ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง ( หลวงปู่ดุลย์ อตุโล )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Piccola Fata, 12 กันยายน 2021.

  1. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    การฝึกสติปัฏฐาน๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง

    บทความธรรมะของพระราชวุฒาจารย์
    ( หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ) วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์

    การฝึกสติปัฏฐาน๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง
    ๑. รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่น รู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย
    เกิดอาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคลสกปรกชุ่มอยู่
    หรือเมื่อเดินเคลื่อนไหวไปมา ผู้ที่มีจิตผู้รู้จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกัน และเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันที่เดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก

    ๒.รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้ เราจะรู้เวทนาทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่น ในขณะเดินอยู่เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้ เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่งแฝงอยู่ในวัตถุธาตุ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา หรืออย่างนั่งอยู่ ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่งที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่าความปวดไม่ใช่ฟันและไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง( อีกขันธ์หนึ่ง ) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฎ
    ในส่วนของเวทนาจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่นเวลาปวดฟันมีเวทนาทางกายแล้ว บางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้ว อย่างนี้ก็มี

    ๓. รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร (ความคิดนึก ปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่นเห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความผ่องใสเบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วจะเห็นอีกว่าความปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป มันไม่ใช่จิต มันแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต (สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก

    ๔. รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฎขึ้น จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่นขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนรัก แล้วจิตทยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่า จิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหา คือความทยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ไม่เกิด
    การรู้สภาวธรรมในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นว่าจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่น เห็นว่าเป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่ายึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่าจงอย่าไปไม่ได้เลย

    ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต
    ๑. นาย จ. กำลังซักผ้าอยู่ ขณะนั้นสัญญาคือความจำภาพสาวคนรักผุดขึ้นมา จิตของเขาปรุงแต่งราคะคือความใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้นไม่ได้หมายความว่า
    นาย จ. หันมาดูสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ. จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. จะต้องรู้ว่ากิเลสดับไปเป็นต้น

    ๒.กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำจิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้ไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แต่รู้เฉยๆเท่านั้น

    ๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ.....เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติพิจารณาทางกาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆแล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฎขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจจะเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา

    ๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตไปเรื่อยๆ ไปโดยไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชนเคยชินกับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ....ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญาได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอ ที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆนั่นแหละ แท้จริงการที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจสี่ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้ว ที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่มีปัญญาชนอย่างนาย จ. เคยชินไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนมยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติอออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน

    ๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆแขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ. ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในร่างกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็นความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า นายจ. นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะเห็นได้ไม่ยาก

    การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆนั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่าในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้นเราสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง๔ประเภท ได้แก่
    -กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน๔
    - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน๔
    - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน๔
    -ธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐาน๔
    ในทางตรงกันข้ามถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้ จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทได้เช่นกัน
    ส่วนสมถะนั้นเป็นฐานของวิปัสสนา ถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทาสอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูก จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ไม่เป็นทาสของอารมณ์ จึงเห็นความเกิด ดับ ของอารมณ์ชัดเจนตามความจริงได้
     
  2. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    มองออกไหมละ อะไรคือ เมลามีน
     
  3. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    หมายถึงข้อนี้รึเปล่าคะ ที่กล่าวว่าการดูจิตไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้
    แนนมองว่า เบื้องต้นไม่ควรไปสนใจในผู้รู้อย่างที่ท่านกล่าวนั้นถูกแล้ว สุดท้ายแล้วมันจะทวนมาเห็นผู้รู้เอง จะเห็นการทำงานของผู้รู้ได้เอง เมื่อเห็นทุกอย่างว่างเปล่า แต่ยังเหลือตัวผู้รู้ที่ก็เป็นของเกิดดับไม่ต่างกัน เมื่อนั้นจิตจะปล่อยวางจิต

    อันนี้อยู่ในส่วนรู้เวทนาแต่เอาไปจัดในหมวดกาย อันนี้แนนก็แอบ งง อยู่ อาจจะกล่าวเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานของกายให้เห็นชัดค่ะ

    ส่วนเวทนาไม่ใช่แค่มีทางกายอย่างเดียว เวทนาทางใจก็มีด้วย คือรู้จิตสุข รู้จิตทุกข์ รู้จิตเฉยๆ ซึ่งในบทความมีอธิบายเพิ่มนิดนึงตอนท้ายของข้อนี้
     
  4. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ตรงนี้เห็นแย้งเล็กน้อย
    ตรงที่ว่า การเจริญสติปัฏฐาน หากยังเป็นในส่วนของการฝึก ก็ยังเป็นไปเพื่อเจอการแยกรูปนาม…ถึงแม้ยังไม่พบ ก็เพียรฝึกเจริญต่อไป สักวันจะเข้าใจได้เอง

    ดังนั้นทุกคนสามารถเพียรเจริญสติได้ หากเดินได้ถูก จะไปเจอที่จุดเดียวกันนี้ได้
     
  5. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    หลวงปู่ดุลย์ ท่านพูดน้อย ไม่ใช่นักเทศน์

    การอธิบายส่วนใหญ่ จะเสริมเติมแต่งไปตามแต่ละคน
    จะเอาคำหลวงปู่ดุลย์มาอธิบายสอดแทรก ความเห็นตนเองเข้าไป

    ถ้าจะอธิบาย คำหลวงปู่ดุลย์ได้ตรงๆ ก็จะมีแต่ พระอริยะด้วยกัน
    ถ้าเป็นลูกศิษย์ ก้นกุฏิ ก็เห็นจะมี หลวงพ่อเยื้อน


    ส่วนมากก้จะเป็นคำอ้างว่ามาจากหลวงปู่ดุลย์ และสอดแทรกเข้าไป

    นักภาวนา ที่ยังไม่เคย ประสบกับตนเอง ส่วนมากพอได้ฟัง
    จะเป็นการตรึกตรองเป็นส่วนมาก
    แล้วก้จะ พยักหน้า งึกๆ เป็นต้นฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2021
  6. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    อ้อ แนนไม่ใช่ ลูกศิษย์ หรือ fc ท่าน เลยไม่รู้ลักษณะบุคลิกของท่าน

    เพียงแต่เห็นบทความนี้อธิบายลักษณะการเห็นจิตเบื้องต้นได้เป็นขั้นเป็นตอนดี น่าจะเป็นประโยชน์
     
  7. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ฟังดีดีนะครับ

    จิตเกิดดับ

    เจตสิกก็เกิดดับ

    จิตพิจารณาจิต ก้คือจิตพิจารณาเจตสิก



    เจตสิก มีสภาพเดียวกับจิต คือ เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับไปพร้อมกับจิต

    จิตและเจตสิก มันจึง มีลักษณะเกิดดับไปพร้อมกัน

    ฉะนั้น
    รู้เท่าทันจิตก็คือรู้เท่าทันเจตสิก
    รู้เท่าทันเจตสิกก็คือรู้เท่าทันจิต

    มันจึงไม่มีการรู้ก่อนเกิดดับ
    การฝึกฝน สุดท้าย มัน จะมีแต่เพียงการรู้เท่าทัน
    ก็ยัง ดี ยังพอแยก เมลามีนออก
     
  8. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    ตามหลักเป็นแบบคุณปราบว่าเลยค่ะ
    แต่ตอนฝึกเบื้องต้น ผู้ฝึกจะยังไม่เห็นจิตผู้รู้ชัดเจน ยังไม่สามารถเข้าใจได้จากการคิดตรึกตรอง จะเห็นและรู้สึกชัดๆได้แค่เจตสิกอารมณ์ปรุงแต่ง ….แต่เมื่อความตั้งมั่นเกิด ตอนนั้นผู้ฝึกจึงจะเข้าใจถึงความจริงของจิตผู้รู้ ว่าคือส่วนไหน ทำงานยังไง
     
  9. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    เหตุนั้น

    จึงชื่อว่า

    กายานุปัสนา
    เวทนานุปัสนา
    จิตตานุปัสนา
    ธัมมานุปัสนา

    นุปัสนา แปลก็คือ ตามรู้ ตามเห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ ไปเห็นก่อนเกิด

    ตามรู้ตามเห็นเพื่ออะไร ก้เพื่อให้จิตจดจำสภาวะนั่นเอง

    ก็มีความหมายเดียวกันกับ กำหนดรู้

    ผลสุดท้าย จึงเรียกว่ารู้เท่าทัน

    สัญญา จึงเกิดก่อน ญานเกิดทีหลัง

    สติก้อาศัยสัญญาเป็นเหตุให้เกิดสติ

    สมาธิ ก็อาศัยสติเป็นเหตุ

    ปัญญาก็อาศัย สมาธิเป็นเหตุ

    ฉะนั้น สติมีเกิดขึ้น เท่านั้นละ ที่เหลือ คนที่เคยประจักษ์กับตัวเอง จะตอบได้หมด
    แบบเต็มปากเต็มคำ ไม่มีลังเล


    จะพูดให้ครบก็ต้องบอกว่า

    สัมมาสติ ก็อาศัยสัญญาเป็นเหตุใกล้
    สัมมาสมาธิก้อาศัยสัมมาสติเป็นเหตุ
    ปัญญาอันยิ่งก็อาศัยสัมมาสมาธิเป็นเหตุ
    หรือจะเรียกว่า ปัญญาสัมมาทิฐิแท้จริงก้อาศัยสัมมาสมาธิเป็นเหตุ
     
  10. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    เห็นด้วยค่ะ เมื่อก่อนไม่เข้าใจคำว่ากำหนดรู้ ก็ไปเพ่ง จ้องฝืนจิต ดึงจิตอยู่อย่างนั้น สุดท้ายไปตันอยู่ที่นิ่ง เคว้งคว้าง ว่างเปล่า … เหมือนจะดี แต่รู้สึกได้เลยว่ามันไม่ใช่แล้วแบบนี้ ต้องมีอะไรผิดพลาด

    พอมาฝึกรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงค่อยเก็ท ว่าที่แท้ต้องมาเห็นตรงนี้ เรียกว่าเปิดมิติความรู้ใหม่ขึ้นมา

    พอเห็นบ่อยเข้า แล้วลองฝึกหลายๆแบบ จะยิ่งเข้าใจว่าทำไมถึงมีหลายเส้นทาง เพราะทุกเส้นทางล้วนพาไปเห็นจุดเดียวกัน อย่างเช่นที่พระพุทธเจ้าแจกแจงไม่ผิดเพี้ยน
    เป็นความแยบคายในการแจกแจงธรรม

    ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะค้นพบเส้นทางแบบนี้ได้
    กราบและทึ่งในการค้นพบของท่านจริงๆ
     
  11. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    piccola ลองดูเรื่อง อุปกิเลส 16

    พอมีสมาธิมากขึ้น การพิจารณาก็จะขยับจาก กิเลสหลักขึ้นไปหา กิเลส ย่อย
     
  12. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    หมายถึงพวกนิสัยสันดาน ใช่มั้ยคะ
    พวกนี้แนนก็เห็นมันไหวๆขึ้นเช่นกันค่ะ
    พวกนิสัยที่มันฝังแน่น มีอะไรมากระทบจี้จุด
    นิสัยพวกนี้มันจะสะเทือนออกมาให้เห็นเป็นระยะ

    พอเห็นมันดันออกมา
    มันจะมีอารมณ์หงุดหงิดเจือตามมาด้วย
    เหตุเพราะไม่อยากให้มันมี เหตุเพราะอยากดี
    ก็ต้องตามรู้อารมณ์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน
     
  13. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๘- ๕๐

    อุปกิเลส ๑๖

    [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
    ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง]
    ๒. พยาบาท [ปองร้ายเขา]
    ๓. โกธะ [โกรธ]
    ๔. อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้]
    ๕. มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน]
    ๖. ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า]
    ๗. อิสสา [ริษยา]
    ๘. มัจฉริยะ [ตระหนี่]
    ๙. มายา [มารยา]
    ๑๐. สาเฐยยะ [โอ้อวด]
    ๑๑. ถัมถะ [หัวดื้อ]
    ๑๒. สารัมภะ [แข่งดี]
    ๑๓. มานะ [ถือตัว]
    ๑๔. อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน]
    ๑๕. มทะ [มัวเมา]
    ๑๖. ปมาทะ [เลินเล่อ] เหล่านี้เป็น ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.

    [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ละพยาบาท โกธะ อุปนาหะมักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละ อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะมานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมอง ของจิตเสีย.

    [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาทโกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะอติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต ด้วยประการ ฉะนี้แล้ว ก็ละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรม เครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้แล้ว

    ในกาลนั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน (แล)

    เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์ สาวกของพระ ผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น

    เป็นผู้ควรรับ เครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำ อัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุ ที่ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ ความรู้ แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระธรรม

    เราเป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะส่วน แห่งกิเลส นั้นๆ อันเราสละ ได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้วดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิด ปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น.

    [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา อย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลี ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ ครั้นมาถึงน้ำอันใส ย่อมเป็นผ้า หมดจด สะอาด อีกอย่างหนึ่ง ทองคำครั้นมาถึงปากเบ้า ย่อมเป็นทองบริสุทธิ์ ผ่องใส ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉัน บิณฑบาต ข้าวสาลี ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาต ของ ภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย.

    [๙๗] ภิกษุนั้น มีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน มีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ด้านขวางทั่วโลก ทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่ สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง

    ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีต มีอยู่ ธรรม เป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้ มีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็น อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน


    ....................................................

    พูด ง่ายๆว่า อุปกิเลส มีกันทุกคน ที่ ยังไม่บรรลุธรรม

    มียันไปถึงพระอนาคามี

    เมื่อ ยังเป็นผู้ฝึก ฝน

    อ่านดูแต่ละ ข้อ
    บางข้อ ก็เป็น กิเลสส่วนหยาบ มีศีลเป็นตัวกำกับ (ตทังคปหาน)
    บางข้อ เป็นกิเลสอย่างกลาง ข่มได้ด้วยสมาธิสมถะ(วิกขัมภนปหาน)
    บางข้อ เป็น กิเลสส่วนละเอียด ตัดได้ด้วยปัญญา(สมุปเฉทปหาน)

    ในการจะละ จะกำจัดกิเลส ให้เป็นสมุปเฉท
    มันเป็นหน้าที่ ของ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มันสัมปยุติกันอยู่แล้ว เป็นผลงาน

    ไม่มีอะไรจะต้องไปกังวล

    ในวิธี สติปัฏฐาน ในหมวดจิต
    จิตมีราคะให้รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทษะให้รู้ว่าจิตมีโทษะ เป็นต้นฯ
    นี่ก็เป็นการฝึกตามพระพุทธเจ้าสายตรงอยู่แล้ว

    เมื่อมีความเพียร มีการเจริญให้มาก ในสติปัฏฐาน
    ก็ย่อม รู้ชัด รู้เท่าทัน ในอุปกิเลสไปโดบปริยายอยู่แล้ว

    ลงตามพระสูตรนี้เป๊ะ

    ............................................................
     
  14. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    บทสนทนา หลวงปู่หล้า เขมะปัตโต กับ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    ฟังสักสามรอบ
     
  15. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    รู้แต่เขา ไม่รู้เรา

    รู้แต่เรา ไม่รู้เขา

    รู้ทั้งเขา รู้ทั้งเรา

    ร้อยครั้งรบ ชนะครบทั้งร้อยครั้ง
     
  16. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    มันคงขึ้นอยู่กับการตีความสิ่งที่ฟัง ฟังสิบก็ได้สิบ ฟังร้อยก็ได้ร้อย ฟังจบรู้เลยว่า เราไม่ใช่ฐานะผุ้จะตีความสิ่งที่พระเถระอริยะเจ้าทั้งสองสนทนากัน แต่รู้ว่าไม่ใช่เรื่องที่ เข้าใจโดยแค่ฟังเพียงเท่านี้แน่นอน มีประโยคให้ได้คิดและพิจารณาหลายประโยค แต่ไม่สามารถตีความออกมาตรงๆ ได้ว่า ท่านพูดทำไม
     
  17. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    หลวงปู่หล้า ท่านออกตัวทางสุขวิปัสโก

    แต่ท่านมีปัญญามาก ท่านเรียนปริยัติก็เพียง นักธรรมเอก

    ประโยคเด็ดมีเยอะครับ
    มิจฉาทิฐิไม่กล้าฟัง เพราะจะหน้าแหก
    " ใครว่าจิตไม่เกิดไม่ดับ ผู้นั้นเป็นมิจฉาทิฐิ "
    "พระอรหันต์ตายแล้วบัญญัติจิตไม่ถูก" งงมะละ

    มีหลายช๊อต ก้แค่ทวน ให้ คนบางคน และจะแม่นยำยิ่งขึ้น
    พละจะเกิดขึ้นเมื่อฟังจบ สามรอบ สัมมาทิฐิก็จะบริบูรณ์ขึ้น

    หลาย คน บอก อยากได้ ของเก่า แต่ไม่รู้วิธีเรียกของเก่า

    สติปัฏฐาน นี่ ตัวเรียกและเชื่อม ของเก่าอย่างดีสะด้วย
    ลองได้ รู้ได้ด้วยตนเอง สอนต่อก้ได้ ชิวชิว เล้ย
     
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    น้องณุ ใช่พี่คนที่หลวงปู่หล้าถามใช่พี่ฝรั่งที่อุปฐากหลวงปู่บุญฤทธิ์ใช่ป่าวคับ พี่จำได้ว่า พี่ที่เป็นโยมอุปฐากหลวงปู่บุญฤทธิ์ เป็นฝรั่ง ใช่ไหม พี่คนนั่น
     
  19. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พี่ไม่งง นะเพราะพี่รู้ว่าไม่อาจรู้ได้ ส่วนบารมี พี่รู็แค่มันแทบจะหลุดไม่ได้ ถ้าเราเกิดมาเพื่อทำอะไรบางอย่าง เรียกของเก่า พี่ก็ไม่คิดเพราะว่า ทำเพิ่มหรือแก้ไข จึงไร้เหตุผลที่จะเอาของเก่ามาทำอะไร ถ้ามันมีจริงคงมีมาแล้วแต่แรก แต่มีมาแล้ว ไม่รู้จะทำไปทำไม จึงไม่เคยคิดแบบนั้น แต่ของเก่าที่พี่รู้คือ กิเลส ล้วนๆ เลย
     
  20. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    เอ.. อันนี้ผมก็ไม่ทราบอ่ะฮับ
    เพียงแต่ชอบ หลวงปู่บุญฤทธิ์ เคยไปกราบท่านก้แค่ครั้งเดียวเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...