ปรากฏการณ์ธรรมชาติค้นพบใหม่ “สตอร์มเควก” ทำแผ่นดินไหวเมื่อพายุพัดรุนแรง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 21 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b899e0b981e0b8a3e0b887e0b8ade0b8b2e0b888e0b897e0b8b3e0b983e0b8abe0b989e0b980e0b881e0b8b4e0b894.jpg

    จากการผลวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร Geophysical Research Letters นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาพบว่า พายุขนาดใหญ่ที่ทรงพลังสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กในมหาสมุทรได้

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เหวินหยวน แฟน ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาได้ค้นพบปรากฏการณ์ทางธรณีฟิสิกส์ครั้งใหม่ที่พายุเฮอริเคนหรือพายุขนาดใหญ่อื่น ๆ สามารถก่อให้เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งทำให้มีความรุนแรงเท่า ๆ กับแผ่นดินไหวขนาด 3.5 ริกเตอร์

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เหวินหยวน แฟน กล่าวว่าในช่วงฤดูมรสุมพายุเฮอริเคนจะถ่ายโอนพลังงานไปสู่มหาสมุทรในรูปของคลื่นมหาสมุทรที่รุนแรง และคลื่นที่มีความรุนแรงเหล่านั้นก็มีปฏิสัมพันธ์กับแผ่นพื้นโลกและจะถ่ายโอนพลังงานจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

    ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ไซส์มิกและการบันทึกทางสมุทรศาสตร์จากข้อมูลที่เก็บได้เกือบหนึ่งทศวรรษตั้งแต่ปี 2006 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างพายุที่รุนแรงและการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบริเวณใกล้ ๆ กับขอบของไหล่ทวีป หรือใกล้ ๆ กับฝั่งมหาสมุทร

    ในช่วงเวลาของการวิจัย นักวิจัยพบหลักฐานการเกิดพายุมากกว่า 10,000 ครั้งในช่วงปี 2006 ถึง 2019 จากชายฝั่งนิวอิงแลนด์ในรัฐฟลอริดาและอ่าวเม็กซิโกในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงนอกชายฝั่งโนวาสโกเชียนิวฟาวด์แลนด์และบริติชโคลัมเบียในแคนาดา

    ในช่วงเวลาการเกิดพายุดังกล่าว ความรุนแรงของมหาสมุทรทำให้เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรได้เช่นเดียวกับการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดจากการเคลื่อนของเปลือกโลก นักวิจัยกล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าตื่นเต้นก็คือพายุเฮอริเคนสามารถทำเกิดแผ่นดินไหวได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงจนไปถึงหลาย ๆ วัน

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เหวินหยวน แฟนและเพื่อนร่วมงานของเขาได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการตรวจจับและค้นหาว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้นเกิดจากพายุเหล่านั้นหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าการเกิดแผ่นดินไหวไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกพวกเขาจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวตรวจจับหลายแห่งและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

    ตัวอย่างข้อมูลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า พายุเฮอริเคนไอรีนก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใกล้ ๆ กับชายฝั่งลิตเติลบาฮามา พายุเฮอริเคนไอค์ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวในอ่าวเม็กซิโกในปี 2008 และพายุเฮอร์ริเคนบิลทำให้เกิดแผ่นดินไหวในนิวอิงแลนด์และโนวาสโกเชียในปี 2009

    อย่างไรก็ตามการวิจัยได้กล่าวอีกว่า พายุขนาดใหญ่ไม่ได้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวเสมอไป การก่อให้เกิดแผ่นดินไหวจากพายุนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีวิทยา แผ่นดินไหวจากพายุจะสามารถเกิดได้ในบริเวณที่มีไหล่ทวีปกว้างนอกชายฝั่งเป็นต้น

    ขอบคุณที่มา
    https://www.drkrok.com/researcher-uncovers-a-new-geophysical-phenomenon-stormquakes/
     
  2. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b8a3e0b893e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4e0b884e0b989e0b899e0b89e.jpg Image copyright NASA EARTH OBSERVATORY
    คำบรรยายภาพ ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุเฮอริเคนบิลล์ในปี 2009 พายุลูกนี้ได้ทำให้เกิดปรากฎการณ์สตอร์มเควกมาแล้ว

    พายุที่มีความรุนแรงระดับสูงอย่างไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน กับเหตุแผ่นดินไหวที่เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งนั้น ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติสองแบบที่ไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ทำให้ไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่า นักวิทยาศาสตร์จะได้ค้นพบปรากฏการณ์ทางธรณีฟิสิกส์แบบใหม่ ซึ่งรวมเอาพลังทำลายล้างของทั้งพายุและแผ่นดินไหว ให้เกิดขึ้นพร้อมกันได้ในคราวเดียว

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า “สตอร์มเควก” (Stormquake) หรือเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจากพายุกำลังแรง โดยการที่พายุถ่ายทอดพลังงานมหาศาลลงสู่มหาสมุทรในรูปของคลื่นใหญ่ ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่พื้นทะเล และเกิดธรณีพิโรธได้นานหลายชั่วโมงหรือหลายวันเลยทีเดียว

    ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต (FSU) ของสหรัฐฯ รายงานการค้นพบข้างต้นในวารสาร Geophysical Research Letters โดยระบุว่าได้รวบรวมข้อมูลทางสมุทรศาสตร์และเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งของสหรัฐฯ แคนาดา และในอ่าวเม็กซิโก ระหว่างปี 2006-2019 ซึ่งเมื่อนำข้อมูลของทั้ง 12 ปีมาวิเคราะห์จึงพบว่า เคยมีปรากฏการณ์สตอร์มเควกเกิดขึ้นมาแล้วถึงกว่า 14,000 ครั้ง

    ก่อนหน้านี้ไม่มีนักวิจัยคนใดจะสังเกตพบความเชื่อมโยงระหว่างพายุและแผ่นดินไหวในทะเลมาก่อน เนื่องจากพวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับสัญญาณคลื่นสั่นสะเทือนที่สับสนไม่เป็นระเบียบ ซึ่งเกิดจากคลื่นในทะเลปะทะกับผืนแผ่นดิน โดยถือกันว่าเป็นเพียงสัญญาณพื้นหลังเท่านั้น

    แต่ในครั้งนี้ ทีมวิจัยของ FSU มุ่งให้ความสนใจกับคลื่นแผ่นดินไหวความถี่ต่ำและสัญญาณพื้นหลังดังกล่าว จนพบว่าทั้งสองสิ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นแบบแผนชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพายุกำลังแรงทำให้เกิดคลื่นที่มีคาบยาวขึ้นในมหาสมุทร ตรงบริเวณที่น้ำตื้นใกล้กับไหล่ทวีป

    Image copyright EPA
    คำบรรยายภาพ คลื่นสูงจากพายุไต้ฝุ่นฮากิบิสซัดเข้าชายฝั่งจังหวัดมิเอะของญี่ปุ่น

    ผศ.ดร. ฟ่าน เหวินหยวน ผู้นำทีมวิจัยคาดว่า ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวของปรากฏการณ์สตอร์มเควก สามารถจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับตัวพายุได้ โดยแรงสั่นสะเทือนอาจมีขนาดหรือแมกนิจูด 3.5 ขึ้นไป และปรากฏการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกภูมิภาคของโลก

    อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร. ฟ่านชี้ว่า แรงสั่นสะเทือนจากสตอร์มเควกนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก เพราะศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งและไม่สู้มีพลังรุนแรง แม้แผ่นดินไหวแบบนี้สามารถจะคงอยู่ได้เป็นเวลานานหลายวันก็ตาม

    ทีมผู้วิจัยหวังว่า ในอนาคตเราสามารถจะใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์สตอร์มเควกได้ โดยให้คลื่นสั่นสะเทือนที่เกิดจากพายุเป็นสื่อนำสำรวจโครงสร้างภายในของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นมหาสมุทร

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bbc.com/thai/features-50132430
     

แชร์หน้านี้

Loading...