ญาน ๗๓

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 9 พฤษภาคม 2021.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    [​IMG]
    พระสุตตันตปิฎก
    เล่ม ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มาติกา

    https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1024&Z=1135





    ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ๑

    ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑

    ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑

    ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑

    ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
    ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ
    [ญาณในการพิจารณา] ๑

    ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]๑

    ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
    [ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑

    ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
    [ญาณในการเห็นโทษ] ๑

    ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่
    เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑

    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
    ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑

    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
    และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑

    ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ ๑

    ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑

    ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑

    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ
    [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑

    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ
    [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑

    ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ
    [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑

    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ
    [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑

    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ
    [ญาณในความต่างแห่งธรรม]๑

    ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑

    ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นตีรณัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑

    ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑

    ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑

    ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ
    เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑

    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑

    ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน
    เป็นอานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑

    ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ
    คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
    ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต
    เป็นอรณวิหารญาณ[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑

    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒
    ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
    และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ
    [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑

    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว
    เป็นปรินิพพานญาณ ๑

    ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ
    เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน] ๑

    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
    เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑

    ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑

    ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ
    [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑

    ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
    และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑

    ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑

    ปัญญาในความถูกต้องธรรมเป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑

    ปัญญาในการรวมธรรมเป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑

    ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ
    [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑

    ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ
    [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑

    ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต] ๑

    ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยญาณ] ๑

    ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
    [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑

    ปัญญาในความว่าธรรมจริงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑

    ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีฌานเป็นบาท]
    เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา
    [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด]
    และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม]
    เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]๑

    ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถ
    การแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑

    ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว
    ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต๓ ประเภท
    และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
    เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑

    ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย
    ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว
    เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑

    ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว
    ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑

    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
    เป็นอาสวักขยญาณ
    [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑

    ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น ทุกขญาณ ๑

    ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑

    ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ๑

    ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑

    ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์] ๑

    ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑

    ทุกขนิโรธญาณ[ญาณในความดับทุกข์] ๑

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑

    อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ๑

    นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑

    อินทริยปโรปริยัติญาณ
    [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑

    อาสยานุสยญาณ
    [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑

    ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑

    มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑

    สัพพัญญุตญาณ ๑

    อนาวรณญาณ ๑

    ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ

    ในญาณทั้ง ๗๓ นี้

    ญาณ ๖๗
    [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก
    ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
    เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2021
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ญาณ (บาลี: ญาณ ñāṇa; สันสกฤต: ज्ञान ชฺญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

    ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...