ช่วยแนะนำวิธีกำจัดจิตมารหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cfour1234, 11 เมษายน 2011.

  1. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    คือว่า เวลาผมทำสมาธิทีไรพอจิตผมเริ่มนิ่ง ก็จะมีจิตมาร(ความทุกข์) เข้ามาแทรกทุกครั้งไป ผมพยายามไม่นึกถึง แต่พอจิตนิ่งมันก็จะแว้บมาทุกที กี่ครั้งก็ยังเป็นแบบนี้ ผมไม่สามารถที่จะตัดจิตมารนี้ได้เลย พอมีวิธีช่วยไหมครับ
     
  2. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    คิดซะว่าทุกคนก็เป็น พอไม่ใส่ใจ จิตมารก็จะหมดกำลังไป ใส่ใจมากก็ยิ่งอยู่นาน รู้เฉยๆ มันจะดับไปเองครับ ใจถึงพอก็เข้าถึงครับ
     
  3. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    ประมาณว่าอย่าไปนึกถึง อย่าไปลบเลื่อนมัน อย่าไปพยายามลืม ให้รู้ว่านั้นคือความทุกข์แต่ทำเป็นเฉยๆ กับมัน ใช่ไหมครับ ถ้าจะทุกข์ก็ทุกไปเราจะทำสมาธิ คิดแบบนี้ถูกไหมครับ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่สนใจมันก็แค่นั้น.....
     
  5. 90

    90 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +67
    จ้องหน้า ดูมัน ดูไปเรื่อยๆ บอกมันว่าเอ็งอย่าไปใหน ข้าอยากเห็นเอ็งนานๆ
     
  6. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    ตามที่คุณ phanuted บอกว่าไม่ในใจมันก็แค่นั้น ผมก็เคยทำครับ แต่ยิ่งห้ามมันก็เหมือนยิ่งยุมันอะครับ พอทำแล้วมันก็ยิ่งคิด

    ตามที่คุณ 90 บอก ผมก้ไม่เคยทำคงต้องลองดู เพราะที่เคยทำ ส่วนใหญ่ผมจะพยายามให้มันไปอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของหัวใจ คือ จำไว้ว่ามันคือความทุกข์แต่อย่าให้มันผุดขึ้นมาทำให้เราทุกข์ ส่วนที่คุณบอกว่าให้จ้องหน้าดูมัน ผมจ้องไม่ได้ครับเพราะไม่มีรูปร่างให้จ้อง มันเป็นเพียงความรู้สึก ที่ผิดหวังกับสิ่งที่ยึดมั่น มาตลอดเท่านั้น
     
  7. huayhik

    huayhik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    181
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,131
    ที่คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->pun_apisit<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4579628", true); </SCRIPT> ทำไมได้ผลเพราะกำลังยังไม่เท่าเขานะครับ
    แต่ไม่เป็นไรเป็นเหมือนกันหมดอย่างเราๆนะครับ
    เอาเป็นว่าหาอุบายอะไรก็ได้ที่ทำให้มันหยุด ปกติก็อยู่กับลมไปไม่สนใจและอย่างวิธีหลวงพ่อชาผมก็ใช้แล้วได้ผลมากเลย คือรู้ว่ามันมาไม่ดีปั๊บก็จะกระแทรกลมหายใจเลยแล้วอย่าสนใจ และบางทีฟุ้งมากก็ด่าเจ้าของบ้างและนึกเรื่องอื่นไปเลย อย่าต่อเรื่องเก่าก็ไม่ต้องสนใจอีกนั่นแหละครับแต่หาอุบาย
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เมื่อไรก็ตามที่คุณยังมีความยึดมั่นว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราชอบ...เป็นสิ่งที่เราต้องการ...และเมื่อมาแล้วเรามีความสุขใจ...เมื่อเสพเข้าไปแล้วเรามีความสุข....การที่คุณคิดเช่นนี้ก็เป็นการยึดมั่นฟากหนึ่งคือยึดมั่นในฝากดีฝากที่ต้องการ.....เมื่อไม่เป็นดังที่หวังเราก็จะเสียกำลังใจในการปฏิบัติ......

    ในขณะหนึ่งเมื่อตอนปฏิบัติคุณเจอสถาวะที่คุณไม่ต้องการ คุณเห็นว่ามันเป็นทุกข์ คุณก็จะมีการผลักดันคือความไม่ต้องการให้เกิด ไม่ต้องการให้เป็น...เมื่อสถาวะจิตนั้นเกิดขึ้นคุณก็จะมีความเศร้าใจเสียใจ ความไม่ต้องการเกิดขึ้นในจิต...จริงๆแล้วมันก็คือความยึดมั่นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ดี.....

    ใจคุณก็จะเหวี่ยงไปเหมือนลูกตุ้ม....ไม่ซ้าย ก็ขวาอยู่อย่างนี้ เสมอไป....การปฏิบัติจริงๆนั้น....ไม่ได้ให้ไปยึดถือ....ไม่ได้ให้ไปยึดมั่น....เพราะว่าทุกข์สภาวะที่เกิดขึ้นนั้น...ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ไม่ว่าเราจะชอบหรือเราไม่ชอบ....สุดท้าย อยู่ในฏของพระไตรลักษณ์หมดครับ......

    หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรที่จะปฏิบัติให้ได้คือ การมีสติรู้อย่างเป็นกลาง....ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งการปรุงแต่งของจิต ไม่ว่าชอบ หรือไม่ชอบ อย่างนี้....เข้าใจธรรมชาติของมันว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา....เมื่อใดก็ตามที่คุณยังมีจิตที่ยึดมั่นอยู่ทั้งดีและไม่ดีนั้น...ก็ยังอาจกล่าวได้ว่า....ใจคุณยังไม่ยอมรับสถาพความเป็นจริง.....ความทุกข์ก็เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ......ปฏิบัตินี่ต้องมีสุขมากขึ้นนะ....สุขนี้ไม่ได้เกิดจากการยึดติด..หากแต่เกิดจากการเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงและธรรมชาติของมัน....ถ้าปฏิบัติแล้วยังเพิ่มความยึดมั่น มีทุกข์มากขึ้นเพราะความยึดติดนั้นอยู่....ก็อาจกล่าวได้ว่าปฏิบัตินั้นยังไม่เป็นผล....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  9. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    ที่คุณ huayhik พูดมาก็ดีนะครับขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ ผมจะลองนำไปทำดู

    เพราะนี้คือมารในใจผม (ความทุกข์) ผมคิดว่าถ้าข้ามตรงนี้ไปได้ผมก็จะไปถึงอภิญญา5 ได้ครับ
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    วิธีปฏิบัติ ที่คุณตอบแก่ 90 คือ อันเดียวกันครับ สิ่งที่คุณทำ ก็คือสิ่งที่
    เรียกว่า จ้องหน้ามัน เวลาเราทำสมาธิ ทำภาวนา การไม่เห็นหน้า เห็น
    รูปอะไรนั่น ถุกต้องแล้ว เพราะเราละ ราคะ ได้บางส่วน ทำให้ รูปนิมิต
    อันอาศัยราคะเกิด มันเกิดขึ้นมาไม่ได้ เราก็ไม่ถลำไปในเขตแดนข้าศึก เรา
    พิจารณาอยู่ที่จิต(ความรู้สึก)ของเรา ถ้าเรา ถลำออกไป จะเห็นเป็นรูปหน้า
    บ้าง รูปแสงบ้าง ไฟร้อนบ้าง น้ำบ้าง ดินผาบ้าง ลมหมุนบ้าง

    แต่เนื่องจาก เราจ้องก็จริง กดอยู่ก็จริง แต่เรากดหน่อยๆ จ้องหน่อยๆ
    เพราะเราเน้นการปิดที่ มโนทวาร หากปิดมโนทวารได้ ก็สำเร็จที่มโนทวาร
    หรือสำเร็จที่ใจก็เรียก ปิดรู้เหี้ย ก็เรียก(ขออภัย กล่าวตามปริยัติ)

    ดังนั้นให้คุณหันมายอมรับว่า กดหน่อยๆ จ้องหน่อยๆ แลเห็น จิตที่กด
    ที่จ้อง นั้นแปรปรวน ตั้งอยู่ ดับไป จนกว่าจะพ้นจากการ จ้องหน่อยๆ

    จังหวะที่พ้น มันจะมีสองด้าน คือ ถลำออกไปในเขตข้าศึก กับ เข้ามาที่
    ฐานของจิต พอจิตเข้าฐานจะเห็นเลยว่า มีปิติที่ไม่มีอามิส มีสุข มีเอกัคคตา
    มีอุเบกขา ไม่รู้สึกว่าต้องไปยุ่งอะไรกับ จิตมาร รู้ว่า พ้นจิตมาร แต่ยัง
    ไม่รู้ชัด มันยังหลบใน หรือรอจังหวะเอาคืน ต้องตามรู้อาการพ้นต่อจิตมาร
    นั้นไว้เนืองๆด้วย จึงจะรู้ว่าพ้น และรู้ชัดว่าพ้น

    [ ความเนืองๆนี้ จะทำกันไม่เลิก ต่อให้จบกิจ ก็ยังต้อง ใส่ใจพิจารณาจิต
    ที่พ้นแล้วต่อไป เพียงแต่ความรู้ชัด จะรู้ว่า ไม่ต้องนำอุบายอะไรมากำจัด
    คือ รู้ชัดว่า จิตหมดงาน แต่ไม่เลิกมีสติเป็นวินัยเพื่ออยู่สุขในปัจจุบัน ]

    ตรงนี้คือ การจ้องไว้แรงเกินไป ถ้าจ้องมันแรงเกินไป จิตมารมันเข้าตาจน มันเลยดิ้นรน

    แต่ตอนที่มันดิ้นรน เราลืมนมสิการ พระพุทธดำรัสว่า ขันธ์5ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์5

    จิตเรายังเผลอเห็น และยึดเอา ขันธ์5 เป็นตน เลยทำให้ วิตก วิจาร ทุกข์ร้อนไป

    โดยหลักการ ท่านก็ว่า ให้กลับมาที่ กรรมฐาน ซึ่งคุณ อาศัย การกดหน่อยๆ จ้องเบาๆ

    เวลา จ้องเบาๆ ได้ชำนาญ มันจะเหมือน เราสามารถ จ้องเล่นๆได้(ได้ของจริง)

    * * * *

    คล้าย นีโอ พอเจอ สมิทธ ตบตี นีโอก็แค่ ใช้มือเดียวคอยปัด

    พอ สมิทธ มันเริ่มท้อแท้ อ่อนแรง เริ่มหงอ เริ่มหยุด เราก็ชำแรกตัวมัน สลายตัวมันไปเลย

    แล้วต้องพ้นออกมานะ ถ้าไม่พ้นออกมา เสร็จมัน ตายอยู่ในจิตมาร เพราะไปเห็น จิตมารเป็นตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  11. amornvut

    amornvut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +82
    เพียรต่อไปนะครับ ลองทำงานบ้านให้เหนื่อยสุดๆดูนะครับ อาบน้ำ แล้วมานั่งสมาธิดู
    มันเกิดขึ้นก็ช่างมัน สำคัญอย่าไปปรุงมันเพิ่ม อย่าเติมฝืนให้มัน มีสติรู้ อย่าน้อยคุณก็รู้ว่ามันเกิดขึ้น นั่งสมาธิ สลับเดินจงกรม เพียรเยอะๆ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มารทุกชนิดเอาชนะได้ด้วยปัญญาค่ะ เจริญปัญญา เจริญวิปัสสนา เมื่อรู้จักมันดีแล้ว มันจะรีบหนีหายไปเลย ดังที่พระพุทธองค์ทรงเอาชนะมารก็ด้วยพระปัญญาญาณ เคยอ่านในพระไตรปิฎกเรื่องเกี่ยวกับมารนี่แหละค่ะ ลองอ่านดูนะคะ เผื่อว่าจะเกิดปัญญารู้ทันเหล่ามาร

    เรื่องของมารในพระพุทธศาสนา
    คำว่ามารในพระพุทธศาสนานั้น แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ
    1. กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความพระพฤติและนิสัยไม่ดีต่างๆ
    2. ขันธมาร คือ ร่างกายและจิตใจของเรา ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง
    3. อภิสังขารมาร คือ ความประพฤติไม่ดีในอดีตของเรา เป็นมารตามมาล้างผลาญ
    4. เทวบุตรมาร ได้แก่ ลูกหลานพญามารตลอดจนคนพาล คนชั่ว ที่มาขัดขวางการทำงาน หรือการทำความดีของเรา
    5. มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเราต่อไป
    ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะเทวบุตรมารตามข้อ 4 ข้างต้น มาดูว่าในพระไตรปิฎกกล่าวถึงมารไว้อย่างไรบ้าง
    ยกเอาเนื้อหามาจาก พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    *********************************
    มารสังยุต
    ปฐมวรรคที่ ๑
    ตโปกรรมสูตรที่ ๑
    [๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงประทับพักผ่อนอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งพระทัยอย่างนี้ว่า โอ เราเป็นผู้พ้นจากทุกกรกิริยานั้นแล้ว โอ สาธุ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น โอ สาธุ เราเป็นสัตว์ที่บรรลุโพธิญาณแล้ว ฯ

    [๔๑๗] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้ทราบความปริวิตกแห่งพระทัยของพระผู้มีพระภาคด้วยจิต จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า มาณพทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยการบำเพ็ญตบะใด ท่านหลีกจากตบะนั้นเสียแล้ว เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มาสำคัญตนว่า
    เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านพลาดจากมรรคาแห่งความบริสุทธิ์เสียแล้ว ฯ

    [๔๑๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า เรารู้แล้วว่า ตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตบะทั้งหมดหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่ ดุจไม้แจว หรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น (เรา) จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อความตรัสรู้ เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ดูกรมารผู้กระทำ ซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

    นาคสูตรที่ ๒
    [๔๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง ในราตรีอันมืดทึบ และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ฯ

    [๔๒๐] ครั้งนั้นแล มารผู้บาปใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้ามขนลุกขนพองแด่พระผู้มีพระภาค จึงเนรมิตเพศเป็นพระยาช้างใหญ่ เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระยาช้างนั้นมีศีรษะเหมือนกับก้อนหินใหญ่สีดำ งาทั้งสองของมันเหมือนเงินบริสุทธิ์ งวงเหมือนงอนไถใหญ่ ฯ
    [๔๒๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้ แล้วได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามและไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยืดยาวนาน มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการจำแลงเพศนั้นเลย ดูกรมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
    ****************************

    ปฐมปาสสูตรที่ ๔
    [๔๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม เรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุซึ่งความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม จงกระทำให้แจ้งซึ่งความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม เพราะการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบโดยแยบคายเถิด ฯ

    [๔๒๖] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยบ่วงของมารทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยเครื่องผูกของมาร ดูกรสมณะ ท่านจักไม่หลุดพ้นจากวิสัยของเราไปได้ ฯ

    [๔๒๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
    เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงของมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร ดูกรมารผู้กระทำซึ่งความพินาศ ท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
    ********************************

    สุปปติสูตรที่ ๗
    [๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี ในสมัยใกล้รุ่งแห่งราตรี ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีห*ไสยาโดยพระปรัศเบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระหฤทัย ฯ

    [๔๓๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ท่านหลับหรือ ท่านจะหลับเสียทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่ ท่านหลับโดยสำคัญว่า เราได้เรือนว่างเปล่ากระนั้นหรือ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นโด่งแล้ว ท่านยังจะหลับอยู่หรือนี่ ฯ

    [๔๓๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
    พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย ซึ่งแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ สำหรับจะนำไปสู่ภพไหนๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไรของท่านในเรื่องนี้เล่ามารเอ๋ย ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
    ********************************

    สกลิกสูตรที่ ๓
    [๔๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิมิคทายวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯ
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ดหินเจาะแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย อันยิ่ง เป็นไปในพระสรีระ เป็นทุกข์ แรงกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ทรงสบาย ย่อมเป็นไปแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์มีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาเหล่านั้น ไม่กระสับกระส่าย ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น แล้วสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศเบื้องขวา พระบาทซ้ายเหลื่อมพระบาทขวา มีพระสติสัมปชัญญะ ฯ

    [๔๕๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระองค์ถึงที่ประทับ แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ท่านนอนด้วยความเขลา หรือมัวเมาคิดกาพย์กลอนอยู่ประโยชน์ทั้งหลายของท่านไม่มีมาก ท่านอยู่ ณ ที่นั่งที่นอนอันสงัดแต่ผู้เดียว ตั้งหน้านอนหลับ นี่อะไร ท่านหลับทีเดียวหรือ ฯ

    [๔๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
    เราไม่ได้นอนด้วยความเขลา ทั้งมิได้มัวเมาคิดกาพย์กลอนอยู่ เราบรรลุประโยชน์แล้วปราศจากความโศก อยู่ ณ ที่นั่งที่นอนอันสงัดแต่ผู้เดียว นอนรำพึงด้วยความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง ฯ ลูกศรเข้าไปในอกของชนเหล่าใด ร้อยหทัยให้ลุ่มหลงอยู่ แม้ชนเหล่านั้นในโลกนี้ ผู้มีลูกศรเสียบอกอยู่ ยังได้ความหลับ เราผู้ปราศจากลูกศรแล้ว ไฉนจะไม่หลับเล่า ฯ เราเดินทางไปในทางที่มีราชสีห์เป็นต้น ก็มิได้หวาดหวั่น ถึงหลับในที่เช่นนั้นก็มิได้กลัวเกรง กลางคืนและกลางวันย่อมไม่ทำให้เราเดือดร้อน เราย่อมไม่พบเห็นความเสื่อมอะไรๆ ในโลก ฉะนั้น เราผู้มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวงจึงนอนหลับ ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง ฯ
    ************************

    ปัตตสูตรที่ ๖
    [๔๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมา*ทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อการกำบังตาเถิด ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรเป็นอันมากไว้ในที่กลางแจ้ง ฯ

    [๔๖๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปแปลงเพศเป็นโคเดินไปยังที่บาตรเหล่านั้นวางอยู่ ฯ
    ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ภิกษุๆ โคนั้นพึงทำบาตรทั้งหลายให้แตก ฯ
    เมื่อภิกษุนั้นพูดอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ภิกษุนั่นมิใช่โค นั่นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อกำบังตาพวกเธอ ฯ

    [๔๖๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า พระอริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ของเรา แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่ทั้งปวง ก็ไม่พบอริยสาวกผู้เบื่อหน่ายแล้วอย่างนี้ มีอัตภาพอันเกษมล่วงพ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว ฯ

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ
    **************************

    ปิณฑิกสูตรที่ ๘
    [๔๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคาม แคว้นมคธ ฯ
    ก็สมัยนั้นแล ที่บ้านพราหมณ์ ในปัญจสาลคาม มีนักขัตฤกษ์แจกของแก่พวกเด็กๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อบิณฑบาต ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้คฤหบดีชาวปัญจสาลคามถูกมารผู้มีบาปเข้าดลใจ ด้วยประสงค์ว่า พระสมณโคดมอย่าได้บิณฑบาตเลย ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อบิณฑบาตด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น ฯ

    [๔๖๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า สมณะ ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านได้กระทำให้เราไม่ได้บิณฑบาตมิใช่หรือ ฯ มารผู้มีบาปกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้าไปสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑบาตครั้งที่สองอีกเถิด พระเจ้าข้า ข้า*พระองค์จักกระทำให้พระผู้มีพระภาคได้บิณฑบาต ฯ

    [๔๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มารมาขัดขวางตถาคต ได้ประสพสิ่งมิใช่บุญแล้ว ดูกรมารผู้มี-บาป ท่านเข้าใจว่า "บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา" ฉะนั้นหรือพวกเราไม่มีความกังวล ย่อมอยู่เป็นสุขสบายหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา ดุจอาภัสสรเทพ ฉะนั้น ฯ

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ
    ************************************

    สมิทธิสูตรที่ ๒
    [๔๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงศิลาวดี ในแคว้นสักกะ ฯ
    ก็สมัยนั้นแล ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ฯ
    ครั้งนั้นแล ท่านสมิทธิผู้พักผ่อนอยู่ในที่ลับ มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นพระศาสดาของเรา เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระศาสดาตรัสดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อนพรหมจรรย์อันมีศีลมีกัลยาณธรรม ฯ

    [๔๘๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านสมิทธิด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาท่านสมิทธิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงทำเสียงดังน่ากลัว น่าหวาดเสียวประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ ฯ

    [๔๘๔] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ท่านสมิทธิครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว จึงได้กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์อยู่ในที่ลับเร้น มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นพระศาสดาของเรา เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้บวชในพระธรรมวินัยอันพระศาสดาตรัสดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อนพรหมจรรย์ อันมีศีลมีกัลยาณธรรม พระเจ้าข้า ขณะนั้น ก็ได้มีเสียงดังน่ากลัว น่าหวาดเสียวประดุจแผ่นดินจะถล่ม เกิดขึ้นในที่ใกล้ข้าพระองค์ ฯ

    [๔๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมิทธิ นั้นไม่ใช่แผ่นดินจะถล่ม นั้นเป็นมารผู้มีบาปมาเพื่อกำบังตาเธอ เธอจงไปเถิด สมิทธิ จงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ในที่นั้นตามเดิมเถิด ฯ ท่านสมิทธิรับพระดำรัสแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ

    [๔๘๖] แม้ครั้งที่สอง ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แม้ในครั้งที่สอง ท่านสมิทธิไปในที่ลับเร้นอยู่ มีความปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯลฯ แม้ในครั้งที่สอง มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านสมิทธิด้วยจิตแล้ว ฯลฯ จึงทำเสียงดังน่ากลัว น่าหวาดเสียว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ ฯ

    [๔๘๗] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึงกล่าวกะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า เราหลีกออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนด้วยศรัทธา สติและปัญญาของเรา เรารู้แล้ว อนึ่ง จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว ท่านจักบันดาลรูปต่างๆ อันน่ากลัวอย่างไร ก็จักไม่ยังเราให้หวาดกลัวได้เลยโดยแท้ ฯ
    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า ภิกษุสมิทธิรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ

    โคธิกสูตรที่ ๓
    [๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านโคธิกะ อยู่ที่กาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ

    [๔๘๙] ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ภายหลังท่านโคธิกะได้เสื่อมจากเจโต*วิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๒ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๒ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๓ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๓ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๔ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๔ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๕ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๕ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๖ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๖ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๗ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ก็ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์อีก ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เสื่อมจากเจโต*วิมุติอันเป็นโลกีย์ถึง ๖ ครั้งแล้ว ถ้ากระไรเราพึงนำศัสตรามา ฯ

    [๔๙๐] ลำดับนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านโคธิกะด้วยจิตแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ มีเพียรใหญ่ มีปัญญามาก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาททั้งคู่ ข้าแต่พระองค์ผู้มีเพียรใหญ่ สาวกของพระองค์อันมรณะครอบงำแล้ว ย่อมคิดจำนงหวังความตาย ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ขอพระองค์จงห้ามสาวกของพระองค์นั้นเสียเถิด ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์อันตัดเสียซึ่งมานะ ยังเป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงกระทำกาลเสียเล่า ฯ ก็เวลานั้น ท่านโคธิกะได้นำศัสตรามาแล้ว ฯ

    [๔๙๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนี้แล ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต โคธิกะภิกษุ ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก นิพพานแล้ว ฯ

    [๔๙๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรามาไปสู่กาลศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ อันเป็นที่โคธิกกุลบุตร นำศัสตรามาแล้ว ฯ
    ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุหลายรูปได้เข้าไปยังกาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นโคธิกะมีคออันพลิกแล้ว นอนอยู่บนเตียงที่ไกลเทียว ก็เวลานั้นแล ควันหรือหมอกพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ ฯ

    [๔๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นไหม ควันหรือหมอกนั้นพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับพระดำรัสแล้วจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาปเที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้วปรินิพพานแล้ว ฯ

    [๔๙๔] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ

    [๔๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
    พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมารผู้มีความเศร้าโศก ในลำดับนั้น ยักษ์นั้นมีความโทมนัส หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ

    ***************************

    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า "มารเป็นเลิศในบรรดาผู้มีฤทธิ์" แม้เทวดาทั้งหลายก็ยังหวาดเกรง จึงขอยกเอาเรื่องของเทวบุตรมารตามที่พระไตรปิฎกได้กล่าวถึงมาบางส่วน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  13. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    ใช้แล้วครับ มาร ที่ผมว่าก็เช่นนั้นแล เป็น มาร ที่เกิดจากกิเลสที่เข็มแข็ง มาร นี้ เป็น ความรักที่มั่นคงแต่ถูกทำลาย จึงกายเป็นมารที่ผมว่า ผมหาหนทางที่จะสลัด มาร นี้เป็นเวลานานแล้ว แต่มิอาจจะขจัดมารได้ แม้จะหาสิ่งหรอกล้อสะเพียงใดมารก็ไม่ยอมหายไป จิต มารนี้แข็มแข็งนักแล และ มารตนนี้ ผมได้กักขังมันมาหลายครั้งแล้ว น้บวันมันยิ่งจะมีพลังมากขึ้น จนกระทั้งปัจจุบันนี้ ผมไม่สามารถที่จะกักขังมันได้อีก จึงเริ่มเข้าหาพระธรรม ที่จะขจัดมาร ตนนี้ไปเสียให้ได้ สำหรับผม มาร ตน คงจะเป็นตนสุดท้าย มารตนนี้ผมเคยคิดว่ามันคงจะเป็นกรรมเก่าเมื่อชาติปางก่อน ที่ต้องชดใช้ เมื่อมารในใจ สลาย ผมก็บรรลุ
     
  14. ผู้มาใหม่

    ผู้มาใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +618
    จิตมารเกิดจากไหน เกิดจากร่างกายที่ทนต่อความความทุกข์ความเจ็บปวดไม่ได้จึงแสดงออกมาในรูปแบบของความเจ็บความเมื่อย
    แล้วจิตมารมันอยู่ไหน มันก็อยู่ทุกที่ที่กายสังขารตั้งอยุ่
    แล้วจิตมารเป็นของใคร เป็นของสังขารที่เราคอยไปยึดไปติดว่าของเรานี่คือเรา
    ทำอย่างไรจิตมารจึงจะไป เผาร่างกายสังขารนี่เสียโดยใช้ไฟแห่งพุทธให้กิเกสนี้มอดไหม้
    แล้วไฟแห่งพุทธคืออะไร คือ ศีล สมาธิและปัญญา
    เมื่อเราเผาแล้วมันจะเป็นยังไง มันก็จะสามารถแยกมารกับจิตได้ให้เป็นคนละส่วน
    แยกอย่างไร เมื่อเรามีไฟแห่งพุทธแล้วเราก็จะแยกได้คือ อย่าไปติดกับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายที่จิตมารสร้างขึ้นทั้งทางกายและทางใจ ให้มั่นคงในสมาธิจิต
    ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ต้องเจอกับจิตมารนี้อีก คำตอบง่ายๆที่ทุกคนรุ้จักแต่ไปถึงยาก นั่นก็คือ นิพพาน
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ปัญหาที่คุณเจออยู่ก็คือ ทุกครั้งที่จิตเริ่มนิ่ง ความทุกข์ที่เก็บไว้จะผุดโผล่ขึ้นมาให้ได้เห็น แล้วคุณก็สะเทือนใจกับมันใช่มั้ย? ถ้าใช่... ครั้งต่อไปถ้าคุณนั่งสมาธิแล้วเกิดความรู้สึกอย่างนั้นอีก ให้คุณกำหนดมองหาสาเหตุของทุกข์ที่คุณรู้สึกว่าทุกข์...ที่ว่าทุกข์...ทุกข์นี้เกิดจากอะไร?...ใครเป็นผู้ทำให้ทุกข์...และใครที่เป็นทุกข์ คำตอบก็คือไม่มีใคร ใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ ถามตอบกับตัวเองนั่นแหละค่ะ พิจารณาด้วยปัญญา จะเห็นว่าจริงๆ แล้ว เพราะคุณหลงเข้าไปยึดติด มันจึงทุกข์ เจริญมรณานุสติให้มากๆ ทุกคนล้วนมีความตายรออยู่เบื้องหน้า อย่ามัวเอาเวลาที่เหลืออยู่นี้ไปพิไรรำพันกับสิ่งสมมุติ ปล่อยวางอัตตาตัวตนลงอย่างกล้าหาญ เดินตามรอยพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านะคะ

    ขอให้เจริญในธรรมค่ะ ธรรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม
     
  16. 90

    90 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +67
    จ้องหน้ามันคือการเผชิญกับความจริงครับ การบังคับให้ดับ กดให้อยู่ หรือหลบหน้าไป ไม่ใช่วิธีที่ดีครับ การเผชิญหน้ากับศัตรูอย่างมีสติ โดยไม่เกรงกลัว ไม่หวั่นไหว อย่างรู้เท่าทัน ไม่ช้าด้วยปัญญาของเรา จะพบทางที่เอาชนะมันได้ ขอเอาใจช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคนี้ครับ
     
  17. cfour1234

    cfour1234 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +93
    สาธุ ขอบคุณทุกท่านๆมากครับ ผมจะพยายาม เมื่อผมทำจิตสงบถ้ามารมา ผมจะบอกมารว่า ถึงไหนก็มาแล้วมาปฏิบัติธรรมพร้อมกันเทอญ จะได้ไม่เสียเที่ยวที่มา ผมจะทำแบบนี้ทุกครั้งเลยเพื่อพิชิตมาร
     
  18. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    เวลาทำสมาธิเราจะเอาดี เมื่อดีเราก็พอใจ เวลาเราทำสมาธิเราจะเอาดี เมื่อไม่ดีเราไม่พอใจ หนทางที่เราเรียนรู้คือการเข้าถึง ธรรม อันเป็นธรรมชาติ ความดีย่อมคู่กับความไม่ดี เราจะเลือกถือแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นไม่ได้ นั่นไม่เรียกว่าทางสายกลางเลย เราต้องเรียนรู้ความดีเอาไว้ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเรียนรู้ความไม่ดีเอาไว้เพื่อให้เข้าใจธรรมมากยิ่งขึ้น ธรรมดาของโลกเป็นของคู่ มนุษย์โดยมากยินดีในการเกิด แต่ไม่เคยยินดีในการตาย ทั้งๆ ที่ การเกิดย่อมไม่พ้นไปจากความตาย จงแสดงความเข้าใจให้ชัดแจ้งถึงความเหมือนและต่าง ธรรมดาของการมีตัวตนไม่ว่าด้านใดย่อมมีอยู่ในภาวะแห่งไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ดำเนิน ดับไป จิตมารนั้นไซร้ก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือกฏนี้ ความเสื่อมไปแห่งสรรพสิ่งมีเป็นธรรมดา แต่จงรักษาสมาธิจิตของเราอย่าให้เสื่อมเป็นพอ ขอให้เจริญในธรรม
     
  19. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637

    กำลังสติอ่อน..

    แก้โดยการเฝ้าดู พร้อมกับ ระลึกรู้ ลมหายใจเข้าออก

    เข้าก็รู้ ออกก็รู้ ไม่ต้องไช้คำภาวนา

    ลองดูครับ ผลเป็นไง มาเล่าสู่กันฟังอีกทีนะครับ

     
  20. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เอ่อออ จิตมาร กับ นังมาร นี่เหมือนกันไหมน๊าาาา
     

แชร์หน้านี้

Loading...