ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    พบชายแพร่ไวรัสไข้เลือดออกผ่านเพศสัมพันธ์รายแรกของโลก

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    “สงครามแย่งน้ำ” ส่อแววปะทุเหนือเขื่อนแม่น้ำไนล์แห่งใหม่
    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 - 10:51 น.
    “สงครามแย่งน้ำ” ส่อแววปะทุเหนือเขื่อนแม่น้ำไนล์แห่งใหม่ – BBCไทย
    โครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์บนสาขาของแม่น้ำไนล์ในประเทศเอธิโอเปีย กำลังเป็นชนวนก่อความขัดแย้งรุนแรงระหว่างสามชาติในดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา โดยการแย่งชิงทรัพยากรน้ำและอิทธิพลการเมืองในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ครั้งนี้มีเดิมพันสูงยิ่ง และส่อแววว่าอาจนำไปสู่ “สงครามแย่งน้ำ” ได้ หากอียิปต์ เอธิโอเปีย และซูดาน ไม่สามารถหาทางออกด้วยการเจรจา

    โครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ Grand Ethiopian Renaissance Dam (GERD ) ตั้งอยู่บนแม่น้ำบลูไนล์ (Blue Nile)ซึ่งเป็นสาขาต้นน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำไนล์ โดยแม่น้ำบลูไนล์ซึ่งมีกำเนิดจากแถบเขาสูงของเอธิโอเปียนั้น ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำไวท์ไนล์ (White Nile) ที่กรุงคาทูมของประเทศซูดาน และรวมตัวเป็นแม่น้ำไนล์สายใหญ่ที่ไหลผ่านอียิปต์ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนต่อไป

    c.files_.bbci_.co_.uk_100154224_ethio-blue-nil-b553b774cafc0ceac1a56163bfaeae9f54154c97.jpg
    BBC
    น้ำตกบลูไนล์อยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบทานา (Tana) ซึ่งเป็นต้นน้ำในแถบเขาสูงของเอธิโอเปีย
    เขื่อนแห่งใหม่ที่เป็นความหวังในการพัฒนาเศรษฐกิจและฟื้นฟูประเทศเอธิโอเปียนี้ นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งที่ดำเนินมานานหลายปี แม้ว่ารัฐบาลเอธิโอเปียจะได้ลงมือสร้างเขื่อนไปจนเกือบเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม

    ฝ่ายอียิปต์นั้นมีความกังวลว่า การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ต้นน้ำในเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของปริมาณน้ำถึง 85% ในแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ จะกระทบต่ออำนาจการควบคุมจัดสรรทรัพยากรในภูมิภาค รวมทั้งสั่นคลอนอิทธิพลทางการเมืองของอียิปต์เหนือลุ่มแม่น้ำไนล์ที่มีมานานหลายพันปีได้

    ในสายตาของอียิปต์แล้ว โครงการใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำไนล์ซึ่งเป็น “เส้นเลือดใหญ่” หล่อเลี้ยงชีวิตของประชากรเกือบร้อยล้านคน ย่อมจะต้องถูกคัดค้านอย่างถึงที่สุด แต่มุมมองนี้สวนทางกับความใฝ่ฝันของเอธิโอเปีย ที่ต้องการยกระดับทางเศรษฐกิจให้ประเทศพ้นความยากจน และก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

    c.files_.bbci_.co_.uk_100154225_ethio-dam-2_97-8ff51c56942ea6901499530ff6ba66fe7c53457f.jpg
    BBC
    เขื่อนแห่งใหม่ในเอธิโอเปียจะปล่อยให้มีน้ำไหลไปยังประเทศปลายน้ำตลอดปี
    แน่นอนว่าแผนการฟื้นฟูประเทศดังกล่าวต้องการไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรวมทั้งรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในทวีปแอฟริกาอีกเท่าตัว ในอีก 30 ปีข้างหน้า

    นายเซเลชี เบเคเล รัฐมนตรีด้านทรัพยากรน้ำ ชลประทาน และไฟฟ้าของเอธิโอเปียบอกว่า “โครงการนี้เป็นโครงการหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ เราไม่ได้ต้องการจะควบคุมการไหลของแม่น้ำไนล์ แต่มุ่งเน้นเปิดโอกาสให้การพัฒนาด้านพลังงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ปลายน้ำด้วย”

    ผลประโยชน์ที่ว่านั้นไม่ต่างจากส้มหล่นสำหรับประเทศซูดาน ซึ่งเป็นดินแดนที่กระแสธารบลูไนล์จากเอธิโอเปียไหลผ่านก่อน แล้วจึงจะไปถึงอียิปต์เป็นลำดับสุดท้าย โดยซูดานสนับสนุนโครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งใหม่นี้อย่างสุดตัว

    c.files_.bbci_.co_.uk_100157792_egyptsudanethi-cc089d394aaf5a412040786e0b26d2a6b7e77947.png
    BBC
    แผนภาพแสดงเขตแดนอียิปต์ ซูดาน เอธิโอเปีย
    เขื่อน GERD อยู่ห่างจากชายแดนเอธิโอเปีย-ซูดานเพียงไม่กี่กิโลเมตร ทั้งยังมีการติดตั้งเสาโยงสายส่งไฟฟ้าแรงสูงไปยังซูดานเรียบร้อยแล้ว รอเพียงการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเริ่มขึ้น ชาวซูดานก็จะได้ใช้พลังงานไฟฟ้าราคาถูกในทันที

    เขื่อนของเอธิโอเปียยังจะช่วยให้การควบคุมกระแสน้ำและการชลประทานของซูดานดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากในปัจจุบันซูดานมีปัญหาระดับน้ำขึ้นน้ำลงต่างกันถึง 8 เมตร ทำให้บริหารจัดการน้ำได้ยาก แต่ด้วยการทำงานของเขื่อน GERD ความแตกต่างของระดับน้ำจะลดลงเหลือเพียง 2 เมตรเท่านั้น และเอธิโอเปียรับประกันด้วยว่าจะมีกระแสน้ำไหลไปยังซูดานตลอดทั้งปี

    นายโอซามา ดาอูด อับเดลลาติฟ เจ้าของกิจการเครือบริษัท DAL Group ซึ่งทำธุรกิจการเกษตรและบริหารโครงการชลประทานจำนวนมากในซูดาน มองว่าการสร้างเขื่อน GERD เป็นเสมือนพรวิเศษสำหรับประเทศของเขา แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า แม่น้ำไนล์นั้นคือชีวิตและหัวใจของอียิปต์ จึงไม่แปลกที่จะต่อต้านและมีความหวาดระแวงต่อโครงการนี้

    ดร. ราเวีย ทอว์ฟิก นักวิชาการชาวอียิปต์ในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งของเยอรมนีแสดงความเห็นว่า “ภัยต่อความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ ก็คือภัยคุกคามต่ออธิปไตยของอียิปต์ด้วย ระเบียบใหม่ของอำนาจต่อรองทางการเมืองในภูมิภาคกำลังจะเกิดขึ้น โครงการเขื่อนของเอธิโอเปียได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างไปทั้งหมด”

    “เป็นครั้งแรกที่เอธิโอเปียมีอำนาจเหนือกว่า ทั้งอำนาจทางกายภาพที่สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำไนล์ และอำนาจทางเศรษฐกิจที่สามารถจะระดมเงินทุนภายในประเทศมาดำเนินโครงการขนาดใหญ่ได้ โดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ”

    อย่างไรก็ตาม “เงินทุนภายในประเทศ” ที่เอธิโอเปียหามาเพื่อการสร้างเขื่อนนั้น รวมถึงเงินเดือนจากพนักงานของรัฐที่ถูกตัดลดลงถึงหนึ่งเดือนต่อปี เงินจากการขายสลากกินแบ่ง และพันธบัตรรัฐบาลด้วย

    c.files_.bbci_.co_.uk_100094008_976-c-1-fb06eb07b359abcdb6afb7f09c4806bc24038227.jpg
    Getty Images
    แม่น้ำไนล์ขณะไหลผ่านเมืองอัสวานซึ่งเป็นจุดสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ของอียิปต์
    ด้านนายโมฮัมเหม็ด อับเดล อาตี รัฐมนตรีด้านทรัพยากรน้ำและชลประทานของอียิปต์ แสดงความโกรธเกรี้ยวต่อโครงการเขื่อน GERD อย่างชัดเจนว่า “เราเป็นชาติที่ต้องรับผิดชอบประชากรเกือบ 100 ล้านชีวิต หากปริมาณน้ำที่ไหลมาสู่อียิปต์ลดลงไปเพียง 2% นั่นเท่ากับว่าเราจะสูญเสียพื้นที่ทำการเกษตรถึง 2 แสนเอเคอร์”

    “พื้นที่เอเคอร์หนึ่งสามารถจะเลี้ยงดูครอบครัวขนาดกลางที่มีสมาชิกราว 5 คนได้ หากเราเสียมันไป นั่นหมายความว่าผู้คนกว่าหนึ่งล้านคนจะต้องตกงาน ไม่มีที่ดินทำกิน นี่ถือเป็นเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศเลยทีเดียว”

    อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการกักเก็บน้ำให้ท่วมพื้นที่เหนือเขื่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องทำก่อนจะเริ่มใช้งานเขื่อนได้

    หากทางเอธิโอเปียเร่งมือ เพื่อให้เขื่อนกักเก็บน้ำได้เต็มพื้นที่กว้างราว 1,570 ตารางกิโลเมตรภายใน 3 ปี การไหลของแม่น้ำไนล์ไปยังปลายน้ำจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน แต่การกักน้ำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาจใช้เวลายาวนาน 6-7 ปี ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่เอธิโอเปียต้องการเช่นกัน

    c.files_.bbci_.co_.uk_100154226_ethio-lake-tan-8b85f516f48414f9c9b18c74307cf78914bcda37.jpg
    BBC
    ชาวประมงเอธิโอเปียกับปลาที่จับได้จากแม่น้ำบลูไนล์
    จนถึงขณะนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังตกลงกันไม่ได้ ซูดานเองก็มีความขัดแย้งกับอียิปต์เรื่องการเป็นประเทศต้นน้ำที่ใช้น้ำปริมาณมาก และจะยิ่งใช้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อเขื่อน GERD สร้างเสร็จ

    ปัจจุบันการก่อสร้างเขื่อนคืบหน้าไปถึง 2 ใน 3 แล้ว แม้อียิปต์จะไม่ชอบใจนัก แต่ก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ในขณะนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้อียิปต์ไม่สามารถมุ่งความสนใจต่อการคัดค้านโครงการเขื่อนในช่วงก่อนหน้านี้ได้

    ทางออกเดียวที่เหลืออยู่ของอียิปต์ในตอนนี้คือการใช้กำลังทหาร ซึ่งออกจะเป็นมาตรการที่รุนแรงสุดขั้วจนเกินไป แต่ในวันข้างหน้าไม่มีใครทราบได้ว่า สถานการณ์จะดำเนินไปในทิศทางใด เพราะนอกจากประเด็นการแย่งชิงทรัพยากรและการแข่งขันทางเศรษฐกิจแล้ว เรื่องของกระแสชาตินิยม ดุลอำนาจ และการแข่งขันกันแผ่อิทธิพลการเมืองในภูมิภาค สามารถจะทำให้เกิดความพลิกผันที่คาดคิดไม่ถึงขึ้นได้เสมอ

    https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3039743
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2019
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตายแล้ว 3 ไฟป่าออสเตรเลีย ลุกไหม้ 100 จุดเผาบ้าน 150 หลัง

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกำลังกลืนชายหาดของเปอร์โตริโก

    Sea level rise is swallowing Puerto Rico's beaches


    .
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    John Traczyk

    8 พ.ย. 2019 น้ำพุร้อนสตีมโบทในเยลโลว์สโตนส่งเสียงครั้งที่ 43 ในปีนี้ ครั้งที่ 75 นับตั้งแต่ตื่นขึ้นมาในปี 2561

    IMG_4926.JPG

    November 8, 2019. Steamboat Geyser in Yellowstone erupts for a record 43rd time this year. 75th time since awakening in 2018.

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ท้องฟ้าสีชมพูและสีแดงในรัฐ#Odisha ประเทศอินเดีย วันที่ 8 พฤศจิกายน ถูกตำหนิในพายุหมุนเขตร้อน Bulbul

    รูปภาพ @https: //t.co/k8df6GgOi3

    Pink and reddish skies in the Indian State of #Odisha, November 8, was blamed on the Tropical Cyclone Bulbul.

    Photos @https://t.co/k8df6GgOi3

    https://m.timesofindia.com/city/bhu...oots-trees-in-odisha/articleshow/71982342.cms

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไซโคลน “บุลบุล” ขึ้นฝั่ง อินเดีย-บังกลาเทศอพยพคนครึ่งล้าน ดับแล้ว 2

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    "ไซโคลนบุลบูล" พัดถล่มชายฝั่งอินเดีย ทำสถิติพายุลูกที่ 4 ฟื้นชีพไม่ยอมตาย !!

    นักวิชาการยกฉายาให้ "พายุบุลบูล" เป็น "พายุฆ่าไม่ตาย" หลังข้ามฝั่งมหาสมุทรเดิมจาก "พายุแมตโม" ยังกลายมาเป็นพายุไซโคลนได้อีกครั้งในประวัติศาสตร์

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า พายุไซโคลนบุลบูล พายุรุนแรงระดับ 2 ได้เคลื่อนตัวใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของอ่าวเบงกอล ใกล้กับนครโกลกาตา เมืองเอกของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ส่งผลทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นในพื้นที่ คาดว่าพายุลูกนี้จะเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบังกลาเทศต่อไป

    พายุไซโคลนบุลบูล กลายเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก เนื่องจากพายุลูกนี้เป็นร่างอดีตของ "พายุโซนร้อนแมตโม" ที่ก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลฟิลิปปินส์ ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ก่อนจะพัดขึ้นชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม เข้าสู่ประเทศกัมพูชา และสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในที่สุด

    แต่หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุแมตโม ที่ทำท่าจะสลายตัวระหว่างเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย หย่อมฝนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนตัวไปตามทางทิศตะวันตก ลอยเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ และลงสู่ทะเลอันดามันตามลำดับ

    เมื่อหย่อมฝนที่เป็นร่างอดีตของพายุแมตโม ได้สัมผัสกับอุณหภูมิบนผิวน้ำของทะเลอันดามัน ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางธรรมชาติพัฒนากลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง ก่อนจะเคลื่อนตัวออกไปสู่อ่างเบงกอล และปรับระดับความรุนแรงกลายเป็นพายุดีเปรสชันและพายุไซโคลนกำลังแรงในที่สุด

    พายุแมตโมจึงได้ชื่อใหม่เป็น พายุไซโคลนบุลบูล ตามการตั้งชื่อพายุหมุนโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในนิวเดลี พายุลูกนี้มีกำลังความเร็วลมสูงสุดที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อให้เกิดคลื่นลมสูงกว่า 7 เมตร บริเวณทะเลอ่าวเบงกอล และมีทิศทางเคลื่อนตัวขึ้นทิศเหนือ ขนานไปกับชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย และเคลื่อนตัวเข้าใกล้นครโกลกาตา ในวันนี้ (9 พ.ย.)

    ทางการอินเดียได้ประกาศแจ้งเตือนภัยจากพายุลูกนี้ หลายพื้นที่เสี่ยงเกิดเหตุดินโคลนถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน อีกทั้งพายุลูกนี้อาจจะก่อเหตุให้ปรากฏการณ์สตอร์มเซิร์จขึ้นได้ด้วย

    นักวิชาการระบุว่า พายุแมตโม หรือปัจจุบันคือ พายุบุลบูล นับเป็นพายุไซโคลนลูกที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ที่ได้พัฒนาฟื้นคืนชีพจากพายุโซนร้อนลูกเดิม ข้ามผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก่อตัวเป็นพายุได้อีกครั้งในทะเลอันดามัน อีกทั้งยังเป็นพายุลูกที่ 2 ในรอบเกือบ 60 ปี ที่ข้ามฝั่งมาเป็นกลายพายุไซโคลนกำลังแรง

    ขอขอบคุณ
    ข้อมูล :Aljazeera

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Overview - โรงงาน 150 ล้านลอยแพคนงาน ประยุทธ์สะกดจิตตัวเอง อ้างเศรษฐกิจไม่พัง แค่โตช้าอีกสองปี



     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สรรพากร เดินหน้าเก็บภาษี 2.11 ล้านล้านบาท เน้นการขยายฐานการเก็บภาษีทั้งบุคคลธรรมดา พร้อมใช้ไม้แข็งกลุ่มเลี่ยงภาษี

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ประชุมเจ้าหน้าที่สรรพากรทั่วประเทศ เพื่อมอบนโยบายการเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2563 ให้ได้ตามเป้าหมาย 2.11 ล้านล้านบาท โดยให้อำนวยความสะดวกผู้เสียภาษี ทำให้การเสียภาษีง่าย และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บเหมือนปีงบประมาณ 2562 ทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีได้เกินเป้าหมาย 2 ล้านล้านบาท ถึง 9,310 ล้านบาท เป็นการเก็บภาษีเกินเป้าปีแรกนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ที่เก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายมาตลอด

    สำหรับการเก็บภาษีงบประมาณ 2563 จะเน้นการขยายฐานการเก็บภาษีทั้งบุคคลธรรมดา ที่ตอนนี้มีผู้อยู่ในระบบภาษี 11.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10% จากปีงบประมาณก่อนหน้า จากผู้ที่ควรอยู่ในระบบ 14 ล้านคน ซึ่งยังมีผู้อยู่นอกระบบภาษีประมาณ 3.-4 ล้านคน ที่กรมสรรพากรต้องพยายามดึงเข้ามาเสียภาษี จะทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากขึ้น

    นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังขยายฐานการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ตอนนี้มีผู้จะทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ 6 แสนราย มีผู้เสียภาษี 4.6 แสนราย ซึ่งจะมีการตรวจสอบว่าผู้ที่ไม่เข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพราะสาเหตุใด

    “กรมสรรพากรจะใช้ทั้งไม้อ่อน คือ ชักชวนให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเข้ามาอยู่ในระบบภาษีให้ถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีที่อยู่ในระบบ รวมถึงใช้ไม้แข็งสำหรับคนที่เลี่ยงไม่เสียภาษี โดยการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งการเก็บภาษีของกรมสรรพากรไม่มีการรีดภาษีรายเล็กรายย่อย ทุกคนต้องเสียภาษีให้ถูกต้องเป็นธรรมเท่ากัน” นายเอกนิติ กล่าว

    นายเอกนิติ กล่าวว่า ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ที่มีรายได้เกิน 2,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.46% ของผู้เสียภาษีนิติบุคคล แต่มีสัดส่วนการเสียภาษีถึง 64% ของภาษีนิติบุคคลที่เก็บได้ล่าสุด 2.4 แสนล้านบาท นอกจากนี้เป็นผู้ประกอบการรายได้เกิน 500 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท มีผู้เสียภาษี 1% ของผู้เสียภาษี และมีสัดส่วนการเสียภาษี 15% ของภาษีที่เก็บได้ จะเห็นว่าการเก็บภาษีส่วนใหญ่เป็นการเก็บภาษีได้จากรายใหญ่ ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการรายเล็กหรือเอสเอ็มอี

    อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเร่งพิจารณ พ.ร.บ. อี บิซิเนส (e-Business) ที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบการออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่มีรายได้เกิดขึ้นในไทย โดยร่าง พ.ร.บ. อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยจะเร่งให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุด เพราะจะทำให้การเก็บภาษีของกรมสรรพากรได้มากขึ้น

    สำหรับมาตรการลดหย่อนภาษีที่จะมาแทนการซื้อกองทุน LTF และการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% กรมสรรพากรอยู่ระหว่างการเสนอให้ นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง พิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งมีการเสนอหลายแนวทาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพราะมาตรการ LTF ที่ผ่านมาพบว่าผู้มีรายได้สูงได้ประโยชน์ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    ที่พักกว่า 30 แห่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหลังจากฝนตกหนักในวันเสาร์นี้ในปานามา วีโจ # 9 พ.ย.


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ไฟป่า California ใน Hollywood Hills ใกล้กับ Universal City # 9 พ.ย.


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    เมฆแปลกเหนือฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา #5 พ. ย.


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ภูเขาไฟโคลนต่างๆ เป็นกรวยโคลนขนาดเล็กที่ประกอบด้วยดินน้ำและก๊าซ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการผสมของน้ำใต้ดินกับโคลนเมื่อมันขึ้นสู่ผิวน้ำเนื่องจากกิจกรรมความร้อนใต้พิภพ 86% ของก๊าซที่ปล่อยออกจากโครงสร้างเหล่านี้ประกอบด้วยมีเธน การก่อตัวของภูเขาไฟโคลนมักเกี่ยวข้องกับเขตมุดตัว อย่างไรก็ตามมีรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมของพวกเขา โดยทั่วไปโครงสร้างเหล่านี้มีความสูง 1-2 เมตรและกว้าง 1-2 เมตร ความสูงสูงสุด 700 เมตรและกว้างสูงสุด 10 กม. ภูเขาไฟโคลนที่รู้จักกันดีที่สุดในโลกพบได้ในอาเซอร์ไบจาน


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ก้อนหินจากอวกาศเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่ 50,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (22 กม. ต่อวินาที) ส่องสว่างท้องฟ้าเหนือรัฐแทสเมเนียเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    เนินเขาในพื้นที่ของ sukamenanti ถล่มทลาย #ผู้อยู่อาศัย ในอินโดนีเซีย ที่เห็นเกิดตื่นตระหนกรีบหลบหนีทันใดนั้น #30 ต. ค.


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ลูกเห็บที่ไม่เคยมีมาก่อนใน bandar abbas อิหร่าน #9 พ. ย.


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ฝนและลูกเห็บตกหนักในหมู่บ้าน Shade Khash จากเมือง Bandarlengeh


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พวยน้ำบนชายฝั่งตะวันออกของช่องแคบ hormuz, อิหร่าน #9 พ. ย.


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    นี่คือพลังของ Cyclon BulBul อันทรงพลังในอินเดีย


     

แชร์หน้านี้

Loading...