นั่งสมาธิแล้วอยู่ดีดีไม่หายใจ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย marutnacpaladfg, 2 มกราคม 2009.

  1. marutnacpaladfg

    marutnacpaladfg Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +98
    ผมนั่งสมาธิแบบภาวนานะมะพะธะผมก็ลองดูครับ นั่งไปนั่งมากายมันจะหยุดหายใจ แต่สภาวะนั้นรู้สึกว่าถ้าไม่หายใจก็ทนอยู่ได้ แล้วตัวก็สั่น ผมกลัวจะตายเลยถอนกลับมา อยากทราบว่าถ้านั่งต่อไปจะตายมั้ยครับ
     
  2. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    ไม่ตาย
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เอ...ตั่งคำถามไว้อีกหน้าหนึ่งด้วยรึเปล่านะ....ไม่แน่ใจว่าตอบไปแล้วนะคนนี้....
    ไม่ตายครับ.....ทำกรรมฐานอย่ากลัวตาย....ไม่เคยเห็นใครทำกรรมฐานหายใจไม่ออกตาย....เป็นอาการสมาธิที่ละเอียดขึ้นครับ....เริ่มจะดีแล้วครับ....
     
  4. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    นั่งต่อ แล้วมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อ่ะนะครับจะยกจากหนังสือ วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ของหลวงพ่อนะครับ

    ๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป

    สามารถศึกษาอาการต่างในการปฏิบัติเพิ่มตามได้ตรงนี้เลยครับ
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=150
    โมทนาสาธุบุญครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2009
  6. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    โมทนาบุญด้วยค่ะ ตรงประเด็นมากๆ และเมื่อวานก็เพิ่งฟังเรื่องฌานของหลวงพ่อฤษีลิงดำไป เขียนได้ละเอียดดีค่ะ ขอให้มีความตั้งใจ ทำจริง กันนะคะ
    สาธุ ค่ะ
     
  7. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ตอบปัญหาธรรม
    (http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk723.html)

    ถาม มโนมยิทธิ คืออะไรครับ?

    ตอบ มโนมยิทธิก็คือการฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิอย่างที่เราฝึกอยู่นี่ ก็คือการฝึกมโนมยิทธิ แต่มโนมยิทธิเขามีวิธีการถ้าใครท่อง นะ มะ พะ ธะ แล้วตัวมันสั่นๆ นั่นคือมโนมยิทธิ ที่พวกปลุกพระนั้น เมื่อปลุกพระแล้วตัวสั่นขึ้นมานี่ไม่ให้เห็นนรก ไม่ให้เห็นสวรรค์ เพราะไม่มีผู้นำคือไม่มีผู้บอก
    มโนมยิทธินี่ใครคนหนึ่งมาภาวนา นะ มะ พะ ธะ พอรู้สึกว่า สั่นๆ ขึ้นนี่ เขาก็สังเกตุรู้แล้วว่า จิตกำลังเริ่มสงบสว่าง มีปิติเกิดขึ้นในช่วงนั้นเขาจะกรอกคำพูดคือคำสั่งเข้าไป เขาจะบอกว่า “ ทำตาให้สว่างมองไปไกลๆ แล้วจะเห็นโน่นเห็นนี่ “ แล้วเขาจะบอก ทีนี้พอบอกไปแล้ว ในขณะนั้นจิตของผู้ภาวนามันจะสะลึมสะลือครึ่งหลับครึ่งตื่น ไม่เป็นตัวของตัวเอง ลอยเคว้งคว้างอยู่ในเมื่อได้ยินคำสั่งแล้วจิตมันจะยึดคำพูดทันที พอจิตมายึดคำพูด ต่อไปผู้กำกับการแสดงสั่งไปอย่างไร จิตดวงนี้จะปฏิบัติตาม บอกว่าให้ไปข้างหน้าไปดูนรก หรือไปดูสวรรค์ แล้วผู้ภานาจะรู้สึกว่าเขามีกายเดินออกไปจากร่างของเขา แม้ว่าร่างนี้จะสั่นอยู่อย่างนี้ แต่ความรู้สึกในทางจิตของเขาเหมือนกับเขาเดินเที่ยวไปในที่ต่างๆ ไปดูนรกก็รู้สึกว่าไปเดินอยู่ที่ขอบปากหม้อนรกโน่นแหละ ไปดูสวรรค์ไปย่ำอยู่ที่ปราสาทวิมานของเทวดา ความรู้สึกของเขาจะเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นแบบฝึกสมาธิกับการสะกดจิต
    อย่างเราๆ นั่งสมาธิกันอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าภาวนาพุทโธๆ ๆ เป็นต้น แล้วก็มีผู้คอยกล่าวนำ ให้ทำจิตให้สงบ ให้ทำจิตให้สว่าง กล่อมกันอยู่อย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบสว่างแล้วจะเห็นโน่นเห็นนี่ แล้วกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกจะเกิดภาพนิมิตขึ้นมาทันที ต่อไปถ้าหากสมมติว่าผู้ภาวนามีอาการสั่น ปิติกำลังเกิด ยิ่งสั่งให้ไปที่ไหนก็ไปได้ ไปดูอะไรที่ไหนได้ทั้งนั้น อันนี้คือมโนมยิทธิ มโนมยิทธิกับการฝึกสมาธิอย่างเดียวกัน อย่าว่าแต่มโนมยิทธิกับสมาธิก็ฝึกอย่างเดียวกัน แม้แต่พิธิเชิญวิญญาณเข้าประทับทรง ก็ฝึกอย่างเดียวกัน ผู้ที่เชิญวิญญาณเข้ามาทรง อย่างสมมติว่าจะทรงวิญญาณพระศิวะ เขาก็ให้นึกในใจว่า ศิวะๆๆ จนจิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วก็มีปิติ มีความสุขสบายเหมือนกัน กับเราทำสมาธิธรรมดาๆ เพราะความคิดและความตั้งใจจะเชิญวิญญาณมาประทับทรง จิตมันก็ส่งกระแสออกไปข้างนอก หลังจากที่เกิดความสงบแล้วก็มองหาตัววิญญาณประเดี๋ยวร่างของวิญญาณที่เราเรียกหานั้นจะปรากฏรูปร่างมายืนอยู่ต่อหน้า แล้วผู้ทำพิธีการเชิญนั้นก็จะน้อมจิตน้อมใจให้วิญญาณเข้ามาประทับทรง
    เมื่อวิญญาณเข้ามาถึงตัว นิมิตที่มองเห็นด้วยตาหายไป แต่ความรู้สึกภายในตัวจะมีความรู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบหน่วงไปทั้งตัว ปิติและความสุขซึ่งมีอยู่ก่อนนี้หายไปหมดสิ้น ความรู้สึกอันเป็นส่วนตัวนั้นก็หายไป จิตตกอยู่ในอำนาจของวิญญาณที่มาประทับทรงต่อไปนั้นแล้วแต่วิญญาณจะพาไป ให้สมาธิเหมือนกันหมด


    ถาม ที่มองเห็นเป็นพระศิวะนั้น จะใช่วิญญาณของพระศิวะจริงๆหรือไม่?
    ตอบ มันเป็นจิตสำนึกของผู้ทำพิธีเชิญ ถ้าหากว่าอยู่ๆ แล้ววิญญาณก็เข้ามาประทับทรงอันนั้นเรียกว่าผีสิง ผีสิงกับผีทรงนี้มันต่างกันถ้าหากไม่มีพิธีอัญเชิญแล้วมีวิญญาณมาทรงอันนั้นเขาเรียกว่าผีสิง แต่ทำพิธีอันเชิญเขาเรียกว่าเชิญวิญญาณ เชิญวิญญาณที่เข้ามาทรงส่วนใหญ่มันจะไม่เป็นความจริง แต่วิญญาณที่จะเข้ามาทรงนั่นมีจริงๆแต่ไม่ใช่วิญญาณของผู้นั้นมาทรง
    ยกตัวอย่าง เช่น มีพระองค์หนึ่งไปเห็นนายสิบตำรวจ ทำพิธีเชิญวิญญาณหลวงพ่อพระชัยมงคล จ. สมุทรปราการ ก่อนนี้เคยไปดูไปเห็นเขาทำพิธีทรงแล้ว เขาเกิดลาภผลขึ้นมา มีคนไปหาเขาไม่ขาด วันหนึ่งหลายร้อยทีเดียว พระองค์นี้ไปเห็นแล้วไปเลียนแบบเขาเอาเณรองค์หนึ่งมาทำพิธีเชิญวิญญาณท่านพ่อลีเข้ามาทรงแล้วก็เชิญแสดงธรรมอะไรต่ออะไร เพื่อโปรดญาติโยมทั้งหลาย เล่นเอาครูบาอาจารย์หรือญาติโยมเชื่อกันเป็นแถบๆไปเลย พอเสร็จแล้วหนักๆเข้าก็รู้สึกว่าสุภาพดี แต่ภายหลังเมื่อวิญญาณนี้แก่เข้า ก็แสดงอาการเหมือนๆกับว่าไม่ใช่พระ เคี้ยวหมากก็เคี้ยวๆๆเข้าไปสูบบุหรี่ก็คีบบุหรี่ทุกง่ามมือ ทำๆเหมือนอาการของผียังงั้น ภายหลังมาหลวงพ่อลองถามท่านอาจารย์ฝั้นดู “เป็นวิญญาณของท่านพ่อลีมาทรงจริงๆหรือ ถ้าหากวิญญาณท่านพ่อลีมาทรงจริงๆผมจะหยุดภาวนาไปตายแล้วไปเกิดเป็นผี ผมไม่เอาแล้ว ผมไม่เล่นด้วย” สท่านอาจารย์ฝั้นก็บอกว่า “อื้อ! มันจะแม่นอีหยังหนอวิธีการหากินเขามันไปเลียนแบบเขามา ท่านลีจะมาทรงมาเทริงอะไร มันเป็นวิธีการหากินของเขาเท่านั้น” นี่ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่าอย่างนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...