ขอส่งข่าวเตือนให้ เลิกใช้คำว่า **ปฎิรูป** เปลี่ยนเป็นคำอื่นเสียจะดีกว่า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 20 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อยากบอกให้รู้ว่า ผู้เรียนผู้ศึกษาหาความเจริญในพระสัทธรรมทั้งหลายฯ ท่านจงอย่าใช้คำว่า *ปฎิรูป* ไปต่อเนื่องผสมในคำใด เพราะคำว่า*ปฎิรูป* เป็นคำเสีย ไม่ใช่คำที่ดี มีความหมายที่ไม่ดี

    เมื่อไปคัดมาจาก มหามงคลสูตร แต่ไม่รู้คุณความหมายที่ถูกต้อง จะส่งผลเสียให้กับชาติบ้านเมืองและ พระศาสนา

    **คำจำกัดความของ / ปฏิรูปเทสวาโส / ในฐานะผู้ปฎิบัติตามพระธรรมอย่างเรา คือ ไปอยู่ ณ ที่แห่งหนใดก็ตาม หากไม่สามารถทำให้ที่นั่นเป็น ประเทศอันสมควรได้ ก็อย่าฝืนกำลังของตน อย่าไปทำให้เกิดความโกลาหลฉิบหาย ต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่สมควรประมาท ถ้าไม่ไหวก็กลับมาให้ผู้ที่ไหวต่อเหตุต่อการณ์นั้นออกไปแก้ไข สถานการณ์ให้ เป็นประดุจข่ายใยแมลงมุม สดุด ณ ที่ใด เป็นเสมือนขั้นตอนในขั้น ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา และจะโยงเข้าหลัก อิทัปปัจจยาตาหรือปฏิจจสมุปบาท จักผสานกลมกืนเข้ากับข้อธรรมที่ผนวกกันใด ในการจัดการบริหารหมู่สงฆ์ หรือ บริหารการอื่นๆ

    (ประโยคนี้เราวิสัชนา ซ่อนไว้ สำหรับผู้มีปัญญาธรรม ที่มองการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออก กี่ครั้งกี่หนแล้ว ที่เกิดปัญหาในพื้นที่ภิกษุรูปใดๆ ไม่สามารถปฎิบัติกิจเผยแผ่ประกาศพระสัทธรรมได้ พระองค์ท่านก็จะให้พระผู้เป็น เอตทัคคะ ในด้านต่างๆที่สมควรแก่กิจนั้น ไปดำเนินการ แม้พระองค์เองก็ยังเสด็จไปแก้ไข ยืนยัน จนนับครั้งมิได้ อีกทางหนึ่ง การเจริญใน มหามงคลสูตร นี้ก็เจริญพร้อม ณ ที่ อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวันถวาย เป็นการเริ่มต้น แห่งพระสูตร มหามงคลสูตร ณ ที่นี้ เวลา ณ กาลนั้นเอง )


    ไม่ใช่ จะเอาไปแปลให้มีความหมาย ว่า สบายๆ อยู่อย่างสบายๆ ทุกอย่างต้องสะดวกสะบาย ผู้นั้นแปลผิดไปแล้ว

    ผลเสียเมื่อเอาคำว่า * ปฎิรูป *ไปเติม หน้าหรือหลังคำใดๆ ก็จะมีคุณความหมายที่เลวไปในทันที เช่น คำว่า มิตร และ มิตรปฎิรูป พระสัทธรรม และ สัทธรรมปฎิรูป
    นี่เป็น คำที่ให้ความหมายแย่ที่สุด ในศาสนาพุทธ และในโลก

    ให้เลิกใช้คำว่า** ปฎิรูป **เสียก่อนจะเกิดความโกลาหลหนักไปกว่านี้ เหมือนสาปแช่งตนเอง สาปแช่งชาติบ้านเมือง แช่งพระพุทธศาสนา ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง ** นั่นแหละ ราชบัณฑิต และ คสช เพจ ก็เคยเตือนไปแล้ว ** ยังมึนไม่เลิก

    ผลของการเสื่อมสูญของพระสัทธรรม จะส่งผลควบคู่ไปกับทางโลกในด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียในด้านพระพุทธศาสนา จนกระทั่งวัดทุกๆวัด ไม่ใช่สถานที่ปฎิบัติธรรม พิจารณาธรรมแต่จะกลายเป็นวัดพุทธพาณิชย์ แสดงธรรมเพื่อลาภสักการะ เป็นอามิสทายาท ในที่สุดจักเกิดกระแส ต่อต้าน รังเกียจ บีบคั้น จนถึงที่สุด เวลานั้นโคตรภูสงฆ์ย่อมกำเนิด

    เริ่มเข้าสู่ยุคที่จะไร้ขาดพระสงฆ์ที่มีความบริสุทธิคุณ และการบีบคั้นในสังคม เป็นไปตามกรรมแล้ว


    มีเหตุให้เกิดขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดคิดคำนวนไว้
    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
    เตือนไปแล้วไม่ฟังไม่คิดไม่อ่าน ว่าอย่าใช้คำว่า ปฎิรูป รู้ไหม?วาคำคำนี้ไม่ว่าจะไปอยู่ข้างหน้าหรือต่อท้ายคำใด จะทำให้ความหมายของคำคำนั้นเป็นคำเสียทั้งหมด จะเป็นไปในทางที่ไม่ดี

    หมดประเทศมีคนคอยเตือนการใช้คำนี้อยู่คนเดียว เวรกรรม



    ปฎิรูปจนได้สัทธรรมปฎิรูปแล้ว ประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • สปช.jpg
      สปช.jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.3 KB
      เปิดดู:
      610
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ของเก่าที่ดีๆ ไม่นำเอามาใช้ อยากได้ของใหม่ ก็เป็นอย่างนี้แลฯ
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไม่อย่างนั้นในยามยาก พื้นที่กันดารแห้งแล้วมีภัยพิบัติทุกข์ยากพระบรมมหาศาสดาท่านจะเสด็จไปพร้อมพระสงฆ์สาวกในที่ทุกข์ยากอย่างนั้นทำไม นี่แสดงให้เห็นคุณวิเศษของพระสิวลีท่านด้วย ไปไหนมีพระสิวลีไม่มีคำว่าขาดแคลน
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ธรรม
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    นิด้าโพล เผย ผลสำรวจ ปชช.ส่วนใหญ่ต้องการให้เร่งดำเนินการปฏิรูปศาสนา ทั้งยังคงเชื่อมั่นในการทำงานของมหาเถรสมาคม ในการรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองสงฆ์ พบปัญหาของศาสนาทุกวันนี้คือ พระสงฆ์ตัดไม่ขาดทางโลก...
    เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 59 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปพุทธศาสนา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2559 จากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง
    จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.25 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 30.35 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 21.96 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งมีร้อยละ 52.60 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 24.34 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 19.30 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 3.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
    ด้าน ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคมในการดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 10.62 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.83 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 16.29 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 10.78 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งมีร้อยละ 10.49 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 25.30 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.87 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 19.13 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 11.21 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ
    เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุ/ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 46.33 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลกแต่มาออกบวช รองลงมา ร้อยละ 30.83 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา ร้อยละ 29.63 ระบุว่า พระสงฆ์หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม ร้อยละ 24.36 ระบุว่า พระสงฆ์ยุ่งการเมือง/เลือกข้าง ร้อยละ 18.45 ระบุว่า พระสงฆ์หลงในลาภ ยศ สรรเสริญและตำแหน่งทางสงฆ์ ร้อยละ 15.02 ระบุว่า วัดมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 13.42 ระบุว่า ญาติโยม/ลูกศิษย์ชอบชักนำให้พระสงฆ์ประพฤติหรือทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือผิดหลักพระธรรมวินัย ร้อยละ 12.78 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยพูดจาไม่สุภาพ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 9.82 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 8.87 ระบุว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดโดยทั่วไปในปัจจุบันไม่มีความโปร่งใส ร้อยละ 8.07 ระบุว่า วัดและพระสงฆ์มีการแบ่งชั้นวรรณะ ร้อยละ 7.91 ระบุว่า พระสงฆ์มีคำสอนที่บิดเบือน รวมถึงการโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม) ร้อยละ 6.47 ระบุว่า วัดและพระสงฆ์เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่าคำสอนทางพุทธศาสนา ร้อยละ 4.95 ระบุว่า คนบวชเป็นพระเพราะไม่มีอะไรจะทำ จึงเกาะวัดกิน ร้อยละ 4.07 ระบุว่า พระสงฆ์หลงตัวเอง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า ญาติโยม/ลูกศิษย์ หลงใหลในพระสงฆ์หรือวัดจนขาดสติ ไม่พิจารณาให้รอบคอบว่า วัดมีคำสอนที่บิดเบือนหรือไม่ พระสงฆ์ปฏิบัติอยู่ในหลักพระธรรมวินัยหรือไม่ ร้อยละ 3.19 ระบุว่า วัดโฆษณาชวนเชื่อให้คนทำบุญเกินตัว/เกินเหตุจำเป็น มีการเลือกคนทำบุญเฉพาะคนรวย ร้อยละ 2.80 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่สามารถปกครองกันเองได้ ร้อยละ 2.56 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใดๆ เลย ร้อยละ 0.40 ระบุ อื่นๆ ได้แก่ จากทั้งตัวชาวบ้านและพระสงฆ์เองที่ไม่มีการคัดกรองพระที่มาบวชทำให้ได้พระสงฆ์ที่ไม่มีคุณภาพ อีกทั้งพระปลอมเยอะและเกี่ยวข้องผลประโยชน์ คนเลยไม่ค่อยเข้าวัดทำบุญ จึงทำให้ศาสนาดูไม่สำคัญ และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุ/ไม่มีความเห็น.


    จัดไป เวรกรรม ประชาชน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    มีผู้หวังความเจริญค้นหามาให้เรา โดยหวังว่า คำว่า ปฎิรูป จะพึงมีส่วนดีอยู่บ้าง นั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างที่ท่านเข้าใจ แต่จะถูกเราดูดกลืนผสานเข้าสู่หลักธรรม อันเป็นอิทัปปัจจยตาต่อไป อย่างเข้มข้นขึ้นอีก

    ปุจฉา
    ปฏิรูป ความหมายดีก็มีครับ ดังเช่นในมงคลสูตร และใน สมจิตตวรรคที่ 4
    ----------
    มงคลสูตร
    #ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

    การอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การทำบุญไว้ในปางก่อน การตั้งตนไว้ชอบ นี่เป็นมงคลอย่างยิ่ง
    ------
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย #พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ

    จบสมจิตตวรรคที่ ๔
    -------

    ----------------------------------------------------------

    วิสัชนา

    ท่านเข้าใจถูกแล้ว โดยเรื่องพยัญชนะปฎิรูป นี่คือ การที่ทรงกล่าวถึง ปฎิสัมภิทามรรค ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.




    นี่คือ พยัญชนะปฎิรูป
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ เพราะเหตุไร? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย.



    ตราบใดที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ทิพยภาษา ในปฎิสัมภิทาญาน ภาษาที่เราท่านต่างได้เห็น นั่นไม่ใช่พุทธวจน ถ้ามีปฎิสัมภิทา ๔ ที่สมบูรณ์ เห็นตัวอักษร อันเป็นนั้นเข้าจริงๆ {O}ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม{O} แล้วจะรู้เอง แต่จะกล้าเขียนหรือเปล่า นั่นอีกเรื่อง หรือต้องใช้ภาษารองจาก ทิพยภาษา แทน ภาษาใดๆในโลก ก็ เทียบ "ทิพยภาษา" ในพระไตรปิฏกดั้งเดิมไม่ได้ เพราะ ทิพยภาษา คือ กุญแจที่ไข ที่แปล ความหมายได้ทุกๆภาษา


    ภาษาบาลี ไม่ใช่" ทิพยภาษา " ที่มีความหมายละเอียดอ่อนลึกซึ้ง อย่างที่ทรงตรัส ภาษาบาลีนั้นจริงๆแล้ว เป็น อรรถถาธิบาย ต่อจาก ทิพยภาษา นั้นอีกที และ ถ้าคิดว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาที่เป็นพุทธวจนโดยตรง ด้วยปกรณ์ อรรถพยัญชนะ รูปเสียง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จริงๆ เป็นความเข้าใจที่ผิด และจะขัดกับ ปฎิสัมภิทามรรค ทันที นี่จึงเป็นเหตุให้ สำนักพุทธวจนที่ไม่รู้จักองค์คุณของปฎิสัมภิทาญานดีพอ จึงทำผิดพลาดอย่างมหาศาล

    จะเอา บาลี มาตรวจสอบ ทิพยภาษา ซึ่งเป็นแม่แบบ ต้นแบบ ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกลับกันได้




    ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"
    ภาษาที่รักษา พุทธวจนะ แต่ไม่ใช่ พุทธวจนะ หรือ ภาษาธรรมโดยตรงจากพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทพระไตรปิฏกดั้งเดิม


    ยกตัวอย่างจาก สำนักวัดนาป่าพง อ้างเปิดเผยพระพุทธวจน แต่กลับวิสัชนาธรรมผิดเพี้ยนถอดถอนดูหมิ่นพระสัทธรรม
    เรื่องนี้น่ะ เข้าใจผิดกันทั้งโลก ตราบใดที่ไม่มีผู้ประกาศตนโดย สามารถใน ปฎิสัมภิทาญาน และถ้าท่านไม่แสดง{O}ทิพยภาษา{O} เราจะไม่มีทางรู้ อักขระ พยัญชนะนั้นอย่างแท้จริง สิ่งที่คึกฤทธิ์สำนักวัดนาป่าพง ทำคือการทำลายอรรถกถา จึงเป็น พุทธวจนะปลอม คือแปลบาลีไม่ให้เป็น บาลี ปากบอกรักษา พุทธวจน แต่ทำลาย ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ เพราะไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ และเข้าใจว่า พระไตรปิฏกทั้งหลาย ล้วนสืบทอดมาจากการจารึกบันทึกทรงจำของพระสงฆ์สาวก ว่าด้วยสาวกจดจำมาจากพระดำรัสตรัสสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่ออีกทอดหนึ่ง นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันมี นิรุตติทัสสนญาน และ วิมุตติทัสสนญาน (ใครเคยฟังย่อมรู้ สัตตานัง และ พุทธวจน faq วิมุตติญาณทัสสนะ และ อวิชชาเกี่ยวข้องกันอย่างไร อะไรนั่น) บอกตามตรงก็คือ ไม่เคยได้เสวยวิมุตติสุข แม้ของโลกียะ ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของภาษาธรรม เอาเพียงแค่ พุทธภาษิตเดียว อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ หมดสำนักวัดนาป่าพง เปิดตำราหนึ่งล้านบท อธิบายสามล้านหน้ากระดาษ ก็ไม่มีทางแสดงพุทธภาษิตนี้ได้เทียมเท่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานได้เลย


    ปุจฉา
    ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

    การอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การทำบุญไว้ในปางก่อน การตั้งตนไว้ชอบ นี่เป็นมงคลอย่างยิ่ง


    วิสัชนา
    เราจะเอาผลก่อนมิได้ หากเราเป็นผู้ไม่มีบุญฯที่สั่งสมไว้ก่อน ต่อให้อยู่ใน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มากเพียงไรก็ตาม ก็จะทำให้ผู้อื่นได้เสียหายไปด้วย ดังเรื่องของท่าน พระโลสกติสสเถระศิษย์ของพระสารีบุตร พอรู้ว่าลูกศิษย์ของตนเองจะนิพพานจึงคิดจะสงเคราะห์ให้ท่านได้ฉันอิ่มท้องสักวันหนึ่ง จึงพาท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี เพราะการที่พาลูกศิษย์บุญน้อยไปด้วย ทำให้พระสารีบุตรอัครสาวกไม่ได้แม้กระทั่งการยกมือไหว้ ด้วยเหตุนั้น พระอุปัชฌาย์จึงต้องสั่งลูกศิษย์ให้ไปรอที่โรงฉัน มิเช่นนั้น คงจะต้องพลอยอดกันไปหมด เป็นต้น

    ทุกๆอย่างต้องควบคู่กันไปหมด ทั้งบุญกุศลเก่าที่เคยสร้าง การปฎิบัติตน การรู้จักชาติพันธุ์ อยากจะอยู่ในสภาพวะแวดล้อมที่เหมาะสม แต่ ตนไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับสถานที่ อย่างนั้นก็ไม่สามารถเป็นไปด้วยกันด้วยดีได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของพระองค์ท่านได้หงายของที่ควํ่าอยู่ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยพระประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจะได้แลเห็น กล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างถูกต้อง อย่างแจ่มแจ้ง อย่างแท้จริงมาก่อน นับเนื่องมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะพระองค์ท่าน ทรงสอนแต่ในเรื่องธรรมชาติของความทุกข์ ที่หมายถึงเน้นสอนในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งก็เพื่อยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่โดยการนำเอาความรู้ความเข้าใจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความทุกข์นั้น ไปใช้ในการเพื่อการดับทุกข์อันเป็นสุขยิ่ง เป็นที่สุดนั่นเอง อันเกิดขึ้นและเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
    "ในกาลก่อนนี้ก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราตถาคต บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์ และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์เท่านั้น"

    จงแสดงธรรมที่[พระพุทธเจ้า]ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อดีต้องเอาดีที่สุด

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ พระสงฆ์ที่อยู่ในสารคุณดีแล้วนั้นเทอญฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ
    เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน


    ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย (ปจฺจยสมุปฺปนฺนํ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑. นิพพาน ๑. อรรถกถาแห่งพระบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ๑. วิปากจิต ๑. กิริยาจิต ๑. บัณฑิตพึงทราบว่า อรรถะ. ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถะนั้นของพระอริยบุคคลผู้พิจารณาอรรถะนั้นอยู่ ชื่อว่าอรรถปฏิสัมภิทา.


    พยัญชนะปฎิรูป ๑ เปลี่ยนจาก ภาษาทิพยในพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท พระไตรปิฏกดั้งเดิม หรือ ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม

    พยัญชนะปฎิรูป ๒ การเล่นภาษา

    เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและการเล่นคำ เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมปฏิภาณ ข้อนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชา สามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุกด้าน เมื่อผู้ใดทูลถามมาเป็นคำร้อยกรอง พระองค์ก็ทรงตอบเป็นคำร้อยกรองไปทันที ทำนองกลอนสด บางทีเขาทูลถามหรือกล่าวข้อความโดยใช้คำที่มีความหมายไปในทางไม่ดีงาม พระองค์ก็ตรัสตอบไปด้วยคำพูดเดียวกันนั้นเอง แต่เป็นการพูดในความหมายที่ต่างออกไปเป็นฝ่ายดีงาม คำสนทนาโต้ตอบแบบนี้ มีรสอยู่แต่ในภาษาเดิม แปลออกสู่ภาษาอื่นย่อมเสียรสเสียความหมาย



    ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน แปลเป็นภาษาไทยในคำที่พอจะเข้าใจว่า เป็น ( พยัญชนะปฎิรูป) เกิดขึ้นเพราะปฎิสัมภิทาญาน โดยเป็นใหญ่สุด จนเข้าใจถึงโดยอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ก็จะไม่ล่วงรู้สภาวะที่จะมอบธรรมตามสมควรแก่ธรรมให้หมู่สัตว์อื่นๆที่มีธุลีในดวงตามาก ประกอบกับไม่สามารถเอื้อเฟื้อประโยชน์ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ เช่น สัตว์อื่นที่พิกลพิการหูหนวกตาบอดใจบอด จะไม่มีทางได้รู้ธรรมได้ฟังธรรมหรือธรรมได้


    หัวข้อหลักธรรม ทั้งหลายฯ มีพระธรรมราชา หรือ พระสัทธรรม เป็นใหญ่ เป็นเจ้าของ เป็นผู้ให้ หากจะคิดเอาเพียงตัวอักษรที่ร่ำเรียน จะเอาแต่ประโยชน์แต่ไม่คิดคำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของท่าน ถ้าใครคิดอย่างนั้น ไม่สมควรเลยฯ


    นี่คือบทอธิบายของ "พยัญชนะปฎิรูป" ที่เราแสดงเอาไว้ก่อนหน้า
    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? เพราะฉนั้นแม้เราเอง ก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้มากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระกาลของ พระสัทธรรม ผู้เป็น พระธรรมราชา นั้น ไม่ใช่ไม่เรียนจะเอาแต่พึ่งท่าน นั้นไม่สมควรแก่ฐานะเลย สำหรับเรา คิดว่าตนเองเป็นเพียง ทาส ทาสี หรือ บุตรที่เจริญในธรรม ของพระธรรมราชาเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ไปรบกวน "พระธรรมราชา" เพียงอย่างเดียวในการ ศึกษาจาก พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ทิพย์ดั้งเดิม เป็นการไม่สมควรยิ่งสำหรับผู้ที่หวงแหนพระสัทธรรมยิ่งอย่างเรา ที่จะไปรบกวนเวลาของท่าน แม้จะสำเร็จด้วยบุญบารมีของเราก็ตาม บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองเมื่อถึงกาลเวลา ที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระสงฆ์หรือผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ตามมา ยากที่จะเห็นตามและทรงจำได้ทั้งหมด นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    ธรรมทั้งมวลนั้นฯ เราท่านต้องเข้าใจว่า เราต้องอ่านให้ออก และพยายามเข้าใจความหมายให้ละเอียดที่สุด เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก จนไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ แค่เพียงพุทธภาษิตเดียวขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งเลยในยุคสมัยนี อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ นี้ แม้เราได้วิมุตติแล้วในภาษิตนี้ ก็ยังจนปัญญา จะอธิบายให้เท่าที่เห็นที่รู้ได้ ฉนั้นอรรถาธิบายที่เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ จึงจำเป็นมากในการเรียนรู้และศึกษา ไม่ควรถูกทำลายโดยสำนักวัดนาป่าพงนั้น

    คนที่ไม่เข้าใจธรรมะถ่องแท้ และคิดว่าตนเองเข้าใจ โดยปราศจากการศึกษาและปฏิบัติ อย่างถูกต้อง คนเช่นนั้นก็ไม่แตกต่าง ไปจากคนหลงทาง หลงตนเองไม่สามารถจะแยกขาว ต่างจากดำได้ ย่อมประกาศพุทธธรรมอย่างผิด ๆ เช่นนั้นย่อมชื่อว่า กล่าวตู่หรือดูหมิ่น พระพุทธเจ้า และชื่อว่า เป็นผู้ลบล้างพระธรรม เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขา กำลังทำฝนให้ตก แต่ที่จริงคนเช่นนั้น กำลังแสดงธรรมของมาร ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครูของพวกเขาก็คือพญามาร และสาวกของเขาก็คือ บริวารของพญามาร คนที่หลงงมงาย ทำตามคำสอนเช่นนั้น ย่อมจมลงในทะเล แห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    เราขอยืนยัน และสามารถปรารภกถาที่ปรากฎมีมาในเรื่องปฎิสัมภิทาได้ เพราะเราได้เห็นแล้วท่านจงเข้าใจว่า เหตุผลที่พระสัทธรรม ต้องเสื่อมสูญไปตามกาล เพราะสัตว์โลกล้วนมีธุลีในดวงตามาก เมื่อมีผู้มีธุลีในดวงตามาก ไม่เห็นความสำคัญ กล่าวการจาบจ้วงพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์คุณอยู่ ย่อมประสพบาปกรรมมากแก่ตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระสัทธรรมที่แตกแยกไป มีผลน้อยลงในการส่งผลแก่กรรม ถามว่า ครบบริบูรณ์สมบูรณ์ไหม? พระไตรปิฏกที่มีอยู่ในโลกหรือ ตลอด ๓ แดนโลกธาตุ เราขอตอบโดยตรงว่า ไม่มีที่สมบูรณ์แม้สักเพียงบันทึกหรือจารึกเดียว เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก เพียงพุทธภาษิตเดียวก็ไม่มีผู้ใดแสดงได้ละเอียดอ่อนจนเผยวิมุตติได้ แม้แต่เราผู้เข้าถึงแล้ว วิมุตติของโลกียะ ก็ยังมิสามารถ เอาเพียง "อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ "เพียงพุทธภาษิตนี้ ไม่มีใครในโลกนี้สามารถ พรรณนาให้ถึงที่สุดได้โดยวิมุตติ ผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุตติ (แก่กาลฐานะธรรม) เชื่อถือได้หรือไม่ ต้องศึกษา นวังคสัตถุศาสน์ ให้แจ่มแจ้งที่สุด ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน และอยากรู้อยากเห็นเจริญมากขึ้นในธรรม ( อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 ) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ

    สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
    เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
    เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
    คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
    อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
    อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
    ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
    อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
    เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
    ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้ ปฎิสัมภิทาญาน จะส่งผล เห็นท่วงทำนองและภาษาตลอดจนตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด รู้ทุกภาษา ทั้งภาษามุนุษย์ และภาษาอื่นๆทั้งหมด

    ในครั้งปฐมสังคายนานั้นประกอบด้วยพระอริยเจ้าล้วนสำเร็จอรหันตปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เท่านั้นที่จะมีส่วนในการทรงจำ กำหนด เรียบเรียง ถือเอามติสงฆ์เป็นใหญ่ ตรวจทานพระไตรปิฎก ปฎิสัมภิทาญาน คือการ เห็นดังนี้ ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ

    ๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถหรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

    ๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

    ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

    ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

    ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานคือเป็นผู้เห็นยังพระไตรปิฏกโดยขอให้คำจำกัดความตามจริงว่า ได้เห็นจริงตรองตามนี้ได้

    ๑.รู้และเข้าได้ทันที่ว่า ตีมุมกลับ "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงปฏิสัมภิทารู้แจ้งเห็นธรรมอันเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นซึ่งรูปแบบหนึ่งเดียว

    ๒.รู้แล้วเข้าใจได้ทันทีว่า ในช่วงที่ว่างเว้นคือ ว่างจากการเสด็จมาตรัสรู้ในพุทธันดรนั้น พระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้เลือนหายไปไหน

    ๓.รู้และเข้าใจได้ทันที่ว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงทรงสรรเสริญพระธรรม นั้นเพราะการตรัสรู้พระธรรมนั้นทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

    ๔.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ที่พระองค์จะสั่งหรือเคยบอกการใดใด เลยว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เห็นนั้น เป็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ฉบับดั้งเดิม เพราะเป็นสิ่งที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์ธรรมดาจะพึงเห็นได้

    ๕.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ในพระปัจฉิมโอวาททรงเน้นย้ำให้ถือว่า พระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัยเป็นศาสดา และจงพึ่งพาตนเอง พร้อมตรัสปลอบให้กำลังใจ ในหลายต่อหลายครั้งในเรื่องการปฎิบัติ เช่นในเรื่อง หากยังมีผู้ปฎิบัติตามธรรมนี้อยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ แต่ไม่ทรงถือตัวพระองค์เองเลยว่า หากขาดพระองค์ไปแล้ว ย่อมขาดผู้หยั่งสภาวะธรรมด้วยพระทศพลญาณ๑๐ อันเป็นกำลังแห่งพระพุทธเจ้า ที่จะสามารถแก้ไขข้อติดขัดในการพิจารณาธรรมของพระสงฆ์สาวกได้อย่างดีที่สุด ฉนั้นการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นก็คือ ความวิบัติ ขาดสูญ ในการสำเร็จธรรมของเหล่าพระสงฆ์สาวกโดยแท้ เพราะไม่มีผู้ใดจะปรีชาญาณเทียมเท่าพระองค์อีกแล้ว

    {O}ธรรม ๓ สิ่งที่จำเป็นต่อการพยากรณ์ปรารภกถาต่างๆ{O}
    สถานะธรรมผู้บรรยาย (วิมุตติญานทัสสนะ)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว และประหารไกลตัวสำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในสุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

    ๓ ประการนี้ จำเป็นมากสำหรับผู้ใครพิจารณาธรรมและต้องการเจริญในพระสัทธรรม
    ๑.นวังคสัตถุศาสน์ ๒.อนุปุพพิกถา ๓.สัปปุริสธรรม
    เมื่อสามารถเรียนรู้ทั่วถึง จะสามารถพยากรณ์กถาต่างๆ ที่มีมาในพระไตรปิฏกได้เป็นเลิศที่สุด

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔- นั้น และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    เราพอจะเข้าใจที่ท่านหยิบยกมาเพียงอย่างที่สอง ทั้งๆที่อย่างแรกที่ทรงตรัส กล่าวถึงผู้ตระหนี่ธรรม และแสดงธรรมอย่างผิดๆและบิดเบือน ท่านไม่ยกมาวิสัชนาแก่เราเพื่อการใด

    ตามที่จริงควรยกมาทั้งคู่ว่าเป็นไปในแนวทางอันใด ทางเดียวกันหรือไม่ มีโทษหรือมีคุณแต่เพียงอย่างเดียวหรือไม่ จะต้องพยายามเข้าใจอย่างถ่องแท้ แยกแยะอรรถและธรรมให้เป็น อย่าหมายสำคัญแค่เพียงรู้ อรรถะพยัญชนะ ว่าคำนี้ มี คำนี้ มี แต่ไม่เข้าใจ ในธรรมข้อนี้ ควรพิจารณา
    เมื่อเป็นอนุโลมอรรถและธรรม ย่อมต้องพิจารณาต่อไปให้ถึง อนุโลมมุสาในอรรถและธรรม ปฎิบัติสืบเนื่องไปจนถึงขั้นอนุโลมญาณ เป็นต้น



    อสัตบุรุษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง
    ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ
    ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน
    เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ
    ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย


    นี่หมายความว่าการ" สร้างสัทธรรมปฎิรูป " ตรงๆอยู่แล้ว ว่าจะทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด

    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
    เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้


    สัตบุรุษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย
    พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
    ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน
    มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ
    จบสมจิตตวรรคที่ ๔


    นี่หมายความว่า พยายามสอนเท่าที่ตนรู้ ตนมีความสามารถ ไตร่ตรองพิจารณาจดจำ อธิบายอย่างนั้น ยกตัวอย่างที่เป็นเลิศสุด ดั่ง ความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วยพระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก




    ความแตกต่าง ของคำว่า พยัญชนะปฎิรูป จะเป็นเหมือนเหรียญสองด้านได้อย่างไร? จะมีความหมายแตกต่างกันได้อย่างไร ทั้งดีละเลว ดีของคนเลว ดีของคนดี ความลึกซึ้งละเอียดอ่อนนี้ พยายามไตร่ตรองพิจารณา


    สมเด็จพระบรมมหาศาสดาท่านกล่าว แต่ต้นวรรคสมจิตตวรรคที่ ๔ แล้ว ว่า

    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่
    เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น
    ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน
    อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน
    อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ
    ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย
    สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ
    สัตบุรุษ ฯ"


    อย่าเอาแต่ท้ายวรรคมาจะสับสน ระหว่าง ในบทธรรมพยัญชนะปฎิรูปของอสัตบุรุษ และ ในบทธรรมพยัญชนะปฎิรูปของสัตบุรุษ ว่าแตกต่างกันอย่างไร?

    ถ้าไม่รู้พระสัทธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน ย่อมไม่มีทางที่จะรู้เข้าใจยัง พยัญชนะปฎิรูปหรือพยัญชนะใดๆอย่างแท้จริง นี่่ยังไม่รวมถึง อพยัญชนะ คือไม่มีพยัญชนะทั้งมวลนั้นด้วยฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    นี่ไม่ใช่ความรู้ ที่เรามีอยู่ในร่างกายและสมองเน่าๆของเรา เราไม่มีอะไร นอกจาก คำว่า รัก และ ห่วง
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204


    นี่อีกตัวอย่าง พยัญชนะปฎิรูป
    ขออีกสักเรื่องที่เน้นๆ ว่าด้วย "ปฎิสัมภิทาญาน" การที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จไปโปรดสั่งสอนเวไนยสัตว์ แม้ในโลกธาตุอื่นๆ ซึ่งบริษัทเหล่านั้นใช้ภาษาถิ่น ภาษาอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งพระองค์ก็ทรงทราบวาระจิต แม้จะเป็นอรรถภาษากิริยาวาจาลักษณะใดก็ตาม



    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล

    {การบรรลุปฎิสัมภิทาญาน ย่อมเห็นธรรมที่ทรงตรัสรู้เห็นเรียกว่าได้ตรัสรู้ตาม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา }

    "ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้.

    เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของหอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาวบ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จ ไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อมเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนักดังนี้.

    ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้างพระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มีเสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้วย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการพิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใครหนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษาสีหล ฯลฯ หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้นเทียว.

    แสดงถึงการไปโปรดสัตว์เหล่าอื่นสั่งสอนในตลอดอนันตริยะจักรวาลอันกว้างไกล

    ถ้าไม่รู้พระสัทธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน ย่อมไม่มีทางที่จะรู้เข้าใจยัง พยัญชนะปฎิรูปหรือพยัญชนะใดๆอย่างแท้จริง นี่่ยังไม่รวมถึง อพยัญชนะ คือไม่มีพยัญชนะทั้งมวลนั้นด้วยฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2016
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    a.3610847.jpg
    . ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Sosad.jpg
      Sosad.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.9 KB
      เปิดดู:
      322
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ปุจฉา
    ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

    วิสัชนา คำว่า**ปฎิรูป**ที่ใช้กันอยู่ทุกๆวันนี้ได้นำมาจาก *มหามงคลสูตร*
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    พุทธศาสนวงศ์กับพระธรรมวินัยพระไตรปิฎก บรรยายโดยพระอาจารย์วิทยา กิจฺจวิชโช
    https://www.youtube.com/watch?v=mgvPpgWnkXk
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ถ้าหากมีความซื่อสัตย์และจริงใจ
    ในการแก้ไขปัญหาและกำจัดสิ่งบก
    พร่องต่างๆ ให้หมดไปด้วยการเติม
    เต็มสิ่งที่ดีๆทั้งเก่าและใหม่
    ก็สามารถใช้คำว่า"ปฏิวัติ"ไปได้เลย
    ไม่เห็นว่าจะมีความเสียหายอะไร
    แต่หากไม่ได้จริงใจทำอีหลักอีเหลื่อ
    จะใช้คำ"ปฏิรูป"หรือคำอื่นใดมาอำพราง....ก็ไม่ได้ทำ
    ให้สังคมพลิกกลับไปสู่บรรยากาศที่พึง
    ประสงค์ได้

    อาจจะย่ำแย่กว่าเดิมอีก
    แต่ขณะนี้ในต่างประเทศ
    ก็พยายามเลียนแบบไทยเรานะฮะ
    เช่นบางประเทศในตะวันออกกลางก็มีการนำคำ
    "ปฏิรูป"ไปใช้ในการปรับปรุงระบบบริหารประเทศเช่นกัน
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    เตือนไม่เคยฟัง ไม่เคยเข้าถึง ไม่เคยสัมผัส เวรกรรมแท้ๆ จุดจบจะมาถึงแล้ว!
     
  18. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,111
    ค่าพลัง:
    +3,402
    ปฏิรูปแต่เลือกปฏิบัติ ไม่น่าจะไปรอดเลยนะ
    คนมันจนทำอะไรก็ผิดไปหมด
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ปฎิรูปให้หมด จบสิ้นกันเสียที กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,791
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ตั้งใจอ่านให้ดีๆ ชาติ ศาสนา และ?
    ข้อความชั้นลึกที่ต้องใช้สติปัญญา

    ให้เลิกใช้คำว่า** ปฎิรูป **เสียก่อนจะเกิดความโกลาหลหนักไปกว่านี้ เหมือนสาปแช่งตนเอง สาปแช่งชาติบ้านเมือง แช่งพระพุทธศาสนา ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง ** นั่นแหละ ราชบัณฑิต และ คสช เพจ ก็เคยเตือนไปแล้ว ** ยังมึนไม่เลิก


    เราเสียอะไรไป? แล้วจะเสียอะไรอีก?
     

แชร์หน้านี้

Loading...