ขอทำความเข้าใจเรื่องนิพพานหน่อยนะครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Tiger Dear's, 2 กรกฎาคม 2015.

  1. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ขอทำความเข้าใจเรื่องนิพพานเสียหน่อยนะครับเพราะอ่านจากหลายๆกระทู้ดูเหมือนจะเข้าใจนิพพานกันแบบผิดๆอยู่มาก ผมสายตรงหลวงพ่อพุทธทาสครับ ขออธิบายแบบบ้านๆนะครับ จะได้เข้าใจง่ายหน่อย พระพุทธเจ้าตรัสเสมอว่าการเกิดเป็นทุกข์ ถ้าท่านเข้าใจว่าจะเกิดในแดนนิพพานก็คิดผิดแล้วล่ะครับ เพราะตราบใดที่ยังมีอายตนะทั้งภายนอกและภายในไม่มีวันพ้นจากทุกข์ได้แม้แต่พระอรหันต์เพราะพระอรหันต์ยังอาศัยขันธ์ห้า ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนเสมอว่าขันธ์ห้าเป็นของหนัก เป็นทุกข์ คิดว่าคงพอจะได้สดับรับฟังกันมาบ้างนะครับ เอาย่อๆเท่านี้ก่อนนะครับขี้เกียจพิมพ์และเข้าใจว่าหลายท่านก็ขี้เกียจอ่านยาว สงสัยอะไร หรือคิดว่าความคิดเห็นของผมไม่ถูกต้องประการใดก็สาธยายความคิดเห็นของท่านมาได้นะครับ นึกว่าสนทนาธรรมกันครับ
     
  2. sirigul

    sirigul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    806
    ค่าพลัง:
    +2,515
    ไปเกิดในแดนนิพพานไม่ได้หรอกจ๊ะ แต่ไปอยู่ได้ ตราบใดไม่นิยมการเกิดอีก แล้วจะไปอยู่ไหนละ นอกจากนิพพาน เพราะที่นิพพานไม่มีการเกิดอีก
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    ากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ส่วนหนึ่งของ
    ศาสนาพุทธ

    Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย
    Dharmacakra flag (Thailand).svg
    ประวัติศาสนาพุทธ
    ศาสดา
    พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    จุดมุ่งหมาย
    นิพพาน
    พระรัตนตรัย
    พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    ความเชื่อและการปฏิบัติ
    ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    คัมภีร์และหนังสือ
    พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    หลักธรรม
    ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38
    นิกาย
    เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน
    สังคมศาสนาพุทธ
    ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน
    การจาริกแสวงบุญ
    พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    ดูเพิ่มเติม
    อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ

    ภาพวาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานสภาวะ
    นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
    คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด
    พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"
    คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน 2 ประเภท คือ
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก
    การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน[แก้]
    อนึ่ง การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน มีมานานเป็นพันปีแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มที่มีความเชื่อไว้สองกลุ่มดังนี้
    1. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพานมีสภาวะเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา กลุ่มนี้เชื่อว่า โดยมีแนวคิดง่ายๆว่าสภาวะของนิพพานนั้นต้องตรงข้ามกับกฎไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)โดยเฉพาะข้อความใน อนัตลักขณสูตร ที่กล่าวว่า สิ่งไดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ และอนัตตา โดยทรงยกเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวอย่างในคุณลักษณะแห่ง สภาวะที่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์
    เมื่อนิพพาน อยู่นอกเหนือจากกฎไตรลักษณ์ นิพพานจึงมีคุณลักษณะที่เที่ยงแท้ แน่นอน และเป็นบรมสุข ดังนั้นนิพพานจะเป็นอนัตตาไม่ได้ เพราะถ้านิพพานเป็นอนัตตานิพพานก็จะมีสภาวะเดียวกับขันธ์๕ แต่นิพพานไม่ใช่ขันธ์ 5 นิพพานนั้นเป็นธรรมขันธ์ นิพพานจึงไม่สามารถเป็นอนัตตา กลุ่มที่มีความเชื่อเช่นนี้มักเป็นกลุ่มธรรมกาย เป็นส่วนใหญ่ และสำนักเหล่านี้ยังอ้างว่า ตนสามารถไปเยี่ยมพระพุทธเจ้าที่แดนนิพพานด้วย
    การเชื่อเรื่องนิพพานเป็นอัตตานั้นปรากฏหลักว่าเริ่มมีมาตั้งการสังคายนาครั้งที่สอง เช่น วาตสีปุตรียะเป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น มหาสังฆิกะ (มหายานในปัจจุบัน) เถรวาท และเสาตรานติกะ
    2. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพาน มีสภาวะ เป็นอนัตตา เป็นสุขสูงสุดคือความสงบ ไม่ใช่สุขอย่างโลก ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่สถานที่ คือความหยุดโดยสมบูรณ์สิ้นสุดความเปลี่ยนแปลงจึงคงอยู่ในสภาพเดิมหรือ เป็น ตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง) ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ เป็นสุญญตา (ความว่าง) ธรรมธาตุของนิพพานนั้นจึงเป็นธาตุว่างพุทธศาสนานั้นปฏิเสธทิฐิเรื่องอัตตาหรืออาตมันในสมัยพุทธกาลลัทธิต่าง ๆ จะเน้นย้ำเรื่องอาตมันนี้มาก
    ในกลุ่มแรกจะแย้งว่านิพพานไม่ใช่อนัตตาเพราะเนื่องจากอนัตตาคือสิ่งที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่มีตัวตน) แต่การนิพพานนั้นเป็นการดับสนิท โดยไม่เหลือเหตุปัจจัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน(เช่นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา) ทั้งปวง จึงเป็นการดับไม่เหลือหรือ “นิพพาน”
    สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก[แก้]
    คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์
    คัมภีร์ชั้นอรรถกถาของฝ่ายเถรวาท ระบุว่า "นิพพานอันว่างจากตน" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในพระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)
    นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)
    ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"
    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนเถระทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า
    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)
    ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย
    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น
    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
    นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกศาสตร์จึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)
    เมื่อนิพพานพ้นไป นิพพานจึงเทียบได้กับ ไฟอันที่หมดเชื้อไฟแล้วและดับไป อันเชื้อไฟนั้นเปรียบได้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น
    อ้างอิง[แก้]
    ขุทฺทกนิกาเย ธมฺมปท อุทาน อิติวุตฺตก สุตตนิปาตปาลิ.กรุงเทพฯ :มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2500.
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค.กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539.
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา, 2500.
    มิลินฺทปญฺหา.กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2540.
    ธรรมปิฎก,พระ.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2546.
    ธรรมปิฎก,พระ.พุทธธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพ ฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2538.
    พุทธทัตตะ,พระ.อภิธัมมาวตาร บาลี-ไทย.กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ,2530.
    พุทธทาสภิกขุ. อนัตตาของพระพุทธเจ้า.กรุงเทพฯ : ธรรมสภา,2542.
    วินยปิฎเก ปริวารปาลิ.กรุงเทพฯ :มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2500.
    สุชีพ ปุญญานุภาพ.พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539.
    เสถียร โพธินันทะ.ธรรมฐิติญาณกับนิพพานญาณ และหลักสุญญตา.กรุงเทพฯ :แพร่พิทยา,2526.
    อนุรุทธะ,พระ.อภิธัมมัตถสังคหะ.กรุงเทพ ฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,2506.
    G.P. Malalasekera. The Truth of Anatta.Kandy:Buddhist Publication Society,1966.
    Gombrich, Richard Francis.Theravāda Buddhism : a social history from ancient Benares to modern Colombo.London:Routledge & Kegan Paul,1988.
    ปริวาร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘
    ฉันนสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
    อุปปาทสูตร อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
    ธาตุสูตร ขุททกนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
    อนัตตลักขณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔
     
  4. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    หลวงพ่อพุทธทาสตอนนี้ท่านอยู่ไหนครับ
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • icmy26.jpg
      icmy26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      370.2 KB
      เปิดดู:
      81
  6. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    ลักษณะการเห็นนิพพาน

    ลักษณะการเห็นนิพพาน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ไม่ทราบครับว่าอยู่ไหน แต่รู้ว่าท่านไปสบายแล้วแน่นอน เพราะท่านก็ไม่เคยบอกใครว่าท่านเป็นพระอรหันต์ และพระอรหันต์ก็ไม่บอกใครเหมือนกันว่าท่านเป็น ดังนี้แล
     
  9. โยมแถวหลัง

    โยมแถวหลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +854
    อย่าไปคาดเดาอะไรเลยครับ ว่านิพพานเป็นยังไง อยู่ยังไง ขอให้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งการสิ้นไปของอาสวะกิเลส มันก็หมดในข้อสงสัยทั้งหลาย วันนี้เราแต่ละคนยังคงเวียนว่ายตายเกิด การตีความคำสอนทั้งของพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวก ล้วนแล้วแต่เป็นการตีไปตามสมมุติโดยยึดเอาตามการจำได้หมายรู้ของแต่ละคน เหมือนตาบอดคลำช้าง

    จะไปสนใจทำไมว่านิพพานเป็นยังไง สนใจปฏิบัติใจของตนให้ถึงสิ้นไปแห่งอาสวะไม่ดีกว่าหรือครับ
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ตาบอดคลำช้าง
     
  11. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ผมก็ไม่หวังถึงว่าจะไปนิพพานหลอกนะครับ แต่เห็นหลายกระทู้ดูเหมือนจะยังไม่เข้าใจพระนิพพานอันเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา บ้างก็ว่าหมดกิเลสแล้วไม่รู้จะไปเกิดที่ไหน ถ้าไม่ไปนิพพาน ผมก็ขอยกเอาพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นตัวอย่างนะครับท่านสิ้นกิเลสแล้วแต่ยังไม่เข้าพระนิพพาน ยังทรงโปรดสัตว์ช่วยเหลือมวลมนุษย์ ถ้าเคยอ่านประวัติมาบ้างคงพอเข้าใจ แต่นิพพานไม่ใช่ที่ๆจะไปเกิด แต่เป็นที่ๆจะไปดับครับ เดี๋ยวค่อยๆอธิบายครับ
     
  12. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ใครเข้าใจโพสต์นี้บ้างครับ
    ผมละงงโครตๆเลยครับ
     
  13. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ขอบคุณครับที่ตอบกลับข้อมูล
    ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
    โมทนาสาธุ
     
  14. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,286
    ค่าพลัง:
    +1,507
    เขียน ๒๑.๔๖

    ตาบอดคลำช้าง ก็ไม่แน่นะครับ ว่าจะไม่รู้จักช้างเสมอไป
    ถ้ามีคนตาดี มีน้ำใจ และรู้จริง ว่าจะคลำท่าไหน อย่างไร คอยแนะนำ ๕๕๕

    คลำตรงไหน เรียกว่าอะไร สอนมันเรื่อยไป ตั้งกะหัวจรดหาง
    ค่อยๆ สอน ค่อยๆ เรียนรู้กันไป เดี๋ยวก็รู้ และเห็นช้างเองล่ะมั้ง นะ หึหึหึ


    กระต่ายป่า แห่งเกาะนาฬิเกร์ / ค้างคาวแห่งแสงไม้ขีดไฟ

    .
     
  16. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ออนี่ใช่ไหมที่เขาเรียกว่าแซว
     
  18. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    กำลังเกิดครั้งสุดท้าย หรือ กำลังเห็นนิพพาน

    กำลังเกิดครั้งสุดท้าย หรือ เรียกว่ากำลังเห็นนิพพาน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +301
    ไม่รู้คุณส่มส่วนจะถามอะไรผมกันแน่นะครับ แต่เข้าใจว่าจะถามว่าผมเห็นนิพพานรึยัง
    ผมคงตอบว่าเห็นไม่ได้นะครับเพราะนิพพานนั้นไม่สามารถเห็นได้ เป็นสภาวะว่างเปล่าครับ
     
  20. ---สมส่วน---

    ---สมส่วน--- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,231
    ค่าพลัง:
    +2,127
    บ้านหลังหนึ่ง แต่เดิมว่างเปล่า

    [FONT=&quot] การเห็นนิพพาน กับ การเห็นธรรม นั้นเป็นอันเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]เห็นธรรมก็เห็นนิพพาน เห็นนิพานก็เห็นธรรม ไม่ได้ต่างกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]เสมือนคนเข้าไปอาศัยอยู่ ในบ้านหลังหนึ่ง ในบ้านหลังนี้
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ว่างเปล่า [/FONT][FONT=&quot]ไม่มีห้องน้ำ ไม่มีห้องนอน ไม่มีห้องครัว และคนก็ไม่รู้จัก [/FONT][FONT=&quot]จัดระเบียบ การทำสิ่งใดๆในบ้าน โดยใช้รวมกันทุกอย่าง [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ธรรมดากาลเวลา ได้ก้าวไปเลื่อยๆ คนเราต้องกิน ต้องใช้ [/FONT]
    [FONT=&quot]อยู่ทุกวัน ดังนั้นความทุกข์ ย่อมเกิดขึ้น ตั้งแต่เข้าไปอยู่ [/FONT]
    [FONT=&quot]ในบ้านหลังนั้นวันแรก [/FONT]

    [FONT=&quot] การเกิดขึ้นมาของคน ที่ไม่รู้ธรรม [/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ย่อมเป็นทุกข์ เหมือนคนเข้าไปอยู่ในบ้านหลังนั้นแล [/FONT]
    [FONT=&quot]แต่สำหรับคนเห็นธรรม ย่อมรู้ว่าควรทำสิ่งใด ในบ้านหลังนั้น [/FONT][FONT=&quot]จึงย่อมอยู่เย็นเป็นสุข สะบาย ฉะนั้นแล [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...