กระบวนการกำจัดกิเลสเป็นพฤติจิตอย่างนี้เองหรือ? (ก้อบเขามาให้อ่านดูกัน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มะกะโท, 16 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    กระบวนการจัดการกิเลสไม่ใช่สักแต่ว่ารู้ แต่ต้องเป็น "พฤติจิต" นั้นเป็นไฉน?

    Posted by physigmund_foid , ผู้อ่าน : 4 , 12:06:18 น.
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    ทำอย่างไร ให้ได้เป็นคนเก่งและดีมีความสุข สมัครงานที่ไหนใครก็ต้องการ?




    การปฏิบัติธรรมแท้จริงแล้วไม่ใช่ทำเพื่อคนอื่น แต่เป็นการทำเพื่อตัวเองให้ได้ก่อน เมื่อตัวเองทำได้แล้ว ปฏิบัติได้มรรคผลจริงแล้วในระดับที่พอใจ จึงค่อยช่วยผู้อื่น หรือถ่ายทอดสอนผู้อื่นต่อไป ดังนั้น จึงขอให้เข้าใจใหม่ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ช่วยตัวเองให้ได้ก่อน จึงช่วยคนอื่น พึ่งตัวเองให้ได้ก่อน จึงเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่น ไม่ใช่สอนให้มาเสียสละ ยอมแพ้ หรือทำตามคนอื่นก่อนที่ตนจะยืนหยัดได้ก็หาไม่ ดังนั้น เมื่อคนเข้าใจผิดคิดว่าการปฏิบัติธรรม คือ การทำบุญ การเสียของเราให้คนอื่น จึงทำให้คนไม่สนใจปฏิบัติธรรม เพราะไม่รู้ว่าแท้แล้วการปฏิบัติธรรม เป็นการทำเพื่อตัวเองโดยตรงและโดยแท้จริง แม้แต่การบวชพระ ก็เป็นการช่วยเหลือตัวเองอย่างยิ่ง เพราะทิ้งภาระทางโลก ไม่ต้องมีภาระครอบครัวหน้าที่การงาน แต่มีข้าวกิน มีที่อาศัย ดังนั้น การปฏิบัติธรรม จึงต้องเริ่มต้นด้วยการเห็นตัวอย่างยิ่งก่อน คือ คิดเอาตัวเองให้รอดให้ได้ระดับหนึ่งก่อน ก่อนที่จะคิดช่วยคนอื่น และสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์เห็นแก่ตัวและต้องการ คือ ความสุข, ความมีปัญญา และการได้เป็นคนดี ทั้งสามประการนี้ล้วนมีอยู่ในหลักการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น และเป็นทางเดียวที่ถูกต้องแท้จริง




    ความเก่งฝึกได้

    พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้สติปัญญา ท่านจึงมีมรรควิธีในการฝึกตนให้มีสติปัญญา เป็นคนเก่งมากมายหลายวิธี ด้วยการทำสมาธิและเจริญสติปัฏฐาน ในขณะที่การเล่าเรียนปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่
     
  2. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    วิธีกำจัดกิเลสเพื่อล่วงพ้นจากความทุกข์




    การกำจัดกิเลสเป็นไฉน?

    การละกิเลสที่ถูกต้อง ไม่ใช่การต่อสู้กับกิเลสเพื่อเอาชนะ เพราะการกระทำเช่นนี้ จะก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งยื้อกันเองในจิตฝ่ายดีและชั่ว จนทำให้เกิดความท้อถอย (พบในพระสกิทาคามีบุคคล) แต่เป็นการเติมเต็มความสุขสงบที่ปราศจากนิวรณ์ หรือการเสพฌานจนอิ่ม เมื่ออิ่มถึงระดับหนึ่ง จิตจะคายอาสวะกิเลสออกมาเอง เรียกว่า “การสำรอกอาสวะกิเลส” และนำไปสู่ “การสำรอกอวิชชา” คือ การบรรลุอรหันต์ในที่สุด ในขั้นตอนการสำรอกกิเลสนี้ จะเริ่มสำรอกจากกิเลสที่หยาบ ไปสู่การสำรอกกิเลสกลาง และสำรอกกิเลสละเอียดในท้ายที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะธรรมชาติของจิตต้องมีศูนย์รวมจิตจึงไม่ฟุ้งซ่าน จะรวมที่กิเลส หรือรวมที่อารมณ์กรรมฐานเป็นเอกัคตารมณ์ก็แล้วแต่ แต่หากไม่มีที่รวมจิต จิตก็ฟุ้งซ่านเท่านั้นเอง และจิตจะทนไม่ได้กับสภาวะทุกข์ จิตจะทรงในทุกข์ได้ไม่นาน ในขณะที่ความสุขทางโลกนั้น เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อมีสุข ก็มีเสื่อมสุข และดับหายไป กลายเป็นทุกข์ได้อีก ดังนั้น สุข-ทุกข์ทางโลกจึงไม่ใช่จุดที่จิตจะวางลงเพื่อรองรับธรรม รองรับสภาวะการบรรลุธรรมได้ จิตจะต้องวางลงตรงจุดที่มีความสุขทางธรรม คือ ความสงบสุข หรือภาวะฌานเป็นฐานเท่านั้น จิตจึงจะทรงตัวรองรับสภาวธรรม และบรรลุธรรมได้ ดังนั้น การสำรอกกิเลสออก จึงต้องเข้าสู่ภาวะฌานก่อนเสมอ จึงจะสำรอกกิเลสแต่ละขั้นได้ แต่สำหรับบางท่านก็สามารถใช้การสำรอกครั้งเดียวได้ถึงกิเลสละเอียดก็มี เพราะบุคคลมีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน แต่โดยทฤษฎี จำต้องแสดงข้อมูลโดยละเอียดเพื่อให้ครอบคลุมคนทุกประเภทนั่นเอง




    ภาวนามยปัญญาเป็นไฉน?

    ดังนี้ จิตจะไม่มีทางละกิเลสได้เลยหากปราศจากกำลังจิตระดับฌานขั้นต่างๆ บุคคลฟังธรรมแล้วเข้าใจก็แค่สุตตมยปัญญาเท่านั้น หรือหากจินตนาการคิดตามได้ ก็เพียงแค่จินตมยปัญญา หาใช่ภาวนามยปัญญาไม่ ดังนั้น หากมิใช่ด้วยกริยาจิต มิใช่จิตที่อิ่มฌานจนคายอาสวะกิเลสแล้ว จิตนั้น ก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มสัญญาขันธ์ จำธรรมะใหม่ๆ เข้าไปเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง ดังนั้น การบรรลุธรรมแต่ละขั้น ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ล้วนต้องมีกริยาจิต คือ อาการคายอาสวะกิเลสออกมา อาการที่จิตอิ่มฌาน มีสุขสงบจากฌานเป็นเหตุใกล้ก่อนเสมอ เช่น ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วเกิดปีติ จิตสงบสุขเข้าสู่ฌานสาม จากนั้น อาการความสุขดับไป สู่ภาวะว่างเฉย หรือสุญตา แล้วจังหวะนั้นเอง ก็บังเกิดพุทธิปัญญาผุดขึ้นมาเอง แบบนี้ จึงเรียกว่ากริยาจิตที่บรรลุธรรม หากไม่มีอาการทางจิตแบบนี้เกิดขึ้นเลย ก็ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา สักแต่ว่ารู้ธรรม แต่เข้าไม่ถึงธรรม โดยกระบวนการทางจิตที่เกิดพุทธิปัญญาบรรลุธรรมนี้ จะต้องมีการร่วมพลังของพละห้า ที่เรียกว่า “สมังคี” กัน ได้แก่ จิตมีวิริยะเป็นเครื่องหนุนนำในการปฏิบัติทางจิต ให้จิตมีสมาธิถึงในระดับที่เหมาะสม แล้วเห็นธรรมด้วยปัญญา ได้สติตื่นขึ้นออกจากกิเลส แล้วศรัทธาในภาวะธรรมใหม่นั้น จิตจึงจะทรงตัวอยู่ในภาวะใหม่ คือ ภาวการณ์ตื่นขึ้นของ “จิตพุทธะ” ได้ เรียกว่าบรรลุธรรม
     
  3. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    บุคคลที่บรรลุธรรมแต่ละขั้นมีลักษณะอย่างไร?

    การบรรลุธรรมทุกขั้น จำต้องเข้าถึงด้วยปัญญาทั้งสิ้น เพียงแต่ต่างระดับกันเท่านั้น เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม หรือบรรลุ “จักษุ” ต่างกัน เช่น “ปัญญาจักษุ” นับเอาตั้งแต่ผู้มีดวงตาเห็นธรรมขั้นโสดาบันขึ้นไป ส่วน “ธรรมจักษุ” หมายถึงผู้มีดวงตาเห็นสัจธรรมแท้จริง คือ อรหันต์เท่านั้น ส่วน “พุทธจักษุ” นั้น คือ ดวงตาที่เห็นทุกสรรพสิ่งใดตามจิตปรารถนา ได้แก่ ฌานระดับสัพพัญญู หรือ สัพพัญญูญาณ ที่มีเฉพาะในพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ปัญญาบารมีครบ ๓๐ ทัศเท่านั้น ไม่มีในพระอรหันต์นั่นเอง ดังนั้น ปัญญาของพระอริยบุคคลแต่ละระดับจึงแตกต่างกันดังนี้




    พระโสดาบัน (ผู้รู้ตัวว่าโง่ พลาดไปที่หลงโลก ต่อไปจะเข้าทางธรรม)

    คือ บุคคลผู้มีปัญญาหยั่งรู้จนถึงขั้นละคายความเชื่อเดิมๆ ในระดับลึกอย่างสิ้นเชิง ได้ว่า ความสุขทางโลกนั้นไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้แท้จริง จำต้องทำให้เหตุแห่งทุกข์สิ้นไปเท่านั้น จึงพ้นทุกข์ได้ หรือก็คือ การเห็นอริยสัจสี่ตัวแรกอย่างแจ้งชัดนั่นเอง คือ ได้รู้ “ทุกข์” อย่างแจ่มแจ้งทะลุทะลวงไปถึงแก่นแท้ว่ามิใช่สิ่งควรหลีกเลี่ยงแต่ประการใด แต่ทุกข์นี่แหละ คือทางดับทุกข์ จะดับทุกข์ ต้องเข้าทางทุกข์ ต้องรู้ทุกข์ ต้องไม่หนีทุกข์ ต้องไม่แสวงหาสุขทางโลกมาแก้ทุกข์ แต่ต้องแก้ทุกข์ที่ตัวทุกข์ และเข้าใจที่มาของทุกข์ว่ามาจากผลจากการกระทำของเราเอง ไม่ใช่ปัจจัยภายนอก ไม่ใช่คนอื่นทำให้เราทุกข์ แต่เราเองเคยก่อไว้ สร้างไว้ เราเองนั่นแหละที่พลาดพลั้งไป จึงมีเอกลักษณ์คือ ยอมฟังธรรมจากคนที่ต่ำต้อยกว่าได้ โดยแยกแยะออกได้ว่าเป็นธรรมะแท้จริง และเชื่อในกฎแห่งกรรม และยินดีทำตามศีลต่างๆ อย่างเคร่งครัดเพราะเห็นประโยชน์ของศีลว่าไม่ใช่ข้อบังคับที่บีบตนเองให้ทุกข์ แต่เป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์ได้ประการหนึ่ง จึงถือศีลไม่ใช่แบบลูบๆ คลำๆ อีกต่อไป (แต่มีผิดได้บ้าง) แต่ยังไม่อาจต่อกรกับกิเลสได้ ยังไม่คิดจะเอาชนะ ไม่คิดจะหลุดพ้นจากกิเลส ยังมีกามได้ เหมือนนางวิสาขาที่บรรลุโสดาบัน แต่แต่งตัวสวยงาม มีทรัพย์และลูกเต้ามากมายได้นั่นเอง




    พระสกิทาคามี (ผู้รู้ตัวว่าจะต้องเอาชนะกิเลส รู้ตัวว่าชนะบ้าง แพ้บ้าง))

    คือ บุคคลที่หลังจากรู้เหตุแห่งทุกข์บรรลุโสดาบันแล้ว ก็ยังคิดจะเอาชนะกิเลส จะทำให้กิเลสของตนหมดสิ้นไปให้ได้ จึงได้เกิดการต่อสู้กับกิเลส จิตใจฝ่ายดีและเลวต่อกรกันเองภายใน เกิดการกระทบกระทั่งกันเองภายใน จึงมีเอกลักษณ์ คือ การกระทบกระทั่งกันภายในใจ ยื้อกันไปมา เดี๋ยวก็ไม่อยากตามกิเลส เดี๋ยวก็พ่ายแพ้ทำตามกิเลส จนต้องเสียใจภายหลัง ดังนั้น ภาวะของพระสกิทาคามีจึงเดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะ ยื้อกิเลสกันไปมาอยู่อย่างนั้น (อาจเพราะยังฝึกกรรมฐานไม่เป็น)




    พระอนาคามี (ผู้รู้ตัวว่าจะฝึกจิตอย่างไร ทำสมาธิถูกวิธีจนชนะกิเลสได้ชั่วคราว)

    คือ บุคคลผู้เข้าใจหลักการฝึกจิต หลักการทำกรรมฐาน จนสามารถฝึกจิตให้กำราบกิเลสได้ชนะแน่นอนทุกครั้งไป เป็นครั้งๆ ชั่วคราวไป แต่ไม่ใช่ขุดรากถอนโคนกิเลสได้อย่างถาวรก็หาไม่ ดังนั้น จึงยังมีกิเลสอยู่ แต่สามารถเอาชนะได้ทุกครั้งด้วยกรรมฐาน หรือกำลังจิตที่เหนือกว่านั่นเอง ดังนั้น จึงมีผู้กล่าวว่าพระอนาคามีเอาชนะกิเลสได้หมด แต่ยังไม่มีปัญญาเห็นธรรม กิเลสจึงยังมีอยู่ จักต้องบรรลุอรหันต์เท่านั้น จึงเอาชนะกิเลสได้หมดแท้จริง ดังนั้น จึงมีเอกลักษณ์ คือ ยังมีความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่อยู่ ยังมีกามและโกรธให้เห็นอยู่ได้แบบเบาบางนานๆ ครั้ง แต่ปกติจะเหมือนคนไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่มีกิเลสฉะนั้น พระอนาคามีบางคนไม่รู้ตัวว่ามีกิเลส บ้างก็คิดว่าตนเป็นพระอรหันต์ มีการวางท่า มีฟอร์ม เต๊ะท่าว่าเป็นพระอรหันต์ก็มี แถมทำให้ดูน่าเชื่อถือดูขลังกว่าอรหันต์เสียอีก




    พระอรหันต์ (ผู้รู้ตัวตลอดจนสรรพสิ่ง ถึงเป็นความเป็นสากล จนคลายอวิชชาได้ถาวร)
    คือ บุคคลผู้มีปัญญาแจ้งในท้ายที่สุดของสรรพสิ่ง จึงทำให้จิตละคลายจากความหลง, ความอยาก, ความยึดมั่นถือมั่น, กิเลสตัณหาใดๆ ได้ทั้งหมดอย่างสิ้นเชิงแบบถอนรากถอนโคน ไม่ได้ ไม่มี ไม่เป็นใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น พระอรหันต์ที่บรรลุอรหันต์ จึงไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่เป็นคนธรรมดาที่เกิดดับไปตามวาระ แต่บรรลุธรรมถึงระดับอรหันต์ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น จึงไม่มีการวางท่า ไม่มีการถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์, เป็นครูบาอาจารย์, เป็นเจ้าสำนัก, เป็นเจ้าอาวาส, เป็นผู้คงแก่เรียน ฯลฯ ไม่สนใจว่าตนเองจะเป็นใครใดๆ ทั้งสิ้น ได้แต่ทำกิจที่ควรทำไป ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ มีชีวิตอยู่แต่พอควรพอดี สงบสมถะเรียบง่าย และมักไม่ค่อยยิ้ม จนบางท่านคิดว่าพระอรหันต์ไม่มีความสุขแต่แท้แล้วท่านสุขสงัด จนไม่ต้องยิ้ม อุปมาเหมือนคนที่กินข้าวอิ่มแล้วย่อมไม่แสดงอาการอร่อยออกมา ในขณะที่คนที่ยังแสดงความอร่อยออกมา แสดงว่ายังหิวโหยอยู่ ยังไม่อิ่ม ไม่เต็มอยู่นั่นเอง
     
  4. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    กิเลสดับชั่วคราว ไม่มีสิ่งบดบัง จึงเห็นธรรมตามจริง คือ เสี้ยววินาทีบรรลุธรรม?

    บุคคลไม่ใช่ฝึกสมาธิเพื่อเอาสมาธิ หากทำเช่นนั้น อุปมาก็เหมือนคนทำนาเพื่อทำนา ทำให้ต้องทำนาจนตายเท่านั้นเอง ย่อมเป็นบุคคลผู้ยอมทนทุกข์ ย่อมไม่พ้นทุกข์ไปได้ บุคคลพึงฝึกสมาธิเพื่อให้ได้ผลเป็น “ฌาน” อันจะยังผลเป็นความสงบสุข ซึ่งเป็นเหตุใกล้แห่งนิพพาน และฝึกฌานให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดผลเป็น “ญาณหยั่งรู้” ไม่ใช่นั่งเข้าฌานทั้งปีแต่ไม่รู้อะไรเลยก็หาไม่ บุคคลผู้ฝึกจิตถูกวิธีจะเริ่มมีญาณหยั่งรู้ในสิ่งที่ไม่อาจใช้เครื่องมือใดๆ วัดได้ นอกจากจิต เช่น การทำนายทายทักล่วงหน้าได้ถูกต้อง และเมื่อฝึกถึงขั้นเกิดญาณหยั่งรู้แล้ว บุคคลพึงต้องให้ได้ผลสุดท้ายเป็นปัญญา จึงจะล่วงพ้นความทุกข์ไปได้ เพราะหากมีญาณหยั่งรู้เรื่องต่างๆ มากมาย แต่ไม่รู้เรื่องที่ทำให้จิตคลายทุกข์ ก็เรียกว่าไม่มีปัญญาทางธรรม เท่านั้นเอง ดังนั้น บุคคลจึงควรฝึกจิตดังต่อไปนี้




    การฝึกสมาธิ

    บุคคลย่อมมีสมาธิกันทั้งนั้นโดยไม่ต้องฝึก เช่น มีสมาธิอยู่กับการดูทีวี แต่สมาธิแบบนี้ ไม่ช่วยในการบรรลุธรรม เพราะมีสมาธิจับอยู่กับกิเลส สมาธิที่เอื้อต่อการบรรลุธรรม เป็น “สัมมาสมาธิ” จึงไม่ใช่สมาธิแบบทั่วๆ ไป แต่เป็นสมาธิที่ต้องยังผลให้เกิด “ฌาน” คือ “ภาวะจิตพ้นจากนิวรณ์ ๕” ซึ่งได้แก่การพ้นจากภาวะต่างๆ ดังนี้คือ ภาวะจิตมีกิเลสบดบังสัจธรรมความจริง, ภาวะความฟุ้งซ่านกระแสจิตรวมตัวไม่ได้, ภาวะความเคลือบแคลงระแวงไม่วางใจ, ภาวะความหดหู่ซึมเศร้าสติไม่ตื่นตัว, ภาวะจิตมีความพยาบาทยึดมั่นในความแค้น ภาวะทั้งห้านี้เรียกว่า “นิวรณ์” ซึ่งผู้ฝึกจิตต้องพ้นจากภาวะนี้ชั่วคราว ในชั่วขณะนั้น หากเกิดพุทธิปัญญาขึ้นจึงจะบรรลุธรรมได้ในที่สุด



    การฝึกสติ

    คือ การฝึกให้รู้จักเท่าทันสภาวธรรม ที่เกิดดับภายนอก เท่าทันสภาวะจิตที่เกิดดับภายใน เมื่อภายนอกเปลี่ยนแปลงแล้วภายในจิตเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จำต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ รู้จักหยุด รู้จักหันกลับมามองทิศตรงข้าม รู้จักความพลาดพลั้งที่ได้กระทำลงไป เหล่านี้เรียกว่า “มีสติ” การมีสติ ไม่ใช่แปลว่าเป็นคนไม่บ้า เพราะคนบ้าคนเมานั้นขาดสติง่ายก็จริง แต่คนไม่เมาไม่บ้าก็ขาดสติได้เช่นกัน ดังนั้น สติเป็นของละเอียด เป็นของว่องไว เป็นสิ่งควรฝึกให้เท่าทัน ความละเอียดของกิเลส เมื่อจิตมีสติที่ละเอียดกว่ากิเลสแล้ว ย่อมเห็นการเกิดของกิเลสได้ก่อนกิเลสจะเกิด และสามารถดับกิเลสที่เหตุต้นได้ทัน ดุจมีเครื่องดับไฟก่อนที่จะเกิดประกายไฟไหม้ฉะนั้น ดังนั้น สติจึงเปรียบเหมือนเครื่องมือของจิตที่ไว้ใช้ในการไล่ตามจับจิต จับกิเลสนั่นเอง




    การฝึกปัญญา

    การฝึกปัญญา ไม่ใช่การฝึกเก็บความรู้ให้ได้มาก การเก็บความรู้ เรียกว่าความจำและความเข้าใจ แต่การมีปัญญาหมายถึง ภาวะแจ้งในสิ่งนั้นๆ ด้วยตนเอง อย่างไม่ผิดจากธรรมชาติ ดังนั้น จึงไม่ใช่การจำมาจากใครที่ไหน แต่เกิดขึ้นในตนเอง เป็นแบบของตนเองที่ไม่ผิดจากธรรมชาติ ดังนั้น คนที่เรียนจบสูงแต่ขาดปัญญาจึงมีมากมาย จำต้องรู้จักฝึกปัญญา การฝึกปัญญามีหลายวิธี ได้แก่

    ๑) การฝึกจากการอ่านและฟัง (สุตมยปัญญา) เป็นวิธีโดยทั่วไป จำต้องอาศัยแหล่งข้อมูลความรู้ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อนำทางไปสู่การปฏิบัติทางจิต ให้เกิดปัญญาตามมาภายหลังด้วยตนเอง แจ้งด้วยตนเอง ด้วยการอาศัยความรู้นำทางนั่นเอง

    ๒) การฝึกจากการสนทนาธรรม เป็นวิธีของการสอนโดยอาศัยครูบาอาจารย์ หรือ สหายธรรม นับเป็นวิธีการบรรลุธรรม หรือเข้าถึงธรรมอีกแบบ โดยมุ่งเน้นไปที่การถามและตอบข้อธรรมที่ตนยังไม่กระจ่างชัด ที่เรียกว่าการตั้ง “ปุจฉา-วิสัชนา” สอบถามเนื้อธรรมนั่นเอง

    ๓) การฝึกจากการบำเพ็ญปัญญาบารมี เป็นวิธีในการเข้าถึงธรรมด้วยตนเอง แบบพระโพธิสัตว์ คือ อาศัยการบำเพ็ญเพียร การได้พบปัญหานานัปการ ที่ต้องใช้ความพยายามในการแก้ไข จนเกิดความชำนาญในการแก้ไขมากขึ้น และสะสมเป็นภูมิปัญญาเฉพาะตน

    ๔) การทำวิปัสสนากรรมฐาน หรือการสังเกตหรือเพ่งสภาวธรรม เป็นวิธีเข้าถึงธรรม ก่อเกิดปัญญาแบบเฉพาะของพุทธ โดยการพิจารณาสภาวธรรมใดสภาวธรรมหนึ่ง แน่วแน่อยู่นาน ที่เรียกว่าเพ่ง จนเห็นความเป็นจริงในสภาวธรรมนั้น ๆ ซึ่งมีอยู่แล้ว เกิดเอง และดับเองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องไปทำอะไร ธรรมะก็แสดงตัวเองอยู่แล้ว เพราะสรรพสิ่งก็คือธรรม




    การฝึกศรัทธา

    ศรัทธา หมายถึง การเชื่อมั่นทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ผลบั้นปลาย แต่เนื่องจากปัจจัยประกอบน้อมนำจิตให้เชื่อ ดังนั้น จึงยอมทำตามทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะได้ผลจริงหรือไม่ โดยไม่ต้องพิสูจน์ก่อน จึงเรียกว่า “ศรัทธา” คือ การปฏิบัติพิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ผู้สอนปฏิบัติพิสูจน์ให้ตนดูก่อน จนเชื่อในสภาวธรรมที่ตนค้นพบเอง ซึ่งสอดคล้องกับที่บัญญัติไว้ก่อนในพุทธพจน์ เนื่องจากสภาวธรรมแท้นั้น บางครั้ง ไม่แปลกไม่พิสดาร เป็นของพื้นๆ ง่ายๆ เป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย ไม่มีอะไรดึงดูด หรือไม่ดึงดูด ไม่มีอะไรให้อยากศรัทธา ไม่มีอะไรจูงใจให้เชื่อ ดังนั้น บุคคลหากขาดศรัทธา ไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะบรรลุธรรมได้ยาก แม้ได้เห็นสภาวธรรมแล้ว เข้าถึงแล้ว แต่จิตไม่น้อมรับเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวธรรมนั้น (ไม่มีโอปนยิโก) ก็จะสละถอนจิตออกจากสภาวะนั้นๆ ทำให้จิตคลอนแคลนออกไป ไม่บรรลุธรรมได้ บุคคลจะมีศรัทธามาก จำต้องอาศัยการศึกษาพุทธประวัติและติดตามสิ่งดีงามในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิม เช่น ชอบเข้าวัดทำบุญ




    การฝึกวิริยะ

    ท้ายที่สุด คือ “วิริยะ” อันได้แก่ ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติในทางสายกลางที่ไม่ย่อหย่อนเกินไป และไม่ตึง ไม่เป็นทุกขกริยามากเกินไป ประดุจน้ำที่หยดลงหินทีละหยดจนหินละลายกลายเป็นทรายละเอียด น้ำนั้นหยดสม่ำเสมอไม่หยุดหย่อน แต่หยดแต่น้อยและเบาบางก็ยังสามารถละลายหินได้ ฉันใดก็ฉันนั้น วิริยะ ก็อุปมาเหมือนหยดน้ำละลายหินเหมือนกัน ดังนั้น การฝึกวิริยะไม่ใช่การทำเกินกำลัง จนเจ็บป่วยและต้องพักเสียเวลาไปหลายวัน เสียหายเพราะต้องหยุดพักการปฏิบัติในที่สุด เนื่องเพราะทำมากเกินพอดีจนล้มป่วยนั่นเอง วิริยะนี้เปรียบได้เสมือนเชื้อไฟที่ใส่เข้าไปในเตาไฟอยู่เรื่อยๆ เพื่อเคี่ยวกรำสิ่งต่างๆ ให้ตกผลึกได้ในที่สุด หากขาดเชื้อฟืนแล้วการเคี่ยวกรำนั้นอาจล้มเหลว และอาจต้องเริ่มต้นใหม่ จะใส่เชื้อไฟมากเกินไปก็ไม่ได้ น้อยเกินไปก็ไม่ได้ ขาดก็ยิ่งไม่ได้ใหญ่ ดังนั้น จึงต้องมีความสม่ำเสมอไม่ย่อหย่อนไปตลอดระยะเวลาจนกว่าจะยังผลสำเร็จ
     
  5. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    ว่าด้วยเผ่าพันธุ์แห่งกิเลสและสภาวะที่กิเลสดับสิ้นลงเป็นไฉน?




    กิเลสหยาบ

    เป็นขยะในใจ เป็นอาสวะ ดั่งตะกอนก้อนใหญ่อัดแน่นที่ฟุ้งขึ้นในน้ำใส เพราะสาเหตุจาก อุปทาน” คือ การยึดมั่นหลงผิดไปเอง ต่างไปจากสภาวธรรมอันแท้จริง ทำให้บุคคลไม่อาจล่วงพ้นความทุกข์ไปได้ ดังนั้น จึงยึดมั่นถือมั่นผิดทางไปต่างๆ นานา จำแนกได้เป็นดังนี้




    ๑.๑) นิจจัง คือ ความยึดมั่นถือมั่นผิดจากธรรมชาติ ว่ามีความเที่ยงในสิ่งต่างๆ

    ๑.๒) สุขขัง คือ ความยึดมั่นถือมั่นผิดจากธรรมชาติ ว่าความสุขทางโลกดับทุกข์ได้

    ๑.๓) อัตตา คือ ความยึดมั่นถือมั่นผิดจากธรรมชาติ ว่ามีสิ่งต่างๆ มีตัวตนของมัน แยกเป็นตัวใครตัวมันได้ชัดเจน ไม่มีผลกระทบต่อเนื่องกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่ส่งผลถึงกัน




    บุคคลผู้ถูกกิเลสอย่างหยาบเกาะกินใจ จะแสดงอาการทั้งสามออกมา เช่น นิยมแสวงหาความสุขทางโลก ชนิดที่ขาดไม่ได้ เรียกว่าเสพติดสุขทางโลก แบบนี้นับได้ว่ายึดมั่นใน “สุขขัง” เพราะไม่เข้าใจหลัก “ทุกขัง” ในขณะที่พวกนิยมยึดมั่นว่าสิ่งต่างๆ มีตัวมีตนของมันแยกชัดเจนก็จะถือตัวถือตน ไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่น เช่น ถือตัวว่าเป็นเจ้านาย ไม่คิดบ้างว่าการกระทำของตนต่อลูกน้อง จะย้อนไปส่งผลถึงตนเองได้ แบบนี้นับว่ายึดมั่นใน “อัตตา” ทั้งสามแบบนี้ ล้วนจัดเป็นกิเลสหยาบ




    กิเลสกลาง

    เป็นขยะในใจ เป็นอาสวะ ดั่งตะกอนขุ่นข้นที่ฟุ้งขึ้นในน้ำใส เพราะสาเหตุจาก ตัณหา” คือ สภาพที่หลุดออกจากความพอดีและทางสายกลาง ทำให้เกิดความอยากมากเกินพอดี หรือน้อยกว่าจุดที่พอดี ต่างไปจากสภาพที่ควรจะเป็น ควรจะดำรงไว้ ทำให้บุคคลไม่อาจล่วงพ้นความทุกข์ไปได้ แม้จะล่วงพ้นความยึดมั่นถือมั่นได้แล้วก็ตาม แต่ปัญญาทางธรรมก็ยังไม่เกิดอยู่ดี แบ่งได้เป็น




    ๒.๑) ภวตัณหา คือ สภาวะที่จิตหลุดจากความพอดี ไปสู่ความมากเกินไป

    ๒.๒) วิภวตัณหา คือ สภาวะที่จิตหลุดจากความพอดี ไปสู่ความน้อยเกินไป




    บุคคลผู้พ้นจากกิเลสหยาบได้ แต่ไม่อาจล่วงพ้นกิเลสกลาง ย่อมถูกตัณหาเป็นเครื่องเผาผลาญจิตใจ แม้รู้ว่ามันไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ แต่กำลังจิตที่อ่อนกว่ากิเลส ทำให้ไม่อาจยับยั้งชั่งใจได้ ส่งผลให้ทำสิ่งที่เกินความพอดี ไม่ว่ามากเกินพอดี หรือน้อยเกินพอดีก็ตาม เนื่องจากปัญญายังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง ดังนั้น บุคคลประเภทนี้ ก็ยังไม่อาจล่วงพ้นทุกข์ระดับปานกลางไปได้




    กิเลสละเอียด

    เป็นขยะในใจ เป็นอาสวะ ดั่งธุลีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นที่ฟุ้งขึ้นในน้ำใส เพราะสาเหตุจาก อวิชชา” คือ ความไม่แจ้งในสภาวธรรมอันแท้จริง แม้จะทราบแน่วแน่แล้วว่าสภาวะอธรรม หรือความหลงผิดนั้นไม่ใช่สัจธรรม จึงทำให้บุคคลไม่อาจล่วงพ้นความทุกข์ไปได้ แบ่งได้เป็น




    ๓.๑) ความไม่แจ้งในอนิจจัง คือ มีปัญญาหยั่งรู้ได้ว่า “นิจจัง” ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่สัจธรรม แต่จิตก็ยังไม่ก้าวล่วงลงในสภาวธรรมแห่ง “อนิจจัง” ว่าเป็นทางสู่ความสุขสงบเที่ยงแท้ได้

    ๓.๒) ความไม่แจ้งในทุกขัง คือ มีปัญญาหยั่งรู้ได้ว่า “สุขขัง” ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่สัจธรรม แต่จิตก็ยังไม่ก้าวล่วงลงในสภาวธรรมแห่ง “ทุกขัง” ว่าเป็นทางสู่ความสุขสงบเที่ยงแท้ได้

    ๓.๓) ความไม่แจ้งในอนัตตา คือ มีปัญญาหยั่งรู้ได้ว่า “อัตตา” ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่สัจธรรม แต่จิตก็ยังไม่ก้าวล่วงลงในสภาวธรรมแห่ง “อนัตตา” ว่าเป็นทางสู่ความสุขสงบเที่ยงแท้ได้
     
  6. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    สรุปท้ายบทความ

    บุคคลที่มีปัญญาหยั่งรู้ว่า “นิจจัง, สุขขัง, อัตตา” นำมาซึ่งทุกข์ ไม่ใช่สัจธรรม แต่กำลังจิตยังไม่กล้าก้าวล่วงลงในสภาวธรรมแห่ง “อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา” ตัวใดตัวหนึ่งไปได้นั้น ย่อมจะยังไม่มีปัญญาเห็นธรรม ย่อมจะยังมีอวิชชาครอบงำในจิตอยู่ แม้สมองจะอ่าน, แปลความหมาย และสั่งสอนธรรมะให้ผู้อื่นได้ทั้งหมดก็ตาม บุคคลที่กล้ารับเอาความทุกข์มาพิจารณา จนจิตมีกำลังก้าวล่วงทะลุความทุกข์ออกไป จนเห็นแก่นแท้แห่งทุกข์ว่าไม่ใช่สัจธรรม ไม่ใช่ความจริง จิตก้าวล่วงเลยสภาวะทุกขังไปแล้ว จนจิตแนบแน่นสนิทสงบนิ่งในสภาวธรรมที่ก้าวล่วงพ้นไป ทะลุไป ไม่หันกลับมาอีก ไม่คลอนแคลนด้วยความแคลงใจ ไม่ฟุ้งกระจายซัดส่าย ไม่หลงเหลือความอาลัยอาวรณ์อยากได้ของเก่า บุคคลประเภทนี้ นับว่าเห็นอริยสัจสี่ คือ ความทุกข์นั่นแหละ ที่เป็นทางดับทุกข์, สมุทัย คือ กิเลสนั่นแหละนำมาซึ่งทุกข์ อันบุคคลควรคายทิ้งเสีย, นิโรธ คือ สภาวะก้าวล่วงพ้นความทุกข์ได้หมดสิ้น ไม่มีทั้งทุกข์และสุขทางโลก เหลือแต่สุขทางธรรมเท่านั้น (อขมทุกข์ อขมสุข) และ มรรค คือ กระบวนการทางจิตที่เต็มด้วยกำลังสมถะ หรือจิตที่ทรงฌานอย่างต่ำคือฌานสามขณะมีปัญญาก้าวล่วงความทุกข์นั้นๆ ได้ จึงมีกำลังรับสภาวธรรมได้ จิตจึงแนบแน่นนิ่งสงบในสภาวธรรมแท้ อันเป็นสภาวะจิตแบบใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจิตดวงเดิมได้ดำเนินตามมรรคอันถูกต้อง




    นี่คือกระบวนการทางจิตทั้งสิ้น มิใช่กระบวนการรับรู้และแปลความหมายของสมอง ดังนั้น จึงไม่ใช่ทั้ง สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา แต่เป็น “ภาวนามยปัญญา” เท่านั้น บุคคลจะเข้าสู่อรหันต์ได้นั้นจักต้องผ่านประตูปัญญาสามใบนี้ คือ เข้าทาง อนิจจัง, ทุกขัง, หรืออนัตตา เท่านั้นเอง
     
  7. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +1,763
    ชอบหลายอันเลย




    (kiss)
     
  8. dalink

    dalink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ตามมาอ่านค่ะ
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คม

    ชัด

    ลึก

    ขอเขาดีจริงๆ

    (good)
     
  10. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    [​IMG]

    ว่างหนอ ว่างหนอ (เพ่งอากาศหลังเงาคนในรูปเลยไป) สงบหนอ สงบหนอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...