ขอความช่วยเหลือค่ะ ช่วงนี้มักตื่นกลางดึก และรู้สึกถึงความตาย

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ComeFromSaturn, 17 กันยายน 2015.

  1. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    ช่วงหลังนี่ มักตื่นขึ้นมากลางดึกค่ะ
    แค่ลืมตาขึ้นมา แบบตาสว่าง (ไม่ได้ตกใจ สะดุ้ง หรืออะไร)
    ลืมตาพร้อมกับความรู้สึกว่า "ความตายใกล้แค่เอื้อม" "ความตายใกล้แค่นี้เอง จะถึงเราเมื่อไหร่ก็ได้"

    จนเมื่อคืนนี้รู้สึกว่า "นี่เราอาจจะตายเร็วๆนี้" "เราจะตายแล้ว"

    คืนแรกๆ ก็เห็นใจตัวเอง รู้สึกวาบๆไหว ใจมันกลัวมันหวิว
    นี่เป็นมาหลายเดือนละ ทุกๆครั้ง ก็ยังรู้สึกว่าใจหวั่นไหวนะคะ แต่ก็น้อยลงกว่าครั้งแรกๆ

    พอรู้สึกแบบนั้น ก็ถามตัวเองว่า นี่เราเสียเวลาทำอะไรอยู่ ทำไม่รีบปฏิบัติ ทำไมไม่จริงจัง

    แล้วก็หลับต่อ (ไม่ได้กลัวจนนอนไม่หลับ) ตื่นเช้ามาก็เฉยๆ ไม่หลงเหลือความรู้สึกกลัว หรือใกล้ชิดกับความตายขนาดนั้น

    ไม่รู้จะทำยังไง เป็นเกือบทุกคืน (ใช้คำว่าเกือบเพราะจำไม่ได้ว่ามีคืนไหนไม่เป็นบ้าง) แต่ก็ไม่ได้กลัวการนอนหลับนะคะ ยังอยากจะหลับทุกคืน และหลังจากคิดเสร็จ ก็ยังหลับต่อได้อย่างสบายทุกคืน

    มีใครพอทราบมั้ยคะว่าน่าจะเกิดจากอะไร
    และควรจะทำยังไงดีคะ

    ปล. ไม่รู้ว่าถามห่องนี้ถูกมั้ย เราไม่รู้จะถามในห้องไหนดีค่ะ
     
  2. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +2,226
    ธรรมท่านมาเตือน..

    ทีนี้อยู่ที่ว่า เมื่อเรารู้ตัวแล้วเราจะทำอะไร?

    สำหรับฆารวาสที่ ยังต้องอยู่กับโลก .. การบำเพ็ญทาน รักษาศีล สวดมนต์ภาวนา .. ก็ถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้ว

    เมื่อทำทาน รักษาศีล มากแล้ว จิตใจยกระดับจะสนใจใน ภาวนา ขึ้นตามลำดับ
    และเมื่อภาวนานึกพุทโธอยู่เสมอ ซึ่งบุญจะเกิดทุกลมหายใจเข้าออก.. ถึงขั้นนี้ถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้ว

    ซึ่งเมื่อหากทำมากถึงจุดหนึ่ง จะไม่กลัวตาย .. เพราะเมื่อเราสั่งสมบุญถึงจุดหนึ่ง
    แม้ปัจจุบันใจก็เป็นสุข แม้ภายนอกจะเหมือนเดิม แต่ภายในได้เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น
    แล้วจิตใจจะรู้สึกมั่นใจมากว่า สถานที่ไปหลังความตายนั้นจะไปดีอย่างแน่นอน

    แต่ถ้าต้องการจะหนีโลก .. จะเป็นอีกระดับหนึ่ง กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งมากก็ได้ เพราะการไปสุคติในปรโลกหลังความตาย ย่อมประเสริฐแล้ว

    หากสั่งสมมากพอ มีการตั้งปรารถนานิพพานไว้ .. จิตจะยกระดับและต้องการหนีโลกไปเองตามขั้นของบุญบารมีที่สั่งสมมานั้นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2015
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941

    ...น่าดีใจที่สามารถมี"มรณานุสติ"ได้เช่นนี้ นี้เป็นกุศลขั้นภาวนาที่มีอานิสงค์มาก ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน,,, เป็น๑ในอนุสติ๑๐ ที่ควรเจริญให้มาก,,,

    อนุสติ๑๐...

    1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    2. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์
    3. สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    5. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
      (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
    7. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    8. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์
      (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
    9. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    10. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต


    ท่านจขกท. อาจได้ยินหรืออ่านเรื่องการพิจารณาความตาย หรือได้ทราบเรื่องการตายของคนรู้จักใกล้ชิด หรือ แม้อ่านข่าวการตายด้วยเหตุน่าสะเทือนใจในแต่ละวันก็เป็นที่มาของ"วิตก"ที่เกิดในเวลาต่อมาได้...


    และเป็นไปได้ว่าตนเคยสั่งสมอัธยาศัยในการพิจารณาหรือระลึกถึงความตายมาก่อน ..ครั้นได้เหตุกระตุ้น อุปนิสสัยนี้ย่อมเกิดขึ้นอีกได้ให้เกิดคิดถึงความตายขึ้นมา..สัตว์ทั้งหลายล้วนกลัวตายกันทั้งนั้น นี่เป็นเรื่องปรกติ เเต่เมื่อพิจารณาต่อไปว่า ความตายมีมาพร้อมการเกิดที่เกิดมาแล้วไม่ตายนั้นไม่มีเลย เกิดมาเท่าใดก็ตายเท่านั้น แม้เราก็ไม่พ้นได้ ไม่เวลาใดเวลาหนึ่งก็ต้องตาย...


    แต่จะตายที่ใหน อย่างไรนั้นไม่มีใครทราบแน่ ครั้นตายแล้ว ที่จะไม่เกิดปรากฏอีกนั้น "ย่อมเป็นไปไม่ได้"ตราบเท่าที่ยังมีกิเลสอยู่ ..


    ดังนี้แล้วพึงเร่งเจริญกุศลทุกประการเพื่อความเกษมสวัสดี มีการไม่ผุดเกิดอีกเป็นที่สุดแม้ยังต้องเวียนเกิดอีกก็ย่อมได้เสบียงบุญอุปการะในภูมิที่ดีมีมนุษยภูมิเป็นต้น....


    บุญที่จะนำเกิดในสุคติภูมิได้แก่บุญยกิริยาวัตถุ๑๐


    การศึกษาพระธรรมให้มากเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ เพราะเป็นปัจจัยให้มีสติปัญญาแยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นบุญหรือบาป สามารถแยกแยะว่าใครเป็นกัลยาณมิตรที่ควรเข้าใกล้....หรือปาปมิตรที่ต้องหลีกห่าง..

    เมื่อได้แนวทางที่ถูกตรงแล้วย่อมสามารถปฏิบัติไปตามครรลองที่ถูกตรงไม่ลดเลี้ยวเข้าพงรกไปเสียได้...เพราะหากหลงทางไปแล้วที่จะกลับเข้าทางที่ถูกอาจไม่มีโอกาสเสียแล้วเพราะตายเสียก่อน เป็นต้น

    ท่านจขกท. พึงพิจารณาไปตามกำลังว่า ความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หาใช่เรื่องแปลกใหม่ไม่ ผู้ที่ยอดเยี่ยมกว่าสรรพสัตว์ มีอานุภาพหาประมาณมิได้เช่นพระพุทธเจ้าก็ยังต้องปรินิพพานดับขันธ์(ตาย)แล้ว......ไม่มีใครรอดได้จริงๆเลย ต่างกันตรงที่พระองค์ไม่ต้องเกิดอีก ส่วนปุถุชนย่อมพากันผุดเกิดกันทั้งนั้น....

    แต่จะไปเกิดแบบใดใน๔แบบนี้....พิจารณาสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ก็พอประมาณได้...



    เป็นอันว่า เมื่อใดเกิดความคิดว่าตนต้องตายก็ให้ยอมรับตามนั้น เมื่อยอมรับได้ก็จะไม่ผลักไสความคิด ..

    คิดว่าถ้ามัวแต่กลัวในเรื่องที่เป็นธรรมดานี้เสีย แล้วจะมีจิตคิดเจริญกุศลอะไรได้หรือ ระงับความกลัวคิดว่าจะกระตุ้นตนในการเจริญกุศล สมาทานศีล มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป ไม่ไปหาที่พึ่งอื่นเช่นเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลาย เพราะท่านเหล่านั้นก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้เลย จะให้ใครพึ่งได้ย่อมไม่ใช่ฐานะ หมั่นศึกษาพระธรรมที่ถูกแท้ของพระพุทธเจ้าให้มาก ย่อมได้ทางที่เกษมปลอดภัยเพื่อเดินทางต่อไปในวัฏฏะ..

    นอกเหนือจากพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นที่พึ่งแก่ใครได้อย่างแท้จริง..



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2015
  4. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนฺธภูโต อยํ โลโก" เป็นต้น.

    คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย
    ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.
    พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า
    "ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า 'ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง’
    ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลายนั้นย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น.
    ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้นย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ."

    พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก
    พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง คิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติจึงควร" ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน.
    ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้ว ก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.
    นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว.
    ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไปในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า "เหตุอะไรหนอ? จักมี" ทรงทราบว่า "นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔ แล้วภาษิตคาถานี้ ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้นจักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน"
    ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ. ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงไปวิหาร ทูลนิมนต์แล้ว. แม้นางกุมาริกานั้นทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า "ข่าวว่า พระมหาโคดมพุทธเจ้าผู้พระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์ ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญของเราเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "พระศาสดาผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้ บัดนี้ เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น."
    ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า "แม่ ผ้าสาฎกซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ), ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยังไม่สำเร็จ. เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้ เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว."
    นางกุมาริกานั้นคิดว่า "เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้ เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอดแล้วนำไปให้แก่บิดา?" ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้นได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "เมื่อเราไม่นำด้ายหลอดไปให้บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง.
    แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว ด้วยทรงดำริว่า
    "เราอาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์ กุลธิดานั้นไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้ เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาส เราจักทำอนุโมทนา."
    ก็ใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดาผู้ทรงนิ่งอย่างนั้นได้. แม้นางกุมาริกานั้นแล กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้า เดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว ก็ได้เดินแลดูพระศาสดาไป.
    แม้พระศาสดาก็ทรงชะเง้อ๑- ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. ถึงนางกุมาริกานั้นก็ได้ทราบแล้ว โดยอาการที่พระศาสดาทอดพระเนตรเหมือนกันว่า "พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่ ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว."
    นางวางกระเช้าด้ายหลอด แล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.


    ถามว่า "ก็เพราะเหตุอะไร? พระศาสดาจึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น."
    แก้ว่า "ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า ‘นางกุมาริกานั้น เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน, แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน." นัยว่า ในวันนั้น ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น.
    นางกุมาริกานั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดาทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างแห่งรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

    พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก
    ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า "กุมาริกา เธอมาจากไหน?"
    กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. เธอจักไป ณ ที่ไหน?
    กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. เธอไม่ทราบหรือ?
    กุมาริกา. ทราบ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. เธอทราบหรือ?
    กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการฉะนี้.
    มหาชนโพนทะนาว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ธิดาของช่างหูกนี้พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เธอมาจากไหน?’ ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูดว่า ‘จากเรือนของช่างหูก’ เมื่อตรัสว่า ‘เธอจะไปไหน ?’ ก็ควรกล่าวว่า ‘ไปโรงของช่างหูก’ มิใช่หรือ?"
    พระศาสดาทรงกระทำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า "กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า ‘มาจากไหน?’ เพราะเหตุไร เธอจึงตอบว่า ‘ไม่ทราบ’".
    กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก แต่พระองค์ เมื่อตรัสถามว่า ‘เธอมาจากไหน?’ ย่อมตรัสถามว่า ‘เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้?’ แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า ‘ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?"
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกานั้นว่า "ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เธอ อันเราถามแล้วว่า ‘เธอจะไป ณ ที่ไหน?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ไม่ทราบ?’"
    กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก, พระองค์ย่อมตรัสถามว่า ‘ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน?’ ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า ‘จักไปเกิดในที่ไหน?’"
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘ไม่ทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ทราบ?’"
    กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘เธอย่อมทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงพูดว่า ‘ไม่ทราบ?’"
    กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะ คือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น."

    คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ
    ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า
    "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า "พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว จักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่ ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ"
    ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    ๗. อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
    สกุนฺโต๑- ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.
    สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้
    น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปสวรรค์
    เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย)
    ฉะนั้น.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=23&p=7
     
  5. โมทนาman

    โมทนาman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    5,665
    ค่าพลัง:
    +6,165
    เกิดจากฝึกไม่ทันตาราง
    ควรสวดมนต์ก่อนแล้วค่อยหลับต่อ
    เวลาหลับดูลมหายใจไปด้วย
     
  6. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    แหะๆ ขอบคุณค่ะ

    ยิ่งกลัวไม่ทัน ก็น่าจะยิ่งไม่ทัน ช่างมันดีกว่า :VO
     
  7. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ข้อมูลดีมากๆเลย
    ถ้ามาทางนี้จริงๆ ทำต่อไปทางนี้ก็น่าจะดีใช่มั้ยคะ
    ^_^ ขอบคุณค่ะ
     
  8. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    ถ้าอยากหนีโลก ไม่ต้องรีบหรอคะ ทำไมอย่างนั้นอ่ะคะ?
     
  9. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ....

    ...ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญไว้แล้วดังแสดงไว้ข้างบน ..
    ท่านจขกท. ควรจะเชื่อพระองค์ แล้วปฏิบัติตาม ..ดังนั้น แทนที่จะรอให้ความคิดนี้เกิดเอง ก็ตั้งใจคิดถึงความตายให้บ่อย เพื่อสั่งสม"อนิจจะสัญญา" จะได้ไม่ประมาทมัวเมาจนหลงลืมว่าตนต้องตาย เลยทำแต่บาปกรรมอยู่เป็นนิจ ..

    พระบรมศาสดา ทรงชี้แต่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงตรัสรับรองแล้วว่า เมื่อเจริญให้มาก จะไม่สะดุ้งกลัวตายเมื่อความตายมาถึง..

    ในยามที่ตนเห็นความตายตรงหน้าเป็นสิ่งที่ตนคุ้นเคย เพราะเตรียมใจรับได้มานานแล้ว...จิตในยามนั้นย่อมสามารถน้อมไปสู่ทางกุศลได้มากกว่าคนที่หวาดกลัวความตาย ซึ่งจิตเต็มไปด้วยโทสะที่สามารถเปิดประตูนำสู่อบายทุคติได้อย่างง่ายดาย......

    การเจริญมรณะสตินี้หากไม่มีปัญญาประกอบ อาจพาให้จิตหดหู่ เศร้าใจเพราะกลัวการพลัดพรากได้..หากเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญอย่างอื่นเช่นเจริญพุทธานุสสติ คิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าหรืออื่นๆที่ตนถนัดทำแล้วจิตใจเบิกบานแจ่มใส นะครับ..

    บางที พอตั้งใจจะคิดถึงความตาย ความคิดนี้อาจไม่เกิด และหายไปในไม่ช้าก็ได้ เพราะเบื่อ...จิตใจเอาแน่อะไรไม่ได้ แปรเปลี่ยนตลอดเวลาตามผัสสะที่กระทบตลอดเวลานั่นแหละ..อย่างไรก็ลองฝึกไว้เถิด มีประโยชน์แน่นอน..
     
  10. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +2,226
    เพราะหลายกรณี คนมักหนีโลกแบบไม่ถูกไม่ควร ..
    บางคนอาจจะทิ้งลูกทิ้งเมียทิ้งผัวทิ้งพ่อทิ้งแม่ โดยใช้เป็นข้ออ้างหนีภาระหน้าที่ทีดีที่ควรทำ .. ทำให้แม้ไปอยู่วัด ก็ไม่ได้เจริญในความดี
    ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เสียประโยชน์ทั้งทางโลกก็ไม่ดี ทางธรรมก็เอาแน่เอานอนไม่ได้

    การทำความดีตามฐานะและโอกาสที่เหมาะสมโดยประคองสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยดี
    ย่อมได้ประโยชน์ทั้งสองด้าน

    เมื่อบารมีและบุญมากพอ หนทางจะเปิดโล่งเอง
    แม้ไม่รู้จักครูบาอาจารย์ .. ถ้าถึงเวลาครูบาอาจารย์ท่านก็มาหาเอง มาพาเข้านิพพาน

    การไม่เร่งรีบ ไม่ได้หมายถึง ให้ประมาทหยุดทำความดี
    แต่ให้หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลโดยไม่ต้องไปเร่งผล
    ให้เน้นที่การสร้างเหตุเป็นสำคัญ เมื่อยังก้าวอยู่เสมอ ย่อมใกล้ถึงเป้าหมายไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2015
  11. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณทุกท่านมากๆเลยค่ะ ที่มีเมตตา และกรุณาต่อปลาน้อย:z10
     
  12. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    เป็นญาน เรียกว่า มรณานุสติ
    เห็นแก่นแท้ของความสิ้นสุดของชีวิต แลัวยังมีอะไรที่ควรทำแต่ไม่ได้ทำ อะไรที่ทำแล้วส่งผลดี หรือ ผลเสีย

    เป็น ปัญญาญาน (ปัญญาที่จิต หรือ โลกุตตระธรรม)

    ขีดสุดของปัญญาญาน จะนำไปสู่ ความสังเวช ความเบื่อหน่ายในวัฏฏสงสาร แล้วหาทางหลุดออก

    ถึงจุดนี้แล้วหรือยัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...