เสียงธรรม ประวัติ พระอานนท์เถระ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 16 ธันวาคม 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    praAnandhaafterBuddaparinippan.gif
    ประวัติ พระอานนท์เถระ
    พระอานนท์พุทธอนุชาโดยอ.วศิน อินทสระ เสียงอ่าน ท่านสุขฌาโน ฟังยาวๆ9.45 ชั่วโมง ไม่มีโฆษณาคั่น

    Siammelodie
    Dec 25, 2021

    พระอานนท์ เป็นพระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 500 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก(เลขาคนสนิทพระพุทธเจ้า)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2022
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    01 พระอานนท์พุทธอนุชา ณ เชตวันมหาวิหาร

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ
    "ข้าแต่พระผู้เป็นนาถาของโลก! เมื่อข้าพระองค์รับเป็นพุทธอุปฐากแล้ว ข้าพระองค์ทูลขอพระกรุณาบางประการ คือ

    ๑. ขอพระองค์อย่าได้ประทานจีวรอันประณีตที่มีผู้นำมาถวายแก่ข้าพระองค์เลย
    ๒. ขอพระองค์อย่าได้ประทานบิณฑบาต อันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
    ๓. ขอพระองค์อย่าได้ให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ๆ เดียวกันกับที่พระองค์ประทับ
    ๔. ขออย่าได้พาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ ซึ่งพระองค์รับไว้ "ดูก่อนอานนท์! เธอเห็นประโยชน์อย่างไรจึงขอเงื่อนไข
    ๔ ประการนี้"
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    ประวัติพระอานนท์เถระ

    คัดลอกจาก ประวัติพระอานนท์ ในสารานุกรม พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

    ประวัติในสมัยพระมหาสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พระเถระผู้เป็นพุทธปัฏฐากของพระมหาสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้า อมิโตทนศากยราช พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา

    ในเรื่องพระบิดาของท่าน มีหลักฐานหลายแห่งคัดค้านกันอยู่ เช่น อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อรรถกถาธรรมบท และอรรถกถาพุทธวงศ์ กล่าวว่า พระเจ้าอมิโตทนะ เป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะ

    ในมหาวัสตุ และพุทธประวัติของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ส่วนพระเจ้าอมิโตทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะ

    แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย กล่าวว่า พระเจ้าสุกโกทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหามามะ และพระอนุรุทธะ

    จากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ไม่ได้กล่าวว่า พระมารดาของท่านเป็นใคร มหาวัสตุแห่งเดียวเท่านั้นที่กล่าวถึงพระมารดาของท่านว่าทรงพระนามว่า มฤคี

    ท่านอรรถกถาจารย์ให้เหตุผลว่า ที่ท่านมีชื่อว่าอานนท์ก็เพราะว่าเมื่อท่านประสูติพระญาติทั้งหลายพากันสดชื่นรื่นเริงบันเทิงใจยิ่ง

    พระอานนท์เป็นพระภาดาของพระพุทธเจ้า และเป็นสหชาติกับพระพุทธองค์ด้วย ผู้เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า คือ ๑. พระนางพิมพาราหุลมาตา ๒. ฉันนอมาตย์ ๓. กาฬุทายิอมาตย์ ๔. พระอานนท์ ๕. กันถกอัสสราช ๖. ต้นมหาโพธิ์ ๗. ขุมทรัพย์ ๔ ทิศ

    เหล่าศากยกุมารทั้งหลายออกบวชตามเสด็จ

    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชและได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ นครกบิลพัสดุ์ ในพรรษาที่ ๒ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระนครกบิลพัสดุ์นั้น ได้มีพระญาติหลายองค์ออกทรงผนวชตามเสด็จยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ พระมหามานะ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ พระภัคคุ (ยุ. ภคุ) พระกิมิละ (ยุ. กิมพิละ) พระอานนท์และพระเทวทัตต์ ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากพระนครกบิลพัสดุ์ไปแล้ว พวกศากยะทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์กันว่า พวกท่านได้ให้โอรสของตน ๆ ซึ่งมอบถวายให้เป็นเพื่อนเล่นของเจ้าชายสิทธัตถะ ในคราวทำพิธีขนานพระนามนั้น ออกผนวชตามเสด็จได้ แต่ศากยกุมารเหล่านี้ชะรอยจะไม่ใช่เป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้ากระมัง? จึงไม่ออกผนวชตามเสด็จ พระมหานามะ ได้สดับคำวิพากษ์วิจารณ์นี้แล้ว ทรงรู้สึกละอาย จึงได้ปรึกษาพระอนุรุทธะ ว่า ในท่านทั้งสองนั้น ต้องออกผนวชองค์หนึ่ง ในที่สุดแห่งการสนทนา พระอนุรุทธะ ยอมออกผนวชตามเสด็จ จึงไปทูลลาพระมารดา แต่พระมารดาไม่ทรงอนุญาต ท่านได้ทูลอ้อนวอนจนพระมารดาทรงอนุญาต แต่ทรงวางเงื่อนไขไว้ว่า หากพระเจ้าภัททิยศากยราชพระสหายของท่านออกผนวชด้วย พระนางึงจะทรงอนุญาต พระอนุรุทธะได้พยายามชักชวนพระเจ้าภัททิยะ จนตกลงพระทัยออกผนวชด้วยกันต่อจากนั้น ท่านได้ชักชวนศากยกุมารอีก ๕ องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี กัปปกอมาตย์ด้วยเป็น ๗ คน ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้บรรพชาอุปสมบทตามประสงค์ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

    ครั้นอุปสมบทแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่านและพวกภิกษุผู้นวกะมาก ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวสอนท่านว่า "ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิว่า เป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาว มีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจก หรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่า เป็นเราเพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน

    จากนั้น ท่านพระอานนท์เล่าต่อไปว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยงท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่าท่านได้ตรัสรู้ธรรมซึ่งหมายถึงได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แห่งมัลลรัฐพอสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว ก็ได้เสด็จจาริกต่อไปยังกรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์ และพระภิกษุศากยะรูปอื่น ๆ ที่ผนวชพร้อมกับท่านก็ตามเสด็จไปด้วย ปรากฏว่าประชาชนชาวเมืองโกสัมพี นิยมนับถือท่านมากเช่นเดียวกับพระมหาเถระรูปอื่น ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้พระเทวทัตถ์ เกิดริษยาเพราะตนเองไม่มีใครถามถึงเลย

    พระอานนท์ถวายตัวเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    พระอรรถกถาจารย์ได้เล่าไว้ว่า ในสมัยปฐมโพธิกาลนั้น พระพุทธเจ้าหาได้มีพระภิกษุผู้อุปัฏฐากเป็นประจำไม่ บางคราวพระนาคสมาละ (นาคสุมนะ) เป็นผู้ถือบาตรและจีวรของพระพุทธองค์ในคราวเสด็จจาริกไปโปรดสัตว์ บางคราวพระนาคิตะ บางคราวพระอุปวาณะ บางคราวพระสุนักขัตตะ บางคราวสามเณรจุนทะ บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระราธะ บางคราวพระเมฆิยะ เป็นอยู่อย่างนี้เป็นเวลา ๒๐ พรรษา

    ภิกษุผู้อุปัฏฐากละทิ้งพระพุทธองค์

    การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีพุทธุปัฏฐากเป็นประจำนี้ ได้ก่อให้เกิดความลำบากแก่พระองค์มาหลายครั้ง ดังเช่น ครั้งหนึ่งพระนาคสมาละเป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์ ครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จทางไกลไปถึงทาง ๒ แพร่ง ท่านพระนาคสมาละ หลีกลงจากทางทูลว่า ท่านจะไปทางนี้ พระองค์ตรัสว่า พระองค์จะเสด็จไปอีกทางหนึ่ง ขอให้พระนาคสมาละไปทางเดียวกับพระองค์ แต่ท่านไม่ยอมกราบทูลว่า ท่านจะไปตามทางของท่าน ขอให้พระองค์ทรงรับเอาบาตรจีวรของพระองค์ไป แล้วท่านได้วางบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าไว้บนพื้นดิน เดินจากไปแต่ลำพัง พระพุทธเจ้าจึงจำต้องถือบาตรและจีวรเสด็จไปแต่ลำพังพระองค์เดียว

    อีกครั้งหนึ่ง พรเมฆิยะเป็นอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปยังชันตุคาม เขตปาจีนวังสะกับพระเมฆิยะ ครั้นพระองค์เสด็จไปถึงที่นั้นแล้ว ท่านพระเมฆิยะ ได้เข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม ได้เห็นสวนมะม่วงอันร่มรื่นน่ารื่นรมย์แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำ ท่านต้องการจะไปพักผ่อนในสวนนั้น จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงรับบาตรและจีวรของพระองค์ไปและทูลว่าท่านจะไปทำสมณธรรมที่สวนมะม่วงนั้น พระพุทธองค์ตรัสห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง เพราะมีมีพระภิกษุอื่นเลยในที่นั้น ทรงขอให้ท่านรอไปก่อนจนกว่าจะมีพระภิกษุรูปอื่นมาแทน แต่ท่านก็ไม่ยอม ได้ละทิ้งพระองค์ไว้แต่ลำพังพระองค์เดียว

    ทรงขอให้พระสงฆ์เลือกพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นพุทธุปัฏฐากประจำ

    ด้วยเหตุนี้ในพรรษาที่ ๒๐ แต่ตรัสรู้ สมัยที่พระทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระภิกษุทั้งปวงในที่นั้นว่า พระองค์ทรงพระชราแล้ว ภิกษุบางรูปทอดทิ้งพระองค์ไปตามทางที่ตนปรารถนา บางรูปวางบาตรจีวรของพระองค์ไว้บนพื้นดินแล้วเดินจากไปเสีย จึงขอให้พระสงฆ์เลือกพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นพุทธุปัฏฐากประจำ

    เหล่าพระอสีติมหาสาวกเสนอตนเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    พระภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ต่างรู้สึกสังเวชสลดใจไปตาม ๆ กัน ทันใดนั้นเอง ท่านพระสารีบุตร ได้ลุกขึ้นอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทูลขอรับอาสาเป็นพุทธุปัฏฐากประจำแต่พระองค์ทรงห้ามไว้ว่า"อย่าเลยสารีบุตร" เธออยู่ ณ ทิศใด ทิศนั้นไม่สูญเปล่า โอวาทของเธอเหมือนกับโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เธออย่าทำกิจอุปัฏฐากแก่เราเลย"

    ต่อจากนั้น อสีติมหาสาวกทั้งหลาย มีท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น ได้ลุกขึ้นอภิวาทแล้วทูลขอรับอาสาเป็นพุทธุปัฏฐากเช่นเดียวกับท่านพระสารีบุตร แต่พระองค์ทรงห้ามไว้ทั้งหมด ส่วนท่านพระอานนท์ยังตงนั่งนิ่งเฉย มิได้ทูลขอรับอาสาอย่างพระมหาสาวกทั้งหลาย พวกภิกษุจึงได้ตักเตือนให้ท่านทูลขอตำแหน่งพุทธุปัฏฐากนั้นบ้าง ท่านจึงกล่าวกับพระภิกษุทั้งหลายว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อันตำแหน่งที่ขอได้มานั้นจะมีความหมายอะไรเล่า พระบรมศาสดาไม่ทรงเห็นกระผมกระนั้นหรือ? ก็หากพระองค์ทรงพอพระทัยในตัวกระผมแล้วไซร้ พระองค์ก็คงตรัสเองว่า อานนท์เธอจงอุปัฏฐากเราเถิด"

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า ไม่มีผู้ใดจะสามารถให้ท่านพระอานนท์เกิดความอุตสาหะขึ้นมาได้เลย แต่เมื่อท่านพระอานนท์รู้แล้ว ท่านจักอุปัฏฐากพระองค์เอง เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้ยินพระดำรัสนั้น ก็ทราบทันทีว่า พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านพระอานนท์เป็นพุทธุปัฏฐาก จึงได้พูดตักเตือนให้ท่านทูลขอตำแหน่งพุทธุปัฏฐากจากพระองค์

    พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ

    ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้ทูลขอพร ๘ ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร ๘ ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐากท่านทูลขอพรว่า

    ๑. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

    ๒. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

    ๓. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์

    ๔. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้

    ๕. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

    ๖. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว

    ๗. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น

    ๘. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก

    เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร ๘ ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์

    โทษและอานิสงส์ของพร ๘ ประการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2022
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    (ต่อ)
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามถึงโทษและอานิสงส์ที่ทูลขอพร ๘ ประการนี้ ท่านได้กราบทูลว่า ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ ๑ - ๔ ก็จักมีคนพูดได้ว่า ท่านรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก เพื่อหวังลาภสักการะอย่างนั้น ๆ เพื่อป้องกันปรวาทะอย่างนั้น ท่านจึงได้ทูลขอพร ๔ ข้อนี้ ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ ๕ - ๗ ก็จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระศาสดาไปทำไม เพราะกิจเท่านี้พระองค์ก็ยังไม่ทรงสงเคราะห์เสียแล้ว และหากท่านไม่ทูลขอพรข้อ ๘ เมื่อมีคนมาถามท่านลับหลัง พระพุทธองค์ว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน? ถ้าท่านตอบเขาไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์เฝ้าติดตามพระผู้มีพระภาคเหมือนเงาตามตัวอยู่เป็นเวลานาน ทำไมเรื่องเท่านี้ยังไม่รู้?

    ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานพรตามที่ทูลขอทุกประการ ท่านพระอานนท์จึงได้รับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เป็นเวลา ๒๕ พรรษา

    ตั้งความปรารถนาไว้ตั้งแต่สมัยพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ความจริง ท่านพระอานนท์ได้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้ตำแหน่งนี้มาเป็นเวลาตั้งแสนกัป คือ เริ่มตั้งแต่ศาสนาของพระปทุมุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้า ในชาตินั้น ท่านได้เกิดในพระนครหงสวดี เป็นโอรสของพระเจ้านันทราช (อานันทราช) และพระนางสุเมธาเทวี (สุชาดา) ผู้ครองนครหงสวดี สมัยนั้นท่านมีนามว่า สุมนกุมารเป็นพระกนิษฐภาดาของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ครั้นเจริญวัยขึ้น พระบิดาทรงมอบหมายให้ปกครองโภคคาม ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลออกไปจากนครหงสวดี ๑๒๐ โยชน์พระกุมารได้เสด็จกลับไปยังนครหงสวดี เพื่อเฝ้าพระบิดาและพระพุทธเจ้าบ้างเป็นบางคราว

    ครั้งหนึ่งมีกบฏเกิดขึ้นที่ปัจจันตชนบท พระกุมารทรงปราบปรามได้โดยราบคาบ เมื่อความทราบไปถึงพระบิดา ก็ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยมาก รับสั่งให้เรียกพระกุมารไปยังนครหวสวดี ทันทีเมื่อพระกุมารเสด็จไปเฝ้าพระบิดาทรงประคองกอดแล้วรับสั่งให้ขอพรตามที่ต้องการแทนที่พระกุมารจะทูลขอช้าง ม้า ชนบท หรือรัตนะ ๗ ประการ ตามที่พวกอำมาตย์ทูลแนะ พระกุมารกลับทูลขอโอกาสอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๓ เดือน พระบิดารับสั่งให้ขออย่างอื่น เพราะการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นหน้าที่ของพระองค์แต่ผู้เดียว ไม่เคยทรงอนุญาตให้ใคร แต่พระกุมารทูลยืนยันจะได้รับพรอย่างเดิม หากไม่พระราชทานพรอันนั้น ก็ไม่ทูลขออย่างอื่น และทูลว่าธรรมดาพระดำรัสของพระมหากษัตริย์ ย่อมไม่เป็น ๒ เมื่อพระบิดาได้สดับดังนั้น ก็ทรงจำนนด้วยเหตุผล แต่ตรัสบ่ายเบี่ยงว่า "ธรรมดาน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้ารู้ได้ยาก แม้พ่อจะอนุญาตแล้วก็ตาม หากพระพุทธองค์ไม่ทรงปรารถนา ก็ไม่รู้จักทำอย่างไรได้" พระกุมารทูลรับว่าพระองค์จักรู้น้ำพระทัยของพระผู้มีพระภาคเองทูลแล้วได้เสด็จไปสู่พระวิหาร

    แต่ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคกำลังประทับอยู่ในพระคันธกุฏี ดังนั้นพระกุมารจึงเสด็จไปหาพระภิกษุสงฆ์ที่กำลังนั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม ทรงแจ้งพระประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระภิกษุสงฆ์ทูลแนะนำให้เสด็จไปหาพระสุมนเถระ ผู้เป็นพุทธุปัฏฐาก เมื่อพระกุมารเสด็จเข้าไปหาพระเถระและทรงแจ้งพระประสงค์ของพระองค์ถวายพระสุมนเถระแล้ว พระเถระเข้าฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์แล้วแทรกแผ่นดินเข้าไปสู่พระคันธกุฏีกราบทูลพระพุทธองค์ว่า พระราชกุมารมาเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสใช้ให้พระสุมนเถระออกไปปูอาสนะภายนอกพระคันธกุฏี พระเถระจึงแทรกแผ่นดินนำพุทธอาสน์ออกไปปูลาดภายนอกพระคันธกุฏี พระกุมารได้ทอดพระเนตรเห็นพระเถระดำดินเข้าออกเช่นนั้น ก็ทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ ทรงคิดว่าพระรูปนี้ใหญ่ยิ่งจริงหนอเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์แล้วพระกุมารถวายนมัสการกราบทูลถามว่า พระภิกษุรูปนี้เห็นจะเป็นภิกษุที่พระองค์ทรงโปรดปรานมากกระมัง? พระพุทธองค์ตรัสตอบรับว่าเป็นอย่างนั้น พระกุมารทูลถามต่อไปว่า พระภิกษุรูปนี้ได้ทำกรรมอะไรไว้จึงได้มาเป็นภิกษุที่โปรดปรานอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าภิกษุรูปนี้ได้ทำบุญให้ทานไว้มาก พระกุมารจึงกราบทูลว่า ท่านเองก็ปรารถนาจะได้รับตำแหน่ง ภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปรานอย่างนั้นบ้าง ในอนาคตกาล แล้วได้ถวายขันธวารภัตสิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้กราบทูลเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทราช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ท่านปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์ได้ ๓ เดือน และกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ โภคคาม กับท่านเป็นเวลา ๓ เดือน เมื่อทรงทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว จึงกราบทูลว่าท่านเองจะเสด็จไปก่อนเพื่อสร้างพระวิหารเตรียมรับเสด็จ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านจะส่งสาส์นมาถวาย แล้วให้พระพุทธองค์เสด็จไปพร้อมกับพระภิกษุหนึ่งแสนรูป เมื่อได้กราบทูลนัดแนะเสร็จแล้วก็ทูลลากลับเข้าสู่พระราชวัง กราบทูลพระบิดาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว เมื่อท่านส่งสาส์นมาก็ขอให้พระบิดาช่วยกราบทูลเชิญเสด็จด้วย พระเจ้านันทราชทรงรับรองอย่างดี

    ครั้นแล้วพระกุมารก็กราบลาพระบิดาเสร็จไปยังโภคคาม ให้สร้างวิหารไว้ในระหว่างทางห่างกัน ๑ โยชน์ ต่อหลัง สิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์เป็นวิหาร ๑๒๐ หลังเพื่อให้พระผู้มีพระภาคทรงพักอาศัยในคราวเสด็จไปสู่โภคคาม และเมื่อพระกุมารเสด็จไปถึงโภคคามแล้ว ก็ได้ทรงแสวงหาสถานที่ที่จะสร้างวิหาร ทรงเห็นอุทยานของโสภนกุฏุมพีจึงทรงขอซื้อด้วยเงินหนึ่งแสน ต่อจากนั้นทรงสร้างพระคันธกุฏีสำหรับพระพุทธเจ้า สร้างที่พักกลางวันที่พักกลางคืน สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สร้างลานกุฏิ กำแพงประตู และซุ้มประตู เมื่อทรงสร้างทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้ว จึงได้ส่งสาส์นไปทูลพระบิดาให้อาราธนา พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังโภคคามได้

    พระเจ้านันทราชได้ทรงอังคาสพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลให้เสด็จไปยังโภคคาม ตามที่พระกุมารทูลนิมนต์ไว้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หนึ่งแสนรูปเสด็จไปยังโภคคาม และทรงพักตามวิหารรายทางต่าง ๆ จนถึงโภคคาม พระกุมารได้เสด็จออกไปถวายการต้อนรับเป็นระยะทาง ๑ โยชน์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ของหอมหลายอย่างและนำเสด็จเข้าสู่โสภนวิหาร กราบทูลถวายพระวิหารนั้นเป็นพุทธบูชา

    ครั้นต่อมาเวลาใกล้วันเข้าพรรษา พระกุมารได้ถวายมหาทานและได้ทรงชักชวนพระโอรสพระชายา และพวกอมาตย์ให้ถวายทานอย่างพระองค์บ้าง ตลอดเวลา ๓ เดือน พระกุมารได้ทรงอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ และได้เสด็จไปหาท่านพระสุมนเถระเสมอ ๆ ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว จึงเสด็จกลับสู่พระราชนิเวศน์และได้ถวายมหาทานอีก๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายจีวรแก่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แล้วทรงตั้งมโนปณิธานว่า ด้วยเดชะกุศลกรรมที่ได้ทรงสร้างมาทั้งหมดนี้ ขอให้พระองค์ได้เป็นพุทธุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล อย่างเช่นพระสุมนเถระนั้นเถิด พระปทุมุตตร พุทธเจ้าทรงพยากรณ์แล้ว เสด็จออกเดินทางไปโปรดสัตว์ ณ ที่อื่นต่อไป

    บุรพกรรมของท่านสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ในศาสนาของพระปทุมุตตร พุทธเจ้านี้ ท่านพระอานนท์ได้เคยถวายทาน เป็นเวลาหนึ่งแสนปี ครั้นจุติจากชาตินั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์ลงมาเกิดในมนุษยโลก ในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ได้ถวายจีวรทำการบูชาพระเถระผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ครั้นจุติจากชาตินั้นก็ได้ไปเกิดในสวรรค์อีก และเมื่อจุติจากสวรรค์ได้ลงมาเกิดเป็นพระเจ้าพาราณสีได้ถวายมหาทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ พระทรงสร้างบรรณศาลา ๘ หลังในมงคลอุทยานของพระองค์ ถวายให้เป็นที่ประทับของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๘ องค์ นอกจากนั้นยังได้สร้างตั่ง ๘ ตัวทำด้วยรัตนะล้วนทุกชนิด สร้างเตียง ๔ ตัวทำด้วยแก้วมณี และที่รองรับเท้า ๘ที่ ทำด้วยพระปัจเจก พุทธเจ้าประทับนั่งในคราวเสด็จมา พระองค์ได้ทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นเวลาหมื่นปี

    เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตร่วมกับพระพุทธเจ้า

    ท่านพระอานนท์ได้เคยทำบุญให้ทาน อยู่เป็นเวลา ๑ แสนกัป ในชาติก่อนที่จะลงมาเกิดในชาตินี้ ได้เคยไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตร่วมกับพระพุทธเจ้าของเราครั้งเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ครั้นจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้มาเกิดในศากยตระกูล ดังกล่าวแล้ว

    กิจในหน้าที่ของพุทธอุปัฏฐาก

    นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านพระอานนท์ได้รับตำแหน่งที่ตนปรารถนาสำเร็จแล้ว และเมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว ท่านก็ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี กิจที่ท่านทำเป็นประจำแก่พระพุทธเจ้าคือ

    ๑. ถวายน้ำ ๒ อย่าง คือน้ำเย็นและน้ำร้อน

    ๒. ถวายไม้สีฟัน ๓ ขนาด

    ๓. นวดพระหัตถ์และพระบาท

    ๔. นวดพระปฤษฏางค์

    ๕. ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฏี

    พระมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคผู้เป็นเลิศในในพุทธอุปัฏฐาก

    ในตอนกลางคืนท่านกำหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วเข้าเฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จก็ออกมาอยู่ยาม ณ ภายนอกพระคันธกุฏีในคืนหนึ่ง ๆ ท่านถือประทีปด้ามใหญ่เวียนรอบบริเวณพระคันธกุฏีถึง ๘ ครั้ง ท่านคิดว่าหากท่านง่วงนอน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านจะไม่สามารถขานรับได้ ฉะนั้น จึงไม่ยอมวางประทีปตลอดทั้งคืน

    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่า ท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนท่าน เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี จึงอุปัฏฐากได้นาน ด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า "อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายธรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านานแล้ว เธอได้ทำบุญไว้มากแล้วอานนท์ เธอจงประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน"
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    (ต่อ)
    แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ที่มีมาแล้วในอดีตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น อย่างยิ่งก็เหมือนกับอานนท์ของเราเท่านั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จักมีอนาคตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น อย่างยิ่งก็เพียงอานนท์ของเราเท่านั้น อานนท์เป็นบัณฑิตย่อมรู้ว่า นี่เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้าพระตถาคตนี่เป็นกาลของพวกภิกษุ นี่เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี่เป็นกาลของพวกอุบาสก นี่เป็นกาลของพวกอุบาสิกา นี่เป็นกาลของพระราชา นี่เป็นกาลของพวกอำมาตย์ราชเสวก นี่เป็นกาลของพวกเดียรถีย์ นี่เป็นกาลของพวกสาวกของพวกเดียรถีย์
    http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-anon.htm...
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    02 พระอานนท์พุทธอนุชา พระนางมหาปชาบดีโคตมี กับโกกิลาภิกษุณี

    03 พระอานนท์พุทธอนุชา ความรักความร้าย พันธุละกับพระราชา

    04 พระอานนท์พุทธอนุชา

    05 พระอานนท์พุทธอนุชา พุทธานุภาพ


    06 พระอานนท์พุทธอนุชา ความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ


     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    07 พระอานนท์พุทธอนุชา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ
    จริงทีเดียว! บุคคลผู้หลับน้อยตื่นนาน หรือบางทีมีได้หลับเลยในราตรีนั้นมีอยู่ ๕ จำพวก คือ

    ๑. หญิงผู้ปฏิพัทธ์ชาย หวังให้เขาชม
    ๒. ชายผู้ปฏิพัทธ์หญิง รำพึงถึงเธอด้วยดวงจิตที่จดจ่อ
    ๓. โจรมุ่งหมายทรัพย์ของผู้อื่น หาทางจะขโมยหรือปล้น
    ๔. พระราชากังวลด้วยพระราชภารกิจ
    ๕. สมณะผู้ทำความเพียรเพื่อละกิเลส หญิงชายปฏิพันธ์ชู้ หวังชม เชยนา โจรมุ่งหมายทรัพย์ บัติปล้น ราชันกิจกังวล มากอยู่ พระอยากละกิเลสพ้น หลับน้อยตื่นนาน
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    08 พระอานนท์ร้องให้

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ
    "อานนท์! เราเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน อาพาธก็มีอาการรุนแรงขึ้น เร็วเข้าเถิด รีบปูสังฆาฏิลงเราจะนอนพักผ่อน และขอให้เธอไปนำน้ำมาดื่มพอแก้กระหาย" "พระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูล "เกวียนเป็นจำนวนมากเพิ่งผ่านพ้นลำน้ำไปสักครู่นี่เอง น้ำยังขุ่นอยู่ไม่ควรที่พระองค์จะดื่ม ขอเสด็จไปดื่ม ณ แม่น้ำกกุธานทีเถิด มีน้ำใสจืดสนิท เย็นดี" "อย่าเลย อานนท์!" พระตถาคตตรัสเป็นเชิงวิงวอน "อย่าเลยจนถึงแม่น้ำกกุธานทีเลย เรากระหายเหลือเกิน ร่างกายเร่าร้อน คอแห้งผาก เธอจงรีบไปนำน้ำมาเถิด" พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้ว ถือบาตรของพระตถาคตเจ้าไป ท่านมีอาการเศร้าซึมและวิตกกังวล เมื่อมาถึงริมแม่น้ำยังมองเห็นน้ำขุ่นอยู่ ท่านมีอาการเหมือนว่าจะเดินกลับ แต่ด้วยความเชื่อและห่วงใยในพระศาสดาจึงเดินลงไปอีก พอท่านทำท่าจะตักขึ้นมาเท่านั้น น้ำซึ่งมีสีขุ่นขาวเพราะรอยเกวียนและโค ก็ปรากฏเป็นน้ำใสสะอาด เหมือนกระจกเงาซึ่งหญิงสาวผู้รักสวยรักงามขัดไว้ดีแล้ว ท่านจึงตักน้ำนั้นมา แล้วรีบเดินกลับ น้อมบาตรน้ำเข้าไปถวายพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงดื่มด้วยความกระหาย พระอานนท์มองดูด้วยความชื่นชมในพุทธบารมี แล้วทูลว่า "พระพุทธเจ้าข้า อัศจรรย์จริง! สิ่งที่ไม่เคยมีไม่เคยปรากฏได้มีและปรากฏแล้ว เป็นเพราะพุทธานุภาพโดยแท้ บารมีธรรมเป็นสิ่งน่าสั่งสมแท้" แล้วท่านก็เล่าเรื่องน้ำที่ขุ่นกลับใสสะอาดโดยฉับพลัน ให้พระผู้มีพระภาคสดับ
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    09 ปัจฉิมทัศนา ณ กรุงเวสาลี

    "อานนท์ การมองดูเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของตถาคตแล้ว อานนท์เอย! ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อได้มีการเริ่มต้นแล้ว ย่อมจะมีการสิ้นสุด ใครเล่าจะสามารถหน่วงเหนี่ยวสิ่งซึ่งจะต้องเป็นมิให้เป็นได้ มาเถิดอานนท์! เราจักเดินทางไปสู่ปาวาลเจดีย์" พระตถาคตเจ้าตรัสเท่านี้แล้วเสด็จดำเนินด้วยพุทธลีลาอันประเสริฐ พระพุทธอนุชาตามเสด็จพระศาสดาด้วยอาการสงบและเคร่งขรึม ใครเล่าจะทราบว่าภายในดวงจิตของท่านจะปั่นป่วนรวนเรซึมเซาเศร้าโศกอ่อนไหวหวิวหวั่นสักเพียงใด.

    10 พระอานนท์พุทธอนุชา สาลวโทยานขาวด้วยมหาวิปโยค

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ
    ณ สาลวโนทยานมณฑล ซึ่งคลาคลํ่าไปด้วยศาสนิกชนพุทธบริษัท อร่ามไปด้วยกาสาวพัสตร์อำไพพรรณ และทวยนาครผู้มีความอาลัยในพระศาสดา พอเสียงก้องกังวานระคนเศร้าของพระอานนท์พุทธอนุชาประกาศออกมาว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วเท่านั้น เสียงรํ่าไห้ก็ระงมขึ้นพร้อมกันประดุจเสียงจักจั่นและเรไร กรีดร้องยามยํ่าสนธยา ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตที่ยังเป็นปุถุชนไม่อาจจะอดกลั้นอัสสุชลธาราไว้ได้ รํ่าร้องโหยไห้ประดุจบิดาแห่งตนได้สิ้นชีพลงพร้อมๆ กัน ณ บริเวณสาลวันเปียกชุ่มไปด้วยนํ้าตา เหมือนพระพิรุณโปรยลงมาเป็นครั้งคราว เสียงรํ่าไห้ติดต่อเป็นเสียงเดียวกันทั่วกุสินารานคร ฝ่ายภิกษุผู้เป็นขีณาสพ สิ้นอาสวะแล้วก็ปลงธรรมสังเวชพร้อมด้วยปลอบผู้ที่กำลังร้องไห้ครํ่าครวญด้วยธรรมกถาให้เห็นความเป็นไปตามธรรมดาแห่งสิ่งทั้งปวง คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และมิใช่ตัวตน ทนไม่ได้ต้องแตกไป ดับไป สลายไป

     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    11 พระอานนท์พุทธอนุชา บรรลุอรหันต์

    พระพุทธอนุชาประสบปีติปราโมชอย่างใหญ่หลวง ความรู้สึกปรากฏแก่ใจว่า ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำในทำนองเดียวกันนี้ไม่มีอีกแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป ภพทั้งสามคือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ปรากฏแก่ท่านผู้บรรลุแล้วซึ่งอริยภูมิ ประหนึ่งมีเพลิงโหมอยู่ทั่ว ได้ยํ้ายีความเมาทั้งปวงแล้ว ได้นำความกระหายทั้งมวลออกไปแล้ว ได้ถอนอาลัยในกามคุณอันเป็นที่อาลัยยินดีอย่างยิ่งของมวลสัตว์ได้แล้ว ตัดวัฏฏะอันทำให้หมุนเวียนมาเป็นเวลานานได้แล้ว ตัณหาความดิ้นรนร่านใจให้หมดสิ้นไปแล้ว คลายความกำหนัดได้แล้ว ดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความเยือกเย็นอย่างยิ่ง ดวงจิตที่เคยเร่าร้อนดิ้นรน บัดนี้ได้อาบแล้วซึ่งธัมโมทกอย่างเต็มที่ ประหนึ่งหิมะละลายลงสู่ศิลาแท่งทึบ ซึ่งเคยถูกแดดเผามาเป็นเวลานาน อา! ภาวะแห่งผู้ปลดเปลื้องตนจากกิเลสเสียได้เป็นอย่างนี้เอง ช่างประสบกับภาวะสงบเย็นอย่างเต็มที่เสียนี่กระไร! สงบเหมือนนํ้าในแอ่งน้อยซึ่งอยู่ในป่าลึก สดใสเหมือนหยาดนํ้าค้างเมื่อรุ่งอรุณ อบอุ่นประดุจแสงแดดเมื่อยามเช้า อะไรเล่าจะน่าปรารถนาของชีวิตยิ่งไปกว่านี้ นี่เองที่พระศาสดาตรัสอยู่ตลอดว่า "พระนิพพานซึ่งสงบเย็นอย่างยิ่ง" การสำรอกตัณหา โดยไม่เหลือเชื้อ การสละและการบอกคืนตัณหา การพ้นไปอย่างปราศจากตัณหาในตัณหา เป็นความสุขชื่นบานเกินเปรียบแท้

    12 พระอานนท์พุทธอนุชา(ตอนจบ) ไม่มีสุขใดยิ่งไปกว่าความสำรวมตนอยู่ในธรรม

    คนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ
    วันนั้นพระพุทธอนุชา จาริกเพียงผู้เดียวด้วยจุดประสงค์ คือ แสวงหาที่วิเวกเพื่อพักผ่อน เมื่อผ่านมาเห็นชงโคมีดอกงามบานสะพรั่ง และดูบริเวณเป็นที่รื่นรมย์จึงแวะเข้าพักผ่อนใต้ต้นชงโค ซึ่งมีใบหนาเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรงเบื้องหน้าของท่านมีสระซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติ (ชาตสระ) มีปทุมชูดอกสลอน นํ้าใสเย็นและจืดสนิทดี ท่านได้ดื่มและล้างหน้าเพื่อระงับความกระหายแล้วนั่งพักอยู่ ณ ที่นั้น จนตะวันรอนแดดอ่อนลง ส่องลอดใบไม้ลงมาเป็นรูปต่างๆ งามน่าดู เสียงนกเล็กๆ บนกิ่งชงโคร้องทักทายกันอย่างเพลิดเพลิน แสดงถึงจิตใจที่ชื่นบาน มันมีความสุขตามประสาสัตว์ ความสุขเป็นสิ่งหาได้ในที่ทุกแห่งและทุกฐานะ เว้นแต่บุคคลจะไม่รู้จักมองหาเท่านั้น พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่าบุคคลผู้มีปัญญา สามารถจะหาความสุขได้แม้ในสถานะที่น่าทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนเขลา แม้จะอยู่ในฐานะที่น่าจะสุขก็มีแต่ความทุกข์ร้อนเศร้าหมองเสียรํ่าไป ถ้าเราฝึกใจให้อดได้ ทนได้อยู่เสมอๆ เราจะมีความสุขสบายขึ้นอีกมาก โลกนี้มีคนร้ายและเรื่องร้ายมาก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนและในฐานะใด ย่อมจะต้องพบคนร้ายและเรื่องร้ายทุกหนทุกแห่ง ถ้าสามารถกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้นั้นเป็นเรื่องประเสริฐ แต่ถ้าไม่สามารถกลับเรื่องร้ายให้เป็นดีได้ในทันที ก็ลองอดทนดูเป็นการศึกษาสถานการณ์และศึกษาบุคคลพร้อมๆ กันไป นานๆ เข้าเรื่องที่เขาเข้าใจว่าร้ายในเบื้องต้นอาจจะเป็นผลดีแก่เรามากในบั้นปลาย จงดูเถิดขยะมูลฝอยที่ใครๆ ทิ้งลงๆ แต่พื้นดินก็สามารถรับขยะมูลฝอยนั้นกลายเป็นปุ๋ย ที่ดินตรงนั้นกลายเป็นดินดีมีคนต้องการมีราคามาก ปลูกพืชผักอะไรลงก็ขึ้นเร็วและสวยงาม คนที่ฝึกตนให้อดได้ ทนได้ มักจะเป็นคนดีมีค่าแก่สังคมอย่างมาก สถานที่จำกัด ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่คนเพิ่มมากขึ้นนานวันไปมนุษย์ยิ่งจะต้องแย่งกันอยู่แย่งกันกินมากขึ้น ความบากบั่นอดทนก็จะต้องใช้มากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมมนุษย์มีทั้งคนดีและคนเลว มีอัธยาศัยประณีตและอัธยาศัยทราม ยิ่งผู้น้อยที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีอัธยาศัยทราม เห็นแก่ตัว และโหดร้ายด้วยแล้ว เขาจะต้องกระทบกระเทือนใจและอดทนสักเพียงใด ลองให้ผู้ใหญ่เลวๆ อย่างนั้นไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่นดูบ้างซิ เขาจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่เลวหรือไม่ แต่ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน หรือบางทีก็มีอยู่เสมอๆ ที่ทำให้เราต้องประหลาดใจว่า เหตุไฉนคนเลวๆ อย่างนี้จึงเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาได้ มันเป็นเรื่องของกรรมที่สลับซับซ้อนสุดที่จะแยกแยะให้ถี่ถ้วนด้วยปัญญาสามัญ บัดนี้ พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ร่องรอยแห่งแสงสว่างเพียงรางๆ เสมือนดรุณีวัยกำดัดยิ้มด้วยความเบิกบานใจ เมื่อหยุดยิ้มแล้วรอยแห่งความร่าเริงก็ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ฉะนั้น พระพุทธอนุชาตั้งใจจะถือเอาโคนชงโคเป็นที่พักกายในราตรีนี้ แต่พอท่านเอนกายลงพิงโคนชงโคนั่นเองได้เหลือบเห็นชายหญิงคู่หนึ่งเดินมา ถือหม้อมาคนละใบมุ่งตรงมาสู่สระ เมื่อได้มองเห็นสมณะนั่งพิงโคนชงโคอยู่เขาจึงเดินอ้อมสระมา พอเห็นชัดว่าเป็นสมณะศากยบุตรเข้าจึงนั่งละไหว้ แล้วชายผู้นั้นก็กล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่สมณะ! ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาเป็นเวลานานไม่เคยได้พบเห็นสมณะผู้ใดมาเยือนสถานที่นี้เลย ข้าพเจ้าทั้งสองแม้จะมิใช่เจ้าของถิ่นโดยแท้จริงก็เหมือนเป็นเจ้าของถิ่น ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านสมณะผู้เป็นอาคันตุกะด้วยความรู้สึกเป็นมิตร และถือเป็นโชคดีที่ได้พบท่านผู้สงบ" "ดูก่อนผู้มีใจอารี" พระพุทธอนุชากล่าวตอบ "ข้าพเจ้าขอขอบใจในไมตรีจิตของท่านทั้งสอง และถือเป็นโชคดีเช่นกันที่ได้พบท่าน ซึ่งข้าพเจ้ามิได้คาดหวังว่าจะได้พบในป่าเปลี่ยวเช่นนี้"
    ..................................................................................

     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    อัฏฐกนาครสูตรว่าด้วย ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ

    ไพรวัลย์ Praiwan สรรเพชร
    Jun 13, 2021
    อัฏฐกนาครสูตร ว่าด้วย ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ เหตุการณ์ ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี คฤหบดีชื่อ ทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ถามพระอานนท์ถึงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ เมื่อพระอานนท์แสดงธรรมจบ ทสมคฤหบดีสร้างวิหาร ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,449
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018

แชร์หน้านี้

Loading...