คณะสงฆ์กับบทบาท “การนำพุทธศาสนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b886e0b98ce0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b899e0b8b3e0b89e.jpg

    เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนไปร่วมฟังคำบรรยายของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในคราวไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือ มจร ท่านฝากให้ มจร เป็นการบ้านหลายเรื่อง เช่น มหาจุฬา ฯ ต้องหันกลับมาสู่ความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองในขณะเดียวกันต้องเป็น “ทั้งคันเร่งและเบรค” โดยให้เน้นการพัฒนาเป้าหมายเพื่อยกระดับทุนทางสังคมและทุนมนุษย์

    886e0b98ce0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b899e0b8b3e0b89e-1.jpg
    เนื่องจากทุนสังคมกายภาพและทุนทางสิ่งแวดล้อมสถาบันอื่นทำอยู่แล้ว หาก มหาจุฬา ทำได้แบบนี้ความเป็นตักศิลา ดังสมเด็จพระสังฆราชฝากรัฐมนตรีเอาไว้ก็บังเกิด (คำว่าตักศิลา เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบเป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน และองค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก)

    หลังจากผู้เขียนไปฟังมาแล้ว กลับถึงบ้านคำว่าทุนทางสังคมและทุนมนุษย์ เป็นคำคุ้น ๆ ว่าเป็นเป้าหมายที่สหประชาชาติ หรือนานาชาติได้มีมติร่วมกันว่าจะพัฒนาร่วมกันและให้บรรลุเป้าหมายในปี พ.ศ. 2573 ลองไปหยิบหนังสือ “ศาสนากับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน” บรรยายโดย พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม รก.เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ท่านสรุปไว้ว่า

    886e0b98ce0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b899e0b8b3e0b89e-2.jpg
    “ หลักคิดสำคัญในเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติก็คือว่า การพัฒนาไม่ควรตั้งเป้าหมายไว้ที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาทางเศรฐกิจจนเจริญเติบโตมากกลับกลายเป็นผลร้าย เพราะมันไปสู่การทำลายสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ผลของการพัฒนาไม่ยั่งยืน”

    ที่ประชุมนานาชาติจึงสรุปเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเอาไว้ 5 ข้อ คือ

    1.ประชาชน หมายถึงการพัฒนาที่เกี่ยวกับคน คือ มุ่งถึงการพัฒนาด้านสังคม
    2. ความมั่งคั่ง หมายถึง การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    3. โลกของเรา หมายถึง การพัฒนาที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
    4. สันติภาพ หมายถึง สันติภาพที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาทุกด้าน ถ้าไม่มีสันติภาพ การพัฒนาทุกด้านก็เป็นไปไม่ได้ การพัฒนาทุกด้านต้องนำไปสู่สันติภาพจึงจะมีความยั่งยืน
    5. หุ้นส่วน หมายถึงการเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ร่วมด้วยช่วยกัน คนละไม้คนละมือ ในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน

    886e0b98ce0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b899e0b8b3e0b89e-3.jpg
    ตรงข้อที่ 5 นี่แหละคำว่า “ทุกฝ่าย” หมายความร่วมถึงคณะสงฆ์ด้วย ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมายประสงค์นี้

    เป้าหมายสูงสุดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาจุฬา ฯ ตอนนี้คือ การก้าวไปสู่ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” เป้าหมายนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหาก “มหาจุฬาฯ ไม่มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่มุ่งสร้างบัณฑิตเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง และรวมทั้ง ไม่สร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและนานาชาติ”

    ความจริงมหาจุฬา ฯ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีบุคลากรมีความรู้ความสามารถมากมายที่สามารถมอบงานแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งเครื่อข่ายครูสอนศีลธรรมที่มีนับหมื่นรูป,พระนิสิตประจำวิทยาเขตต่าง ๆ และรวมทั้งพระนิสิตที่จะต้องปฎิบัติงานปีสุดท้าย เพียงแต่พระนิสิต เครือข่ายเหล่านี้อาจ “ไม่ถนัด” ในการไกล่เกลี่ย อาจไม่ถนัดในการทำงานมวลชน หรือแม้กระทั้งไม่มีความรู้เรื่อง การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และที่สำคัญสไตร์พระสงฆ์คือ “พูดหรือสื่อสารฝ่ายเดียว” อาจไม่อดทนเพียงพอต่อ “ความรับฟัง” ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารมหาจุฬา ฯ ที่จะต้องคิดและทำหลักสูตรอบรม เพิ่มพูนความรู้ความสามารถของคณะสงฆ์ให้หันหวนกลับคืนมาสู่ “จุดเด่นและบทบาทเดิมของคณะสงฆ์” คือ เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในสังคมหมู่บ้าน

    พูดก็พูดเถอะ แม้แต่โครงการศีล 5 กับโครงกา รวัดประชารัฐสร้างสุข ที่ริเริ่มโดยมหาเถรสมาคม ที่ทุ่มงบ ทุ่มจำนวนคนมหาศาลลงไปตามหมู่บ้าน ตามวัดต่าง ๆ เป้าหมายหลักของโครงการหมู่บ้านศีล 5 คือสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชุมชนหมู่บ้าน แต่ ไป ๆ มา ๆ จัดแต่กิจกรรม จัดแต่งานอีเว้น จัดแต่งานสัมมนา มอบป้าย ชาวบ้านระดับฐานรากไม่เคยเห็นเข้ามาร่วมเลย ผู้เขียนยังมองไม่ออกว่าชาวพุทธได้อะไรจากสิ่งเหล่านี้ ที่พูดแบบนี้ เพราะไปสอบถามชาวบ้านมาแล้วหลายชุมชนหลายหมู่บ้าน ชาวบ้านตอบไม่ได้ว่า “ตนเองได้อะไร”

    ผู้เขียนคิดว่า หากคณะสงฆ์จะนำหลักการทางพระพุทธศาสนาเพื่อไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืนจริง ๆ คงต้องคิดใหม่..ทำใหม่ อย่ามีความสุขอยู่กับการที่เห็นมีคนต้อนรับแล้วได้พูดต่อหน้าคนจำนวนมาก อย่าสนุกอยู่กับคำพูดเยินยอปอปั้น ดีไม่ดีบางโครงการบางกิจกรรม พระคุณเจ้าอาจตกเป็นเครื่องมือให้ราชการบางคน

    อาจตกเป็นเครื่องมือให้บริษัทจัดอีเว้น ผลาญงบประมาณแผ่นดินหรือเงินบริจาคเปล่า ๆ คณะสงฆ์ต้องดึงสติกลับมาสู่ “จุดแข็งของตัวเอง มาร่วมกันแก้ปัญหาหาทางออกความขัดแย้งในสังคมไทย ในหมู่มนุษยชาติ” นี่ต่างหาก คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสหประชาชาติ

    886e0b98ce0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897-e0b881e0b8b2e0b8a3e0b899e0b8b3e0b89e-4.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/611445
     

แชร์หน้านี้

Loading...