นี้ทำงานร่วมกัน โดยใช้ร่างกายหรือ ??ร่างกายเอาส่วนไหนปรุงขันธ์ทั้งสี่นี้ ที่ไหนกัน?? ในเมื่อคุณบอก จิตเจตสิก อยู่ที่จิต ไปยืมเอาที่จิตมาปรุงที่ร่างกายหรือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ร่างกายเอาอะไรคิด สมองเหรอ แล้วสมองคนตาย ยังคิดได้หรือ ร่างกายที่ตายแล้วล่ะ จะคิดได้อย่างไร ?? ยิ่งถ้าเป็นพวกร่างที่ถูกจิตหลายๆ ดวงเข้าสิง จิตหลายดวงนั้น ก็ต้องคิดเหมือนกันซิตามร่างกายเดียวกันที่เข้าไปสิง เพราะร่างกายเป็นผู้คิดนี่ หรือว่าจิตกันแน่ที่คิด พวกมีสัมเภสีเข้าสิง ถึงมักได้ยินคนอื่นพูด ไม่ใช่ตัวเอง ยิ่งสิงหลายตัว ยิ่งปวดเฮดมาก <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถ้าร่างกายตายกลายเป็นศพล่ะ นามขันธ์นี้ จะอยู่กับร่างกายที่ตายไปแล้วไหม แล้วจิตที่หลุดออกมาล่ะ กลายเป็นจิตแรกประภัสสรเลยหรืออย่างไรแบบนี้ ก็ไปเป็นพรหมกันหมด ไม่ต้องกลัวกรรมตามที่จิตปรุงกันแล้ว ใช่ไหม เพราะมันคงตายอยู่กับร่างกายไป หรือคุณว่ามันจะไปอยู่กับร่างกายใหม่อีก แสดงว่า ใจที่เป็นวิญญาณมีดวงหนึ่ง จิตประภัสสรมีอีกดวงหนึ่ง แล้วทำไมไม่แยกมันขณะตายเสียล่ะ แยกกันไปเลย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถ้านามขันธ์สี่ รูปขันธุ์หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แบบนี้ก็ดีซิ เรามาฆ่าร่างกายให้ตาย จิตเราก็หลุดออกมาจาก ขันธุ์ห้านี้ได้เลยที่เดียว <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่เหตุ เรากลับต้องเกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วก็เกิดใหม่ ใครกันนะ ที่แบกเอาขันธ์ห้านี้ไปด้วย ถ้าไม่ใช่จิต (จึงเกิดรูปขันธ์ใหม่ของโอปปาติกะ คือเราไม่สามารถว่างจากการเกิดได้เลย)

    <O:p</O:p
    พอมีรูปกาย ก็มีอายตนะ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส ประสาทกาย ใจ คือความรู้สึกทางกายทั้งหมด ใจอันนี้เป็นอารมณ์ใจของขันธ์ 5 ไม่ใช่จิตแรกเริ่มที่ประภัสสรสะอาดมาแต่ก่อนแต่มามัวหมองเพราะความเข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดนี้คืออวิชชาก็วกกลับมาถึงสาเหตุแรกเริ่มของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงกลมอย่างนี้วงกลมเกิด ๆ ตาย ๆสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่มีวันจบสิ้นองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ชื่อว่า ปฏิจสมุปบาท <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การมีความรู้สึกทางกายนั้น เป็นวิญญาณจากจิตที่เข้าไปรับรู้ ไม่จำเป็นต้องเป็นใจของขันธ์ห้า (ที่คุณว่ามันอยู่ในร่างกายน่ะ) เพราะถึงเป็นพระอรหันต์ที่ยังไม่ละสังขารท่านก็ต้องมีความรู้สึกทางกาย ส่วนจะปรุงแต่งว่าโลกน่าอยู่ไหม อยู่ที่ว่ารู้สึกแล้วจะเกิดเวทนาและสังขารต่อไปอย่างไร เพราะถึงปุถุชนบางคน ก็ไม่ได้คิดว่าโลกน่าอยู่ก็มี อวิชชา จึงไม่ได้เกิดเพราะความรู้สึกทางกาย หรือเกิดจากใจที่อยู่ในร่างกายที่มีความรู้สึกทางกาย แบบนั้น ถ้าเกิดการถอดจิต หรือร่างกายหมดสภาพไปสัก 200 ปีด้วยโรคบางอย่าง แล้วจะคิดกันอย่างไร ร่างกายไม่สามารถตกภวังค์ หรือทนอยู่ในมิติอื่นได้อย่างจิต <O:p</O:p
    <O:p


    .....
    <O:p</O:p
    อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ (ชรา มรณะ ...) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... อวิชชา ที่คุณบอกว่า พอคิดผิด อวิชชาก็ย้อนกลับมา ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าคุณเข้าใจว่ารูปกาย คือตาหูจมูกลิ้นกายใจที่อยู่ในร่างกาย-เป็นผู้คิด ดังนั้นหากไม่มีรูปกาย ย่อมคิดไม่ได้ ถูกไหม <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... แต่ดูจากชาร์ทปฏิจจะ นามรูป เกิดหลัง อวิชชา ดังนั้น ถ้านามรูปคิด จึงเกิดอวิชชา ต้องมีนามรูปก่อน จึงจะคิดได้ ชาร์ทนี่ก็จะผิด.. ??<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิญญาณนั้น ไม่ใช่ประสาทสัมผัสในร่างกาย แต่เป็นหนึ่งในขันธ์สี่ คือ นามขันธ์ หรือที่เรียกว่าจิตนั่น ร่างกายที่จิตเสวยฌาน หรือตกภวังค์ ย่อมไม่รู้สึกกับประสาทสัมผัสต่างๆ ถ้าคุณว่ายังมีใจที่อยู่กับร่างกาย เป็นตัวรู้สึก ใจตัวนี้ จะไปอยู่ที่ไหน หากจิตประภัสสรเก่า เข้าฌานอยู่ ใจตัวนี้ จะยังรู้สึกกับประสาทสัมผัสต่างๆ อีกอยู่หรือ.. ??<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    สรุป....<O:p</O:p
    <O:p
    *เหตุใดจึงคิดว่ามีจิตประภัสสรหนึ่ง และมีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของกายที่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจอีกหนึ่ง โดยรวมขันธ์ห้าเป็นตัวร่างกายที่คิด แบบนั้นถ้ากายตายไป สิ่งเหล่านี้จะดำรงอยู่อย่างไร ความคิดย่อมดับไปด้วย ย่อมเหลือแต่จิตประภัสสร ทุกคนต้องเป็นพรหมหมดแล้วแบบนั้น <O:p</O:p
    <O:p
    *หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ที่คุณว่าเป็นวิญญาณประสาทสัมผัส) ใจ ...จะยกพวกออกจากร่างเก่ามาหาร่างใหม่หรือ ก็แสดงว่ามันไม่ใช่กายแล้วแบบนั้น อีกทั้ง ร่างใหม่ ไม่ได้ใช้ ตาหูจมูกลิ้นกายใจเก่า เพราะโอปปาติกะเป็นกายละเอียด ที่มีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามจิตสังขารอย่างรวดเร็ว ไม่มีกายหรือประสาทสัมผัสอย่างมนุษย์ หรือง่ายๆ คือ ตาหูจมูกลิ้นกายประสาทสัมผัส ของเก่า ไม่ได้ใช้เลย<O:p</O:p
    <O:p
    * ประสาทสัมผัสทางร่างกายเก่า ไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณเป็นตัวรับรู้ หรือหนึ่งในนามขันธ์สี่ที่อยู่กับจิต ถ้าไม่มีจิตวิญญาณย่อมไม่สามารถเข้าไปรับรู้ประสาทสัมผัสเหล่านั้นได้ และถ้าไม่มีจิตสังขารย่อมไม่เกิดเวทนา หากไม่มีเวทนา ตัณหา อุปทาน ย่อมไม่เกิด .. เรียกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะจิตดับลงเพราะจิต<O:p</O:p
    และเมื่อคุณบอกเอง ว่าจิตและเจตสิก ในพระอภิธรรม ๘๙ หรือ ๑๒๑ชนิดเป็นสังขารธรรมคือลักษณปรุงแต่งของจิตหรือ อาการของจิต ...แล้วจะไปอยู่ในส่วนร่างกายได้อย่างไร <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากคุณว่าก็มันไปอยู่ในใจส่วนร่างกาย แล้วจิตประภัสสรอีกตัวหนึ่ง ก็ไม่ต้องทำงานเลย แล้วมีไว้เพื่ออะไร ทำไมถึงแยกจิตเป็นหลายตัว .. และจิตนิพพานล่ะ ตัวไหน.. ถ้าเป็นตัวจิตประภัสสร ก็ไม่ต้องนิพพานแล้ว เพราะไม่เห็นจิตตัวนี้มีภาระในการทำงานแต่ประการใด...



    (kiss) <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2008
  4. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    อายตนะ 6 และขันธ์ 5

    อายตนะ 6 และขันธ์ 5


    อายตนะ 6 หรือ คู่ 12<O:p</O:p
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <O:p</O:p
    อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ<O:p</O:p
    อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก <O:p</O:p
    อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น <O:p</O:p
    อานตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่าวิญญาณ
    <O:p</O:p
    (หากเกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา เข้าสู่กระบวนของปฏิจจสมุปาทต่อไป...)<O:p</O:p
    ...
    <O:p</O:p
    อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจนึกคิด <O:p</O:p
    มีการสัมพันธ์ระหว่าง วัตถุ (Object) คือสิ่งที่ถูกรู้หรือผู้ถูกสัมผัส ได้แก่ ภาพ เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกทางกาย และความคิดต่อสิ่งที่ถูกสัมผัส โดยผ่านทางอวัยวะทวารทั้ง 6 เกิดเป็นอายตนะ 12 <O:p</O:p
    และเมื่อมีวิญญาณร่วมทำงานในการรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ประกอบกันเกิดเป็นอายตนะ 18 หรือ ธาตุ 18 ขึ้น <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ 1 นามขันธ์ 4<O:p</O:p
    คือ รูป - เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ <O:p</O:p
    <O:p
    จะเห็นว่า อายตนะ 6 นั้น <O:p</O:p
    ในส่วนของอายตนะ 5 ส่วนแรก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในรูปขันธ์<O:p</O:p
    และอายตนะ 1 ส่วนหลัง คือ ใจ อยู่ในนามขันธ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่อายตนะทั้งหมดจะทำงานได้นั้น ล้วนต้องอาศัยจิตทำงาน คือ อาศัย วิญญาณ (นามขันธ์) เข้าไปร่วมรับรู้ และเกิดขบวนการส่งต่อ (หรือที่เรียก เบญขันธ์ หรือ ปฏิจจสมุปบาท) คือเมื่อเข้าไปเสวยอารมณ์ โดยผัสสะแล้ว จะเกิดเวทนาอย่างไรนี่ ขึ้นอยู่กับ สังขาร... <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นี่ล้วนเป็นเรื่องของจิตทั้งหมด เรียกว่าถ้าร่างกายไม่มีจิตครอง ไม่ว่ารูปร่างกายหรือประสาทภายในร่างกายจะมีความเค้น เสื่อม เจ็บ ปวด อย่างไร ก็ไม่มีใครรับรู้ได้เลย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ใจตัวนี้ หรือจิตตัวนี้ นับเป็น อายตนะตัวหนึ่งด้วย แต่ไม่ใช่ แบ่งไปเป็นใจทางกาย แล้วมีจิตประภัสสรอีกหนึ่งแยกกัน อะไรแบบนั้น ไม่ใช่นะ
    <O:p</O:p
    ..ไม่รู้จะอธิบายดีขึ้นหรือยัง หรือทำให้พอเห็นภาพได้หรือยัง ..<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ;)
     
  5. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    809
    ค่าพลัง:
    +3,069
    อาจจะหมายถึง อาภัสสราพรหม ลงมากินง้วนดิน นั่นเอง
    จึงเกิดพุทธภาษิตนี้ เป็นอุทานขึ้นมา (ตอนพระองค์ตรัสเทศนาการเกิดโลก)

    ก็ถึงฌาน 4 จิตมันก็ประภัสสรจริงๆ ไม่รู้จะว่าไง
    แต่ตามปกติจิตมันก็มัวไปด้วยอวิชชา ไม่รู้จะว่ายังไง
    และคิดว่า ถ้าหมดกิเลส จิตก็คงประภัสสร เหมือนฌาน 4 ล่ะมั้ง
    ไม่งั้นจิตคงว่างไปเลย (ใส ว่างๆ สว่างๆ)

    อันนี้ยากจริงๆ ยากแท้หยั่งถึง จิตนี้พิศดารนัก
    (ผู้ที่ปฏิบัติถึงแล้ว เค้าไม่คุยกันเรื่องพุทธทาสให้เมื่อยเอื้องหรอกครับ)
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    เป็นเพราะภาษาแท้ ๆ เชียว ทำให้กระทู้นี้มีสาระ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย สรุปแล้ว ไอ้ วิญญาณ ที่ไปเกิดเป็นตัวตน กับ วิญญาณ ทางกระบวนการความคิด ที่แปลว่า เกิดความรู้สึก เช่น จักขุวิญญาณ ก็คือ เกิดความรู้สึกทางตา เป็นต้น มันคนละเรื่องเดียวกันเลยนิ

    ขออนุโมทนาครับ อ่านแล้วต้องเงียบเดี๋ยวบาป
     
  7. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    839
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ความเข้าใจส่วนตัว จิตเดิม=จิตที่หลุดพ้น=จิตก่อนเกิดอวิชชาครอบงำ
    .................................................
    โปรดอย่าเชื่อผม แต่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ที่จะคิดเหมือนกัน
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่พึ่งกล่าวอย่างนั้น
     
  9. ปุถุชน

    ปุถุชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +715
    ท่านใดอยากรู้ว่า
    -ทำไม หลวงปู่โง่น ท่านถึงต้องค้านหนังสือนี้ ?
    -ทำไม พวกคริสต์จึงยกย่องหนังสือเล่มนี้

    ๑) ในหนังสือที่ว่า ชื่อ Suffering And No Suffering
    เขียนว่าอย่างไร เข้า กูเกิล หา ดูได้
    ๒) ผู้เขียน เป็นพระสงฆ์ไทย ชื่อ Varasak Varadhammo
    อ้างในหนังสือว่าเป็นศิษย์ หลวงพ่อพระอาจารย์ชา
    เคยอยู่ที่ Buddhadharma Meditation Center Hinsdale, Illinois USA
    ปัจจุบัน น่าจะเป็นวัดพุทธธรรม
    upload_2020-4-22_22-21-32.png
    upload_2020-4-22_22-22-28.png
     

แชร์หน้านี้

Loading...