จัดการวัดห้ามไหว้พระ นำเสนอ ที่ประชุมมส.

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 28 กรกฎาคม 2008.

  1. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    ตามข่าวที่เห็น เขียนไว้ว่า "ทองเหลืองนี้ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ อย่าไปกราบมัน " ผมว่าใช้สติพิจารณาดีๆ นะ ท่านกล่าวว่าทองเหลือง ไม่ได้กล่าวว่าพระพุทธรูปเลย ทำไมตีความ ความคิดท่านว่า ท่านกล่าวถึงพระพุทธรูปล่ะ คนทุกคนเมื่อถึงที่สุดจะยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทางใจ นอกนั้นละหมด ท่านสอนให้ละวัตถุทางอ้อมแล้วนะ แต่ก้อนั่นแหละ กำลังใจแต่ละคนไม่เสมอกัน ผมว่าท่านไปไกลกว่าพวกเรามากนัก และที่น่าห่วง ไม่ว่าสิ่งที่ท่านพูดจะถูกหรือจะผิดประการใด เราอย่าปรามาสท่านดีกว่า พลาดพลั้งไปคนปรามาสจะกรรมหนักเปล่าๆ จำไม่ได้รึ ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำกล่าวว่า จงอย่าสนใจในจริยาของผู้อื่น ให้หมั่นดูจิตตนเองให้มากๆ (ในอดีต ประวัติพระอริยเจ้าแบบนี้มีเยอะแยะไป)^_^
     
  2. teeo79

    teeo79 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +96
    ถึงพวกเรา ชาวพุทธสาวกทั้งหลาย การที่เราจะคิดหรือทำสิ่งใด ควรใช้สติพิจารณาให้ถ้วนถี่เสียก่อน อย่าพยายามยึดติดกับการกระทำของผู้อื่น

    ลองมาพิจารณาตัวเราเองดีกว่า ใช้สติตรวจดูจิตของเรา แล้วเราจะรู้ซึ้งถึงพระธรรม ตามแนวทางสายกลางของพระพุทธเจ้า
     
  3. อาคม ดอกลั่นธม

    อาคม ดอกลั่นธม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +104
    ท่านคิดว่ายังไงละ การกราบเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    แตกต่างตรงใหน ไม่ได้แตกต่างตรงที่การกราบ แต่แตกต่างที่จิต ละเอียดและหยาบ เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายปติบัติแล้วบอกว่าดี ความละเอียดของจิตคงไม่โกหกหรอก
     
  4. kiyomaro

    kiyomaro Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +25
    [​IMG]
    ช่วยนำท่านไปสึก เพื่อไปสงบสติอารมณ์ที่บ้านทีคับ
     
  5. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    ผมนะ ก่อนนอน กราบหมอนก่อนนอนทุกคืนเลย แต่ตอนกราบไม่ได้คิดว่าเป็นหมอนหรอก เพราะระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ และหมอนนั้น ผมก็ไม่ได้เคารพมันเลยนะ บางทีก็เอาไปกอด ไปก่ายด้วยซ้ำ

    หลวงพ่อเกษมบอกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สถิตย์อยู่ทุกหน ทุกแห่ง จะกราบไหว้ ก็ไม่ต้องกราบไหว้ที่พระพุทธรูปหรอก แค่ระลึกถึงแล้วกราบ ก็ได้บุญแล้ว ที่ไหนๆก็ได้ทั้งนั้น

    นี้ก็เป็น กุศโลบาย อย่างหนึ่งครับ
     
  6. ดับภัย

    ดับภัย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +0
    อย่างน้อย ทุกศาสนาก็สอนให้เป็นคนดี สวยงามอยู่ที่ทำตัว ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ
     
  7. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    พวกผีเปรต ผีเร่ร่อน ผีชั้นต่ำ ผีอสุรกายต่างๆ เห็นพระจะได้กลัว ไม่กล้าเข้าไป

    สงสัยในวัดจะมีคนโดนผีเข้า ก็เลยเข้าใกล้พระพุทธรูปไม่ได้ ต้องเอาไปทำลายทิ้ง

    นี่ถ้าไม่ใช่พระ จะซัดพลังคลื่นเต่าใส่สักหน่อย......เปรี้ยง


    เออแล้วจะแผ่เมตตาไปให้ใครเนี๋ย เลิกเถอะทำบุญ ทำทาน สวดมนต์ ภาวนาที่สอน ๆ กันมาน่ะ อย่าลืมว่าสัตว์ชั้นต่ำกว่าเรา น่ะ น่าสงสารมาก ทำไมจิตใจโหดร้ายปานนั้น เพราะการทำอะไรนั้น มันมีผล 2 ด้าน ทั้งแง่ลบและบวก คือ อย่างสวดมนต์เนี๋ย ภูมิตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปนะชอบอนุโมทนาให้ แต่ต่ำกว่านั้นบางทีอัตภาพของเขาทนไม่ได้ อย่างสมัยที่พระอานนท์ไปซัดน้ำมนต์ที่เมืองเวสาลี ตั้งแต่นั้นมาพระพุทธองค์จึงบัญญัติไม่ให้พระภิกษุ สวด เสก เป่าที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้แหละและปรับอาบัติด้วยและเหรียญ รูปอะไรต่าง ๆ ก็นำพุทธคุณของพระรัตนตรัยมาใช้สวด เสก เป่า ครอบเอาไว้ บางทีสัตว์บางพวกไม่ชอบก็ไม่กล้าเข้าใกล้ แต่ถ้ามนต์มลายเมื่อใด หรือคน ๆ นั้นไม่คล้องคอตลอดเนี๋ยก็จะโดนเล่นงานภายหลังบางทีความแค้นนี้อาจข้ามภาพข้ามชาติ แล้วผู้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เนี๋ย ยังไม่เข้าใจในวัฎฎสงสารอีกหรือ ว่าความคิดแบบนี้น่ะ ถ้าจะเปรียบเอากิ่ง หรือใบ ก็ยังไม่ได้เลย ท่านหลวงปู่เกษมที่สอนแบบนั้นท่านอาจเห็นได้และมีเมตตาต่อสัตว์ที่ทุกข์ยากลำบากในภูมิอื่นก็ได้ ไม่ต้องอะไรมากนะ แค่คนเราที่ชอบสวดมนต์หรือศึกษาธรรมะเนี๋ยลองไปคุย,สวดใกล้กับพวกขี้เหล้าขี้ยาซิ มันจะได้ถีบเอาให้ ไม่เชื่อลองซิ จริงมะ อย่าเอาแต่ตัวเองดีคนเดียวนะ เมตตาคนอื่นเขาด้วย และหลวงปู่เกษมท่านไม่ได้ห้ามอะไร ถ้าอยากสวด หรือจะทำอะไร ท่านให้บอกกล่าวกับเขาเสียก่อนว่าเราจะสวดมนต์ให้ผู้ที่ไม่ชอบที่อยู่ในบริเวณที่เราอยู่น่ะให้หนีไปก่อนและพวกที่ชอบก็สามารถรับเอาบุญได้ แต่การทีสอนสวดมนต์กันน่ะ ที่เห็น ๆ ก็จะสวดบทชินบัญชร ยอดพระกัณฑ์ฯ หลวงปู่บอกว่าบทแบบนั้นแปลออกมาแล้ว เอาพระพุทธเจ้า สาวกพระพุทธเจ้ามาอยู่ที่ร่างกายตนเอง ข้างโน้นข้างนี้ ท่านเข้านิพพานไปนานแล้ว ท่านไม่มาอยู่ในตัวสกปรกอย่างเราหรอก และก็แปลไม่ออกกันด้วยเป็นการปรักปรำภาษาไทยคือภาษาชนบท พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ ว่าอย่างนั้น คือทุกอย่าง อยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้นเราต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน แต่ที่เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งนั้น ในจดหมายคำสั่งคลุมเครือ ไม่เห็นอ้างอะไรให้เป็นเหตุผลได้เลย ถ้าคนมีภูมิรู้สูง น่าจะเข้าใจได้นะแต่ไม่กล้าออกความคิดเห็นเพราะระบบของเรื่องโลก ๆ ถ้าในทางธรรมหลวงปู่เกษมน่าจะไม่ผิดอะไร พระพุทธรูปอยู่ในวัดของท่าน ท่านไม่ได้ไปเขียนไว้ที่วัดไหน คนที่ไปวัดท่านที่ถ่ายรูปมาอาจจะเป็นคนที่เข้าไม่ถึงธรรมะที่แท้ ชาวพุทธถึงต้องป่วนกันแบบนี้ เอาเถอะคิดว่าอย่างไร ความจริงก็คือความจริง ธรรมะของพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ 1 ไม่มี 2 อยู่แล้ว แต่ที่ปรุงแต่งกันขึ้นมานั้นไม่รู้ว่าเอามาจากไหน เออ คิดเล่น ๆ นะถ้าโลกแตกหมดเนี๋ยอะไรจะเหลือไว้เป็นอะไร จะถู จะตะแบงกันไปอย่างไรอีก แล้วที่เอารูปมาลงตอนซึนามิน่ะ ว่าพระพุทธรูปรอดมาได้ ก็เป็นอิฐ หิน ดิน ทราย ปั้นไว้ซะหนาตึ๊บแบบนั้น จะไม่เหลือได้อย่างไร จะบอกว่าเป็นปาฏิหารใช่มะ เทวดาก็เป็นมิฐฉาทิฐิด๊าย...
     
  8. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,265
    หน้าที่ชาวพุทธ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
     
  9. _เทวะสาวก_

    _เทวะสาวก_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +292
    งงเหมือนกันครับ...ตั้งแต่เกิดมาจนตอนนี้อายุ 19 ปีเข้าไปแล้ว ก็เพิ่งจะเคยเห็น พระ ที่สอนไม่ให้กราบไหว้ พระพุทธรูป นี่แหละ ไม่เข้าใจเหมือนกันนะครับ ว่าทำไมถึงสอนแบบนี้ ถึงจะอ่านรายละเอียดตามข่าม ก็ยัง งง อยู่ดี เพราะทุกทีก็เห็นแต่พระสงฆ์ กราบไหว้พระพุทธรูป หรือองค์พระปฏิมา...แต่ไม่เคยเห็นพระสงฆ์องค์ไหน ใช้สรรพนามกับพระพุทธรูปว่า "มัน" ซักองค์ เฮ้อ...ถ้าพุทธศาสนามีพระแบบนี้สัก 1000 รูป ศาสนาคงเสื่อมเร็วกว่านี้แน่ๆ
     
  10. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    บำรุงจนเหลิง น่ะสิ เคยได้ยินมั้ย รักท่านคนละกี่กองน่ะ
    บำรุงแบบไม่ลืมหูลืมตา อย่างตัวอย่างนี่ วัดนรก รับเลี้ยงสัตว์ที่ถูกไถ่ชีวิต แต่กลับฆ่าทิ้งอย่างไม่ใยดี ---> http://www.ladytip.com/main/content/view/1269/78/
     
  11. PrasertN

    PrasertN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +195
    จะเห็นว่ากายกรรมทั้งหลายสำคัญที่จิต
    จิตเป็นกุศลหรือไม่
    หากกายกรรมใดทำไปเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งแต่กลับก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยมิได้ตั้งใจ ก็ต้องขอขมากันไป แต่จะไม่ให้ทำเพื่อประโยชน์ก็หาถูกต้องไม่ เพียงระมัดระวังในกาลต่อไป
    การกระทำใดย่อมมีผู้ได้และเสียทั้งนั้นผู้เสียประโยชน์จะยอมหรือไม่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็แล้วแต่
     
  12. กายในกาย

    กายในกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +1,265
    หน้าที่ของชาวพุทธ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ใช้สัมมาทิฎฐิ พิจารณา ย่อมเข้าใจครับ
     
  13. MegaFM

    MegaFM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    272
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ครูบาอาจารย์ผมพาผมกราบพระพุทธรูปครับ และในเศียรของพระพุทธรูปนั้นยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุครับ ผิดหรือที่พวกเราชาวพุทธจะกราบพระพุทธรูปซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า
     
  14. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +2,392



    ;10
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    อนุโมทนาสาธุทุกบุญกุศลบารมีครับ

    มีความคิดเห็นที่ละเอียดปราณีต มีทุกข์โทษน้อย มีคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนามากอยู่เยอะครับ สาธุทุกบุญกุศลบารมีครับ

    เป็นห่วงความคิดเห็น(จากทุกฝ่าย)ที่ไม่คลุมรอบสาราณียธรรม อัปมาทธรรม กุศลธรรม เมตตาธรรม หรือพระพุทธการกธรรม อันอาจยังผลให้มีโทษอันตรายเจืออยู่ทั้งต่อตนเองและท่านอื่นๆส่วนรวม ครับ

    ผมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า10องค์ พระเครื่องขนาดเล็กนับหลายแสนองค์(ตามที่พระพุทธองค์ท่านทรงมีพระพุทธานุญาตไว้ในสมัยพระพุทธกาล ถ้าที่ผมเคยอ่านมาเข้าใจไม่ผิด)ถวายไว้ในพระพุทธศาสนามาหลายปีแล้วครับ และจะสร้างต่อไปครับ ขอให้การดำเนินงานเป็นไปโดยส่วนที่ถูกต้องยิ่งๆขึ้นไปครับ

    ได้ทราบประวัติตำนานการสืบทอดรักษา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดประวัติศาสตร์ไทย โดยผูกพันกับการสร้างพระพุทธรูป มาหลายเรื่องครับ (เช่น นักบวชฤาษี พระนางจามเทวี พระนเรศวร สมเด็จโต วัดระฆังฯ รวมทั้งบุคคลต่างๆในสมัยปัจจุบัน ฯลฯ)

    ในเรื่องของปัญหาทุกข์ในโลก บางท่านไม่ท้อถอยที่จะเผชิญแก้ไขปัญหายากๆ เพื่อส่วนรวม บางท่านก็ถอยออกมาเมี่อระดับของปัญหาสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามภูมิวิสัย ท่านที่อยู่จนสามารถแก้ปัญหาทุกข์ที่ละเอียดลึกซึ้งปราณีตได้สำเร็จสันติสงบอย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ทั้งส่วนตน ญาติ และโลก เป็นที่น่ายกย่องเคารพและศึกษาเพื่อปฏิบัติตามยิ่งนัก

    ผมรู้สึกเห็นใจมหาเถรสมาคมและผู้เกี่ยวข้องมากครับ

    (ผมจะอีดอัดอย่างมากถ้ามีการห้ามสร้างพระพุทธรูปถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นรัตนตรัยบูชา หรือมีบุคคลทำลายพระพุทธรูปที่เป็นแหล่งสร้างศรัทธาและพุทธธรรมต่อหน้าครับ)

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. _เทวะสาวก_

    _เทวะสาวก_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +292
    อืม...ถ้าไม่มีพระพุทธรูป แล้วเราจะจินตนาการภาพพระองค์ในสัญญา (ความจำ) จากอะไร? ถ้าไม่มีพุทธรูป จิตเราจะน้อมนำพระองค์ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีพระพุทธรูป แล้วลูกหลานของเรา จะรู้ได้อย่างไร ว่าใครคือพระพุทธเจ้า?...ศาสนาจะเสื่อมก็เพราะแบบนี้ล่ะมั๊ง ในเมื่อคนในศาสนาเกิดความคิดที่แตกแยกกันเช่นนี้...เราไหว้พระพุทธรูป แต่จิตเราก็บ่งบอกว่า "นี่ คือรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีลักษณะคล้ายคลึงรูปนี้ และเรากำลังกราบไหว้พระพุทธเจ้า ไม่ใช่กราบทองเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุ" เหมือนกับคนที่พ่อแม่ตายตั้งแต่เขายังไม่เกิด เมื่อเกิดมาก็ไม่เคยเห็นพ่อแม่เลย แต่เขามีรูปของพ่อและแม่ของเขา เขาจึงรู้ว่า "พ่อแม่ของเขามีหน้าตาเช่นไร" เราก็เหมือนกัน...ในยุคนี้ไม่มีใครเกิดทันยุคของพระพุทธเจ้า จึงไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้า มีลักษณะเช่นไร แต่เราก็ยังมีพระพุทธรูป ไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่ง เราเคยมีพระพุทธเจ้า และท่านมีลักษณะเช่นนี้...คนเรามักทำอะไรแปลกๆออกมาได้ เมื่อคนที่รักจากไป...พระพุทธรูปก็เช่นกัน ที่เกิดเพราะความศรัทธา หลังจากร่างกายของท่านดับไป คนเราเมื่อศรัทธามาก จึงได้ทำรูปเหมือนขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับระลึกว่า ครั้งหนึ่ง เคยมีมหาบุรุษเกิดขึ้นยังโลก และได้สั่งสอนมนุษย์ ให้เป็นคนดี และนั่นแหละ...คือพระพุทธรูป สื่อรูปวัตถุ ที่เชื่อมระหว่างจิตวิญญาณ และศรัทธา...สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2008
  17. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    จินตนาการไปเพื่ออะไรครับ.......

    เจตนาดี กับ ถูกต้อง มันคนละอันนะครับ และก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่มาคู่กัน
    และเจตนาดีแบบผิดๆก็ได้ความผิดนะครับ

    ตัวอย่างเช่น เราเห็นญาติเราป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย ทรมานมากๆๆเจ็บปวดแบบสุดๆ
    ตัวผู้ป่วยเองก็อยากตายเพราะเค้าทรมานมาก เราก็เจตนาดีอยากช่วยให้เขาพ้นความทรมานอันนั้น เขาขอให้เราช่วยถอดเครื่องช่วยชีวิตทั้งหลายออก เราก็ทำ
    ผลที่ตามมา คุณว่า เป็นอย่างไรครับ
     
  18. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    การจารึกพระธรรม – วินัย ในครั้งพุทธกาล เล่ม 23 หน้า 352

    .......พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เราอาจเพื่อจะส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชน
    แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบททั้งหลาย
    เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจเสด็จไป
    พึงอาจส่งพระมหาสาวกมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น
    แต่เราฟังมาว่า พระเถระทั้งหลาย อยู่ในปัจจันตชนบท
    สมควรเพื่อส่งคนทั้งหลายไปนำพระเถระเหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้ตนแล้วบำรุงเทียว
    เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป

    ครั้นส่งสาส์นไปแล้ว ด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็นเหมือนไปแล้ว
    เราจักส่งสาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ ทรงพระราชดำริอีกว่าเราให้ทำแผ่นทองคำ ยาว สี่ศอก
    กว้างประมาณ หนึ่งคืบ หนาพอควร ไม่บางนัก ไม่หนานัก แล้วจักลิขิต (เขียน)
    อักษรลงในแผ่นทองคำนั้นในวันนี้

    ทรงสนานพระเศียร (สระผม) ตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถทรงเสวยพระยาหารเช้า
    ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลา (ดอกไม้ – เครื่องหอม) และอาภรณ์ (เครื่องประดับ) ออก
    ทรงถือชาดสีแดงด้วยพระขันทอง ทรงปิดพระทวาร (ประตู)ทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง
    เสด็จขึ้นพระปราสาททรงเปิดพระสีหบัญชร (หน้าต่าง) ด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ
    ทรงลิขิต พระอักษรลงในแผ่นทองคำ ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศ (โดยส่วนหนึ่ง) ก่อนว่า
    พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
    เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกตนอย่างยอดเยี่ยม
    เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตื่นแล้ว
    ทรงจำแนกพระธรรม เสด็จอุบัติในโลกนี้ ดังนี้.

    ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี 10 ทัศอย่างนี้ ทรงจุติจากชั้นดุสิต
    ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การเปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงอยู่ในพระครรภ์มารดา
    ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อทรงอยู่ครอบครองเรือน ชื่อนี้ได้มีแล้ว
    เมื่อเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์ (ออกบวช) อย่างนี้ ทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่อย่างนี้
    ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์(ที่นั่งที่ไม่พ่ายแพ้) แล้ว
    ทรงแทงตลอดสัพพัญญูตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญญูตญาณ
    เป็นอันมีการเปิดโลกแล้วอย่างนี้ ในชื่อว่ารัตนะเห็นปานนี้ อื่นไม่มีในโลกพร้อมกับเทวโลก ดังนี้
    ทรงลิขิตพระพุทธคุณทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า

    ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่าง หนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์
    ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

    เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ
    อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
    โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐ
    ชื่อว่า พระธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และเห็นปานนี้ ดังนี้
    แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า

    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิใดว่า ให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี
    ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ สวัสดีจงมี ดังนี้

    ต่อแต่นั้น เมื่อจะทรงชมเชยพระสังฆรัตนะที่สามว่า
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ
    เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิต จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล
    โดยเอกเทศว่า ธรรมดากุลบุตรทั้งหลาย ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้
    บางพวกละเศวตฉัตร (ฉัตรขาว)บวช บางพวกละความเป็นอุปราช (ผู้สำเร็จราชการแทน) บวช
    บางพวกละตำแหน่งทั้งหลายมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นบวช
    ก็แลครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญปฏิบัตินี้ ทรงลิขิตการสำรวมในทวารหก สติสัมปชัญญะ
    ความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัยสี่ การละนีวรณ์บริกรรมฌานและอภิญญา
    กรรมฐาน 38 ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยเอกเทศ
    ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน 6 ประการ โดยพิสดารเทียว
    ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า
    ชื่อว่า พระสงฆ์สาวกของพระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้.....
    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก เล่ม 11 หน้า 70

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
    เริ่มต้นแต่ทรงแสดงพระธรรมจักรจนถึงโปรด สุภัททปริพาชก แล้วเสด็จปรินิพพาน
    ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี
    (วันเพ็ญเดือน 6)ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์
    ตรงที่เป็นทางโค้งใกล้กรุงกุสินารา
    ท่านพระมหากัสสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณเจ็ดแสนรูป
    ที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    มาระลึกถึงคำที่หลวงตาสุภัททะกล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 7 วันว่า

    พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย
    เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้นด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า
    สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้
    แต่บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด จักกระทำสิ่งนั้นไม่ปรารถนาสิ่งใด จักไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้.

    ท่านพิจารณาเห็นว่าการประชุมสงฆ์จำนวนมากเช่นนี้ ต่อไปจะหาได้ยาก จึงดำริต่อไปว่า
    พวกภิกษุชั่วจะเข้าใจว่า ปาพจน์ (พระธรรม – วินัย) มีศาสดาล่วงแล้ว
    ได้พวกฝ่ายอลัชชีจะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นานเลยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้แน่นอน
    จริงอยู่ พระธรรมวินัยยังดำรงอยู่ตราบใด ปาพจน์ก็หาชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้วไม่อยู่ตราบนั้น
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

    ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย
    ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้

    อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
    โดยวิธีที่พระศาสนานี้จะมั่นคงดำรงอยู่ชั่วกาลนาน.
    อนึ่ง ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    ดูก่อนกัสสปะ เธอจักห่มได้หรือไม่ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้
    ทรงอนุเคราะห์ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร
    และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ในธรรมอันยิ่งของมนุษย์
    ต่างโดยอนุปุพพวิหาร 9 และอภิญญา 6 เป็นต้นโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เราต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
    เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น ดังนี้
    ยิ่งกว่านั้นยังสรรเสริญด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ
    และด้วยปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ การทรงอนุเคราะห์และการทรงสรรเสริญเป็นประหนึ่งหนี้ของเรา
    กิจอื่นนอกจากการสังคายนาที่จะให้เราพ้นสภาพหนี้ จักมีอะไรบ้าง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งเรามิใช่หรือว่ากัสสปะนี้
    จักเป็นผู้ประดิษฐานวงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้
    แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยความอนุเคราะห์อันไม่ทั่วไปนี้
    และทรงสรรเสริญด้วยการสรรเสริญอันยอดเยี่ยมนี้
    เหมือนพระราชาทรงทราบพระราชโอรส ผู้จะประดิษฐานวงศ์ตระกูลของพระองค์
    แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยการมอบเกราะและพระอิสริยยศ (ยศคือความเป็นใหญ่) ของพระองค์ฉะนั้น ดังนี้
    ยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย.
    สมดังคำที่พระสังคีติกาจารย์ (คำของอาจารย์ที่กล่าวเรื่องสังคายนา) กล่าวไว้ในสุภัททกัณฑ์ว่า ครั้งนั้นแล

    ท่านพระมหากัสสปะแจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า
    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราเดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ดังนี้ เป็นต้น.
    สุภัททกัณฑ์ทั้งหมด บัณฑิตควรทราบโดยพิสดาร.
    แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเนื้อความของสุภัททกัณฑ์นั้น ในอาคตสถานตอนจบมหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น.

    ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปะ กล่าวว่า เอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
    ต่อไปเบื้องหน้าอธรรมรุ่งเรือง ธรรมจะร่วงโรย
    ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยรุ่งเรือง วินัยจะร่วงโรย
    ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง
    ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยวาที (คำกล่าวที่ผิดหลักวินัย) มีกำลัง
    วินัยวาที (คำกล่าวที่ถูกหลักวินัย) จะอ่อนกำลัง.

    ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ ทั้งหลายเถิด.
    ฝ่ายพระเถระเว้น ภิกษุปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ สุกขวิปัสสก
    ผู้ทรงพระปริยัติ คือ นวังคสัตถุศาสน์ (คำสั่งสอนของพระศาสดามีองค์ 9) ทั้งสิ้น
    เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทเตวิชชา เป็นต้น
    ซึ่งทรงพระปริยัติ คือ พระไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่ โดยมาก
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะ (ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง)
    ที่พระสังคีติกาจารย์หมายกล่าวคำนี้ ไว้ว่า
    ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเลือกพระอรหันต์ไว้ 500 หย่อนหนึ่งองค์ ดังนี้.

    ...ลำดับนั้นแล พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า เราควรสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกันที่ไหน.
    ลำดับนั้น พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดำริกันว่า
    กรุงราชคฤห์ มีอาหารบิณฑบาตมาก มีเสนาสนะเพียงพออย่ากระนั้นเลย
    เราพึงอยู่จำพรรษาสังคายนาพระธรรมและพระวินัยในกรุงราชคฤห์เถิด
    ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์.
    ก็เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นจึงมีความดำริดังนี้ ?
    เพราะพระเถระเหล่านั้นมีความดำริตรงกันว่า
    การสังคายนาพระธรรมวินัยนี้เป็นถาวรกรรมของเรา
    บุคคลฝ่ายตรงข้ามบางคนจะพึงเข้าไปยังท่ามกลางสงฆ์แล้ว รื้อฟื้นขึ้นได้.

    ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
    สงฆ์พึงสมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
    เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ นี้เป็นญัตติ
    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ว่า
    ภิกษุ 500 รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
    ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้
    การสมมติภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ 500 รูปเหล่านี้
    เป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
    ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงนิ่งอยู่
    ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด
    ภิกษุ 500 รูปเหล่านี้สงฆ์สมมติแล้วว่าเป็นผู้อยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
    เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุอื่น ๆ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้
    การสมมตินี้สมควรแก่สงฆ์ ฉะนั้นสงฆ์จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

    กรรมวาจานี้ พระมหากัสสปะกระทำในวันที่ 21 หลังจากพระตถาคตปรินิพพาน.
    เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี.

    ครั้งนั้น พุทธบริษัทได้บูชาพระพุทธสรีระซึ่งมีสีเหมือนทอง
    ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นตลอด 7 วัน . วันสาธุกีฬาได้มีเป็นเวลา 7 วันเหมือนกัน.
    ต่อจากนั้นไฟที่จิตกาธาร (ที่เผาศพ) ยังไม่ดับตลอด 7 วัน.
    พวกมัลลกษัตริย์ได้ทำลูกกรงหอกแล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
    ในสันถาคารศาลาตลอด 7 วัน ดังนั้น จึงรวมวันได้ 21 วัน.
    พุทธบริษัทซึ่งมีโทณพราหมณ์เป็นเจ้าหน้าที่
    ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ในวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 7 นั่นเอง.
    พระมหากัสสปะเลือกภิกษุทั้งหลาย เสร็จแล้วจึงสวดกรรมวาจานี้
    โดยนัยที่ท่านแจ้งความประพฤติอันไม่สมควรที่หลวงตาสุภัททะทำแล้วแก่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
    ซึ่งมาประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น.

    ก็และครั้นสวดกรรมวาจานี้แล้ว พระเถระจึงเตือนภิกษุทั้งหลายให้ทราบว่า
    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าให้เวลาแก่ท่านทั้งหลายเป็นเวลา 40 วัน
    ต่อจากนั้นไป ท่านจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมีกังวลเช่นนี้อยู่ ไม่ได้
    เพราะฉะนั้น ภายใน 40 วันนี้ ท่านผู้ใดมีกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บก็ดี
    มีกังวลเกี่ยวกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ดี
    มีกังวลเกี่ยวกับมารดาบิดาก็ดี หรือต้องสุมบาตรต้องทำจีวรก็ดี
    ขอท่านผู้นั้นจงตัดกังวลนั้น ทำกิจที่ควรทำนั้นเสีย.

    ก็แลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระแวดล้อมไปด้วยบริษัทของตนประมาณ 500 รูป
    ไปยังกรุงราชคฤห์. แม้พระเถระผู้ใหญ่องค์อื่น ๆ ก็พาบริวารของตน ๆ ไป
    ต่างก็ประสงค์จะปลอบโยนมหาชนผู้เปี่ยมไปด้วยเศร้าโศก จึงไปยังทิศทางนั้น ๆ.
    ฝ่ายพระปุณณเถระมีภิกษุเป็นบริวารประมาณ 700 รูป ได้อยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง
    ด้วยประสงค์ว่าจะปลอบโยนมหาชนที่พากันมายังที่ปรินิพพานของพระตถาคต.
    ฝ่ายท่านพระอานนท์เอง ท่านก็ถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว
    เหมือนเมื่อยังไม่เสด็จปรินิพพาน เดินทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ 500 รูป.
    แลเมื่อท่านพระอานนท์นั้นกำลังเดินทาง ก็มีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้น ๆ จนนับไม่ได้.
    ในสถานที่ที่พระอานนท์เดินทางไป ได้มีเสียงร่ำไห้กันอึงมี่.
    เมื่อพระเถระถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ผู้คนชาวกรุงสาวัตถีได้ทราบว่า
    พระอานนท์มาแล้ว ก็พากันถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปต้อนรับ แล้วร้องไห้รำพันว่า

    ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า
    วันนี้ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว ดังนี้เป็นต้น.
    ได้มีการร้องไห้อย่างมากเหมือนในวันเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น.

    ได้ยินว่า ณ กรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชน
    ให้เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยง เป็นต้น แล้วเข้าสู่พระวิหารเชตวัน
    ไหว้พระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับ เปิดประตูนำเตียงตั่งออกปัด กวาดพระคันธกุฎี
    ทิ้งขยะดอกไม้แห้ง แล้วนำเตียงตั่งเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีก
    ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างซึ่งเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงพระชนม์อยู่
    และเมื่อทำหน้าที่ก็ไหว้พระคันธกุฎี ในเวลาทำกิจมีกวาดห้องน้ำและตั้งน้ำ เป็นต้น
    ได้ทำหน้าที่ไปพลางรำพันไปพลาง โดยนัยเป็นต้นว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้ เป็นเวลาสรงน้ำของพระองค์ มิใช่หรือ ?
    เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรมเวลานี้เป็นเวลาประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    เวลานี้เป็นเวลาสำเร็จสีหไสยา เวลานี้เป็นเวลาชำระพระพักตร์ มิใช่หรือ ?
    เหตุทั้งนี้เพราะพระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า
    เพราะความเป็นผู้รู้อมตรสซึ่งเป็นที่รวมพระพุทธคุณ
    และยังมิได้เป็นพระอรหันต์ทั้งเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนที่เกิดด้วยเคยอุปการะกันและกันมาหลายแสนชาติ.

    เทวดาองค์หนึ่ง ได้ทำให้พระอานนท์นั้นสลดใจด้วยคำพูดว่า
    ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมัวมารำพันอยู่อย่างนี้ จักปลอบโยนคนอื่น ๆได้อย่างไร.
    พระอานนท์สลดใจด้วยคำพูดของเทวดานั้น แข็งใจดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมในวันที่ 2
    เพื่อทำกายซึ่งมีธาตุหนักให้เบา เพราะตั้งแต่พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน
    ท่านต้องยืนมากและนั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ในพระวิหารเชตวันเท่านั้น
    พระอานนท์ดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมชนิดใด ท่านหมายเอายาถ่ายเจือน้ำนมชนิดนั้น
    ได้กล่าวกะเด็กหนุ่มที่สุภมาณพใช้ไปว่า ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ
    เพราะวันนี้เราดื่มยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เราจึงจะเข้าไป ดังนี้.

    ในวันที่ 2 พระอานนท์มีพระเจตกเถระติดตามไปถูกสุภมาณพถามปัญหา
    ได้กล่าวสูตรที่ 10 ชื่อสุภสูตร ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้.
    พระอานนทเถระขอให้ทำการปฏิสังขรณ์ (ซ่อมแซม) สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม
    ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ท่านอำลาภิกษุสงฆ์ไปกรุงราชคฤห์.
    แม้ภิกษุผู้ทำสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริงท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้
    กล่าวคำนี้ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย.
    พระเถระเหล่านั้น ทำอุโบสถในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ..........



    และรู้จักความเป็นมาของพระไตรปิฎกแบบละเอียดเพิ่มเติมที่
    เล่ม 1 หน้า 24 เป็นต้นไป


    เรียนพระไตรปิฎกเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยม เล่ม 32 หน้า 174

    พระสูตรยังดำรงอยู่ ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ ตราบใด
    ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง เหมือนพระอาทิตย์อุทัยอยู่ ตราบนั้น
    เมื่อพระสูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป
    ในโลกก็จักมีแต่ความมืดเหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต (ลับไป)
    เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย
    นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ


    พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความว่า

    เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคตัวผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว
    เมื่อไม่มีแม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด
    เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูป มีอยู่
    แต่ปริยัติ (การเล่าเรียนพระไตรปิฎก) ไม่มี
    ชื่อว่าการแทงตลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล.
    อนึ่งเมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์
    อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลายชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด
    เมื่อปริยัติยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.

    ตำหนิการเรียนพระไตรปิฎก...คือมหาโจรทำลายพุทธศาสนา (ตัวจริง) เล่ม 78 หน้า 881

    แม้ผู้มีปัญญาทราม ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย
    กล่าวอยู่ว่า เราย่อมสละปริยัติ (การเล่าเรียนพระธรรม – วินัย) ดังนี้เป็นต้น
    ด้วยคำว่า เมื่อเราตรวจดูหมวดสามแห่งธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่
    มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อมด้วยฤทธิ์ ชื่อว่าปริยัติ ไม่เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยยากสำหรับพวกเรา
    การสนใจในปริยัติ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้
    ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นคนมีปัญญามาก.


    ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายพระศาสนา.
    ชื่อว่า มหาโจรเช่นกับบุคคลนี้ ย่อมไม่มี
    เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติ ชื่อว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่

    ในสมัยครั้งพุทธกาลโน้น ผู้คนสมัยนั้นก็ งง เหมือนกันว่าใครกันแน่เป็นพระพุทธเจ้าตัวจริง
    และธรรมคำสอนของใครกันแน่ที่นำออกจากทุกข์ได้จริง เพราะมีเจ้าลัทธิใหญ่ๆอยู่ 6 ลัทธิ
    ที่เที่ยวประกาศคำสอนของตน อ้างว่าตนเองคือผู้รู้ – ผู้เห็น – ผู้ประเสริฐ
    และผู้คนในสมัยนั้นก็นิยมยกย่องกันอย่างมากอีกด้วยคือ
    1. ปูรณกัสสปะ
    2. อชิตเกสกัมพล
    3. มักขลิโคสาล
    4. นิครนถ์นาฏบุตร
    5. สญชัยเวลัฏฐบุตร
    6. ปกุทธกัจจายนะ
    ดังนั้นพระพุทธเจ้าของพวกเราจึงวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพระธรรมวินัยของพระองค์ไว้ว่า
    พึงสอบสวน – เทียบเคียง – พิจารณาว่า ที่กำลังได้ยินได้ฟังอยู่นี้ใช่คำสอนของพุทธเจ้าหรือไม่
    เล่ม 37 หน้า 557


    ….พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า
    ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
    เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก
    เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
    เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
    เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
    เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
    เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
    เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย
    ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย
    ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา.

    ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า
    ธรรมเหล่านี้เป็นไป เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
    เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้
    เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
    เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
    เป็นไปเพื่อสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ
    เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก
    ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
    เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.
    เล่ม 13 หน้า 293

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ถ้ามี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ ว่า
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น.
    ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว
    สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
    ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้.
    พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    และภิกษุนี้จำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย.


    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้.
    พึงถึง ความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาปเทสข้อที่หนึ่งนี้ไว้.......

    พิจารณาดูซิว่าพระองค์ใดควรเคารพหรือไม่ควรเคารพจากคำสอนพุทธเจ้า เล่ม 23 หน้า 510

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า
    คฤหบดี (เศรษฐี) ทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า
    คฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์ (ตอบปัญหา) อย่างนี้ว่า

    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ (ตา)
    ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
    สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัดความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว
    ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
    ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไปดังนี้
    ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา.


    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ไม่ไปปราศแล้ว...

    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ไม่ไปปราศแล้ว ...

    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ไม่ไปปราศแล้ว ...

    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะ (สัมผัส) ที่รู้ได้ด้วยกาย ไม่ไปปราศแล้ว...

    สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน (ใจ)
    ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
    สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าแม้พวกเรา ก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน
    ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
    ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความพระพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้
    ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
    พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด......

    *** เช่น เราต้องการเงิน – ทอง – รถ – โทรศัพท์
    และการศึกษาทางโลกที่จะเอาไว้ทำมาหากิน – แฟน ฯลฯ เพื่อความสุขของตัวเราเอง
    พระใดที่ดูแล้วก็ยังมีความต้องการเหมือนกันกับเราและยังแสวงหาด้วยวิธิการต่างๆอีก
    ก็ตรงตามที่พุทธองค์ว่าไว้ล่ะ

    เมื่อเรียนตามพระไตรปิฎกแล้วยังไม่เข้าใจอยู่อีกมันก็จำเป็นล่ะนะท่านทั้งหลาย เล่ม 11 หน้า 101

    .....ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้
    เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้
    ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้งในปิฎก ๓ นี้…

    ลักษณะธรรม – คำสอนของพุทธเจ้าทั้งหลาย เล่ม 17 หน้า 473

    .....ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลากิเลสในพุทธศาสนานี้แล
    คือเธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพเมถุนธรรม (ร่วมเพศ)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
    ในข้อนี้ เ ราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะ (สิ่งของ) ของผู้อื่น
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.

    เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริ (ความคิด) ผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก.

    เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณ (ความรู้) ผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุตติ (ความหลุดพ้น) ผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุตติถูก.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่ – เซื่องซึม) กลุ้มรุม
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย - ตกลงใจไม่ได้)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมายา (เจ้าเล่ห์)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจัดมีมิตรชั่ว
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา (ในพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา. (ในพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง)


    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ (ความละอาย)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย (คือ ด้อยการศึกษาในพระไตรปิฎก)
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (มากไปด้วยความรู้ในคำสอนพุทธเจ้า)

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เกียจคร้าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญาทราม
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิ (ความเห็น) ของตน
    ยึดถืออย่างมั่นคงและสลัดทิ้งไปได้ยาก
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง
    และสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย…..

    ....ดูก่อนจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์
    ผู้เอ็นดูอนุเคราะห์เหล่าสาวก ควรทำกิจนั้น เราตถาคตได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
    ดูก่อนจุนทะ นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด
    อย่าประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
    นี้เป็นคำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.

     
  19. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    การจารึกพระธรรม
     
  20. _เทวะสาวก_

    _เทวะสาวก_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +292
    จินตนาการเพื่ออะไร?...อืม งั้นถ้าไม่มีพระพุทธรูป คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอย่างไหนคือพระพุทธเจ้า...แล้วคุณรู้จักพระเจ้าหลวงของเราทั้ง 9 พระองค์ได้อย่างไร...ก็จากรูปนี่แหละ...ก็เหมือนกับปัจจุบันนี้ ต้นไม้สัตว์ป่าเริ่มสูญลงไปเรื่อยๆ อีกหน่อยเมื่อไม่มีต้นไม้ แล้วดันไม่มีใครถ่ายรูปเอาไว้ บรรลัย...พวกเขาอาจจะจินตนาการว่าต้นไม้มันก็คงมีลักษณะเหมือน...ล่ะมั๊ง (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)...และเรื่องพระพุทธรูปเนี่ยนะ คุณๆๆทั้งหลายก็กราบไหว้มาตั้งแต่เด็กๆแล้ว รึว่าจะบอกว่าไม่เคยกราบซักครั้งเดียว...ไม่จริงมั๊ง...อะไรที่มันมีไว้ดีแล้วน่ะ ก็ไม่ต้องไปทำให้มันเขวหรอก เดี๋ยวพวกเด็ก...ที่มันไม่ค่อยจะเอาธรรมะมายัดใส่กะบานของมันอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้มันพาลไม่มีที่ยึดเหนี่ยวไปซะอีก "เฮ๊ยๆ...เพื่อนๆ ไม่ต้องไปไหว้หรอกพระอ่ะ ไม่ต้องไหว้ก็ได้ พระท่านสอนมาแบบนี้" เออ เจริญบ้านเมืองไทย!!...อ้อ แล้วอย่าคิดนะว่ามันจะหันมาอ่านพระไตรปิฎกอย่างพวกท่านทั้งหลายน่ะ คุณเคยเห็นไอ้เด็กพวกนี้มันอ่านหนังสือนานเกิน 20 นาทีเรอะ...กะอีแค่หนังสือพิมพ์มันยังไม่อยากจะอ่าน แล้วคิดหรอว่ามันจะมานั่งอ่านคัมภีร์ศาสนา...มันเข้าไม่ถึงหรอก คิดสิคิด คิดง่ายๆอย่าพยายามดันทุรังดิ่งลงไปในทะเล ทั้งๆที่ไม่มีเครื่องปะดาน้ำดิ ตายหงส์ขึ้นมา บรรลัยเกิดอีกคราวนี้...โคตรเง่าเหงากอเราก็กราบไหว้พระมาอย่างงี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว...ถึงจะไม่กราบก็ไม่ได้ช่วยให้อยุทธาพ้นจากเสียกรุงนี่หว่า เค้าจะกราบก็เรื่องของเค้าดิ ขอแค่เค้าเป็นคนดีก็พอแล้วนี่...(พิมพ์มากชักจะเดือด) พอๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...