ฌาน จตุกกนัย กสิณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 26 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
    รูปวาจรกุศล กสิณ ฌาน
    จตุกกนัย

    [๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว
    บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
    ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.



    [๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
    บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส
    เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว
    ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา
    สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
    มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมี องค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๓ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑
    มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
    ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม

    ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
    นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



    [๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
    เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

    พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญบุคคลนั้นว่า
    เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้
    เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
    อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข
    เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
    โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
    หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒
    มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น
    หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
    ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
    เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า
    สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.




    [๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ
    บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
    อารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทใน
    ก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา
    เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
    อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
    หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒
    มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น
    หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
    ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม
    ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
    นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    จตุกกนัย จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์
    [​IMG]
    อธิบดี
    [๒๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
    ปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี
    เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
    บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตา-
    *ธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ ฯลฯ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็น
    โลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะ
    เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์
    เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
    อาหารเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ
    เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
    ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    อธิบดี จบ
    มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์
    [​IMG]
    [​IMG]
    บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ
    ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ดังนี้
    วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
    สุทธิกอัปปณิหิตะ จบ.
    -----------------------------------------------------
    อัปปณิหิตปฏิปทา
    [๔๔๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่
    นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
    บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
    ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็น
    โลกุตตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
    มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
    [๔๔๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
    ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิด
    อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระ
    อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
    [๔๔๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
    ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิด
    สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระ
    อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต
    [๔๔๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
    บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
    อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ
    ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตะ เป็นทุกขา-
    *ปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้
    กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
    มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
    [๔๔๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
    เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
    ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขา-
    *ปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิด
    อัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ
    เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปา-
    *ภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ
    ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิ-
    *ปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
    อัปปณิหิตปฏิปทา จบ.
    -----------------------------------------------------
    [๔๔๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญ
    สัมมัปปธานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตตระ
    ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    เจริญขันธ์เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    เจริญอาหารเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
    เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตตระ อัน
    เป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน
    สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิด
    สุญญตะ ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็น
    วิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด
    ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
    มหานัย ๒๐ จบ.
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    จิต ในณาน
    เวทนา สัญญา วิญญาน สังขาร มีอย่างไรในแต่ละองค์ณาน
    ก้ขอให้พิจารณาเพราะผู้ทำณานบ้างก้รู้ว่ามีว่าเป็นอย่างไร
    บ้างก้ยังไม่รู้เพียงแต่เคยได้ยินได้ฟังมา
    เราก้มาใช้กาลมสูตรลงที่การปติบัติ
    แต่ปติบัติอย่างเดียวไม่รู้ว่า อาการขัน 4 นั้นเป็นอย่างไร
    ก้จะไม่รู้ว่าเกิดสังขารอย่างไรบ้างกันแน่
    วิตก วิจาร ปิติ สุข เอคตา เกิดดับละตอนไหน
    อย่างไรขอให้รู้ชัด

    สภาวะที่เกิดบางคนก้รู้ชัด
    บางคนก้ไม่รู้
    แยกไม่ออกอะไรเกิดอะไรดับไปบ้าง
    เกิดอย่างไรไม่รู้
    ดับอย่างไรไม่รู้
    เป็นผู้รู้ผู้ดูก้ต้องรู้ทั้งในขณะทำณาน และ ขณะที่ไม่ได้ทำณาน

    พรหมภพไม่ใช่อยู่ๆไปเกิดได้
    ต้องรู้ชัดว่าจะไปเกิดเพราะต้องเข้าณานตาย
    รู้ว่าจะตายต้องเข้าณานถอดจิตออกไป
    ท่าวิถีจิตตนเองยังรู้ไม่ชัดความชัดในภพหน้าจะเป็นอย่างไร
    ไปหวังให้ตอนตายจะรู้จะรอดเอาอย่างเดียวได้หรือไม่

    พูดอย่างนี้แล้วเด่วก้จะสับสนเรื่องการเกิดญานต่ออีก ผลญานอีกอย่าสับสนปนเปไป
    ***ปลแก้ไขแค่การเว้นวรรคให้ชัดเจนเนื้อความยังเหมือนเดิม***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    โพสมาตั้งเยอะ แต่พอ โพสนี้

    มิจฉาทิฏฐิ เต็มเบย เสียดาย คนเป็นยังไม่รู้ชัด จะไป "ถอดจิต" หิ้วหวีไป หิ้วหวีมา
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เอ้าดีๆแบบนี้ชี้แจงเลยตรงไหนผิดบ้างเด่วจะได้สาธยายต่อว่าเป็นยังไงกัน
     
  7. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339

    แสดงว่าผมก็มีมิจฉาทิฏฐิด้วยสิเนี้ย เพราะผมก็เข้าใจแบบคุณ งูๆปลาๆ ครับ

    คุณนิวรณ์ อาจจะเข้าใจประเด็น ของคุณงูๆปลาๆ ผิดคนละเรื่องรึเปล่าครับ

    ขอท่านนิวรณ์ช่วยสงเคราะห์ ธรรมด้วยครับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    หลัก กรรม เป็น อจิณไตย " มันหาย "

    กัมมัสสกตา หาไม่เจอ มีแต่เรื่อง ดำริจะเป็น จะไป เยี่ยง "สัตว์ (ทิฏฐิ ไม่ใช่คำด่า หน่าคร้าบ)"

    อจิณกรรรม ไม่รู้จัก
    คุรุกรรม ไม่รู้จัก
    ฯ ไม่รู้จัก

    สุญญตา อนิจจัง อนัตตา หายจ้อย

    มีแต่ การเสวยเยี่ยง สัตว์(ทิฏฐิ ไม่ใช่คำด่า หน่าคร้าบ)


    ปล.ยกตัวอย่าง

    บางคนไปอ่านพระสูตร คนดีเลือกภพที่จะไปได้ มีราชรถมาเกย
    แล้วก็ ถือเอา ตามคำแปล ตามหนังสือ ว่า ไม่ผิด ดำริเลือกจะไป
    ถอดกายได้ ไปกันใหญ่ ไม่ต้องพูดถึง

    จริงๆแล้ว กรรมมิจฉาทิฏฐิ มันจะให้ผล ปิดนิพพาน ทำให้เลือก ภพ
    ที่จะไป เยี่ยง สัตว์ สัมมาทิฏฐิ หาไม่เจอ ( เว้นแต่ จะมี สติ กำหนด "รู้เพื่อละ")
    ก็จะอีกเรื่องหนึ่ง
     
  9. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    เข้าใจท่าน แล้วครับ อนุโมทนาสาธุ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อีกนัยหนึ่ง อภิธรรมปิฏก ที่ยกมา มีข้อ พึง ทำการสังเกต เม้มปาก แล้ว นั่งลง

    ตรงที่ระบุ พาดพิงไปคำว่า "บรรลุปัญจมฌาน"

    ปัญจมฌาณ จะภาวนาได้ เฉพาะ " พระโพธิสัตว์ "

    เป็น พระโพธิสัตว์ ไม่มีฐานะ จะไปทำอะไร จนได้ " โลกุตร "

    ถ้า เป็นพระโพธิสัตว์ บรรลุปัญจมฌาณ แล้ว ยัง ทะลึ่ง(ไม่ได้แปลว่า สัปดลรนแค
    หมายถึง การ "พุ่งพรวด ทะลุ ทำสิ่งเอะอะตึงตัง" ) ไป โลกุตร นี่ก็แปลว่า

    มีการเกิด มหาสัตว์ซ้อนพุทธธันดร เดียวกัน

    ดังนั้น อภิธรรมของนักกสิณดินดำ ที่แทรกในอภิธรรมนี้ ต้องเอาไป
    ถามท่านพุทธทาส ว่า จะให้กวาด ลง ถังไหน ........หรือไม่
    ( เน้นนะว่า หรือไม่ ไม่ได้หมายเอาว่า ท่านจะตัดสิน อะไร )
     
  11. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ขอตอบคุณนิวรณ์ สองครั้งนะครับ
    ครั้งแรกขออทิบายเพิ่มเติมก่อนนะครับ

    ส่วนแรก
    จิต ในณาน
    เวทนา สัญญา วิญญาน สังขาร มีอย่างไรในแต่ละองค์ณาน
    ก้ขอให้พิจารณาเพราะผู้ทำณานบ้างก้รู้ว่ามีว่าเป็นอย่างไร
    บ้างก้ยังไม่รู้เพียงแต่เคยได้ยินได้ฟังมา

    ผมหมายถึงให้มี สติรู้

    ส่วนนี้
    เราก้มาใช้กาลมสูตรลงที่การปติบัติ
    แต่ปติบัติอย่างเดียวไม่รู้ว่า อาการขัน 4 นั้นเป็นอย่างไร
    ก้จะไม่รู้ว่าเกิดสังขารอย่างไรบ้างกันแน่
    วิตก วิจาร ปิติ สุข เอคตา เกิดดับละตอนไหน
    อย่างไรขอให้รู้ชัด

    ตรงนี้ผมยกตามพระสูตรนะครับ
    [๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมี องค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๓ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑
    มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
    [๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
    ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม
    ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
    นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ


    ส่วนนี้
    สภาวะที่เกิดบางคนก้รู้ชัด
    บางคนก้ไม่รู้
    แยกไม่ออกอะไรเกิดอะไรดับไปบ้าง
    เกิดอย่างไรไม่รู้
    ดับอย่างไรไม่รู้
    เป็นผู้รู้ผู้ดูก้ต้องรู้ทั้งในขณะทำณาน และ ขณะที่ไม่ได้ทำณาน


    ก้ตรงๆครับกล่าวถึงผู้ที่ทำณานแล้วขาด สติก้จะมีอาการต่างๆเช่นตกณาน ฟุ้งซ่าน และอีกมากมายโดยไม่รู้ว่าทำสมาธิจิตต้องอยู่ที่อะไร


    ส่วนนี้
    พรหมภพไม่ใช่อยู่ๆไปเกิดได้
    ต้องรู้ชัดว่าจะไปเกิดเพราะต้องเข้าณานตาย
    รู้ว่าจะตายต้องเข้าณานถอดจิตออกไป
    ท่าวิถีจิตตนเองยังรู้ไม่ชัดความชัดในภพหน้าจะเป็นอย่างไร
    ไปหวังให้ตอนตายจะรู้จะรอดเอาอย่างเดียวได้หรือไม่

    กล่าวถึงพรหมทั้งสามนะครับ พรหม อรูปพรหม และสุททาวาสพรหมครับ ผู้ไปเกิดยังพรหมทั้ง 3 นี้แตกต่างจากภพอื่นๆแน่นอนครับ เพราะต้องมีสติรู้ชัดกำหนดจิตได้ มีณานวสี แม้เวลาจะจุติจากโลกนี้ก้ต้องอยู่ในณานต่างกันตรงที่ สุทธาวาสจะมีปัญญาละขาดสังโยชเบื้องต่ำได้แล้วครับ

    และส่วนทิ้งท้ายไว้

    พูดอย่างนี้แล้วเด่วก้จะสับสนเรื่องการเกิดญานต่ออีก ผลญานอีกอย่าสับสนปนเปไป
    ก้คือกล่าวถึงปัญญาญานครับ ตัวปัญญา ที่เกิดขึ้น ยังมีความแตกต่างของการเกิดขึ้นด้วยปัจจัยอีกหลายด้าน จะเอามาสรุปแค่การทำณานที่กล่าวมานี้ยังไม่ได้ เพราะการทำณานเองมีหลากหลายอีกเช่นกัน ส่วนนี้ยกว่าเพียงบางส่วนครับ
     
  12. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อันนี้ตอบส่วนที่สองนะครับ คือตามข้อสุดท้ายที่กล่าวไว้ครับ แสดงบางส่วนยังไม่ใช่ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวปัญญา แสดงแต่เรื่องณานครับ คือพระสูตร 3 พระสูตรที่ยกมา มีส่วนของณานและโลกุตระณาน แต่ผมไม่ได้กล่าวอทิบายในส่วนของ โลกุตระณานไว้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  13. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เดี่ยวก่อนนะครับ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ผมยังไม่เห็นข้อความส่วนที่
    ปัญจมฌาณ จะภาวนาได้ เฉพาะ " พระโพธิสัตว์ " ครับ
    บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นกลางเป็นอุเบกขาของพระโยคาวจรครับ
    ท่านนิวรณ์ต้องแสดงเพิ่มเติมอีกครับเรื่อง ปัญจมฌาณ จะภาวนาได้ เฉพาะ " พระโพธิสัตว์ " ครับจะได้ทราบได้ว่าพระไตรมีเค้าโคลงผิดอย่างไร
     
  14. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ผมเข้าใจนะที่กล่าวนี้ ธรรมของพระพุทธเจ้าแสดงไว้ทั้งแบบเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดไงท่าน สัตว์ทั้งหมด จะยังเห็นไม่เท่ากันคนมีปัญญาก้จะ รู้เพื่อละ คนยังไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาก้ต้องสอนเรื่องพื้นๆไปก่อนปูทางไปให้อินทรีกล้าแข็งขึ้น ธรรมที่ยกมาส่วนมากก้จะเป็นธรรมง่ายๆ เพื่อยังอินทรีให้มากขึ้น
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    คำที่พระพุทธองค์ ทรงตรัส พระพุทธองค์ ตรัสเองว่า เป็นโลกุตระ ทั้งหมด

    เรื่อง อภิญญา ปาฏิหาร์ยที่ทรงแสดง และ เล่า ก็ตรัสว่า
    เป็น อนุสาสนียปาฏิหาร์ย ทั้งหมด ไม่ใช่พระองค์ทรงทำ อิทธิปาฏิหารย์
    ดุจโชว ของลับ

    ดังนั้น

    อะไรที่ บอกว่า อ่อนไปตามอินทรีย์ จัดเป็น เดรัจฉานกถา ไม่ใช่ สิ่งที่พระพุทธองค์
    ทรงกระทำ จรณะ สัมปันโน

    เป็นเรือง ร้อยเลห์ เพห์ทุบาย ของ .............................( เม้มปาก แล้ว นั่งลง )
     
  16. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ท่านก้แยกได้ไง
    อันไหนกล่าวในโลกุตระ อันไหนกล่าวในโลกียะ
    หรือที่ท่านว่า เดรัจฉานกถา ก้ใช่ ไม่ได้เป็นไปเพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อสุขในการติดภพ แต่ก้ยังมีคุณอยู่
    ผมก้ทราบว่าคนอ่านนั้นแหละจะแยกเองว่ากล่าวกับตนหรือไม่
    ท่านที่รู้ในโลกุตระก้รู้อยู่ว่าไม่ใช่เรื่องตน ใช่ใหม
    ส่วนท่านที่ไม่รู้โลกุตระอยู่ แล้วก้ต้องเอาธรรมที่พอประคองตนได้ติดตัวไปด้วย
    ไม่ใช่มีแต่ผู้ที่พร้อมจะบรรลุในชาตินี้ท่าน พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนเฉพาะสัตว์ที่พร้อมบรรลุพวกเดียวเท่านั้น ยังมีบัวเหล่าอื่นอีกที่พอสอนได้ให้สั่งสมได้ตั้งแต่เริ่มต้นเลย
    ทาน ศิล ภาวนา ไปจนสุดปัญญารู้เห็นเท่าทันกิเลศ
    และการสอนท่านเหล่านั้นก้ยังแตกต่างในวิธีปติบัติอีกเช่นกัน ทางปัญญาก้สอนกันอย่างนึงปติบัติอย่างนึง ทางสมถะก้สอนกันอย่างนึงปติบัติอย่างนึง
     
  17. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
    ทานสูตร
    [๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี
    ชื่อคัคครา ใกล้จัมปานคร

    ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่าน
    พระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
    พระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟัง
    ธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค


    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
    ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน
    อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง
    อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป

    ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่
    อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับนั้น
    ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
    มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
    พึงมีหรือหนอแลและทานเช่นนั้นแล
    ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมี
    หรือพระเจ้าข้า


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
    มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี และทานเช่นนั้นนั่นแล
    ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ


    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทาน
    เช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนใน
    โลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิต
    ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้
    เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่อง
    ลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกร
    สารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทาน
    เห็นปานนี้หรือ ฯ

    สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิต
    ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้
    เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
    แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
    แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคน
    ในโลกนี้ ไม่มีหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
    ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
    ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
    เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
    ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทาน
    เห็นปานนี้หรือ ฯ

    สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มี
    จิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไป
    แล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทาน
    นั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้น
    กรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่
    ความเป็นอย่างนี้ ฯ

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
    ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็
    ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
    แห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
    ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา
    มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วย
    คิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้
    จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว
    ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
    หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
    เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะ
    ไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วย
    คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี
    วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
    วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ
    ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้น
    ฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา
    จักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ
    และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิด
    ความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
    แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็น
    ใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อ
    เราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็น
    เครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
    เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
    ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้
    ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

    สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
    ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา
    ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
    ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย
    ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้
    หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย
    คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี
    วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช-
    *ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้
    ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ
    โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป
    ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
    หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร
    สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้
    ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง
    คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

    จบสูตรที่ ๙
     
  18. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระพุทธเจ้าท่านก้ไม่ได้สอนแต่เพื่อบรรลุมรรคผลในทันทีอย่างเดียว
    สิ่งใดทำแล้วเกิดคุณประโยชสั่งสม ท่านก้สอนเช่นกัน
    ส่วนบุคคลใดพร้อมที่จะบรรลุได้ท่านก้จะสอนธรรมที่เฉพาะเจาะจงแก่บุคคลนั้นได้

    เช่นกันผู้ฟังธรรมมีอินทรีแตกต่างกันพร้อมฟังไม่เหมือนกันควรแสดงแตกต่างกันไม่เช่นนั้นแล้ว แสดงไปก้จะเหมือนการเอาโจทยากๆให้แก่ผู้พึ่งเริ่มเรียนรู้ บางคนไปทำยอดก้ต้องเอาฐานมาให้เรียนรู้มาให้ศึกษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    กั๊กๆๆๆ

    แทบจะเป็น สูตรสำเร็จ คลอง10

    เอา ทานสูตร มา ตัดทอน จับไปกระเดียด เฉพาะ บางบท

    แทนที่จะ แทงตลอดเห็น ปฏิจสมุปบาทธรรม เป็น โลกุตระ สถาณเดียว
    ไม่มีเรื่อง " ค่อยๆแสดง " ตลบแแตลงปลิ้นปล้อน อ้างอานิสงค์ ตบทรัพย์
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ต่อให้ ยก โจรสูตร สูตรสอนโจรให้ปล้นฆ่าอย่างไร จึงจะดี

    หาก ฟังธรรมแบบ โจร สัมมาทิฏฐิหาไม่เจอ อ้างว่า พระพุทธองค์
    ทรงสอน "..................."

    แต่ถ้ามี สัมมาทิฏฐิ มีไหวพริบเพียงนิดเดียว ไม่ต้องมาก
    จะเห็นเลย เป็นเรื่อง ปัจจัยการ ปฏิจสมุปบาท โลกุตร สถาณเดียว
    ไม่มีเรื่อง อลุ่มอล่วย แต่อย่างใด
     

แชร์หน้านี้

Loading...