คุณว่าการรบของไทยสมัยโบราณศึกษาบทเรียนจากสามก๊กหรือเปล่า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย {ผู้ชนะสิบๆทิศ}, 22 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. {ผู้ชนะสิบๆทิศ}

    {ผู้ชนะสิบๆทิศ} เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +917
    คุณว่าการรบของไทยสมัยโบราณศึกษาบทเรียนจากสามก๊กหรือเปล่า

    [​IMG] [​IMG]

    ไปดูพระนเรศวร ภาคสอง มีตัวละครตัวหนึ่งบอกว่า "ข้าก็เคยศึกษาตำราพิชัยสงครามเมื่อครั้งจีนแตกออกเป็นสามก๊ก" ซึ่งผมก็คิดว่าน่าจะเป็นสามก๊ก แต่คิดไม่ออกว่า ไทยนำเข้ามาเผยแพร่เมื่อใด และได้มีการศึกษากันมาเพื่อใช้ในการทำศึกของไทยหรือเปล่า

    ซึ่งถ้าจริง แสดงว่า เจ้าพระคลังหาก็ไม่ใช่คนแรกที่แปลสามก๊กคนแรกในไทยซินะ ( ไม่รู้ผมคิดถูกหรือเปล่า )

    แต่น่าคิดนะ รบกวนผู้รู้ช่วยตอบหน่อย

    hamster
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    โดยส่วนตัวนะครับ คิดว่าไม่มี ไทยไม่ได้รับอิทธิพลความรู้จากสามก๊กแน่ๆ
    แต่เป็นความรู้จากพงสาวดารตัวเอง เหตุน่าจะมาจาก ภูมิศาสตร์เองเป็นเครื่อง
    คัดสรร

    คือ ถ้าได้รับอิทธิพลมา อย่างน้อยเรื่อง ธนู หรือ เครื่อง seige wepon เช่น
    เครื่องโยนหิน เครื่องยิงธนูสามดอก รถศึก จะต้องเข้ามานานแล้ว ไม่ใช่
    เข้ามาในยุคเกือบใกล้ๆรัตนโกสินธ์

    อย่างธนูนี้ ก็มีอิทธิพลมาจากอินเดีย แต่ก็ไม่เคยเห็นกล่าวในพงสาวดารว่ามี
    การใช้ แต่ถ้าเป็นหน้าไม้นี้เห็นปรากฏอยู่บ้างแต่ก็ทางเหนือ การรบของเรานั้น
    ชัดเจนว่ารบแบบประชิดตัว แม่ไม้มวยไทยถึงได้แจ่ม อาวุธสั้นไม่ได้ยาว

    เกราะส่วนใหญ่ก็เป็นหนังเท่านั้น ไม่มีการใช้เหล็กผสม ถ้าจะดูว่าเป็นเพราะไม่
    มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับโลกภายนอกก็ไม่ใช่ เพราะสมัยสุโขทัยก็มีการ
    ติดต่อค้าขายไปทั่วแล้ว พวกทหารเลวนี่นุ่งผ้าพืนเดียว มหาดเล็กก็สวมเสื้อฝ้าย

    และดูๆไปอีก ทำไมถึงไม่ต้องพัฒนาอาวุธยุทโปกรณ์ ก็เพราะเมื่อก่อนเราไกล
    ศูนย์กลางอำนาจที่ยิ่งใหญ่มากๆ ทั้งทางยุโรป และจีน จึงไม่จำเป็นต้องมารบ
    กัน และบ้านเมืองก็น่าจะเป็นเมืองพี่เมืองน้อง มีสัมพันธ์กันทางสายเลือด
    การรบบางครั้ง ก็แค่มาเล่นสกากัน เล่นพนันกันก็กินเมืองได้แล้ว เป็นต้น

    เลยไม่ต้องคิดมากเรื่องรบกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2008
  3. johot

    johot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +673
    สามก๊กถือว่าเป็นตำราพิชัยยุทธของโลกที่สำคัญรวมกลเม็ดเด็ดพลายมากมายที่ผมเคยได้ยินก็น่าจะมี สามก๊ก กับ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู

    แต่สำหรับไทยผมคิดว่าคนไทยมีตำราพิชัยยุทธและการศิลปการต่อสู้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น วิชามวยไทย ดาบไทย เป็นต้น

    การที่มีกล่าวถึงสามก๊กก็ไม่น่าจะแปลกเพราะจีนกับไทยก็อยู่ใกล้กันสามารถเรียนกลยุทธนำมาใช้ในการศึกได้บ้าง ไม่น่าจะสียหายครับ
     
  4. Good_oom

    Good_oom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +562
    เขาอาจจะมี ครูมาจากเมืองจีนก็ได้นะครับ
     
  5. Bhuddha3210

    Bhuddha3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +312
    ตำราพิชัยสงครามของไทย

    มีการรวบรวมไว้เป็นหลักฐานครั้งแรกในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 เมื่อพ.ศ.2041 และเพิ่มเติมในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังเสียกรุงครั้งที่2 มีการสูญหายกระจัดกระจาย จึงมีการรวบรวมอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์

    ..........ในตำราพิไชยสงครามฉบับรัชกาลที่1(สะกดแบบโบราณ) ได้สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อจุลศักราช 1144 (พ.ศ.2325) และตีพิมพ์ครั้งแรก โดยใช้ฉบับของหลวงพิไชยเสนา พิมพ์ที่โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ เมื่อปีพ.ศ. 2418 โดยกล่าวถึงบทอาศิรวาท, ความสำคัญของตำราพิไชยสงคราม, โหราศาสตร์ และชื่อกลศึกทั้ง21 ที่ร่ายเป็นคำกลอน เพื่อความไพเราะและง่ายต่อการจดจำ

    ..........21 กลยุทธ์ไทยนั้น ปราชญ์โบราณท่านได้ผูกเป็นร่ายเป็นกลอน ให้คำสอดคล้องไว้อย่างน่าฟังเพื่อให้ไพเราะและง่ายต่อการจดจำ แต่เมื่อนานวันเข้า ความหมายที่ซ่อนอยู่ในบทกลอนค่อยๆเลือนหายไปเหลือแต่ตัวบทกลอน ชนรุ่นใหม่อย่างผม จึงต้องพยายามตีความในบทกลอนเหล่านั้น มิได้มีเจตนาใช้สติปัญญาระดับหิงห้อยน้อยแสง บังอาจอวดตีความในเนื้อหาแต่ประการใด

    บางบทบางตอนอาจตีความคนละแนวกับผู้ประพันธ์ท่านอื่นที่เคยรวบรวมมา ซึ่งมิใช่ว่าท่านเหล่านั้นจะผิดหากแต่ ความคิดอาจไม่ตรงกัน ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าความหมายแท้จริงที่ซ่อนไว้ในคำกลอนถูกลืมเลือนหายไป ถ้าท่านผู้ใดมีข้อเสนอแนะ หรือแนะนำทักท้วงประการใดกรุณาบอกกล่าวได้อย่างเต็มที่ ถือว่าเอ็นดูผู้น้อยอย่างผม ให้เพิ่มระดับสติปัญญา และช่วยเผยแผ่องค์ความรู้ของเหล่าบรรพชนของเราสืบไป เนื้อหาในคำกลอนมีดังต่อไปนี้

    กลหนึ่งฤทธี................กลสีหจักร

    กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน
    ......กลเถื่อนกำบัง

    กลพังภูผา
    ..................กลม้ากินสวน

    กลพวนเรือโยง
    .............กลโพงน้ำบ่อ

    กลล่อช้างป่า
    ................กลฟ้างำดิน

    กลอินทร์พิมาน
    .............กลผลาญศัตรู

    กลชูพิษแสลง
    ..............กลแข็งให้อ่อน

    กลยอนภูเขา
    ................กลเย้าให้ผอม

    กลจอมปราสาท
    ............กลราชปัญญา

    กลฟ้าสนั่นเสียง
    ............กลเรียงหลักยืน

    กลปืนพระราม


    ขยายกลยุทธ์ให้เห็นชัดเจนจะได้ดังนี้ครับ


    กลยุทธ์1: กลฤทธี

    กลยุทธ์2: กลสีหจักร

    กลยุทธ์3: กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน

    กลยุทธ์4: กลเถื่อนกำบัง

    กลยุทธ์5: กลพังภูผา

    กลยุทธ์6: กลม้ากินสวน

    กลยุทธ์7: กลพวนเรือโยง

    กลยุทธ์8: กลโพงน้ำบ่อ

    กลยุทธ์9: กลล่อช้างป่า

    กลยุทธ์10: กลฟ้างำดิน

    กลยุทธ์11: กลอินทร์พิมาน

    กลยุทธ์12: กลผลาญศัตรู

    กลยุทธ์13: กลชูพิษแสลง

    กลยุทธ์14: กลแข็งให้อ่อน

    กลยุทธ์15: กลยอนภูเขา

    กลยุทธ์16: กลเย้าให้ผอม

    กลยุทธ์17: กลจอมปราสาท

    กลยุทธ์18: กลราชปัญญา

    กลยุทธ์19: กลฟ้าสนั่นสียง

    กลยุทธ์20: กลเรียงหลักยืน

    กลยุทธ์21: กลปืนพระราม



    จาก หนังสือ 21 กลยุทธ์ไทย โดย โชติช่วง นาดอน



    ทั้งหมดนี้ รวม 21กลยุทธ์ของไทยครับ ผมว่าน่าจะนำจะได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียมามากกว่านะครับ เพราะหมากรุกที่เราเล่น ก็มาจากอินเดียล้วนๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กุมภาพันธ์ 2008
  6. Bhuddha3210

    Bhuddha3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +312
    ส่วนที่ผมนำลงมาเป็น 3กลยุทธ์จาก 21กลยุทธ์ไทยคำกลอน เชิญทัศนาได้เลยครับ


    ๑. กลฤทธี

    “กลศึกอันหนึ่ง ชื่อว่าฤทธีนั้น
    ซั้นทะนงองค์อาจ ผกผาดกล่าวเริงแรง
    สำแดงแก่ข้าแกล้วหาร ชวนทำการสอนสาตร
    อาจเอาบ้านเอาเมือง ชำนาญเนืองณรงค์
    ยงใจผู้ใจคน อาษาเจ้าตนทุกค่ำเช้า
    จงหมั่นเฝ้าอย่าคลา ภักตราชื่นเทียมจันทร์
    ทำโดยธรรม์จงภักดิ์ บันเทิงศักดิจงสูง
    จูงพระยศยิ่งหล้า กลศึกนี้ชื่อว่า ฤทธีฯ”


    ๒. กลสีหจักร

    “กลหนึ่งชื่อว่าสีหจักร ให้บริรักษพวกพล
    ดูกำลังตนกำลังท่าน คิดคเนการแม่นหมาย
    ยกย้ายพลเดียรดาษ พาษไคลคลี่กรรกง
    ต้อรพลลงเป็นทิศ สถิตรช้างม้าอย่าไหว
    ตั้งพระพลาไชยจงสรรพ จงตั้งทับโดยสาตร
    ฝังนพบาทตรีโกณ ให้ฟังโหรอันแม่น
    แกว่นรู้หลักหมีคลาด ให้ผู้องอาจทะลวงฟัน
    ให้ศึกผันแพ้พ่าย ย้ายพลใหญ่ให้ไหว
    ไสพลศึกให้หนี กลศึกอันนี้ชื่อว่า สีหจักรฯ”


    ๓. กลลักษณ์ซ่อนเงื่อน

    “กลหนึ่งลักษณส้อนเงื่อน เตือนกำหนดกฎหมายตรา
    แยกปีกกาอยู่สรรพ นับทหารผู้แกล้ว
    แล้วกำหนดจงคง แต่งให้ยงยั่งเย้า
    ลากศึกเข้าในกล แต่งคนแต่งช้างม้า
    เรียงหน้าหลังโจเจ รบโยเยแล้วหนี
    ศึกติดตีตามติด สมความคิดพาดฆ้องไชย
    ยกพลในสองข้าง ยกช้างม้ากระทบ
    ยอหลังรบสองข้าง จึ่งบ่ายช้างอันหนี
    คระวีอาวุทธโห่ร้อง สำทับก้องสำคัญ
    ยืนยันรบทั้งสี่ คลี่พลออกโดยสั่ง
    สัตรูตั้งพังฉิบหาย อุบายศึกนี้
    ชื่อว่าลักษณซ่อนเงื่อนฯ”

    หมายเหตุ: สะกดการันต์ตามต้นฉบับเก่า


    จาก หนังสือ 21 กลยุทธ์ไทย โดย โชติช่วง นาดอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...