ช่วยแนะนำด้วยครับ เรื่องการดูลมหายใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย yok_riddle, 8 ธันวาคม 2011.

  1. yok_riddle

    yok_riddle สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ผมได้เริ่มฝึกนั่งสมาธิแบบตามดูลมหายใจมาได้สักพักหนึ่งแล้ว
    ทีนี้มีปัญหาคือ ผมจับความรู้สึกของลมหายใจได้แค่ ตอนที่ผ่านเข้าและออกที่จมูกเท่านั้น ซึ่งหลังจากผ่านจมูกไปแล้ว ผมไม่สามารถจับดูลมหายใจได้เลย
    อย่างนี้ผมควรแก้ไขหรือทำอย่างไรดีครับ
    เพราะลองอ่านในเวปนี้แล้ว เค้าแนะนำให้ระลึกรู้ลมเมื่อผ่านฐาน 3 ฐานคือที่ จมูก, หน้าอก และเหนือสะดือ แต่ผมทำได้แค่ จมูกเองอะครับ

    รบกวนท่านผู้รู้ช่วยให้คำชี้แนะด้วยนะครับ
     
  2. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
  3. yok_riddle

    yok_riddle สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณ คุณTusinqiqu มากๆนะครับ สำหรับคำแนะนำ
    จะพยายามฝึกให้ได้ครับ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อานาปานสติ จับลม 3 ฐาน .... หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    อานาปานสติกรรมฐาน


    อานาปานสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้องกำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อมๆกับกำหนดพิจารณากรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าละเว้นการกำหนดเสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญจะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานานุสสตินี้ มีผลถึงฌาน ๔ สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีในวิสัยพุทธภูมิ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์คือท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปาน์นี้ถึงฌานที่ ๕​

    เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอาณาปานานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใหมายความว่าเวทนาหายไป แต่เป็นเพราะเมื่อเข้าถึงฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ ๕ ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์ทันที​

    ท่านที่ได้ฌานอานาปานานุสสจินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ตรงตามความจริงเสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าได้เป็นเวลาแรมปี เมื่อจะตายท่านฏ้สามารถบอกได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไร​

    ท่านที่ได้ฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฏิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กองนั้น ท่านเข้าฌานในอานาปาน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมากำรงอยู่แค่อุปจารสมาธิแล้วกำหนดกรรมฐานกองนั้น ๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายใน ๓ วันอย่างช้า ส่วนมากได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียว คือคราวเดียวเท่านั้นเอง​

    วิธีปฏิบัติในอานาปานานุสสติ
    การปฏิบัติในอานาปานานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีองค์ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่ท่านกำหนดไว้ให้รู้อยู่หรือครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก พร้อมกับสังเกตลมกระทบฐาน ๓ ฐาน ดังจะกล่าวต่อไปให้ทราบ

    ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี ๓ ฐาน คือ
    ก. ฐานที่ ๑ ท่านให้กำหนดที่ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมจะกระทบที่จมูก เมื่อหายใจออกลมจะกระทบที่ริมฝีปาก
    ข. ฐานที่ ๒ หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก หมายเอาข้างใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ
    ค. ศูนย์ที่ท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่ท้องเสมอทุกครั้ง

    ๓ ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะถ้าจิตกำหนดจับฐานใดฐานหนึ่งไม่ครบ ๓ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์ ๕ ได้ แต่อารมณ์หยาบ อารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้น อย่างสูงก็ได้เพียงขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิยังไกลต่อฌานที่ ๑ มาก

    ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ ๒ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศลคือนิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียด อันเป็นอนุสัยคือกำลังต่ำยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้ว

    ถ้าท่านผู้ใดกำหนดลมรู้ลมผ่านกระทบได้ทั้ง ๓ ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระงับนิวรณ์ละเอียดได้แล้วสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน

    ===============================================================

     

แชร์หน้านี้

Loading...